ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนป้องกันโควิด-19

คำแนะนำในการฉีด
“วัคซีนไข้หวัดใหญ่”
ร่วมกับ
“วัคซีนป้องกันโควิด-19”


ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้ทั้ง ก่อน ระหว่าง หรือหลัง การฉีดวัคซีน โควิด-19 (COVID-19) ได้โดยการเว้นระยะการฉีดวัคซีนดังนี้

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนป้องกันโควิด-19
ตามที่กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค และ สปสช. แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เพื่อลดการป่วยรุนแรงและสร้างภูมิคุ้มกันไข้หวัดใหญ่ ในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากเป็นฤดูกาลระบาดในประเทศไทยซึ่งมี 2 ช่วง คือ ช่วงปลายฝน (เดือนกรกฎาคม-กันยายน) และปลายหนาว (เดือนมกราคม-มีนาคม) นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ก่อนที่ จะติดเชื้อโควิด-19 ยังช่วยลดการนอนโรงพยาบาล หรือเข้ารักษาในโรงพยาบาลสั้นกว่าคนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาก่อนการติดเชื้อโควิด-19
ในสถานการณ์ปัจจุบัน เกิดโรคระบาดอีกชนิดหนึ่ง คือ โควิด-19 และวัคซีนป้องกันโรคโควิดได้พัฒนาจนสามารถฉีดได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังมีความสำคัญ เพื่อแยกอาการป่วยระหว่างไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ที่มีอาการคล้ายกันมาก เช่น ไข้สูง ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ถ่ายเหลว (ยกเว้นจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรสที่จำเพาะกับโควิด-19 มากกว่า) และมีความรุนแรงเหมือนกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงต่ออาการรุนแรง ได้แก่ กลุ่มเสี่ยง ดังนี้
7 กลุ่มเสี่ยงได้แก่
  1. หญิงมีครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
  2. ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจ หืด ไตวาย หลอดเลือดสมอง เบาหวาน ผู้ป่วยมะเร็ง ที่อยู่ในระหว่างการได้รับยา เคมีบำบัด
  3. ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  4. เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
  5. ผู้พิการทางสมอง ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
  6. โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ
  7. ผู้ที่มีน้ำหนัก ตั้งแต่ 100 กก. หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กก./ตรม.
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนป้องกันโควิด-19
สามารถทำได้ทั้ง ก่อน ระหว่าง หรือหลัง การฉีดวัคซีน โควิด-19 (COVID-19) ได้โดยการเว้นระยะการฉีดวัคซีนดังนี้
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ก่อน ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด - 19
ผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ โดยให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เดือน จึงค่อยฉีดวัคซีนโควิด-19

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หลัง วัคซีนป้องกันโควิด-19 ซิโนแวค (Sinovac)
ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค (Sinovac) เข็มที่ 1 แล้ว ให้ฉีดจนครบทั้ง 2 เข็มก่อนโดยระยะการฉีดห่างกัน 2-4 สัปดาห์ จึงรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลได้ โดยให้ห่างจากวัคซีนเข็มที่ 2 อย่างน้อย 1 เดือน

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ระหว่าง วัคซีนป้องกันโควิด-19 แอสตราเซเนกา (AstraZeneca)
ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) เข็มที่ 1 และอยู่ระหว่างรอกำหนดฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 สามารถรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ โดยให้ห่างจากวัคซีนเข็มที่ 1 อย่างน้อย 1 เดือน และหลังจากนั้นให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ตามกำหนดนัด โดยให้มีระยะห่างจากการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 เดือน
วัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) เข็มที่ 2 จะมีกำหนดฉีดหลังจากฉีดเข็มที่แรก 10 - 12 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หลัง วัคซีนป้องกันโควิด-19 แอสตราเซเนกา (AstraZeneca)
ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ครบทั้ง 2 เข็มแล้ว โดยระยะการฉีดระหว่างเข็มที่ 1 และ 2 ห่างกันประมาณ 10-12 สัปดาห์ สามารถเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แล้วอย่างน้อย 1 เดือน

การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก

การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก

Peripheral Magnetic Stimulation
การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก
Peripherl Magnetic Stimulation (PMS)
เทคโนโลยี PMS หรือ Peripheral Magnetic Stimulation คือ เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทางการแพทย์ที่เรียกว่า Electromagnetic เพื่อบำบัดรักษาอาการปวด เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ โรคเอ็นอักเสบ โรคปวดข้อต่อ และอาการชาจากเส้นประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคลื่นไฟฟ้าจะสามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้าโดยไม่ต้องสัมผัสผิว ลงไปถึงเนื้อเยื่อและกระดูกได้ลึกประมาณ 10 ซม. คลื่นจาก PMS จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวดทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ รู้สึกผ่อนคลายในขณะรักษา รวมถึงส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กกระตุ้นแขน ขา บริเวณที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ให้ส่งสัญญาณไปที่สมอง และให้สมองส่วนที่ยังทำงานได้มีการฟื้นตัว แล้วส่งสัญญาณกลับลงมาทำให้แขนขาขยับได้มากขึ้น ในส่วนของการบำบัดรักษาอาการเจ็บปวด การกระตุ้นเส้นประสาทจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณที่ช่วยยับยั้งอาการปวดได้ สามารถรักษาได้ทั้งปวดเฉียบพลันและเรื้อรัง และยังเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมเสริมของเนื้อเยื่อด้วย
 
กลุ่มโรคที่รักษาด้วยเครื่อง PMS
  1. กลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stroke), เกิดจากการบาดเจ็บในสมอง (Traumatic Brain Injury), เกิดจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal Cord Injury) หน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell'spalsy) กลุ่มนี้จะเป็นลุ่มใหญ่ที่จะสามารถใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กมาบำบัดรักษาจะช่วย ลดอาการเกร็งในผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้อาการฟื้นตัวของอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตดีขึ้น
  2. กลุ่มโรคกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง คือกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง การเสื่อมของกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูก หรือการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก ที่มีผลต่อเส้นประสาทจากไขสันหลังหรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กจะสามารถรักษากลุ่มปวดนี้ได้มีประสิทธิภาพดีกว่าเครื่องมืออื่น เนื่องจากการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กจะสามารถกระตุ้นลึกลงไปจนถึงรากประสาทได้
  3. กลุ่มปวดต่าง ๆ หรือ ออฟฟิศซินโดรม การบำบัดอาการปวด อาการเคล็ดคัดยอก การบาดเจ็บหรืออาการปวดเรื้อรังจากกล้ามเนื้อ เอ็น พังผืดหรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บของตัวเส้นประสาทโดยตรง เช่น อาการปวดบริเวณคอ บ่า ข้อศอก แขน มือ เอว หลัง สะโพก ขา เข่า หรือข้อเท้า และหากทำอย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำจะทำให้อาการปวดค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปในที่สุด
  4. กลุ่มอาการชา หรือ ผู้ที่มีอาการชาจากปลายประสาทหรือการกดทับเส้นประสาท คือกลุ่มปลายประสาทอักเสบ โดยส่วนใหญ่พบได้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าอาการชามือ ชาเท้าจะดีขึ้น 50-100% ในแต่ละครั้งที่รักษา
  5. ช่วยบำบัดรักษาฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา นักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บจากการฝึกซ้อม หรือระหว่างแข่งขัน
การบำบัดรักษา
  1. ลดปวด ลดอาการชา ได้เป็นอย่างดี หลังการรักษา
  2. สามารถเพิ่มกำลัง และกระตุ้นกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากอัมพาต
  3. เร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น บาดเจ็บเส้นประสาท มือตก เท้าตก แขนขาอ่อนแรง อาการที่เกิดจากกดทับรากประสาทที่คอ และเอวจากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือเสื่อม
  4. เร่งการฟื้นตัวจากเส้นประสาทที่มีพฤติกรรมผิดเพี้ยน เช่น อาการเหน็บชา ปวดแปร๊บหลังการบาดเจ็บเส้นประสาท อาการปวดเรื้อรังจากโรคทางกล้ามเนื้อกระดูกทุกชนิด
  5. เวลาการบำบัดรักษารักษาสั้นมาก ต่อ 1จุดการรักษา
  6. ถ้าบำบัดรักษาต่อเนื่อง สามารถลดจำนวนการรักษาได้
  7. สามารถบำบัดรักษาได้ผลในทุกระยะของการดำเนินโรค คือ ระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง
  8. กลไกการรักษาเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมสร้างของเนื้อเยื่อ ไม่ใช่เพียงการแก้อาการเท่านั้น
ข้อควรระวัง/ข้อแนะนำหลังการรักษา
  1. กล้ามเนื้อมีโอกาสระบมหรือเป็นตะคริวได้ 2-3 วันหลังรับการรักษา
  2. มีโอกาสเกิดความร้อนได้หากไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะความร้อนที่เกิดกับตัวโลหะที่วางอยู่ภายนอกร่างกาย เช่น หัวเข็มขัด หัวคอยล์เหรียญที่อยู่บนกางเกงยีนส์ เป็นต้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

แนะนำบริการห้องพัก โรงพยาบาลบางโพ

วิดีโอแนะนำบริการห้องพัก


โรงพยาบาลบางโพ เราใส่ใจในทุกขั้นตอน เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้รับความปลอดภัย สะดวก สบาย ในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จึงขอแนะนำสิ่งอำนวยความสะดวกและวิธีใช้อุปกรณ์ในห้องพัก สำหรับผู้ป่วยและญาติ เมื่อมาใช้บริการ

คัดกรองมะเร็งเต้านม

คัดกรองมะเร็งเต้านม

ภัยร้ายใกล้ตัว

มะเร็งเต้านม ภัยร้ายใกล้ตัว


รู้ก่อนรักษาก่อน ตรวจได้ตั้งแต่ยังไม่เป็น การตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ และได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่น
การรักษาอย่างถูกต้องสามารถมีโอกาสหายขาดได้สูง

มะเร็งเต้านม ภัยร้ายใกล้ตัว

มะเร็งเต้านมปัจจุบันพบมากเป็นอันดับหนึ่งในสตีไทยการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องสามารถมีโอกาสหายขาดได้สูง มะเร็งเต้านมอาจมีอาการได้หลายแบบแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน  ดังนั้นสตรีทั่วไปจึงควรหมั่นคอยสังเกตอาการและตรวจเต้านมตนเองเป็นประจำ เพื่อที่จะได้ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ และได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้วมักมีผลการรักษาที่ไม่ดี
ใครบ้างที่เสี่ยง

  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะมารดาหรือพี่น้องร่วมอุทรณ์
  • ผู้ที่เคยรับประทานฮอร์โมนเสริมในวัยใกล้หรือหมดประจำเดือนแล้ว
  • ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ทุก 1- 2 ปี ผู้มีประวัติเป็นซีสต์หรือเนื้องอกที่เต้านม
  • ผู้ที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปีหรือประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 50 ปี
  • ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี หรือไม่เคยมีบุตร
  • ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่
หากคุณเข้าเกณฑ์ดังกล่าวคุณมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านมในอนาคต ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และอัลตราซาวด์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
รายการ
ตรวจคัดกรองหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์
Digital Mammogram and Breast Ultrasound
2,990.-
ปกติ 3,730.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
วันนี้ - 30 มิถุนายน 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การดูแล เด็กที่มีไข้และไข้ชัก

การดูแล เด็กที่มีไข้และไข้ชัก

ไข้ชักคืออะไร
โรคไข้ชัก (Febrile seizure หรือ Febrile convulsion) หมายถึง การชักที่พบกับไข้สูง เกิดในเด็กที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท ความผิดปกติของ
เกลือแร่ในร่างกาย และไม่เคยมีประวัติชัก โดยไม่มีไข้ร่วมด้วยมาก่อน พบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ในเด็กที่อายุมากกว่า 7 ปีแล้ว พบได้น้อยมาก
โดยส่วนใหญ่โรคไข้ชัก มักมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีไข้สูง ส่วนน้อยที่มีอาการชักก่อนการมีไข้ หรือหลังจากมีไข้แล้ว 24 ชั่วโมง การชักแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่วินาที และชักเพียงครั้งเดียวในการเป็นไข้แต่ละครั้ง นอกจากนั้นหลังชักจะมีแขนขาอ่อนแรงตามมา
ใครมีความด้วยเป็นโรคไข้ชักบ้าง
  1. อายุที่พบบ่อย คือระหว่าง 6 เดือน – 5 ปี
  2. มีไข้สูง 38.5 ขึ้นไป (โดยเฉพาะใน 1-2 วันแรกของการมีไข้)
  3. มีประวัติไข้ชักในครอบครัว (ถ่ายทอดทางพันธุกรรม)
การรักษา
ภาวะไข้ชักส่วนใหญ่สามารถหยุดชักเองได้ และป้องกันไม่ให้ชักซ้ำโดยลดไข้ ถ้าการชักไม่หยุดเองใน 3-5 นาทีแพทย์จะพิจารณาให้ยาไดอะซีแปม (Diaizepam) เพื่อหยุดชักในเบื้องต้น โดยอาจใช้การฉีดหรือสวนทางทวารหนัก
ในระยะยาวเนื่องจากไม่พบความผิดปกติทางสมองจากไข้ชักจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยากันชักในระยะยาว เว้นแต่เป็นผู้ป่วยที่ชักซ้ำหลายครั้งรวมถึงมีความผิดปกติทางสมอง แพทย์อาจพิจารณาให้ยากันชักช่วงที่มีไข้
อันตราย
  • โรคไข้ชักมีภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่ควรระวังจะเป็นเรื่องการหายใจ การสำลัก และอุบัติเหตุ เช่น การตกเตียง ไม่พบการเสียชีวิตจากโรคไข้ชัก และไม่พบความพิการเกิดขึ้นจากโรคไข้ชัก
  • ถ้าเป็นไข้ชักไม่เกิน 15 นาที ไม่มีการชักซ้ำและไม่มีความผิดปกติทางระบบประสาทหลังชักพบว่า ไม่มีผลกับสมอง ระดับสติปัญญา พัฒนาการและพฤติกรรมในอนาคต
  • โอกาสเป็นโรคลมชักเท่าเด็กทั่วไป
  • ยกเว้น ถ้ามีไข้ชักหลายครั้ง ร่วมกับเป็นอายุ 12 เดือนและมีประวัติครอบครัวเป็นโรคลมชัก จะมีโอกาสเป็นโรคลมชักก่อนอายุ 25 ปี ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้และรับการรักษาเพื่อช่วยลดระยะเวลาของไข้
เกิดไข้ชักซ้ำได้หรือไม่
  • ไข้ชักครั้งแรกอายุน้อยกว่า 1 ปี มีโอกาสชักซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้ร้อยละ 50
  • ไข้ชักครั้งแรกอายุมากกว่า 1 ปี มีโอกาสชักซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้ร้อยละ 30
  • ไข้ชักมาแล้ว 2 ครั้งมีโอกาสชักครั้งที่ 3 ร้อยละ 50
การป้องกันการชักซ้ำ
คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครอง สามารถป้องกันการเกิดไข้ชักได้โดยรีบลดอุณหภูมิร่างกายของเด็ก ซึ่งต้องทำลายวิธีร่วมกัน ดังนี้
  • ให้ยาลดไข้ (พาราเซตามอล) ให้ขนาดที่พอเหมาะกับน้ำหนักตัวเด็กทันทีที่ทราบว่าไข้ขึ้น และสามารถให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชม.
  • ให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ
  • เช็ดตัวลดไข้อย่างถูกวิธี โดยใช้น้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น
  • ควรระมัดระวังการให้ยาลดไข้สูง ในกลุ่มไอบูโพรเฟนหรือยาแอสไพริน ในกรณีที่สงสัยโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
วิธีปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยชัก
แม้จะรับประทานยาลดไข้และเช็ดตัว บางครั้งยังเกิดอาการชัก ถ้าเด็กมีอาการชัก เกร็ง หรือกระตุก ให้ปฏิบัติดังนี้
  • พ่อแม่และผู้ปกครองที่พบต้องตั้งสติ อย่าตกใจ
  • ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  • ควรจับเด็กให้นอนตะแคงบนเตียงหรือพื้น เพื่อเปิดทางเดินหายใจป้องกันการสำลักและระมัดระวังไม่ให้ตกเตียง ไม่ต้องพยายามจับหรือกอดรัดเด็กให้หยุดชัก เพราะอาจทำให้เด็ก แขนหักหรือหัวไหล่หลุด
  • ถ้ามีลูกยางแดงให้ดูดน้ำลาย เสมหะออกจากปาก หลังจากทำให้ทางเดินหายใจโล่งแล้ว เอาปากประกบปากเด็กแล้วเป่าลมช่วยหายใจ
  • ถ้ามีเศษอาหารในปาก ให้ล้วงเศษอาหารออกจากช่องปากเพื่อป้องกันภาวะอุดตันในทางเดินหายใจ ระหว่างมีอาการชัก
  • หากเด็กกัดฟัน ไม่ควรพยายามเอาช้อน นิ้วมือของแข็งงัดปากเด็ก เพราะอาจทำให้เยื่อบุช่องปากฉีกขาด ฟันหักขากรรไกรหัก และอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โอกาสที่เด็กจะกัดลิ้นตัวเองมีน้อย
  • เด็กมักหยุดชักได้เอง
  • เช็ดตัวลดไข้
  • ให้ยาลดไข้ทันที ที่รู้สึกตัว
  • รีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

ตรวจสุขภาพ

ตรวจสุขภาพ

ใคร ๆ ก็ตรวจได้

ตรวจ 4 รายการ : 999.-

รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล(พร้อมใบรับรองแพทย์)

ตรวจ 6 รายการ : 1,299.-

รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล(พร้อมใบรับรองแพทย์)


ใคร ๆ ก็ตรวจได้

ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ต้องทำงานแข่งกับเวลาอย่างเร่งรีบ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะเป็นพิษ จึงมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การขาดการออกกำลังกาย การไม่ตระหนักในการรับประทานอาหาร รวมถึงมลภาวะทางจิตใจ ขาดความสมดุลของชีวิต ทำให้เกิดความเคยชิน จนกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพได้
การตรวจสุขภาพจึงมีความจำเป็น เพื่อสำรวจว่าระบบต่างๆ ในร่างกายเรามีความผิดปกติ หรือมีความบกพร่องที่อัวยวะใด เพื่อจะได้รักษา ป้องกัน หรือ ผ่อนหนักให้เป็นเบา หากมีการดูแลอย่างดี ตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และแก้ไขแต่ระยะต้นๆ ร่างกายก็จะอยู่กับเราได้นานขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
รายการตรวจ
ตรวจ 4 รายการ
ตรวจ 6 รายการ
ตรวจร่างกายโดยแพทย์
(Physical Examination)
ตรวจเอกซเรย์ปอดดิจิตอล
(X-ray)
ตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ
(Amphetamine)
ตรวจวัดสายตาทั่วไป/ตาบอดสี
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
(CBC)
ตรวจความสมบูรณ์ของปัสสาวะ
(UA)
ราคา
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล(พร้อมใบรับรองแพทย์)
999.-
1,299.-
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

แพคเกจวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV Vaccine)

สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อหยุดมะเร็งปากมดลูก

วัคซีน HPV 4 สายพันธุ์

วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์


วัคซีนป้องกันไวรัส HPV สามารถฉีดได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
ประสิทธิภาพจะดีที่สุดในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การเริ่มให้วัคซีนตั้งแต่ช่วงก่อนเข้าวัยรุ่นถึงวัยรุ่น

มะเร็งปากมดลูกจากไวรัส HPV

มะเร็งปากมดลูกไม่ได้มีสาเหตุจากพันธุกรรม แต่เกิดจากไวรัส HPV ซึ่งติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก และรวมถึงสัมผัส ใกล้ชิดจากภายนอก และเชื้อนี้ยังสามารถก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด ปัจจุบันมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าการติดเชื้อ ไวรัสที่ชื่อว่า Human Papilloma Virus (HPV) เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกการฉีด HPV Vaccine เพื่อการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อ HPV เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV ได้
ประสิทธิภาพของ HPV Vaccine จะสูงที่สุดในสตรีที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนก่อนถึงวัยที่จะมีเพศสัมพันธุ์ โดยปัจจุบันแนะนำให้ฉีด ในทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ที่มีอายุ 9 ปี ช่วงดังกล่าวเด็กจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่นอกจากนั้นยังแนะนำว่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 13-26 ปี ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบควรได้รับการฉีดทุกคน
  • มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุจากเชื้อ HPV ถึง 99.7%
  • เป็นมะเร็งที่ตรวจพบมากเป็นอับดับ 2 ในหญิงไทย
  • ผู้ชายก็สามารถติดเชื้อ HPV ได้เพราะเชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก
มะเร็งจากไวรัส HPV ป้องกันได้

แนะนำให้ฉีดในผู้หญิงและผู้ชายอายุ 9 -26 ปีทุกคน และ ผู้หญิงที่มีอายุ 26-45 ปี หรือแม้แต่ผู้ที่เคยมีผล pap smear หรือ HPV testing ผิดปกติ โดยวัคซีนจะฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อสะโพก
  • สำหรับเด็กอายุ 9 -<15 ปี ฉีด 2 เข็มคือ ที่ 0 เดือนและ 6 เดือน
  • สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15-26 ปี ฉีด 3 เข็มคือ ที่ 0 เดือน 2 เดือนและ 6 เดือน
วัคซีน HPV 4 สายพันธุ์

  • สายพันธุ์ที่ 16, 18 สาเหตุของ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก หูดหงอนไก่ ภาวะก่อนมะเร็ง (precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia
  • สายพันธุ์ที่ 6, 11 สาเหตุของ มะเร็งทวารหนัก หูดหงอนไก่ ภาวะก่อนมะเร็ง (precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia
วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์

  • สายพันธุ์ที่ 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58 สาเหตุของ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งคอหอยหลังช่องปาก และมะเร็งทางศีรษะเเละลำคอ หูดหงอนไก่ ภาวะก่อนมะเร็ง (precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia
  • สายพันธุ์ที่ 6, 11 สาเหตุของ มะเร็งทางทวารหนัก มะเร็งคอหอยหลังช่องปาก และมะเร็งทางศีรษะเเละลำคอ หูดหงอนไก่ ภาวะก่อนมะเร็ง (precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia
ผลข้างเคียงของการฉีด HPV Vaccine

โดยทั่วไปการฉีด HPV Vaccine มีความปลอดภัยสูงไม่พบอาการข้างเคียงชนิดรุนแรง อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
  1. อาการข้างเคียงบริเวณที่ฉีดวัคซีน เช่น ปวด บวม แดง และคัน ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง เป็นอยู่ชั่วคราวและหายไปเอง
  2. อาการทั่วไปเช่น ไข้ พบประมาณร้อยละ 10 ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและหายได้เอง อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย และผื่นคันตามตัว อาการเหล่านี้ไม่รุนแรงและหายได้เอง

สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อหยุดมะเร็งปากมดลูก

รายการ
วัคซีน HPV 4 สายพันธุ์
วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์
2 เข็ม
สำหรับเด็กอายุ 9-14 ปี
5,900.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
12,500.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
3 เข็ม
สำหรับผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
7,800.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
18,500.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
วันนี้ - 31 มีนาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Baby Delivery Package

Normal Delivery Pack […]

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

ตรวจโรคติดต่อทางเพศส […]

มะเร็งปอด รู้เร็ว รักษาได้

มะเร็งปอด รู้เร็ว….รักษาได้

มะเร็งปอดเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิง อย่างไรก็ดี มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้น
ชนิดของมะเร็งปอด

มะเร็งปอด เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและ ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วแค่ไหน ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง
มะเร็งปอด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามขนาดของเซลล์ ซึ่งความแตกต่างของขนาด เซลล์นี้มีความสำคัญ เนื่องจากวิธีการรักษาจะแตกต่างกัน
  1. มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากจะรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
  2. มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่จะแพร่กระจายได้ช้ากว่า และสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ
สาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด

ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ แต่มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด เช่น
  1. บุหรี่ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10-30 เท่า เนื่องจากสารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ โดย ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนมวนและจำนวนปีที่สูบบุหรี่
  2. การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon) สารหนู รังสี และสารเคมีอื่นๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ
  3. อายุ ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุโดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี
  4. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการลดปัจจัยเสี่ยง และวางแผนการตรวจสุขภาพ ส่วนผู้ที่เคยได้รับการรักษามะเร็งปอดมาแล้ว ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังการรักษา เนื่องจากอาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดได้อีก
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด

การตรวจคัดกรองจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบและรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบมะเร็งปอดแบบง่ายหรือด้วยตนเองดังเช่น มะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose helical computerized tomography) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้

อาการของโรคมะเร็งปอด

โดยทั่วไปแล้วมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้ว อาจพบอาการดังต่อไปนี้
  • ไอเรื้อรัง(ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ) มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
  • หายใจมีเสียงหวีด เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
  • ไอมีเลือดปน เสียงแหบ
  • ติดเชื้อในปอดบ่อย ๆ เช่น ปอดบวม เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี
การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี

  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT scan)
  • การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
  • การตรวจด้วยเครื่อง PET Scan (Positron Emission Tomography Scan) เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง

บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองมี 2 ประเภทคือ

  1. โรคหลอดเลือด สมองหลักตีบ
  2. อุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด
ปัจจัยเสี่ยง ของโรคหลอดเลือดสมอง

ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน โรคหัวใจ อายุที่มากขึ้น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ บุหรี่ แอลกอฮอล์ โคเคน แอมเฟตามีน การดำเนินชีวิต ที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนที่ หรือออกกำลังกาย
อาการของโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน

  1. แขนขา ชา อ่อนแรงหรือชาครึ่งซีกข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด
  2. พูดตะกุดตะกัก พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ นึกคำพูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจทันทีทันใด
  3. ตามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด
  4. ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
  5. เวียนศีรษะบ้านหมุน เดินเซ เสียการทรงตัว
กรณีพบผู้ป่วยมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน ถึงแม้อาการจะดีขึ้นได้เอง แต่การไปพบแพทย์ก็มีความจำเป็นเพื่อจะได้ รับการรักษาทันท่วงที และจะได้ฟื้นฟูสภาพร่างกายรวดเร็วยิ่งขึ้น
การรักษา

ขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรง และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมารับการรักษาเร็วเท่าใดก็จะมีโอกาสรอดชีวิต และฟื้นฟูจนสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติได้มากเท่านั้น หลักการรักษาประกอบด้วย
  1. การรักษาทางยาสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน แพทย์จะให้ยาในกลุ่มยาละลายลิ่มเลือดยาต้าน เกร็ดเลือด โดยทั่วไปผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และ จะต้องมาตรวจ สม่ำเสมอ เพื่อปรับขนาดของยา ตามแผนการรักษา
  2. การรักษาโดยการผ่าตัดในบางราย โดยเฉพาะ ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจากการปริแตกหรือฉีกขาด ของหลอดเลือดสมอง
  3. การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  4. การรักษาโดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดสมอง

เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมอย่าให้อ้วน
  2. งดสูบบุหรี่
  3. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  4. ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง
  5. ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้วหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อยู่แล้วต้องรักษาและพบแพทย์ อย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาหรือปรับยาเองโดยเด็ดขาด
  6. รับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 / Fish Oil สามารถลดความ เสี่ยงต่อการเกิด thrombosis stroke ได้
บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

  1. กระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้มากที่สุด เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ขับถ่าย ทานอาหาร แต่งตัว และให้ความช่วยเหลือถ้า จำเป็น
  2. กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้ร่างกายข้างที่อ่อนแรง เท่าที่สามารถจะทำได้
  3. ช่วยเหลือกิจกรรมที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
  4. ให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในตนเอง
  5. ช่วยทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย
  6. ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
  7. ช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด ห้ามขาดยา และมาพบตามแพทย์นัด
  8. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ ในรายที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากไม่ได้สามารถให้อาหาร ทางสายยางได้อย่างถูกวิธี ในรายที่รับประทานอาหารเองได้ ให้ระวังการสูดสำลัก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ตรวจเช็คโรคระบบประสาทและสมอง
คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน gastroesophageal reflux disease: GERD

โรคกรดไหลย้อนขึ้นคอและกล่องเสียง หรือเรียกสั้นๆว่า โรคกรดไหลย้อน เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพะอาหารขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองของกรดต่อเยื่อบุหลอดอาหาร ลำคอ และกล่องเสียง
การวินิจฉัย

จากประวัติ อาการ และการตรวจร่างกายทาง หู คอ จมูก แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาลดกรดและสังเกตการตอบสนองของโรคต่อยาใน ผู้ป่วยบางราย แพทย์จะพิจารณาส่องกล้องทางจมูกถึงกล่องเสียงเพื่อดูว่ามีความผิดปกติบริเวณกล่องเสียงและลำคอหรือไม่
อาการของโรคกรดไหลย้อน

  1. อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร
    • รู้สึกคล้ายว่ามีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ
    • มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา
    • เจ็บคอ แสบคอ แสบปาก แสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
    • รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในคอ หรือปาก
    • เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาหาร หรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอก หรือ คอ
    • อาการปวดแสบร้อนที่หน้าอกและลิ้นปี่
    • รู้สึกจุกแน่นในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย มีน้ำลายไหลมากผิดปกติ มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุได้
  2. อาการทางกล่องเสียงและหลอดลม
    • เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม
    • ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารหรือขณะนอน
    • ไอ สำลักน้ำลาย หรือ หายใจไม่ออกในเวลากลางคืน กระแอมไอบ่อย
การรักษา

  1. การปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน
    • วิธีนี้สำคัญที่สุดในการทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลงป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และลดการกลับมาเป็นซ้ำ โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปที่คอ และกล่องเสียงมากขึ้น การรักษาโดยวิธีนี้ควรปฏิบัติไปตลอดชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ แม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้ว หรือหายดีแล้ว โดยไม่ต้องรับประทานยา
  2. การรับประทานยา
    • เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและหรือเพื่อการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรดปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม ()เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี เห็นผลการรักษาเร็ว การรักษาโรคกรดไหลย้อน ควรรับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่งไม่ควรลดขนาดของยา หรือหยุดยาเอง นอกจากแพทย์แนะนำและควรไปตามที่แพทย์นัดสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1–3 เดือนอาการต่างๆจึงจะดีขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันได้รับประทานยาตอเนื่อง 2–3 เดือน แพทย์จะปรับขนาดยาลงทีละน้อย พบว่าประมาณ 90 % สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา
  3. การผ่าตัด
  4. ส่วนน้อยที่รักษาด้วยวิธีนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นที่คอและกล่องเสียง การรักษาวิธีนี้จะทำในกรณี
    • อาการรุนแรง ซึ่งให้การรักษาโดยยาอย่างเต็มที่แร้วไม่ดีขึ้น
    • ไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาภาวะนี้ได้
    • ในรายที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยาแต่ไม่ต้องการที่รับประทานยาต่อ
    • รายที่มีอาการกลับเป็นซ้ำบ่อยๆหลังหยุดยา
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอน ภายในเวลา 3 ช.ม. การนอนราบหรือการออกกำลังกายหลังจากทานอาหารทันที
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารมัน ทอด อาหารย่อยยาก พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม มะเขือเทศ ช็อกโกแลต ถั่ว หรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด เครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง แอลกอฮอล์
  • พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ถ้าน้ำหนักเกินควรลดน้ำหนัก
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่แน่นเกินไปโดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
  • เวลานอน ควรหมุนหัวเตียงให้สูงขึ้น ประมาณ 6 นิ้ว จากพื้นราบโดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐอย่ายกศีรษะโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันช่องท้องเพิ่มขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเองเวลาป่วยเนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนลางคลายตัวมากขึ้น
  • ไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มเกินไปในแต่ละมื้อ

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสะสมกรดยูริค(Uric acid)ในร่างกาย กรดยูริคได้จากการเผาผลาญสารพิวรีนซึ่ง เป็นธาตุอาหารที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้และพบได้ทั่วไปในอาหารหลายชนิดโดยปกติเมื่อสารพิวรีนที่ร่างกายได้รับ จะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะสำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบ ๆ ข้อกระดูกในเพศชายไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับเพศหญิง ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์
การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การควบคุมอาหาร โดยงดอาหารที่เป็นสาเหตุ และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลดอาการ และทำให้มีชีวิติอยู่อย่างมีความสุข
อาหารที่ควรงดได้แก่
  1. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เช่น เหล้า เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ยูริคสูงขึ้น
  2. งดอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เป็ด ไก่ กะปิ หน่อไม้ สะเดา ยอดกระถิน และรับประทานไขมันมากทำให้การขับถ่ายกรดยูริค เป็นไปได้ยาก
การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การควบคุมอาหาร โดยงดอาหารที่เป็นสาเหตุ และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลดอาการ และทำให้มีชีวิติอยู่อย่างมีความสุข
  • ไม่รับประทานอาหารมันมาก เช่น อาหารที่ทอดอมน้ำมันมาก เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันทำให้ร่างกายขับยูริคได้น้อยลง
  • ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว มีสารพิวรีน สูง หากกินไม่มาก ก็ไม่เป็นไร แต่หากดื่มนมถั่วเหลืองชนิดเข้มข้นวันละ 1 ลิตร หรือมากกว่านับว่าปริมาณมากเกิน ทำให้ได้รับพิวรีนมากประกอบกับโปรตีนก็สูง ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการสร้างกรดยูริกภายในร่างกายได้ ควรลดปริมาณการดื่มนมถั่วเหลืองลงให้เหลือวันละ 2 แก้ว
  • ควรละเว้นไม่รับประทานส่วนยอดผัก ต้นอ่อนของผัก เช่น ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีนหน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม
  • งด อาหารหมัก ที่ใช้ ยีสต์ เป็นตัวเร่งหรือส่วนประกอบ เช่น เต้าเจี้ยว
  • เมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้จะมียูริกค่อนข้างมาก แม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม ควรงดโดยเฉพาะขณะมีอาการ
กลุ่ม ปริมาณพิวรีน/อาหาร 100 ก. อาหาร
อาหารที่มีพิวรีนสูง มากกว่า  150 มก.
  • เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, ตับอ่อน, ไส้, ม้าม, หัวใจ, สมอง, กึ๋น, เซ่งจี๊
  • สัตว์ปีก เช่น เป็ด, ไก่, ห่าน
  • ปลาดุก, กุ้ง,กุ้งซีแฮ้ หอย, ปลาอินทรีย์, ปลาไส้ตัน, ปลาขนาดเล็ก, ปลาซาร์ดีน, ไข่ปลา
  • ชะอม, กระถิน, เห็ด
  • ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ
  • น้ำเกรวี, กะปิ, ยีสต์
  • น้ำสะกัดเนื้อ, ซุปก้อน, น้ำต้มกระดูกปลาดุก, น้ำซุปต่างๆ น้ำสกัดเนื้อ
อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง 50-150 มก.
  • เนื้อสัตว์ เช่น หมู, วัว
  • ปลาทุกชนิด และอาหารทะเล เช่น ปลาหมึก, ปู
  • ถั่วลิสง, ถั่วลันเตา
  • ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้, หน่อไม้ฝรั่ง, ดอกกะหล่ำ, ผักโขม, สะตอ, ใบขี้เหล็ก
  • ข้าวโอ๊ต
  • เบียร์ เหล้าชนิดต่างๆ เหล้าองุ่น ไวน์ (ทำให้การขับถ่ายกรดยูริกทางปัสสาวะลดลง ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว)
อาหารที่มีพิวรีนน้อย 0-50 มก.
  • ข้าวชนิดต่างๆ 
  • ถั่วงอก, คะน้า
  • ผลไม้ชนิดต่างๆ
  • ไข่
  • นมสด, เนย และเนยเทียม
  • ขนมปัง ขนมหวาน หรือน้ำตาล
  • ไขมันจากพืช และสัตว์
ข้อควรปฏิบัติด้านอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
  • รับประทานผลไม้และผักให้มาก โดย รับประทานผักส่วนที่โตเต็มวัย
  • รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่
  • ดื่มน้ำสะอาด มากๆ วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยการขับถ่ายยูริคออกมาทางปัสสาวะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergic skin disease)

โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergic skin disease)

โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง(Allergic skin disease)

โดยผู้ป่วยที่เป็นลมพิษจะเริ่มด้วยอาการคัน หลังจากนั้นจะมีอาการบวม เป็นได้ทั้งตัวโดยเฉพาะที่ถูกเกาหรือกดรัด มักเป็นๆหายๆ อาการบวมอาจจะเป็นแบบตุ่มนูนที่มีขนาดแตกต่างกัน ส่วนใหญ่อาจดูคล้ายตุ่มยุงกัด แต่บางแห่งจะดูคล้ายแผนที่ โดยตรงกลางผื่นสีจะจางและไม่นูน ผื่นลมพิษนี้ อาจมีลักษณะแตกต่างไป ในบางครั้งจะรวมกันเป็นปื้นหนา หรือ อาจมีจุดขาวซีดๆ ตรงกลาง ขณะที่ขอบโดยรอบจะหนานูนแดง ผื่นลมพิษจะเห่อเร็วและผื่นนั้นมักจะหายภายใน 4-6 ชั่วโมงโดยไม่มีร่องรอยหลงเหลือ แล้วก็จะย้ายไปขึ้นบริเวณอื่นได้อีก โดยมากผื่นจะหายไปใน 24 ชั่วโมง ถ้าเป็นนานเกิน 24 ชั่วโมงให้นึกว่าอาจจะเป็นโรคอื่น ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการบวมของหนังตา ริมฝีปาก อวัยวะเพศ และทางเดินหายใจ ร่วมด้วย
ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ มักเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุขวบปีแรก โดยประ มาณ 80-90% ของเด็กที่เป็นโรคนี้ มักมีอาการก่อนอายุ 7 ปี โดยผู้ป่วยจะมีอาการผื่นคันตามลำ ตัวและหน้า เป็นๆหายๆ ผิวแห้ง อักเสบ และมีอาการกำเริบเป็นระยะๆเมื่อได้รับสารกระตุ้น ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหืดเมื่อเด็กโตขึ้น
สาเหตุที่สำคัญของโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังในเด็ก ได้แก่ แพ้อาหาร โดยอาหารที่พบว่าแพ้ได้บ่อยในเด็กไทยคือ ไข่ นมวัวอาหารทะเล และแป้งสาลี
โรคภูมิแพ้ทางดวงตา(Eye allergy)

เป็นการอักเสบที่เยื่อตาขาว และใต้หนังตา ผู้ ป่วยจะมีอาการ คันตา ตาแดง น้ำตาไหล แสบตาและมีขี้ตา โดยมักมีอาการช่วงได้รับสารกระตุ้น เช่น ฝุ่น ละอองเกสรหญ้า หรือขนสัตว์ ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ทางดวงตามักพบร่วมกับอาการโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการหลายระบบ(Anaphylaxis)

เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาการแพ้จะเกิดขึ้นรุนแรง รวดเร็วและมีอาการหลายระบบ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการคัน ลมพิษ บวมที่หน้า ปาก แน่นในลำคอ จาม น้ำมูกไหล หายใจลำบาก บางรายอาจมีอาการปวดท้อง อาเจียนท้องเสีย ความดันโลหิตลดต่ำลง หมดความรู้สึก และอาจถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ในรายที่เป็นโรคหืดอยู่เดิมอาจไปกระตุ้นให้โรคหืดกำเริบได้
สาเหตุที่สำคัญของโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงคือ ภาวะแพ้ อาหาร ยา แมลงต่อย (ผึ้ง ต่อ มด กัดต่อย: การปฐมพยาบาล การรักษาและการป้องกัน) ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้ชนิดนี้ควรหลีก เลี่ยงสารที่แพ้ และในรายที่เคยเกิดอาการแพ้ที่รุนแรง เช่นช็อก ผู้ป่วยควรมียาฉีด Adrenaline/ Epinephrine (ยารักษาโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง ที่ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ และช่วยเพิ่มความดันโลหิต) พกติดตัวไว้ด้วยเพื่อป้องกันการเสียชีวิตก่อนที่จะพบแพทย์
การวินิจฉัย

แพทย์วินิจฉัยโรคภูมิแพ้ โดยสังเกตจากอาการที่เข้ากันได้กับโรคนี้ ดังได้กล่าวแล้วในหัว ข้อ ชนิดของโรคภูมิแพ้ การมีอาการเรื้อรังเป็นๆหายๆ การมักมีประวัติครอบครัวร่วมด้วย และอาจทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือเจาะเลือดเพื่อหาสาเหตุของอาการที่แพ้ หรือกรณีที่เป็นโรคหืดก็ทำการทดสอบสมรรถภาพปอด เป็นต้น
การรักษา

หลักการดูแลผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มีหลักการทั่วไปคือ
  • ควบคุมสิ่งแวดล้อมและสารก่อภูมิแพ้
  • ให้การรักษาด้วยยา
การควบคุมสิ่งแวดล้อมและสารก่อภูมิแพ้ ได้มีการสำรวจผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ในประเทศไทยพบว่า มักจะแพ้ไรฝุ่น ฝุ่นบ้าน เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ แมลงสาบ ละอองเกสรพืช และขนสัตว์ ถ้าทำได้ แนะนำให้ทำการทดสอบผิวหนังในผู้เป็นโรคภูมิแพ้ทุกคน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าแพ้อะไร จะได้หลีกเลี่ยงได้ถูกต้อง และยังใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาทำการรักษาด้วยการฉีดวัคซีนอีกด้วย ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่ไม่ได้รับการทดสอบผิว หนัง หรือไม่สามารถทำการทดสอบได้ก็ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งที่พบบ่อย คือ
  1. ไรฝุ่น
    • จัดห้องนอนให้โล่ง ไม่ควรมี พรม ตุ๊กตา และผ้าม่าน
    • ซัก ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้าห่มด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
    • คลุมที่นอน หมอน หมอนข้างด้วยผ้าใยสังเคราะห์ชนิดพิเศษซึ่งสามารถกันไม่ให้ตัวไรฝุ่นลอดผ่านขึ้นมาได้
  2. แมลงสาบ
    • ขจัดแหล่งอาหารของแมลงสาบ โดยทิ้งขยะและเศษอาหารในถุงหรือถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
    • ใช้ยาฆ่าแมลงสาบและกับดักแมลงสาบ
  3. สัตว์เลี้ยง
    • ไม่ควรเลี้ยงสัตว์มีขน เช่น สุนัข แมว นก กระต่าย
    • ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ควรให้สัตว์เลี้ยงอยู่นอกบ้าน และอาบน้ำให้ทุกสัปดาห์
    • ใช้เครื่องดูดฝุ่น และเครื่องกรองอากาศ
  4. เกสรหญ้า
    • ควรตัดหญ้าและวัชพืชบริเวณบ้านบ่อยๆ เพื่อลดจำนวนเกสร
    • ไม่ควรนำต้นไม้ ดอกไม้สด หรือแห้ง ไว้ในบ้าน
    • ในช่วงที่มีละอองเกสรมาก ควรปิดประตู หน้าต่าง และใช้เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องฟออากาศ
    • ทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเช้า เพราะละอองเกสรจะปลิวมากช่วงตอนเย็น
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองต่างๆ ที่อาจทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบ ได้แก่ ควันบุหรี่ ควันท่อไอเสีย กลิ่นฉุน น้ำหอม ควันธูป และฝุ่นละอองจากแหล่งต่างๆ การออกกำลังกายสม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็มีความสำคัญ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มักมีอา การแย่ลงเมื่อมีภาวะเครียด และอดนอน ดังนั้นควรดูแลสุขภาพตัวเองไม่ให้เครียดมากและควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ในกรณีมีอาการโรคหืดกำเริบจากการออกกำลังกาย การพ่นยาขยายหลอดลมก่อนการออกกำลังกาย 15-30 นาทีจะช่วยป้องกันการหอบระหว่างออกกำลังกายได้
การให้การรักษาด้วยยา

เราอาจแบ่งการรักษาโรคภูมิแพ้ออกได้เป็น 3 ระดับเพื่อความเข้าใจง่ายๆดังนี้
  1. ยาบรรเทาอาการต่างๆ เช่นยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) และยาขยายหลอดลม
  2. ยาต้านการอักเสบเช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือสูดทางปาก
  3. การใช้วัคซีนภูมิแพ้เป็นการรักษาโดยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายเริ่มจากปริมาณน้อยๆ และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆจนร่างกายเกิดความชินต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น ซึ่งผู้ป่วยที่ควรรับการรักษาโดยวิธีฉีดวัคซีนภูมิแพ้คือ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีผลข้างเคียงจากยา โดยก่อนจะเลือกรักษาด้วยการฉีดวัคซีน จำเป็นต้องทราบก่อนว่าแพ้อะไร เพื่อจะได้นำสารที่แพ้มาฉีดเป็นวัคซีน ซึ่งการรักษาโดยวิธีนี้ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และผู้ป่วยต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำอย่างน้อย 3-5 ปี