กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

Transcranial Magnetic Stimulation
กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)
กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation) นวัตกรรมในการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะอ่อนแรง ชา หรือกล้ามเนื้อเกร็งทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง สามารถใช้ในการฟื้นฟูและรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคซึมเศร้า ปวดศีรษะ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน และอาการปวดชาจากเส้นประสาท
ใช้ตรวจเพื่อการวินิจฉัยและบอกความรุนแรงในผู้ป่วยที่มีอาการสงสัย
  • โรคของไขสันหลังส่วนที่เรียกว่า Anterior horn cell เช่น โรค ALS
  • โรคของรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ (์Neuromuscular junction) เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis : MG)
  • โรคของรากประสาท เช่น รากประสารทถูกกดทับ (Nerve root compression) จากกระดูกคอหรือหลังเสื่อม หมอนรองกระดูกเคลื่อน
  • โรคของเส้นประสาทส่วนปลาย เช่น โรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบเรื้อรังหรือฉับพลัน ทำให้มีอาการชามือชาเท้า, โรคเส้นประสาทพิการแต่กำเนิด
  • โรคของกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้อฝ่อ เป็นต้น
  • โรคเส้นประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ (Bell’s palsy)
นอกจากนี้การตรวจ EMG, NCV ยังสามารถใช้ติดตามผลการรักษา และการฟื้นตัวของเส้นประสาทได้ด้วย
การรักษาด้วย TMS ปลอดภัยแค่ไหนมีผลข้างเคียงหรือไม่?
เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเทคโนโลยีนี้ มีผลอยู่ในวงจำกัดที่แคบมาก เพียง 1-3 เซนติเมตรจากหัวกระตุ้น จึงไม่มีผลกระทบที่อันตรายต่ออวัยวะของร่างกาย มีเพียงข้อห้ามใช้ผู้ป่วยบางรายดังต่อไปนี้
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะที่เหนี่ยวนาแม่เหล็กบริเวณศีรษะหรือพื้นที่รักษาในระยะ 30 เซนติเมตร เช่น Sutures, Clips, coils,Magnetic Dental Implants or Insulin Pumps
  • ผู้ป่วยที่มีเครื่องมือทางการรักษาเป็นระบบดิจิตอลต่างๆ เช่น Pacemakers, Implantable Cardioverter Defibrillators,Vagus Nerve Stimulators [VNS] and Wearable Cardioverter Defibrillators [WCD’s])
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติชักหรือภาวะชักที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องระบายน้ำในโพรงสมอง
  • ผู้ป่วยที่มีอวัยวะเทียมที่เป็นโลหะที่เพิ่งใส่มาไม่นาน
  • สตรีมีครรภ์
ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่พบอาการข้างเคียงภายหลังการรักษา ผลข้างเคียงที่สาคัญแต่พบได้น้อยมากคือ อาการชัก ซึ่งพบได้ประมาณ 0.02-0.2% ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือง่วงนอนภายหลังการกระตุ้น บางรายพบอาการปวดัีรษะหรือระคายเคืองบริเวณที่ถูกกระตุ้นได้เล็กน้อย แต่อาการเหล่านี้จะอยู่เพียง 1-2 ชั่วโมงหลังทำ หากผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขสบาย สามารถทานยาลดปวดพาราเซตามอลได้
การรักษาแต่ละครั้งใช้เวลานานเท่าไหร่?
ระยะเวลาในการรักษาต่อครั้งอยู่ที่ 30-60 นาที ความถี่ในการรักษาประมาณ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์แล้วแต่อาการและโรคของผู้ป่วยแต่ละราย
ต้องทำการรักษากี่ครั้งจึงจะเห็นผล?
  • สำหรับการลดปวดอาการจะดีขึ้นทันทีหลังทำทันทีในการปวดชนิดเฉียบพลัน (Acute pain)
    ส่วนอาการปวดเรื้อรัง (Chronic pain) จะใช้จำนวนครั้งมากกว่า แล้วแต่ความรุนแรงและเรื้อรังของผู้ป่วยแต่ละราย
  • อาการทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือการบาดเจ็บไขสันหลังชนิด Incomplete spinal cord injury จะต้องใช้จานวนครั้งในการรักษานานระดับหนึ่งจึงจะเห็นผลการรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของรอยโรค (Lesion) บริเวณที่เกิดรอยโรคและความเรื้อรัง จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างน้อย 10 ครั้งขึ้นไป และหากการตอบสนองต่อการรักษาจะให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี สามารถฟื้นฟูร่างกายกลับมาได้ใกล้เคียงปกติที่สุด ควรเริ่มการรักษาด้วย TMS ให้เร็วที่สุดเท่าที่แพทย์ประเมินอาการแล้วว่าสามารถทำได้
อัตราการเข้ารับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
ระยะเวลาในการรักษา 30-60 นาทีต่อครั้ง ความถี่ในการรักษา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ควรทำ 6 สัปดาห์ การรักษาขึ้นอยู่กับอาการและโรคของผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์จะประเมินอาการเป็นระยะ
แพคเกจ Stroke
รายการ
ราคา
1 ครั้ง 2,500.-
5 ครั้ง 12,250.-
10 ครั้ง 24,000.-
รวมค่าแพทย์แล้ว (ยังไม่รวมค่าบริการโรงพยาบาล)
อัตราการเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า ปวดไมเกรน นอนไม่หลับ ย้ำคิดย้ำทำ และอื่นๆ
  1. โรคซึมเศร้าที่ทานยามานาน ระยะเวลาในการรักษา 20-30 นาทีต่อครั้ง ความถี่ในการรักษา 5-10 ครั้ง ทำทุกวัน
  2. ปวดศีรษะไมเกรน ระยะเวลาในการรักษา 20-30 นาทีต่อครั้ง ความถี่ในการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  3. นอนไม่หลับ ระยะเวลาในการรักษา 20-30 นาทีต่อครั้ง ความถี่ในการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  4. ย้ำคิดย้ำทำ ระยะเวลาในการรักษา 20-30 นาทีต่อครั้ง ความถี่ในการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  5. กลืนลำบาก พูดลำบาก ระยะเวลาในการรักษา 20-30 นาทีต่อครั้ง ความถี่ในการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ควรทำ 2-3 สัปดาห์
  6. พาร์กินสัน ระยะเวลาในการรักษา 20-30 นาทีต่อครั้ง ความถี่ในการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
การรักษาขึ้นอยู่กับอาการและโรคของผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์จะประเมินอาการเป็นระยะ การรักษาอาการอื่นๆ แพทย์จะประเมินอาการและระยะเวลาในการรักษา
แพคเกจ Depression
รายการ
ราคา
1 ครั้ง 1,800.-
5 ครั้ง 8,750.-
10 ครั้ง 17,000.-
รวมค่าแพทย์แล้ว (ยังไม่รวมค่าบริการโรงพยาบาล)
สามารถเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้
วันนี้ - 30 มิถุนายน 2566

โปรแกรมและแพ็คเกจ