ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์

ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์

ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry)

เป็นการตรวจวัดปริมาตรและอัตราการไหลของอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด โดยให้ผู้ป่วยใช้แรงหายใจเข้าและออกให้สุดลมหายใจผ่านเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer) ในบางรายต้องมีการตรวจหลังการสูดยาขยายหลอดลมซ้ำอีกรอบ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของหลอดลม การตรวจสไปโรเมตรีย์นี้ ช่วยในการวินิจฉัยโรคหอบหืด,ถุงลมโป่งพองรวมถึงช่วยบอกความรุนแรงของโรคปอดบางชนิดได้

ผู้ป่วยที่ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry)
  1. ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจบางอย่าง เช่น ไอเรื้อรัง หายใจเสียงดังหวีด เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก
  2. ผู้ป่วยที่แพทย์ตรวจร่างกายพบความผิดปกติบางอย่าง เช่น เสียงหายใจผิดปกติ ทรวงอกผิดรูป
  3. ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ เช่น ภาพรังสีทรวงอกผิดปกติ ออกซิเจนในเลือดแดงต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง
  4. ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น สูบบุหรี่ อาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดจากการประกอบอาชีพ เช่น ผู้ที่ทำงานในเหมืองแร่ ในสถานที่อับอากาศ ทำงานในที่มีไอระเหยของโลหะ หรือทำงานในสถานที่ที่มีฝุ่นละออง เช่น โรงงานทอผ้า เป็นต้น
  5. ประเมินความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยที่มีโรคบางอย่าง เช่น ปอดเป็นผังผืด กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  6. ประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านระบบหายใจในผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดช่องอก
  7. ประเมินสุขภาพก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย
เพื่อติดตามการรักษาหรือการดำเนินโรค
  • ติดตามผลการรักษาได้แก่ ผลของยาขยายหลอดลมในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดลม ประเมินผลของยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยหืด การพยากรณ์โรคปอดบางชนิด (เช่น COPD ปอดอุดกั้นเรื้อรัง)
  • ติดตามผู้ป่วยที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพติดตามผลข้างเคียงของยาที่มีผลต่อระบบการหายใจ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิด
  • ติดตามผลข้างเคียงของยาที่มีผลต่อระบบการหายใจ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิด
ข้อห้ามในการตรวจ Spirometry
  • ไอเป็นเลือด ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรคปอดระยะติดต่อที่ยังไม่ได้รับการรักษา
  • โรคความดันโลหิตสูง ที่ยังไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมไม่ได้,ความดันโลหิตตํ่า,เส้นเลือดแดงโป่ง (aneurysm)ในทรวงอก,ช่องท้องหรือสมอง
  • เพิ่งได้รับการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดลอกต้อกระจก ทรวงอก หรือช่องท้อง
  • สตรีมีครรภ์ (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็น)
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
  • ควรงดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างน้อย 2 ชั่วโมง , งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการตรวจหลังรับประทานอาหารทันที ควรให้นั่งพักประมาณ 1 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนมาตรวจ อย่างน้อย 30 นาที
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดหน้าอกและท้อง
วิธีการตรวจ Spirometry
  • นั่งตัวตรง หนีบจมูกด้วย Nose Clip
  • เจ้าหน้าทีสาธิต การหายใจเข้าออกพร้อมคำอธิบายการหายใจขณะทำการตรวจได้ถูกต้อง
  • มกระบอกเครื่องเป่า ปิดปากให้แน่นรอบกระบอกเป่าไม่ให้มีลมรั่วรอจังหวะสัญญาณการหายใจจากเจ้าหน้าที่
  • สูดหายใจเข้าเต็มที่และเป่าพุ่งอย่างรวดเร็ว และแรง จนกว่าอากาศที่เป่าจากปอดจะหมด ให้นิ่งไว้ประมาณ 3-6 วินาที และสูดลมกลับเต็มที่ ให้ทำตามจังหวะ
สูดลึกเต็มที่....เป่าพุ่งเร็วและแรง.......ดันให้สุด......สูดลมกลับ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป

การผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป

การผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic Sinus Surgery: ESS)

คือ การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคต่างๆในโพรงจมูกและไซนัส ได้แก่โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง (chronic rhinosinusitis), โรคริดสีดวงจมูก (nasal polyp), โรคผนังกั้นจมูกคด (deviated nasal septum), โรคเนื้องอกของโพรงจมูกและไซนัส (tumor of nose and paranasal sinus)  รวมทั้งยังสามารถรักษาโรคของอวัยวะใกล้เคียง เช่น ภาวะน้ำในสมองรั่วเข้ามาในโพรงจมูก (cerebrospinal fluid rhinorrhea), ถุงน้ำตาอักเสบเรื้อรัง (chronic dacryocystitis), โรคที่ต้องผ่าตัด เพื่อลดความดันในกระบอกตา เช่นโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ (thyroid orbitopathy) และโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง (pituitary adenoma) ด้วยกล้องเอ็นโดสโคป ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพได้โดยตรง และชัดเจน  โดยเฉพาะในบริเวณที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้การประเมินพยาธิสภาพ และการรักษาโดยการผ่าตัดภายในโพรงจมูกและไซนัสเป็นไปได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น
ในปัจจุบันการผ่าตัดโดยวิธีนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าได้ผลดีสำหรับโรคดังกล่าว ทั้งนี้ขึ้นกับประสบการณ์ และความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัด รวมทั้งการดูแลหลังผ่าตัดที่ดี การผ่าตัดโดยวิธีนี้ใช้กล้องเอนโดสโคป ซึ่งเป็นกล้องขยายที่มีขนาดเล็ก ดูบริเวณรอยโรคในโพรงจมูกและไซนัส และใช้เครื่องมือผ่าตัดที่ถูกออกแบบมาเฉพาะเพื่อการผ่าตัดนี้  แพทย์ผู้ผ่าตัดจึงเห็นบริเวณผ่าตัดได้ชัดเจนกว่าการผ่าตัดด้วยตาเปล่า เนื่องจากเป็นการผ่าตัดผ่านรูจมูก โดยทั่วไป จึงไม่มีแผลผ่าตัดที่ผิวหนัง แต่หากแพทย์ต้องดัดแปลงการผ่าตัดเพื่อผู้ป่วยเฉพาะราย อาจมีแผลผ่าตัดที่ผิวหนังร่วมด้วย ซึ่งแพทย์จะแจ้งให้ผู้ป่วยทราบเป็นรายๆ
ขั้นตอนการผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป

เมื่อแพทย์พิจารณาว่าผู้ป่วยสมควรได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ แพทย์จะปรึกษากับผู้ป่วยว่าจะทำผ่าตัดโดยวิธีดมยาสลบ หรือฉีดยาชาเฉพาะที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และความสมัครใจของผู้ป่วย   ในกรณีที่ดมยาสลบ ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเพิ่มเติม เช่น การเจาะเลือดตรวจ, ตรวจปัสสาวะ, ถ่ายภาพรังสีทรวงอก, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการดมยาสลบน้อยที่สุด  แพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยมาอยู่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วันก่อนผ่าตัด เพื่อเตรียมความพร้อม  โดยทั่วไปการผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1 – 3 ชั่วโมงซึ่งขึ้นกับชนิด และความรุนแรงของโรค  หลังจากผ่าตัดเสร็จ แพทย์จะใส่วัสดุห้ามเลือดไว้ในโพรงจมูก ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยต้องหายใจทางปาก     หลังผ่าตัด 24-48 ชั่วโมง แพทย์จะเอาวัสดุห้ามเลือดออก ซึ่งถ้าเอาออกได้หมด ไม่มีเลือดออกมากและผู้ป่วยแข็งแรงดีแล้ว ผู้ป่วยอาจกลับบ้านได้ในวันนั้น   แต่หากผู้ป่วยยังไม่แข็งแรงดี  มีปัญหาเลือดออกมาก แพทย์อาจให้ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาล เพื่อเฝ้าดูอาการต่ออีก 1 วัน  โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 4 วัน (3 คืน)  บางกรณีหากเลือดออกมาก ผู้ป่วยอาจได้รับการให้เลือด หรือใส่วัสดุห้ามเลือดเข้าไปในโพรงจมูกเพิ่มอีก หรือหากมีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด อาจทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด

เนื่องจากโพรงจมูกและไซนัสอยู่ใกล้กับอวัยวะสำคัญเช่น ตา สมอง การผ่าตัดจึงอาจเกิดอันตรายกับอวัยวะใกล้เคียงได้ ทั้งนี้ขึ้นกับประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์ ผู้ป่วยจึงควรทราบภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับการผ่าตัด หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำผ่าตัดให้เข้าใจก่อนรับการผ่าตัด  ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
  1. การมีเลือดออกใน หรือรอบดวงตา (intraorbital hematoma or periorbital ecchymosis) จะทำให้รอบดวงตาเขียว เหมือนถูกกระแทกที่กระบอกตา  ส่วนใหญ่มักจะค่อย ๆ หายไปเองภายใน 1-2 เดือน  แต่หากเลือดออกมาก จนเป็นก้อนเลือดในกระบอกหรือลูกตา อาจกระทบกระเทือนต่อประสาทตา ทำให้การมองเห็นลดลง แพทย์อาจต้องรีบผ่าตัด เพื่อระบายเอาก้อนเลือดนั้นออก โดยจะมีแผลที่หัวตา
  2. ท่อน้ำตาอุดตัน  (nasolacrimal duct obstruction) เนื่องจากท่อน้ำตาซึ่งช่วยระบายน้ำตาลงสู่โพรงจมูกอยู่ใกล้กับบริเวณที่ทำผ่าตัด จึงอาจเกิดการกระทบกระเทือน หรือบาดเจ็บจนมีการอุดตันได้  ทำให้น้ำตาไหลท้นจากตาอยู่ตลอดเวลา  การอุดตันนี้อาจเป็นเพียงชั่วคราว แล้วค่อย ๆ หายไปเองภายใน 1 – 2 เดือน หรืออาจเป็นถาวร หากมีการกระทบกระเทือน หรือบาดเจ็บมาก  ซึ่งสามารถทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขภายหลังได้
  3. ภาวะน้ำในสมองรั่วเข้ามาในโพรงจมูก(cerebrospinal fluid rhinorrhea) เกิดจากการกระทบกระเทือน หรือบาดเจ็บต่อเพดานจมูก ซึ่งเป็นพื้นของช่องกะโหลกศีรษะส่วนหน้า (skull base) หากเกิดรอยรั่ว จะทำให้น้ำในสมองรั่วลงมาในโพรงจมูก มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องกระโหลกศีรษะ หากทราบว่าเกิดรอยรั่วขึ้น แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมทันทีในห้องผ่าตัด  แต่หากทราบภายหลัง อาจจะต้องดมยาสลบใหม่ เพื่อผ่าตัดซ่อมแซมอีกครั้ง
ในผู้ป่วยบางราย อาจจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะผนังกั้นช่องจมูกคด (septoplasty) ร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน คืออาการชาที่ริมฝีปากบนบริเวณฟัน 4 ซี่หน้า หากเกิดขึ้น อาการดังกล่าวอาจเป็นเพียงชั่วคราว แล้วค่อย ๆ หายไปเองภายใน 1 – 2 เดือน หรืออาจเป็นถาวร หากมีการกระทบกระเทือน หรือบาดเจ็บมาก  นอกจากนี้อาจเกิดรูทะลุของผนังกั้นช่องจมูก (septal perforation) ซึ่งมองไม่เห็นจากภายนอก และส่วนใหญ่ไม่มีอาการใด ๆ  ส่วนน้อย ผู้ป่วยอาจมีน้ำมูกแห้ง ๆ เกาะบริเวณรูที่ทะลุบ่อย ๆ  อาจมีเลือดกำเดาออกเป็นครั้งคราว และในบางรายอาจได้ยินเสียงลมวิ่งผ่านรูทะลุเวลาหายใจ  หากมีอาการ ก็สามารถทำผ่าตัดเพื่อปิดรูทะลุดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย โดยขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่นประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์, ความรุนแรงของโรค
การปฏิบัติตนหลังผ่าตัด

  1. ผู้ป่วยจะมีแผลในโพรงจมูกและไซนัส และ มีวัสดุห้ามเลือดในช่องจมูกหลังรับการรักษา  อาจมีอาการเจ็บจมูกจากแผลผ่าตัดเล็กน้อย  อาจมีน้ำมูก หรือน้ำลายปนเลือดออกมาได้บ้างเล็กน้อย ในช่วงหลังผ่าตัดเสร็จใหม่ ๆ  ในรายที่มีวัสดุห้ามเลือดในโพรงจมูก อาจทำให้ผู้ป่วยต้องหายใจทางปาก  อาจทำให้มีอาการเจ็บคอ  คอแห้งได้  ควรจิบหรือดื่มน้ำบ่อยๆ และกลั้วคอ ทำความสะอาดบ่อยๆ และแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร  ห้ามดึงวัสดุห้ามเลือดในโพรงจมูกออกเอง เพราะอาจทำให้มีเลือดออกมากได้
  2. ผู้ป่วยอาจจะมีไข้ หรือมีอาการบวม หรือรู้สึกติดๆ ขัดๆ ตึงๆคล้ายมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในโพรงจมูก หรือมีเสียงเปลี่ยนได้ ซึ่งอาการดังกล่าวมักจะหายไปภายใน 1 สัปดาห์
  3. หลังการผ่าตัด 24-48 ชั่วโมงแรก เยื่อบุจมูกอาจบวมมากขึ้น ทำให้มีอาการคัดจมูกมากขึ้นได้  ดังนั้นจึงควรนอนศีรษะสูง โดยใช้หมอนหนุน หรือนอนบนที่นอนที่สามารถปรับความเอียงได้  อมและประคบน้ำแข็งบ่อยๆบริเวณหน้าผากหรือลำคอ ในช่วงสัปดาห์แรก  เพื่อลดอาการบวม และเลือดออกบริเวณที่ทำผ่าตัด
  4. ผู้ป่วยจะได้รับยาต้านจุลชีพ  ยาแก้ปวด ยาลดบวม ยาลดอาการคัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ซึ่งผู้ป่วยควรจะรับประทานยาดังกล่าวให้หมด ไม่ว่าอาการจะดีขึ้นหรือไม่ก็ตาม  ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล  เมื่อจำเป็นได้
  5. แพทย์จะให้ผู้ป่วยพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์  ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ  แต่ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรงๆ  การแคะจมูก หรือการกระทบกระเทือนบริเวณจมูก  การออกแรงมาก  การเล่นกีฬาที่หักโหม หรือยกของหนัก หลังผ่าตัด ภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก  เพราะอาจทำให้มีเลือดออกจากแผลในโพรงจมูกและไซนัสได้ ถ้ามีเลือดออกจากจมูก หรือไหลลงคอ ควรนอนพัก ยกศีรษะสูง  หยอด หรือพ่นยาหยอดจมูกเพื่อห้ามเลือดที่แพทย์สั่งไว้ให้ 3-4 หยด หรือ 3-4 puffs ในโพรงจมูกแต่ละข้าง  นำน้ำแข็งหรือ cold pack มาประคบบริเวณหน้าผากหรือคอ อมน้ำแข็งเพื่อให้เลือดหยุด  การประคบหรืออมน้ำแข็ง  ควรประคบ หรืออมประมาณ 10 นาที แล้วจึงเอาออกประมาณ 10 นาที แล้วค่อยประคบ หรืออมใหม่เป็นเวลา 10 นาที  ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ  ถ้าเลือดออกไม่หยุด หรือออกมากผิดปกติ เช่น เป็นถ้วยแก้ว  ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ทันที
  6. ประมาณ 2 วัน  หลังจากที่แพทย์เอาวัสดุห้ามเลือดออกจากโพรงจมูกแล้ว และไม่มีเลือดออกที่ผิดปกติ ผู้ป่วยควรล้างทำความสะอาดโพรงจมูกและแผลผ่าตัดด้วยน้ำเกลือ เพื่อป้องกันการเกิดสะเก็ดแผล ซึ่งเกิดจากน้ำมูกไปเกาะที่แผลบนเยื่อบุจมูกและไซนัส  เพราะสะเก็ดแผลดังกล่าว จะทำให้แผลหายช้า  ควรล้างจมูกวันละ 2 ครั้งอย่างน้อย  ในวันหยุด ควรล้างจมูกเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 3-4 ครั้ง ถ้าล้างจมูก แล้วมีเลือดออกมาก ควรหยุดล้างและปฏิบัติตามข้อ 5
  7. หลังกลับบ้านแล้ว แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาทำความสะอาดในโพรงจมูกที่โรงพยาบาลสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 3 – 4 ครั้ง และห่างออกเป็นระยะเช่น ทุก 2 สัปดาห์, 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน จนกว่าแผลจะหายดี การดูแลหลังผ่าตัดนี้เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งสำหรับความสำเร็จในการรักษาโดยวิธีผ่าตัดนี้โดยปกติหลังผ่าตัดประมาณ 4 สัปดาห์แผลในโพรงจมูกและไซนัสจะหายเป็นปกติ อาการคัดจมูก คัน จาม น้ำมูกไหล เสมหะลงคอจะดีขึ้นหลังการทำผ่าตัด ประมาณ 2-4 สัปดาห์
เงื่อนไขการเข้ารับบริการ
  1. ผู้เข้ารับบริการสามารถใช้แพ็กเกจได้หลังจากตรวจวินิจฉัยเรียบร้อยแล้ว โดยค่าใช้จ่ายในการวินิจฉัยจัดเป็นค่าใช้จ่ายนอกแพ็กเกจ
  2. แพ็กเกจดังกล่าวไม่สามารถใช้ร่วมกับสิทธิ์และส่วนลดอื่นๆ ได้ เช่น ผู้ถือหุ้น บริษัทคู่สัญญา และบริษัทประกัน
  3. ผู้เข้ารับบริการชำระค่าใช้จ่าย ณ โรงพยาบาล ในวันที่เข้ารับบริการ
  4. โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

อาหารที่เป็นเชื้อรา กับโรคภูมิแพ้

อาหารที่เป็นเชื้อรา กับโรคภูมิแพ้

อาหารที่เป็นเชื้อรา กับโรคภูมิแพ้

เชื้อราส่วนใหญ่จะมีปนเปื้อนในอาหารจำพวกหมักดองและมักจะพบเชื้อราในที่อับชื้นซึ้งผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยง อาหารที่มีเชื้อรา เช่น
  1. เนยทุกชนิด รวมทั้งนมเปรี้ยว ครีม ชาดำ
  2. เบียร์ ไวน์ เหล้าทุกชนิด
  3. น้ำซีอิ้ว เต้าเจี้ยว กะปิ เต้าหู้ยี้
  4. เห็ดทุกชนิด
  5. น้ำมะเขือเขือเทศกระป๋อง น้ำผลไม้กระป๋อง (ยกเว้นที่คั้นเอง)
  6. ไส้กรอก
  7. น้ำส้มสายชูและอาหารที่เคล้าน้ำส้มสายชู เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำสลัด
  8. ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้
  9. แตง มะเขือเทศ
  10. ผลไม้แห้ง
  11. ของหมักดองทุกชนิด
ท่านที่ได้รับการทดสอบภูมิแพ้อยู่ในขณะนี้ สิ่งที่เราทำการทดสอบให้ท่านคือ สิ่งที่ปะปนอยู่ในอากาศ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ เชื้อรา ขนของสัตว์เลี้ยง เช่น แมว นก เป็ด ไก่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ยากต่อการหลีกเลี่ยง ทำให้ท่านเข้าใจว่า "แพ้อากาศ"
อาการของผู้ป่วยภูมิแพ้

การหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่ทำให้แพ้ ตามปกติแล้วการหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่ทำให้ท่านแพ้ที่ผ่านระบบหายใจ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก มักจะทำได้ไม่สมบูรณ์เด็ดขาดเหมือนกรณีที่แพ้อาหาร การหลีกเลี่ยงอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้าท่านสามารถปฏิบัติได้ อาการต่างๆ เกี่ยวกับโรคที่ท่านเป็นอยู่จะดีขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับตัวท่านเอง ในแง่นี้อาจจะไม่ต้องมารักษาเลย ทั้งเป็นการทุ่นเวลาและทรัพย์ของท่านเองด้วย ในบางครั้งท่านหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้แล้วยังมีอาการเป็นครั้งคราว หรือบางฤดูกาลท่านอาจจะต้องรับประทานยาช่วยเป็นครั้งคราว อย่าลืมว่าการหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้เป็นวิธีที่ดีที่สุด ท่านอาจจะปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเต็มที่ตามคำแนะนำไม่ได้ เพราะว่าสิ่งที่ท่านทำนั้นเกี่ยวกับอาชีพของท่านหรือเป็นสิ่งที่ท่านรัก ชอบ อาการเหล่านี้ยังคงรบกวนท่านอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ท่านจึงควรมารับการทดสอบภูมิแพ้ เพื่อที่จะให้ท่านได้รับการฉีดยาเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน การฉีดยาจำเป็นอาจจะทำให้ร่างกายหายขาดไม่เป็นอีกเลย เพราะว่าท่านไม่เป็นโรคภูมิแพ้ของอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียวแต่ท่านจะแพ้หลายๆ อย่าง ยาที่ฉีดให้ท่านนั้น แพทย์ได้เลือกเฉพาะสิ่งที่ท่านไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยตนเอง ท่านที่เป็นโรคนี้จำเป็นต้องหมั่นสังเกตอาการของท่าน บางท่านที่แพ้อาจแฝงมาอยู่ในรูปของเครื่องใช้ประจำวันหรืออาหาร โดยไม่มีโอกาสจะทราบได้ ท่านคนเดียวเท่านั้นที่จะช่วยวินิจฉัยการรักษาว่าจะไปในรูปใด
คำแนะนำสำหรับพวกที่แพ้สิ่งที่ปะปนเข้าไปกับลมหายใจ

เช่น ฝุ่น เชื้อรา เกสรดอกไม้
  1. ฝุ่นที่ทำให้ท่านมีอาการ เป็นฝุ่นละอองเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านของท่านเป็นส่วนใหญ่ ฝุ่นที่เกิดจากที่นอน หมอนที่ทำจากนุ่น มุ้ง กองเสื้อผ้า กองหนังสือทิ้งไว้นานๆ พรม ผ้าม่าน ของเหล่านี้เป็นตัวที่ทำให้เกิดฝุ่นอย่างดี
  2. ห้องนอนเป็นห้องที่ท่านได้อยู่ประจำ สมควรที่ท่านจะกำจัดฝุ่นหรือสิ่งที่ท่านแพ้ออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ห้องนอนควรเป็นห้องสำหรับพักผ่อนจริงๆ ควรจะให้ห้องนั้นโล่งสะดวกแก่การทำความสะอาด การทำความสะอาดควรใช้ผ้าเปียกเช็ด หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นบริเวณหลังตู้ ใต้เตียงเป็นที่เก็บฝุ่นอย่างดี ควรจะได้รับการดูแลทำความสะอาดบ่อยๆ
  3. ฝุ่นจากที่นอน หมอน ผ้าห่ม เก้าอี้นวมที่ทำด้วยนุ่น หลังจากใช้ไประยะหนึ่งจะสลายตัวออกเป็นฝุ่นละอองเล็กซึ่งทำให้ท่านแพ้ได้ ถ้าหากสามารถเปลี่ยนเป็นยางได้จะสะดวกแก่การทำความสะอาด หรือจะใช้พลาสติกคลุมไว้จะช่วยไม่ให้ฝุ่นละอองฟุ้งออกมาภายนอก
  4. หลังจากทำความสะอาดให้ห้องนอนแล้ว ควรปิดไม่ให้ฝุ่นจากภายนอกมาสะสมใหม่ การใช้เครื่องปรับอากาศหรือพัดลมดูดอากาศจะช่วยให้อากาศถ่ายเทดีขึ้น ช่วยกำจัดฝุ่น
  5. พยายามทำความสะอาดห้องอื่นๆ ในบ้านท่านด้วย โดยเฉพาะห้องที่ใช้บ่อย ๆ ก็ควรทำความสะอาดเช่นเดียวกับห้องนอน
  6. ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ไม่ควรทำความสะอาดห้องเอง ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่กำลังทำความสะอาดและไม่รื้อของเองเพราะในขณะนั้นฝุ่นมีมากกว่าธรรมดา ถ้าจำเป็นต้องทำควรใช้ผ้าเปียกปิดปากและจมูก เพื่อช่วยกันฝุ่น
  7. ไม่ควรอนุญาตให้สัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้ามาอยู่ในบ้าน เพราะขนสัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัขจะสะสมเพิ่มปริมาณทำให้เกิดฝุ่น ซึ้งทำให้เกิดภาวะมากขึ้น
ท่านเท่านั้นที่ทราบว่าท่านแพ้อาหารชนิดใด ต้องเป็นตนช่างสังเกตว่ารับประทานอาหารชนิดใดแล้วเกิดอาการแพ้ และท่านต้องไม่ลืมว่าการหลีกเลี่ยงว่าการหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้เป็นการรักษาที่ดีที่สุด

โปรแกรมและแพ็คเกจ

แพคเกจ ทดสอบภูมิแพ้ บนผิวหนัง

รู้และหลีกเลี่ยงสิ่ง […]

โรคหืด

โรคหืด (Asthma)

Asthma
อาการของผู้ป่วยขณะที่จับหืดคือ มีอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจดังหวีด มักมีอาการเป็นๆหายๆ หรือในกรณีที่มีอาการมากอาจมีอาการทุกคืน อาการอาจบรรเทาได้ด้วยยาขยายหลอดลม แต่ก็มักควบคุมอาการได้เฉพาะช่วงแรกๆ ต่อมามักต้องใช้ยาบ่อยขึ้นและมากขึ้น บางครั้งโรคหืดอาจแสดงอาการเพียงแต่อาการไอกลางคืน หรือไอเรื้อรังโดยไม่มีเสียงหวีด หรืออาการแน่นหน้าอกก็ได้ ทำให้การวินิจฉัยยากขึ้น บางครั้งก็มีอาการแน่นหน้าอกเฉพาะช่วงออกกำลังกาย แต่ที่มักถูกมองข้ามเกือบเสมอๆ คือ ไม่ได้นึกถึงโรคภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งสามารถพบร่วมกันได้มากกว่า 70-80% ซึ่งการให้การรักษาอาการของโรคหืดอย่างเดียวโดยไม่รักษาโรคภูมิแพ้ทางจมูกด้วยจะทำให้ควบคุมอาการไม่ดีเท่าที่ควร
การวินิจฉัยที่แน่นอนคือ การตรวจวัดสมรรถภาพปอด ซึ่งนอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยโรคแล้ว ยังช่วยประเมินความรุนแรงของโรคอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามการตรวจโดยวิธีนี้ทำได้ค่อนข้างยากในผู้ป่วยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 7 ปี กรณีที่ไม่มีเครื่องทดสอบสมรรถภาพปอด ชนิด Spirometer อาจใช้เครื่องมือชนิดที่เรียกว่า Peak flow meter ซึ่งมีราคาถูกกว่าและมีประโยชน์ในการประเมินอาการของโรคกรณีที่ไม่สามารถตรวจด้วย Spirometer ได้
โรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ (Allergic rhinitis)
อาการของโรคภูมิแพ้ทางจมูกอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิดคือ
  • ชนิดแรกเป็นชนิดที่มีอาการเด่นทางน้ำมูก คือจะมีน้ำมูกใสไหล จาม คันจมูก
  • ชนิดที่สองมีอาการเด่นทางอาการคัดจมูกเป็นหลัก มักไม่มีน้ำมูก หรืออาการจาม
  • ชนิดที่สามจะมีอาการของ 2 ชนิดแรกรวมกัน คือมีทั้งน้ำมูกใส และอาการคัดจมูก
  • ส่วนชนิดสุดท้ายจะมีอาการที่วินิจฉัยยากถ้าผู้ตรวจไม่มีความชำนาญ อาจวินิจฉัยผิดได้ กลุ่มนี้อาจมีอาการ ไอเรื้อรังหรือกระแอม ซึ่งเกิดจากเสมหะไหลหรือซึมลงคอ อาจรู้สึกมีเสมหะติดคอเวลาเช้าได้ บางคนมีอาการปวดหัว/ปวดศีรษะเรื้อรัง นอนกรน หรือถอนหายใจบ่อยๆ ปากแห้ง บางคนมีอาการคันหัวตา โดยไม่มีอาการตาแดง อธิบายว่าเกิดจากการที่มีเยื่อจมูกบวมมากทำให้ท่อน้ำตาที่อยู่ติดๆกันอักเสบ เกิดอาการคันที่หัวตาอย่างมาก
การวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้จากการซักประวัติทางการแพทย์อย่างละเอียด โดยเฉพาะประวัติโรค หรือมีอาการภูมิแพ้ภายในครอบครัว การสังเกตตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ รวมทั้งสภาพลักษณะการทำงาน สภาพแวดล้อมภายในบ้าน ที่ทำงาน การตรวจร่างกายบางอย่างถ้าพบก็จะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค เช่น การมีขอบตาล่างบวมคล้ำ การตรวจภายในโพรงจมูกจะช่วยบอกถึงความรุนแรงของการอักเสบ และอาจบอกถึงโรคในโพรงจมูกที่มีผลต่อการรักษาโรคภูมิแพ้ได้ เช่น อาจพบการซีด หรือมีสีแดงจัดจากการอักเสบ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

Sleep Apnea Syndrome


คุณมีอาการแบบนี้ หรือไม่?
  1. ขับรถหรือเข้าประชุมนานๆ แล้วเผลอหลับ
  2. คนที่บ้านบอกว่านอนกรนเสียงดัง ปวดหัวเหมือนนอนไม่พอ
  3. ตรวจร่างกายแล้ว ความดันโลหิตสูงขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
ถ้ามีอาการดังกล่าวคุณอาจเป็น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับโดยไม่รู้ตัว
เรามักเข้าใจผิดกันมานานแล้วว่า คนนอนหลับสนิทต้องมีอาการกรนร่วมด้วย ยิ่งกรนดังก็หมายถึงคนๆ นั้นกำลังนอนหลับฝันดีทีเดียว และคนที่กรนก็มักจะมีรูปร่างที่อ้วนใหญ่ ผู้ที่จมูกอักเสบ โครงหน้าผิดรูป เช่น คางสั้น ลิ้นโต คนที่ทำงานหักโหม นักกีฬา ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทานยานอนหลับ ดื่มแอลกอฮอล์ประจำ สูบบุหรี่จัด เป็นต้น และพบมากในเพศชายมากกว่า เพศหญิง ซึ่งคนเหล่านี้มักมีอาการง่วงนอนทุกสถานที่ หลับได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นขณะขับรถติดไฟแดงนานๆ ซึ่งอาจประสบอุบัติเหตุได้ หรือขณะ นั่งประชุม นั่งเรียน นั่งอ่านหนังสือ ตื่นเช้าทำให้รู้ไม่สดชื่นเหมือนนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ทั้งๆที่นอนเพียงพอแล้ว เวลากลางวันจึงง่วงนอนมากผิดปกติ อาการนอนกรนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่มีการอุดกั้นในทางเดินหายใจมาก จนกระทั่งทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับพบได้ประมาณร้อยละ 25 ในเพศชาย และร้อยละ 15 ในเพศหญิง ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome”
ความผิดปกติในการนอนกรนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. อาการนอนกรนธรรมดา
ไม่มีอันตรายเพราะไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย มีผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้อื่น โดยเฉพาะกับคู่นอน บุคคลอื่นๆ ในครอบครัว เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงาน เช่น ทำให้ผู้อื่นนอนหลับยากหรืออาจมากจนกระทั่งมีผลกระทบต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดังกล่าวได้ เช่น อาจทำให้เกิดการหย่าร้างของคู่สามีภรรยา
2. การกรนแบบก่อโรค
มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome” ผลกระทบที่สำคัญต่อสุขภาพ คือผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน มีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุในท้องถนน และในโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่ายมีอัตราเสี่ยงสูงจะเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาหลายโรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคของหลอดเลือดในสมอง ตลอดจนการมีสมรรถภาพทางเพศที่เสื่อมลง !!!
การตรวจสุขภาพการนอนกรน (Sleep test)
เป็นการตรวจสุขภาพที่สำคัญเพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับด้วย ปัจจุบันจัดว่าเป็นการตรวจสุขภาพมาตรฐานสากล เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคพบบ่อย เช่น ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่าโรคหยุดหายใจขณะหลับเป็นต้น ซึ่งแพทย์จะประมวลประวัติ ผลการตรวจร่างกายทาง หู คอ จมูก และตรวจร่างกายโดยรวมแล้วแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test เพื่อหาระดับความรุนแรงและอาการของโรคจากระดับความลึกของการนอนหลับ โดยเฉพาะในกรณีที่สงสัยว่าจะมีภาวะการณ์หยุดหายใจร่วมด้วยว่าสมองมีการขาดออกซิเจนมากน้อยเพียงใด ซึ่งในขณะนอนหลับจะมีการบันทึกข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดเพื่อที่แพทย์จะทำการวิเคราะห์ผล และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมเป็นลำดับต่อไป
แนวทางการรักษา
  • นอนตะแคง
  • ลดน้ำหนัก
  • การผ่าตัดตกแต่งทางเดินหายใจส่วนบน
  • เครื่องซีแพพ CPAP (Continuous positive airway pressure) เพื่อช่วยหายใจขณะนอนหลับ
เครื่องซีแพพ CPAP
(Continuous Positive Airway Pressure)
เป็นเครื่องผลิตแรงดันอากาศให้เพียงพอในการเปิดทางเดินหายใจในขณะหายใจเข้า เครื่อง CPAP มีประสิทธิภาพเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ในการรักษาปัญหาการขาดลมหายใจ โดยส่งอากาศเข้าสู่ทางเดินหายใจ ผ่านทางหน้ากากครอบจมูกหรือปาก ประโยชน์ของเครื่อง CPAP นอกจากขจัดปัญหาการขาดลมหายใจทำให้ร่างกายไม่ขาดออกซิเจน และมีคุณภาพการนอนดีขึ้นยังช่วยลดปัญหาความง่วงนอนช่วงกลางวัน ลดอุบัติเหตุ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกด้าน นอกจากนั้นการใช้เครื่อง CPAP ยังลดปัญหาสืบเนื่องในระยะยาวจากการขาดอากาศเป็นระยะ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง
โรคเส้นเลือดตีบในสมอง และโรคหัวใจ รวมทั้งโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับ "การนอนกรน"

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคดิสเปปเซีย (Dyspepsia) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อโรคกระเพาะอาหารนั้น คือ โรคที่มีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของบริเวณกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นก็ได้ โดยหากผู้ป่วยได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนจะพบความรุนแรงของโรคกระเพาะอาหารได้แตกต่างกัน ได้แก่ ตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆในกระเพาะอาหารเลยที่เรียกว่าฟังก์ชันนัลดิสเปปเซีย (Functional dyspepsia) พบเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) มีแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) หรือแม้แต่เป็นโรคร้ายแรงคือมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer)

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคกระเพาะอาหาร
  1. การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ในกระเพาะอาหาร
  2. การรับประทานยาที่อาจระคายเคืองกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาละลายลิ่มเลือด
  3. การสูบบุหรี่
  4. การรับประทานเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  5. ภาวะความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล
อาการของโรคกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารสามารถมาพบแพทย์ด้วยอาการสำคัญ 4 แบบ ได้แก่

  1. ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastric pain)
  2. แสบร้อนท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastric burning)
  3. แน่นหรืออึดอัดท้องหลังมื้ออาหาร (Post-prandial fullness)
  4. อิ่มเร็วกว่าปกติ (Early satiation)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารนั้นไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดท้องหรือแสบท้องเสมอไป อาการแน่นหรืออึดอัดท้อง รับประทานอาหารแล้วอิ่มเร็วกว่าปกติ ก็เป็นอาการที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจจะป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน

การตรวจเพื่อวินิจฉัยชนิดของโรคกระเพาะอาหาร

การวินิจฉัยแยกชนิดของโรคกระเพาะอาหารว่าเป็นชนิดใดนั้น มีความจำเป็นต้องอาศัยการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งสามารถเห็นลักษณะความผิดปกติ รวมถึงก้อนเนื้องอกต่างๆบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้อย่างชัดเจน โดยผู้ที่มีความเสี่ยงที่อาจจะป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดร้ายแรงและมีความจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน ได้แก่ มีอาการกลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ มีภาวะซีด น้ำหนักลด อาเจียนต่อเนื่อง อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 55 ปี รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการเป็นซ้ำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหาร

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดมีแผลอาจจะส่งผลทำให้มีเลือดออกจากแผลซึ่งบางครั้งอาจจะรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกหรือเสียชีวิตได้ ทำให้อาเจียนจากภาวะกระเพาะอาหารอุดตัน ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงจากแผลทะลุ แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดเยื่อบุอักเสบและมีการอักเสบเกิดขึ้นแบบเรื้อรังก็อาจส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุและกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารขึ้นมาได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ถึงโรคกระเพาะอาหารควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นจากตัวโรคในภายหลัง

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

ยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารโดยเฉพาะชนิดเยื่อบุอักเสบ หรือชนิดมีแผลประกอบด้วยยาลดกรดชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตามในบางครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคกระเพาะอาหารชนิดฟังก์ชันนัลดิสเปปเซียอาจมีความจำเป็นต้องให้ยากลุ่มอื่นๆร่วมด้วย เช่น ยาที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร ยาที่ลดการตอบสนองของกระเพาะอาหาร เพื่อทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น

หากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ก็มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 2 ชนิดเพื่อกำจัดเชื้อโรคนี้ร่วมด้วย

วิธีปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น อาหารเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ของหมักดอง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม กาแฟ โกโก้ ช็อคโกแลต เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารปริมาณมากๆในหนึ่งมื้อ
  • หลีกเลี่ยงการเอนตัวหรือนอนหลังกินอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาละลายลิ่มเลือด โดยไม่มีข้อบ่งชี้
  • งดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนักหากมีภาวะอ้วน
  • หลีกเลี่ยงการใส่กางเกง กระโปรง หรือเข็มขัดที่รัดแน่นเกินไป
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล
อายุรกรรมโรคเลือด

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล

PAKTHIPA PATTARAROSOL, M.D.
Specialty
  • อายุรศาสตร์โลหิตวิทยา

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตร์บัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วว.อายุรศาสตร์โลหิตวิทยา   คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหววิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
MON 17:00 - 20:00

ความดันโลหิตสูง Hypertension

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาและควบคุมตลอดชีวิต โรคนี้มักพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 15-20 ทั้งเพศหญิงและเพศชายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
ความดันโลหิตสูงคืออะไร
ความดันโลหิตคือแรงดันของกระแสเลือดที่มีต่อผนังหลอดเลือดโดยมีอวัยวะสำคัญที่ควบคุมให้ความดันอยู่ในระดับปกติ เช่นหัวใจ ไต หลอดเลือดที่หดหรือขยายตัวได้เป็นต้น ค่าความดันโลหิตขณะนั่งพักในวัยผู้ใหญ่จะประมาณ 120/80 มม.ปรอท และเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ตามท่าของร่างกาย อาหาร เครื่องดื่ม อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง ปริมาณการออกกำลังกาย เป็นต้น สามารถตรวจวัดความดันโลหิตที่รอบแขนได้ 2 ค่าดังนี้
  1. ความดันซีสโตลิก หรือค่าบนเป็นแรงดันสูงสุดขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวโดยค่าปกติจะไม่เกิน 139 มม.ปรอท
  2. ความดันไดแอสโตลิก หรือค่าล่างเป็นแรงดันขณะที่หัวใจคลายตัวโดยค่าปกติจะไม่เกิน 89 มม.ปรอท
ความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร
ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไป โดยวัดขณะนั่งพัก 5-10 นาที ที่ไม่ได้สูบบุรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง ได้ดังนี้
ความดันโลหิตสูงแบ่งเป็น 2 ชนิด
  1. ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน พบได้มากกว่าร้อยละ 90 ในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
    • พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง
    • โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง
    • บริโภคอาหารรสเค็มหรือเกลือโซเดียมมาก
    • ขาดการออกกำลังกาย
    • ร่างกายมีความไวต่อการสะสมเกลือและโซเดียม
  2. ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ ที่มีสาเหตุของโรค เช่น โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ นอนกรนและหยุดหายใจเฉียบพลันจากยาบางชนิด การตั้งครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น แต่หลังการรักษาต้นเหตุ ความดันสูงจะกลับเป็นปกติในผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเฉพาะค่าบน เนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงระยะแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและที่พบได้บ่อยคือ ปวดมึนท้ายทอยตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาต หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
โรคนี้ถ้าไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆ ร่วมกับมีภาวะไขมันสูง สูบบุรี่ โรคเบาหวานที่ไม่ควบคุม น้ำตาลในเลือดที่สูงจะเร่งทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมโดยมีคราบไขมันพอกที่ผนังหลอดเลือดเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ ก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญได้แก่
  1. หัวใจ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจวาย หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
  2. สมอง เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน หรือแตกทำให้เป็นอัมพาต และถ้าเกิดในตำแหน่งสำคัญอาจเสียชีวิตอย่างรวดเร็วความดันที่สูงรุนแรงเฉียบพลันจะทำให้สมองบวม ปวดศีรษะและซึมลงจนไม่รู้สึกตัว
  3. ไต จากมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอจะเกิดภาวะไข่ขาวรั่วออกทางปัสสาวะ ไตวายเรื้อรัง หรือเฉียบพลัน ซึ่งจะทำให้ความดันยิ่งสูงมากขึ้น
  4. ตา หลอดเลือดแดงในตาแตกและมีเลือดออกทำให้ประสาทตาเสื่อมและอาจตามัวลง
  5. หลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดการโป่งพอง และหรือฉีกขาดของผนังหลอดเลือดจะมีการเจ็บหน้าอกถ้ารุนแรงอาจเสียชีวิต
วิธีการรักษา
เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิคือการควบคุมความดันให้ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรังควรควบคุมให้ต่ำกว่า
  1. เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดัน และปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อยความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่130/80 มม.ปรอท แนวทางการรักษามีดังนี้ ลดน้ำหนักส่วนเกิน   เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ ธัญพืช ปลาและ นมไขมันต่ำระมัดระวังการรับประทานอาหารหวาน ไขมันควบคุมอาหารรสเค็ม    รู้จักคลายเครียด   ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ถ้าเลิกออกกำลังกาย ความดันสูงจะกลับมาใหม่เลิกบุหรี่และเหล้า
  2. ให้ยารักษาความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันยังคงสูงกว่า140/90 มม.ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษา และควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น
  3. ติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ และเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น
ดูแลสุขภาพอย่างไรจึงจะควบคุมได้
  1. รับประทานยา และพบแพทย์ตามนัด ไม่หยุดยาเองแม้ว่าจะมีความดันเป็นปกติ และไม่เปลี่ยนขนาด หรือชนิดยา เพราะประสิทธิภาพของยาจะแตกต่างกันในแต่ละราย ผู้ที่มีอาการจากผลข้างเคียงของยาควรปรึกษาแพทย์
  2. บริโภคอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสหวาน มัน เค็มจัดควรฝึกให้ชินกับอาหารรสธรรมชาติ หรือใช้สมุนไพรปรุงรสแทนและบริโภคแบบสด การบริโภคอาหารเค็มจะทำให้ความดันไม่ลงและดื้อต่อการรักษา
  3. ลดน้ำหนักส่วนเกิน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งในการลดความดันโลหิตผู้ที่ลดน้ำหนักได้ต่อเนื่องทุก 10 กิโลกรัมความดันค่าบนจะลดลงเฉลี่ย 5-20 มม.ปรอท
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 20-30 นาทีแบบต่อเนื่องสัปดาห์ละ 5-7 วัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ เป็นต้นจะช่วยให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
  5. การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น และเป็นสาเหตุของโรคอันตรายอื่น
  6. เลือกบริโภคอาหารลดความดัน (Dietary Approaches to Stop Hypertension, DASH) โดยบริโภคอาหารไขมันต่ำแบบหมุนเวียน เช่น เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ปลา อาหารมังสวิรัติ และเพิ่มการบริโภค ผักผลไม้ ธัญพืชมากขึ้นในแต่ละมื้อ  และลดบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไป
  7. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียด7. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียดและทำจิตใจให้สงบ เช่น ปฏิบัติศาสนกิจ เจริญสมาธิ ฝึกโยคะชี่กง เป็นต้น พบว่าการฝึกหายใจ ช้าน้อยกว่า 10 ครั้ง/นาทีวันละ 15-20 นาที ประมาณ 2 เดือน จะช่วยลดความดันโลหิตได้ประมาณเท่ากับการกินยารักษาความดัน 1 ชนิด
  8. เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ควรแจ้งแพทย์เรื่องความดันโลหิตสูงเนื่องจากยาบางอย่างมีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

พญ.กัญญมาศ พุ่มปรีชา

พญ.กัญญมาศ พุ่มปรีชา
เวชศาสตร์ฟื้นฟู

พญ.กัญญมาศ พุ่มปรีชา

KANYAMAS POOMPREECHA, M.D.
Specialty
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์  ศิริราชพยาบาล
  • วุฒิบัตรแพทยเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์  ศิริราชพยาบาล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 14:00 - 17:00

PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

จากการที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ตรวจพบค่าระหว่าง 51-75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มก./ลบ.ม.) โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่ไม่เกิน 50 มก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งพื้นที่ ที่ตรวจพบค่าเกินมาตรฐาน จะเห็นได้ว่ามีพบการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศโดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองและแหล่งอุตสาหกรรม  มลพิษทางอากาศมักจะพบในรูปของฝุ่นละอองเป็นส่วนใหญ่ เป็นภัยเงียบที่สะสมในร่างกายไปเรื่อยๆหากได้รับการสัมผัสเป็นเวลานานๆ

ฝุ่นละออง หรือ อนุภาค หรือ PM (Particulate Matter) จะล่องลอยอยู่ในอากาศ มักอยู่ในรูปฝุ่นควัน เขม่าควัน ละอองของเหลว และสามารถลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน บางอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ก็จะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่น ควันจากการสูบบุหรี่ บางอนุภาคมีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ถึงจะมองเห็นได้  โดยพบว่าหากขนาดของฝุ่นหรืออนุภาคเล็กลงจะมีผลทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพได้ทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว ซึ่งอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา (PM10) จะก่อให้เกิดการสะสมภายในระบบทางเดินหายใจ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนลง (PM2.5) ตัวอนุภาคจะสามารถลงเข้าไปสะสมที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนล่างได้ เมื่อมีการสูดดมเข้าไปก็จะเพิ่มความเสี่ยงในโรคทางเดินหายใจได้สูง นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถแทรกซึมเข้าไปในกระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง  ข้อมูลจากสมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า หากคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง หากได้รับสูดดมฝุ่นควัน PM2.5 เข้าไปเพียงเวลาไม่นาน ตัวฝุ่นจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจวาย เส้นเลือดในสมองตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดให้ PM 2.5 เป็น 1 ในสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด ตั้งแต่ปี 2556 อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

แหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน PM2.5 เกิดขึ้นได้จาก 2 แหล่งหลักคือ แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่

  1. การเผาในที่โล่งซึ่งพบว่าสามารถปล่อย PM2.5 ได้มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี พบจากการเผาในพื้นที่เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว
  2. การคมนาคมซึ่งสามารถปล่อย PM2.5 ประมาณ 50,240 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทั้งดีเซลและแก็สโซฮอล์เป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของออกไซด์ของไนโตรเจนและซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  3. การผลิตไฟฟ้าซึ่งปล่อย PM2.5 ประมาณ 31,793 ตันต่อปี อุตสาหกรรมการผลิตซึ่งปล่อย PM2.5 ประมาณ 65,140 ตันต่อปี เกิดจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากสารเคมี  และเกิดจากการรวมตัวของก๊าซอื่นๆในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจน รวมทั้งมีสารปรอท แคดเมียม อาร์เซนิก หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกคาร์บอน ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์

ในส่วนวิธีการป้องกันมีวิธีตั้งแต่การควบคุมแหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน ได้แก่ การควบคุมจากแหล่งกำเนิดโดยติดตั้งเครื่องดักฝุ่นประสิทธิภาพสูงร้อยละ 99-99.8 และติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบโรงไฟฟ้าและชุมชน การปลูกต้นไม้ดักจับฝุ่นควัน การตรวจเช็คระบบเผาไหม้เครื่องยนต์ การควบคุมไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย เช่น การฉีดน้ำล้างถนน การหลีกเลี่ยง กิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะในวันที่มีค่า PM2.5  สูงเกินมาตรฐาน  และการป้องกันส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากาก ซึ่งสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทำให้ทุกคนต้องใส่  “หน้ากากอนามัย” หรือ "หน้ากากผ้า" ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว  โดยหน้ากากที่หาซื้อได้ถตามท้องตลาด มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ต่างกันดังนี้

  • หน้ากากชนิด N95  เป็นหน้ากากที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับว่าสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ดีที่สุด เพราะป้องกันได้ทั้งฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กถึง 3 ไมครอน เหมาะสำหรับป้องกันมลพิษ ฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างที่พบเห็นกันทุกวันนี้ ควันพิษ ไอเสียรถยนต์ และไอระเหยของสารเคมีต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

  • หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น หน้ากากชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เป็นแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย เป็นหน้ากากที่เหมาะสำหรับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอหรือจาป้องกันผู้สวมใส่จากเชื้อโรคจำพวกเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราได้ แต่หากเป็นเชื้อไวรัสซึ่งมีอนุภาคเล็กระดับไมครอนอาจจะไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่เพียงพอหากต้องการป้องกันฝุ่นพิษ

  • หน้ากากผ้า เป็นหน้ากากคล้ายแบบเยื่อกระดาษ เน้นการป้องกันการกระจายของน้ำมูกหรือน้ำลายจากการไอจาม แต่อาจไม่สามารถกรองเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมากๆ ได้ สามารถป้องกัฝุ่นละอองขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอนขึ้นไป แต่ฝุ่นละอองที่พบในปัจจุบันนี้มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอนจึงไม่สามารถป้องกันได้

ในส่วนวิธีการป้องกันมีวิธีตั้งแต่การควบคุมแหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน ได้แก่ การควบคุมจากแหล่งกำเนิดโดยติดตั้งเครื่องดักฝุ่นประสิทธิภาพสูงร้อยละ 99-99.8 และติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบโรงไฟฟ้าและชุมชน การปลูกต้นไม้ดักจับฝุ่นควัน การตรวจเช็คระบบเผาไหม้เครื่องยนต์ การควบคุมไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย เช่น การฉีดน้ำล้างถนน การหลีกเลี่ยง กิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะในวันที่มีค่า PM2.5  สูงเกินมาตรฐาน  และการป้องกันส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากาก ซึ่งสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทำให้ทุกคนต้องใส่  “หน้ากากอนามัย” หรือ "หน้ากากผ้า" ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว  โดยหน้ากากที่หาซื้อได้ถตามท้องตลาด มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ต่างกันดังนี้

บทความโดย
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วิบูลย์ศิริชัย
อายุรแพทย์ โรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต

นพ.รัฐดำรง ธรรมโชติ

นพ.รัฐดำรง ธรรมโชติ
ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ

นพ.รัฐดำรง ธรรมโชติ

RATDAMRONG THAMMACHOT, M.D.
Specialty
  • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นายแพทย์เชี่ยวชาญ(ระดับ 9)
  • วว.ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 17:00 - 19:00

นพ.จักรพงษ์ อรพินท์

นพ.จักรพงษ์ อรพินท์
ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ

นพ.จักรพงษ์ อรพินท์

JAKRAPONG ORAPIN, M.D.
Specialty
  • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
  • sports injury

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)  วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2548
  • วุฒิบัตร สาขาออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พ.ศ. 2555
  • ประกาศนียบัตร อนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2557
  • Research Fellowship in Foot and Ankle Surgery
    • MedStar Union Memorial Hospital
    • Johns Hopkins, School of Medicine, Baltimore, Maryland, USA

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
SAT 17:00 -20:00 เสาร์ที่ 2, 4