คัดกรองมะเร็งเต้านม
คัดกรองมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ภัยร้ายใกล้ตัว
รู้ก่อนรักษาก่อน ตรวจได้ตั้งแต่ยังไม่เป็น การตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ และได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่น
การรักษาอย่างถูกต้องสามารถมีโอกาสหายขาดได้สูง
มะเร็งเต้านม ภัยร้ายใกล้ตัว
ใครบ้างที่เสี่ยง
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะมารดาหรือพี่น้องร่วมอุทรณ์
- ผู้ที่เคยรับประทานฮอร์โมนเสริมในวัยใกล้หรือหมดประจำเดือนแล้ว
- ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ทุก 1- 2 ปี ผู้มีประวัติเป็นซีสต์หรือเนื้องอกที่เต้านม
- ผู้ที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปีหรือประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 50 ปี
- ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี หรือไม่เคยมีบุตร
- ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
- ผู้ที่มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่
รายการ
|
|
---|---|
ตรวจคัดกรองหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์
Digital Mammogram and Breast Ultrasound
|
2,900.-
ปกติ 3,730.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
|
วันนี้ - 30 มิถุนายน 2564
การดูแล เด็กที่มีไข้และไข้ชัก

การดูแล เด็กที่มีไข้และไข้ชัก
ไข้ชักคืออะไร
เกลือแร่ในร่างกาย และไม่เคยมีประวัติชัก โดยไม่มีไข้ร่วมด้วยมาก่อน พบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ในเด็กที่อายุมากกว่า 7 ปีแล้ว พบได้น้อยมาก
ใครมีความด้วยเป็นโรคไข้ชักบ้าง
- อายุที่พบบ่อย คือระหว่าง 6 เดือน – 5 ปี
- มีไข้สูง 38.5 ขึ้นไป (โดยเฉพาะใน 1-2 วันแรกของการมีไข้)
- มีประวัติไข้ชักในครอบครัว (ถ่ายทอดทางพันธุกรรม)
การรักษา
ในระยะยาวเนื่องจากไม่พบความผิดปกติทางสมองจากไข้ชักจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยากันชักในระยะยาว เว้นแต่เป็นผู้ป่วยที่ชักซ้ำหลายครั้งรวมถึงมีความผิดปกติทางสมอง แพทย์อาจพิจารณาให้ยากันชักช่วงที่มีไข้
อันตราย
- โรคไข้ชักมีภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่ควรระวังจะเป็นเรื่องการหายใจ การสำลัก และอุบัติเหตุ เช่น การตกเตียง ไม่พบการเสียชีวิตจากโรคไข้ชัก และไม่พบความพิการเกิดขึ้นจากโรคไข้ชัก
- ถ้าเป็นไข้ชักไม่เกิน 15 นาที ไม่มีการชักซ้ำและไม่มีความผิดปกติทางระบบประสาทหลังชักพบว่า ไม่มีผลกับสมอง ระดับสติปัญญา พัฒนาการและพฤติกรรมในอนาคต
- โอกาสเป็นโรคลมชักเท่าเด็กทั่วไป
- ยกเว้น ถ้ามีไข้ชักหลายครั้ง ร่วมกับเป็นอายุ 12 เดือนและมีประวัติครอบครัวเป็นโรคลมชัก จะมีโอกาสเป็นโรคลมชักก่อนอายุ 25 ปี ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้และรับการรักษาเพื่อช่วยลดระยะเวลาของไข้
เกิดไข้ชักซ้ำได้หรือไม่
- ไข้ชักครั้งแรกอายุน้อยกว่า 1 ปี มีโอกาสชักซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้ร้อยละ 50
- ไข้ชักครั้งแรกอายุมากกว่า 1 ปี มีโอกาสชักซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้ร้อยละ 30
- ไข้ชักมาแล้ว 2 ครั้งมีโอกาสชักครั้งที่ 3 ร้อยละ 50
การป้องกันการชักซ้ำ
- ให้ยาลดไข้ (พาราเซตามอล) ให้ขนาดที่พอเหมาะกับน้ำหนักตัวเด็กทันทีที่ทราบว่าไข้ขึ้น และสามารถให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชม.
- ให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ
- เช็ดตัวลดไข้อย่างถูกวิธี โดยใช้น้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น
- ควรระมัดระวังการให้ยาลดไข้สูง ในกลุ่มไอบูโพรเฟนหรือยาแอสไพริน ในกรณีที่สงสัยโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
วิธีปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยชัก
- พ่อแม่และผู้ปกครองที่พบต้องตั้งสติ อย่าตกใจ
- ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
- ควรจับเด็กให้นอนตะแคงบนเตียงหรือพื้น เพื่อเปิดทางเดินหายใจป้องกันการสำลักและระมัดระวังไม่ให้ตกเตียง ไม่ต้องพยายามจับหรือกอดรัดเด็กให้หยุดชัก เพราะอาจทำให้เด็ก แขนหักหรือหัวไหล่หลุด
- ถ้ามีลูกยางแดงให้ดูดน้ำลาย เสมหะออกจากปาก หลังจากทำให้ทางเดินหายใจโล่งแล้ว เอาปากประกบปากเด็กแล้วเป่าลมช่วยหายใจ
- ถ้ามีเศษอาหารในปาก ให้ล้วงเศษอาหารออกจากช่องปากเพื่อป้องกันภาวะอุดตันในทางเดินหายใจ ระหว่างมีอาการชัก
- หากเด็กกัดฟัน ไม่ควรพยายามเอาช้อน นิ้วมือของแข็งงัดปากเด็ก เพราะอาจทำให้เยื่อบุช่องปากฉีกขาด ฟันหักขากรรไกรหัก และอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โอกาสที่เด็กจะกัดลิ้นตัวเองมีน้อย
- เด็กมักหยุดชักได้เอง
- เช็ดตัวลดไข้
- ให้ยาลดไข้ทันที ที่รู้สึกตัว
- รีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุ
ตรวจสุขภาพ
ตรวจสุขภาพ

ตรวจ 4 รายการ : 999.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล(พร้อมใบรับรองแพทย์)
ตรวจ 6 รายการ : 1,299.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล(พร้อมใบรับรองแพทย์)
ใคร ๆ ก็ตรวจได้
รายการตรวจ
|
ตรวจ 4 รายการ
|
ตรวจ 6 รายการ
|
---|---|---|
ตรวจร่างกายโดยแพทย์
(Physical Examination)
|
|
|
ตรวจเอกซเรย์ปอดดิจิตอล
(X-ray)
|
|
|
ตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ
(Amphetamine)
|
|
|
ตรวจวัดสายตาทั่วไป/ตาบอดสี
|
|
|
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
(CBC)
|
|
|
ตรวจความสมบูรณ์ของปัสสาวะ
(UA)
|
|
|
ราคา
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล(พร้อมใบรับรองแพทย์)
|
999.-
|
1,299.-
|
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2564
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
แพคเกจวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV Vaccine)

วัคซีน HPV 4 สายพันธุ์
วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์
วัคซีนป้องกันไวรัส HPV สามารถฉีดได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
ประสิทธิภาพจะดีที่สุดในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การเริ่มให้วัคซีนตั้งแต่ช่วงก่อนเข้าวัยรุ่นถึงวัยรุ่น
มะเร็งปากมดลูกจากไวรัส HPV
ประสิทธิภาพของ HPV Vaccine จะสูงที่สุดในสตรีที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนก่อนถึงวัยที่จะมีเพศสัมพันธุ์ โดยปัจจุบันแนะนำให้ฉีด ในทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ที่มีอายุ 9 ปี ช่วงดังกล่าวเด็กจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่นอกจากนั้นยังแนะนำว่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 13-26 ปี ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบควรได้รับการฉีดทุกคน
- มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุจากเชื้อ HPV ถึง 99.7%
- เป็นมะเร็งที่ตรวจพบมากเป็นอับดับ 2 ในหญิงไทย
- ผู้ชายก็สามารถติดเชื้อ HPV ได้เพราะเชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก
มะเร็งจากไวรัส HPV ป้องกันได้
- แนะนำให้ฉีดในผู้หญิงและผู้ชายอายุ 9 -26 ปีทุกคน และ ผู้หญิงที่มีอายุ 26-45 ปี หรือแม้แต่ผู้ที่เคยมีผล pap smear หรือ HPV testing ผิดปกติ
วัคซีน HPV 4 สายพันธุ์
- สายพันธุ์ที่ 16, 18 สาเหตุของ มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งทวารหนัก
- สายพันธุ์ที่ 6, 11 สาเหตุของ หูดหงอนไก่
วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์
- สายพันธุ์ที่ 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58 สาเหตุของ มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งทวารหนัก
- สายพันธุ์ที่ 6, 11 สาเหตุของ หูดหงอนไก่
ผลข้างเคียงของการฉีด HPV Vaccine
- อาการข้างเคียงบริเวณที่ฉีดวัคซีน เช่น ปวด บวม แดง และคัน ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง เป็นอยู่ชั่วคราวและหายไปเอง
- อาการทั่วไปเช่น ไข้ พบประมาณร้อยละ 10 ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและหายได้เอง อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย และผื่นคันตามตัว อาการเหล่านี้ไม่รุนแรงและหายได้เอง
สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อหยุดมะเร็งปากมดลูก
รายการ
|
วัคซีน HPV 4 สายพันธุ์
|
วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์
|
---|---|---|
2 เข็ม
สำหรับเด็กอายุ 9-14 ปี
|
5,900.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
|
12,500.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
|
3 เข็ม
สำหรับผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
|
7,800.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
|
18,500.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
|
วันนี้ - 30 มิถุนายน 2564
มะเร็งปอด รู้เร็ว รักษาได้

มะเร็งปอด รู้เร็ว….รักษาได้
ชนิดของมะเร็งปอด
มะเร็งปอด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากจะรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
- มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่จะแพร่กระจายได้ช้ากว่า และสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ
สาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด
- บุหรี่ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10-30 เท่า เนื่องจากสารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ โดย ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนมวนและจำนวนปีที่สูบบุหรี่
- การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon) สารหนู รังสี และสารเคมีอื่นๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ
- อายุ ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุโดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบและรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบมะเร็งปอดแบบง่ายหรือด้วยตนเองดังเช่น มะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose helical computerized tomography) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้
อาการของโรคมะเร็งปอด
- ไอเรื้อรัง(ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ) มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
- หายใจมีเสียงหวีด เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
- ไอมีเลือดปน เสียงแหบ
- ติดเชื้อในปอดบ่อย ๆ เช่น ปอดบวม เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี
การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี
- การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT scan)
- การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
- การตรวจด้วยเครื่อง PET Scan (Positron Emission Tomography Scan) เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง
บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองมี 2 ประเภทคือ
- โรคหลอดเลือด สมองหลักตีบ
- อุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด
ปัจจัยเสี่ยง ของโรคหลอดเลือดสมอง
อาการของโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน
- แขนขา ชา อ่อนแรงหรือชาครึ่งซีกข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด
- พูดตะกุดตะกัก พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ นึกคำพูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจทันทีทันใด
- ตามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด
- ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
- เวียนศีรษะบ้านหมุน เดินเซ เสียการทรงตัว
การรักษา
- การรักษาทางยาสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน แพทย์จะให้ยาในกลุ่มยาละลายลิ่มเลือดยาต้าน เกร็ดเลือด โดยทั่วไปผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และ จะต้องมาตรวจ สม่ำเสมอ เพื่อปรับขนาดของยา ตามแผนการรักษา
- การรักษาโดยการผ่าตัดในบางราย โดยเฉพาะ ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจากการปริแตกหรือฉีกขาด ของหลอดเลือดสมอง
- การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู
- การรักษาโดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดสมอง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมอย่าให้อ้วน
- งดสูบบุหรี่
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง
- ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้วหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อยู่แล้วต้องรักษาและพบแพทย์ อย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาหรือปรับยาเองโดยเด็ดขาด
- รับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 / Fish Oil สามารถลดความ เสี่ยงต่อการเกิด thrombosis stroke ได้
บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้มากที่สุด เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ขับถ่าย ทานอาหาร แต่งตัว และให้ความช่วยเหลือถ้า จำเป็น
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้ร่างกายข้างที่อ่อนแรง เท่าที่สามารถจะทำได้
- ช่วยเหลือกิจกรรมที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
- ให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในตนเอง
- ช่วยทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย
- ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
- ช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด ห้ามขาดยา และมาพบตามแพทย์นัด
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ ในรายที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากไม่ได้สามารถให้อาหาร ทางสายยางได้อย่างถูกวิธี ในรายที่รับประทานอาหารเองได้ ให้ระวังการสูดสำลัก
กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน gastroesophageal reflux disease: GERD

การวินิจฉัย
อาการของโรคกรดไหลย้อน
- อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร
- รู้สึกคล้ายว่ามีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ
- มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา
- เจ็บคอ แสบคอ แสบปาก แสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
- รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในคอ หรือปาก
- เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาหาร หรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอก หรือ คอ
- อาการปวดแสบร้อนที่หน้าอกและลิ้นปี่
- รู้สึกจุกแน่นในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย มีน้ำลายไหลมากผิดปกติ มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุได้
- อาการทางกล่องเสียงและหลอดลม
- เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม
- ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารหรือขณะนอน
- ไอ สำลักน้ำลาย หรือ หายใจไม่ออกในเวลากลางคืน กระแอมไอบ่อย
การรักษา
- การปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน
- วิธีนี้สำคัญที่สุดในการทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลงป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และลดการกลับมาเป็นซ้ำ โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปที่คอ และกล่องเสียงมากขึ้น การรักษาโดยวิธีนี้ควรปฏิบัติไปตลอดชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ แม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้ว หรือหายดีแล้ว โดยไม่ต้องรับประทานยา
- การรับประทานยา
- เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและหรือเพื่อการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรดปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม ()เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี เห็นผลการรักษาเร็ว การรักษาโรคกรดไหลย้อน ควรรับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่งไม่ควรลดขนาดของยา หรือหยุดยาเอง นอกจากแพทย์แนะนำและควรไปตามที่แพทย์นัดสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1–3 เดือนอาการต่างๆจึงจะดีขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันได้รับประทานยาตอเนื่อง 2–3 เดือน แพทย์จะปรับขนาดยาลงทีละน้อย พบว่าประมาณ 90 % สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา
- การผ่าตัด
- อาการรุนแรง ซึ่งให้การรักษาโดยยาอย่างเต็มที่แร้วไม่ดีขึ้น
- ไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาภาวะนี้ได้
- ในรายที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยาแต่ไม่ต้องการที่รับประทานยาต่อ
- รายที่มีอาการกลับเป็นซ้ำบ่อยๆหลังหยุดยา
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอน ภายในเวลา 3 ช.ม. การนอนราบหรือการออกกำลังกายหลังจากทานอาหารทันที
- รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารมัน ทอด อาหารย่อยยาก พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม มะเขือเทศ ช็อกโกแลต ถั่ว หรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด เครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง แอลกอฮอล์
- พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
- เลิกสูบบุหรี่
- ถ้าน้ำหนักเกินควรลดน้ำหนัก
- หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่แน่นเกินไปโดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
- เวลานอน ควรหมุนหัวเตียงให้สูงขึ้น ประมาณ 6 นิ้ว จากพื้นราบโดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐอย่ายกศีรษะโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันช่องท้องเพิ่มขึ้น
- หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเองเวลาป่วยเนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนลางคลายตัวมากขึ้น
- ไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มเกินไปในแต่ละมื้อ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ถึงบ้าน
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ถึงบ้าน

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ถึงบ้าน
1 - 3 ท่าน : 849.- (ต่อท่าน)
4 ท่านขึ้นไป : 700.- (ต่อท่าน)
สุขภาพดีทั้งครอบครัวไม่ใช่เรื่องยาก
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ทั้งในและนอกโรงพยาบาล
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่บ้าน |
|
---|---|
รายการ |
ราคา(ต่อท่าน) |
1 - 3 ท่าน | 849.- |
4 ท่านขึ้นไป | 700.- |
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่โรงพยาบาล |
|
รายการ |
ราคา(ต่อท่าน) |
1 - 3 ท่าน | 849.- |
4 ท่านขึ้นไป | 700.- |
ฉีดวัคซีนอื่น ๆ ที่บ้าน | |
---|---|
รายการ |
ราคา(เข็ม) |
วัคซีนปอดอักเสบ 13 สายพันธฺุ์ (สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน) | 3,250.- |
วัคซีนปอดอักเสบ 23 สายพันธุ์ (สำหรับผู้ที่เคยได้รับวัคซีน) | 1,700.- |
วัคซีนงูสวัด | 5,555.- |
วัคซีนอีสุกอีใส | 1,700.- |
เงื่อนไขการรับสิทธิ์
- ไม่สามารถซื้อสิทธิ์เก็บไว้ได้
- รับบริการตั้งแต่ 4 ท่านขึ้นไปและใช้บริการภายในวันเดียวกันทุกท่าน(พร้อมกัน)
- สามารถใช้ได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2564
- ให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น.
- จะต้องจองล่วงหน้า 3 วัน และจะต้องทำการชำระเงินก่อนถึงวันเข้ารับบริการ
- ให้บริการเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไม่เกิน 20 กม. จากโรงพยาบาล
- ขอสงวนสิทธิ์การคืนเงิน ยกเลิกทุกกรณี แต่สามารถเปลี่ยนแปลงวันรับบริการได้
วันนี้ - 31 มีนาคม 2564
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
อาหารที่ควรงดได้แก่
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เช่น เหล้า เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ยูริคสูงขึ้น
- งดอาหารที่มีพิวรีนสูง
การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
- ไม่รับประทานอาหารมันมาก เช่น อาหารที่ทอดอมน้ำมันมาก เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันทำให้ร่างกายขับยูริคได้น้อยลง
- ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว มีสารพิวรีน สูง หากกินไม่มาก ก็ไม่เป็นไร แต่หากดื่มนมถั่วเหลืองชนิดเข้มข้นวันละ 1 ลิตร หรือมากกว่านับว่าปริมาณมากเกิน ทำให้ได้รับพิวรีนมากประกอบกับโปรตีนก็สูง ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการสร้างกรดยูริกภายในร่างกายได้ ควรลดปริมาณการดื่มนมถั่วเหลืองลงให้เหลือวันละ 2 แก้ว
- ควรละเว้นไม่รับประทานส่วนยอดผัก ต้นอ่อนของผัก เช่น ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีนหน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม
- งด อาหารหมัก ที่ใช้ ยีสต์ เป็นตัวเร่งหรือส่วนประกอบ เช่น เต้าเจี้ยว
- เมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้จะมียูริกค่อนข้างมาก แม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม ควรงดโดยเฉพาะขณะมีอาการ
กลุ่ม | ปริมาณพิวรีน/อาหาร 100 ก. | อาหาร |
---|---|---|
อาหารที่ควรงด (มีพิวรีนสูง) | มากกว่า 150 มก. |
|
อาหารที่ควรลด (มีพิวรีนปานกลาง) | 50-150 มก. |
|
อาหารที่รับประทานได้ตามปกติ (มีพิวรีนน้อย) | 0-15 มก. |
เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากระพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ใบขี้เหล็ก สะตอ ข้าวโอ๊ต ผักโขม เมล็ดถั่วลันเตา หน่อไม้ |
ข้อควรปฏิบัติด้านอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
- รับประทานผลไม้และผักให้มาก โดย รับประทานผักส่วนที่โตเต็มวัย
- รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่
- ดื่มน้ำสะอาด มากๆ วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยการขับถ่ายยูริคออกมาทางปัสสาวะ
- รับประทานเต้าหู้เป็นประจำ เพราะเต้าหู้จะช่วยขับยูริค
โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergic skin disease)

โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergic skin disease)
โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง(Allergic skin disease)
โรคภูมิแพ้ทางดวงตา(Eye allergy)
โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการหลายระบบ(Anaphylaxis)
การวินิจฉัย
การรักษา
- ควบคุมสิ่งแวดล้อมและสารก่อภูมิแพ้
- ให้การรักษาด้วยยา
- ไรฝุ่น
- จัดห้องนอนให้โล่ง ไม่ควรมี พรม ตุ๊กตา และผ้าม่าน
- ซัก ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้าห่มด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
- คลุมที่นอน หมอน หมอนข้างด้วยผ้าใยสังเคราะห์ชนิดพิเศษซึ่งสามารถกันไม่ให้ตัวไรฝุ่นลอดผ่านขึ้นมาได้
- แมลงสาบ
- ขจัดแหล่งอาหารของแมลงสาบ โดยทิ้งขยะและเศษอาหารในถุงหรือถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
- ใช้ยาฆ่าแมลงสาบและกับดักแมลงสาบ
- สัตว์เลี้ยง
- ไม่ควรเลี้ยงสัตว์มีขน เช่น สุนัข แมว นก กระต่าย
- ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ควรให้สัตว์เลี้ยงอยู่นอกบ้าน และอาบน้ำให้ทุกสัปดาห์
- ใช้เครื่องดูดฝุ่น และเครื่องกรองอากาศ
- เกสรหญ้า
- ควรตัดหญ้าและวัชพืชบริเวณบ้านบ่อยๆ เพื่อลดจำนวนเกสร
- ไม่ควรนำต้นไม้ ดอกไม้สด หรือแห้ง ไว้ในบ้าน
- ในช่วงที่มีละอองเกสรมาก ควรปิดประตู หน้าต่าง และใช้เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องฟออากาศ
- ทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเช้า เพราะละอองเกสรจะปลิวมากช่วงตอนเย็น
การให้การรักษาด้วยยา
- ยาบรรเทาอาการต่างๆ เช่นยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) และยาขยายหลอดลม
- ยาต้านการอักเสบเช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือสูดทางปาก
- การใช้วัคซีนภูมิแพ้เป็นการรักษาโดยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายเริ่มจากปริมาณน้อยๆ และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆจนร่างกายเกิดความชินต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น ซึ่งผู้ป่วยที่ควรรับการรักษาโดยวิธีฉีดวัคซีนภูมิแพ้คือ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีผลข้างเคียงจากยา โดยก่อนจะเลือกรักษาด้วยการฉีดวัคซีน จำเป็นต้องทราบก่อนว่าแพ้อะไร เพื่อจะได้นำสารที่แพ้มาฉีดเป็นวัคซีน ซึ่งการรักษาโดยวิธีนี้ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และผู้ป่วยต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำอย่างน้อย 3-5 ปี
ความเครียด วิตกกังวลกับโรคทางระบบทางเดินอาหาร

ความเครียด วิตกกังวลกับโรคทางระบบทางเดินอาหาร
ความเครียด วิตกกังวลกับโรคทางระบบทางเดินอาหาร
จากสภาวะแวดล้อมของสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันที่สูงในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา เศรษฐกิจ รวมทั้งการใช้ชีวิตแบบโดดเดี่ยว และความใกล้ชิดของบุคคลในครอบครัวที่ลดลง ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าจึงเป็นปัญหาที่ยากจะหลีกเลี่ยง คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าความเครียดเป็นปัญหาทางด้านจิตใจเพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้วผู้ที่มีความเครียดนั้นส่งผลร้ายต่อร่างกายในทุกระบบ ดังเช่น ระบบประสาทคือทำให้เป็นโรคปวดหัวเรื้อรังหรือไมเกรน ระบบหัวใจและหลอดเลือดคือความดันโลหิตสูงมากขึ้น ซึ่งแน่นอนก็ย่อมรวมถึงระบบทางเดินอาหารด้วย
ความเครียดต่อโรคระบบทางเดินอาหารนั้นมีน้อยคนนักที่จะตระหนักถึงความสำคัญ แต่ความจริงแล้วความเครียดนั้นส่งผลให้เกิดโรคทางระบบทางเดินอาหารได้ทุกอวัยวะ ตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้ใหญ่ โดยส่วนของหลอดอาหารก็ทำให้เกิดอาการได้ตั้งแต่ความรู้สึกแปลกๆเหมือนมีก้อนที่คอหรือเรียกว่า “ความรู้สึกแบบโกลบัส” การมีอาการแสบที่บริเวณหน้าอกหรืออาการเรอเปรี้ยวซึ่งเป็นอาหารของกลุ่มโรคกรดไหลย้อน ในส่วนของกระเพาะอาหารนั้นก็ทำให้เกิดอาการจุกแน่น แสบที่บริเวณลิ้นปี่ ท้องอืดคล้ายผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารได้เรียกว่า “โรคดิสเป๊บเซีย” ท้ายที่สุดในส่วนของลำไส้ใหญ่นั้นก็ทำให้เกิดโรคลำไส้แปรปรวนได้ ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้อง และการขับถ่ายผิดปกติได้ทั้งท้องผูกหรือท้องเสีย บางครั้งความรุนแรงของโรคที่กล่าวมานี้ก็อาจจะรุนแรงจนทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเสียไป ทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ต้องหยุดงาน หรือแม้รุนแรงจนกระทั่งต้องนอนโรงพยาบาล นอกจากนั้นแม้ว่าอาการที่บ่งชี้ถึงโรคทางเดินอาหารจะเกิดจากความเครียดได้ แต่ในบางครั้งอาการเหล่านี้ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนต่อการเป็นโรคร้ายคือโรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการผิดปกติดังนี้คือ กลืนลำบาก อาเจียน อุจจาระเป็นสีดำหรือเป็นเลือด ซีด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ดังนั้นการได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน และลำไส้ใหญ่เพื่อสืบค้นโรคในผู้ป่วยบางรายจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาผู้ที่มีความเครียดและมีอาการที่บ่งชี้ถึงโรคทางเดินอาหาร ได้แก่ รู้สึกมีก้อนที่คอ รู้สึกกลืนติด กลืนเจ็บ แสบที่บริเวณหน้าอก เรอเปรี้ยว จุกแน่น แสบที่บริเวณลิ้นปี่ ท้องอืด ปวดท้อง ไม่สบายท้อง ท้องผูก ท้องเสียควรที่จะมาปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัย และการสืบค้นโรคโดยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนและลำไส้ใหญ่อย่างเหมาะสม และไม่พลาดการวินิจฉัยโรคที่เป็นอันตรายได้โดยเฉพาะโรคมะเร็ง
ในแง่ของการรักษา หากพบว่าผู้ป่วยป่วยเป็นโรคทางระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากความเครียด นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียดแล้ว ในปัจจุบันทางทีมแพทย์ก็จะมียาหลายชนิดที่ช่วยบรรเทาอาการทางระบบทางเดินอาหาร เพื่อลดความรุนแรงของโรคลง และช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ดังนั้นอย่ารอที่จะมาปรึกษาแพทย์หากท่านมีอาการที่สงสัยความเครียดต่อโรคทางระบบทางเดินอาหาร
ด้วยความปรารถนาดีจาก
นพ.สุรัตน์ ปราณีนรารัตน์
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
แผนกอายุรกรรม 025870144 ต่อ 2200