เบาหวานขึ้นตา

เบาหวานขึ้นตา

Diabetic Retinopathy
คือ ภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ไต หัวใจ เส้นประสาทและเส้นเลือดทั่วร่างกาย เบาหวานในจอประสาทตาเกิดจากการทำลายเส้นเลือดฝอยที่จอประสาทตา ซึ่งเป็นตัวรับข้อมูลภาพที่เรามองเห็นเพื่อส่งต่อไปยังสมอง ทำให้เกิดตามัวและตาบอดตามมา
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตา
  • ระยะที่ 1 เส้นเลือดฝอยในจอประสาทตามีการโป่งพอง มีเลือด มีน้ำเหลือง ไขมันซึมออกจากเส้นเลือดและมีเส้นเลือดอุดตัน ทำให้จอประสาทตาขาดเลือด ขาดสารอาหาร และออกซิเจนในบางแห่ง
  • ระยะที่ 2 หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงจากระยะที่ 1 แล้ว บริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงจะส่งสัญญาณให้ร่างกายสร้างหลอดเลือดฝอยใหม่เพื่อลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงเส้นเลือดให้ที่เกิดใหม่นี้เปราะบาง และผิดปกติทำให้เลือดออกในจอประสาทตาและเข้าไปในน้ำวุ้นลูกตาทำให้สายตาเสียจนในที่สุดเกิดเยื่อพังผืดคลุมประสาทตา เป็นเหตุให้ตาบอดในที่สุด
อาการของเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
เบาหวานในจอประสาทตาอาจดำเนินโรคไปจนถึงขั้นรุนแรงโดยไม่แสดงอาการใดๆ เลยก็ได้ หรืออาจมีอาการ เช่น ตามัว มองเห็นภาพตรงบิดเบี้ยว เห็นเป็นจุดดำ หรือเป็นเส้นผมลอยไปมาอยู่ในสายตา มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน ในรายที่เป็นต้อหินจากเบาหวานอาจจะที่อาการปวดร่วมด้วย
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเบาหวานในจอประสาทตา
ผู้ป่วยเบาหวานทุกคน มีโอกาสเกิดโรคเบาหวานในจอประสาทตา โอกาสเกิดและความรุนแรงจะมากขึ้น ถ้ามีปัจจัยดังนี้

  • ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน ยิ่งเป็นมานาน ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมาก
  • ความดันโลหิตสูง
  • ระดับน้ำตาลในเฮโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงสูง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • การตั้งครรภ
  • การรักษาเบาหวานในจอประสาทตา
    1. รักษาโดยทั่วไป โดยการควบคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด เป็นการยืดเวลาและลดความรุนแรงของเบาหวานในจอประสาทได้บ้าง
    2. การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งสามารถนำมารักษาเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในทุกๆระยะ ดังนี้
      • ระยะที่ 1 เมื่อจุดศูนย์กลางของจอรับภาพบวม การใช้แสงเลเซอร์ต่อจอประสาทตาที่ขาดเลือดมาเลี้ยง จะช่วยการยับยั้งการสร้างเส้นเลือดฝอยที่ผิดปกติ
      • ระยะที่ 2 ใช้แสงเลเซอร์ต่อเส้นเลือดฝอยที่เกิดใหม่ ลดปริมาณเส้นเลือดฝอยที่เกิดใหม่ ป้องกันการแตก และการเจริญของเส้นเลือดฝอยผิดปกติเข้าไปในน้ำวุ้นลูกตา เป็นการลดโอกาสการเกิดตาบอด
    3. การรักษาด้วยการผ่าตัด
    ปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์ผ่าตัดสมัยใหม่เพื่อใช้ผ่าตัด ในรายที่มีเลือดออกมากในน้ำวุ้นลูกตา หรือในรายที่มีเยื่อพังผืดที่อาจดึงรั้งให้จอประสาทตาหลุด สามารถรักษาสายตาไว้ได้ ถึงแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดีกว่าปล่อยให้บอดไป
    ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานทุกคน ควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็ตาม และถ้ามีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ทันที โรคเบาหวานในจอประสาทตา หากพบและรักษาตั้งแต่ในระยะแรก จะสามารถป้องกันการดำเนินโรคไม่ให้ตาบอดได้ ดังนั้นการตรวจตาสม่ำเสมออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

    แค่โรคกระเพาะ หรีอ มะเร็ง

    แค่โรคกระเพาะ หรือ มะเร็ง

    stomach cancer
    จุกแน่น ท้องอืด ปวดหรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี
    เป็นอาการที่พบบ่อยในประชากร จากการสำรวจในประชากรไทยพบว่ามีมากกว่าร้อยละ 50 หรือมากกว่าครึ่งที่เคยประสบปัญหานี้ โดยประชากรกลุ่มนี้แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะตรวจไม่พบโรคร้าย แต่ก็มีผู้ป่วยอีกถึง 14% ที่่จะตรวจพบความผิดปกติในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อนชนิดรุนแรง รวมทั้งโรคที่อันตรายอย่างมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งหลอดอาหาร นอกจากนั้นอาการเหล่านี้ก็อาจจะเป็นอาการของอวัยวะอื่นๆได้ เช่น มะเร็งที่ตับ นิ่วในถุงน้ำดี ดังนั้นคงไม่ถูกซะทีเดียวหากเราจะเหมารวมผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่นหรือแสบบริเวณลิ้นปีเป็นโรคจุกแน่นแบบธรรมดาหรือที่มักเรียกกันว่า "โรคกระเพาะ"ทั้งหมด ดั้งนั้นผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรที่จะมาพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการซักประวัติและการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง ไม่ควรที่จะซื้อยามารับประทานเอง เพราะถึงแม้ว่าหลังรับประทานยาแล้วอาการตีขึ้นก็ไม่ได้บ่งบอกว่าผู้ป่วยไม่เป็นโรคร้าย เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารก็สามารถมีอาการที่ดีขึ้นได้จากการกินยาลดกรดในกระเพาะอาหารเช่นเดียวกัน
    มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิตมากเป็นอันดับที่สองของโลก สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคคือมีการติดเชื้อโรคที่ชื่อ "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter py(ori)" โดยหากมีเชื้อโรคชนิดนี้อยู่ในกระเพาะอาหารจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 13 เท่าเลยทีเดียว ในส่วนของอาการนั้นหากมะเร็งยังอยู่ในระยะเริ่มแรกก็จะไม่สามารถแยกโรคกับโรคกระเพาะอาหารแบบธรรมดาได้เลยการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ต้องใช้การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนเท่านั้น แต่หากมะเร็งอยู่ในระยะหลังก็จะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อาเจียนเรื้อรัง อาเจียนเป็นเลือดหรือสีดำ อุจจาระเป็นสีดำ กลืนติดหรือกลืนลำบาก ซีด โลหิตจาง อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซึ่งหากมะเร็งเข้าสู่ระยะหลังแล้วมักจะมีการดำเนินโรคที่รุนแรงอัตราการหายขาดจากโรคจะลดลงจาก 71 % เหลือเพียง 44 เท่านั้น ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรที่จะได้รับการตรวจด้วยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อวินิจฉัยและรักษาเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และเพื่อที่จะได้ค้นพบมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งการกำจัดเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรนี้นอกจากจะลดโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารแล้ว ยังช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
    เมื่อไรควรพบแพาย์
    ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่น ท้องอืด ปวดหรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ควรที่จะมาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนเพื่อป้องกันและรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะแรก โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงดังต่อไปนี้
    1. มีอาการเตือนที่ทำให้สงสัยมะเร็ง คือ เริ่มมีอาการหลังอายุ 50 ปี รักษาแล้วไม่ดีขึ้นหรือมีการกลับเป็นซ้ำของอาการ อาเจียนเรื้อรัง อาเจียนเป็นเลือดหรือสีดำ อุจจาระเป็นสีดำ กลืนติดหรือกลืนลำบาก ซีด โลหิตจางอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ไข้
    2. มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งในอนาคต ได้แก่ มีญาติป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
    3. มีความเสี่ยงของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ มีความจำเป็นต้องกินยาละลายลิ่มเลือดหรือแอสไพรินในระยะยาว มีความจำเป็นต้องกินยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบอย่างเรื้อรัง
    การป้องกัน ย่อมดีกว่าการรักษา ดังนั้นการคัดกรองมะเร็ง อาจทำให้พบมะเร็งได้ในระยะเริ่มต้น

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Promotion ตรวจเช็คโรคระบบประสาทและสมอง
    คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

    กินเจ เมนูสุขภาพ วิถีใหม่ ไร้พุง

    กินเจ เมนูสุขภาพ วิถีใหม่ ไร้พุง

    เทศกาลกินเจ คำว่า “เจ” หรือ “ไจ” บนธงอักษรแดง บนพื้นเหลือง มีความหมายว่า “ของไม่มีคาว” สีแดงเป็นตัวแทนของความเป็นสิริมงคลในชีวิต ส่วนสีเหลืองเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล ธงเจนอกจากเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเตือนพุทธศาส นิกชนที่ปฏิบัติตน “ถือศีล-กินเจ” ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 เทศกาลกินเจ เป็นโอกาสดีในการดูแลสุขภาพ ได้ฝึกวินัย ทั้งทางกาย จิต ปัญญา แต่อาหารเจส่วนมากมักจะมีรสหวาน มัน และเค็มจัด ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำว่าให้ลดการบริโภคโซเดียมลงให้น้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยการกินเจวิถีใหม่ เน้นรับประทานผักให้มากขึ้น ลดแป้งและของทอด บริโภคอาหารสุก สะอาด ล้างมือก่อนและหลังปรุงอาหาร งดน้ำมัน ลดแป้ง กินโปรตีน
    1. ทานอาหารที่มีกากใยสูง ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ข้าวกล้อง แอปเปิ้ลเขียว ผักใบเขียว ช่วยระบบขับถ่ายและระบบลำไส้ทำงานได้ดี
    2. เลือกอาหารประเภท ต้ม ตุ๋น นึ่งและย่าง หลีกเลี่ยงเมนูผัดและทอด เช่น เต้าหู้ทอด เผือกทอด มันทอด เห็ดผัดน้ำมัน
    3. ทานข้าวแป้งแต่พอดี หลีกเลี่ยงเมนูอาหารแปรรูปและเมนูแป้ง เช่น เนื้อเทียมจากแป้ง โปรตีนเกษตร ต่าง ๆ
    4. เลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี ทดแทนจากเนื้อสัตว์ เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ธัญพืช ข้าวโพด
    5. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม เพราะอาจเพิ่มน้ำหนักตัวและก่อโรคต่าง ๆ ได้
    6. ทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ไม่ควรเลือกทานอาหารเมนูชนิดเดิมซ้ำทุกวัน
    7. ดื่มน้ำสะอาด 6-8 แก้วต่อวัน หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
    แนะนำเมนูสุขภาพ 3 เมนู ทำได้ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ แคลลอรี่ต่ำ

    Credit Picture : Mai Yom Auon 

    เห็ดอบวุ้นเส้น = 198 kcal
    ส่วนผสม
    1. วุ้นเส้น ไม่ขัดสี
    2. เห็ดชนิดต่างๆ ตามชอบ
    3. ขิงอ่อน
    4. พริกไทย
    5. ซีอิ้วขาว ผสมน้ำอุ่น
    6. น้ำมันรำข้าว
    วิธีทำ
    1. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันรำข้าว นำขิงอ่อนผัดให้เข้ากัน ตามด้วยเห็ดต่างๆที่เราชอบ และเต้าหู้แข็ง ผัดรวมกัน ให้สุกนิ่ม
    2. ใส่วุ้นเส้นไม่ขัดสี ตามด้วย ซีอิ๋วขาวผสมน้ำ เติมพริกไทย เติมน้ำเปล่า คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝารอวุ้นเส้นสุกดี ตักใส่จานนำเสิร์ฟ

    Credit Picture : Booky HealthyWorld

    ลาบเต้าหู้เส้นบุกใส่เห็ด = 190 Kcal
    ส่วนผสม
    1. เต้าหู้ขาวชนิดแข็ง
    2. เห็ดหูหนูและเห็ดนางฟ้า
    3. ผักชีฝรั่งและใบสาระแหน่
    4. วุ้นเส้นแบน
    5. พริกป่น
    6. ซีอิ๋วขาว
    7. น้ำมะนาว
    8. น้ำตาล
    9. ข้าวคั่ว
    วิธีทำ
    1. ตั้งน้ำให้เดือด นำเต้าหู้ขาวแข็ง มาหั่นเป็นชิ้น และนำไปลวกในน้ำ ตามด้วยลวกเห็ดละวุ้นเส้นต่อ
    2. นำของที่ลวกสุกมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตามด้วยปรุงรสใส่ซีอิ๋วขาว น้ำมะนาว น้ำตาล พริกป่น ข้าวคั่ว ผสมให้เข้ากัน โรยผักชีฝรั่งและสาระแหน่ พร้อมเสิร์ฟ

    Credit Picture : Mai Yom Auon 

    หมี่กล้องพันเจ = 193 Kcal
    ส่วนผสม
    1. หมี่กล้อง
    2. เต้าหู้ขาวชนิดแข็ง
    3. เห็ดเข็มทอง
    4. ต้นทานตะวันอ่อน
    5. งาคั่ว
    วิธีทำ
    1. ตั้งน้ำให้เดือด นำเส้นหมี่กล้องไปลวกให้สุก ตามด้วยย่างเต้าหู้และเห็ดให้สุกพอดี
    2. นำเส้นหมี่กล้อง มาพันกับเต้าหู้และเห็ดที่ย่าง วางด้วยต้นอ่อนตะวัน เพิ่มความหอมด้วยงาคั่ว พร้อมเสิร์ฟ
    การรับประทานเจที่ถูกหลักและได้รับสารอาหารที่มีคุณค่ามีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครบ ควรรับประทานอาหารเจให้หลากหลาย ไม่ควรรับประทานอาหารเจชนิดเดียวเป็นเวลานานๆ รับประทานเจจะช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ล้างพิษ รวมถึงช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น/div>

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    ภาวะสมองเสื่อม

    ภาวะสมองเสื่อม

    (DEMENTIA)
    ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่สมองทำงานผิดปกติ เป็นผลให้มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม บุคลิกเปลี่ยนแปลง ขาดความสามารถในการเรียนรู้และการสื่อสาร ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้
    ภาวะสมองเสื่อม เกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมอง มีแนวโน้มว่าจะเกิดภาวะสมองเสื่อมมากขึ้นตามอายุ โรคอัลไซเมอร์จัดเป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด อาจพบภาวะสมองเสื่อมในโรคหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อทางสมอง เนื้องอกในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง หรือเป็นผลจากการขาดวิตามินบีเป็นเวลานาน หรือเกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือเกิดจากการกินยานอนหลับหรือยากล่อมประสาทเป็นเวลานาน
    อาการ
    1. ความจำเสื่อม นับเป็นอาการแรกๆของภาวะสมองเสื่อม จำชื่อคนใกล้ชิดไม่ได้ ไม่สามารถจำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ วางของแล้วจำไม่ได้ ถามคำถามซ้ำซาก ลืมว่าเคยถามและได้คำตอบแล้ว
    2. ไม่สามารถทำงานที่เคยทำได้ เช่น เคยขับรถได้แต่ขับไม่ได้ เคยหุงข้าวได้กลับหุงไม่เป็น
    3. มีปัญหาด้านภาษา เรียกชื่อญาติหรือคนใกล้ชิดไม่ถูก เรียกสิ่งของผิดไป นึกคำพูดไม่ออก พูดซ้ำซาก สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง
    4. สับสนเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ จำเส้นทางเดินทางไปบ้านตัวเองไม่ถูก จำสถานที่ เวลา หรือเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ได้ บอกไม่ได้ว่าตัวเองอยู่ไหน
    5. มีความผิดปกติในการตัดสินใจ ตัดสินใจช้าและตัดสินใจไม่ถูก ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัดสินใจผิดพลาด
    6. สติปัญญาด้อยลง ขาดความสามารถในการวางแผน บวกนับเลขไม่ถูก ทอนเงินไม่ถูก
    7. วางสิ่งของผิดที่ไม่เหมาะสม เช่น วางแว่นตาในอ่างน้ำ วางถังขยะบนโต๊ะอาหาร และมักหาสิ่งของไม่พบ
    8. อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว หรือซึมเศร้า อาจนั่งร้องไห้โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุ เพราะการสื่อสารไม่เข้าใจ
    9. บุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น หนีสังคม เก็บตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์รอบตัว ในรายที่เป็นรุนแรง จะมีปัญหาการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำเองไม่เป็น ใส่เสื้อผ้าเองไม่เป็น ติดกระดุมเสื้อเองไม่ได้ตักข้าวกินเองไม่ได้
    หากมีอาการความจำเสื่อมร่วมกับอาการอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้นอีก 3 อย่างขึ้นไป และต้องพึ่งพาผู้อื่นในการทำกิจวัตรประจำวัน จึงจะวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม
    การวินิจฉัยโรค
    แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกาย ประวัติจะได้จากญาติใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยเองจะหลงลืมให้ประวัติไม่ได้ จะมีแบบทดสอบความจำ สติปัญญา แบบทดสอบภาวะทางจิตใจ นอกจากนี้แพทย์จะตรวจเลือดและเอ็กซเรย์สมอง เช่น การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองหรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุของโรคที่จะรักษาได้
    การรักษา
    ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่อาจช่วยชะลออาการผู้ป่วยได้ ยกเว้นสภาวะสมองเสื่อมที่มีสาเหตุที่รักษาได้ เช่น เป็นเนื้องอกในสมองก็ผ่าตัดเอาเนื้องอกออก ผ่าตัดแก้ไขโพรงน้ำในสมองขยายตัว งดสารเสพติด รักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น
    นอกจากนี้ต้องรักษาโรคที่เป็นความเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น แพทย์อาจใช้ยาที่ช่วยชะลอความจำเสื่อมและยาที่ช่วยระงับพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น เอะอะก้าวร้าว เห็นภาพหลอน
    การรักษาจะสมบูรณ์ได้ต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วย ให้เข้าใจการดำเนินของโรค เข้าใจลักษณะของผู้ป่วย ให้ผู้ดูแลสามารถติดต่อสื่อสารกับทีมรักษาเพื่อปรึกษาปัญหาให้แก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลควรเป็นผู้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ควรให้ผู้ดูแลมีช่วงเวลาพักเพื่อคลายเครียด เพื่อไม่ให้ความเครียดหรือภาระในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยไม่ดีและยังมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้ดูแลอีกด้วย
    การป้องกัน
    1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างสมดุล หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รสเค็มหรือหวานจัด
    2. งดเสพสุรา และสารเสพติด งดสูบบุหรี่
    3. ฝึกบริหารสมอง เช่น การฝึกใช้มือซ้ายทำงานแทนมือขวาที่ถนัด ฝึกเปลี่ยนเส้นทางเดินที่ใช้ประจำ ฝึกเล่นเกม หัดคิดเลข อ่านหนังสือบ่อยๆ
    4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป สัปดาห์ละ 3 - 5 วัน
    5. ระวังอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางสมอง ใส่หมวกกันน็อค คาดเข็มขัดนิรภัยเวลานั่งรถ
    6. เข้าสังคมผู้สูงอายุ พบปะผู้อื่นบ่อยๆ มีกิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น
    7. รักษาโรคประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ เช่น รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และตรวจสุขภาพประจำปี
    8. ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ฝึกสมาธิ
    หากท่านสงสัยว่าจะมีภาวะสมองเสื่อม ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการในระยะแรกๆ จะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

    >

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Promotion ตรวจเช็คโรคระบบประสาทและสมอง
    คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

    สัญญาณอันตราย…โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

    สัญญาณอันตราย...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

    Coronary artery disease :CAD
    โรคหัวใจเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ประชากรไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ   ส่วนใหญ่โรคหัวใจที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
    สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด
    1. เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย  อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
    2. อาการอื่นที่อาจเป็นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นลักษณะเฉพาะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นผลจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะตายในเวลาอันรวดเร็ว ภายใน 6 ชั่วโมง
    โอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
    ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ได้แก่
    1. ผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป
    2. โรคเบาหวาน
    3. ความดันโลหิตสูง
    4. ไขมันในเลือดสูง
    5. สูบบุหรี่
    6. ความเครียด
    7. ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    8. มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
    หากมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ โอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบยิ่งสูงขึ้น
    ทำไมต้องมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็ว หลังเกิดอาการแน่นหน้าอก
    การมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็วโดยเฉพาะใน 2 ชั่วโมงแรกของการเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่รวดเร็วทันเวลา เพื่อจำกัดบริเวณกล้ามเนื้อส่วนที่ตายไปแล้วและช่วยกล้ามเนื้อส่วนที่กำลังจะตายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
    ผลเสียจากการตัดสินใจล่าช้า
    การตัดสินใจล่าช้าอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้างและลึก เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภาวะช็อคจากหัวใจ  โดยเฉพาะภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังจากเกิดอาการ
    โรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีการแสดงของโรคหลายแบบ
    1. กรณีที่วิกฤตที่สุดจะเกิดคราบแข็งแตกตัวเฉียบพลัน ร่วมกับการเกิดลิ่มเลือดเกาะตัวมารวมกันอุดตันเส้นเลือดทันที ทำให้เกิดอาการหลอดเลือดหัวใจอุดตันในเวลาอันสั้นเป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงโดยไม่เคยรู้ตัวมาก่อน เรียกว่า อาการเจ็บหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome & Acute Myocardial Infarction)
    2. กรณีรองลงมา คราบแข็ง (Plaque) จะพอกตัวขึ้นช้าๆ ลิ่มเลือดเกิดขึ้นครั้งละน้อยๆ และละลายตัวได้ทันเองจากยา ไม่อุดตันในหลอดเลือดส่วนที่แคบจากคราบแข็ง หากการแคบตีบ จะมีอาการเพียง เจ็บหน้าอกร้าวไปไหล่ร่วมกับเหงื่อแตกขณะเจ็บหน้าอก เหนื่อย ความดันโลหิตสูง ถ้าควบคุมไม่ได้ อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจกราฟหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
    3. อาการเจ็บหน้าอกที่บ่งชี้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Angina Pectoris) มักเป็นการเจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก
    การรักษา
    1. รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด
    2. รักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนและการใช้ขดลวดค้ำยัน
    3. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ
    4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ งดอาหารไขมันสูง ลดอาหารแป้งและน้ำตาล งดอาหารเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด
    5. รักษาโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รับประทานยาและติดตามการรักษาต่อเนื่อง
    สัญญาณอันตราย เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น
    หากมีอาการเหล่านี้ควรปร๊กษาแพทย์ ตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจ เพื่อการรักษาก่อนเกิดโรค

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

    การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

    โปรแกรม ตรวจสุขภาพ S M L

    ชุดตรวจสุขภาพ S, M, […]

    มารู้จัก โรคหัวใจกันเถอะ

    มารู้จัก โรคหัวใจกันเถอะ

    WORLD HEART DAY
     
    ประวัติวันหัวใจโลก
    วันหัวใจโลกมีต้นกำเนิดมาจากสมาพันธ์นานาชาติ ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ ที่เป็นปัญหาในการทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตโดย International Society of Cardiology ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี1946 และ International Cardiology Federation ในปี 1970 ต่อมาในปี 1978 ทั้ง 2 สมาพันธ์ได้รวมตัวกันเป็น International Society and Federation of Cardiology (ISFC). และเปลี่ยนชื่อเป็น World Heart Federation ในปี 1998

    วันหัวใจโลก (World Heart Day) ตรงกับวันที่ 29 กันยายนของทุกปี จัดขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นน 1 ใน 7 โรคไม่ติดต่อ และเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในอับดับต้นๆ ของคนไทยและคนทั่วโลก โดยเฉพาะในคนไทยเกิดจากวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมากมาย ทั้งเรื่องการรับประทานที่มากเกินพอดี มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ใช้เครื่องอำนวยความสะดวกมากขึ้น ขาดการออกกำลังกาย รวมถึงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พฤติกรรมดังกล่าวส่งเสริมให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และส่งผลให้คนเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดกันมากขึ้น

    โรคหัวใจ
    1. โรคหัวใจ
    2. โรคหลอดเลือดหัวใจ
    3. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
    4. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
    5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
    6. โรคลิ้นหัวใจ
    7. โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ
    โรคหัวใจนั้นไม่ได้เกิดในเฉพาะผู้สูงอายุ หรือเพศใดเพศหนึ่ง แต่สามารถเกิดได้กับทุกคน และโรคหัวใจบางโรคสามารถป้องกันได้ โดยการปรับพฤติกรรมดังนี้
    • อาหาร เลือกรับประทานข้าวแป้งไม่ขัดสี, ธัญพืช, ถั่วเมล็ดแห้ง ใช้น้ำมันที้ทําจากไขมันดีในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันรําข้าว น้ำมันคาโนล่า ลดการใช้เครื่องปรุงรส และอาหารสําเร็จรูปเพื่อหลีกเลี่ยงโซเดียม เพิ่มการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศ จําพวก พริกไทย กระเทียม
    • ออกกําลังกาย เพื่อป้องกันโรคหัวใจควรออกกําลังกาย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ หรืออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ สามารถเลือกการออกกําลังกายที่สามารถทําในบ้านได้ เช่น การออกกําลังกายแบบบอดี้เวท โยคะหรือกระโดดเชือก
    • อารมณ์ หมั่นดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของตัวเองและคนในครอบครัวให้แข็งแรง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ฝึกปรับทัศนคติ และหมั่นตรวจสอบอาการทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของตัวเอง อย่างสม่ำเสมอ

    มารู้จัก โรคหัวใจกันเถอะ

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

    การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

    โปรแกรม ตรวจสุขภาพ S M L

    ชุดตรวจสุขภาพ S, M, […]

    สาระน่ารู้…. อาหารบำบัดโรคหัวใจ

    สาระน่ารู้.... อาหารบำบัดโรคหัวใจ

    โรคหัวใจ เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะค่อยๆ สะสมและทวีความรุนแรงจนเกิดอาการเรื้อรัง และสาเหตุหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีปริมาณแป้ง หรือน้ำตาลมากเกินไป หากกินเข้าไปมาก ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายก็จะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมันที่มีชื่อว่า "ไตรกลีเซอไรด์" เมื่อเกิดไขมันสะสมทำให้เป็นโรคอ้วนและเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ การเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์และมีสัดส่วนที่เหมาะสมต่อร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งเราสามารถเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง 
    1. ควรควบคุมการปรุงรสเค็มในอาหาร เนันการปรุงรสอ่อนๆ และหลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มในขณะรับประทาน เช่น น้ำปลา เกลือ ชี่อิ๊ว ซอสปรุงรส (ปริมาณโซเดียมในการปรุงรส/วันไม่ควรเกิน 2000 มิลลิกรัม/วัน)
    2. รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันน้อย เลือกวีธีการหุงต้มอาหารแบบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยำหรือผัดน้ำมันน้อย
    3. ควรใช้น้ำมันพืชชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัว unsaturatedfatty acid) ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอกน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง (ในปริมาณวันละ 5-7 ช้อนชา)
    4. เน้นการรับประทานเต้าหู้ และเนื้อปลาบ่อยๆ โดยเฉพาะ ปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาโอ ปลาทูน่าปลาแซลมอน จะช่วยในการเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDLและลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL, Triglyceride)
    5. รับประทานผักและผลไม้ไม่หวานจัดเป็นประจำทุกมื้อและให้หลากหลาย (ผักและผลไม้ไม่ควรน้อยกว่า 400 กรัม/วัน)
    6. หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารหรือแปรรูป รวมทั้งอาหารหมักดองทั้งหลาย เพราะจะมีปริมาณของเกลือหรือโซเดียมสูง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักดอง อาหารกระป๋องหรือผักผลไม้ที่แปรรูป หากมีความจำเป็นต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปควรอ่านฉลากที่ติดมากับอาหารก่อน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมและผงชูรสในปริมาณสูง
    7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมเกลือและผงชูรสสูง เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถั่วอบเนย ข้าวโพดคั่ว
    8. หลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดกรดไขมันชนิดอิ่มตัวสูง saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันหมู,ไก่
    9. หลีกเลี่ยง เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง และอาหารที่มี ไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ปาท่องโก๋ กล้วยแขก ข้าวขาหมู ผัดไทย หอยทอด
    10. หลีกเลี่ยง อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ผัดซีอิ๊ว ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง เครื่องในสัตว์
    11. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานซ์สูง (Trans fatty acid) เช่น พาย โดนัท ขนมขบเคี้ยว เนยเทียม มาการีน
    12. หลีกเลียงการรับประทานอาหารหวานหรือที่มีน้ำตาลสูงหรือขนมเบเกอรี่ต่างๆ เช่น ขนมหวานชนิดต่างๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ต่างๆ น้ำอัดลม
    13. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟ เพราะมีส่วน ผสมของคาเฟอีน
    14. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มเกลือแร่
    15. งดการสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด
    16. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ (ภายใต้คำแนะนำของแพทย์)
    17. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมการหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (กก.) / ส่วนสูง x ส่วนสูง (เมตร)
    การแปลผลค่าดัชนีมวลกาย  (BMI)
    ค่าดัชนีมวลกาย
    เกณฑ์น้ำหนัก
    พลังงานที่ต้องการน้ำหนักตัว 1 กก./วัน
    น้อยกว่า 18.5 น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ 40 กิโลแคลอรี่
    18.5-22.9 น้ำหนักตัวปกติ 30 กิโลแคลอรี่
    23-24.9 ท้วม 25 กิโลแคลอรี่
    25-29.9 น้ำหนักตัวเกิน 40 กิโลแคลอรี่
    30 ขึ้นไป โรคอ้วน 20 กิโลแคลอรี่
    แนวทางการเลือกรับประทานอาหาร
    ประเภทเครื่องดื่ม
    ตัวอย่างอาหารที่ควรเลือกรับประทาน
    ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
    นมพร่องไขมัน ชา กาแฟ
    นมขาดไขมัน น้ำอัดลม
    น้ำเต้าหู้   โอเลี้ยง
      เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    ประเภทอาหาร
    ตัวอย่างอาหารที่ควรเลือกรับประทาน
    ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
    ข้าวหน้าปลาอย่าง ข้าวขาหมู ข้าวคากิ
    ข้าวต้มปลา ข้าวมันไก่
    โจ๊ก แกงเขียวหวาน แกงกะทิ
    สลัดผักราดโยเกิรต์ หอยทอด
    ก๋วยเตี๋ยวน้ำ คอหมูย่าง
    ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า หนังไก่ทอด,แคบหมู
    ปลานึ่ง แหนม ปลาส้ม
    สเต็กปลา กล้วยแขก
    แกงส้ม แกงปลา ปาท่องโก๋
      ทองหยอด ทองหยิบ
      ฝอยทอง เม็ดขนุน
    อาหาร มีความสำคัญต่อสุขภาพ แต่อาหารบางชนิดก็ไม่ได้เหมาะสำหรับกลุ่มอายุ และโรคบางอย่าง ดังนั้นควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารเฉพาะโรค เพื่อช่วยบำรุงและรักษาสุชภาพ และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ที่อาจเป็นอันตรายในอนาคต

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

    การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

    DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

    คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

    “ตับแข็ง และมะเร็งตับ” รู้ก่อน ป้องกันก่อน

    เฝ้าระวังโรคตับตั้งแต่วันนี้…..ป้องกันตับแข็ง และมะเร็งตับ

    Liver Cancer
    ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของร่างกายรองจากผิวหนัง  และมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย ได้แก่  การสร้างน้ำดีเพื่อช่วยในกระบวนการย่อยไขมัน การสังเคราะห์โปรตีนไข่ขาวและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย และช่วยกำจัดสารพิษต่างๆ  อย่างไรก็ตามแม้ตับจะเป็นอวัยวะที่จำเป็นต่อร่างกาย  แต่ตับกลับมีเพียงข้างเดียวเช่นเดียวกับหัวใจ  ดังนั้นความเสียหายต่อตับย่อมสร้างความเสียหายต่อร่างกายได้อย่างมาก
    สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะการบาดเจ็บต่อตับหรือตับอักเสบนั้นมีดังนี้คือ
    1. เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยเฉพาะชนิดบี และซี
    2. แอลกอฮอล์ ซึ่งมาจากการดื่มสุรา เบียร์
    3. ภูมิต้านทานต่อตับมากผิดปกติ
    4. สารพิษต่างๆ
    5. ไขมันเกาะตับ
    6. พันธุกรรม
    7. ภาวะธาตุเหล็กเกิน
    8. เส้นเลือดที่เกี่ยวข้องกับตับผิดปกติ
    ในส่วนของอาการนั้นหากการบาดเจ็บของตับยังมีไม่มากผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการอะไรหรือมีเพียงอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร  หรือคันโดยเฉพาะปลายมือปลายเท้าเท่านั้น และจะวินิจฉัยได้เมื่อพบความผิดปกติจากการตรวจเลือดเท่านั้น  แต่หากการบาดเจ็บของตับทวีความรุนแรงมากขึ้นผู้ป่วยถึงจะเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนของโรคตับ  คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องบวมโต  ขาบวม อาเจียนเป็นเลือด  อาการสับสนจากการมีสารพิษคั่งในร่างกาย  ผู้ป่วยในระยะนี้มักจะมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี  บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการเปลี่ยนตับ
    การวินิจฉัยโรคตับ
    การวินิจฉัยโรคตับตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นเป็นสิ่งที่จำเป็น  เพื่อป้องกันไม่ให้มีการทำลายของตับอย่างเรื้อรังหรือรุนแรง จนเกิดภาวะตับแข็ง ตับวาย รวมทั้งมะเร็งตับตามมา ซึ่งเป็นระยะที่รักษาให้หายขาดได้ยาก และก่อให้เกิดทุพพลภาพเป็นอย่างมาก  ดังนั้นหากเป็นไปได้บุคคลทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพตับเป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ที่มีความอาการหรือเสี่ยงดังต่อไปนี้
    1. มีอาการที่บ่งชี้ถึงโรคตับ ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องบวมโต ขาบวม อาเจียนเป็นเลือด อาการสับสน
    2. มีพฤติกรรมหรือประวัติเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นโรคตับ ได้แก่ ดื่มเหล้า สุรา มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันหรือมีเพศสัมพันธ์กับหลายบุคคล ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น  เคยสัก  เคยได้รับเลือดมาก่อน  รับประทานยาที่อาจก่อให้เกิดพิษต่อตับ เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาสมุนไพร
    3. มีภาวะหรือโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับ ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
    4. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ ตับแข็ง หรือมะเร็งตับ

    โรคตับเป็นโรคที่รักษาได้หากวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น  ซึ่งการรักษาก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ตับที่ดีกลายเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับในอนาคต  ดังนั้นอย่ารอช้าที่จะมาดูแลสุขภาพของตับกันนะครับ

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    โปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งตับ
    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

    3 วิธีลดความเสี่ยง “โรคซึมเศร้า”

    วิธีลดความเสี่ยงและรับมือ "ภาวะซึมเศร้า"

    Depression
                 โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นทุกเพศทุกวัย ทำให้ส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตของตนเองและบุคคลรอบข้าง หากมีอาการ นอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป อาจเข้าข่ายของโรคซึมเศร้าแล้ว ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น มีเหตุการณ์มากระทบรุนแรงมากน้อยเพียงใด บุคลิกเดิมของเจ้าตัวเป็นอย่างไร มีการช่วยเหลือจากคนรอบข้างมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
                  การเปลี่ยนแปลงหลักๆ จะเป็นในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรม เช่น รู้สึกเบื่อเศร้า ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า ร่วมกับอาการทางร่างกายต่างๆ เช่น นอนหลับไม่ดี เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก นอกจากมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงแล้ว การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันก็บกพร่อง เช่น คนที่เป็นแม่บ้านก็ทำงานบ้านน้อยลงหรืองานคั่งค้าง คนทำงานนอกบ้านก็อาจขาดงานบ่อยๆ การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ใช่ เป็นคนอ่อนแอ คิดมาก หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา เอาแต่ท้อแท้ ซึมเซา อาการเหล่านี้เป็นเพราะตัวโรค หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะทุเลาลง กลับมาเป็นปกติ
    ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
    1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
    กลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจนแต่จะบอกว่าจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส ไม่สดชื่นเหมือนเดิม บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เดิมตนเคยทำแล้วเพลินใจหรือสบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำหรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น บ้างก็รู้สึกเบื่อไปหมดตั้งแต่ตื่นเช้ามา บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน
    2. ความคิดเปลี่ยนไป
    มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีตก็เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง ชีวิตตอนนี้ก็รู้สึกว่าอะไรๆ ก็ดูแย่ไปหมด ไม่มีใครช่วยอะไรได้ ไม่เห็นทางออก มองอนาคตไม่เห็น รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต บางคนกลายเป็นคนไม่มั่นใจตนเองไป จะตัดสินใจอะไรก็ลังเลไปหมด รู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น ทั้งๆ ที่ญาติหรือเพื่อนๆ ก็ยืนยันว่ายินดีช่วยเหลือ เขาไม่เป็นภาระอะไรแต่ก็ยังคงคิดเช่นนั้นอยู่ ความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ความคับข้องใจ ทรมานจิตใจ เหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อยๆ แรกๆ ก็อาจคิดเพียงแค่อยากไปให้พ้นๆ จากสภาพตอนนี้ ต่อมาเริ่มคิดอยากตายแต่ก็ไม่ได้คิดถึงแผนการณ์อะไรที่แน่นอน เมื่ออารมณ์เศร้าหรือความรู้สึกหมดหวังมีมากขึ้น ก็จะเริ่มคิดเป็นเรื่องเป็นราวว่าจะทำอย่างไร ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนจิตใจก็อาจเกิดการทำร้ายตนเองขึ้นได้จากอารมณ์ชั่ววูบ
    3. สมาธิความจำแย่ลง
    จะหลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไรไม่ได้นานเนื่องจากสมาธิไม่มี ดูโทรทัศน์นานๆ จะไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือก็ได้ไม่ถึงหน้า ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานผิดๆ ถูกๆ
    4. มีอาการทางร่างกายต่างๆ
    ที่พบบ่อยคือจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง มีปัญหาด้านการนอน เช่น หลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ บางคนตื่นแต่เช้ามืดแล้วนอนต่อไม่ได้ รู้สึกเบื่ออาหาร ไม่เจริญอาหารเหมือนเดิม น้ำหนักลดลงหลายกิโลกรัมภายใน 1 เดือน อาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง ปากคอแห้ง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว
    5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป
    ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะซึมลง ไม่ร่าเริงแจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม แม่บ้านอาจทนที่ลูกๆ ซนไม่ได้ หรือมีปากเสียงกับคู่ครองบ่อยๆ
    6. การงานแย่ลงความรับผิดชอบต่อการงานลดลง
    งานไม่ได้ทำ หรือทำแบบลวกๆ เพียงให้ผ่านๆ ไป ความละเอียดลดลงเพราะไม่มีสมาธิ รู้สึกหมดพลังที่จะต่อสู้ เริ่มลางานขาดงานบ่อยๆ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้าใจหรือให้การช่วยเหลือก็มักจะถูกให้ออกจากงาน
    7. อาการโรคจิต 
    มักพบในรายที่เป็นรุนแรง นอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้าแล้ว ยังพบอาการของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าดีขึ้น อาการโรคจิตก็มักทุเลาตาม
    วิธีลดความเสี่ยง ในการเกิด "ภาวะซึมเศร้า"
    1. สังเกต
    หมั่นสำรวจอารมณ์ของตัวเอง เพื่อเป็นการสังเกตว่า สิ่งใดช่วยทำให้อารมณ์เศร้าหมองหรือสดชื่น แจ่มใส และพยายามรักษาจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ
    2. ไม่กระตุ้น
    ไม่นำตนไปอยู่ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความซึมเศร้า รวมถึงการใช้สารเสพติด
    3. ทำกิจกรรม
    เลือกกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น การออกกำลังกาย กิจกรรมสันทนาการ พบปะ เพื่อนฝูง เข้าสังคม
    หากพบว่าตนเองซึมเศร้า เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร ไร้เรี่ยวแรง ขาดสมาธิ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือนอนมากและมีความคิด อยากตาย รู้สึกตัวไร้คุณค่าเป็นภาระ โดยมีอาการติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาต่อไป

    แนะนำแแพทย์

    แพคเกจ

    รศ.พญ.วันเพ็ญ ธุรกิตต์วัณณการ
    อายุรแพทย์ / จิตแพทย์
    พญ.ชุติมา สายเพ็ชร์
    อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
    กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)
    Transcranial Magnetic Stimulation

    รู้ให้ทัน…เรื่องกัญชา

    รู้ให้ทัน..เรื่องกัญชา

    CANNABIS
    ในปัจจุบันข่าวสารเกี่ยวกับประโยชน์ของกัญชามีออกมาเป็นระยะๆ แต่สารทุกสิ่งในโลกนี้มีสองด้านเสมอ กัญชาก็จัดเป็นพืชที่มีสารเสพติดและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน เราจึงควรจะต้องมีความรู้เท่าทันที่จะใช้ประโยชน์จากกัญชา แต่มีวิธีการในการปกป้องตนเองและบุคคลที่เรารักจากอันตรายของกัญชา ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึงมีคำแนะนำดังต่อไปนี้
    สำหรับประชาชน
    1. ไม่ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการอย่างเด็ดขาด
    2. ให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน ให้ทราบถึงอันตรายจากการใช้กัญชา เพื่อเป็นการสร้างภูมิต้านทานที่สำคัญ
    3. ช่วยกันสอดส่องดูแล ให้เด็กและเยาวชนห่างไกลจากกัญชา
    4. ช่วยกันสร้างสังคม บ้าน โรงเรียนและชุมชนให้ปลอดกัญชา
    สำหรับผู้ที่กำลังคิดว่าจะการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค
    1. ขอให้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ วิธีการใช้กัญชาและผลข้างเคียงจากกัญชาอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ
    2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว ขอให้ปรึกษากับแพทย์ที่ให้การรักษา เกี่ยวกับโรคและยาที่รับประทานอยู่ ว่าจะมีผลต่อกันหรือไม่เพราะกัญชาอาจจะทำให้โรคประจำตัวที่มีอยู่ทรุดลง หรืออาจจะมีอันตกริยาระหว่างยากับกัญชา จนทำให้เกิดอันตรายได้
    3. หากจะใช้กัญชา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
    สำหรับผู้ใช้กัญชา
    1. หากท่านอายุน้อยกว่า 20 ปี ขอให้พิจารณาเลิกใช้กัญชาทันที
    2. ถ้าเป็นไปได้ เลือกใช้กัญชาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อหลีกเสี่ยงการปนเปื้อนของโลหะหนัก และสารกำจัดศัตรูพืช
    3. หลีกเลี่ยงการใช้ช่อดอกกัญชา เพราะเป็นส่วนที่มีสารแคนนาบินอยด์สูง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้มาก
    4. ขอให้สูบกัญชาในบริเวณที่ห่างไกลจากคนอื่น โดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและสตรีมีครรภ์ เพราะบุคคลเหล่านี้อาจจะเป็นผู้สูบมือสองได้ และได้ผลกระทบจากควันกัญชาได้
    5. ไม่ขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรต่างๆ ภายใน 6 ชั่วโมงหลังได้รับกัญชา เพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
    6. ถ้าได้รับกัญชาแล้ว มีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ และแจ้งให้แพทย์ทราบเรื่องการได้รับกัญชา เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที
    7. หากรู้สึกว่าต้องเพิ่มขนาดความถี่ของการใช้กัญชา หรือไม่สามารถหยุดใช้กัญชาได้โดยง่าย แสดงว่าติดกัญชาแล้ว ขอให้รีบพบแพทย์เพื่อการรักษาภาวะติดกัญชา
    8. หากท่านปลูกัญชาในบ้าน ขอให้หาวิธีไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้โดยง่าย
    9. กรณีท่านเป็นผู้ผลิตอาหารที่ใส่กัญชา ขอให้อย่าใช้ช่อดอก และต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบเสมอว่ามีการใส่กัญชาในอาหารหรือไม่
     
    เมากัญชา ทำอย่างไร
    1. อาการเมากัญชา ตาแดง เดินเซ การตอบสนองช้าลง ปากแห้ง เพิ่มความอยากอาหาร อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ปริมาณมากจะมีอาการหลอน เกิดภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ให้รีบส่งโรงพยาบาล
    2. ระยะเวลาที่มีอาการ หลังใช้ 2-3 ชม. และอาจอยู่ในร่างกายนานหลายวันถึงเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้
    3. อาการถอนยา อาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ปวดท้อง สั่น เหงื่อออก ไข้ สั่น หลังหยุดกัญชา มักมีอาการ 24-48 ชม. อาการมากสุด อาการมากสุด วันที่ 4-6 อาการจะคงอยู่ 1-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ สมุนไพรที่อาจจะลดอาการเมากัญชา ได้ น้ำมะนาว หรือรับประทานรากว่านน้ำ
    4. ถ่้ามีอาการทางจิต เช่น มีภาวะซึมเศร้า กระสับกระส่ายอย่างรุนแรง เห็นภาพหลอน มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ให้รีบส่งโรงพยาบาล

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ และโควิด อาการต่างกันอย่างไร

    โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ และโควิด -19 อาการเหมือน ต่างกันอย่างไร

    DENGUE FEVER / INFLUENZA / COVID - 19
    ทุกๆ ปีเมื่อฤดูฝนมาถึง มักจะพบโรคระบาดเจ้าประจำอย่าง ไข้เลือดออก กับ ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งทำให้หลายคนแยกไม่ออกว่า กำลังป่วยเป็นโรคอะไรอยู่ ยิ่งในปัจจุบันยังมีโรคอุบัติใหม่อีกหนึ่งโรคคือ โควิด 19 และจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเร็วๆ นี้ หลายคนเกิดความสับสนมากขึ้น เนื่องจากทั้ง 3 โรค มีอาการที่คล้ายคลึงกัน แล้วเราจะเฝ้าระวังและสังเกตอาการอย่างไร เพื่อดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ที่นี่มีคำตอบ

    ไข้เลือดออก (Dengue)
    โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค พบได้ตลอดปีแต่จะพบมากขึ้นในฤดูฝน ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็พบได้ เชื้อไวรัสเดงกี่ มี 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี่ 1 เดงกี่ 2 เดงกี่ 3 และเดงกี่ 4 ด้วยสาเหตุนี้ทำให้เราติดเชื้อได้หลายครั้ง โรคไข้เลือดออกเดงกี่เกิดจากยุงลายตัวเมียกัด ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการ 5-8 วัน อาจมีอาการปวดท้องและช็อกได้ จึงต้องรีบรักษาโดยเร็ว โดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก
    การป้องกันไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือ การกำจัดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะไม่ให้ขยายพันธุ์ โดยหมั่นตรวจสอบและกำจัดแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่ยุงจะเพาะพันธุ์อยู่
    ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

    ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และติดต่อกันง่ายมาก ระบาดตลอดทั้งปี แต่มักเกิดในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว

    การป้องกันไข้หวัดใหญ่ ที่ดีที่สุด คือการได้รับวัคซีนปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการรุนแรงของโรค
    โควิด-19 (Covid 19)

    ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่ คนได้ ปัจจุบัน โควิด-19 มีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็ว คือ โอมิครอน และพบในประเทศไทยมากที่สุด

    การป้องกันโดยการสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อยๆ ไม่ไปในที่ระบาด เป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่ง แต่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรค เพื่อลดความรุนแรงของโรค

    แยกโรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคโควิด ได้อย่างไร

    อาการของโรคทั้ง 3 โรค เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
    1. มีไข้สูงเฉียบพลัน นาน 2-7 วัน
    2. ปวดศีรษะ
    3. ปวดเมื่อยตามตัว
    4. ส่วนใหญ่มีอาการหน้าแดง
    5. มีจุดเลือดออกขนาดเล็กตามลำตัว แขน ขา
    6. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
    7. ปวดท้องและเบื่ออาหาร
    เมื่อไข้ลง ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากสามารถพบภาวะช๊อกหรือเลือดออก อาจถึงแก่ชีวิตได้ หากมีไข้สูงต่อเนื่องตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป เช็ดตัวและทานยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น ควรมาโรงพยาบาล
    1. มีไข้สูงเกิน 38 องศาฯ
    2. ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น
    3. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    4. คัดจมูก มีน้ำมูกใส ไอแห้ง
    5. บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
    6. เบื่ออาหาร
    โรคไข้หวัดใหญ่สามารถหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ การได้ยาต้านไวรัสช่วยลดความรุนแรงและลดระยะเวลาเจ็บป่วยได้ แนะนำควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรง
    1. ไม่มีไข้ถึงมีไข้สูง
    2. ปวดศีรษะ
    3. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    4. ไอแห้งหรือมีเสมหะ เจ็บคอ
    5. มีน้ำมูก
    6. หอบเหนื่อย หายใจลำบาก
    7. บางรายอาจมีอาการอาเจียนหรือท้องเสียร่วมด้วย
    โควิดโอมิครอนเป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ อาจมีปอดอักเสบหรืออาการรุนแรงในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การฉีดวัคซีนป้องกันจะช่วยลดความรุนแรงของโรค การสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ จะช่วยป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    หากสงสัย มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือมีการถ่ายเหลวร่วมด้วย เบื้องต้นให้ตรวจ ATK ได้ทันที หากผลเป็นลบ อย่าพึงวางใจ ให้สังเกตอาการต่ออีก 48 ชม. ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้ไปโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคอื่น ๆ เพราะอาจเสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออก

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ็
    ให้บริการ ดูแลผู้ป่วย COVID-19
    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

    โรคไข้เลือดออก

    โรคไข้เลือดออกเดงกี

    DENGUE FEVER
    โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค พบได้ตลอดปีแต่จะพบมากขึ้นในฤดูฝน ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็พบได้ เชื้อไวรัสเดงกี่ มี 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี่ 1 เดงกี่ 2 เดงกี่ 3 และเดงกี่ 4 ด้วยสาเหตุนี้ทำให้เราติดเชื้อได้หลายครั้ง ระยะฟักตัวในยุงลายประมาณ 8-10 วัน โรคไข้เลือดออกเดงกี่เกิดจากยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ไปกัดก็ทำให้ผู้ที่ถูกกัดป่วยได้ ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการ 5-8 วัน
     
    อาการ
    • มีไข้สูง 2-7 วัน ร่วมกับอาการอาเจียน ปวดหัว
    • อาการหวัดไม่เด่นชัด มักไม่มีอาการไอ หรือน้ำมูกไหล
    • ส่วนใหญ่ มีหน้าแดง ปวดศีรษะ
    • อาจมีเลือดออกตามผิวหนัง หรือตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะเลือดกำเดา
    • อาจมีอาการถ่ายอุจจาระ อาเจียนเป็นเลือด
    • บางรายมีภาวะช็อคเกิดขึ้นพร้อมๆ กับมีไข้ลดลง โดยมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ปวดท้องรุนแรงขึ้น
    • ในรายที่รุนแรงมาก อาจถึงเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
     
    โรคไข้เลือดออกเดงกี แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
    • ระยะไข้
      ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส บางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชักมาก่อน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง (flushed face) ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรืออาการไอ เบื่ออาหาร อาเจียน และไข้จะสูงลอยอยู่ 2-7 วัน อาจพบมีผื่นแบบ erythema หรือ maculopapular ซึ่งมีลักษณะคล้ายผื่น rubella ได้ อาการเลือดออกที่พบบ่อยคือ ที่ผิวหนัง การทำ tourniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) ส่วนใหญ่จะคลำตับ โต ได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ ตับจะนุ่มและกดเจ็บ
    • ระยะวิกฤติ/ช็อก
      ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี จะมีอาการรุนแรง มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน) ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง และจะเสียชีวิตภายใน 12-24 ชั่วโมง หลังเริ่มมีภาวะช็อก
    • ระยะฟื้นตัว
      ระยะฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยช็อกถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ระยะฟื้นตัวมีช่วงเวลาประมาณ 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
    กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโรคไข้เลือดออกและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
    • ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 15 ปี
    • กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเลือด โรคทางระบบประสาทและติดสุรา
    ข้อควรปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
    • ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้
    • หากจำเป็นต้องใช้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น
    • ดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ
    • ควรพบแพทย์เมื่อไข้สูงเกิน 2 วัน เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
    • ปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์ กลับไปตรวจติดตามดูอาการและการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ
    • ระยะวิกฤต คือระยะไข้ลด ถ้ามีอาการเลวลง ซึม มือเท้าเย็น ปวดท้อง กระสับกระส่าย ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ด่วน!
    การกำจัดลูกน้ำยุงลาย
    การกำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา
    1. เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่มีบริเวณอับทึบให้ยุงลายเกาะพัก
    2. เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บเศษภาชนะที่ไม่ต้องการทิ้งไว้ในถุงดำมัดปิดปากถุง และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
    3. เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะไม่ใช้ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำหรือปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ และเน้นการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยทายากันยุง และนอนในมุ้ง

    หลักสูตร ความรอบรู้ เรื่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขง โรคติดต่อนำโดยแมลงและการกำจัด 

    โรคไข้เลือดออก

    โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค

    โปรแกรมและแพ็คเกจ