การผ่าตัดรักษาต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมขนาดใหญ่ที่สุดในระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย มีรูปร่างคล้ายผีเสื้ออยู่ตรงส่วนหน้าของลำคอ บริเวณใต้ลูกกระเดือกลงมา หน้าที่ของต่อมไทรอยด์คือการหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อให้ร่างกายสามารถเผาผลาญพลังงานและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ในบางครั้งอาจพบก้อนเนื้อเกิดขึ้นบนต่อมไทรอยด์ได้ ก้อนเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็ง แต่มีประมาณ 5% ที่เป็นมะเร็ง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
การวินิจฉัยก้อนที่ต่อมไทรอยด์
มักตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์จากการตรวจร่างกายประจำปีหรือจากการตรวจทางรังสีวินิจฉัยที่ส่งทำจากปัญหาอื่นๆ หลังจากที่แพทย์ตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ แพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติมดังนี้
โดยส่วนใหญ่โรคไข้ชัก มักมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีไข้สูง ส่วนน้อยที่มีอาการชักก่อนการมีไข้ หรือหลังจากมีไข้แล้ว 24 ชั่วโมง การชักแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่วินาที และชักเพียงครั้งเดียวในการเป็นไข้แต่ละครั้ง นอกจากนั้นหลังชักจะมีแขนขาอ่อนแรงตามมา
  1. ตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ เพื่อดูว่าต่อมไทรอยด์ทำงานปกติหรือไม่
  2. ตรวจต่อมไทรอยด์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อให้เห็นภาพของต่อมไทรอยด์ ระบุตำแหน่งและขนาดของก้อน และดูลักษณะของก้อนว่าเป็นก้อนแข็งหรือมีสารน้ำอยู่ภายใน
  3. การใช้เข็มขนาดเล็กเจาะก้อนเพื่อส่งชิ้นเนื้อไปตรวจ
  4.  Thyroid scan เป็นการใช้สารไอโอดีนทึบรังสีเพื่อช่วยระบุว่าก้อนนั้นเป็นเนื้องอกธรรมดาหรือเป็นมะเร็ง จะตรวจเฉพาะผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์จะมีได้หลายลักษณะ  สามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1) ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนปริมาณผิดปกติ แต่อาจจะมีเนื้องอกหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีการสร้างฮอร์โมนผิดปกติ แพทย์จะรักษาด้วยการคุมฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งต้องใช้ยาหรือการกลืนแร่ไอโอดีน เพื่อทำให้ตัวต่อมไทรอยด์กลับมาทำงานปกติ ซึ่งไม่ได้ใช้การผ่าตัดรักษาเป็นหลัก แต่ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผลก็อาจจำเป็นต้องผ่าตัด

2) ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนปริมาณปกติ แต่มีเนื้องอกเกิดขึ้น

  • กลุ่มที่เป็นเนื้องอกธรรมดา  กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทุกราย แค่ทานยาเสริมฮอร์โมนเข้าไป เนื้องอกก็อาจจะเล็กลงได้ แต่ถ้าเนื้องอกขนาดใหญ่ทานยาแล้วขนาดก้อนไม่ยุบหรือเนื้องอกเบียดทางเดินหายใจ หรือมีปัจจัยเสียงที่จะเป็นมะเร็งมากขึ้น เช่น เคยได้รับรังสีบริเวณคอมาก่อน หรือมีประวัติเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ในครอบครัว  แพทย์จะพิจารณาการรักษาโดยการผ่าตัด
  • กลุ่มที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ กลุ่มนี้จำเป็นต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัดทันที
การผ่าตัดไทรอยด์
  1. ผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด สามารถผ่าตัดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้ทุกชนิดโดยเฉพาะมะเร็งต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดวิธีนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีแผลผ่าตัดบริเวณกลางลำคอ ทั้งนี้ในการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพยายามเปิดแผลผ่าตัดให้เล็กที่สุดตามรอยผิวหนังเพื่อให้เห็นรอยแผลผ่าตัดน้อยที่สุด โดยความยาวแผลผ่าตัดขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนด้วย
  2. ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง ข้อดีคือซ่อนแผลบริเวณกลางลำคอ โดยมีเพียงแผลขนาดเล็กบริเวณรักแร้ แต่มีข้อจำกัดคือผ่าตัดได้ฉพาะก้อนที่ขนาดไม่ใหญ่มาก และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดสูงกว่าแบบเปิด

ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแบบเปิดจะมีแผลที่ผิวหนังบริเวณด้านหน้าลำคอ มีผ้าก๊อซปิดแผล และท่อระบายออกจากแผลเพื่อป้องกันเลือดออกและคั่งอยู่ใต้แผล เมื่อเลือดและของเหลวใต้แผลที่ออกจากท่อระบายน้อยลง แพทย์ก็จะเอาท่อระบายออก  ผู้ป่วยจะได้รับยาที่จำเป็น เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาละลายเสมหะ

ภาวะแทรกซ้อน
    ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดการผ่าตัด ได้แก่ แผลผ่าตัดติดเชื้อ สายเสียงไม่ทำงานทำให้มีเสียงแหบ พบได้ 1-5%  มีเลือดออกใต้แผลผ่าตัดซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ แต่ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยมาก ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยจะกลับบ้านได้หลังผ่าตัดประมาณ 3 วัน แพทย์จะนัดมาดูแผลผ่าตัดและตัดไหม รวมทั้งฟังผลชิ้นเนื้อ ประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด

ตัวอย่างแผลผ่าตัดวันที่ 3

ตัวอย่างแผลผ่าตัด 1 เดือน

ตัวอย่างแผลผ่าตัด 1 ปี