โปรแกรมคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย CT SCAN LOW DOSE

โปรแกรมคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย CT SCAN LOW DOSE

"มะเร็งปอด รู้เร็ว รักษาได้

ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย CT SCAN LOW DOSE: 3,333.- (จากปกติ 7,500.-)


การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบและรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบมะเร็งปอดแบบง่ายหรือด้วยตนเองดังเช่น มะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose helical computerized tomography) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย CT LOW DOSE

มะเร็งปอดเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิง อย่างไรก็ดี มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้น มะเร็งปอด เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและ ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วแค่ไหน ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง
ใครควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปอด
บุหรี่และสารพิษ มลภาวะในสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรตรวจคัดกรองปีละครั้ง
  • ผู้มีอายุ 50-80 ปี  มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ 1 ซอง/วัน เป็นเวลา 30 ปี หรือ 2 ซอง/วัน เป็นเวลา 15 ปี
  • เลิกบุหรี่ไปแล้ว  ระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี
  • ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ 
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่
  • การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่  แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon)  สารหนู รังสี และสารเคมีอื่นๆ  รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ
  • ผู้มีอาการไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ  ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยทั่วไป  ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบและรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบมะเร็งปอดแบบง่ายหรือด้วยตนเองดังเช่น มะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose helical computerized tomography) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้
การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี
  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
  • การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
  • การตรวจด้วยเครื่อง PET scan (positron emission tomography scan) เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง
คัดกรองมะเร็งปอด
รายการ
ค่าบริการ
หมายเหตุ
โปรแกรมคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย CT SCAN LOW DOSE 3,333.- รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเดงกี

DENGUE FEVER
โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค พบได้ตลอดปีแต่จะพบมากขึ้นในฤดูฝน ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็พบได้ เชื้อไวรัสเดงกี่ มี 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี่ 1 เดงกี่ 2 เดงกี่ 3 และเดงกี่ 4 ด้วยสาเหตุนี้ทำให้เราติดเชื้อได้หลายครั้ง ระยะฟักตัวในยุงลายประมาณ 8-10 วัน โรคไข้เลือดออกเดงกี่เกิดจากยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ไปกัดก็ทำให้ผู้ที่ถูกกัดป่วยได้ ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการ 5-8 วัน
 
อาการ
  • มีไข้สูง 2-7 วัน ร่วมกับอาการอาเจียน ปวดหัว
  • อาการหวัดไม่เด่นชัด มักไม่มีอาการไอ หรือน้ำมูกไหล
  • ส่วนใหญ่ มีหน้าแดง ปวดศีรษะ
  • อาจมีเลือดออกตามผิวหนัง หรือตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะเลือดกำเดา
  • อาจมีอาการถ่ายอุจจาระ อาเจียนเป็นเลือด
  • บางรายมีภาวะช็อคเกิดขึ้นพร้อมๆ กับมีไข้ลดลง โดยมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ปวดท้องรุนแรงขึ้น
  • ในรายที่รุนแรงมาก อาจถึงเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
 
โรคไข้เลือดออกเดงกี แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
  • ระยะไข้
    ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส บางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชักมาก่อน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง (flushed face) ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรืออาการไอ เบื่ออาหาร อาเจียน และไข้จะสูงลอยอยู่ 2-7 วัน อาจพบมีผื่นแบบ erythema หรือ maculopapular ซึ่งมีลักษณะคล้ายผื่น rubella ได้ อาการเลือดออกที่พบบ่อยคือ ที่ผิวหนัง การทำ tourniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) ส่วนใหญ่จะคลำตับ โต ได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ ตับจะนุ่มและกดเจ็บ
  • ระยะวิกฤติ/ช็อก
    ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี จะมีอาการรุนแรง มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน) ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง และจะเสียชีวิตภายใน 12-24 ชั่วโมง หลังเริ่มมีภาวะช็อก
  • ระยะฟื้นตัว
    ระยะฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยช็อกถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ระยะฟื้นตัวมีช่วงเวลาประมาณ 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโรคไข้เลือดออกและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 15 ปี
  • กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเลือด โรคทางระบบประสาทและติดสุรา
ข้อควรปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
  • ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้
  • หากจำเป็นต้องใช้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น
  • ดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ
  • ควรพบแพทย์เมื่อไข้สูงเกิน 2 วัน เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์ กลับไปตรวจติดตามดูอาการและการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ
  • ระยะวิกฤต คือระยะไข้ลด ถ้ามีอาการเลวลง ซึม มือเท้าเย็น ปวดท้อง กระสับกระส่าย ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ด่วน!
การกำจัดลูกน้ำยุงลาย
การกำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา
  1. เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่มีบริเวณอับทึบให้ยุงลายเกาะพัก
  2. เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บเศษภาชนะที่ไม่ต้องการทิ้งไว้ในถุงดำมัดปิดปากถุง และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  3. เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะไม่ใช้ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำหรือปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ และเน้นการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยทายากันยุง และนอนในมุ้ง

หลักสูตร ความรอบรู้ เรื่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขง โรคติดต่อนำโดยแมลงและการกำจัด 

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค

โปรแกรมและแพ็คเกจ

บุหรี่กับมะเร็งปอด

31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก 2565

WHO WORLD NO TOBACCO DAY " บุหรี่ ทำลายสิ่่ิงแวดล้อม"
 
ประวัติวันงดสูบบุหรี่โลก
วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) เริ่มมีการจัดงานตั้งแต่ปี ค.ศ.1988 โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ จึงมีการกำหนดคำขวัญในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในแต่ละปี ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม
 
โทษของบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นการทำลายสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเองและผู้อยู่ใกล้ชิดที่สูดเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีสารก่อมะเร็ง ไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารอันตรายที่สำคัญ เช่น
  1. คาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ หากได้รับจะเกิดการขาดออกซิเจน ทำให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ
  2. นิโคติน เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจ เต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ปริมาณนิโคตินลดลงได้
  3. ทาร์ หรือน้ำมันดินเป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ และเป็นสารก่อมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด, กล่องเสียง, หลอดลม. หลอดอาหาร, ไต, กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ร้อยละ 50 ของน้ำมันดินจะไปจับที่ปอด เกิดระคายเคือง ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ
  4. ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นต้อกระจก เนื่องจากสารพิษในบุหรี่จะเข้าสู่เลนส์ตา ทำให้ตาขุ่นมัว ยิ่งสูบมากก็ยิ่งมีโอกาสมาก
  5. เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด บุหรี่ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว เกิดการตีบตัน หากมีการออกกำลังกายหนักๆ อาจมีโอกาสเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
  6. โรคปอด โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสูบบุหรี่ โดยจากข้อมูลพบว่าเพียงแค่สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง สามารถมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า!

บุหรี่กับมะเร็งปอด

สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า!
 
5 วิธีพร้อมเลิกบุหรี่ เลิกง่าย ทำได้อยู่แล้ว
  1. ค้นหาแรงจูงใจให้ตนเอง การเลิกบุหรี่จะทำให้ชีวิตตนเองดีขึ้นอย่างไรบ้าง จะเป็นผลดีต่อคนรอบข้างอย่างไรบ้างเมื่อตนเองเลิกได
  2. หาวันที่เหมาะสมในการเริ่มต้นอาจเป็นวันที่มีความหมายต่อตนเอง เช่น วันเกิด วันเกิดของลูก หรือฤกษ์ดีอื่นๆ เช่น วันพระ วันปีใหม่ วันสำคัญทางศาสนา
  3. หักดิบดีกว่าค่อยๆหยุด โดยทั่วไป การเลิกบุหรี่โดยการหักดิบจะมีรโอกาสเลิกได้สำเร็จ ในระยะยาวมากกว่าการค่อยๆหยุด
  4. หลีกเลี่ยงและกำจัดสิ่งกระตุ้นให้สูบบุหรี่ ใช้สเปรย์ดับกลิ่นบุหรี่ที่ยังตกค้างตามที่ต่างๆ ทิ้งไฟแช็คและที่เขี่ยบุหรี่ รวมถึงรู้จักปฏิเสธผู้ที่ชักชวนให้สูบ
  5. ใช้ยาช่วยเลิกในกรณีที่สูบ ตั้งแต่ 10 มวนต่อวัน ปัจจุบันมียาหลากหลายที่ให้ผลได้ดีมาก เช่น ยาวาเรนิคลิน (Varenicline) ยาบูโบรพิออน (Bupropion) และนิโคตินทดแทน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย CT SCAN LOW DOSE
Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

การผ่าตัดรักษาต่อมไทรอยด์

การผ่าตัดรักษาต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมขนาดใหญ่ที่สุดในระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย มีรูปร่างคล้ายผีเสื้ออยู่ตรงส่วนหน้าของลำคอ บริเวณใต้ลูกกระเดือกลงมา หน้าที่ของต่อมไทรอยด์คือการหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อให้ร่างกายสามารถเผาผลาญพลังงานและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ในบางครั้งอาจพบก้อนเนื้อเกิดขึ้นบนต่อมไทรอยด์ได้ ก้อนเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็ง แต่มีประมาณ 5% ที่เป็นมะเร็ง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
การวินิจฉัยก้อนที่ต่อมไทรอยด์
มักตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์จากการตรวจร่างกายประจำปีหรือจากการตรวจทางรังสีวินิจฉัยที่ส่งทำจากปัญหาอื่นๆ หลังจากที่แพทย์ตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ แพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติมดังนี้
โดยส่วนใหญ่โรคไข้ชัก มักมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีไข้สูง ส่วนน้อยที่มีอาการชักก่อนการมีไข้ หรือหลังจากมีไข้แล้ว 24 ชั่วโมง การชักแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่วินาที และชักเพียงครั้งเดียวในการเป็นไข้แต่ละครั้ง นอกจากนั้นหลังชักจะมีแขนขาอ่อนแรงตามมา
  1. ตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ เพื่อดูว่าต่อมไทรอยด์ทำงานปกติหรือไม่
  2. ตรวจต่อมไทรอยด์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อให้เห็นภาพของต่อมไทรอยด์ ระบุตำแหน่งและขนาดของก้อน และดูลักษณะของก้อนว่าเป็นก้อนแข็งหรือมีสารน้ำอยู่ภายใน
  3. การใช้เข็มขนาดเล็กเจาะก้อนเพื่อส่งชิ้นเนื้อไปตรวจ
  4.  Thyroid scan เป็นการใช้สารไอโอดีนทึบรังสีเพื่อช่วยระบุว่าก้อนนั้นเป็นเนื้องอกธรรมดาหรือเป็นมะเร็ง จะตรวจเฉพาะผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์จะมีได้หลายลักษณะ  สามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1) ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนปริมาณผิดปกติ แต่อาจจะมีเนื้องอกหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีการสร้างฮอร์โมนผิดปกติ แพทย์จะรักษาด้วยการคุมฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งต้องใช้ยาหรือการกลืนแร่ไอโอดีน เพื่อทำให้ตัวต่อมไทรอยด์กลับมาทำงานปกติ ซึ่งไม่ได้ใช้การผ่าตัดรักษาเป็นหลัก แต่ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผลก็อาจจำเป็นต้องผ่าตัด

2) ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนปริมาณปกติ แต่มีเนื้องอกเกิดขึ้น

  • กลุ่มที่เป็นเนื้องอกธรรมดา  กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทุกราย แค่ทานยาเสริมฮอร์โมนเข้าไป เนื้องอกก็อาจจะเล็กลงได้ แต่ถ้าเนื้องอกขนาดใหญ่ทานยาแล้วขนาดก้อนไม่ยุบหรือเนื้องอกเบียดทางเดินหายใจ หรือมีปัจจัยเสียงที่จะเป็นมะเร็งมากขึ้น เช่น เคยได้รับรังสีบริเวณคอมาก่อน หรือมีประวัติเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ในครอบครัว  แพทย์จะพิจารณาการรักษาโดยการผ่าตัด
  • กลุ่มที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ กลุ่มนี้จำเป็นต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัดทันที
การผ่าตัดไทรอยด์
  1. ผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด สามารถผ่าตัดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้ทุกชนิดโดยเฉพาะมะเร็งต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดวิธีนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีแผลผ่าตัดบริเวณกลางลำคอ ทั้งนี้ในการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพยายามเปิดแผลผ่าตัดให้เล็กที่สุดตามรอยผิวหนังเพื่อให้เห็นรอยแผลผ่าตัดน้อยที่สุด โดยความยาวแผลผ่าตัดขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนด้วย
  2. ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง ข้อดีคือซ่อนแผลบริเวณกลางลำคอ โดยมีเพียงแผลขนาดเล็กบริเวณรักแร้ แต่มีข้อจำกัดคือผ่าตัดได้ฉพาะก้อนที่ขนาดไม่ใหญ่มาก และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดสูงกว่าแบบเปิด

ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแบบเปิดจะมีแผลที่ผิวหนังบริเวณด้านหน้าลำคอ มีผ้าก๊อซปิดแผล และท่อระบายออกจากแผลเพื่อป้องกันเลือดออกและคั่งอยู่ใต้แผล เมื่อเลือดและของเหลวใต้แผลที่ออกจากท่อระบายน้อยลง แพทย์ก็จะเอาท่อระบายออก  ผู้ป่วยจะได้รับยาที่จำเป็น เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาละลายเสมหะ

ภาวะแทรกซ้อน
    ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดการผ่าตัด ได้แก่ แผลผ่าตัดติดเชื้อ สายเสียงไม่ทำงานทำให้มีเสียงแหบ พบได้ 1-5%  มีเลือดออกใต้แผลผ่าตัดซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ แต่ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยมาก ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยจะกลับบ้านได้หลังผ่าตัดประมาณ 3 วัน แพทย์จะนัดมาดูแผลผ่าตัดและตัดไหม รวมทั้งฟังผลชิ้นเนื้อ ประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด

ตัวอย่างแผลผ่าตัดวันที่ 3

ตัวอย่างแผลผ่าตัด 1 เดือน

ตัวอย่างแผลผ่าตัด 1 ปี

วัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” สำหรับประชาชน

โรงพยาบาลบางโพให้บริการวัคซีน

"ซิโนฟาร์ม"

สำหรับประชาชน


โรงพยาบาลบางโพให้บริการ วัคซีนซิโนฟาร์ม "สำหรับประชาชน" ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด
ในราคา 1,999 บาท ต่อ สองเข็ม ฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์

โรงพยาบาลบางโพให้บริการ วัคซีนซิโนฟาร์ม "สำหรับประชาชน" ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด ในราคา 1,999 บาท ต่อ สองเข็ม ฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์ สนใจกรอกข้อมูล : ลงทะเบียน

โรงพยาบาลบางโพขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาลให้บริการฉีดวัคซีนทางเลือก
“ซิโนฟาร์ม” กับ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

บริษัท องค์กร หรือหน่วยงานใด มีความประสงค์ที่จะจองวัคซีนทางเลือก "ซิโนฟาร์ม" กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และต้องการให้โรงพยาบาลบางโพ เป็นสถานพยาบาลสำหรับฉีดวัคซีน สามารถจองผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ : https://vaccine.cra.ac.th/VaccineContent/content/home แล้วกดเลือก “โรงพยาบาลบางโพ”

โรคหืด

โรคหืด (Asthma)

Asthma
อาการของผู้ป่วยขณะที่จับหืดคือ มีอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจดังหวีด มักมีอาการเป็นๆหายๆ หรือในกรณีที่มีอาการมากอาจมีอาการทุกคืน อาการอาจบรรเทาได้ด้วยยาขยายหลอดลม แต่ก็มักควบคุมอาการได้เฉพาะช่วงแรกๆ ต่อมามักต้องใช้ยาบ่อยขึ้นและมากขึ้น บางครั้งโรคหืดอาจแสดงอาการเพียงแต่อาการไอกลางคืน หรือไอเรื้อรังโดยไม่มีเสียงหวีด หรืออาการแน่นหน้าอกก็ได้ ทำให้การวินิจฉัยยากขึ้น บางครั้งก็มีอาการแน่นหน้าอกเฉพาะช่วงออกกำลังกาย แต่ที่มักถูกมองข้ามเกือบเสมอๆ คือ ไม่ได้นึกถึงโรคภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งสามารถพบร่วมกันได้มากกว่า 70-80% ซึ่งการให้การรักษาอาการของโรคหืดอย่างเดียวโดยไม่รักษาโรคภูมิแพ้ทางจมูกด้วยจะทำให้ควบคุมอาการไม่ดีเท่าที่ควร
การวินิจฉัยที่แน่นอนคือ การตรวจวัดสมรรถภาพปอด ซึ่งนอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยโรคแล้ว ยังช่วยประเมินความรุนแรงของโรคอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามการตรวจโดยวิธีนี้ทำได้ค่อนข้างยากในผู้ป่วยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 7 ปี กรณีที่ไม่มีเครื่องทดสอบสมรรถภาพปอด ชนิด Spirometer อาจใช้เครื่องมือชนิดที่เรียกว่า Peak flow meter ซึ่งมีราคาถูกกว่าและมีประโยชน์ในการประเมินอาการของโรคกรณีที่ไม่สามารถตรวจด้วย Spirometer ได้
โรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ (Allergic rhinitis)
อาการของโรคภูมิแพ้ทางจมูกอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิดคือ
  • ชนิดแรกเป็นชนิดที่มีอาการเด่นทางน้ำมูก คือจะมีน้ำมูกใสไหล จาม คันจมูก
  • ชนิดที่สองมีอาการเด่นทางอาการคัดจมูกเป็นหลัก มักไม่มีน้ำมูก หรืออาการจาม
  • ชนิดที่สามจะมีอาการของ 2 ชนิดแรกรวมกัน คือมีทั้งน้ำมูกใส และอาการคัดจมูก
  • ส่วนชนิดสุดท้ายจะมีอาการที่วินิจฉัยยากถ้าผู้ตรวจไม่มีความชำนาญ อาจวินิจฉัยผิดได้ กลุ่มนี้อาจมีอาการ ไอเรื้อรังหรือกระแอม ซึ่งเกิดจากเสมหะไหลหรือซึมลงคอ อาจรู้สึกมีเสมหะติดคอเวลาเช้าได้ บางคนมีอาการปวดหัว/ปวดศีรษะเรื้อรัง นอนกรน หรือถอนหายใจบ่อยๆ ปากแห้ง บางคนมีอาการคันหัวตา โดยไม่มีอาการตาแดง อธิบายว่าเกิดจากการที่มีเยื่อจมูกบวมมากทำให้ท่อน้ำตาที่อยู่ติดๆกันอักเสบ เกิดอาการคันที่หัวตาอย่างมาก
การวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้จากการซักประวัติทางการแพทย์อย่างละเอียด โดยเฉพาะประวัติโรค หรือมีอาการภูมิแพ้ภายในครอบครัว การสังเกตตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ รวมทั้งสภาพลักษณะการทำงาน สภาพแวดล้อมภายในบ้าน ที่ทำงาน การตรวจร่างกายบางอย่างถ้าพบก็จะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค เช่น การมีขอบตาล่างบวมคล้ำ การตรวจภายในโพรงจมูกจะช่วยบอกถึงความรุนแรงของการอักเสบ และอาจบอกถึงโรคในโพรงจมูกที่มีผลต่อการรักษาโรคภูมิแพ้ได้ เช่น อาจพบการซีด หรือมีสีแดงจัดจากการอักเสบ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

Sleep Apnea Syndrome


คุณมีอาการแบบนี้ หรือไม่?
  1. ขับรถหรือเข้าประชุมนานๆ แล้วเผลอหลับ
  2. คนที่บ้านบอกว่านอนกรนเสียงดัง ปวดหัวเหมือนนอนไม่พอ
  3. ตรวจร่างกายแล้ว ความดันโลหิตสูงขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
ถ้ามีอาการดังกล่าวคุณอาจเป็น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับโดยไม่รู้ตัว
เรามักเข้าใจผิดกันมานานแล้วว่า คนนอนหลับสนิทต้องมีอาการกรนร่วมด้วย ยิ่งกรนดังก็หมายถึงคนๆ นั้นกำลังนอนหลับฝันดีทีเดียว และคนที่กรนก็มักจะมีรูปร่างที่อ้วนใหญ่ ผู้ที่จมูกอักเสบ โครงหน้าผิดรูป เช่น คางสั้น ลิ้นโต คนที่ทำงานหักโหม นักกีฬา ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทานยานอนหลับ ดื่มแอลกอฮอล์ประจำ สูบบุหรี่จัด เป็นต้น และพบมากในเพศชายมากกว่า เพศหญิง ซึ่งคนเหล่านี้มักมีอาการง่วงนอนทุกสถานที่ หลับได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นขณะขับรถติดไฟแดงนานๆ ซึ่งอาจประสบอุบัติเหตุได้ หรือขณะ นั่งประชุม นั่งเรียน นั่งอ่านหนังสือ ตื่นเช้าทำให้รู้ไม่สดชื่นเหมือนนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ทั้งๆที่นอนเพียงพอแล้ว เวลากลางวันจึงง่วงนอนมากผิดปกติ อาการนอนกรนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่มีการอุดกั้นในทางเดินหายใจมาก จนกระทั่งทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับพบได้ประมาณร้อยละ 25 ในเพศชาย และร้อยละ 15 ในเพศหญิง ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome”
ความผิดปกติในการนอนกรนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. อาการนอนกรนธรรมดา
ไม่มีอันตรายเพราะไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย มีผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้อื่น โดยเฉพาะกับคู่นอน บุคคลอื่นๆ ในครอบครัว เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงาน เช่น ทำให้ผู้อื่นนอนหลับยากหรืออาจมากจนกระทั่งมีผลกระทบต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดังกล่าวได้ เช่น อาจทำให้เกิดการหย่าร้างของคู่สามีภรรยา
2. การกรนแบบก่อโรค
มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome” ผลกระทบที่สำคัญต่อสุขภาพ คือผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน มีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุในท้องถนน และในโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่ายมีอัตราเสี่ยงสูงจะเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาหลายโรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคของหลอดเลือดในสมอง ตลอดจนการมีสมรรถภาพทางเพศที่เสื่อมลง !!!
การตรวจสุขภาพการนอนกรน (Sleep test)
เป็นการตรวจสุขภาพที่สำคัญเพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับด้วย ปัจจุบันจัดว่าเป็นการตรวจสุขภาพมาตรฐานสากล เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคพบบ่อย เช่น ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่าโรคหยุดหายใจขณะหลับเป็นต้น ซึ่งแพทย์จะประมวลประวัติ ผลการตรวจร่างกายทาง หู คอ จมูก และตรวจร่างกายโดยรวมแล้วแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test เพื่อหาระดับความรุนแรงและอาการของโรคจากระดับความลึกของการนอนหลับ โดยเฉพาะในกรณีที่สงสัยว่าจะมีภาวะการณ์หยุดหายใจร่วมด้วยว่าสมองมีการขาดออกซิเจนมากน้อยเพียงใด ซึ่งในขณะนอนหลับจะมีการบันทึกข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดเพื่อที่แพทย์จะทำการวิเคราะห์ผล และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมเป็นลำดับต่อไป
แนวทางการรักษา
  • นอนตะแคง
  • ลดน้ำหนัก
  • การผ่าตัดตกแต่งทางเดินหายใจส่วนบน
  • เครื่องซีแพพ CPAP (Continuous positive airway pressure) เพื่อช่วยหายใจขณะนอนหลับ
เครื่องซีแพพ CPAP
(Continuous Positive Airway Pressure)
เป็นเครื่องผลิตแรงดันอากาศให้เพียงพอในการเปิดทางเดินหายใจในขณะหายใจเข้า เครื่อง CPAP มีประสิทธิภาพเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ในการรักษาปัญหาการขาดลมหายใจ โดยส่งอากาศเข้าสู่ทางเดินหายใจ ผ่านทางหน้ากากครอบจมูกหรือปาก ประโยชน์ของเครื่อง CPAP นอกจากขจัดปัญหาการขาดลมหายใจทำให้ร่างกายไม่ขาดออกซิเจน และมีคุณภาพการนอนดีขึ้นยังช่วยลดปัญหาความง่วงนอนช่วงกลางวัน ลดอุบัติเหตุ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกด้าน นอกจากนั้นการใช้เครื่อง CPAP ยังลดปัญหาสืบเนื่องในระยะยาวจากการขาดอากาศเป็นระยะ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง
โรคเส้นเลือดตีบในสมอง และโรคหัวใจ รวมทั้งโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับ "การนอนกรน"

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคดิสเปปเซีย (Dyspepsia) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อโรคกระเพาะอาหารนั้น คือ โรคที่มีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของบริเวณกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นก็ได้ โดยหากผู้ป่วยได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนจะพบความรุนแรงของโรคกระเพาะอาหารได้แตกต่างกัน ได้แก่ ตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆในกระเพาะอาหารเลยที่เรียกว่าฟังก์ชันนัลดิสเปปเซีย (Functional dyspepsia) พบเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) มีแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) หรือแม้แต่เป็นโรคร้ายแรงคือมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer)

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคกระเพาะอาหาร
  1. การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ในกระเพาะอาหาร
  2. การรับประทานยาที่อาจระคายเคืองกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาละลายลิ่มเลือด
  3. การสูบบุหรี่
  4. การรับประทานเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  5. ภาวะความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล
อาการของโรคกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารสามารถมาพบแพทย์ด้วยอาการสำคัญ 4 แบบ ได้แก่

  1. ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastric pain)
  2. แสบร้อนท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastric burning)
  3. แน่นหรืออึดอัดท้องหลังมื้ออาหาร (Post-prandial fullness)
  4. อิ่มเร็วกว่าปกติ (Early satiation)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารนั้นไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดท้องหรือแสบท้องเสมอไป อาการแน่นหรืออึดอัดท้อง รับประทานอาหารแล้วอิ่มเร็วกว่าปกติ ก็เป็นอาการที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจจะป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน

การตรวจเพื่อวินิจฉัยชนิดของโรคกระเพาะอาหาร

การวินิจฉัยแยกชนิดของโรคกระเพาะอาหารว่าเป็นชนิดใดนั้น มีความจำเป็นต้องอาศัยการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งสามารถเห็นลักษณะความผิดปกติ รวมถึงก้อนเนื้องอกต่างๆบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้อย่างชัดเจน โดยผู้ที่มีความเสี่ยงที่อาจจะป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดร้ายแรงและมีความจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน ได้แก่ มีอาการกลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ มีภาวะซีด น้ำหนักลด อาเจียนต่อเนื่อง อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 55 ปี รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการเป็นซ้ำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหาร

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดมีแผลอาจจะส่งผลทำให้มีเลือดออกจากแผลซึ่งบางครั้งอาจจะรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกหรือเสียชีวิตได้ ทำให้อาเจียนจากภาวะกระเพาะอาหารอุดตัน ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงจากแผลทะลุ แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดเยื่อบุอักเสบและมีการอักเสบเกิดขึ้นแบบเรื้อรังก็อาจส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุและกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารขึ้นมาได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ถึงโรคกระเพาะอาหารควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นจากตัวโรคในภายหลัง

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

ยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารโดยเฉพาะชนิดเยื่อบุอักเสบ หรือชนิดมีแผลประกอบด้วยยาลดกรดชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตามในบางครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคกระเพาะอาหารชนิดฟังก์ชันนัลดิสเปปเซียอาจมีความจำเป็นต้องให้ยากลุ่มอื่นๆร่วมด้วย เช่น ยาที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร ยาที่ลดการตอบสนองของกระเพาะอาหาร เพื่อทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น

หากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ก็มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 2 ชนิดเพื่อกำจัดเชื้อโรคนี้ร่วมด้วย

วิธีปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น อาหารเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ของหมักดอง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม กาแฟ โกโก้ ช็อคโกแลต เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารปริมาณมากๆในหนึ่งมื้อ
  • หลีกเลี่ยงการเอนตัวหรือนอนหลังกินอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาละลายลิ่มเลือด โดยไม่มีข้อบ่งชี้
  • งดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนักหากมีภาวะอ้วน
  • หลีกเลี่ยงการใส่กางเกง กระโปรง หรือเข็มขัดที่รัดแน่นเกินไป
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล
อายุรกรรมโรคเลือด

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล

PAKTHIPA PATTARAROSOL, M.D.
Specialty
  • อายุรศาสตร์โลหิตวิทยา

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตร์บัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วว.อายุรศาสตร์โลหิตวิทยา   คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหววิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
MON 17:00 - 20:00

ความดันโลหิตสูง Hypertension

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาและควบคุมตลอดชีวิต โรคนี้มักพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 15-20 ทั้งเพศหญิงและเพศชายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
ความดันโลหิตสูงคืออะไร
ความดันโลหิตคือแรงดันของกระแสเลือดที่มีต่อผนังหลอดเลือดโดยมีอวัยวะสำคัญที่ควบคุมให้ความดันอยู่ในระดับปกติ เช่นหัวใจ ไต หลอดเลือดที่หดหรือขยายตัวได้เป็นต้น ค่าความดันโลหิตขณะนั่งพักในวัยผู้ใหญ่จะประมาณ 120/80 มม.ปรอท และเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ตามท่าของร่างกาย อาหาร เครื่องดื่ม อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง ปริมาณการออกกำลังกาย เป็นต้น สามารถตรวจวัดความดันโลหิตที่รอบแขนได้ 2 ค่าดังนี้
  1. ความดันซีสโตลิก หรือค่าบนเป็นแรงดันสูงสุดขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวโดยค่าปกติจะไม่เกิน 139 มม.ปรอท
  2. ความดันไดแอสโตลิก หรือค่าล่างเป็นแรงดันขณะที่หัวใจคลายตัวโดยค่าปกติจะไม่เกิน 89 มม.ปรอท
ความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร
ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไป โดยวัดขณะนั่งพัก 5-10 นาที ที่ไม่ได้สูบบุรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง ได้ดังนี้
ความดันโลหิตสูงแบ่งเป็น 2 ชนิด
  1. ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน พบได้มากกว่าร้อยละ 90 ในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
    • พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง
    • โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง
    • บริโภคอาหารรสเค็มหรือเกลือโซเดียมมาก
    • ขาดการออกกำลังกาย
    • ร่างกายมีความไวต่อการสะสมเกลือและโซเดียม
  2. ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ ที่มีสาเหตุของโรค เช่น โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ นอนกรนและหยุดหายใจเฉียบพลันจากยาบางชนิด การตั้งครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น แต่หลังการรักษาต้นเหตุ ความดันสูงจะกลับเป็นปกติในผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเฉพาะค่าบน เนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงระยะแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและที่พบได้บ่อยคือ ปวดมึนท้ายทอยตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาต หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
โรคนี้ถ้าไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆ ร่วมกับมีภาวะไขมันสูง สูบบุรี่ โรคเบาหวานที่ไม่ควบคุม น้ำตาลในเลือดที่สูงจะเร่งทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมโดยมีคราบไขมันพอกที่ผนังหลอดเลือดเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ ก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญได้แก่
  1. หัวใจ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจวาย หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
  2. สมอง เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน หรือแตกทำให้เป็นอัมพาต และถ้าเกิดในตำแหน่งสำคัญอาจเสียชีวิตอย่างรวดเร็วความดันที่สูงรุนแรงเฉียบพลันจะทำให้สมองบวม ปวดศีรษะและซึมลงจนไม่รู้สึกตัว
  3. ไต จากมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอจะเกิดภาวะไข่ขาวรั่วออกทางปัสสาวะ ไตวายเรื้อรัง หรือเฉียบพลัน ซึ่งจะทำให้ความดันยิ่งสูงมากขึ้น
  4. ตา หลอดเลือดแดงในตาแตกและมีเลือดออกทำให้ประสาทตาเสื่อมและอาจตามัวลง
  5. หลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดการโป่งพอง และหรือฉีกขาดของผนังหลอดเลือดจะมีการเจ็บหน้าอกถ้ารุนแรงอาจเสียชีวิต
วิธีการรักษา
เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิคือการควบคุมความดันให้ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรังควรควบคุมให้ต่ำกว่า
  1. เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดัน และปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อยความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่130/80 มม.ปรอท แนวทางการรักษามีดังนี้ ลดน้ำหนักส่วนเกิน   เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ ธัญพืช ปลาและ นมไขมันต่ำระมัดระวังการรับประทานอาหารหวาน ไขมันควบคุมอาหารรสเค็ม    รู้จักคลายเครียด   ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ถ้าเลิกออกกำลังกาย ความดันสูงจะกลับมาใหม่เลิกบุหรี่และเหล้า
  2. ให้ยารักษาความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันยังคงสูงกว่า140/90 มม.ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษา และควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น
  3. ติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ และเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น
ดูแลสุขภาพอย่างไรจึงจะควบคุมได้
  1. รับประทานยา และพบแพทย์ตามนัด ไม่หยุดยาเองแม้ว่าจะมีความดันเป็นปกติ และไม่เปลี่ยนขนาด หรือชนิดยา เพราะประสิทธิภาพของยาจะแตกต่างกันในแต่ละราย ผู้ที่มีอาการจากผลข้างเคียงของยาควรปรึกษาแพทย์
  2. บริโภคอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสหวาน มัน เค็มจัดควรฝึกให้ชินกับอาหารรสธรรมชาติ หรือใช้สมุนไพรปรุงรสแทนและบริโภคแบบสด การบริโภคอาหารเค็มจะทำให้ความดันไม่ลงและดื้อต่อการรักษา
  3. ลดน้ำหนักส่วนเกิน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งในการลดความดันโลหิตผู้ที่ลดน้ำหนักได้ต่อเนื่องทุก 10 กิโลกรัมความดันค่าบนจะลดลงเฉลี่ย 5-20 มม.ปรอท
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 20-30 นาทีแบบต่อเนื่องสัปดาห์ละ 5-7 วัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ เป็นต้นจะช่วยให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
  5. การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น และเป็นสาเหตุของโรคอันตรายอื่น
  6. เลือกบริโภคอาหารลดความดัน (Dietary Approaches to Stop Hypertension, DASH) โดยบริโภคอาหารไขมันต่ำแบบหมุนเวียน เช่น เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ปลา อาหารมังสวิรัติ และเพิ่มการบริโภค ผักผลไม้ ธัญพืชมากขึ้นในแต่ละมื้อ  และลดบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไป
  7. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียด7. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียดและทำจิตใจให้สงบ เช่น ปฏิบัติศาสนกิจ เจริญสมาธิ ฝึกโยคะชี่กง เป็นต้น พบว่าการฝึกหายใจ ช้าน้อยกว่า 10 ครั้ง/นาทีวันละ 15-20 นาที ประมาณ 2 เดือน จะช่วยลดความดันโลหิตได้ประมาณเท่ากับการกินยารักษาความดัน 1 ชนิด
  8. เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ควรแจ้งแพทย์เรื่องความดันโลหิตสูงเนื่องจากยาบางอย่างมีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

รองศาสตราจารย์พิเศษ แพทย์หญิงเด่นนพพร สุดใจ

รองศาสตราจารย์พิเศษ พญ.เด่นนพพร สุดใจ
สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

รองศาสตราจารย์พิเศษ แพทย์หญิงเด่นนพพร สุดใจ

Associate Professor Dennopporn Sudjai, MD
Specialty
  • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อว.เวชศาสตร์ครอบครัว แพทยสภา
  • วว.อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          ตารางออกตรวจ
          วัน เวลา
          SUN 13:00 - 17:00

          การรักษาคลองรากฟัน (Root Canal Treatment)

          การรักษาคลองรากฟัน

          การรักษาคลองรากฟันคืออะไร

          การรักษาคลองรากฟัน คือ กระบวนการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและครองรากฟันที่มีการอักเสบ ติดเชื้อ รวมทั้งทำความสะอาดโพรงฟันและคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรคและอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน รวมถึงการบูรณะตัวฟันเพื่อความสวยงาม และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

           

          ฟันลักษณะใดที่ควรรับการรักษาคลองรากฟัน

          • ฟันที่มีอาการปวดหรือเคยมีประวัติปวดมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
          • ฟันที่ผุ/แตก/สึก/ร้าว/ ลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
          • ฟันที่มีประวัติได้รับอุบัติเหตุรุนแรงและ/หรือฟันมีการเปลี่ยนแปลงสีไปจากเดิม
          • ฟันที่มีตุ่มหนองหรือมีการบวมบริเวณเหงือกหรือบริเวณหน้า

          ข้อดีของการรักษารากฟัน

          • สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้โดยไม่ต้องถอนฟัน ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ฟันเทียมดแทนตำแหน่งฟันที่หายไป
          • หลังการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษารากแล้วพบว่าประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวจะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติเดิมมากกว่าการใส่ฟันเทียมทดแทน
          • ไม่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อการใช้งานหลังการบูรณะฟันมากเท่ากับการใส่ฟันเทียมทดแทน

          ข้อจำกัดของการรักษาคลองรากฟัน

          ไม่สามารถทำได้ในฟันทุกซี่เหมือนกับการถอนฟันซึ่งฟันที่จะสามารถรักษารากฟันได้และให้ผลดีหลังการรักษานั้น ทันตแพทย์จะต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยร่วมกันเช่นตำแหน่งการเข้าทำงาน,ลักษณะของรากฟัน, ความเป็นไปได้ของการบูรณะฟันถาวร หลังการรักษาราก ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในเรื่องวิธีการรักษาที่เหมาะสมและเพื่อวางแผนการรักษาก่อนรับการรักษารากฟัน

          การรักษาคลองรากฟันมีขั้นตอนอย่างไร

          1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและถ่ายภาพรังสีเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและวางแผนก่อนรับการรักษา
          2. ผู้ป่วยจะได้รับยาชาเพื่อระงับความเจ็บปวดระหว่างทำหัตถการและใส่แผ่นยางกันความชื้นตลอดเวลาที่ทำหัตถการ
          3. ทันตแพทย์จะทำการเปิดทางเข้าสู่โพรงฟัน
          4. ทำความสะอาดภายในโพรงพันและคลองรากฟันด้วยเครื่องมือขนาดเล็กร่วมกับน้ำยาล้างคลองรากฟัน รวมทั้งจะมีการใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟันร่วมด้วย
            * การทำความสะอาดคลองรากฟัน ปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับสภาวะการติดเชื้อของฟัแต่ละซี่ *
          5. ทันตแพทย์จะทำการอุดคลองรากฟันให้เต็มแน่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ
          6. บูรณะฟันให้สวยงาม และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            * การบูรณะฟันถาวรหลังการรักษารากฟันถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากฟันที่ได้รับการรักษาฟันเสร็จสมบูรณ์แล้วหากไม่ได้รับการบูรณะฟันถาวรด้วยวิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสม ฟันจะมีความเสี่ยงในการแตกร้าวในอนาคต

          อัตราค่าบริการทันตกรรม

          รักษารากฟัน

          รายการ ราคา
          • ฟันหน้า
          5,000 - 6,000  บาท
          • ฟันกรามน้อย
          7,000 - 8,000  บาท
          • ฟันกรามใหญ่
          12,000 - 13,000  บาท
          • รักษารากฟันซ้ำ คิดเพิ่มซี่ละ
          1,000   บาท

          ครอบฟัน

          รายการ ราคา
          • ครอบฟัน
          12,000 - 18,000  บาท
          • เดือยฟัน
          4,000 - 5,000  บาท
          หมายเหตุ

          หากมีข้อสงสัยหรือต้องการนัดปรึกษาทันตแพทย์ กรุณาติดต่อ คลินิกทันตกรรม โทร 02 587 0144  ต่อ 2331