ตรวจคัดกรองรอยโรคช่องปากและขากรรไกร ด้วยภาพถ่ายรังสีดิจิตอลพาโนรามิก

ราคาพิเศษ 500.-

ราคาปกติ 800.-


 

ตรวจคัดกรองรอยโรคช่องปากและขากรรไกร ด้วยภาพถ่ายรังสีดิจิตอลพาโนรามิก

 

ภาพถ่ายรังสีพานอรามิกทางทันตกรรม (Dental Panoramic Film หรือ Orthopantomogram - OPG) คือ ภาพถ่ายรังสีชนิดนอกช่องปากที่สามารถแสดงให้เห็นภาพรวมของขากรรไกรบนและล่าง ครอบคลุมฟันทุกซี่ โพรงไซนัสโพรงจมูก ข้อต่อขากรรไกรในภาพเดียวกัน

ข้อดี

  • ใช้เวลาน้อย
  • ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก
  • ไม่เจ็บ
  • ปลอดภัย

เหมาะสำหรับ

  1. ผู้ที่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากมาเป็นเวลานาน
  2. ผู้ที่ต้องการตรวจ คัดกรองฟันคุด/ฟันฝัง
  3. มีปัญหาข้อต่อขากรรไกรหรืออุบัติเหตุ
  4. วางแผนจัดฟัน
  5. วางแผนใส่รากฟันเทียม
  6. วางแผนทำฟันปลอม
  7. รักษาโรคปริทันต์

เงื่อนไขการใช้บริการ

  • รวมค่าบริการโรงพยาบาล
  • ระยะเวลาในการรับบริการประมาณ 15-30 นาที
  • ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนรับบริการ
ราคาพิเศษ 500.-
ราคาปกติ 800.-
1 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่างสำหรับรักษานอนกรนภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่างสำหรับรักษานอนกรนภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

Mandibular advancement device (MAD and obstructive sleep apnea (OSA)
ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่างสำหรับรักษานอนกรนภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
Mandibular advancement device (MAD) for treating snoring and obstructive sleep apnea (OSA)
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ(Sleep Apnea) คือ ความผิดปกติของการนอนหลับที่มีการหยุดและเริ่มต้นการหายใจซ้ำ ๆ กันเป็นวงจร สังเกตได้จากการกรนเสียงดังและอาการอ่อนเพลีย แม้ว่าจะได้นอนอย่างเพียงพอ โดย Obstructive Sleep Apnea(OSA) คือ ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงหรืออุดตัน ส่งผลให้อากาศไม่สามารถเข้าสู่ปอดได้
ปัจจัยเสี่ยง
    ปัจจัยเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ผลกระทบของ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA)
  • ลดระดับออกซิเจนในเลือด (Hypoxia)
  • เพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ (Hypercapnia)
  • สะดุ้งตื่นจากการนอนหลับ
  • อดนอน อ่อนเพลียง่าย เพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคในระบบไหลเวียนโลหิต
MAD เหมาะกับใคร
Mandibular Advancement Device หรือ MAD ให้ผลการรักษาได้ดีในผู้ป่วยที่นอนกรนอย่างเดียว หรือ นอนกรนร่วมกับหยุดหายใจขณะหลับระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลาง (ค่าดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วน้อยกว่า 30 ครั้งต่อชั่วโมง) หรือในรายที่ระดับรุนแรง แต่ผู้ป่วยไม่สามารถยอมรับการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกได้
ภาพการใส่ทันตอุปกรณ์ สำหรับการนอนกรน

Mandibular Advancement Device (MAD)
ทำงานโดยการดึงขากรรไกรล่าง และลิ้นมาด้านหน้าเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับการไหลของอากาศบริเวณด้านหลังลำคอ โดย MAD ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนฟันบนและส่วนฟันล่าง ซึ่งอาจจะเชื่อมต่อกันด้วยสกรู บานพับ หรือยางยืดที่ปรับได้ อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยดึงขากรรไกรล่างไปด้านหน้าเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น
ขั้นตอนการทำ MAD
  1. ซักประวัติ และทำแบบสอบถามการนอนหลับ
  2. ตรวจวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  3. ตรวจสภาพช่องปากและการสบฟันอย่างละเอียด
  4. ถ่ายภาพรังสี Lateral cephalogram และ Orthopantomogram
  5. พิมพ์ฟันหรือสแกนช่องปากและบันทึกการสบฟัน
  6. ผู้ป่วยได้รับ MAD เพื่อใส่ขณะนอนหลับ
  7. หลังผู้ป่วยปรับตัวกับเครื่องมือประมาณ 2 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะนัดเพื่อตรวจประเมินผล และปรับอุปกรณ์
  8. หลังจากผู้ป่วยใช้ MAD ที่ปรับระดับความยื่นจนทันตแพทย์เห็นว่าเหมาะสม จะส่งต่อให้แพทย์ทำการตรวจการนอนหลับเพื่อยืนยันผลการรักษา
  9. นัดติดตามอาการต่อเนื่องกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
ลักษณะของ MAD
  • ทันตอุปกรณ์ประเภทนี้สามารถปรับขากรรไกรล่างให้ยื่นไปข้างหน้าทีละน้อย ช่วยเปิดทางเดินหายใจได้ในระยะที่เหมาะสมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • เครื่องมือประเภทนี้เป็นอุปกรณ์เฉพาะบุคคล ทันตแพทย์จึงต้องพิมพ์ฟัน หรือ สแกนช่องปากผู้ป่วย เพื่อผลิตเครื่องมือที่พอดีกับปากและฟันของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีความสบายขณะสวมใส่ไม่หลุดง่ายในขณะหลับ
  • นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือ พกพาสะดวกขณะเดินทางไม่ต้องใช้ไฟฟ้า และไม่มีหน้ากากครอบหรือคาดที่ใบหน้า
  • ปัจจุบันมีการออกแบบเครื่องมือได้หลายลักษณะ ซึ่งทันตแพทย์จะทำการพิจารณาและพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อเลือกแบบที่เหมาะสม

ลักษณะของ MAD

วิธีการดูแลเครื่องมือการทำความสะอาด
  • ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มกับน้ำสบู่อ่อนขัดทำความสะอาดเมื่อถอดเครื่องมือตอนตื่นนอนทุกเช้าก่อนจะล้างด้วยน้ำเปล่า
  • ไม่ใช้ยาสีฟันหริอสารขัดฟันปลอมมาใช้ทำความสะอาด เนื่องจากจะทำให้พื้นผิวของเครื่องมือเสียหายได้
  • หลังทำความสะอาดเครื่องมือแล้ว ให้เก็บเครื่องมือในที่อากาศเย็นและแห้ง หลีกเลี่ยงการเก็บในที่ร้อนและมีสารเคมี
ผลข้างเคียงของการใส่เครื่องมือ
การจัดการกับผลข้างเคียง
  • การเปลี่ยนแปลงการสบฟัน
    • การบริหารด้วยการใช้ท่าม้วนลิ้นแตะเพดานปาก
      1. นำปลายลิ้นแตะเบาๆที่กลางเพดานปาก โดยไม่เกร็งลิ้น และริมฝีปาก
      2. อ้าปากช้าๆ จนสุด โดยที่ปลายลิ้นยังคงแตะที่กลางเพดานปาก อ้าปากค้างไว้ 5 วินาที
      3. หุบปากช้าๆ เข้าสู่ท่าพัก โดยที่ฟันบนล่างไม่แตะกัน ลิ้นและริมฝีปากผ่อนคลายพัก 5 วินาที
      4. ทำวันละ 5 รอบต่อวัน รอบละ 15 ครั้ง
    • กัดฟันบนยาง Occlusion trainer โดยค่อยเลื่อนๆ จากการกัดบนฟันกรามด้านขวาไปจนถึงด้านซ้าย
    • กัดบน Morning occlusal guide หลังถอด MAD ในตอนเช้าเพื่อช่วยให้ขากรรไกร และการสบฟัน กลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม
moring occlusal guide
  • ปวดกล้ามเนื้อ & เสียงผิดปกติที่ข้อต่อขากรรไกร
    • บริหารขากรรไกรล่างโดยออกแรงต้านนิ้วมือที่ออกแรงดันทั้งแนวดิ่งและแนวราบ
    • รักษาอาการแบบประคับประคอง เช่น ประคบอุ่น พักผ่อน การนวด และทานยาแก้ปวด
  • น้ำลายไหลมาก
    • เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายจะปรับตัวได้ดีขึ้น
  • ภาวะปากแห้ง
    • หลีกเลี่ยงอาหารหรือสิ่งที่ทำให้ปากแห้ง
    • ปรับเครื่องมือเพื่อให้ริมฝีปากปิดได้สนิทขึ้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ทพญ.ศิรดา ไชยศิริ

ทพญ.ศิรดา ไชยศิริ
ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเซียล

ทพญ.ศิรดา ไชยศิริ

SIRADA CHAISIRI,DDS
Specialty
  • ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเซียล

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเซียล ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 09:00 - 15:00 (อาทิตย์ 3, 4)

โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

Periodontitis and treatment
โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา
โรคปริทันต์อักเสบ คือ โรคที่เกิดการอักเสบของอวัยวะรอบๆ รากฟันซึ่งมีหน้าที่รองรับฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟันและกระดูกเบ้าฟัน

null

รูป สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ เนื่องจากการทำความสะอาดฟันที่ไม่เหมาะสม โดยเมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุจากน้ำลาย คราบจุลินทรีย์ที่สะสมนี้ก็จะแข็งเป็นหินน้ำลาย (หินปูน) ซึ่งหินน้ำลายเหล่านี้จะเป็นที่ยึดเกาะของคราบจุลินทรีย์ต่อไป

null

รูป ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง
ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่และโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดี เป็นปัจจัยส่งเสริมให้โรคปริทันต์มีความรุนแรงมากขึ้นได้
อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
เมื่อเกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ขึ้น จะทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบซึ่งเหงือกจะมีลักษณะบวมแดง มีเลือดออกง่าย ซึ่งหากปล่อยให้การอักเสบดำเนินต่อไปก็จะทำให้เกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบ โดยเกิดการทำลายอวัยวะรอบรากฟันเริ่มเกิดร่องลึกปริทันต์ อาจมีหนอง ฟันโยกในเวลาต่อมา และอาจเกิดการสูญเสียฟันหลายๆตำแหน่งได้ในอนาคต

null

รูป อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
การป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ
แปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม ด้วยไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคปริทันต์อักเสบ พบทันตแพทย์เพื่อตรวจและดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน
ขั้นตอนในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. ขั้นตอนการควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบ (Systematic Phase) เช่นการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน หรืองดการสูบบุหรี่
  2. ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น (Initial Phase) ด้วยการขูดหินน้ำลาย การเกลารากฟันและการแปรงฟันให้สะอาด รวมถึงทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม
    null

    รูป ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น
  3. ขั้นตอนการรักษาระยะแก้ไข (Corrective Phase) เพื่อกำจัดพยาธิสภาพที่อาจหลงเหลืออยู่หลังรักษาขั้นต้นสมบูรณ์แล้ว ด้วยการทำศัลยกรรมปริทันต์หรือการบูรณะอื่นๆ
  4. ขั้นตอนการรักษาเพื่อคงสภาพอวัยวะปริทันต์ให้ปราศจากโรค (Maintenance Phase) โดยทันตแพทย์จะนัดเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 3-6 เดือน
คำแนะนำหลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. หลังการทำหัตถการอาจมีเลือดซึมจากขอบเหงือกได้เล็กน้อย แนะนำหลีกเลี่ยงการบ้วนเลือดและน้ำลายตลอดวันที่ทำหัตถการ
  2. หลังขูดหินน้ำลายหรือการเกลารากฟัน อาจเกิดการเสียวฟันขึ้นได้ แต่โดยทั่วไปอาการดังกล่าวจะดีขึ้นได้ในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
  3. อาจมีอาการปวดเหงือกได้บ้างหลังจากการทำหัตถการ สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
  4. หากมีเลือดออกจากร่องเหงือกมาก เบื้องต้นแนะนำใช้ผ้าก๊อซกดเหงือกครั้งละ 30 นาที และหากพบว่าเลือดยังไม่หยุดให้กลับมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง
  5. สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ปกติ

null

รูป หลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
อัตราค่าบริการทันตกรรม
รายการ
ค่าบริการ
ขูดหินปูน
900 - 1,500.-
เกลารากฟัน
1,500 - 2,000.-
(ต่อครั้ง)
ศัลยกรรมปริทันต์
3,000 - 5,000.-
เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
150.-
(ต่อฟิล์ม)
เอกซเรย์พานอรามิก
800.-
(ต่อฟิล์ม)

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

Tooth Replacement
การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ
ฟัน มีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้การออกเสียงเป็นไปได้อย่างชัดเจนทั้งยังช่วยรักษาโครงสร้างของใบหน้า ริมฝีปากให้มีความสมดุลได้อีกด้วย หากต้องสูญเสียฟันธรรมชาติไปโดยมิได้ใส่ฟันเทียมทดแทน ย่อมจะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารต่ำลง อาจทำให้ออกเสียงได้ไม่ชัดและความมั่นใจถูกลดทอนลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้
ถอนฟันไปแล้ว แต่ไม่ใส่ฟันทดแทนได้หรือไม่?
โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ฟัน ทดแทนในทุกๆตำแหน่ง หลังจากที่ถอนฟันไปแล้ว ประมาณ 1 เดือน เนื่องจากหากไม่ได้รับการใส่ฟันทดแทนอาจทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงและฟันคู่สบล้มหรือยื่นยาวมายังช่องว่าง ที่เคยได้รับการถอน (ดังรูป)
null

รูป ฟันล้ม
ส่งผลให้เกิดการสบกระแทก เศษอาหารติด และเกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบและอาจจำเป็นต้องถอนฟันซี่ใกล้เคียงในเวลาต่อมา แต่อย่างไรก็ตามในบางกรณีเช่น ฟันที่ถูกถอนนั้นเป็นตำแหน่งของฟันคุด ฟันเกิน ฟันฝัง ฟันที่ถอนเพื่อจัดฟัน ฟันผิดตำแหน่ง หรือเป็นตำแหน่งที่ ฟันซี่นั้นไม่มีคู่สบและยังเหลือฟันมากพอที่จะสามารถเคี้ยวอาหารได้ดี อาจไม่จำเป็นต้องใส่ฟันทดแทน
การเตรียมสภาวะช่องปากให้พร้อมก่อนการใส่ฟันทดแทน
เพื่อให้ฟันเทียมนั้นสามารถใช้งานได้ยาวนานที่สุด และรองรับพอดีกับฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องซ่อมหรือท่าบ่อยใหม่ๆ ในอนาคต ทันตแพทย์จะวางแผนเตรียมช่องปากก่อนเริ่มขั้นตอนฟันเทียม
ขั้นตอนและวิธีการเตรียมช่องปาก
ในแต่ละรายล้วนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับสภาวะช่องปากในขณะนั้น ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่การอุดฟัน รักษาโรคเหงือก รักษารากฟัน ถอนฟันบางซี่ที่ไม่อาจบูรณะได้ ตกแต่งกระดูกที่คมหรือปลูกกระดูกก่อนฝังรากฟันเทียม เป็นต้น
ฟันเทียมทดแทนชนิดต่างๆ
1. ฟันเทียมชนิดถอดได้
null

รูป 1.1 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานโลหะ)
1.1 ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • การเติมฟัน ในอนาคตทำได้ยากกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • null

    รูป 1.2 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานอะคริลิก/พลาสติก)
    1.2 ฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องผ่าตัด ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
  • สามารถเติมได้หากต้องถอนฟันในอนาคต
  • ฐานฟันปลอมมีความหนามากกว่าโลหะ
  • อาจมี โอกาสแตกหักได้หากทำตกหล่น
  • 2. ฟันเทียมชนิดติดแน่น
    null

    รูป 2.1 รากฟันเทียม
    2.1 รากฟันเทียม (Dental Implant)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟันซี่ใดๆ
  • ให้ความรู้สึกใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • สามารถใช้เป็นฐานเพิ่มการยึด ติดของฟันเทียมถอดได้ทั้งปากได้
  • ต้องมีกระดูกรองรับการฝังรากฟันเทียมที่มาก เพียงพอ
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • การรักษามี 2-3 ขั้นตอนในช่วงเวลาประมาณ 3-6 เดือน
  • null

    รูป 2.2
    2.2 ครอบฟัน (Crown)/สะพานฟัน(Bridge)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • วัสดุมีให้เลือกหลากหลายชนิด มีความแข็งแรงทนทาน มักใช้เพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาแล้ว หรือฟันที่ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่า ฟันเทียมชนิดถอดได้
  • ต้องได้รับการกรอตกแต่งฟันซี่นั้นๆ หรือฟันข้างเคียง
  • การดูแลและท่าความสะอาด ฟันเทียมชนิดต่างๆ
    ฟันเทียมชนิดติดแน่นสามารถแปรงฟันใช้ไหมขัดฟันและแปรงซอกฟันได้ในรายที่ใส่ครอบฟัน (หรือรากฟันเทียม) หากมีสะพานฟันร่วมด้วยแนะนําใช้ Superfloss หรือไหมขัดฟันร่วมกับ Floss Threader ทำความสะอาดใต้สะพานฟันเพราะแม้จะได้รับการครอบฟันแล้ว แต่ฟันก็ยังจะสามารถผุต่อหรือเกิดโรคปริทันต์ต่อได้ในอนาคต
    ฟันเทียมชนิดถอดได้
    • ถอดออกในเวลากลางคืน และแช่ในน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ ไม่ใช้น้ำเย็นจัด/ร้อนจัด
    • แปรงด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน ไม่ใช้ยาสีฟัน ทำความสะอาด เพราะผงขัดอาจทำให้ฐานฟัน ปลอมถูกขีดข่วนได้
    • ใช้งานอย่างระวังมิให้ตกหล่น เนื่องจากสามารถ แตกหักได้
    • หลังทานอาหารทุกครั้งแนะนำาถอดล้างทำความ สะอาด และบ้วนปาก
    • ตรวจเช็คฟันปลอมเป็นระยะทุกๆ 6 เดือน
    • สามารถใช้เม็ดฟูทำความสะอาดฟันปลอมได้
    • สามารถใช้กับกาวยึดติดฟันปลอมได้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    ฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติกเริ่มต้น
    3,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ
    8,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมทั้งปาก (ต่อชิ้น)
    10,000 - 15,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ครอบฟัน (ขึ้นกับชนิดวัสดุ)
    10,000 - 20,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เดือยฟัน
    4,500 - 5,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    รากฟันเทียม(ขึ้นกับยี่ห้อวัสดุ)
    55,000-75,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เอกซเรย์ฟิล์มเล็ก (ฟิล์มละ)
    150 บาท
    เอกซเรย์พานอรามิค (ฟิล์มละ)
    800 บาท

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    ทพญ.ศศิวรรณ เพ็งชุ่ม

    ทพญ.หญิงศศิวรรณ เพ็งชุ่ม
    ทันตกรรมรักษารากฟัน

    ทพญ.ศศิวรรณ เพ็งชุ่ม

    SASIWAN PENGCHUM, DDS.
    Specialty
    • ทันตกรรมรักษารากฟัน

    Language Spoken
    • อังกฤษ, ไทย

    ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
    • ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา หมายเหตุ
    TUE 11:00 - 18:00 อังคารที่ 2, 4
    SAT 10:00 - 17:00 เสาร์ที่ 1, 3

    ทพ.ดร.ชิษณุ แจ้งศิริพันธ์

    ทพ.ดร.ชิษณุ แจ้งศิริพันธ์
    ทันตกรรมจัดฟัน/ทันตเวชศาสตร์การนอนหลับ

    ทพ.ดร.ชิษณุ แจ้งศิริพันธ์

    CHIDSANU CHANGSIRIPUN, DDS, PhD.
    Specialty
    • ทันตกรรมจัดฟัน (Orthodontics)
    • ทันตเวชศาสตร์การนอนหลับ (Dental Sleep Medicine)

    Language Spoken
    • อังกฤษ, ไทย, ญี่ปุน

    ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
    • ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขาทันตกรรมจัดฟัน ทันตแพทยสภา
    • ดุษฎีบัณฑิต ทันตกรรมจัดฟัน, Tokyo Medical and Dental University
    • American Board of Dental Sleep Medicine, USA

    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา หมายเหตุ
    SAT 13:30 - 18:00 สัปดาห์ที่ 1,3

    ทพ.ดร.ชาญวิทย์ ประพิณจำรูณ

    ทพ.ดร.ชาญวิทย์ ประพิณจำรูณ
    ทันตกรรมเวชศาสตร์ช่องปาก

    ทพ.ดร.ชาญวิทย์ ประพิณจำรูณ

    CHANWIT PRAPINJUMRUNE, DDS.
    Specialty
    • ทันตกรรมเวชศาสตร์ช่องปาก

    Language Spoken
    • อังกฤษ, ไทย

    ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
    • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • อนุมัติบัตร สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก,TMDU, Japan

    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา หมายเหตุ
    SAT 13:30-18:00 เสาร์ที่ 1,3

    ทพญ.ภิญญดา วิทยาสุข

    ทพญ.ภิญญดา วิทยาสุข
    ทันตศัลยกรรม

    ทพญ.ภิญญดา วิทยาสุข

    PINYDA VIDTAYASUK, DDS.
    Specialty
    • ทันตศัลยกรรม

    Language Spoken
    • อังกฤษ, ไทย

    ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
    • Doctor of Dental Surgery ( honours ) , Chulalongkorn University
    • Grad.dip.in Clin.Sc. (Oral and Maxillofacial Surgery) , Chulalongkorn University
    • Certificate of Completion in Implant Dentistry,The University of Hong Kong

    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา
    TUE 09:30-17:00
    WED 09:30-17:00
    FRI 09:30-17:00

    จัดฟัน ช่วยเสริมบุคลิกภาพ และลดปัญหาช่องปาก

    จัดฟัน

    Orthodontics

    มาเสริมบุคลิกภาพ และลดปัญหาช่องปากกันเถอะ

     

     

     

     

     

     

     

    จัดฟัน เป็นการแก้ไขฟันและขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่่ถูกต้อง เพื่อการบดเคี้ยวอาหารให้มีประสิทธิภาพ ลดการเกิดฟันผุหรือโรคเหงือก

    เพราะฟันที่เรียงตัวผิดปกติ ยากต่อการทำความสะอาด การจัดฟันช่วยเสริมบุคลิกภาพจากการมีที่ฟันเรียงกันสวยงาม

    ซึ่งอาจบางรายมีรูปหน้าที่น่าพอใจ สุขภาพช่องปากแข็งแรงขึ้น  การจัดฟันใช้เวลาประมาณ 2 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา

    ปรึกษาทีมทันตแพทย์ โรงพยาบาลบางโพ

    ติดเครื่องมือครั้งแรก 7,500 บาท

    จากนั้น ผ่อนชำระ เบาๆ เดือนละ  1,500-2,000  บาท

     

    สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายล่วงหน้าที่
    คลินิกทันตกรรม อาคาร 2 ชั้น 3
    โทรศัพท์ 0-2587-0144 ต่อ  2322, 2331

    ทีมทันตแพทย์ทุกสาขา มาตรฐานโรงพยาบาล ราคาคลินิก

    #ทันตกรรม บางโพ