โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)

โรคอารมณ์สองขั้ว

Bipolar Disorder

 

30 มีนาคม “วันไบโพลาร์โลก” (World bipolar day) ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาที่ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ต้องพบเจอ สร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนทั่วไปว่าอาการของโรคนี้เป็นอย่างไร และช่วยกันลดความเข้าใจหรือความเชื่อผิดๆ ที่สร้างแผลทางใจต่อผู้ป่วย โรคไบโพลาร์จัดเป็นโรคในกลุ่มจิตเวช ที่เกี่ยวข้องกับด้านอารมณ์ สามารถพบได้สูงถึง 1.5-5% ของจำนวนประชากร มักพบได้บ่อยในช่วงอายุ 15-19 ปี และรองลงมาคืออายุ 20-24 ปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี และยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้สูงถึง 70-90%  กรมสุขชภาพจิต
โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
หรือที่รู้จักกันดีว่า “โรคไบโพลาร์” โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์สองขั้วสลับไปมาอย่างรุนแรง คือช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ (Mania) กับ ช่วงอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ (Depression) โดยในแต่ละช่วงอารมณ์อาจอยู่นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยมีช่วงอารมณ์ปกติคั่นกลางได้ สาเหตุสำคัญเกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจถูกกระตุ้นในผู้ที่มีความเครียดสะสม หรืออดนอนบ่อยๆ ร่วมด้วย การแสดงออกทางอาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1. ภาวะตกต่ำในอารมณ์ (Depressive Episode)
อารมณ์ที่โดดเดี่ยว และเศร้าเสมอไปกับ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ มักมีอาการ
  1. มีอาการซึมเศร้า เก็บตัว เสียใจง่าย ร้องไห้ง่าย
  2. มีปัญหาด้านการนอน นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไป
  3. มีปัญหาด้านการกิน กินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป
  4. สมาธิลดลง ไม่สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้
  5. วิตกกังวลต่อสิ่งรอบตัว มองโลกในแง่ร้าย หรือมีความสุขทางกายลดลง
  6. ขาดความสนใจในกิจวัตรประจำวัน
  7. รู้สึกเบื่อ ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่สนใจกิจกรรมต่างๆ หรือขาดความสุขในกิจกรรมที่เคยชอบ
  8. รู้สึกผิดหวัง ไม่มีความสุข มีความคิดเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ
2. ภาวะขึ้นสูงในอารมณ์ (Manic Episode)
อารมณ์ที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและมีพลังงานมาก อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania) ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ มักมีอาการ
  1. มักคิดว่าตนเองสำคัญ มั่นใจในตัวเองมากขึ้น หรือความรู้สึกมีพลังงานเป็นพิเศษ
  2. นอนน้อยกว่าปกติมาก โดยไม่มีอาการเพลีย หรือไม่นอนเลย
  3. คิดเร็ว พูดเร็ว พูดมากกว่าปกติ
  4. ทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในช่วงเวลานั้น
  5. ภาวะในการตัดสินใจไม่ดี หรือการประสบความสำเร็จที่เกินไป
  6. โต้ตอบต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ไม่มีเหตุผล
  7. ความเสี่ยงทางพฤติกรรมหรือการพึ่งพาตัวเองที่มีความเสี่ยงสูง
สาเหตุของการเกิดโรค
โรคไบโพลาร์เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อสมดุลของสารเคมีในสมองและพฤติกรรมของร่างกาย ได้แก่
  1. พันธุกรรมความเสี่ยงในการเป็นโรคไบโพลาร์สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ หากคุณมีคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคนี้ คุณมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์สูงกว่าคนทั่วไป
  2. สภาพแวดล้อมสภาพแวดล้อมรอบตัวเช่น ความเครียดในชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติดอื่น ๆ ก็อาจมีผลในการเสริมสร้างความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์
  3. ภาวะทางจิตใจการเลี้ยงดูในวัยเด็กหรือวิกฤตในชีวิตที่ประสบกับเหตุการณ์ทางจิตใจที่รุนแรง เช่น การสูญเสียคนในครอบครัว การเหยียดหยาม หรือการเจ็บป่วยร้ายแรง อาจมีผลต่อการพัฒนาของโรคไบโพลาร์
  4. ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนิน ดอปามีน และนอร์อะดรีนาลีน มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์และความผิดปกติในระดับของสารเคมีเหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของโรคไบโพลาร์
  5. โรคร่วมอื่นบางครั้งโรคไบโพลาร์อาจเกิดขึ้นพร้อมกับโรคร่วมอื่น ได้แก่ โรคทางระบบประสาท เช่น โรคลมชัก โรคหลอดเลือดสมอง โรคไมเกรน เนื้องอกสมอง อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน โรคติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์ การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง โรคเกี่ยวกับระบบผู้คุ้มกัน เช่น SLE
วิธีรักษา
โรคไบโพลาร์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาได้ตามอาการ เน้นการควบคุมอารมณ์และลดความรุนแรงของโรค เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว
  1. การรักษาด้วยยาใช้ยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองให้กลับสู่สภาวะปกติ ทำให้อารมณ์มั่นคง สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น หากผู้ป่วยกังวลกับผลข้างเคียงของยา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ และแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแต่ห้ามหยุดยาเอง เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมามีอาการของโรคซ้ำ หรือมีอาการของโรครุนแรงกว่าเดิม ให้ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด และมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  2. การรักษาด้วยจิตบำบัด(Psychotherapy)เป็นการทำจิตบำบัดด้วยการพูดคุยกับผู้ที่มีอาการของโรคไบโพลาร์โดยตรงกับจิตแพทย์ และ/หรือนักจิตวิทยาเพื่อวิเคราะห์สภาพจิตใจ สาเหตุของปัญหา และหาทางออกให้กับปัญหาอันเป็นที่มาของความทุกข์ในใจ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะในการเผชิญกับปัญหา เพื่อให้สามารถเอาชนะปัญหา และอุปสรรคในชีวิตได้
โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายจากอาการผิดปกติและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ หากได้รับการรักษา การลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด ไม่ควรอดนอน และไม่ควรใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์ และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
หากคุณหรือคนรู้จักมีความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อการประเมินอาการและแนวทางการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

โปรแกรมและแพ็คเกจ

วัณโรคระยะแฝง

วัณโรคระยะแฝง

Latent TB
วัณโรคคืออะไร
วัณโรค คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งก่อให้เกิดอาการผิดปกติได้หลายระบบของร่างกายขึ้นกับอวัยวะที่ติดเชื้อ แต่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อในปอด
ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง คืออะไร
ผู้ที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้ ไม่มีอาการผิดปกติ และไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
ทำไมเราถึงต้องให้ความสนใจผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง
ผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงประมาณร้อยละ 10-20 จะเกิดการดำเนินโรคต่อจนเข้าสู่ระยะเป็นวัณโรค นั่นคือ มีเอกซเรย์ปอดผิดปกติ และอาจมีอาการ รวมทั้งสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี ยิ่งมีโอกาสเป็นวัณโรคมากขึ้น และเป็นรุนแรง
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยวัณโรคระยะแฝง คือใคร
1. ผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค แบ่งเป็น
  1. ผู้สัมผัสร่วมบ้าน คือ บุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค
  2. ผู้สัมผัสใกล้ชิด คือ บุคคลที่ไม่ใช่ผู้อาศัยร่วมบ้าน แต่อยู่ร่วมกันในพื้นที่เฉพาะ โดยนับเวลาเฉลี่ย 8 ชั่วโมง/วัน หรือ 120 ชั่วโมง/เดือน ในช่วง 3 เดือนก่อนผู้ป่วยมีอาการหรือก่อนการวินิจฉัย
2 ผู้ติดเชื้อ HIV รวมถึงโรคเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ เช่น ได้รับยากดภูมิ
การวินิจฉัยวัณโรคระยะแฝง ทำได้อย่างไร
  1. การทดสอบทางผิวหนังด้วยทูเบอร์คูลิน โดยการฉีดโปรตีนสกัดจากเชื้อวัณโรค เรียกว่า PPD (purified protein derivative) เข้าในชั้นใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขน หลังจากนั้น 48-72 ชั่วโมงจะทำการวัดรอยนูนบริเวณที่ฉีดยา
  2. การทดสอบ Interferon-gamma release assays (IGRA) เป็นวิธีการทดสอบที่ใช้วิธีการวัดปริมาณ interferon-gamma เมื่อมีการติดเชื้อวัณโรคขึ้นในร่างกาย
โดยที่ความไวและความจำเพาะของ IGRA จะเท่ากับหรือดีกว่าการทดสอบทูเบอร์คูลิน รวมถึงลดการเกิดผลบวกลวงได้
ถ้าตรวจพบว่ามีการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อ
  1. แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการกินยาต้านวัณโรคตามสูตรการรักษาวัณโรคระยะแฝง ประกอบด้วยยา 1-2 ชนิด ระยะเวลา 3-9 เดือน ขึ้นกับสูตรยาที่แพทย์เลือก พบว่าการกินยาต้านวัณโรคสามารถลดการดำเนินโรคจากระยะแฝงไปสู่ระยะเป็นวัณโรคได้ประมาณร้อยละ 70
  2. แพทย์อาจพิจารณาไม่ให้ยาต้านวัณโรค แต่ใช้การติดตามอาการ และเอกซเรย์ปอดทุก 6 เดือน จนครบ 2 ปี เนื่องจากพบว่า ผู้สัมผัสโรคส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดการดำเนินโรคจนเป็นวัณโรค
การจะพิจารณาให้การรักษาต่อด้วยวิธีใด ขึ้นอยู่กับการประเมินประโยชน์ในการลดโอกาสป่วยเป็นวัณโรค ควบคู่ไปกับความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงจากยา อธิบายข้อดีข้อเสีย และให้ผู้ป่วยตัดสินใจร่วมกับแพทย์
อ้างอิง : แนวทางเวชปฏิบัติวัณโรคระยะแฝง พ.ศ.2566

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

Periodontitis and treatment
โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา
โรคปริทันต์อักเสบ คือ โรคที่เกิดการอักเสบของอวัยวะรอบๆ รากฟันซึ่งมีหน้าที่รองรับฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟันและกระดูกเบ้าฟัน

null

รูป สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ เนื่องจากการทำความสะอาดฟันที่ไม่เหมาะสม โดยเมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุจากน้ำลาย คราบจุลินทรีย์ที่สะสมนี้ก็จะแข็งเป็นหินน้ำลาย (หินปูน) ซึ่งหินน้ำลายเหล่านี้จะเป็นที่ยึดเกาะของคราบจุลินทรีย์ต่อไป

null

รูป ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง
ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่และโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดี เป็นปัจจัยส่งเสริมให้โรคปริทันต์มีความรุนแรงมากขึ้นได้
อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
เมื่อเกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ขึ้น จะทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบซึ่งเหงือกจะมีลักษณะบวมแดง มีเลือดออกง่าย ซึ่งหากปล่อยให้การอักเสบดำเนินต่อไปก็จะทำให้เกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบ โดยเกิดการทำลายอวัยวะรอบรากฟันเริ่มเกิดร่องลึกปริทันต์ อาจมีหนอง ฟันโยกในเวลาต่อมา และอาจเกิดการสูญเสียฟันหลายๆตำแหน่งได้ในอนาคต

null

รูป อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
การป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ
แปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม ด้วยไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคปริทันต์อักเสบ พบทันตแพทย์เพื่อตรวจและดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน
ขั้นตอนในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. ขั้นตอนการควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบ (Systematic Phase) เช่นการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน หรืองดการสูบบุหรี่
  2. ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น (Initial Phase) ด้วยการขูดหินน้ำลาย การเกลารากฟันและการแปรงฟันให้สะอาด รวมถึงทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม
    null

    รูป ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น
  3. ขั้นตอนการรักษาระยะแก้ไข (Corrective Phase) เพื่อกำจัดพยาธิสภาพที่อาจหลงเหลืออยู่หลังรักษาขั้นต้นสมบูรณ์แล้ว ด้วยการทำศัลยกรรมปริทันต์หรือการบูรณะอื่นๆ
  4. ขั้นตอนการรักษาเพื่อคงสภาพอวัยวะปริทันต์ให้ปราศจากโรค (Maintenance Phase) โดยทันตแพทย์จะนัดเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 3-6 เดือน
คำแนะนำหลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. หลังการทำหัตถการอาจมีเลือดซึมจากขอบเหงือกได้เล็กน้อย แนะนำหลีกเลี่ยงการบ้วนเลือดและน้ำลายตลอดวันที่ทำหัตถการ
  2. หลังขูดหินน้ำลายหรือการเกลารากฟัน อาจเกิดการเสียวฟันขึ้นได้ แต่โดยทั่วไปอาการดังกล่าวจะดีขึ้นได้ในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
  3. อาจมีอาการปวดเหงือกได้บ้างหลังจากการทำหัตถการ สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
  4. หากมีเลือดออกจากร่องเหงือกมาก เบื้องต้นแนะนำใช้ผ้าก๊อซกดเหงือกครั้งละ 30 นาที และหากพบว่าเลือดยังไม่หยุดให้กลับมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง
  5. สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ปกติ

null

รูป หลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
อัตราค่าบริการทันตกรรม
รายการ
ค่าบริการ
ขูดหินปูน
900 - 1,500.-
เกลารากฟัน
1,500 - 2,000.-
(ต่อครั้ง)
ศัลยกรรมปริทันต์
3,000 - 5,000.-
เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
150.-
(ต่อฟิล์ม)
เอกซเรย์พานอรามิก
800.-
(ต่อฟิล์ม)

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

Tooth Replacement
การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ
ฟัน มีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้การออกเสียงเป็นไปได้อย่างชัดเจนทั้งยังช่วยรักษาโครงสร้างของใบหน้า ริมฝีปากให้มีความสมดุลได้อีกด้วย หากต้องสูญเสียฟันธรรมชาติไปโดยมิได้ใส่ฟันเทียมทดแทน ย่อมจะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารต่ำลง อาจทำให้ออกเสียงได้ไม่ชัดและความมั่นใจถูกลดทอนลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้
ถอนฟันไปแล้ว แต่ไม่ใส่ฟันทดแทนได้หรือไม่?
โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ฟัน ทดแทนในทุกๆตำแหน่ง หลังจากที่ถอนฟันไปแล้ว ประมาณ 1 เดือน เนื่องจากหากไม่ได้รับการใส่ฟันทดแทนอาจทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงและฟันคู่สบล้มหรือยื่นยาวมายังช่องว่าง ที่เคยได้รับการถอน (ดังรูป)
null

รูป ฟันล้ม
ส่งผลให้เกิดการสบกระแทก เศษอาหารติด และเกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบและอาจจำเป็นต้องถอนฟันซี่ใกล้เคียงในเวลาต่อมา แต่อย่างไรก็ตามในบางกรณีเช่น ฟันที่ถูกถอนนั้นเป็นตำแหน่งของฟันคุด ฟันเกิน ฟันฝัง ฟันที่ถอนเพื่อจัดฟัน ฟันผิดตำแหน่ง หรือเป็นตำแหน่งที่ ฟันซี่นั้นไม่มีคู่สบและยังเหลือฟันมากพอที่จะสามารถเคี้ยวอาหารได้ดี อาจไม่จำเป็นต้องใส่ฟันทดแทน
การเตรียมสภาวะช่องปากให้พร้อมก่อนการใส่ฟันทดแทน
เพื่อให้ฟันเทียมนั้นสามารถใช้งานได้ยาวนานที่สุด และรองรับพอดีกับฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องซ่อมหรือท่าบ่อยใหม่ๆ ในอนาคต ทันตแพทย์จะวางแผนเตรียมช่องปากก่อนเริ่มขั้นตอนฟันเทียม
ขั้นตอนและวิธีการเตรียมช่องปาก
ในแต่ละรายล้วนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับสภาวะช่องปากในขณะนั้น ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่การอุดฟัน รักษาโรคเหงือก รักษารากฟัน ถอนฟันบางซี่ที่ไม่อาจบูรณะได้ ตกแต่งกระดูกที่คมหรือปลูกกระดูกก่อนฝังรากฟันเทียม เป็นต้น
ฟันเทียมทดแทนชนิดต่างๆ
1. ฟันเทียมชนิดถอดได้
null

รูป 1.1 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานโลหะ)
1.1 ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • การเติมฟัน ในอนาคตทำได้ยากกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • null

    รูป 1.2 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานอะคริลิก/พลาสติก)
    1.2 ฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องผ่าตัด ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
  • สามารถเติมได้หากต้องถอนฟันในอนาคต
  • ฐานฟันปลอมมีความหนามากกว่าโลหะ
  • อาจมี โอกาสแตกหักได้หากทำตกหล่น
  • 2. ฟันเทียมชนิดติดแน่น
    null

    รูป 2.1 รากฟันเทียม
    2.1 รากฟันเทียม (Dental Implant)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟันซี่ใดๆ
  • ให้ความรู้สึกใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • สามารถใช้เป็นฐานเพิ่มการยึด ติดของฟันเทียมถอดได้ทั้งปากได้
  • ต้องมีกระดูกรองรับการฝังรากฟันเทียมที่มาก เพียงพอ
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • การรักษามี 2-3 ขั้นตอนในช่วงเวลาประมาณ 3-6 เดือน
  • null

    รูป 2.2
    2.2 ครอบฟัน (Crown)/สะพานฟัน(Bridge)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • วัสดุมีให้เลือกหลากหลายชนิด มีความแข็งแรงทนทาน มักใช้เพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาแล้ว หรือฟันที่ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่า ฟันเทียมชนิดถอดได้
  • ต้องได้รับการกรอตกแต่งฟันซี่นั้นๆ หรือฟันข้างเคียง
  • การดูแลและท่าความสะอาด ฟันเทียมชนิดต่างๆ
    ฟันเทียมชนิดติดแน่นสามารถแปรงฟันใช้ไหมขัดฟันและแปรงซอกฟันได้ในรายที่ใส่ครอบฟัน (หรือรากฟันเทียม) หากมีสะพานฟันร่วมด้วยแนะนําใช้ Superfloss หรือไหมขัดฟันร่วมกับ Floss Threader ทำความสะอาดใต้สะพานฟันเพราะแม้จะได้รับการครอบฟันแล้ว แต่ฟันก็ยังจะสามารถผุต่อหรือเกิดโรคปริทันต์ต่อได้ในอนาคต
    ฟันเทียมชนิดถอดได้
    • ถอดออกในเวลากลางคืน และแช่ในน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ ไม่ใช้น้ำเย็นจัด/ร้อนจัด
    • แปรงด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน ไม่ใช้ยาสีฟัน ทำความสะอาด เพราะผงขัดอาจทำให้ฐานฟัน ปลอมถูกขีดข่วนได้
    • ใช้งานอย่างระวังมิให้ตกหล่น เนื่องจากสามารถ แตกหักได้
    • หลังทานอาหารทุกครั้งแนะนำาถอดล้างทำความ สะอาด และบ้วนปาก
    • ตรวจเช็คฟันปลอมเป็นระยะทุกๆ 6 เดือน
    • สามารถใช้เม็ดฟูทำความสะอาดฟันปลอมได้
    • สามารถใช้กับกาวยึดติดฟันปลอมได้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    ฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติกเริ่มต้น
    3,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ
    8,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมทั้งปาก (ต่อชิ้น)
    10,000 - 15,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ครอบฟัน (ขึ้นกับชนิดวัสดุ)
    10,000 - 20,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เดือยฟัน
    4,500 - 5,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    รากฟันเทียม(ขึ้นกับยี่ห้อวัสดุ)
    55,000-75,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เอกซเรย์ฟิล์มเล็ก (ฟิล์มละ)
    150 บาท
    เอกซเรย์พานอรามิค (ฟิล์มละ)
    800 บาท

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด – 12 ปี

    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด - 12 ปี

    Oral health care for newborns - 12 years old
    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด-อายุ 12 ปี
    ฟันน้ำนม นอกจากมีหน้าที่ในการบดเคี้ยวและช่วยเสริมสร้างความมั่นใจแล้วยังช่วยทำให้ออกเสียงได้ชัดเจนและเป็นตัวช่วยให้ฟันแท้ขึ้นมาได้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
    กรณีที่ต้องสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดจึงทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นตามมาเกิดปัญหาซ้อนเกหรือหากฟันผุมากจนเกิดอาการปวดฟันทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กทางอ้อมได้
    การดูแลสุขภาพช่องปาก ระยะก่อนฟันน้ำนมขึ้น (0-6 เดือน)
    ผู้ปกครองสามารถใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดบริเวณ เหงือก ลิ้น และกระพุ่งแก้ม ไม่ควรปล่อยให้ลิ้นเป็นฝ้าขาวเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียได้
    null
    การจัดท่าในการทำความสะอาดฟันน้ำนมของเด็กอ่อน
    การดูแลสุขภาพช่องปากระยะฟันน้ำนมค่าดังขึ้น
    • ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี
      เลือกแปรงสีฟันขนนุ่มหน้าตัดตรงขนาด ที่เหมาะสมกับเด็กร่วมกับที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppmได้กรณีเสี่ยงผุสูง) แตะขนแปรงพอเปียก หรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร โดยให้ผู้ปกครองแปรงให้และเช็ดฟองออก
    null
    ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี : บีบยาสีฟันแตะขนแปรงพอเปียกหรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร
    • 3-6 ปี
      ผู้ปกครองบีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppm ได้กรณีเสี่ยงผุสูง)
      ขนาดเท่าความกว้างของแปรง หรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
      และช่วยแปรงฟันให้คอยเตือนให้บ้วนฟองยาสีฟันทิ้ง แต่ไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือเท่านั้น
    null
    3-6 ปี : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความกว้างของแปรงหรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
    • 6 ปีขึ้นไป
      บีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,450-1,500 ppm ขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน แปรงด้วย ตนเองอย่างน้อย 2-3 นาที หลังแปรงให้บ้วนฟองออก โดยไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือ (10 ml)
    null
    6 ปีขึ้นไป : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน
    ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
    null
    ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
    ข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันน้ำนม
    null
    Q หากพบฟันแท้ หน้าล่างขึ้นซ้อนหลังฟันน้ำนมดังรูป จำเป็นต้องรีบถอนฟันน้ำนมหรือไม่ ?
    A หากพบว่าฟันแท้ หน้าล่างนั้นขึ้นมาได้เกินครึ่งชีฟันแล้ว แต่ยังไม่พบว่ามีการโยกของฟันน้ำนม อาจจำเป็นต้องได้รับการถอน แต่หากฟันแท้ขึ้นได้เกินครึ่งที่ฟันและพบว่าฟันน้ำนมโยกมาก อาจปล่อยให้ฟันน้ำนมหลุดออกเองได้
    null
    Q หากพบว่าเด็กมีอาการปวดฟันน้ำนม ทานอาหารลำบาก จำเป็นต้องได้รับการถอนฟันหรือไม่ ?
    A ไม่เสมอไป เพราะหากทันตแพทย์ตรวจพบว่าฟันน้ำนมนั้นมีโครงสร้างตัวฟันที่เหลืออยู่มาก ประกอบกับรากฟันยังเหลือความยาวที่เหมาะสม จากภาพถ่ายรังสีฟันไม่โยกหรืออาจเป็นเวลาอีกนานกว่าที่ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะชิ้นได้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กสามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้ดี ทันตแพทย์อาจพิจารณาทำการรักษารากฟันน้ำนมและทำครอบฟันน้ำนมแทนการถอนฟัน เพื่อให้ฟันน้ำนมนั้นยังสามารถใช้บดเคี้ยวได้และเพื่อรอจนกว่าฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะเริ่มดันขึ้น และรากฟันน้ำนมซี่นั้นก็จะละลายและหลุดไปตามเวลา
    null
    Q ฟันน้ำนมห่าง หรือช้อนเก จะมีผลอย่างไร ต่อฟันแท้หรือไม่ ?
    A ช่วงวัย 2-6 ปี กว่าร้อยละ 60 พบได้ว่าฟันหน้าน้ำนมจะเรียงตัวห่างกัน ซึ่งมีประโยชน์ในการเตรียมที่ไว้ให้ฟันแท้ที่ขนาดใหญ่กว่านั้นขึ้นได้โดยไม่เบียดกัน แต่หากพบว่าชุดฟันน้ำนมมีลักษณะร้อนเก หรือชิดกันมาก อาจเกิดได้จากลักษณะฟันที่ไม่สัมพันธ์กับขากรรไกรซึ่งทำให้มีโอกาสที่ฟันแท้ที่ขึ้นมาอาจซ้อนเกได้ กรณีนี้จึงควรได้รับการติดตามการขึ้นของฟันแท้กับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    null
    Q หากลูกเลิกขวดนมช้า หรือทานนมแล้วนอนจะมีผล อย่างไรต่อฟันหรือไม่?
    A สมาคมทันตแพทย์สาหรับเด็กประเทศสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatric Dentistry) แนะนำให้เลิกขวดนมเมื่อเด็กอายุ 1 ปี - 1 ปีครึ่ง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยว/กลืนอาหารในระดับที่เหมาะสมกับวัย การพัฒนาทางกล้ามเนื้อ การพัฒนาทางด้านภาษาและการพัฒนาทางด้านอารมณ์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    เคลือบหลุมร่องฟัน
    300 - 500.-
    (ต่อซี่)
    ขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์
    600 - 800.-
    รักษารากฟันน้ำนมเด็ก
    2,500 - 3,000.-
    ครอบฟันเด็ก (SSC)
    2,000 - 2,500.-
    ถอนฟันน้ำนม(ต่อซี่)
    500 - 700.-
    (ต่อซี่)
    เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
    150.-
    (ต่อฟิล์ม)
    เอกซเรย์พานอรามิก
    800.-
    (ต่อฟิล์ม)
    อุดฟันน้ำนม
    600 - 1,000.-

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว
    การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นการเฝ้าระวัง ป้องกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็น โรคภัยที่มากับฤดูหนาวแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
    1. โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ
    (เช่น โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ โรคโควิด-19) แพร่กระจายผ่านละอองฝอย เสมหะและน้ำมูก จากการไอ จาม มักมีอาการไข้เฉียบพลัน ไอ หนาว ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตาแดง ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะหายได้เอง แต่กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ที่มีประวัติโรคเรื้อรัง กลุ่มเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรง ในกรณีที่สงสัยเป็น covid-19 ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที และหากผลเป็นบวกให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และเข้ารับการรักษา
    2. โรคติดต่อทางเดินอาหาร
    (เช่น โรคอุจจาระร่วงจากไวรัส) เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำ/น้ำแข็งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค (ตัวอบ่างเช่น ไวรัสก่อโรคทางเดินอาหาร) การรับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก หรือค้างมื้อ ภาชนะที่ใช้ไม่สะอาด โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ส่วนใหญ่อาจหายได้เอง แต่หากมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป อาจทำให้ช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ ป้องกันได้โดยการดูแลสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาดและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด
    3. โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ
    ในช่วงฤดูหนาว (โรคหัด) ติดต่อโดยการไอ จาม หรือพูดคุยระยะใกล้ชิด ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ใน 1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีอาการ มักมีไข้ น้ำมูกไหล จะไอแห้ง มีผื่นขึ้นลักษณะผื่นนูนแดง ติดกันเป็นปื้นๆ ไม่มียารักษาจำเพาะ แต่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคได้ โดยฉีดเข็มแรกอายุ 9-12 เดือน เข็มสองอายุ 1 ปีครึ่ง
    4. ภัยจากอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป
    มีโอกาสเกิดการเสียชีวิตขึ้น ทั้งในและนอกที่พักอาศัย จากการที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องห่มกันหนาวที่เพียงพอ ควรเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มเครื่องดื่มที่ให้ความอุ่น สวมใส่เครื่องนุ่งห่มกันหนาวที่เพียงพอ
    ข้อควรปฏิบัติในการดูแลรักษาสุขภาพในฤดูหนาว
    1. ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สะอาดปรุงสุกใหม่ ๆ ดื่มน้ำที่สะอาดหรือ น้ำต้มสุก น้ำบรรจุขวดที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ (เครื่องหมาย อย.) รวมทั้งเลือกซื้อน้ำแข็งที่สะอาด ไม่มีตะกอน ไม่ควรรับประทานน้ำแข็งที่ใช้แช่อาหารอื่น
    2. รักษาร่างกายให้อบอุ่น ในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง โดยการสวมเสื้อผ้าหลายๆ ชั้น เพื่อให้ร่างกาย อบอุ่น มีความต้านทานโรค
    3. ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    4. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด นาน 15-20 วินาที
    5. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยควรอยู่บ้าน พักรักษา ตัวให้หาย ไม่ควรเข้าไปในที่ชุมชน แต่หากเข้าไปในที่ชุมชนให้สวมหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ จาม
    6. สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ สะอาดอยู่เสมอ
    การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่น รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการป่วย และลดโอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิต

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วย “อัลตร้าซาวด์”

    การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วย “อัลตร้าซาวด์”

    Ultrasound screening pregnancy
    การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วย “อัลตร้าซาวด์”
    การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) ระหว่างการตั้งครรภ์มีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะการตรวจที่อายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ เนื่องจากเด็กตัวใหญ่ พอที่จะเห็นอวัยวะที่สำคัญได้เกือบทั้งหมด หากอายุครรภ์มากกว่า 22 สัปดาห์ กระดูกจะเริ่มหนาขึ้นทำให้ตรวจดูอวัยวะภายในได้ยากขึ้น
    การอัลตร้าซาวด์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์หรือ “แพทย์ MFM” (Maternal Fetal Medicine) ซึ่งมีความชำนาญสูงในการตรวจอัลตร้าซาวด์ทารกในครรภ์ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะเพิ่มโอกาสในการพบความผิดปกติของทารกในครรภ์
    การตรวจอัลตร้าซางด์ที่อายุครรภ์ 18-22 สัปอาห์ สามารถตรวจอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง กระดูกสันหลัง หัวใจ ตับ ไต และคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) ได้อีกด้วย รวมถึงการาตรวจดูรกและสายสะดือและปากมดลูก สิ่งผิดปกติบางอย่างอาจไม่สามารถตรวจได้ด้วยอัลตร้าซาวด์ เช่น ปานแดง ปานดำ การตรวจใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
    Ultrasound Screening Test
    ราคา
    3,500.-

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Baby Delivery Package

    Normal Delivery Pack […]

    PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

    แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

    ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

    ตรวจโรคติดต่อทางเพศส […]

    นมแม่ดีที่สุด

    นมแม่ดีที่สุด

    ฺBreastfeeding
    องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกด้วยองค์ประกอบด้านโภชนาการ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและยังมีเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งจากเซลล์จากแม่ รวมถึงแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกด้วย เด็กทารกที่เกิดใหม่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับเด็ก เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคจำนวนมากที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย การได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ทารกเติบโตได้สมบูรณ์แข็งแรง เหนือสิ่งอื่นใด ขณะที่แม่ให้นมจะต้องโอบกอดลูกไว้ข้างนอก แม่ลูกสบตากัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นวิธีสร้างสายใยความรักความผูกพันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งระหว่างแม่กับลูก
    ประโยชน์นมแม่ วัคซีนหยดแรกสำหรับลูกน้อย
    • สมอง โอกาสเพิ่มระดับ IQ 3.16 จุด ในทารกครบกำหนดและ 5.26 จุด ในทารกเกิดก่อนกำหนด
    • สายตา พัฒนาการมองเห็น สายตาคมชัด
    • หู ลดโอกาสเป็นโรคหูน้ำหนวก
    • ช่องปาก กรามล่างแข็งแรง ฟันเกน้อยลง เมื่อโตขึ้น
    • ไต แข็งแรงขับของเสียน้อยกว่า
    • ผิวพรรณ ลดโอกาสภูมิแพ้ผิวหนัง 42%
    • ระบบทางเดินปัสสาวะ โอกาสติดเชื้อน้อยกว่า
    • ระบบทางเดินอาหาร ลดโอกาสโรคท้องเสียและลำไส้อักเสบน้อยกว่า 64% การย่อยดี แทบไม่มีปัญหาท้องผูก
    • ระบบทางเดินหายใจ โอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ ปอดบวมน้อยกว่า ทารกกินนมผสม 60% และโรคหืด
    การเตรียมตัวเพื่อให้นมลูกอย่างมีประสิทธิภาพ
    หัวนมที่มีปัญหาควร ได้รับการแนะนำและ หาวิธีแก้ไข ตั้งแต่ช่วงเวลาที่มาฝากครรภ์ ดังเช่นกรณีต่อไปนี้
    วิธีแก้ไข
    1. Nipple Rolling โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับด้านข้างของหัวนมที่ติดกับลานนมยืดขึ้นและค้างไว้หรือนวดคลึงเบาๆทำซ้ำ 10 ครั้งวันละ 2 ครั้ง
    2. Hoffmann's Maneuver โดยให้วางหัวแม่มือชิดโคนหัวนม กดนิ้วพร้อมรูดจากฐานหัวนมในทิศทางซ้ายขวาออกเบาๆ เปลี่ยนเป็นวางในทิศบนล่างและดึงออกเบาๆ นับเป็น 1 ครั้ง ควรบริหารข้างละ 30 ครั้งหลังอาบน้ำ จะให้ผลดีในรายหัวนมบุ๋มเล็กน้อย
    3. การใช้ปทุมแก้ว (Breast shells หรือ Breast cups)โดยจะใส่ไว้ใต้ยกทรง ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เริ่มต้นด้วยใส่วันละ 2-3 ชั่วโมง เมื่อคุ้นเคยแล้วให้ใส่เฉพาะกลางวัน เมื่อคลอดลูกแล้วให้ใส่ก่อนให้นมบุตร 30 นาทีก่อนให้ลูกดูดนม
    4. Syringe Puller โดยดึงลูกสูบขึ้นประมาณ 1/3 ของกระบอกแล้ว นำด้านที่มีปีกมาครอบหัวนมให้สนิทดึงลูกสูบช้าๆจนเห็นหัวนมยื่นยาวออกมา
    5. Nipple Puller ใช้นิ้วมือบีบกระเปาะยางแล้วไปครอบหัวนมปล่อยนิ้วที่บีบกระเปาะเบาๆ
    ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี
    ใหัโดยเริ่มให้ลูกดูดนมโดยเร็วตั้งแต่หลังคลอดภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำนมออกเร็ว การให้ลูกดูดนมบ่อยๆภายใน 24 ชั่วโมงแรก หลังคลอด ลูกควรดูดนม 8-12 ครั้งและต้องให้ลูกดูดนมให้ถูกวิธี คือให้ลูกอมหัวนมให้ถึงลานนม สามารถป้องกันการเกิดนมคัดหรือหัวนมแตกได้
    ลูกดูดนมได้ดี ขึ้นอยู่กับท่าอุ้ม
    อาหารที่เหมาะสมสำหรับแม่ที่ให้นมลูก
    ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรทานแคลเซียมและธาตุเหล็กเสริม หลีกเลี่ยงการซื้อยาทานเองเพราะยาบางชนิดอาจผ่านเข้าน้ำนมและควรดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
    นวดเต้านม ให้ถูกวิธ
    เนื่องจากในเต้านมมีเนื้อเยื่อที่มีหลอดเลือด และน้ำเหลืองการนวดจะช่วยหมุนเวียนการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดกระตุ้นให้เนื้อเยื่อคลายตัวและส่งเสริมการระบายน้ำเหลือง ทำให้น้ำนมไหลได้ดี ลดการคัดตึงเต้านม
    วิธีช่วยกระตุ้นให้เกิด Milk Ejection Reflex
    ขั้นนตอนทั้งหมดควรใช้เวลาประมาณ 20- 30 นาที

    • บีบน้ำนมแต่ละข้างออก 5 - 7 นาที (หรือให้น้ำนมไหลน้อยลง)
    • กระตุ้นโดยการนวด ลูบและเขย่า
    • บีบน้ำนมออกอีกข้างละ 3 - 5 นาที
    • กระตุ้นโดยการนวด ลูบและเขย่า
    • บีบน้ำนมออกอีกข้างละ 2 - 3 นาที
    ข้อเสนอแนะในการให้นมลูก
    ตามนโยบายสาธารณะของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    • ช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
    • ช่วงอายุ 6-12 เดือนให้นมแม่ร่วมกับอาหารทารกตามวัย
    • ช่วงอายุ 1-2 ปี ให้อาหารตามวัย 3 มื้อร่วมกับนมแม่

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Baby Delivery Package

    Normal Delivery Pack […]

    PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

    แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

    ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

    ตรวจโรคติดต่อทางเพศส […]

    สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

    สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

    stomach cancer
    จะแยกได้อย่างไร? โรคกระเพาะหรือมะเร็งกระเพาะอาหาร
    สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการลักษณะใด วิธีป้องกัน และวิธีการรักษา สามารถไขข้อสงสัยขั้นเบื้องต้นได้จากวิดีโอนี้เลยค่ะ เพราะการป้องกันดีกว่าการรักษา #โรงพยาบาลบางโพ#มะเร็ง

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    มะเร็งลำไส้ใหญ่…….ภัยร้ายใกล้ตัว

    มะเร็งลำไส้ใหญ่.......ภัยร้ายใกล้ตัว

    Colorectal Cancer
    มะเร็งลำไส้ใหญ่
    ในประเทศไทยมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบในผู้ชายมากเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิงมากเป็นอันดับ 4 และเป็นชนิดของมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอันดับ 5 โดยหากนับรวมประชากรทั่วโลกมะเร็งลำไส้ใหญ่คร่าชีวิตผู้คนถึงปีละ 500,000 คนหรือคิดเป็นนาทีละ 1 คน ดังนั้นมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงเป็นโรคที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย
    มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่มีการตอบสนองต่อการรักษาที่ดี โดยเฉพาะหากรักษาในช่วงมะเร็งระยะต้นคือระยะที่ 1 จะมีการหายขาดจากโรคได้ถึง 74% อย่างไรก็ตามเหตุที่จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีผู้ป่วยมีอาการแล้ว ได้แก่ ท้องอืด ท้องผูก มีอุจจาระเป็นมูกหรือเป็นเลือด ขนาดของก้อนอุจจาระที่เล็กลง ซีด โลหิตจาง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลำได้ก้อนในท้อง ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวนี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ก็มักจะเข้าสู่ระยะท้ายแล้ว ซึ่งอัตราการหายขาดจากการรักษาก็จะลดลงเป็นอย่างมากคือเหลือเพียง 6% เท่านั้น ดังนั้นการพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นหรือตั้งแต่ระยะที่ยังไม่มีอาการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
    ในปัจจุบันแนวทางการรักษาต่างๆทั้งของประเทศสหรัฐอเมริกาและเอเชียนั้นต่างมีความเห็นตรงกันว่าบุคคลที่มีอายุมากกว่า 50 ปีทุกรายต้องได้รับการตรวจคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ตาม นอกจากนี้ผู้ที่ญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็อาจมีความจำเป็นที่ต้องตรวจเร็วกว่าเดิมอีก 10 ปี คือตั้งแต่อายุ 40 ปี สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองนั้นในปัจจุบันมีหลายวิธีได้แก่ การตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ถือเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะสามารถเห็นสภาพความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด และสามารถตัดติ่งเนื้อซึ่งอาจกลายเป็นมะเร็งในอนาคตได้ นอกจากนั้นจากหลักฐานทางการแพทย์พบว่าการส่องกล้องลำไส้ใหญ่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 53%
    โดยสรุป มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อย และรักษาให้หายขาดได้หากพบในระยะเริ่มต้น ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีที่เหมาะสม ได้แก่
    1. มีอาการที่อาจบ่งชี้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ ท้องอืด ท้องผูก มีอุจจาระเป็นมูกหรือเป็นเลือด ขนาดของก้อนอุจจาระที่เล็กลง ซีด โลหิตจาง เบื่ออาหาร
      อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลำได้ก้อนในท้อง
    2. อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยในกรณีที่มีญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจพิจารณาตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 40 ปี

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด

    กินอาหารอย่างไร ช่วยต้านหวัด

    เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงภูมิต้านทานต่ำ อาจนำมาสู่โรคหวัดได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ดี จะช่วยสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันหวัดได้ หากเริ่มมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจไม่ออก อาจมีอาการคันคอร่วมด้วย อาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะบอกเราว่าร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่สภาพอากาศใหม่ ทำให้มีผลข้างเคียงดังกล่าว ซึ่งสามารถป้องกันได้ ด้วยการเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง
    ง่ายๆ 5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด
    1. รับประทานผัก ผลไม้หลากสี
    ผักต่างๆ เช่น มันเทศ แครอท ผักโขม และบีทรูทนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่งจำเป็นต่อร่างกายของเรา วิตามินเอช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดความเจ็บป่วย ป้องกันการติดเชื้อได้
    2. เพิ่มกระเทียมหรือหัวหอมในมื้ออาหาร
    ผักตระกูลนี้ มีสารอะลิซิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญกับร่างกาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ยังช่วยสุขภาพทางเดินอาหารที่ดีในมีพรีไบโอติก โดยเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ
    3. ทานวิตามินซีให้เพียงพอ
    วิตามินซีที่เข้มข้นเป็นพิเศษได้การยอมรับว่าเป็นยาป้องกันไข้หวัดทั่วไปมาเป็นเวลานาน การรับประทานผักและผลไม้ปริมาณมากทุกวันควรให้วิตามินซีเพียงพอแก่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม บรอกโคลี ถั่วลันเตา กีวี มะระกอ ฝรั่ง และผลไม้รสเปรี้ยว
    4. การทานข้าวโอ้ตและธัญพืชต่าง ๆ
    ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์อุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ที่เรียกว่าเบต้ากลูแคน ซึ่งนอกจากจะทำให้เราอิ่มแล้ว ยังมีผลช่วยปรับภูมิคุ้มกัน - เพิ่มจำนวนและการทำงานของเซลล์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
    5. การรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีแร่ธาตุสังกะสี (Zinc, Zn)
    อาหารที่มีกลุ่มโปรตีนสูงๆ เช่น หอยนางรม เนื้อไก่ ไข่แดง เนื้อหมู อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอย โดยเฉพาะหอยนางรม จะพบสังกะสีมากที่สุด แร่ธาตุสังกะสีช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และช่วยลดการอักเสบ ลดระยะการเจ็บป่วยได้

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    “วันผู้บริจาคโลหิตโลก”(World Blood Donor Day)

    “วันผู้บริจาคโลหิตโลก”(World Blood Donor Day)

    World Blood Donor Day

    “วันผู้บริจาคโลหิตโลก” (World Blood Donor Day) จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2547 ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน ซึ่งวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) แพทย์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน ผู้ค้นพบการจำแนกหมู่โลหิต A, B และ O ถือว่าเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญยิ่งต่องานบริการโลหิตทั่วโลก จนได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยา หรือแพทยศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1930 อีกทั้งยังพบว่าการถ่ายเลือดให้กับผู้ที่มีหมู่เลือดเดียวกันไม่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดถูกทำลาย การค้นพบเหล่านี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการต่อยอดในวงการแพทย์มาจนถึงทุกวันนี้ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้อีกเป็นจำนวนมาก
    องค์การอนามัยโลก (WHO), สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ(IFRC), สหพันธ์ผู้บริจาคโลหิตระหว่างประเทศ (FIODS) และสมาคมบริการโลหิตระหว่างประเทศ (ISBT) จึงได้ขอความร่วมมือให้สภากาชาดทั่วโลก จัดกิจกรรมเพื่อให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการบริจาคโลหิต รวมถึงเพื่อแสดงความขอบคุณต่อผู้บริจาคโลหิต และส่งเสริมงานบริการโลหิตให้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก

    เพราะ “เลือด” ทุกหมู่มีความสำคัญ จะหมู่เลือดไหน ก็สำคัญต่อชีวิตของผู้ป่วย
    ร่วมแบ่งปัน “เลือด?” ที่เป็นเสมือน “ยาวิเศษ” ให้กับผู้ป่วย

    โปรแกรมและแพ็คเกจ