อาหารบำรุงสายตา

อาหารบำรุงสายตา

ดวงตาเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกด้านการมองเห็น เราใช้ดวงตาตั้งแต่เกิด อาจละเลยไม่ใส่ใจสุขภาพดวงตาเท่าที่ควร เราใช้ดวงตาวันละ 16 ชั่วงโมง ประมาณปีละ 5,760 ชั่วโมง ดังนั้นอาการเสื่อมสุขภาพตาจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถชะลอได้ หากเรารู้วิธีการป้องกัน และรู้จักสารอาหารที่จะเข้าไปฟื้นฟูสภาพหรือบำรุงเซลล์ต่างๆ ภายในดวงตา ความผิดปกติทางสายตาสามารถป้องกันและรักษาได้ หากเรารู้วิธีการป้องกันความเสื่อมและรับประทานสารอาหารที่สามารถชะลอการเสื่อมของดวงตาให้มากขึ้น อาจเป็นไปได้ที่จำนวนผู้ป่วยหรือพิการทางสายตาจะลดลง
การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลายก็เพียงพอกับสุขภาพที่ดีของตา การขาดวิตามินเอจะทำให้มีปัญหาตามัวตอนกลางคืนและตาแห้งได้ แต่มักจะพบในผู้ที่ขาดอาหารอย่างมาก ซึ่งก็จะขาดสารอาหารประเภทอื่นด้วย เช่น โปรตีน วิตามิน เกลือแร่อื่นๆ ไม่ใช่พบในผู้ที่รับประทานอาหารในชีวิตตามปกติ
ดังนั้น เราควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลาย โดยเฉพาะพวกพืชผักผลไม้และปลา งดสูบบุหรี่ รักษาตัวไม่ให้อ้วน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยลดโอกาสเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุและช่วยบำรุงสุขภาพตาของเรา โดยไม่จำเป็นต้องหาอาหารเสริมอื่นๆ ควรสังเกคสภาพดวงตาและตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ชุดตรวจสุขภาพ SML Care [Free gift]

ชุดตรวจสุขภาพ SML Ca […]

โปรแกรมตรวจสุขภาพดวงตา

โปรแกรมตรวจสุขภาพดวง […]

ความรู้เรื่อง…โรคเบาหวาน

ความรู้เรื่อง...โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
เบาหวานมีกี่ประเภท
  1. เบาหวานประเภทที่ 1 (เบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน)
  2. เบาหวานประเภทที่ 2 (เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน)
  3. เเบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางพันธุกรรม โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตที่สร้างฮอร์โมน
  4. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทย พบเบาหวานชนิดที่ 2 มากที่สุด ประมาณ ร้อยละ 95
สาเหตุของโรคเบาหวาน
เบาหวานสืบทอดทางกรรมพันธุ์ได้ก็จริง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ) เป็นเบาหวาน ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเบาหวานทุกคน
มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่
  1. โรคอ้วน ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินสุลินไม่ดี
  2. ผู้สูงอายุ การสังเคราะห์และการหลั่งฮอร์โมนอินสุลินลดลง
  3. การได้รับยาบางชนิด สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น หรือการตอบสนองของอินสุลินไม่ดี
  4. การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีผลยับยั้งการทำงานของอินสุลิน
อาการของโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานอาจไม่มีอาการใดๆ โดยทั่วไปจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก มีอาการหิวบ่อยรับประทานจุ แต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย คันตามผิวหนัง ชาปลายมือ ปลายเท้า ตามัว
วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้อย่างไร
การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้โดย
  1. ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องออาหาร ถ้ามีค่ามากกว่า หรือเท่ากับ 200 มก./ดล. ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
  2. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนมากกว่า 8 ชั่วโมง พบค่า มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มก./ดล. ให้ตรวจยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ต่างวันกัน
  3. การตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (75 g Oral Glucose Tolerance Test, OGTT) ใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงแต่ตรวจพบน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืน น้อยกว่า 126 มก./ดล. ถ้าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล. ให้การวินิจฉัยว่า "เป็นโรคเบาหวาน"
หมายเหตุ : ในการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลพลาสมากลูโคสให้งดอาหารอย่างน้อย 8-10 ชม. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือลูกอม แต่ดื่มน้ำเปล่าได้
ผู้ใดควรได้รับการตรวจเช็คเบาหวาน
  1. ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น
  2. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้
    • ไม่มีอาการแต่อายุเกิน 35 ปี
    • ญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
    • น้ำหนักจัดอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน
    • เคยแท้งหรือบุตรเสียชีวิตตอนคลอด
    • คลอดบุตรน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
    • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • หญิงตั้งครรภ์ทุกราย (อายุครรภ์อยู่ระหว่าง 24-28 สัปดาห์)
    • ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดในสมองตีบ
    • ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง
    • ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง
ทำไมเราจึงควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
แม้ว่าบุคคลเหล่านี้ไม่มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ก็ควรหมั่นตรวจสอบ ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ระดับน่าสงสัย ก็ควรตรวจระดับพลาสมากลูโคสเป็นระยะทุก 1 ปี การวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และให้การรักษาควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการชัดเจนแต่เพิ่งวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานอาจพบโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย เพราะเป็นโรคเบาหวานนานแล้วแต่ไม่เคยตรวจ
โรคเบาหวานรักษาไม่หายขาด แต่ถ้าปฏิบัติตัวดีสามารถควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การรักษาต้อหิน

ต้อหิน

Glaucoma
โรคต้อหินเป็นโรคของดวงตาชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากความเสื่อมของประสาทตา เป็นประสาทที่เชื่อมระหว่างตากับสมอง (Optic Nerve) หรือการที่เส้นประสาทตาถูกทำลาย สาเหตุมักเกิดจากความดันในลูกตาสูง ทำให้สูญเสียการมองเห็นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มจากบริเวณรอบนอกก่อน แต่ยังสามารถเห็นวัตถุที่วางอยู่ตรงหน้าได้ชัดเจน แต่จะมองไม่เห็นวัตถุที่อยู่ด้านข้าง เมื่อมีอาการมากขึ้น การมองเห็นก็จะค่อยๆแคบลงและตาบอดในที่สุด สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
ต้อหินแบ่งได้เป็น 2  ประเภทคือ
  1. ต้อหินแบบมุมเปิด พบได้บ่อย เกิดจากลักษณะการอุดตันที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างช้าๆ จึงไม่มีอาการเจ็บปวดแต่ประสาทตาจะถูกทำลายไปทีละน้อย การสูญเสียการมองเห็นจะเกิดขึ้นเมื่อเป็นโรคนี้ในระยะเวลานาน และมักเป็นกับตา 2 ข้าง
  2. ต้อหินแบบมุมปิด ทำให้ของเหลวในลูกตาไหลออกจากตาไม่ได้  ความดันลูกตาจึงสูงขึ้น อาจมีอาการแบบเฉียบพลัน โดยมีอาการปวดตารุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะในข้างที่มีต้อหินเฉียบพลัน ตามัวลง มองเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ ตาแดง และต้อหินชนิดมุมปิดนี้อาจมีอาการเรื้อรังได้ ไม่ปวดตาแต่ตรวจพบความดันลูกตาสูงและการมองเห็นแคบลง ต้อหินมุมปิดมักพบในชาวเอเชีย
ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นต้อหิน
  • มีกรรมพันธุ์ในครอบครัวเป็นโรคต้อหินมุมเปิด
  • ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  โรคหลอดเลือดอักเสบ
  • ผู้ที่มีสายตาสั้นมากๆ
  • ผู้ที่เคยผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา
  • การใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์มาเป็นเวลานาน
การวินิจฉัย
  1. Tonometry เป็นการวินิจฉัยที่ไม่เจ็บเพื่อวัดความดันในลูกตา
  2. Opthalmoscopy เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยให้มองเห็นเส้นประสาทตาในลูกตา
  3. Visual Field Testing เป็นการวัดประสิทธิภาพของงานสายตาซึ่งสัมพันธ์กับความเสื่อมของประสาทตา
  4. Gonioscopy เป็นการตรวจช่องทางการไหลของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา
การรักษาโรคต้อหิน
  1. การใช้ยาหยอดตาและกินยาลดความดันลูกตา สำหรับผู้ที่เป็นต้อหินระยะเริ่มแรกที่ความดันลูกตายังไม่สูงมาก
  2. การรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ขึ้นอยู่กับชนิดต้อหินที่เป็น หลักการเพื่อช่วยทำให้มุมม่านตาระบายน้ำออกจากลูกตาได้ดีขึ้น ความดันตาจะได้ลดลง
  3. การผ่าตัดจะเป็นการช่วยลดความดันในลูกตา โดยทำช่องทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลออกกว้างขึ้น หรือทำช่องทางเดินระบายน้ำใหม่ให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลออกได้  ปัจจุบันการใช้ยารักษาต้อหินด้วยยาหยอดตาเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด และนิยมมากที่สุด
การมีส่วนร่วมในการรักษาต้อหิน
  1. ใช้ยาหยอดยาหรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  2. ไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อวัดความดันลูกตาเป็นระยะๆ เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค
  3. ปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อพบผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา
การป้องกัน
  1. หลีกเลี่ยงการโดนลมบ่อยๆ ฝุ่นละออง แสงแดด  ความร้อน ควรสวมแว่นตากันแดดที่ป้องกันแสง UV เมื่อออกกลางแจ้ง ที่ที่ต้องเจอลมบ่อยๆ หรือ ที่แสงแดดจัดๆ
  2. สวมหน้ากากป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเลตขณะทำงานเชื่อมโลหะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ชุดตรวจสุขภาพ SML Care [Free gift]

ชุดตรวจสุขภาพ SML Ca […]

โปรแกรมตรวจสุขภาพดวงตา

โปรแกรมตรวจสุขภาพดวง […]

เบาหวานขึ้นตา

เบาหวานขึ้นตา

Diabetic Retinopathy
คือ ภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ไต หัวใจ เส้นประสาทและเส้นเลือดทั่วร่างกาย เบาหวานในจอประสาทตาเกิดจากการทำลายเส้นเลือดฝอยที่จอประสาทตา ซึ่งเป็นตัวรับข้อมูลภาพที่เรามองเห็นเพื่อส่งต่อไปยังสมอง ทำให้เกิดตามัวและตาบอดตามมา
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตา
  • ระยะที่ 1 เส้นเลือดฝอยในจอประสาทตามีการโป่งพอง มีเลือด มีน้ำเหลือง ไขมันซึมออกจากเส้นเลือดและมีเส้นเลือดอุดตัน ทำให้จอประสาทตาขาดเลือด ขาดสารอาหาร และออกซิเจนในบางแห่ง
  • ระยะที่ 2 หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงจากระยะที่ 1 แล้ว บริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงจะส่งสัญญาณให้ร่างกายสร้างหลอดเลือดฝอยใหม่เพื่อลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงเส้นเลือดให้ที่เกิดใหม่นี้เปราะบาง และผิดปกติทำให้เลือดออกในจอประสาทตาและเข้าไปในน้ำวุ้นลูกตาทำให้สายตาเสียจนในที่สุดเกิดเยื่อพังผืดคลุมประสาทตา เป็นเหตุให้ตาบอดในที่สุด
อาการของเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
เบาหวานในจอประสาทตาอาจดำเนินโรคไปจนถึงขั้นรุนแรงโดยไม่แสดงอาการใดๆ เลยก็ได้ หรืออาจมีอาการ เช่น ตามัว มองเห็นภาพตรงบิดเบี้ยว เห็นเป็นจุดดำ หรือเป็นเส้นผมลอยไปมาอยู่ในสายตา มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน ในรายที่เป็นต้อหินจากเบาหวานอาจจะที่อาการปวดร่วมด้วย
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเบาหวานในจอประสาทตา
ผู้ป่วยเบาหวานทุกคน มีโอกาสเกิดโรคเบาหวานในจอประสาทตา โอกาสเกิดและความรุนแรงจะมากขึ้น ถ้ามีปัจจัยดังนี้

  • ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน ยิ่งเป็นมานาน ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมาก
  • ความดันโลหิตสูง
  • ระดับน้ำตาลในเฮโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงสูง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • การตั้งครรภ
  • การรักษาเบาหวานในจอประสาทตา
    1. รักษาโดยทั่วไป โดยการควบคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด เป็นการยืดเวลาและลดความรุนแรงของเบาหวานในจอประสาทได้บ้าง
    2. การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งสามารถนำมารักษาเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในทุกๆระยะ ดังนี้
      • ระยะที่ 1 เมื่อจุดศูนย์กลางของจอรับภาพบวม การใช้แสงเลเซอร์ต่อจอประสาทตาที่ขาดเลือดมาเลี้ยง จะช่วยการยับยั้งการสร้างเส้นเลือดฝอยที่ผิดปกติ
      • ระยะที่ 2 ใช้แสงเลเซอร์ต่อเส้นเลือดฝอยที่เกิดใหม่ ลดปริมาณเส้นเลือดฝอยที่เกิดใหม่ ป้องกันการแตก และการเจริญของเส้นเลือดฝอยผิดปกติเข้าไปในน้ำวุ้นลูกตา เป็นการลดโอกาสการเกิดตาบอด
    3. การรักษาด้วยการผ่าตัด
    ปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์ผ่าตัดสมัยใหม่เพื่อใช้ผ่าตัด ในรายที่มีเลือดออกมากในน้ำวุ้นลูกตา หรือในรายที่มีเยื่อพังผืดที่อาจดึงรั้งให้จอประสาทตาหลุด สามารถรักษาสายตาไว้ได้ ถึงแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดีกว่าปล่อยให้บอดไป
    ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานทุกคน ควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็ตาม และถ้ามีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ทันที โรคเบาหวานในจอประสาทตา หากพบและรักษาตั้งแต่ในระยะแรก จะสามารถป้องกันการดำเนินโรคไม่ให้ตาบอดได้ ดังนั้นการตรวจตาสม่ำเสมออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

    แค่โรคกระเพาะ หรีอ มะเร็ง

    แค่โรคกระเพาะ หรือ มะเร็ง

    stomach cancer
    จุกแน่น ท้องอืด ปวดหรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี
    เป็นอาการที่พบบ่อยในประชากร จากการสำรวจในประชากรไทยพบว่ามีมากกว่าร้อยละ 50 หรือมากกว่าครึ่งที่เคยประสบปัญหานี้ โดยประชากรกลุ่มนี้แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะตรวจไม่พบโรคร้าย แต่ก็มีผู้ป่วยอีกถึง 14% ที่่จะตรวจพบความผิดปกติในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อนชนิดรุนแรง รวมทั้งโรคที่อันตรายอย่างมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งหลอดอาหาร นอกจากนั้นอาการเหล่านี้ก็อาจจะเป็นอาการของอวัยวะอื่นๆได้ เช่น มะเร็งที่ตับ นิ่วในถุงน้ำดี ดังนั้นคงไม่ถูกซะทีเดียวหากเราจะเหมารวมผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่นหรือแสบบริเวณลิ้นปีเป็นโรคจุกแน่นแบบธรรมดาหรือที่มักเรียกกันว่า "โรคกระเพาะ"ทั้งหมด ดั้งนั้นผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรที่จะมาพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการซักประวัติและการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง ไม่ควรที่จะซื้อยามารับประทานเอง เพราะถึงแม้ว่าหลังรับประทานยาแล้วอาการตีขึ้นก็ไม่ได้บ่งบอกว่าผู้ป่วยไม่เป็นโรคร้าย เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารก็สามารถมีอาการที่ดีขึ้นได้จากการกินยาลดกรดในกระเพาะอาหารเช่นเดียวกัน
    มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิตมากเป็นอันดับที่สองของโลก สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคคือมีการติดเชื้อโรคที่ชื่อ "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter py(ori)" โดยหากมีเชื้อโรคชนิดนี้อยู่ในกระเพาะอาหารจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 13 เท่าเลยทีเดียว ในส่วนของอาการนั้นหากมะเร็งยังอยู่ในระยะเริ่มแรกก็จะไม่สามารถแยกโรคกับโรคกระเพาะอาหารแบบธรรมดาได้เลยการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ต้องใช้การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนเท่านั้น แต่หากมะเร็งอยู่ในระยะหลังก็จะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อาเจียนเรื้อรัง อาเจียนเป็นเลือดหรือสีดำ อุจจาระเป็นสีดำ กลืนติดหรือกลืนลำบาก ซีด โลหิตจาง อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซึ่งหากมะเร็งเข้าสู่ระยะหลังแล้วมักจะมีการดำเนินโรคที่รุนแรงอัตราการหายขาดจากโรคจะลดลงจาก 71 % เหลือเพียง 44 เท่านั้น ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรที่จะได้รับการตรวจด้วยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อวินิจฉัยและรักษาเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และเพื่อที่จะได้ค้นพบมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งการกำจัดเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรนี้นอกจากจะลดโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารแล้ว ยังช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
    เมื่อไรควรพบแพาย์
    ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่น ท้องอืด ปวดหรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ควรที่จะมาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนเพื่อป้องกันและรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะแรก โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงดังต่อไปนี้
    1. มีอาการเตือนที่ทำให้สงสัยมะเร็ง คือ เริ่มมีอาการหลังอายุ 50 ปี รักษาแล้วไม่ดีขึ้นหรือมีการกลับเป็นซ้ำของอาการ อาเจียนเรื้อรัง อาเจียนเป็นเลือดหรือสีดำ อุจจาระเป็นสีดำ กลืนติดหรือกลืนลำบาก ซีด โลหิตจางอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ไข้
    2. มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งในอนาคต ได้แก่ มีญาติป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
    3. มีความเสี่ยงของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ มีความจำเป็นต้องกินยาละลายลิ่มเลือดหรือแอสไพรินในระยะยาว มีความจำเป็นต้องกินยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบอย่างเรื้อรัง
    การป้องกัน ย่อมดีกว่าการรักษา ดังนั้นการคัดกรองมะเร็ง อาจทำให้พบมะเร็งได้ในระยะเริ่มต้น

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Promotion ตรวจเช็คโรคระบบประสาทและสมอง
    คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

    กินเจ เมนูสุขภาพ วิถีใหม่ ไร้พุง

    กินเจ เมนูสุขภาพ วิถีใหม่ ไร้พุง

    เทศกาลกินเจ คำว่า “เจ” หรือ “ไจ” บนธงอักษรแดง บนพื้นเหลือง มีความหมายว่า “ของไม่มีคาว” สีแดงเป็นตัวแทนของความเป็นสิริมงคลในชีวิต ส่วนสีเหลืองเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล ธงเจนอกจากเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเตือนพุทธศาส นิกชนที่ปฏิบัติตน “ถือศีล-กินเจ” ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 เทศกาลกินเจ เป็นโอกาสดีในการดูแลสุขภาพ ได้ฝึกวินัย ทั้งทางกาย จิต ปัญญา แต่อาหารเจส่วนมากมักจะมีรสหวาน มัน และเค็มจัด ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำว่าให้ลดการบริโภคโซเดียมลงให้น้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยการกินเจวิถีใหม่ เน้นรับประทานผักให้มากขึ้น ลดแป้งและของทอด บริโภคอาหารสุก สะอาด ล้างมือก่อนและหลังปรุงอาหาร งดน้ำมัน ลดแป้ง กินโปรตีน
    1. ทานอาหารที่มีกากใยสูง ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ข้าวกล้อง แอปเปิ้ลเขียว ผักใบเขียว ช่วยระบบขับถ่ายและระบบลำไส้ทำงานได้ดี
    2. เลือกอาหารประเภท ต้ม ตุ๋น นึ่งและย่าง หลีกเลี่ยงเมนูผัดและทอด เช่น เต้าหู้ทอด เผือกทอด มันทอด เห็ดผัดน้ำมัน
    3. ทานข้าวแป้งแต่พอดี หลีกเลี่ยงเมนูอาหารแปรรูปและเมนูแป้ง เช่น เนื้อเทียมจากแป้ง โปรตีนเกษตร ต่าง ๆ
    4. เลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี ทดแทนจากเนื้อสัตว์ เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ธัญพืช ข้าวโพด
    5. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม เพราะอาจเพิ่มน้ำหนักตัวและก่อโรคต่าง ๆ ได้
    6. ทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ไม่ควรเลือกทานอาหารเมนูชนิดเดิมซ้ำทุกวัน
    7. ดื่มน้ำสะอาด 6-8 แก้วต่อวัน หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
    แนะนำเมนูสุขภาพ 3 เมนู ทำได้ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ แคลลอรี่ต่ำ

    Credit Picture : Mai Yom Auon 

    เห็ดอบวุ้นเส้น = 198 kcal
    ส่วนผสม
    1. วุ้นเส้น ไม่ขัดสี
    2. เห็ดชนิดต่างๆ ตามชอบ
    3. ขิงอ่อน
    4. พริกไทย
    5. ซีอิ้วขาว ผสมน้ำอุ่น
    6. น้ำมันรำข้าว
    วิธีทำ
    1. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันรำข้าว นำขิงอ่อนผัดให้เข้ากัน ตามด้วยเห็ดต่างๆที่เราชอบ และเต้าหู้แข็ง ผัดรวมกัน ให้สุกนิ่ม
    2. ใส่วุ้นเส้นไม่ขัดสี ตามด้วย ซีอิ๋วขาวผสมน้ำ เติมพริกไทย เติมน้ำเปล่า คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝารอวุ้นเส้นสุกดี ตักใส่จานนำเสิร์ฟ

    Credit Picture : Booky HealthyWorld

    ลาบเต้าหู้เส้นบุกใส่เห็ด = 190 Kcal
    ส่วนผสม
    1. เต้าหู้ขาวชนิดแข็ง
    2. เห็ดหูหนูและเห็ดนางฟ้า
    3. ผักชีฝรั่งและใบสาระแหน่
    4. วุ้นเส้นแบน
    5. พริกป่น
    6. ซีอิ๋วขาว
    7. น้ำมะนาว
    8. น้ำตาล
    9. ข้าวคั่ว
    วิธีทำ
    1. ตั้งน้ำให้เดือด นำเต้าหู้ขาวแข็ง มาหั่นเป็นชิ้น และนำไปลวกในน้ำ ตามด้วยลวกเห็ดละวุ้นเส้นต่อ
    2. นำของที่ลวกสุกมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตามด้วยปรุงรสใส่ซีอิ๋วขาว น้ำมะนาว น้ำตาล พริกป่น ข้าวคั่ว ผสมให้เข้ากัน โรยผักชีฝรั่งและสาระแหน่ พร้อมเสิร์ฟ

    Credit Picture : Mai Yom Auon 

    หมี่กล้องพันเจ = 193 Kcal
    ส่วนผสม
    1. หมี่กล้อง
    2. เต้าหู้ขาวชนิดแข็ง
    3. เห็ดเข็มทอง
    4. ต้นทานตะวันอ่อน
    5. งาคั่ว
    วิธีทำ
    1. ตั้งน้ำให้เดือด นำเส้นหมี่กล้องไปลวกให้สุก ตามด้วยย่างเต้าหู้และเห็ดให้สุกพอดี
    2. นำเส้นหมี่กล้อง มาพันกับเต้าหู้และเห็ดที่ย่าง วางด้วยต้นอ่อนตะวัน เพิ่มความหอมด้วยงาคั่ว พร้อมเสิร์ฟ
    การรับประทานเจที่ถูกหลักและได้รับสารอาหารที่มีคุณค่ามีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครบ ควรรับประทานอาหารเจให้หลากหลาย ไม่ควรรับประทานอาหารเจชนิดเดียวเป็นเวลานานๆ รับประทานเจจะช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ล้างพิษ รวมถึงช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น/div>

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    เมื่อไรควรผ่าตัดต่อมทอนซิล Tonsillectomy

    Tonsillectomy

    การผ่าตัดต่อมทอนซิล
    ต่อมทอนซิลอักเสบ
    เป็นภาวะติดเชื้อในช่องคอทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอ กลืนเจ็บ กลืนลำบาก มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย สร้างความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ บางคนที่มีต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังก็จำเป็นต้องผ่าตัดออก เด็กมีแนวโน้มที่จะต้องผ่าตัดต่อมทอนซิลมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทอนซิลทำงานมากที่สุดในช่วงก่อนเข้าวัยวัยเจริญพันธุ์ การผ่าตัดต่อมทอนซิลอาจทำไปพร้อมกับการตัดต่อมอะดินอยด์ในผู้ป่วยเด็ก แต่ทั้งนี้ผู้ใหญ่ที่มีการอักเสบเรื้อรังอยู่บ่อยครั้งก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเช่นกัน
    เมื่อไหร่ที่มีอาการตามนี้ การผ่าตัดทอนซิล คือ ทางออกที่ดีที่สุด
    • ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังเป็นๆหายๆ
    • ต่อมทอนซิลอักเสบรุนแรง เกิดฝีรอบ ๆ ต่อมทอนซิล
    • สงสัยเนื้องอกที่ต่อมทอนซิล
    • ต่อมทอนซิลมีขนาดโตมาก จนอุดกั้นทางเดินหายใจ มีอาการนอนกรน
    • มีก้อนนิ่วที่ต่อมทอนซิล ทำให้มีกลิ่นปาก
    การผ่าตัดทอนซิล (Tonsillectomy)
    การผ่าตัดทอนซิล ทำโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก โดยทำการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ แพทย์ผ่าตัดจะทำการใส่เครื่องมือเล็ก ๆ เพื่ออ้าปากออก และใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า หรือใช้วิธีคว้านเอาต่อมทอนซิลออกทั้งหมด โดยจะไม่มีแผล
    • การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 30 นาที
    • ผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล 1 คืน เพื่อดูอาการ
    • หลังผ่าตัดแนะนำให้ทานอาหารอ่อน ๆ เป็นเวลา 2-3 วันแรก
    • ในช่องคอจะพบมีรอยแผลสีขาว ๆ บริเวณต่อมทอนซิลที่ตัดออกไป ซึ่งเป็นภาวะปกติ รอยนี้จะหายไปได้เองภายในระยะเวลา 5-10 วัน
    • ระยะฟื้นตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)

    อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ

    Tonsillitis
    ต่อมทอนซิลคือเนื้อเยื่อในลำคอ 2 ข้างบริเวณโคนลิ้น ทำหน้าที่ดักจับและกรองเชื้อโรค เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไปในร่างกายมากขึ้น นอกจากต่อมทอนซิลแล้วบริเวณผนังลำคอด้านหลังเนื้อเยื่อที่โคนลิ้นและต่อมอะดินอยด์ (Adenoid) ซึ่งอยู่บริเวณคอหลังจมูกก็เป็นตัวช่วยกรองเชื้อโรคเช่นกัน สาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบเกิดจากภาวะที่ร่างกายอ่อนแอหรือติดเชื้อจากผู้อื่นที่เจ็บป่วย เชื้อโรคในช่องปากและคอจะมีปริมาณมากขึ้น ต่อมทอนซิลจะทำงานมากขึ้นเพื่อกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้ ทำให้ทอนซิลแดง บวม และโตขึ้น ซึ่งเรียกว่า ต่อมทอนซิลอักเสบ
    อาการต่อมทอนซิลอักเสบ
    คล้ายโรคคออักเสบทั่วไป คือเจ็บคอร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ไข้ ไอ เสมหะหรือมีน้ำมูก โดยอาการเจ็บคอจะเจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง เมื่ออ้าปากจะพบว่า ทอนซิลมีลักษณะบวมแดงและโตกว่าปกติ ในกรณีที่เป็นเชื้อรุนแรงอาจมีจุดหนองที่ทอนซิลและต่อมน้ำเหลืองข้างลำคอโตด้วย
    อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ
    เชื้อที่เป็นสาเหตุของทอนซิลอักเสบบางชนิดเป็นเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดหนองรอบๆ ทอนซิลถ้าโรคลุกลาม อาจเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจได้ บางชนิดการอักเสบจะมีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและทำให้ไต หรือหัวใจผิดปกติได้ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดสเตรปโตคอคคัส (Streptococcal Tonsillitis)
    ผู้ป่วยที่มีทอนซิลอักเสบบ่อย ๆ ขนาดของทอนซิลจะโต ซึ่งอาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ สังเกตได้จากขณะนอนหลับผู้ป่วยมักจะกรนดังหรือสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ โดยเฉพาะในเด็ก
    การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ
    ถ้าอาการอักเสบไม่มาก เจ็บคอเล็กน้อย ไม่มีไข้ ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา โดยให้พักผ่อนมากขึ้น ดื่มน้ำ รับประทานอาหารให้เพียงพอ ถ้าร่างกายสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ภายใน 2-3 วัน อาการจะดีขึ้น แต่ถ้ามีอาการมาก เช่น มีไข้สูง เจ็บคอมาก ทานอาหารได้น้อย ควรมาพบแพทย์ หากตรวจพบอาการอักเสบค่อนข้างรุนแรง มักจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาอื่น ๆ ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นในช่วง 3-7 วัน
    จำเป็นต้องตัดทอนซิลออกหรือไม่
    ต่อมทอนซิลมีหน้าที่กรองเชื้อโรคไม่ให้ลุกลามเข้าไปในร่างกายดังที่กล่าวแล้ว โดยทั่วไปจะไม่แนะนำให้ตัดทิ้ง แต่หากในกรณีที่มีการอักเสบรุนแรงหรืออันตรายจากทอนซิลอักเสบ ผู้ป่วยที่ควรได้รับการตัดต่อมทอนซิลออก ได้แก่
    • ต่อมทอนซิลที่มีขนาดใหญ่ทำให้เกิดทางเดินหายใจอุดตัน นอนกรน
    • เคยมีภาวะหนองข้างทอนซิล (Peritonsillar abscess) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
    • ต่อมทอนซิลโตกว่าปกติสงสัยว่าอาจเป็นเนื้องอกมะเร็ง
    พิจารณาให้ผ่าตัดทอนซิลออกในกรณีนี้ เช่น มีอาการอักเสบบ่อยมากกว่า 6 ครั้งใน 1 ปีหรือ 3-5 ครั้งใน 2 ปีติดต่อกัน, มีกลิ่นปากจากทอนซิลอักเสบเรื้อรังหรือมีเศษอาหารอุดตันเข้าไปในทอนซิล, ทอนซิลอักเสบชนิดสเตรปโตคอคคัสและทอนซิลที่โตข้างเดียวที่อาจเป็นมะเร็งได้
    อายุเท่าไรที่สามารถตัดต่อมทอนซิลได้
    โดยทั่วไปไม่จำกัดอายุในการผ่าตัดรวมถึงเด็กเล็ก ถ้ามีข้อบ่งชี้ชัดเจน และไม่มีข้อห้ามในการผ่าตัด เช่น มีปัญหาเลือดหยุดยาก โลหิตจาง ไม่สามารถใช้ยาสลบได้หรือมีโรคประจำตัวที่รุนแรง
    การผ่าตัดทอนซิลมีวิธีการอย่างไร
    การผ่าตัดทอนซิลต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโสต ศอ นาสิก โดยใช้เครื่องมือพิเศษตัดทอนซิลออกทางปาก ไม่มีแผลผ่าตัดให้เห็นด้านนอก และมักผ่าตัดโดยการดมยาสลบ
    การผ่าตัดจะใช้กรรไกร มีด และเครื่องจี้ให้เลือดหยุดไหล ในปัจจุบันมีวิทยาการใหม่ ๆ ที่อาจลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดลงได้กว่าวิธีการเดิม เช่น ใช้คลื่นวิทยุหรือเลเซอร์ช่วยในการผ่าตัด

    อันตรายจากการผ่าตัดทอนซิล
    การผ่าตัดทอนซิลเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง ผู้ป่วยอาจมีปัญหาเลือดออกหลังการผ่าตัด ปวดบริเวณแผลทำให้กลืนลำบากหรืออาจเกิดอาการข้างเคียงจากการดมยาสลบ ดังนั้นจึงต้องสังเกตอาการผู้ป่วยในโรงพยาบาล 1 วันหลังจากการผ่าตัด จนแน่ใจว่าปลอดภัยแพทย์จึงอนุญาตให้กลับไปพักผ่อนที่บ้านได้
    ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไข้ ภาวะขาดน้ำ น้ำหนักลด เสียงเปลี่ยน ส่วนอันตรายถึงแก่ชีวิต จากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ มีโอกาสเกิดน้อยมาก
    หลังผ่าตัดทอนซิลออก ทำให้เกิดคออักเสบบ่อยขึ้นหรือไม่
    ถึงแม้ทอนซิลจะถูกตัดออก และตัวกรองเชื้อโรคลดลง แต่เนื้อเยื่อที่โคนลิ้นและผนังลำคอยังสามารถกรองเชื้อโรคแทนต่อมทอนซิลได้เพียงพอ ดังนั้นหลังการผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยดูแลสุขภาพได้ดี ความถี่ของคออักเสบจะเกิดไม่บ่อยขึ้น และมีแนวโน้มที่จะน้อยลง
    การดูแลหลังการผ่าตัดทอนซิล
    ในวันแรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารอ่อนและเย็น เช่น น้ำหวาน ไอศกรีม โยเกิร์ต เยลลี่ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลบวมและมีเลือดออก ในวันถัดไปจะปรับอาหารให้นุ่ม แข็งขึ้น อุ่นขึ้น ประมาณ 2-5 วันขึ้นอยู่กับอาการปวดของผู้ป่วย การรับประทานอาหารปกติและร้อนควรแน่ใจว่าแผลไม่มีปัญหาแล้วจึงจะเริ่มรับประทานได้ ซึ่งมักใช้เวลา 5-7 วัน หลังออกจากโรงพยาบาล 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าแผลหายดีและไม่มีเลือดออกอีก
    วิธีป้องกันไม่ให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบ
    เช่นเดียวกับหลักการดูแลสุขภาพทั่วๆไป และป้องกันการเกิดหวัด โดยควรพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    ภาวะสมองเสื่อม

    ภาวะสมองเสื่อม

    (DEMENTIA)
    ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่สมองทำงานผิดปกติ เป็นผลให้มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม บุคลิกเปลี่ยนแปลง ขาดความสามารถในการเรียนรู้และการสื่อสาร ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้
    ภาวะสมองเสื่อม เกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมอง มีแนวโน้มว่าจะเกิดภาวะสมองเสื่อมมากขึ้นตามอายุ โรคอัลไซเมอร์จัดเป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด อาจพบภาวะสมองเสื่อมในโรคหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อทางสมอง เนื้องอกในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง หรือเป็นผลจากการขาดวิตามินบีเป็นเวลานาน หรือเกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือเกิดจากการกินยานอนหลับหรือยากล่อมประสาทเป็นเวลานาน
    อาการ
    1. ความจำเสื่อม นับเป็นอาการแรกๆของภาวะสมองเสื่อม จำชื่อคนใกล้ชิดไม่ได้ ไม่สามารถจำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ วางของแล้วจำไม่ได้ ถามคำถามซ้ำซาก ลืมว่าเคยถามและได้คำตอบแล้ว
    2. ไม่สามารถทำงานที่เคยทำได้ เช่น เคยขับรถได้แต่ขับไม่ได้ เคยหุงข้าวได้กลับหุงไม่เป็น
    3. มีปัญหาด้านภาษา เรียกชื่อญาติหรือคนใกล้ชิดไม่ถูก เรียกสิ่งของผิดไป นึกคำพูดไม่ออก พูดซ้ำซาก สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง
    4. สับสนเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ จำเส้นทางเดินทางไปบ้านตัวเองไม่ถูก จำสถานที่ เวลา หรือเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ได้ บอกไม่ได้ว่าตัวเองอยู่ไหน
    5. มีความผิดปกติในการตัดสินใจ ตัดสินใจช้าและตัดสินใจไม่ถูก ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัดสินใจผิดพลาด
    6. สติปัญญาด้อยลง ขาดความสามารถในการวางแผน บวกนับเลขไม่ถูก ทอนเงินไม่ถูก
    7. วางสิ่งของผิดที่ไม่เหมาะสม เช่น วางแว่นตาในอ่างน้ำ วางถังขยะบนโต๊ะอาหาร และมักหาสิ่งของไม่พบ
    8. อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว หรือซึมเศร้า อาจนั่งร้องไห้โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุ เพราะการสื่อสารไม่เข้าใจ
    9. บุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น หนีสังคม เก็บตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์รอบตัว ในรายที่เป็นรุนแรง จะมีปัญหาการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำเองไม่เป็น ใส่เสื้อผ้าเองไม่เป็น ติดกระดุมเสื้อเองไม่ได้ตักข้าวกินเองไม่ได้
    หากมีอาการความจำเสื่อมร่วมกับอาการอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้นอีก 3 อย่างขึ้นไป และต้องพึ่งพาผู้อื่นในการทำกิจวัตรประจำวัน จึงจะวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม
    การวินิจฉัยโรค
    แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกาย ประวัติจะได้จากญาติใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยเองจะหลงลืมให้ประวัติไม่ได้ จะมีแบบทดสอบความจำ สติปัญญา แบบทดสอบภาวะทางจิตใจ นอกจากนี้แพทย์จะตรวจเลือดและเอ็กซเรย์สมอง เช่น การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองหรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุของโรคที่จะรักษาได้
    การรักษา
    ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่อาจช่วยชะลออาการผู้ป่วยได้ ยกเว้นสภาวะสมองเสื่อมที่มีสาเหตุที่รักษาได้ เช่น เป็นเนื้องอกในสมองก็ผ่าตัดเอาเนื้องอกออก ผ่าตัดแก้ไขโพรงน้ำในสมองขยายตัว งดสารเสพติด รักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น
    นอกจากนี้ต้องรักษาโรคที่เป็นความเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น แพทย์อาจใช้ยาที่ช่วยชะลอความจำเสื่อมและยาที่ช่วยระงับพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น เอะอะก้าวร้าว เห็นภาพหลอน
    การรักษาจะสมบูรณ์ได้ต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วย ให้เข้าใจการดำเนินของโรค เข้าใจลักษณะของผู้ป่วย ให้ผู้ดูแลสามารถติดต่อสื่อสารกับทีมรักษาเพื่อปรึกษาปัญหาให้แก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลควรเป็นผู้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ควรให้ผู้ดูแลมีช่วงเวลาพักเพื่อคลายเครียด เพื่อไม่ให้ความเครียดหรือภาระในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยไม่ดีและยังมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้ดูแลอีกด้วย
    การป้องกัน
    1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างสมดุล หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รสเค็มหรือหวานจัด
    2. งดเสพสุรา และสารเสพติด งดสูบบุหรี่
    3. ฝึกบริหารสมอง เช่น การฝึกใช้มือซ้ายทำงานแทนมือขวาที่ถนัด ฝึกเปลี่ยนเส้นทางเดินที่ใช้ประจำ ฝึกเล่นเกม หัดคิดเลข อ่านหนังสือบ่อยๆ
    4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป สัปดาห์ละ 3 - 5 วัน
    5. ระวังอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางสมอง ใส่หมวกกันน็อค คาดเข็มขัดนิรภัยเวลานั่งรถ
    6. เข้าสังคมผู้สูงอายุ พบปะผู้อื่นบ่อยๆ มีกิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น
    7. รักษาโรคประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ เช่น รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และตรวจสุขภาพประจำปี
    8. ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ฝึกสมาธิ
    หากท่านสงสัยว่าจะมีภาวะสมองเสื่อม ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการในระยะแรกๆ จะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

    >

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Promotion ตรวจเช็คโรคระบบประสาทและสมอง
    คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

    สัญญาณอันตราย…โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

    สัญญาณอันตราย...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

    Coronary artery disease :CAD
    โรคหัวใจเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ประชากรไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ   ส่วนใหญ่โรคหัวใจที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
    สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด
    1. เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย  อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
    2. อาการอื่นที่อาจเป็นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นลักษณะเฉพาะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นผลจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะตายในเวลาอันรวดเร็ว ภายใน 6 ชั่วโมง
    โอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
    ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ได้แก่
    1. ผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป
    2. โรคเบาหวาน
    3. ความดันโลหิตสูง
    4. ไขมันในเลือดสูง
    5. สูบบุหรี่
    6. ความเครียด
    7. ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    8. มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
    หากมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ โอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบยิ่งสูงขึ้น
    ทำไมต้องมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็ว หลังเกิดอาการแน่นหน้าอก
    การมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็วโดยเฉพาะใน 2 ชั่วโมงแรกของการเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่รวดเร็วทันเวลา เพื่อจำกัดบริเวณกล้ามเนื้อส่วนที่ตายไปแล้วและช่วยกล้ามเนื้อส่วนที่กำลังจะตายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
    ผลเสียจากการตัดสินใจล่าช้า
    การตัดสินใจล่าช้าอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้างและลึก เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภาวะช็อคจากหัวใจ  โดยเฉพาะภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังจากเกิดอาการ
    โรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีการแสดงของโรคหลายแบบ
    1. กรณีที่วิกฤตที่สุดจะเกิดคราบแข็งแตกตัวเฉียบพลัน ร่วมกับการเกิดลิ่มเลือดเกาะตัวมารวมกันอุดตันเส้นเลือดทันที ทำให้เกิดอาการหลอดเลือดหัวใจอุดตันในเวลาอันสั้นเป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงโดยไม่เคยรู้ตัวมาก่อน เรียกว่า อาการเจ็บหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome & Acute Myocardial Infarction)
    2. กรณีรองลงมา คราบแข็ง (Plaque) จะพอกตัวขึ้นช้าๆ ลิ่มเลือดเกิดขึ้นครั้งละน้อยๆ และละลายตัวได้ทันเองจากยา ไม่อุดตันในหลอดเลือดส่วนที่แคบจากคราบแข็ง หากการแคบตีบ จะมีอาการเพียง เจ็บหน้าอกร้าวไปไหล่ร่วมกับเหงื่อแตกขณะเจ็บหน้าอก เหนื่อย ความดันโลหิตสูง ถ้าควบคุมไม่ได้ อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจกราฟหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
    3. อาการเจ็บหน้าอกที่บ่งชี้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Angina Pectoris) มักเป็นการเจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก
    การรักษา
    1. รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด
    2. รักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนและการใช้ขดลวดค้ำยัน
    3. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ
    4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ งดอาหารไขมันสูง ลดอาหารแป้งและน้ำตาล งดอาหารเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด
    5. รักษาโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รับประทานยาและติดตามการรักษาต่อเนื่อง
    สัญญาณอันตราย เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น
    หากมีอาการเหล่านี้ควรปร๊กษาแพทย์ ตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจ เพื่อการรักษาก่อนเกิดโรค

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

    การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

    โปรแกรม ตรวจสุขภาพ S M L

    ชุดตรวจสุขภาพ S, M, […]

    DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

    คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

    มารู้จัก โรคหัวใจกันเถอะ

    มารู้จัก โรคหัวใจกันเถอะ

    WORLD HEART DAY
     
    ประวัติวันหัวใจโลก
    วันหัวใจโลกมีต้นกำเนิดมาจากสมาพันธ์นานาชาติ ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ ที่เป็นปัญหาในการทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตโดย International Society of Cardiology ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี1946 และ International Cardiology Federation ในปี 1970 ต่อมาในปี 1978 ทั้ง 2 สมาพันธ์ได้รวมตัวกันเป็น International Society and Federation of Cardiology (ISFC). และเปลี่ยนชื่อเป็น World Heart Federation ในปี 1998

    วันหัวใจโลก (World Heart Day) ตรงกับวันที่ 29 กันยายนของทุกปี จัดขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นน 1 ใน 7 โรคไม่ติดต่อ และเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในอับดับต้นๆ ของคนไทยและคนทั่วโลก โดยเฉพาะในคนไทยเกิดจากวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมากมาย ทั้งเรื่องการรับประทานที่มากเกินพอดี มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ใช้เครื่องอำนวยความสะดวกมากขึ้น ขาดการออกกำลังกาย รวมถึงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พฤติกรรมดังกล่าวส่งเสริมให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และส่งผลให้คนเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดกันมากขึ้น

    โรคหัวใจ
    1. โรคหัวใจ
    2. โรคหลอดเลือดหัวใจ
    3. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
    4. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
    5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
    6. โรคลิ้นหัวใจ
    7. โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ
    โรคหัวใจนั้นไม่ได้เกิดในเฉพาะผู้สูงอายุ หรือเพศใดเพศหนึ่ง แต่สามารถเกิดได้กับทุกคน และโรคหัวใจบางโรคสามารถป้องกันได้ โดยการปรับพฤติกรรมดังนี้
    • อาหาร เลือกรับประทานข้าวแป้งไม่ขัดสี, ธัญพืช, ถั่วเมล็ดแห้ง ใช้น้ำมันที้ทําจากไขมันดีในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันรําข้าว น้ำมันคาโนล่า ลดการใช้เครื่องปรุงรส และอาหารสําเร็จรูปเพื่อหลีกเลี่ยงโซเดียม เพิ่มการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศ จําพวก พริกไทย กระเทียม
    • ออกกําลังกาย เพื่อป้องกันโรคหัวใจควรออกกําลังกาย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ หรืออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ สามารถเลือกการออกกําลังกายที่สามารถทําในบ้านได้ เช่น การออกกําลังกายแบบบอดี้เวท โยคะหรือกระโดดเชือก
    • อารมณ์ หมั่นดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของตัวเองและคนในครอบครัวให้แข็งแรง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ฝึกปรับทัศนคติ และหมั่นตรวจสอบอาการทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของตัวเอง อย่างสม่ำเสมอ

    มารู้จัก โรคหัวใจกันเถอะ

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

    การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

    โปรแกรม ตรวจสุขภาพ S M L

    ชุดตรวจสุขภาพ S, M, […]

    DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

    คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

    สาระน่ารู้…. อาหารบำบัดโรคหัวใจ

    สาระน่ารู้.... อาหารบำบัดโรคหัวใจ

    โรคหัวใจ เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะค่อยๆ สะสมและทวีความรุนแรงจนเกิดอาการเรื้อรัง และสาเหตุหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีปริมาณแป้ง หรือน้ำตาลมากเกินไป หากกินเข้าไปมาก ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายก็จะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมันที่มีชื่อว่า "ไตรกลีเซอไรด์" เมื่อเกิดไขมันสะสมทำให้เป็นโรคอ้วนและเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ การเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์และมีสัดส่วนที่เหมาะสมต่อร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งเราสามารถเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง 
    1. ควรควบคุมการปรุงรสเค็มในอาหาร เนันการปรุงรสอ่อนๆ และหลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มในขณะรับประทาน เช่น น้ำปลา เกลือ ชี่อิ๊ว ซอสปรุงรส (ปริมาณโซเดียมในการปรุงรส/วันไม่ควรเกิน 2000 มิลลิกรัม/วัน)
    2. รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันน้อย เลือกวีธีการหุงต้มอาหารแบบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยำหรือผัดน้ำมันน้อย
    3. ควรใช้น้ำมันพืชชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัว unsaturatedfatty acid) ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอกน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง (ในปริมาณวันละ 5-7 ช้อนชา)
    4. เน้นการรับประทานเต้าหู้ และเนื้อปลาบ่อยๆ โดยเฉพาะ ปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาโอ ปลาทูน่าปลาแซลมอน จะช่วยในการเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDLและลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL, Triglyceride)
    5. รับประทานผักและผลไม้ไม่หวานจัดเป็นประจำทุกมื้อและให้หลากหลาย (ผักและผลไม้ไม่ควรน้อยกว่า 400 กรัม/วัน)
    6. หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารหรือแปรรูป รวมทั้งอาหารหมักดองทั้งหลาย เพราะจะมีปริมาณของเกลือหรือโซเดียมสูง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักดอง อาหารกระป๋องหรือผักผลไม้ที่แปรรูป หากมีความจำเป็นต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปควรอ่านฉลากที่ติดมากับอาหารก่อน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมและผงชูรสในปริมาณสูง
    7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมเกลือและผงชูรสสูง เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถั่วอบเนย ข้าวโพดคั่ว
    8. หลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดกรดไขมันชนิดอิ่มตัวสูง saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันหมู,ไก่
    9. หลีกเลี่ยง เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง และอาหารที่มี ไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ปาท่องโก๋ กล้วยแขก ข้าวขาหมู ผัดไทย หอยทอด
    10. หลีกเลี่ยง อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ผัดซีอิ๊ว ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง เครื่องในสัตว์
    11. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานซ์สูง (Trans fatty acid) เช่น พาย โดนัท ขนมขบเคี้ยว เนยเทียม มาการีน
    12. หลีกเลียงการรับประทานอาหารหวานหรือที่มีน้ำตาลสูงหรือขนมเบเกอรี่ต่างๆ เช่น ขนมหวานชนิดต่างๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ต่างๆ น้ำอัดลม
    13. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟ เพราะมีส่วน ผสมของคาเฟอีน
    14. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มเกลือแร่
    15. งดการสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด
    16. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ (ภายใต้คำแนะนำของแพทย์)
    17. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมการหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (กก.) / ส่วนสูง x ส่วนสูง (เมตร)
    การแปลผลค่าดัชนีมวลกาย  (BMI)
    ค่าดัชนีมวลกาย
    เกณฑ์น้ำหนัก
    พลังงานที่ต้องการน้ำหนักตัว 1 กก./วัน
    น้อยกว่า 18.5 น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ 40 กิโลแคลอรี่
    18.5-22.9 น้ำหนักตัวปกติ 30 กิโลแคลอรี่
    23-24.9 ท้วม 25 กิโลแคลอรี่
    25-29.9 น้ำหนักตัวเกิน 40 กิโลแคลอรี่
    30 ขึ้นไป โรคอ้วน 20 กิโลแคลอรี่
    แนวทางการเลือกรับประทานอาหาร
    ประเภทเครื่องดื่ม
    ตัวอย่างอาหารที่ควรเลือกรับประทาน
    ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
    นมพร่องไขมัน ชา กาแฟ
    นมขาดไขมัน น้ำอัดลม
    น้ำเต้าหู้   โอเลี้ยง
      เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    ประเภทอาหาร
    ตัวอย่างอาหารที่ควรเลือกรับประทาน
    ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
    ข้าวหน้าปลาอย่าง ข้าวขาหมู ข้าวคากิ
    ข้าวต้มปลา ข้าวมันไก่
    โจ๊ก แกงเขียวหวาน แกงกะทิ
    สลัดผักราดโยเกิรต์ หอยทอด
    ก๋วยเตี๋ยวน้ำ คอหมูย่าง
    ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า หนังไก่ทอด,แคบหมู
    ปลานึ่ง แหนม ปลาส้ม
    สเต็กปลา กล้วยแขก
    แกงส้ม แกงปลา ปาท่องโก๋
      ทองหยอด ทองหยิบ
      ฝอยทอง เม็ดขนุน
    อาหาร มีความสำคัญต่อสุขภาพ แต่อาหารบางชนิดก็ไม่ได้เหมาะสำหรับกลุ่มอายุ และโรคบางอย่าง ดังนั้นควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารเฉพาะโรค เพื่อช่วยบำรุงและรักษาสุชภาพ และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ที่อาจเป็นอันตรายในอนาคต

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

    การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

    DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

    คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค