ตรวจหาสารกัญชา ในปัสสาวะ


ทุกวันนี้ เราสามารถพบกัญชา เป็นส่วนผสมของอาหาร ในหลายประเภท แต่เราจะทราบได้อย่างไร หากทางร้านไม่ได้แจ้ง หรือไม่มีป้ายบอก  สังเกตุอาการ หลังรับประทานอาหารผสมกัญชา หากมีอาการไม่พึงประสงค์ ควรรีบพบแพทย์

ตรวจหาสารกัญชา ในปัสสาวะ

หากมีอาการ หลังรับประทานอาหารผสมกัญชา
ในปัจจุบันข่าวสารเกี่ยวกับกัญชาในสื่อต่างๆ มีอยู่มากมาย  เราจึงควรเลือกแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้รู้เท่าทันที่จะใช้ประโยชน์จากกัญชา  และทราบวิธีการปกป้องตนเองและคนที่เรารักจากอันตรายของกัญชา   
กัญชามีประโยชน์ก็จริง แต่ก็จัดเป็นพืชที่มีสารเสพติดเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่น  ทุกวันนี้ เราสามารถพบกัญชา เป็นส่วนผสมของอาหาร ในหลายประเภท แต่เราจะทราบได้อย่างไร หากทางร้านไม่ได้แจ้ง หรือไม่มีป้ายบอก  สังเกตุอาการ หลังรับประทานอาหารผสมกัญชา หลังหยุดกัญชา   หากมีอาการไม่พึงประสงค์  ควรรีบพบแพทย์  
 
เมากัญชา ทำอย่างไร
  1. อาการเมากัญชา ตาแดง เดินเซ การตอบสนองช้าลง ปากแห้ง เพิ่มความอยากอาหาร อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ปริมาณมากจะมีอาการหลอน เกิดภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ให้รีบส่งโรงพยาบาล
  2. ระยะเวลาที่มีอาการ หลังใช้ 2-3 ชม. และอาจอยู่ในร่างกายนานหลายวันถึงเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้
  3. อาการถอนยา อาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ปวดท้อง สั่น เหงื่อออก ไข้ สั่น หลังหยุดกัญชา มักมีอาการ 24-48 ชม. อาการมากสุด วันที่ 4-6 อาการจะคงอยู่ 1-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ สมุนไพรที่อาจจะลดอาการเมากัญชา ได้ น้ำมะนาว หรือรับประทานรากว่านน้ำ
  4. ถ่้ามีอาการทางจิต เช่น มีภาวะซึมเศร้า กระสับกระส่ายอย่างรุนแรง เห็นภาพหลอน มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ให้รีบส่งโรงพยาบาล
สำหรับผู้ใช้กัญชา
  1. หากท่านอายุน้อยกว่า 20 ปี ขอให้พิจารณาเลิกใช้กัญชาทันที
  2. ถ้าเป็นไปได้ เลือกใช้กัญชาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อหลีกเสี่ยงการปนเปื้อนของโลหะหนัก และสารกำจัดศัตรูพืช
  3. หลีกเลี่ยงการใช้ช่อดอกกัญชา เพราะเป็นส่วนที่มีสารแคนนาบินอยด์สูง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้มาก
  4. ขอให้สูบกัญชาในบริเวณที่ห่างไกลจากคนอื่น โดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและสตรีมีครรภ์ เพราะบุคคลเหล่านี้อาจจะเป็นผู้สูบมือสองได้ และได้ผลกระทบจากควันกัญชาได้
  5. ไม่ขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรต่างๆ ภายใน 6 ชั่วโมงหลังได้รับกัญชา เพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  6. ถ้าได้รับกัญชาแล้ว มีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ และแจ้งให้แพทย์ทราบเรื่องการได้รับกัญชา เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที
  7. หากรู้สึกว่าต้องเพิ่มขนาดความถี่ของการใช้กัญชา หรือไม่สามารถหยุดใช้กัญชาได้โดยง่าย แสดงว่าติดกัญชาแล้ว
    ขอให้รีบพบแพทย์เพื่อการรักษาภาวะติดกัญชา
  8. หากท่านปลูกกัญชาในบ้าน ขอให้หาวิธีไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้โดยง่าย
  9. กรณีท่านเป็นผู้ผลิตอาหารที่ใส่กัญชา ขอให้อย่าใช้ช่อดอก และต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบเสมอว่ามีการใส่กัญชาในอาหารหรือไม่
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ