การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด – 12 ปี
การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด - 12 ปี
Oral health care for newborns - 12 years old
การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด-อายุ 12 ปี
ฟันน้ำนม นอกจากมีหน้าที่ในการบดเคี้ยวและช่วยเสริมสร้างความมั่นใจแล้วยังช่วยทำให้ออกเสียงได้ชัดเจนและเป็นตัวช่วยให้ฟันแท้ขึ้นมาได้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
กรณีที่ต้องสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดจึงทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นตามมาเกิดปัญหาซ้อนเกหรือหากฟันผุมากจนเกิดอาการปวดฟันทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กทางอ้อมได้
การดูแลสุขภาพช่องปาก ระยะก่อนฟันน้ำนมขึ้น (0-6 เดือน)
ผู้ปกครองสามารถใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดบริเวณ เหงือก ลิ้น และกระพุ่งแก้ม ไม่ควรปล่อยให้ลิ้นเป็นฝ้าขาวเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียได้
การจัดท่าในการทำความสะอาดฟันน้ำนมของเด็กอ่อน
การดูแลสุขภาพช่องปากระยะฟันน้ำนมค่าดังขึ้น
- ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี
เลือกแปรงสีฟันขนนุ่มหน้าตัดตรงขนาด ที่เหมาะสมกับเด็กร่วมกับที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppmได้กรณีเสี่ยงผุสูง) แตะขนแปรงพอเปียก หรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร โดยให้ผู้ปกครองแปรงให้และเช็ดฟองออก
ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี : บีบยาสีฟันแตะขนแปรงพอเปียกหรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร
- 3-6 ปี
ผู้ปกครองบีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppm ได้กรณีเสี่ยงผุสูง)
ขนาดเท่าความกว้างของแปรง หรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
และช่วยแปรงฟันให้คอยเตือนให้บ้วนฟองยาสีฟันทิ้ง แต่ไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือเท่านั้น
3-6 ปี : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความกว้างของแปรงหรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
- 6 ปีขึ้นไป
บีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,450-1,500 ppm ขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน แปรงด้วย ตนเองอย่างน้อย 2-3 นาที หลังแปรงให้บ้วนฟองออก โดยไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือ (10 ml)
6 ปีขึ้นไป : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน
ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
ข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันน้ำนม
Q หากพบฟันแท้ หน้าล่างขึ้นซ้อนหลังฟันน้ำนมดังรูป จำเป็นต้องรีบถอนฟันน้ำนมหรือไม่ ?
A หากพบว่าฟันแท้ หน้าล่างนั้นขึ้นมาได้เกินครึ่งชีฟันแล้ว แต่ยังไม่พบว่ามีการโยกของฟันน้ำนม อาจจำเป็นต้องได้รับการถอน แต่หากฟันแท้ขึ้นได้เกินครึ่งที่ฟันและพบว่าฟันน้ำนมโยกมาก อาจปล่อยให้ฟันน้ำนมหลุดออกเองได้
Q หากพบว่าเด็กมีอาการปวดฟันน้ำนม ทานอาหารลำบาก จำเป็นต้องได้รับการถอนฟันหรือไม่ ?
A ไม่เสมอไป เพราะหากทันตแพทย์ตรวจพบว่าฟันน้ำนมนั้นมีโครงสร้างตัวฟันที่เหลืออยู่มาก ประกอบกับรากฟันยังเหลือความยาวที่เหมาะสม จากภาพถ่ายรังสีฟันไม่โยกหรืออาจเป็นเวลาอีกนานกว่าที่ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะชิ้นได้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กสามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้ดี ทันตแพทย์อาจพิจารณาทำการรักษารากฟันน้ำนมและทำครอบฟันน้ำนมแทนการถอนฟัน เพื่อให้ฟันน้ำนมนั้นยังสามารถใช้บดเคี้ยวได้และเพื่อรอจนกว่าฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะเริ่มดันขึ้น และรากฟันน้ำนมซี่นั้นก็จะละลายและหลุดไปตามเวลา
Q ฟันน้ำนมห่าง หรือช้อนเก จะมีผลอย่างไร ต่อฟันแท้หรือไม่ ?
A ช่วงวัย 2-6 ปี กว่าร้อยละ 60 พบได้ว่าฟันหน้าน้ำนมจะเรียงตัวห่างกัน ซึ่งมีประโยชน์ในการเตรียมที่ไว้ให้ฟันแท้ที่ขนาดใหญ่กว่านั้นขึ้นได้โดยไม่เบียดกัน แต่หากพบว่าชุดฟันน้ำนมมีลักษณะร้อนเก หรือชิดกันมาก อาจเกิดได้จากลักษณะฟันที่ไม่สัมพันธ์กับขากรรไกรซึ่งทำให้มีโอกาสที่ฟันแท้ที่ขึ้นมาอาจซ้อนเกได้ กรณีนี้จึงควรได้รับการติดตามการขึ้นของฟันแท้กับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
Q หากลูกเลิกขวดนมช้า หรือทานนมแล้วนอนจะมีผล อย่างไรต่อฟันหรือไม่?
A สมาคมทันตแพทย์สาหรับเด็กประเทศสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatric Dentistry) แนะนำให้เลิกขวดนมเมื่อเด็กอายุ 1 ปี - 1 ปีครึ่ง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยว/กลืนอาหารในระดับที่เหมาะสมกับวัย การพัฒนาทางกล้ามเนื้อ การพัฒนาทางด้านภาษาและการพัฒนาทางด้านอารมณ์
อัตราค่าบริการทันตกรรม
|
|
---|---|
รายการ
|
ค่าบริการ
|
เคลือบหลุมร่องฟัน
|
300 - 500.-
(ต่อซี่)
|
ขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์
|
600 - 800.-
|
รักษารากฟันน้ำนมเด็ก
|
2,500 - 3,000.-
|
ครอบฟันเด็ก (SSC)
|
2,000 - 2,500.-
|
ถอนฟันน้ำนม(ต่อซี่)
|
500 - 700.-
(ต่อซี่)
|
เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
|
150.-
(ต่อฟิล์ม)
|
เอกซเรย์พานอรามิก
|
800.-
(ต่อฟิล์ม)
|
อุดฟันน้ำนม
|
600 - 1,000.-
|
You must be logged in to post a comment.