นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
Sleep apnea
โรคนอนกรน
ส่วนใหญ่เรามักคิดว่าปัญหาการนอนกรนเป็นปัญหาเล็กน้อย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ปัจจุบันวงการแพทย์ได้ให้การยอมรับว่า การนอนกรนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆหลายโรค เช่น หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจตาย อัมพฤกษ์ อัมพาต และร้ายแรงที่สุดคือภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะนอนหลับ ยังส่งถึงไปยังบุคลิกภาพและเกิดความอาย
โรคนอนกรนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- นอนกรนธรรมดา นอนกรนเสียงดังถือเป็นภาวะก่อความรำคาญให้กับคู่สมรส ผู้ร่วมห้องนอน ห้องข้างเคียง ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตคู่ หรือสร้างความอับอาย ทำให้ไม่กล้านอนร่วมห้องกับผู้อื่น
- นอนกรนแบบหยุดหายใจ เกิดการที่มีทางเดินหายใจแคบมากเวลาหลับ จะมีเสียงกรนไม่สม่ำเสมอ โดยเมื่อที่ยังหลับไม่สนิทจะมีการกรนอย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อหลับสนิทมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจและจะมีช่วงหยุดกรนไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งช่วงที่หยุดหายใจนั้นเหมือนเป็นการหยุดหายใจคล้ายกลั้นหายใจ ช่วงที่หยุดหายใจนั้นอันตรายเนื่องจากปริมาณออกซิเจนในร่างกายลดต่ำลง ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด สมอง ร่างกายจะมีกลไกตอบสนองต่อภาวะนี้ โดยสมองจะถูกกระตุ้นให้ตื่นขึ้น ทำให้การนอนหลับของคนที่กรนนั้นถูกขัดขวาง ทำให้ตื่นขึ้นมาหายใจใหม่โดยมีอาการสะดุ้งตื่น หรือเหมืออาการสำลักน้ำลายตัวเอง หรือหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศหายใจ เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอีก แต่หลังจากนั้นไม่นาน สมองก็จะเริ่มหลับอีก
วิธีสังเกตภาวการณ์หยุดหายใจ
ผู้ที่นอนกรนไม่สามารถรู้ว่าขณะนอนหลับนั้นหยุดหายใจหรือไม่ อาจให้คนใกล้ชิดช่วยสังเกต หรืออาจพิจารณาด้วยตัวเอง เมื่อนอนตื่นขึ้นมารู้ว่านอนไม่เต็มอิ่ม ไม่สดชื่น ทั้งที่เวลานอนนั้นเพียงพอ หรือปวดศีรษะเป็นประจำในเวลาตอนเช้า
มีวิธีรักษา 3 วิธี ดังนี้
- RF (คลื่นความถี่) ใช้ความร้อนจี้ให้กล้ามเนื้อภายในช่องคอหดลงไป เพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ
- วิธีการผ่าตัด คือตัดส่วนที่บดบังทางเดินหายใจ เช่น ทอนซิล ลิ้นไก่ ไขมันใต้ลิ้น
- การใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่วนมากใช้วิธีนี้
วิธีการทำ SLEEP TEST
- วัดลมหายใจ เข้า - ออก ว่ามีลมหายใจขาดช่วงไหน
- วัดการขยับของหน้าท้อง และ ปอด ซึ่งการทำงานของอวัยวะ 2 ระบบนี้ ต้องสัมพันธ์กัน ถ้าไม่สัมพันธ์กันจะสามารถบ่งบอกถึงโรคอื่นๆที่จะตามมาได้
- วัดออกซิเจนในเลือด
- วัดคลื่นสมอง 1 สัญญาณเพื่อดูว่าผู้ป่วยหลับระดับไหน เช่น หลับลึก หลับเคลิ้ม
ด้วยความปรารถนาดีจาก
พญ.ชุติมา สายเพ็ชร์
อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
แผนกอายุรกรรม 025870144 ต่อ 2200