รู้ทัน ป้องกัน ข้อเข่าเสื่อม Knee Osteoarthritis

รู้ทัน ป้องกัน ข้อเข่าเสื่อม Knee Osteoarthritis

ความรู้ทั่วไปของข้อเข่า
ข้อเข่าประกอบด้วย 3 ส่วน
  1. ส่วนปลายของกระดูกต้นขา
  2. ส่วนต้นของกระดูกหน้าแข้ง
  3. ลูกสะบ้า
ข้อเข่ามีลักษณะคล้ายบานพับ ประกอบด้วยกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยเส้นเอ็นที่แข็งแรงทำหน้าที่ค้ำจุนและให้ความแข็งแรงมั่นคงแก่ข้อเข่าทั้งด้านข้างและภายในข้อเข่าอยู่สี่เส้น ขอบบนลูกสะบ้ามีกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้ามาเกาะและส่วนปลายของลูกสะบ้ามีเอ็นเกาะติดกับส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง
อาการของข้อเข่าเสื่อม
  1. ปวด อาการปวดเข่าในระยะแรกจะปวดเมื่อย ตึงบริเวณหัวเข่าหรือน่อง โดยจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว เมื่อพักเข่าจะดีขึ้น อาการเป็นๆหายๆ ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา
  2. บวม ในรายที่มีการอักเสบจะมีอาการบวม
  3. ข้อเข่าผิดรูป ข้อเข่าผิดรูปโดยเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิมทำให้ขาผิดรูปตามมา ซึ่งหากผิดรูปมากจะทำให้เดินลำบาก รู้สึกขาไม่เท่ากัน ปวดมากเวลาเดิน
  4. ข้อเข่าไม่มั่นคง โดยผู้ป่วยมักรู้สึกว่าข้อหลวมหรือหลุดเวลาลงน้ำหนักหรือมีเสียงข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว
  5. ข้อเข่าติด ผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดหรืองอเข่าได้สุด
  6. มีเสียงในข้อเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหว จากผิวกระดูกอ่อนที่ไม่เรียบเสียดสีกัน
ปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อม
  1. อายุ พบว่าเมื่อมีอายุเกิน 40 ปีจะเริ่มมีข้อเข่าเสื่อม
  2. เพศ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย 2 เท่าโดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากกว่า 50 ปี
  3. น้ำหนัก คนที่น้ำหนักมาก เสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ โดยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1-1.5 กิโลกรัม
  4. พฤติกรรมการใช้ชีวิต ผู้ที่นั่งงอเข่ามาก ๆ เช่นนั่งยอง ๆ นั่งขัดสมาธิ เสี่ยงต่อข้อเสื่อมได้มากกว่าปกติ
  5. การใช้งานข้อเข่าอย่างหนักและต่อเนื่อง เช่น ทำงานยกแบกของหนัก ทำงานที่มีการกระแทกหรือกระโดด ในผู้ป่วยที่มีอาชีพชาวนา,ชาวสวนหรือกรรมกรแบกหามตลอดช่วงวัยทำงานมักมาพบแพทย์ด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมและกระดูกสันหลังเสื่อมในวัยสูงอายุ
  6. การได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า เช่น มีกระดูกข้อเข่าแตกหรือมีหมอนรองกระดูกข้อเข่ารวมถึงเอ็นภายในหัวเข่าฉีก
  7. ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง
  8. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่า ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกายเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าไม่แข็งแรง
  9. นักกีฬา เช่นนักกีฬากลุ่มที่ต้องวิ่งหรือกระโดด มักมีปัญหาข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติ
  10. กรรมพันธุ์ ในผู้ป่วยที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม มีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น
การรักษาข้อเข่าเสื่อม
  1. การรักษาแบบอนุรักษ์นิยม
    • การรักษาแบบไม่ใช้ยา เช่น การทำกายภาพบำบัด การลดน้ำหนัก การปรับการใช้ชีวิตประจำวัน การใช้ที่ช่วยพยุงเข่า การนวด การฝังเข็ม การใช้สมุนไพรประคบนวด การรักษาเหล่านี้เป็นเพียงเพื่อบรรเทาอาการปวดเท่านั้น
    • การรักษาแบบใช้ยา เช่น การให้ยาต้านการอักเสบ ยาในกลุ่ม Glucosamine
  2. การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ โดยใช้ยาชาที่ผสมอยู่ช่วยระงับปวดในระยะแรกและยาสเตียรอยด์ช่วยยับยั้งการอักเสบในระยะยาว ทั้งนี้การตอบสนองต่อการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อเข่ามีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นกับสภาพความเสื่อมของข้อเข่า
  3. ยาฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเพื่อเพิ่มความหล่อหลื่นภายในข้อเข่าเป็นการรักษาแบบประคับประคองในระดับหนึ่ง
  4. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นวิธีการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมในระยะปานกลางถึงระยะรุนแรงโดยได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีสากลที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด เป็นการผ่าตัดที่ตัดผิวข้อส่วนที่เสื่อมออกแล้วทดแทนด้วยโลหะสังเคราะห์ โดยสามารถช่วยลดอาการปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
  1. มีอาการปวด บวม ตึงข้อเข่า ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ใน ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
  2. แก้ไขความผิดรูปหรือความพิการของข้อเข่า
  3. เพื่อป้องการการเสื่อมของข้ออื่น ๆ ตามมา
  4. รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมมาแล้วไม่ดีขึ้น
การป้องกันข้อเข่าเสื่อม
สามารถทำได้โดยลดปัจจัยเสี่ยงตามที่ได้กล่าวมา
    1. การลดน้ำหนัก ในผู้ป่วยที่อ้วนควรลดน้ำหนักให้ได้ร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวในสามเดือน
    2. การปรับการใช้ชีวิต พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยมักอยู่กับพื้น มักมีการพับงอเข่ามากและส่งผลให้เกิดการอักเสบของข้อเข่าได้ เช่น นั่งยอง ๆ คุกเข่า ขัดสมาธิ ควรมีการปรับอิริยาบถให้เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น
      • การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น
      • ในห้องน้ำควรใช้ชักโครกแบบมีโถนั่งเพื่อลดการงอเข่า
      • การซักผ้า ซักทีละไม่มากชิ้น นั่งซักบนม้าเตี้ย ๆ และเหยียดเข่าสองข้าง
      • การรีดผ้า เลี่ยงการนั่งรีดผ้ากับพื้น ควรใช้การนั่งเก้าอี้หรือยืนรีดและควรหาม้าเตี้ย ๆ มารองพักขา
      • เลี่ยงการก้มถูบ้าน ให้ใช้ไม้ม๊อบถูพื้นแทน
      • หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น เพราะเข่าต้องรับน้ำหนัก ประมาณ 3-4 เท่าของน้ำหนักตัวผู้นั้นขณะขึ้นลงบันได ในรายที่จำเป็นต้องขึ้นลงบันไดควรทำการจับราว โดยการขึ้นบันไดควรนำขาข้างที่ดีพยุงตัวขึ้นบันไดและตามด้วยขาข้างที่มีข้อเข่าเสื่อมไปทีละขั้น ในทางกลับกันเมื่อลงบันได ควรทำการจับราวและนำขาข้างที่มีข้อเข่าเสื่อมลงบันไดและตามด้วยขาข้างที่ดีทีละขั้นเพื่อให้ขาข้างที่ดีช่วยพยุงตัวผู้ป่วยระหว่างการก้าวลง
    3. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันข้อเข่าเสื่อม เพราะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ทำให้น้ำหนักลงที่เข่าน้อยลงและช่วยลดแรงที่กระทำต่อข้อเข่า ควรพิจารณาระดับการออกกำลังกายตามความเหมาะสมของสภาพร่างกายของแต่ละคน
      การออกกำลังกายในน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีต่อข้อเข่ามากที่สุด เพราะน้ำมีแรงพยุงตัวทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักน้อยลงจึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดเข่าและมีน้ำหนักตัวมาก แรงหนืดของน้ำทำให้ต้องออกแรงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าได้ดี
การเดินก็เป็นการออกกำลังที่ดี สามารถเดินเร็วในรายที่กล้ามเนื้อต้นขามีความแข็งแรงพอแต่ถ้ากล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ควรเดินช้า ๆ หรือเดินเท่าที่จำเป็น
การขี่จักรยาน ควรปรับอานนั่งของจักรยานให้ขางอเพียงเล็กน้อยเพื่อลดแรงที่กระทำต่อข้อเข่า หลีกเลี่ยงการถีบจักรยานที่ตั้งความฝืดหรือระดับความสูงไม่เหมาะสม ซึ่งจะเพิ่มการบาดเจ็บให้กับข้อเข่าได้
ท่าออกกำลังกายเพื่อข้อเข่าที่แข็งแรง
การบริหารกล้ามเนื้อต้นขามีความสำคัญมาก หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีความแข็งแรง ก็จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับข้อเข่าจะช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้โดยป้องกันแรงที่กระทำต่อข้อในขณะที่ใช้ข้อเข่าในการลุกขึ้น และยังป้องกันแรงกระแทกที่กระทำต่อข้อเข่าในขณะเดิน ควรออกกำลังกายดังกล่าวเป็นประจำทุกวัน โดยเริ่มทำจากน้อยไปมาก ทำประมาณ 10-20 ครั้ง/ชุด วันละ 2-3ชุดเป็นอย่างน้อย การค่อยๆเพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อรอบเข่าจะช่วยเพิ่มทั้งความแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่านี้สามารถทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ข้อเข่าเสื่อมก่อน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (NCV and needle EMG)

การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (NCV and needle EMG)

คือ การตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า เพื่อการวินิจฉัยโรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (เรียกย่อว่า EMG หรือ Electromyography) และการตรวจความเร็วการนำสัญญาณประสาท (เรียกย่อว่า NCV หรือ Nerve conduction velocity)
ใช้ตรวจเพื่อการวินิจฉัยและบอกความรุนแรงในผู้ป่วยที่มีอาการสงสัย
  • โรคของไขสันหลังส่วนที่เรียกว่า Anterior horn cell เช่นโรค ALS
  • โรคของรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ (์Neuromuscular junction) เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis : MG)
  • โรคของรากประสาทเช่น รากประสารทถูกกดทับ (Nerve root compression) จากกระดูกคอหรือหลังเสื่อม หมอนรองกระดูกเคลื่อน
  • โรคของเส้นประสาทส่วนปลาย เช่น โรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบเรื้อรังหรือฉับพลัน ทำให้มีอาการชามือชาเท้า, โรคเส้นประสาทพิการแต่กำเนิด
  • โรคของกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้อฝ่อ เป็นต้น
  • โรคเส้นประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ (Bell’s palsy)
นอกจากนี้การตรวจ EMG, NCV ยังสามารถใช้ติดตามผลการรักษา และการฟื้นตัวของเส้นประสาทได้ด้วย
ข้อห้ามในการทำ EMG, NCV
โดยทั่วไปไม่มีข้อห้าม ไม่มีอันตราย มีผลข้างเคียงจากการตรวจน้อยมาก ตรวจได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่มีข้อจำกัดคือ
  • ผู้ป่วยที่แขน ขาบวม จะทำให้เข็มที่สอดเข้าไปไม่ถึงตำแหน่งชั้นกล้ามเนื้อ แต่จะไปอยู่ในเนื้อเยื่อที่บวมแทน จึงส่งผลให้ผลการตรวจผิดพลาด
  • ผู้ป่วยมีปัญหาเลือดออกง่าย เพราะอาจมีเลือดออกมากจากรอยที่สอดใส่เข็มตรวจ
  • มีการติดเชื้อบริเวณที่ตรวจ เพราะการสอดใส่เข็มตรวจ อาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้
  • มีแผล หรือ ก้อนเนื้อบริเวณที่ตรวจ เพราะจะทำให้การแปลผลตรวจผิดพลาดได้
  • ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ หรือ ไม่รู้สึกตัว จะตรวจไม่ได้ และ/หรือจะทำให้แปลผลตรวจผิดพลาดได้สูง
การเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนตรวจ
โดยทั่วไปไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร หรือหยุดยาที่ทาน ยกเว้นกรณีทานยาละลายลิ่มเลือด และ/หรือ มีภาวะเลือดหยุดยาก และ/หรือ ทานยารักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง Myasthenia Gravis เช่นเดียวกับการตรวจในโรคอื่นๆคือ ผู้ป่วยต้องแจ้งแพทย์ พยาบาล ถึงโรคประจำตัว และยาที่ใช้อยู่ ผู้ป่วยควรแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ถอด ใส่ ได้ง่าย รวมทั้งรองเท้าด้วย และไม่ควรใส่เครื่องประดับต่างๆมาในวันตรวจ
หลังตรวจต้องดูแลตัวเองอย่างไร
หลังตรวจ ไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษ ไม่มีผลข้างเคียง กลับบ้านได้เลย ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ ซึ่งพบน้อยมากๆเช่น บริเวณที่ตรวจ บวม แดง หรือเลือดออกไม่หยุด ควรกลับมาพบแพทย์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

คำแนะนำการสลายต้อกระจก

คำแนะนำการสลายต้อกระจก

PHACOEMULSIFICATION
คือภาวะเลนส์แก้วตาขุ่น มีสายตาฝ้ามัว ทำให้แสงผ่านเข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลง สายตาจึงเริ่มมีอาการมัว ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นไม่ชัดเจน พบมากในผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปและผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดต้อกระจกได้เร็วขึ้นกว่าคนทั่วไป
อาการ
  • สายตามัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกมัว
  • เห็นภาพซ้อน สายตาพร่า สู้แสงไม้ได้
  • อ่านหนังสือไม่ชัด แม้จะใส่แว่นตาช่วย
  • หากทิ้งไว้นาน อาจเกิดโรคต้อหินแทรกซ้อน ทำให้ปวดตา และตาบอดได้
การรักษาต้อกระจก
เมื่อสายตามัวลงไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติแล้ว ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยดวงตาจากจักษุแพทย์โดยละเอียดเพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าต้อกระจกเป็นสาเหตุเดียว ที่ทำให้สายตาขุ่นมัวหรือมีโรคอื่นแทรกด้วย
สำหรับการสลายต้อกระจก ด้วยคลื่นความถี่สูง จักษุแพทย์จะใช้เวลาในการรักษา 20 – 30 นาทีแพทย์จะเปิดช่องเล็กประมาณ 2.75 – 3.0 ม.ม. ที่ขอบกระจกตาเพื่อสอดเครื่องมือสลายต้อเข้าไปไว้ที่ตัวต้อกระจก แล้วปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อสลายต้อกระจกเป็นอณูเล็กๆ แล้วดูดออกมา เหลือไว้แต่เปลือกหลังของเลนส์แก้วตา เพื่อเป็นถุงใส่เลนส์แก้วตาเทียมแทน แผลที่เกิดจากการรักษาวิธีนี้มีขนาดเล็กมาก จึงสมานตัวได้เป็นปกติอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเย็บ ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ชัดขึ้นทันทีในวันรุ่งขึ้น
เลนส์แก้วตาเทียม
คืออวัยวะเทียมที่สามารถทำให้ผู้ป่วยมองเห็นได้ มีให้เลือกหลายชนิด
  1. ชนิดโฟกัสระยะเดียว (Monofocal) จะช่วยให้มองเห็นระยะไกลชัดเจนแต่มองใกล้ต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ
  2. ชนิดโฟกัสหลายระยะ (Multifocal) อาศัยเทคโนโลยีที่ใหม่เรียกว่า Apodized diffractive จะช่วยให้มองเห็นได้ทั้งไกล กลาง ใกล้ โดยไม่ต้องใช้แว่น
  3. ชนิดแก้สายตาเอียง (Toric) ออกแบบให้มีความโค้งด้านหลังเลนส์ไม่เท่ากันในแนวตั้งและแนวนอน เพื่อชดเชยความโค้งของกระจกตาที่ไม่เท่ากันของผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงที่กระจกตา จะช่วยให้มองเห็นในระยะไกลโดยไม่ต้องใช้แว่น
ข้อควรปฏิบัติก่อนสลายต้อกระจก
  1. ฝึกหัดนอนราบ ไม่หนุนหมอนคลุมโปง เพื่อให้เคยชินจะได้ไม่รู้สึกอึดอัด
  2. พักผ่อนเต็มที่ เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย
  3. ควรชำระร่างกายและสระผมให้สะอาดสุภาพสตรีไม่ควรแต่งหน้า สุภาพบุรุษไม่ใส่น้ำมันใส่ผมสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายไม่ใส่เครื่องประดับ
  4. รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายจะได้ไม่อึดอัดหลังรับประทานอาหารควรแปรงฟัน หรือ บ้วนปากให้สะอาด
  5. ยาที่รับประทานหรือใช้เป็นประจำ ควรปรึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พร้อมแจ้งชนิดยาที่แพ้ให้เจ้าหน้าที่ทราบ
  6. นำญาติที่ต้องดูแลผู้ป่วยมาด้วย 1 ท่าน
หมายเหตุ : กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถมาได้ตามวันเวลาที่นัดไว้ โปรดโทรศัพท์ติดต่อเจ้าหน้าที่ให้ทราบอย่างน้อย 3 วัน
การปฏิบัติตัวขณะสลายต้อกระจก
  1. ระหว่างทำควรนอนนิ่งๆ ไม่ส่ายหน้าหรือสั่นศีรษะ นอนปล่อยตัวตามสบายไม่นอนเกร็ง
  2. ถ้ารู้สึกว่าต้องการไอหรือจามควรบอกให้แพทย์ทราบทันที เพื่อจะนำเครื่องมือออกจากตาก่อน
  3. บางรายที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการหยอดยาชาเฉพาะที่ ควรให้ความร่วมมือกลอกตาไปซ้ายหรือขวาตามที่แพทย์บอก
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ทันที หลังการสลายต้อกระจก
  • มีอาการปวดตามมาก ตามัวลง ตาแดง ขี้ตามากผิดปกติ หนังตาบวมแดง
  • มีเลือดออกที่บริเวณตาขาว หรือ ตาดำ
  • มีอาการเคืองตาผิดปกติ น้ำตาไหลมาก
การปฏิบัติตัวหลังการสลายต้อกระจก
  • เดินนั่ง พูดคุย ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ และทำกิจวัตรประจำวันที่ไม่ต้องออกแรงมากได้ตามปกติ
  • ไม่ให้น้ำเข้าตา 3 สัปดาห์ โดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าแทนการล้างหน้า บริเวณรอบตาใช้สำลี และน้ำเกลือเช็ดแทนการล้างหน้าอย่างน้อยวันละครั้ง
  • หยอดตา และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง วิธีหยอดตาควรล้างมือให้สะอาด เงยหน้าขึ้น ลืมตามองข้างบน ดึงเปลือกตาล่างลง ทำให้ เกิดแอ่งระหว่างเปลือกตาและลูกตาหยอดยาลงไป 1 หยด แล้วหลับตาสักครู่ ( กรณีที่มียาหยอดยาตามากกว่า 1 ชนิด ให้เว้นช่วงห่างกันอย่างน้อย 10 นาที )
  • ใส่แว่นกันแดดเวลาออกกลางแจ้ง หลีกเลี่ยงฝุ่นและลม
  • พบจักษุแพทย์ตามนัด ในครั้งต่อไปเพื่อติดตามผล

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ความรู้เรื่อง…โรคเบาหวาน

ความรู้เรื่อง...โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
เบาหวานมีกี่ประเภท
  1. เบาหวานประเภทที่ 1 (เบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน)
  2. เบาหวานประเภทที่ 2 (เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน)
  3. เเบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางพันธุกรรม โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตที่สร้างฮอร์โมน
  4. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทย พบเบาหวานชนิดที่ 2 มากที่สุด ประมาณ ร้อยละ 95
สาเหตุของโรคเบาหวาน
เบาหวานสืบทอดทางกรรมพันธุ์ได้ก็จริง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ) เป็นเบาหวาน ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเบาหวานทุกคน
มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่
  1. โรคอ้วน ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินสุลินไม่ดี
  2. ผู้สูงอายุ การสังเคราะห์และการหลั่งฮอร์โมนอินสุลินลดลง
  3. การได้รับยาบางชนิด สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น หรือการตอบสนองของอินสุลินไม่ดี
  4. การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีผลยับยั้งการทำงานของอินสุลิน
อาการของโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานอาจไม่มีอาการใดๆ โดยทั่วไปจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก มีอาการหิวบ่อยรับประทานจุ แต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย คันตามผิวหนัง ชาปลายมือ ปลายเท้า ตามัว
วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้อย่างไร
การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้โดย
  1. ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องออาหาร ถ้ามีค่ามากกว่า หรือเท่ากับ 200 มก./ดล. ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
  2. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนมากกว่า 8 ชั่วโมง พบค่า มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มก./ดล. ให้ตรวจยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ต่างวันกัน
  3. การตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (75 g Oral Glucose Tolerance Test, OGTT) ใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงแต่ตรวจพบน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืน น้อยกว่า 126 มก./ดล. ถ้าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล. ให้การวินิจฉัยว่า "เป็นโรคเบาหวาน"
หมายเหตุ : ในการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลพลาสมากลูโคสให้งดอาหารอย่างน้อย 8-10 ชม. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือลูกอม แต่ดื่มน้ำเปล่าได้
ผู้ใดควรได้รับการตรวจเช็คเบาหวาน
  1. ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น
  2. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้
    • ไม่มีอาการแต่อายุเกิน 35 ปี
    • ญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
    • น้ำหนักจัดอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน
    • เคยแท้งหรือบุตรเสียชีวิตตอนคลอด
    • คลอดบุตรน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
    • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • หญิงตั้งครรภ์ทุกราย (อายุครรภ์อยู่ระหว่าง 24-28 สัปดาห์)
    • ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดในสมองตีบ
    • ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง
    • ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง
ทำไมเราจึงควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
แม้ว่าบุคคลเหล่านี้ไม่มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ก็ควรหมั่นตรวจสอบ ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ระดับน่าสงสัย ก็ควรตรวจระดับพลาสมากลูโคสเป็นระยะทุก 1 ปี การวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และให้การรักษาควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการชัดเจนแต่เพิ่งวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานอาจพบโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย เพราะเป็นโรคเบาหวานนานแล้วแต่ไม่เคยตรวจ
โรคเบาหวานรักษาไม่หายขาด แต่ถ้าปฏิบัติตัวดีสามารถควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การรักษาต้อหิน

ต้อหิน

Glaucoma
โรคต้อหินเป็นโรคของดวงตาชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากความเสื่อมของประสาทตา เป็นประสาทที่เชื่อมระหว่างตากับสมอง (Optic Nerve) หรือการที่เส้นประสาทตาถูกทำลาย สาเหตุมักเกิดจากความดันในลูกตาสูง ทำให้สูญเสียการมองเห็นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มจากบริเวณรอบนอกก่อน แต่ยังสามารถเห็นวัตถุที่วางอยู่ตรงหน้าได้ชัดเจน แต่จะมองไม่เห็นวัตถุที่อยู่ด้านข้าง เมื่อมีอาการมากขึ้น การมองเห็นก็จะค่อยๆแคบลงและตาบอดในที่สุด สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
ต้อหินแบ่งได้เป็น 2  ประเภทคือ
  1. ต้อหินแบบมุมเปิด พบได้บ่อย เกิดจากลักษณะการอุดตันที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างช้าๆ จึงไม่มีอาการเจ็บปวดแต่ประสาทตาจะถูกทำลายไปทีละน้อย การสูญเสียการมองเห็นจะเกิดขึ้นเมื่อเป็นโรคนี้ในระยะเวลานาน และมักเป็นกับตา 2 ข้าง
  2. ต้อหินแบบมุมปิด ทำให้ของเหลวในลูกตาไหลออกจากตาไม่ได้  ความดันลูกตาจึงสูงขึ้น อาจมีอาการแบบเฉียบพลัน โดยมีอาการปวดตารุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะในข้างที่มีต้อหินเฉียบพลัน ตามัวลง มองเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ ตาแดง และต้อหินชนิดมุมปิดนี้อาจมีอาการเรื้อรังได้ ไม่ปวดตาแต่ตรวจพบความดันลูกตาสูงและการมองเห็นแคบลง ต้อหินมุมปิดมักพบในชาวเอเชีย
ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นต้อหิน
  • มีกรรมพันธุ์ในครอบครัวเป็นโรคต้อหินมุมเปิด
  • ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  โรคหลอดเลือดอักเสบ
  • ผู้ที่มีสายตาสั้นมากๆ
  • ผู้ที่เคยผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา
  • การใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์มาเป็นเวลานาน
การวินิจฉัย
  1. Tonometry เป็นการวินิจฉัยที่ไม่เจ็บเพื่อวัดความดันในลูกตา
  2. Opthalmoscopy เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยให้มองเห็นเส้นประสาทตาในลูกตา
  3. Visual Field Testing เป็นการวัดประสิทธิภาพของงานสายตาซึ่งสัมพันธ์กับความเสื่อมของประสาทตา
  4. Gonioscopy เป็นการตรวจช่องทางการไหลของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา
การรักษาโรคต้อหิน
  1. การใช้ยาหยอดตาและกินยาลดความดันลูกตา สำหรับผู้ที่เป็นต้อหินระยะเริ่มแรกที่ความดันลูกตายังไม่สูงมาก
  2. การรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ขึ้นอยู่กับชนิดต้อหินที่เป็น หลักการเพื่อช่วยทำให้มุมม่านตาระบายน้ำออกจากลูกตาได้ดีขึ้น ความดันตาจะได้ลดลง
  3. การผ่าตัดจะเป็นการช่วยลดความดันในลูกตา โดยทำช่องทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลออกกว้างขึ้น หรือทำช่องทางเดินระบายน้ำใหม่ให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลออกได้  ปัจจุบันการใช้ยารักษาต้อหินด้วยยาหยอดตาเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด และนิยมมากที่สุด
การมีส่วนร่วมในการรักษาต้อหิน
  1. ใช้ยาหยอดยาหรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  2. ไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อวัดความดันลูกตาเป็นระยะๆ เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค
  3. ปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อพบผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา
การป้องกัน
  1. หลีกเลี่ยงการโดนลมบ่อยๆ ฝุ่นละออง แสงแดด  ความร้อน ควรสวมแว่นตากันแดดที่ป้องกันแสง UV เมื่อออกกลางแจ้ง ที่ที่ต้องเจอลมบ่อยๆ หรือ ที่แสงแดดจัดๆ
  2. สวมหน้ากากป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเลตขณะทำงานเชื่อมโลหะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เบาหวานขึ้นตา

เบาหวานขึ้นตา

Diabetic Retinopathy
คือ ภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ไต หัวใจ เส้นประสาทและเส้นเลือดทั่วร่างกาย เบาหวานในจอประสาทตาเกิดจากการทำลายเส้นเลือดฝอยที่จอประสาทตา ซึ่งเป็นตัวรับข้อมูลภาพที่เรามองเห็นเพื่อส่งต่อไปยังสมอง ทำให้เกิดตามัวและตาบอดตามมา
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตา
  • ระยะที่ 1 เส้นเลือดฝอยในจอประสาทตามีการโป่งพอง มีเลือด มีน้ำเหลือง ไขมันซึมออกจากเส้นเลือดและมีเส้นเลือดอุดตัน ทำให้จอประสาทตาขาดเลือด ขาดสารอาหาร และออกซิเจนในบางแห่ง
  • ระยะที่ 2 หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงจากระยะที่ 1 แล้ว บริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงจะส่งสัญญาณให้ร่างกายสร้างหลอดเลือดฝอยใหม่เพื่อลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงเส้นเลือดให้ที่เกิดใหม่นี้เปราะบาง และผิดปกติทำให้เลือดออกในจอประสาทตาและเข้าไปในน้ำวุ้นลูกตาทำให้สายตาเสียจนในที่สุดเกิดเยื่อพังผืดคลุมประสาทตา เป็นเหตุให้ตาบอดในที่สุด
อาการของเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
เบาหวานในจอประสาทตาอาจดำเนินโรคไปจนถึงขั้นรุนแรงโดยไม่แสดงอาการใดๆ เลยก็ได้ หรืออาจมีอาการ เช่น ตามัว มองเห็นภาพตรงบิดเบี้ยว เห็นเป็นจุดดำ หรือเป็นเส้นผมลอยไปมาอยู่ในสายตา มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน ในรายที่เป็นต้อหินจากเบาหวานอาจจะที่อาการปวดร่วมด้วย
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเบาหวานในจอประสาทตา
ผู้ป่วยเบาหวานทุกคน มีโอกาสเกิดโรคเบาหวานในจอประสาทตา โอกาสเกิดและความรุนแรงจะมากขึ้น ถ้ามีปัจจัยดังนี้

  • ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน ยิ่งเป็นมานาน ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมาก
  • ความดันโลหิตสูง
  • ระดับน้ำตาลในเฮโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงสูง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • การตั้งครรภ
  • การรักษาเบาหวานในจอประสาทตา
    1. รักษาโดยทั่วไป โดยการควบคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด เป็นการยืดเวลาและลดความรุนแรงของเบาหวานในจอประสาทได้บ้าง
    2. การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งสามารถนำมารักษาเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในทุกๆระยะ ดังนี้
      • ระยะที่ 1 เมื่อจุดศูนย์กลางของจอรับภาพบวม การใช้แสงเลเซอร์ต่อจอประสาทตาที่ขาดเลือดมาเลี้ยง จะช่วยการยับยั้งการสร้างเส้นเลือดฝอยที่ผิดปกติ
      • ระยะที่ 2 ใช้แสงเลเซอร์ต่อเส้นเลือดฝอยที่เกิดใหม่ ลดปริมาณเส้นเลือดฝอยที่เกิดใหม่ ป้องกันการแตก และการเจริญของเส้นเลือดฝอยผิดปกติเข้าไปในน้ำวุ้นลูกตา เป็นการลดโอกาสการเกิดตาบอด
    3. การรักษาด้วยการผ่าตัด
    ปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์ผ่าตัดสมัยใหม่เพื่อใช้ผ่าตัด ในรายที่มีเลือดออกมากในน้ำวุ้นลูกตา หรือในรายที่มีเยื่อพังผืดที่อาจดึงรั้งให้จอประสาทตาหลุด สามารถรักษาสายตาไว้ได้ ถึงแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดีกว่าปล่อยให้บอดไป
    ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานทุกคน ควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็ตาม และถ้ามีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ทันที โรคเบาหวานในจอประสาทตา หากพบและรักษาตั้งแต่ในระยะแรก จะสามารถป้องกันการดำเนินโรคไม่ให้ตาบอดได้ ดังนั้นการตรวจตาสม่ำเสมออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

    เมื่อไรควรผ่าตัดต่อมทอนซิล Tonsillectomy

    Tonsillectomy

    การผ่าตัดต่อมทอนซิล
    ต่อมทอนซิลอักเสบ
    เป็นภาวะติดเชื้อในช่องคอทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอ กลืนเจ็บ กลืนลำบาก มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย สร้างความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ บางคนที่มีต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังก็จำเป็นต้องผ่าตัดออก เด็กมีแนวโน้มที่จะต้องผ่าตัดต่อมทอนซิลมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทอนซิลทำงานมากที่สุดในช่วงก่อนเข้าวัยวัยเจริญพันธุ์ การผ่าตัดต่อมทอนซิลอาจทำไปพร้อมกับการตัดต่อมอะดินอยด์ในผู้ป่วยเด็ก แต่ทั้งนี้ผู้ใหญ่ที่มีการอักเสบเรื้อรังอยู่บ่อยครั้งก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเช่นกัน
    เมื่อไหร่ที่มีอาการตามนี้ การผ่าตัดทอนซิล คือ ทางออกที่ดีที่สุด
    • ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังเป็นๆหายๆ
    • ต่อมทอนซิลอักเสบรุนแรง เกิดฝีรอบ ๆ ต่อมทอนซิล
    • สงสัยเนื้องอกที่ต่อมทอนซิล
    • ต่อมทอนซิลมีขนาดโตมาก จนอุดกั้นทางเดินหายใจ มีอาการนอนกรน
    • มีก้อนนิ่วที่ต่อมทอนซิล ทำให้มีกลิ่นปาก
    การผ่าตัดทอนซิล (Tonsillectomy)
    การผ่าตัดทอนซิล ทำโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก โดยทำการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ แพทย์ผ่าตัดจะทำการใส่เครื่องมือเล็ก ๆ เพื่ออ้าปากออก และใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า หรือใช้วิธีคว้านเอาต่อมทอนซิลออกทั้งหมด โดยจะไม่มีแผล
    • การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 30 นาที
    • ผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล 1 คืน เพื่อดูอาการ
    • หลังผ่าตัดแนะนำให้ทานอาหารอ่อน ๆ เป็นเวลา 2-3 วันแรก
    • ในช่องคอจะพบมีรอยแผลสีขาว ๆ บริเวณต่อมทอนซิลที่ตัดออกไป ซึ่งเป็นภาวะปกติ รอยนี้จะหายไปได้เองภายในระยะเวลา 5-10 วัน
    • ระยะฟื้นตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    3 วิธีลดความเสี่ยง “โรคซึมเศร้า”

    วิธีลดความเสี่ยงและรับมือ "ภาวะซึมเศร้า"

    Depression
                 โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นทุกเพศทุกวัย ทำให้ส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตของตนเองและบุคคลรอบข้าง หากมีอาการ นอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป อาจเข้าข่ายของโรคซึมเศร้าแล้ว ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น มีเหตุการณ์มากระทบรุนแรงมากน้อยเพียงใด บุคลิกเดิมของเจ้าตัวเป็นอย่างไร มีการช่วยเหลือจากคนรอบข้างมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
                  การเปลี่ยนแปลงหลักๆ จะเป็นในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรม เช่น รู้สึกเบื่อเศร้า ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า ร่วมกับอาการทางร่างกายต่างๆ เช่น นอนหลับไม่ดี เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก นอกจากมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงแล้ว การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันก็บกพร่อง เช่น คนที่เป็นแม่บ้านก็ทำงานบ้านน้อยลงหรืองานคั่งค้าง คนทำงานนอกบ้านก็อาจขาดงานบ่อยๆ การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ใช่ เป็นคนอ่อนแอ คิดมาก หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา เอาแต่ท้อแท้ ซึมเซา อาการเหล่านี้เป็นเพราะตัวโรค หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะทุเลาลง กลับมาเป็นปกติ
    ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
    1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
    กลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจนแต่จะบอกว่าจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส ไม่สดชื่นเหมือนเดิม บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เดิมตนเคยทำแล้วเพลินใจหรือสบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำหรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น บ้างก็รู้สึกเบื่อไปหมดตั้งแต่ตื่นเช้ามา บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน
    2. ความคิดเปลี่ยนไป
    มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีตก็เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง ชีวิตตอนนี้ก็รู้สึกว่าอะไรๆ ก็ดูแย่ไปหมด ไม่มีใครช่วยอะไรได้ ไม่เห็นทางออก มองอนาคตไม่เห็น รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต บางคนกลายเป็นคนไม่มั่นใจตนเองไป จะตัดสินใจอะไรก็ลังเลไปหมด รู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น ทั้งๆ ที่ญาติหรือเพื่อนๆ ก็ยืนยันว่ายินดีช่วยเหลือ เขาไม่เป็นภาระอะไรแต่ก็ยังคงคิดเช่นนั้นอยู่ ความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ความคับข้องใจ ทรมานจิตใจ เหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อยๆ แรกๆ ก็อาจคิดเพียงแค่อยากไปให้พ้นๆ จากสภาพตอนนี้ ต่อมาเริ่มคิดอยากตายแต่ก็ไม่ได้คิดถึงแผนการณ์อะไรที่แน่นอน เมื่ออารมณ์เศร้าหรือความรู้สึกหมดหวังมีมากขึ้น ก็จะเริ่มคิดเป็นเรื่องเป็นราวว่าจะทำอย่างไร ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนจิตใจก็อาจเกิดการทำร้ายตนเองขึ้นได้จากอารมณ์ชั่ววูบ
    3. สมาธิความจำแย่ลง
    จะหลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไรไม่ได้นานเนื่องจากสมาธิไม่มี ดูโทรทัศน์นานๆ จะไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือก็ได้ไม่ถึงหน้า ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานผิดๆ ถูกๆ
    4. มีอาการทางร่างกายต่างๆ
    ที่พบบ่อยคือจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง มีปัญหาด้านการนอน เช่น หลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ บางคนตื่นแต่เช้ามืดแล้วนอนต่อไม่ได้ รู้สึกเบื่ออาหาร ไม่เจริญอาหารเหมือนเดิม น้ำหนักลดลงหลายกิโลกรัมภายใน 1 เดือน อาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง ปากคอแห้ง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว
    5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป
    ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะซึมลง ไม่ร่าเริงแจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม แม่บ้านอาจทนที่ลูกๆ ซนไม่ได้ หรือมีปากเสียงกับคู่ครองบ่อยๆ
    6. การงานแย่ลงความรับผิดชอบต่อการงานลดลง
    งานไม่ได้ทำ หรือทำแบบลวกๆ เพียงให้ผ่านๆ ไป ความละเอียดลดลงเพราะไม่มีสมาธิ รู้สึกหมดพลังที่จะต่อสู้ เริ่มลางานขาดงานบ่อยๆ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้าใจหรือให้การช่วยเหลือก็มักจะถูกให้ออกจากงาน
    7. อาการโรคจิต 
    มักพบในรายที่เป็นรุนแรง นอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้าแล้ว ยังพบอาการของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าดีขึ้น อาการโรคจิตก็มักทุเลาตาม
    วิธีลดความเสี่ยง ในการเกิด "ภาวะซึมเศร้า"
    1. สังเกต
    หมั่นสำรวจอารมณ์ของตัวเอง เพื่อเป็นการสังเกตว่า สิ่งใดช่วยทำให้อารมณ์เศร้าหมองหรือสดชื่น แจ่มใส และพยายามรักษาจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ
    2. ไม่กระตุ้น
    ไม่นำตนไปอยู่ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความซึมเศร้า รวมถึงการใช้สารเสพติด
    3. ทำกิจกรรม
    เลือกกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น การออกกำลังกาย กิจกรรมสันทนาการ พบปะ เพื่อนฝูง เข้าสังคม
    หากพบว่าตนเองซึมเศร้า เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร ไร้เรี่ยวแรง ขาดสมาธิ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือนอนมากและมีความคิด อยากตาย รู้สึกตัวไร้คุณค่าเป็นภาระ โดยมีอาการติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาต่อไป

    แนะนำแแพทย์

    แพคเกจ

    รศ.พญ.วันเพ็ญ ธุรกิตต์วัณณการ
    อายุรแพทย์ / จิตแพทย์
    พญ.ชุติมา สายเพ็ชร์
    อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
    กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)
    Transcranial Magnetic Stimulation

    ตรวจหาสารกัญชาในปัสสาวะ

    ตรวจหาสารกัญชา ในปัสสาวะ


    ทุกวันนี้ เราสามารถพบกัญชา เป็นส่วนผสมของอาหาร ในหลายประเภท แต่เราจะทราบได้อย่างไร หากทางร้านไม่ได้แจ้ง หรือไม่มีป้ายบอก  สังเกตุอาการ หลังรับประทานอาหารผสมกัญชา หากมีอาการไม่พึงประสงค์ ควรรีบพบแพทย์

    ตรวจหาสารกัญชา ในปัสสาวะ

    หากมีอาการ หลังรับประทานอาหารผสมกัญชา
    ในปัจจุบันข่าวสารเกี่ยวกับกัญชาในสื่อต่างๆ มีอยู่มากมาย  เราจึงควรเลือกแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้รู้เท่าทันที่จะใช้ประโยชน์จากกัญชา  และทราบวิธีการปกป้องตนเองและคนที่เรารักจากอันตรายของกัญชา   
    กัญชามีประโยชน์ก็จริง แต่ก็จัดเป็นพืชที่มีสารเสพติดเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่น  ทุกวันนี้ เราสามารถพบกัญชา เป็นส่วนผสมของอาหาร ในหลายประเภท แต่เราจะทราบได้อย่างไร หากทางร้านไม่ได้แจ้ง หรือไม่มีป้ายบอก  สังเกตุอาการ หลังรับประทานอาหารผสมกัญชา หลังหยุดกัญชา   หากมีอาการไม่พึงประสงค์  ควรรีบพบแพทย์  
     
    เมากัญชา ทำอย่างไร
    1. อาการเมากัญชา ตาแดง เดินเซ การตอบสนองช้าลง ปากแห้ง เพิ่มความอยากอาหาร อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ปริมาณมากจะมีอาการหลอน เกิดภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ให้รีบส่งโรงพยาบาล
    2. ระยะเวลาที่มีอาการ หลังใช้ 2-3 ชม. และอาจอยู่ในร่างกายนานหลายวันถึงเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้
    3. อาการถอนยา อาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ปวดท้อง สั่น เหงื่อออก ไข้ สั่น หลังหยุดกัญชา มักมีอาการ 24-48 ชม. อาการมากสุด วันที่ 4-6 อาการจะคงอยู่ 1-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ สมุนไพรที่อาจจะลดอาการเมากัญชา ได้ น้ำมะนาว หรือรับประทานรากว่านน้ำ
    4. ถ่้ามีอาการทางจิต เช่น มีภาวะซึมเศร้า กระสับกระส่ายอย่างรุนแรง เห็นภาพหลอน มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ให้รีบส่งโรงพยาบาล
    สำหรับผู้ใช้กัญชา
    1. หากท่านอายุน้อยกว่า 20 ปี ขอให้พิจารณาเลิกใช้กัญชาทันที
    2. ถ้าเป็นไปได้ เลือกใช้กัญชาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อหลีกเสี่ยงการปนเปื้อนของโลหะหนัก และสารกำจัดศัตรูพืช
    3. หลีกเลี่ยงการใช้ช่อดอกกัญชา เพราะเป็นส่วนที่มีสารแคนนาบินอยด์สูง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้มาก
    4. ขอให้สูบกัญชาในบริเวณที่ห่างไกลจากคนอื่น โดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและสตรีมีครรภ์ เพราะบุคคลเหล่านี้อาจจะเป็นผู้สูบมือสองได้ และได้ผลกระทบจากควันกัญชาได้
    5. ไม่ขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรต่างๆ ภายใน 6 ชั่วโมงหลังได้รับกัญชา เพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
    6. ถ้าได้รับกัญชาแล้ว มีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ และแจ้งให้แพทย์ทราบเรื่องการได้รับกัญชา เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที
    7. หากรู้สึกว่าต้องเพิ่มขนาดความถี่ของการใช้กัญชา หรือไม่สามารถหยุดใช้กัญชาได้โดยง่าย แสดงว่าติดกัญชาแล้ว
      ขอให้รีบพบแพทย์เพื่อการรักษาภาวะติดกัญชา
    8. หากท่านปลูกกัญชาในบ้าน ขอให้หาวิธีไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้โดยง่าย
    9. กรณีท่านเป็นผู้ผลิตอาหารที่ใส่กัญชา ขอให้อย่าใช้ช่อดอก และต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบเสมอว่ามีการใส่กัญชาในอาหารหรือไม่
    วันนี้ - 31 ธันวาคม 2568

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    รู้ให้ทัน…เรื่องกัญชา

    รู้ให้ทัน..เรื่องกัญชา

    CANNABIS
    ในปัจจุบันข่าวสารเกี่ยวกับประโยชน์ของกัญชามีออกมาเป็นระยะๆ แต่สารทุกสิ่งในโลกนี้มีสองด้านเสมอ กัญชาก็จัดเป็นพืชที่มีสารเสพติดและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน เราจึงควรจะต้องมีความรู้เท่าทันที่จะใช้ประโยชน์จากกัญชา แต่มีวิธีการในการปกป้องตนเองและบุคคลที่เรารักจากอันตรายของกัญชา ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึงมีคำแนะนำดังต่อไปนี้
    สำหรับประชาชน
    1. ไม่ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการอย่างเด็ดขาด
    2. ให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน ให้ทราบถึงอันตรายจากการใช้กัญชา เพื่อเป็นการสร้างภูมิต้านทานที่สำคัญ
    3. ช่วยกันสอดส่องดูแล ให้เด็กและเยาวชนห่างไกลจากกัญชา
    4. ช่วยกันสร้างสังคม บ้าน โรงเรียนและชุมชนให้ปลอดกัญชา
    สำหรับผู้ที่กำลังคิดว่าจะการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค
    1. ขอให้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ วิธีการใช้กัญชาและผลข้างเคียงจากกัญชาอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ
    2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว ขอให้ปรึกษากับแพทย์ที่ให้การรักษา เกี่ยวกับโรคและยาที่รับประทานอยู่ ว่าจะมีผลต่อกันหรือไม่เพราะกัญชาอาจจะทำให้โรคประจำตัวที่มีอยู่ทรุดลง หรืออาจจะมีอันตกริยาระหว่างยากับกัญชา จนทำให้เกิดอันตรายได้
    3. หากจะใช้กัญชา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
    สำหรับผู้ใช้กัญชา
    1. หากท่านอายุน้อยกว่า 20 ปี ขอให้พิจารณาเลิกใช้กัญชาทันที
    2. ถ้าเป็นไปได้ เลือกใช้กัญชาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อหลีกเสี่ยงการปนเปื้อนของโลหะหนัก และสารกำจัดศัตรูพืช
    3. หลีกเลี่ยงการใช้ช่อดอกกัญชา เพราะเป็นส่วนที่มีสารแคนนาบินอยด์สูง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้มาก
    4. ขอให้สูบกัญชาในบริเวณที่ห่างไกลจากคนอื่น โดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและสตรีมีครรภ์ เพราะบุคคลเหล่านี้อาจจะเป็นผู้สูบมือสองได้ และได้ผลกระทบจากควันกัญชาได้
    5. ไม่ขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรต่างๆ ภายใน 6 ชั่วโมงหลังได้รับกัญชา เพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
    6. ถ้าได้รับกัญชาแล้ว มีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ และแจ้งให้แพทย์ทราบเรื่องการได้รับกัญชา เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที
    7. หากรู้สึกว่าต้องเพิ่มขนาดความถี่ของการใช้กัญชา หรือไม่สามารถหยุดใช้กัญชาได้โดยง่าย แสดงว่าติดกัญชาแล้ว ขอให้รีบพบแพทย์เพื่อการรักษาภาวะติดกัญชา
    8. หากท่านปลูกัญชาในบ้าน ขอให้หาวิธีไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้โดยง่าย
    9. กรณีท่านเป็นผู้ผลิตอาหารที่ใส่กัญชา ขอให้อย่าใช้ช่อดอก และต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบเสมอว่ามีการใส่กัญชาในอาหารหรือไม่
     
    เมากัญชา ทำอย่างไร
    1. อาการเมากัญชา ตาแดง เดินเซ การตอบสนองช้าลง ปากแห้ง เพิ่มความอยากอาหาร อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ปริมาณมากจะมีอาการหลอน เกิดภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ให้รีบส่งโรงพยาบาล
    2. ระยะเวลาที่มีอาการ หลังใช้ 2-3 ชม. และอาจอยู่ในร่างกายนานหลายวันถึงเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้
    3. อาการถอนยา อาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ปวดท้อง สั่น เหงื่อออก ไข้ สั่น หลังหยุดกัญชา มักมีอาการ 24-48 ชม. อาการมากสุด อาการมากสุด วันที่ 4-6 อาการจะคงอยู่ 1-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ สมุนไพรที่อาจจะลดอาการเมากัญชา ได้ น้ำมะนาว หรือรับประทานรากว่านน้ำ
    4. ถ่้ามีอาการทางจิต เช่น มีภาวะซึมเศร้า กระสับกระส่ายอย่างรุนแรง เห็นภาพหลอน มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ให้รีบส่งโรงพยาบาล

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ และโควิด อาการต่างกันอย่างไร

    โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ และโควิด -19 อาการเหมือน ต่างกันอย่างไร

    DENGUE FEVER / INFLUENZA / COVID - 19
    ทุกๆ ปีเมื่อฤดูฝนมาถึง มักจะพบโรคระบาดเจ้าประจำอย่าง ไข้เลือดออก กับ ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งทำให้หลายคนแยกไม่ออกว่า กำลังป่วยเป็นโรคอะไรอยู่ ยิ่งในปัจจุบันยังมีโรคอุบัติใหม่อีกหนึ่งโรคคือ โควิด 19 และจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเร็วๆ นี้ หลายคนเกิดความสับสนมากขึ้น เนื่องจากทั้ง 3 โรค มีอาการที่คล้ายคลึงกัน แล้วเราจะเฝ้าระวังและสังเกตอาการอย่างไร เพื่อดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ที่นี่มีคำตอบ

    ไข้เลือดออก (Dengue)
    โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค พบได้ตลอดปีแต่จะพบมากขึ้นในฤดูฝน ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็พบได้ เชื้อไวรัสเดงกี่ มี 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี่ 1 เดงกี่ 2 เดงกี่ 3 และเดงกี่ 4 ด้วยสาเหตุนี้ทำให้เราติดเชื้อได้หลายครั้ง โรคไข้เลือดออกเดงกี่เกิดจากยุงลายตัวเมียกัด ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการ 5-8 วัน อาจมีอาการปวดท้องและช็อกได้ จึงต้องรีบรักษาโดยเร็ว โดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก
    การป้องกันไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือ การกำจัดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะไม่ให้ขยายพันธุ์ โดยหมั่นตรวจสอบและกำจัดแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่ยุงจะเพาะพันธุ์อยู่
    ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

    ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และติดต่อกันง่ายมาก ระบาดตลอดทั้งปี แต่มักเกิดในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว

    การป้องกันไข้หวัดใหญ่ ที่ดีที่สุด คือการได้รับวัคซีนปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการรุนแรงของโรค
    โควิด-19 (Covid 19)

    ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่ คนได้ ปัจจุบัน โควิด-19 มีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็ว คือ โอมิครอน และพบในประเทศไทยมากที่สุด

    การป้องกันโดยการสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อยๆ ไม่ไปในที่ระบาด เป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่ง แต่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรค เพื่อลดความรุนแรงของโรค

    แยกโรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคโควิด ได้อย่างไร

    อาการของโรคทั้ง 3 โรค เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
    1. มีไข้สูงเฉียบพลัน นาน 2-7 วัน
    2. ปวดศีรษะ
    3. ปวดเมื่อยตามตัว
    4. ส่วนใหญ่มีอาการหน้าแดง
    5. มีจุดเลือดออกขนาดเล็กตามลำตัว แขน ขา
    6. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
    7. ปวดท้องและเบื่ออาหาร
    เมื่อไข้ลง ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากสามารถพบภาวะช๊อกหรือเลือดออก อาจถึงแก่ชีวิตได้ หากมีไข้สูงต่อเนื่องตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป เช็ดตัวและทานยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น ควรมาโรงพยาบาล
    1. มีไข้สูงเกิน 38 องศาฯ
    2. ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น
    3. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    4. คัดจมูก มีน้ำมูกใส ไอแห้ง
    5. บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
    6. เบื่ออาหาร
    โรคไข้หวัดใหญ่สามารถหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ การได้ยาต้านไวรัสช่วยลดความรุนแรงและลดระยะเวลาเจ็บป่วยได้ แนะนำควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรง
    1. ไม่มีไข้ถึงมีไข้สูง
    2. ปวดศีรษะ
    3. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    4. ไอแห้งหรือมีเสมหะ เจ็บคอ
    5. มีน้ำมูก
    6. หอบเหนื่อย หายใจลำบาก
    7. บางรายอาจมีอาการอาเจียนหรือท้องเสียร่วมด้วย
    โควิดโอมิครอนเป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ อาจมีปอดอักเสบหรืออาการรุนแรงในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การฉีดวัคซีนป้องกันจะช่วยลดความรุนแรงของโรค การสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ จะช่วยป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    หากสงสัย มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือมีการถ่ายเหลวร่วมด้วย เบื้องต้นให้ตรวจ ATK ได้ทันที หากผลเป็นลบ อย่าพึงวางใจ ให้สังเกตอาการต่ออีก 48 ชม. ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้ไปโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคอื่น ๆ เพราะอาจเสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออก

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ็
    ให้บริการ ดูแลผู้ป่วย COVID-19
    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

    โปรแกรมคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย CT SCAN LOW DOSE

    โปรแกรมคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย CT SCAN LOW DOSE

    "มะเร็งปอด รู้เร็ว รักษาได้

    ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย CT SCAN LOW DOSE: 3,333.- (จากปกติ 7,500.-)


    การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
    การตรวจคัดกรองจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบและรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบมะเร็งปอดแบบง่ายหรือด้วยตนเองดังเช่น มะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose helical computerized tomography) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้

    โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย CT LOW DOSE

    มะเร็งปอดเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิง อย่างไรก็ดี มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้น มะเร็งปอด เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและ ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วแค่ไหน ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง
    ใครควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปอด
    บุหรี่และสารพิษ มลภาวะในสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรตรวจคัดกรองปีละครั้ง
    • ผู้มีอายุ 50-80 ปี  มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ 1 ซอง/วัน เป็นเวลา 30 ปี หรือ 2 ซอง/วัน เป็นเวลา 15 ปี
    • เลิกบุหรี่ไปแล้ว  ระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี
    • ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ 
    • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่
    • การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่  แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon)  สารหนู รังสี และสารเคมีอื่นๆ  รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ
    • ผู้มีอาการไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ  ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยทั่วไป  ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี
    การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
    การตรวจคัดกรองจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบและรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบมะเร็งปอดแบบง่ายหรือด้วยตนเองดังเช่น มะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose helical computerized tomography) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้
    การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี
    • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
    • การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
    • การตรวจด้วยเครื่อง PET scan (positron emission tomography scan) เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง
    คัดกรองมะเร็งปอด
    รายการ
    ค่าบริการ
    หมายเหตุ
    โปรแกรมคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย CT SCAN LOW DOSE 3,333.- รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
    วันนี้ - 31 ธันวาคม 2568

    โปรแกรมและแพ็คเกจ