สัญญาณอันตราย...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

Coronary artery disease :CAD
โรคหัวใจเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ประชากรไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ   ส่วนใหญ่โรคหัวใจที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด
  1. เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย  อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
  2. อาการอื่นที่อาจเป็นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นลักษณะเฉพาะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นผลจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะตายในเวลาอันรวดเร็ว ภายใน 6 ชั่วโมง
โอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ได้แก่
  1. ผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป
  2. โรคเบาหวาน
  3. ความดันโลหิตสูง
  4. ไขมันในเลือดสูง
  5. สูบบุหรี่
  6. ความเครียด
  7. ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  8. มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
หากมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ โอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบยิ่งสูงขึ้น
ทำไมต้องมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็ว หลังเกิดอาการแน่นหน้าอก
การมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็วโดยเฉพาะใน 2 ชั่วโมงแรกของการเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่รวดเร็วทันเวลา เพื่อจำกัดบริเวณกล้ามเนื้อส่วนที่ตายไปแล้วและช่วยกล้ามเนื้อส่วนที่กำลังจะตายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
ผลเสียจากการตัดสินใจล่าช้า
การตัดสินใจล่าช้าอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้างและลึก เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภาวะช็อคจากหัวใจ  โดยเฉพาะภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังจากเกิดอาการ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีการแสดงของโรคหลายแบบ
  1. กรณีที่วิกฤตที่สุดจะเกิดคราบแข็งแตกตัวเฉียบพลัน ร่วมกับการเกิดลิ่มเลือดเกาะตัวมารวมกันอุดตันเส้นเลือดทันที ทำให้เกิดอาการหลอดเลือดหัวใจอุดตันในเวลาอันสั้นเป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงโดยไม่เคยรู้ตัวมาก่อน เรียกว่า อาการเจ็บหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome & Acute Myocardial Infarction)
  2. กรณีรองลงมา คราบแข็ง (Plaque) จะพอกตัวขึ้นช้าๆ ลิ่มเลือดเกิดขึ้นครั้งละน้อยๆ และละลายตัวได้ทันเองจากยา ไม่อุดตันในหลอดเลือดส่วนที่แคบจากคราบแข็ง หากการแคบตีบ จะมีอาการเพียง เจ็บหน้าอกร้าวไปไหล่ร่วมกับเหงื่อแตกขณะเจ็บหน้าอก เหนื่อย ความดันโลหิตสูง ถ้าควบคุมไม่ได้ อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจกราฟหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
  3. อาการเจ็บหน้าอกที่บ่งชี้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Angina Pectoris) มักเป็นการเจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก
การรักษา
  1. รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด
  2. รักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนและการใช้ขดลวดค้ำยัน
  3. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ
  4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ งดอาหารไขมันสูง ลดอาหารแป้งและน้ำตาล งดอาหารเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด
  5. รักษาโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รับประทานยาและติดตามการรักษาต่อเนื่อง
สัญญาณอันตราย เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น
หากมีอาการเหล่านี้ควรปร๊กษาแพทย์ ตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจ เพื่อการรักษาก่อนเกิดโรค

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรม ตรวจสุขภาพ S M L

ชุดตรวจสุขภาพ S, M, […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค