การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น

การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น

การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น
การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจเป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหันซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่คาดคิด การหายใจและการไหลเวียนของเลือดหยุดลงทันที ภายในไม่กี่วินาที ผู้ป่วยจะหมดสติและเสียชีวิต
การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในผู้ที่ดูเหมือนมีสุขภาพดีและมีอายุต่ำกว่า 35 ปีนั้นพบได้น้อย โดยพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนมากเกิดจากโรคหัวใจที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทางพันธุกรรม ซึ่งอาจทำให้คนหนุ่มสาวเสียชีวิตกะทันหันระหว่างทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง เช่น การแข่งขันกีฬา แต่การเสียชีวิตกะทันหันก็อาจเกิดขึ้นได้แม้ขณะที่พักหลับ
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันพบได้บ่อยเพียงใดในวัยรุ่น
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของนักกีฬาวัยรุ่น ในแต่ละปีมีนักกีฬาวัยรุ่นประมาณ 1 ใน 50,000-100,000 คน เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
อะไรเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น
การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจมักทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน การเต้นของหัวใจที่เร็วมากทำให้ห้องหัวใจด้านล่างบีบตัวอย่างรวดเร็วและไม่ประสานกัน หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะเป็นอันตรายถึงชีวิต ภาวะที่หัวใจทำงานหนักเกินไปหรือมีการทำลายเนื้อเยื่อหัวใจอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้
โรคที่อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น ได้แก่:
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ภาวะทางพันธุกรรมนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น การหนาขึ้นนี้ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ยาก
  • กลุ่มอาการ QT ยาวแต่กำเนิด ภาวะนี้อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วและผิดจังหวะ นำมาซึ่งอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุและการเสียชีวิตกะทันหัน โดยเฉพาะในคนอายุน้อย
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอื่นๆ เช่น กลุ่มอาการบรูกาดา และกลุ่มอาการวูล์ฟ-พาร์กินสัน-ไวท์
  • การถูกกระแทกที่หน้าอกอย่างรุนแรง การบาดเจ็บที่หน้าอกจากของแข็งซึ่งทำให้เกิดการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุด เต้นเฉียบพลัน เรียกว่า commotio cordis ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกิดขึ้นในนักกีฬาที่ถูกอุปกรณ์กีฬา หรือผู้เล่นคนอื่นกระแทกเข้าที่หน้าอกอย่างแรง
การเสียชีวิตกะทันหันในวัยรุ่นสามารถป้องกันได้หรือไม่
  1. ควรเล่นกีฬาในศูนย์กีฬามาตรฐานที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน หากมีอาการหรือภาวะดังกล่าวข้างต้น
  2. แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองที่แผนกอายุรกรรมเฉพาะทางโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาโรคหัวใจที่อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้
ใครควรได้รับการตรวจคัดกรอง
ผู้ที่มีอาการหรือภาวะต่างๆดังต่อไปนี้
  1. เป็นลม/หมดสติ โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นระหว่างทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย
  2. เจ็บหน้าอก
  3. มีประวัติครอบครัวเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

RSV ไวรัส วายร้าย ในผู้สูงวัย ป้องกันด้วยวัคซีน

RSV ไวรัส วายร้าย ในผู้สูงวัย ป้องกันด้วยวัคซีน

RSV Vaccine
การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)
RSV เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคหลอดลมอักเสบ (Bronchiolitis) และปอดบวม (Pneumonia) โดยเฉพาะในเด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่มีโรคหัวใจหรือปอด โดยสามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผ่านละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจาม
โดยอาการจะคล้ายไข้หวัด เช่น ไอ มีไข้ น้ำมูกไหล เจ็บคอ คัดจมูก อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถฆ่าไวรัส RSV ได้ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ ถ้ามีอาการรุนแรงอาจด้วยการใช้ยาขยายหลอดลมหรือให้ออกซิเจน รวมถึงเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
การป้องกันการติดเชื้อ โดยการปฏิบัติเหมือนการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น การล้างมือบ่อยๆ การสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการหวัด การฉีดวัคซีน RSV สำหรับกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ
วัคซีน RSV
ในอดีต RSV เป็นไวรัสที่ไม่มีวัคซีนในการป้องกัน แต่ในปัจจุบัน มีการวิจัยพัฒนาวัคซีน RSV ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ.2023 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้อนุมัติวัคซีน RSV ตัวแรกสำหรับผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวัคซีนเพิ่มเติมและการศึกษาทางคลินิกที่กำลังดำเนินการเพื่อสร้างวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV
ปัจจุบันในโรงพยาบาลบางโพมีวัคซีนที่เป็น Adjuvanted monovalent RSV vaccine (Arexvy) เป็นทางเลือกสำหรับผู้ต้องการรับวัคซีน RSV โดยข้อมูลในปัจจุบันแนะนำให้ฉีดเข้ากล้าม 1 เข็ม โดยไม่ต้องมีการฉีดกระตุ้น
ข้อบ่งชี้
  • ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้มีอายุ 50-59 ปี แต่มีโรคร่วมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง
ประสิทธิภาพ
  1. ลดอัตราการติดเชื้อ RSV ที่มีอาการได้ 82.6%
  2. ลดอัตราการเกิดโรคหลอดลมอักเสบและปอดบวมได้ 94.6%
  3. ลดความรุนแรงของอาการในผู้ที่ติดเชื้อ และลดการรักษาในโรงพยาบาล
  4. ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงทั่วไปที่พบได้บ่อยหลังจากการฉีดวัคซีน ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และมีไข้เล็กน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่รุนแรงและมักจะหายไปภายในไม่กี่วัน
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
ผู้ที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการรับวัคซีน
  1. ผู้ที่มีประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีนอื่น ๆ หรืออย่างรุนแรงต่อส่วนประกอบใด ๆ ของวัคซีน
  2. ผู้ที่ป่วยหนักหรือมีไข้สูงควรเลื่อนการรับวัคซีนจนกว่าจะหายดี
  3. ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับการรักษาด้วยยาที่กดระบบภูมิคุ้มกัน
  4. หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
การดูแลหลังการรับวัคซีน
  • ควรติดตามอาการของตัวเอง หากมีอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น หายใจลำบาก บวมที่หน้าและคอ หรือลมพิษ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • ควรพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น
สรุป
วัคซีนมีข้อห้ามและข้อควรระวังบางประการที่ผู้รับวัคซีนควรทราบ การปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการสุขภาพก่อนการรับวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าการรับวัคซีนเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

รักษาอาการปวดเรื้อรัง Shock Wave Therapy

การรักษาอาการปวดด้วยเครื่อง Shock Wave Therapy

Shock Wave Therapy
Shock Wave Therapy รักษาอาการปวดเรื้อรัง
คลื่นกระแทก (Shock Wave) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้รักษาคนไข้ที่มีอาการปวดระยะเรื้อรังที่ผ่านการรักษาต่างๆ มาแล้ว แต่ยังไม่ดีขึ้น โดยจะมีกระบวนการของการรักษาโดยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและลดอาการอักเสบได้ดี เครื่อง Shock Wave จะส่งคลื่นกระแทกได้ลึกและมีความถี่เข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารมาลดอาการปวดในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมแซมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้ช่วยลดปวดได้สามารถเห็นผลได้ทันทีหลังรักษา (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ) การใช้เครื่อง Shock Wave จึงเป็นทางเลือกในการรักษา
Shock Wave ช่วยรักษาอาการอะไรบ้าง
ประโยชน์ของการรักษาอาการปวดทางการแพทย์ นิยมใช้เทคโนโลยี Shock Wave Therapy เพื่อรักษาอาการ 3 อาการหลักคือ
  1. อาการออฟฟิศซินโดรม
    อาการออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ขาดการลุกออกจากที่นั่งเพื่อยืดเส้นยืดสายรวมถึงนั่งในท่าที่ผิดสรีระจะก่อให้เกิดอาการ ปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดข้อมือปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขนขา ปวดกราม ต้นคอ ปวดข้อมือ ฝ่ามือ ไมเกรน อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วย Shockwave ปวดคอ บ่า ไหล่
  2. อาการเส้นเอ็นอักเสบ
    อาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดจากการใช้งานซ้ำที่ทำให้เกิดความเครียดต่อเส้นเอ็น อาการเส้นเอ็นอักเสบ เช่น เอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นหัวไหล่อักเสบจากหินปูนเกาะ เอ็นเข่าอักเสบ ปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
  3. อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
    อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังเกิดจากการใช้มัดกล้ามเนื้อผิดท่าทางซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนเกิดความผิดปกติในการหดตัว อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เช่น พังผืดทับเส้นประสาท ปวดสะโพกร้าวลงขา อาการปวดร้าวบริเวณสะบัก อาการเอ็นอักเสบเรื้อรัง อาการปวดข้อเข่าในนักกีฬากระโดดสูง อาการปวดข้อไหล่ อาการปวดส้นเท้า อาการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณสันหน้าแข้ง อาการปวดข้อศอกด้านนอก
นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ยับยั้งกระบวนการอักเสบ ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ จุดเจ็บได้รับการผ่อนคลาย สลายหินปูนในเส้นเอ็น กระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ จนเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่
ข้อห้ามในการรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock Wave
  • ห้ามรักษาเด็ก
  • ห้ามรักษาหญิงตั้งครรภ์
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีการติดเชื้อ
  • ห้ามรักษาคนไข้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีหลอดเลือดโป่งพอง
  • ห้ามรักษาบริเวณที่เป็นเนื้องอก
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีการอักเสบของเส้นประสาท
ผลที่ได้จากการรักษาและระยะในเวลาการรักษา
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรก (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ) จากนั้นควรเว้นระยะห่างการรักษาครั้งถัดไป 1- 2 สัปดาห์ เพื่อให้เวลาร่างกายซ่อมแซมการอักเสบเรื้อรังที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ โดยจำนวนครั้งในการรักษาทั้งหมดอยู่ที่ 2-5 ครั้งแล้วแต่ความรุนแรงของอาการ
ภาวะที่ควรงดโปรแกรมการรักษากายภาพบำบัด ได้แก่
  • หลังการรักษาด้วยการฝังเข็ม ฉีดยา
  • การผ่าตัดต้อหรือเลนส์ตาภายใน 1 เดือน
  • หลังทำเลเซอร์ดวงตา
  • หลังการอุดฟัน ถอนฟัน
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีอาการท้องเสีย อ่อนเพลีย
  • มีอาการเวียนศีรษะ อาเจียน
  • มีไข้ เป็นหวัด ไอ จาม เจ็บคอ มีน้ำมูก
  • มีสัญญาณชีพผิดปกติ ดังนี้
    • ความดันโลหิต มากกว่า 160/100 mmHg หรือ น้อยกว่า 90/50 mmHg
    • อัตราการเต้นหัวใจ มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที หรือน้อยกว่า 50 ครั้งต่อนาที
    • มีไข้หรืออุณหภูมิร่างกาย มากกว่า 37.5 องศา
อ้างอิง:

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย - ทางเลือกใหม่ ลดปวดเรื้อรัง – ออฟฟิศซินโดรม ด้วย Shock Wave
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก - เครื่องมือพิเศษ / การให้บริการพิเศษ
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ - รู้จัก Shockwave การรักษาด้วยคลื่นกระแทก บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมลดปวดด้วย Shockwave

การรักษาอาการปวดด้วย […]

โปรแกรม Office Syndrome ออฟฟิศ ซินโดรม

เลือกโปรแกรมที่เหมาะ […]

ฝังเข็มรักษาโรค

การฝังเข็ม (Acupunct […]

บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า

31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก
บุหรี่ไฟฟ้า
เป็นอุปกรณ์ที่ประชาชนทั่วโลกรู้จักมากขึ้นและมีการใช้มากในปัจจุบันรวมถึงในประเทศไทย ซึ่งนับวันบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงาน เยาวชน และกลุ่มนักเรียน เนื่องจากมีการหาชื้อได้ง่าย ประกอบกับสื่อ Social ในปัจจุบันที่รวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งแม้ว่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ และผิดกฎหมายแล้วก็ตาม
บุหรี่ไฟฟ้า (Electric cigarette) เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดใหม่ สูบด้วยการใช้อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ สารนิโคตินเหลว ที่สกัดจากใบยาสูบในบุหรี่ไฟฟ้าจะระเหยด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป เมื่อสูบน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าจะถูกทำให้สารเคมีกลายเป็นละอองไอ เป็นอันตรายต่อผู้สูบและคนรอบข้าง ซึ่งน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าประกอบไปด้วย
  • สารนิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดที่มีผลเสียต่อสุขภาพ หลายระบบ
  • สารประกอบอันตราย นิกเกิล ดีบุก ตะกั่ว สารหนู ฟอร์มัลดีไฮด์ เบนซีน ซึ่งอาจก่อมะเร็ง
  • โพรพิลีนไกลคอล ระคายเคืองตา ทางเดินหายใจ ทำให้ไอ ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน
  • กลีเซอรีน เมื่อผสมกับโพรพิลีนไกลคอล ยิ่งทำให้ไอ หลอดลมตีบ หอบเหนื่อย
  • สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย
  • สารปรุงแต่งกลิ่น รส และอื่น ๆ บางตัวอาจทำให้ปอดอักเสบรุนแรง อาทิ วิตามินอี อะซิเตท
โทษของบุหรี่ไฟฟ้า มีปริมาณนิโคตินเท่ากับบุหรี่ทั่วไป จำนวน 20 มวน และสารนิโคตินที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย อนุภาคขนาดเล็กกว่า pm 2.5 คือประมาณ 1.0 ไมครอน ไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่าบุหรี่ธรรมดาจึงถูกสูดเข้าไปในปอดได้ลึกกว่า จับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็ว ยากที่ร่างกายจะขับออกมาได้หมด
  • ระบบการหายใจ เกิดการระคายเคือง ไอ เหนื่อยง่าย ทำให้โรคหืดและภูมิแพ้กำเริบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ โรคมะเร็งปอด
  • ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ภาวะหลอดเลือดแข็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ทำให้หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต
  • ระบบประสาทและสมอง เซลล์สมองถูกทำลาย อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ส่งผลถึงการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง ส่งผลต่อการเรียนรู้ สมาธิ ทำให้ความจำ การคิดวิเคราะห์ เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง การควบคุมอารมณ์ และเสี่ยงมีภาวะโรคซึมเศร้า ซึ่งปกติสมองจะพัฒนา เต็มที่ประมาณอายุ 25 ปี เพิ่มความเสี่ยงการติดยาเสพติดอื่น ๆ
  • ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อนและอาจนำไปสู่โรคมะเร็ง
  • ผู้ที่สัมผัสสารพิษที่ตกค้างจากควันบุหรี่ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า “บุหรี่มือสาม” อาจเกิดอาการผิวหนังอักเสบ
บุหรี่ไฟฟ้ากับอาการที่ควรไปพบแพทย์
  • อาการไข้ หนาวสั่น
  • ไอ เหนื่อยง่าย
  • หายใจลำบาก หายใจสั้น หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สะดวก
  • แน่นหน้าอก
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • หากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ผู้ที่มีโรคที่เกี่ยวกับปอดอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคหืด หรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง
เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่เอกสารแนวทางใหม่ 2 ฉบับ ได้แก่ “คู่มือสำหรับโรงเรียนปลอดนิโคตินและยาสูบ” และ “ชุดเครื่องมือสำหรับโรงเรียนปลอดนิโคตินและยาสูบ” เพื่อช่วยปกป้องสุขภาพของเด็กนักเรียนก่อนจะเปิดเทอมในหลายประเทศ
4 วิธีในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปราศจากนิโคตินและยาสูบสำหรับเยาวชน
  • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบในบริเวณโรงเรียน
  • ห้ามขายผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบใกล้โรงเรียน
  • ห้ามโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อมและห้ามส่งเสริมผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบใกล้โรงเรียน
  • ปฏิเสธการสนับสนุนหรือการมีส่วนร่วมกับอุตสาหกรรมยาสูบและนิโคติน
ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้ามุ่งเป้าไปที่เด็กผ่านสื่อโซเชียลมีเดียและผู้ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากบนสื่อเหล่านั้น บุหรี่ไฟฟ้ามีรสชาติอย่างน้อยกว่า 16,000 รสชาติ บุหรี่ไฟฟ้าบางส่วนใช้ตัวการ์ตูนและมีดีไซน์เก๋ไก๋ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ สถิติการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยพบว่าอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กนั้นสูงเกินกว่าผู้ใหญ่ในหลายประเทศ” ดังนั้น ผู้ปกครองและโรงเรียน ควรหมั่นสอดส่องดูแล ควรเฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด พูดคุย เปิดใจรับฟัง รวมถึงเตือนถึงโทษภัยจากบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า สร้างความผูกพันและเป็นตัวอย่างที่ดี สร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ภายในบ้านและไปในสถานที่ปลอดบุหรี่
ที่มา:

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก - บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายพิษร้ายต่อสุขภาพ
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ - อันตรายจากบุหรี่
กรมประชาสัมพันธ์ - “สูบบุหรี่ไฟฟ้า” อันตราย เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรง
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ - บุหรี่ไฟฟ้า อันตราย..แม้ไร้ควัน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

วัยทำงาน
วัยทำงาน คือ ช่วงอายุ 18-59 ปี กลุ่มคนเหล่านี้จะให้เวลากับการทำงาน 1 ใน 3 ของแต่ละวันคือ ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน วัยนี้หลายคนทำงานหนัก เนื่องจากภาระงานติดพันหรือด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องทำงานเกินเวลา ส่งผลให้ไม่มีเวลาที่จะดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม พักผ่อนน้อย กินอาหารไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ดังนั้นการดูแลสร้างเสริมสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โรควัยทำงาน หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างต่อเนื่องนานๆ โดยเฉพาะงานที่ต้องนั่งหรือยืนอยู่เป็นเวลานานๆ หรือทำงานที่ต้องใช้แรงงานหนัก ซึ่งหลายประเภท โดยอาการและผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล ดังนี้
  1. อาการปวดเรื้อรัง
    ออฟฟิศซินโดรม โรคที่เกิดจากการนั่งทำงานท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดคอ รวมถึงอาการเจ็บปวดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น อ่อนเพลีย อ่อนแรง คลื่นไส้ หรือหมดแรงงาน
  2. อาการสำหรับสุขภาพจิต
    ความเครียดสะสม วิตกแห่งอารมณ์ ภาวะซึมเศร้า สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการทำงาน อาจเกิดจากความเครียดในการทำงาน รวมถึงความกดดันในเรื่องต่างๆ ด้านจิตใจหรือความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่มีผลต่อจิตใจอย่างรุนแรง ก็ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย
  3. อาการที่เกิดกับสายตาและการมองเห็น
    หรือใช้สายตามองจอคอมพิวเตอร์นานๆ ทำให้มีผลต่อดวงตา แสบตา ไม่สบายตา เกิดอาการระคายเคืองตา เจ็บตา ตาพร่าจากการจ้องมองที่ไม่ค่อยกระพริบตา เป็นผลให้มีอาการตาแห้ง
  4. อาการทางสมอง
    ไมเกรน บ้านหมุน สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เป็นโรคใกล้ตัวคนวัยทำงาน มีความเครียดเป็นสาเหตุหลัก เนื่องจากสมองเป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทุกส่วน เมื่อระบบประสาทและสมองมีปัญหา ก็จะส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วยเช่นกัน มักมีอาการตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง การคิด การทำ การพูด การทรงตัวผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะทำให้พิการได้
  5. อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
    กรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบ
    โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ผลระยะยาวของโรคนี้ อาจนำพาไปสู่การเกิดมะเร็งได้
  6. อาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
    กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคที่เกิดจากการอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เนื่องจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิง
จากรายงานสุขภาพคนไทย 2566 พบว่าคนไทยวัยทำงานมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพดังนี้
  1. การสูบบุหรี่
    • 1 ใน 5 คนวัยทำงาน สูบบุหรี่ทุกวัน
    • กลุ่มลูกจ้างเอกชน และผู้ทำงานส่วนตัว มีอัตราการสูบบุหรี่ทุกวันสูงที่สุด
    • การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  2. การบริโภคแอลกอฮอล์
    • 1 ใน 4 คนวัยทำงาน ดื่มแอลกอฮอล์ทุกสัปดาห์
    • กลุ่มนายจ้าง ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวันสูงที่สุด
    • การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง
  3. การบริโภคอาหาร
    • คนวัยทำงาน กินอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม สูง
    • แหล่งอาหารหลักมาจากแป้งขัดขาว น้ำตาล และไขมันอิ่มตัว
    • การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  4. กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • คนวัยทำงาน กว่า 80% มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
    • การไม่ออกกำลังกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน
การรักษาและการป้องกัน
การรักษาโรควัยทำงานมักเน้นการป้องกันและการบริหารจัดการอาการ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานและการพักผ่อน การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพที่ดี เช่น การฝึกหัดการทำงานโดยไม่กดดันตัวเองมากเกินไป การนั่งหรือยืนในท่าที่ถูกต้อง เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สมส่วน และการดูแลสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและเพื่อรักษาสุขภาพที่ดีในระยะยาว
การปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและการบริหารจัดการอาการอาจประกอบด้วยวิธีต่อไปนี้
  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
    • ให้ความสำคัญกับการใช้ท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน เช่น การนั่งหรือยืนในท่าที่สมบูรณ์แบบ เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
    • มีการพักผ่อนที่เพียงพอระหว่างการทำงาน เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสในการฟื้นตัว
    • ป้องกันการทำงานนานเกินไปโดยการแบ่งงานหรือการใช้ช่วงเวลาพักที่เหมาะสม กรณีใช้คอมพิวเตอร์ให้หลับตาทุก 10 นาทีต่อการทำงาน 1 ชั่วโมง หรือพักทุก 15 นาทีต่อการทำงานต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง
  2. การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ
    • มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและรักษาสุขภาพของร่างกาย
    • ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    • รักษาการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการเพียงพอ และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารไม่สุขภาพ อาหารเสริมที่ไม่จำเป็น
  3. การบริหารจัดการสุขภาพจิต
    • ให้ตัวเองเวลาในการพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ช่วยในการผ่อนคลาย เช่น การทำโยคะ การฝึกสติ หรือการอ่านหนังสือ
    • พูดคุยกับคนที่ไว้วางใจหรือคนที่สามารถให้การสนับสนุนที่ดีต่อสุขภาพจิต
    • หากมีปัญหาทางจิตใจที่รุนแรง ควรพบประสบการณ์อาจารย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อคำปรึกษาและการรักษา
  4. การใช้เครื่องมือช่วย
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยลดการบริโภคแรงงาน และลดการทำงานที่ต้องใช้แรงมาก เช่น รถเข็นของหนัก เก้าอี้ที่สามารถปรับระดับได้ เป็นต้น
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยในการป้องกันอันตรายในการทำงาน เช่น หูฟังป้องกันเสียงดัง หรือหน้ากากป้องกันฝุ่น
    • ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ควรจัดสถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแสงสว่างพอเหมาะ โดยเฉพาะจอภาพ แป้นพิมพ์ และที่วางเอกสาร เป็นต้น จะช่วยให้สบายตา หรืออาจใช้หลอดไฟโซเดียมเพื่อให้แสงสว่าง ใช้แผ่นกรองแสงเพื่อลดแสงจ้าและแสงสะท้อน จะช่วยลดความล้าของสายตาลงได้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้เครื่องมือช่วยนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและช่วยให้ร่างกายและจิตใจมีสุขภาพดีในระยะยาว

โปรแกรมและแพ็คเกจ

วัคซีนป้องกันไวรัส RSV

วัคซีนป้องกันไวรัส R […]

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

พิษจากสารแคดเมียม

พิษจากสารแคดเมียม

พิษจากสารแคดเมียม
แคดเมียมมีสูตรทางเคมีคือ Cd เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่มักพบตามธรรมชาติ มีสีเงินขาว แวววาวเป็นสีน้ำเงินจางๆ ไม่มีกลิ่น มีลักษณะเนื้ออ่อน สามารถบิดโค้งงอได้และถูกตัดได้ง่ายด้วยมีด มักอยู่ในรูปแท่ง แผ่น เส้น ลวด หรือเป็นผงเม็ดเล็กๆ สามารถทำปฏิกิริยาเคมีอย่างรุนแรงกว่าสารที่ให้ออกซิเจน เนื่องจากแคดเมียมทนทานต่อการสึกกร่อนได้เป็นอย่างดี จึงนำไปฉาบผิวโลหะต่างๆ ในทางอุตสาหกรรม หรือเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ในการทำ อุตสาหกรรมเหมือง แร่ เชื่อมโลหะ โซล่าเซลล์ รวมถึงยังใช้เป็นขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ชนิดที่เติมประจุใหม่ได้อีกด้วย
การปนเปื้อนจากโลหะหนักรวมถึงแคดเมียมนับเป็นปัญหาสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และอาจมีการถ่ายทอดไปสู่ห่วงโซ่อาหาร สะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชและสัตว์ ซึ่งจะนำมาสู่คนและเกิดอันตรายต่อผู้ที่ได้รับขึ้นได้ แคดเมียมเป็นโลหะหนักที่ไม่ละลายนํ้า ทั้งยังมีจุดเดือด (765 องศาเซลเซียส) และจุดละลาย (321 องศาเซลเซียส) สูงมาก หากได้รับเข้าสู่ร่างกายเกิดอันตรายต่ออวัยวะเป้าหมาย คือ ตา ผิวหนังและเยื่อบุสัมผัส ระบบทางเดินหายใจ/ทางเดินอาหาร/ทางเดินปัสสาวะ ไตและกระดูก
อาการ
อาการของการเกิดพิษขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ ทางที่ได้รับ และระยะเวลาที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย แบ่งเป็น
  1. อาการพิษเฉียบพลัน
    • ได้รับโดยการสูดดมไอของแคดเมียมออกไซด์: ทำให้เกิดมีอาการไข้ ไอ หนาวสั่น หายใจเสียงวี๊ด เจ็บหน้าอก ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ มักเกิดภายใน 4-24 ชั่วโมง หลังการสูดดมไอแคดเมียม ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะปอดอักเสบและระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
    • ได้รับโดยการกินเกลือแคดเมียม: ทำให้มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ในรายที่กินปริมาณมาก อาจมีเลือดออกจากทางเดินอาหาร ช็อค ไตวายได้
    • การสัมผัสเกลือแคดเมียมทางผิวหนัง ตา และเยื่อบุ: ทำให้มีอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ตา และเยื่อบุที่สัมผัส หากสัมผัสไอร้อนหรือแคดเมียมเหลว ทำให้เกิดการไหม้บริเวณที่สัมผัสได้
  2. อาการพิษระยะยาว - เมื่อได้รับแคดเมียมติดต่อเป็นระยะยาวนาน
    • ได้รับทางการหายใจ: อาจทำ ให้มีพังผืดในปอด ถุงลมโป่งพอง และสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอด
    • ได้รับทั้งการกินและการหายใจ: อาจทำให้เกิดความผิดปกติที่ไต ได้แก่ มีการรั่วของโปรตีน นํ้าตาล แคลเซียมและฟอสเฟตทางปัสสาวะ มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวายเรื้อรัง
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกระดูกคดงอ หักง่าย และมีอาการปวดรุนแรง ที่รู้จักในชื่อ "โรคอิไต-อิไต" ซึ่งพบในผู้ป่วยที่บริโภคอาหารและนํ้าที่ปนเปื้อนเป็นเวลานาน โดยเฉพาะข้าวที่ปลูกในบริเวณที่มีการปนเปื้อนแคดเมียม ปริมาณมากในนํ้า และดิน สำหรับการก่อมะเร็งนั้น แคดเมียมเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งไตและมะเร็งต่อมลูกหมาก
การรักษา
เน้นการรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง ยังไม่มีการรักษาหรือยาต้านพิษจำเพาะ
ยาที่ใช้ขับโลหะหนักที่มีในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษายืนยันว่ามีประโยชน์ในการรักษาพิษจากแคดเมียม
ดังนั้นการป้องกันและลดการสัมผัส จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
การตรวจหาสารแคดเมียมในร่างกาย 2 วิธี ทั้งนี้มีความแตกต่างในเรื่องระยะเวลาการสัมผัส
1. การตรวจแคดเมียมในเลือด (Cadmium in Blood) สามารถใช้ตรวจเพื่อประเมินการสัมผัสระยะสั้น (Short Term Exposure) ได้ดีกว่า
2. การตรวจแคคเมียมในปัสสาวะ (Cadmium in Urine) เหมาะสำหรับตรวจประเมินผู้ที่สัมผัสอย่างต่อเนื่องในระยะยาว (Long Term Exposure)
ทั้งนี้ทั้ง 2 แบบยังคงต้องมีการประเมินควบคู่กับผลพยาธิสภาพทั่วไปประกอบด้วยทั้งการประเมินโดยแพทย์
บริการตรวจหาสารแคคเมี่ยมในร่างกาย

  • รอผล 10 วัน 600 บาท
  • รอผล 3 วัน 800 บาท
  • ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการ
ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

พิษจากสารแคดเมี่ยม.pdf

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.

รู้จักแคดเมียม โลหะพิษอันตราย สาเหตุ “โรคอิไตอิไต” และโรคมะเร็ง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

โรคพาร์กินสัน PARKINSON’S DISEASE

โรคพาร์กินสัน

PARKINSON’S DISEASE
11 เมษายนเป็นวันโรคพาร์กินสันโลก (World Parkinson’s Disease Day) โรคทางสมองพบแพทย์เร็ว ช่วยชะลอความรุนแรงของโรคได้
โรคพาร์กินสัน (PARKINSON’S DISEASE)
โรคพาร์กินสัน หรือ โรคสั่นสันนิบาต เป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์สมองในบางตำแหน่งตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้ "โดพามีน" สารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายตายและลดจำนวนลง ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเกิดอาการสั่น โรคความเสื่อมของระบบประสาท พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 1.5 เท่า เกิดจากสารเคมีในสมองที่เรียกว่าโดปามีน (Dopamine) ลดลง เพราะมีความเสื่อมตายของเซลล์ในสมอง สารโดปามีนมีความสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อสารโดปามีนลดลงจึงเกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหว เช่น มีอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า เดินซอย แขนขาเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายช้าและสูญเสียการทรงตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่หากได้รับการวินิจฉัยโรคและรับการดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยชะลออาการของโรคและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
อาการ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
  1. กลุ่มอาการผิดปกติของการเคลื่อนไหว (Motor symptoms)
  2. กลุ่มอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Non-Motor symptoms)
กลุ่มอาการผิดปกติของการเคลื่อนไหว (Motor symptoms) มักเป็นอาการแรกเริ่มของผู้ป่วยพาร์กินสัน
  1. อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) ผู้ป่วยจะเดินช้า เริ่มก้าวลำบาก เมื่อก้าวเดินแล้วจะซอยเท้าถี่ๆ ก้าวเท้าตามปกติไม่ค่อยได้
  2. อาการแข็งเกร็ง (Rigidity) เป็นอาการแข็งเกร็งที่เกิดกับแขนหรือขาข้างที่มีอาการสั่น ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้า เขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือที่เขียนจะเล็กลงและชิดติดกัน
  3. มีการสูญเสียการทำงานของมือ การเคลื่อนไหวแขนจะน้อย เช่น เวลาเดินจะไม่แกว่งแขน และกล้ามเนื้อใบหน้าไม่มีการเคลื่อนไหวทำให้ดูหน้าตาย ไม่แสดงอารมณ์ที่ใบหน้า
  4. สูญเสียการทรงตัว โดยเฉพาะเวลาเดินจะทรงตัวไม่ได้ ผู้ป่วยจะโน้มตัวไปข้างหน้า ขาดความสมดุลในการทรงตัว ทำให้ผู้ป่วยหกล้มได้ง่าย
กลุ่มอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Non-Motor symptoms)
เช่น อาการหลงลืม ขี้กังวล เหนื่อยล้าง่าย เหงื่อออกมาก ท้องผูก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันจากประวัติ อาการ และจากการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อแยกโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกัน เช่น การตรวจภาพของสมองด้วย MRI (Magnetic resonance imaging) หรือตรวจด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เครื่อง SPECT (Single-photon emission computed tomography) หรือเครื่อง PET (Positron emission tomography) เป็นต้น
การรักษา
  1. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เป้าหมายการรักษาคือการควบคุมอาการต่างๆ โดยการเพิ่มสารโดปามีน เข้าไปในสมอง ด้วยการให้รับประทานยาที่มีผลเพิ่มสารโดปามีน เช่น ลีโวโดปา (levodopa) ในบางรายแพทย์อาจจะพิจารณาการผ่าตัดสมอง
  2. รับประทานอาหารที่เหมาะสมให้ครบ 5 หมู่ แต่ระวังไม่ควรรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป เพราะจะทำให้การดูดซึมของยาลีโวโดปาลดลง รับประทานอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์ เพื่อลดอาการท้องผูก เมื่อมีปัญหาการกลืนต้องปรับเป็นอาหารอ่อน ให้กินทีละน้อยแต่บ่อยขึ้น
  3. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น ช่วยในการทรงตัว ช่วยให้การทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้น โดยรับการแนะนำและฝึกฝนจากนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายงานการรำไทเก็ก ช่วยให้ผู้ป่วยพาร์กินสัน เคลื่อนไหวและทรงตัวได้ดีขึ้น และการร้องเพลงประสานเสียงยังช่วยให้ผู้ป่วยพูดได้คล่องขึ้นแก้ปัญหาการพูดติดขัดได้
  4. การปรับสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้สะดวกมากขึ้น เช่น การมีราวให้มือจับเวลาเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันการหกล้ม ภายในบริเวณบ้านควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ ระวังอย่าให้พื้นภายในบ้านเปียกชื้น ควรมีแผ่นยางกันลื่น ห้องน้ำควรมีโถชักโครก เป็นต้น
ผู้ป่วยพาร์กินสัน ยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ถ้าติดตามการรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รับประทานยาตรงตามที่แพทย์สั่ง รับประทานอาหารที่เหมาะสมและออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้หกล้ม ทำงานอดิเรกที่ชอบได้ เช่น การวาดรูป จะเป็นการช่วยฝึกการเคลื่อนไหวของมือ และทำให้เกิดความเพลิดเพลินได้
หากคุณสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ ขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพราะการรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)

โรคอารมณ์สองขั้ว

Bipolar Disorder

 

30 มีนาคม “วันไบโพลาร์โลก” (World bipolar day) ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาที่ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ต้องพบเจอ สร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนทั่วไปว่าอาการของโรคนี้เป็นอย่างไร และช่วยกันลดความเข้าใจหรือความเชื่อผิดๆ ที่สร้างแผลทางใจต่อผู้ป่วย โรคไบโพลาร์จัดเป็นโรคในกลุ่มจิตเวช ที่เกี่ยวข้องกับด้านอารมณ์ สามารถพบได้สูงถึง 1.5-5% ของจำนวนประชากร มักพบได้บ่อยในช่วงอายุ 15-19 ปี และรองลงมาคืออายุ 20-24 ปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี และยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้สูงถึง 70-90%  กรมสุขชภาพจิต
โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
หรือที่รู้จักกันดีว่า “โรคไบโพลาร์” โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์สองขั้วสลับไปมาอย่างรุนแรง คือช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ (Mania) กับ ช่วงอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ (Depression) โดยในแต่ละช่วงอารมณ์อาจอยู่นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยมีช่วงอารมณ์ปกติคั่นกลางได้ สาเหตุสำคัญเกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจถูกกระตุ้นในผู้ที่มีความเครียดสะสม หรืออดนอนบ่อยๆ ร่วมด้วย การแสดงออกทางอาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1. ภาวะตกต่ำในอารมณ์ (Depressive Episode)
อารมณ์ที่โดดเดี่ยว และเศร้าเสมอไปกับ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ มักมีอาการ
  1. มีอาการซึมเศร้า เก็บตัว เสียใจง่าย ร้องไห้ง่าย
  2. มีปัญหาด้านการนอน นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไป
  3. มีปัญหาด้านการกิน กินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป
  4. สมาธิลดลง ไม่สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้
  5. วิตกกังวลต่อสิ่งรอบตัว มองโลกในแง่ร้าย หรือมีความสุขทางกายลดลง
  6. ขาดความสนใจในกิจวัตรประจำวัน
  7. รู้สึกเบื่อ ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่สนใจกิจกรรมต่างๆ หรือขาดความสุขในกิจกรรมที่เคยชอบ
  8. รู้สึกผิดหวัง ไม่มีความสุข มีความคิดเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ
2. ภาวะขึ้นสูงในอารมณ์ (Manic Episode)
อารมณ์ที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและมีพลังงานมาก อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania) ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ มักมีอาการ
  1. มักคิดว่าตนเองสำคัญ มั่นใจในตัวเองมากขึ้น หรือความรู้สึกมีพลังงานเป็นพิเศษ
  2. นอนน้อยกว่าปกติมาก โดยไม่มีอาการเพลีย หรือไม่นอนเลย
  3. คิดเร็ว พูดเร็ว พูดมากกว่าปกติ
  4. ทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในช่วงเวลานั้น
  5. ภาวะในการตัดสินใจไม่ดี หรือการประสบความสำเร็จที่เกินไป
  6. โต้ตอบต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ไม่มีเหตุผล
  7. ความเสี่ยงทางพฤติกรรมหรือการพึ่งพาตัวเองที่มีความเสี่ยงสูง
สาเหตุของการเกิดโรค
โรคไบโพลาร์เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อสมดุลของสารเคมีในสมองและพฤติกรรมของร่างกาย ได้แก่
  1. พันธุกรรมความเสี่ยงในการเป็นโรคไบโพลาร์สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ หากคุณมีคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคนี้ คุณมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์สูงกว่าคนทั่วไป
  2. สภาพแวดล้อมสภาพแวดล้อมรอบตัวเช่น ความเครียดในชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติดอื่น ๆ ก็อาจมีผลในการเสริมสร้างความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์
  3. ภาวะทางจิตใจการเลี้ยงดูในวัยเด็กหรือวิกฤตในชีวิตที่ประสบกับเหตุการณ์ทางจิตใจที่รุนแรง เช่น การสูญเสียคนในครอบครัว การเหยียดหยาม หรือการเจ็บป่วยร้ายแรง อาจมีผลต่อการพัฒนาของโรคไบโพลาร์
  4. ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนิน ดอปามีน และนอร์อะดรีนาลีน มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์และความผิดปกติในระดับของสารเคมีเหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของโรคไบโพลาร์
  5. โรคร่วมอื่นบางครั้งโรคไบโพลาร์อาจเกิดขึ้นพร้อมกับโรคร่วมอื่น ได้แก่ โรคทางระบบประสาท เช่น โรคลมชัก โรคหลอดเลือดสมอง โรคไมเกรน เนื้องอกสมอง อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน โรคติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์ การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง โรคเกี่ยวกับระบบผู้คุ้มกัน เช่น SLE
วิธีรักษา
โรคไบโพลาร์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาได้ตามอาการ เน้นการควบคุมอารมณ์และลดความรุนแรงของโรค เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว
  1. การรักษาด้วยยาใช้ยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองให้กลับสู่สภาวะปกติ ทำให้อารมณ์มั่นคง สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น หากผู้ป่วยกังวลกับผลข้างเคียงของยา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ และแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแต่ห้ามหยุดยาเอง เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมามีอาการของโรคซ้ำ หรือมีอาการของโรครุนแรงกว่าเดิม ให้ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด และมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  2. การรักษาด้วยจิตบำบัด(Psychotherapy)เป็นการทำจิตบำบัดด้วยการพูดคุยกับผู้ที่มีอาการของโรคไบโพลาร์โดยตรงกับจิตแพทย์ และ/หรือนักจิตวิทยาเพื่อวิเคราะห์สภาพจิตใจ สาเหตุของปัญหา และหาทางออกให้กับปัญหาอันเป็นที่มาของความทุกข์ในใจ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะในการเผชิญกับปัญหา เพื่อให้สามารถเอาชนะปัญหา และอุปสรรคในชีวิตได้
โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายจากอาการผิดปกติและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ หากได้รับการรักษา การลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด ไม่ควรอดนอน และไม่ควรใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์ และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
หากคุณหรือคนรู้จักมีความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อการประเมินอาการและแนวทางการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

วัณโรคระยะแฝง

วัณโรคระยะแฝง

Latent TB
วัณโรคคืออะไร
วัณโรค คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งก่อให้เกิดอาการผิดปกติได้หลายระบบของร่างกายขึ้นกับอวัยวะที่ติดเชื้อ แต่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อในปอด
ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง คืออะไร
ผู้ที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้ ไม่มีอาการผิดปกติ และไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
ทำไมเราถึงต้องให้ความสนใจผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง
ผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงประมาณร้อยละ 10-20 จะเกิดการดำเนินโรคต่อจนเข้าสู่ระยะเป็นวัณโรค นั่นคือ มีเอกซเรย์ปอดผิดปกติ และอาจมีอาการ รวมทั้งสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี ยิ่งมีโอกาสเป็นวัณโรคมากขึ้น และเป็นรุนแรง
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยวัณโรคระยะแฝง คือใคร
1. ผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค แบ่งเป็น
  1. ผู้สัมผัสร่วมบ้าน คือ บุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค
  2. ผู้สัมผัสใกล้ชิด คือ บุคคลที่ไม่ใช่ผู้อาศัยร่วมบ้าน แต่อยู่ร่วมกันในพื้นที่เฉพาะ โดยนับเวลาเฉลี่ย 8 ชั่วโมง/วัน หรือ 120 ชั่วโมง/เดือน ในช่วง 3 เดือนก่อนผู้ป่วยมีอาการหรือก่อนการวินิจฉัย
2 ผู้ติดเชื้อ HIV รวมถึงโรคเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ เช่น ได้รับยากดภูมิ
การวินิจฉัยวัณโรคระยะแฝง ทำได้อย่างไร
  1. การทดสอบทางผิวหนังด้วยทูเบอร์คูลิน โดยการฉีดโปรตีนสกัดจากเชื้อวัณโรค เรียกว่า PPD (purified protein derivative) เข้าในชั้นใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขน หลังจากนั้น 48-72 ชั่วโมงจะทำการวัดรอยนูนบริเวณที่ฉีดยา
  2. การทดสอบ Interferon-gamma release assays (IGRA) เป็นวิธีการทดสอบที่ใช้วิธีการวัดปริมาณ interferon-gamma เมื่อมีการติดเชื้อวัณโรคขึ้นในร่างกาย
โดยที่ความไวและความจำเพาะของ IGRA จะเท่ากับหรือดีกว่าการทดสอบทูเบอร์คูลิน รวมถึงลดการเกิดผลบวกลวงได้
ถ้าตรวจพบว่ามีการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อ
  1. แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการกินยาต้านวัณโรคตามสูตรการรักษาวัณโรคระยะแฝง ประกอบด้วยยา 1-2 ชนิด ระยะเวลา 3-9 เดือน ขึ้นกับสูตรยาที่แพทย์เลือก พบว่าการกินยาต้านวัณโรคสามารถลดการดำเนินโรคจากระยะแฝงไปสู่ระยะเป็นวัณโรคได้ประมาณร้อยละ 70
  2. แพทย์อาจพิจารณาไม่ให้ยาต้านวัณโรค แต่ใช้การติดตามอาการ และเอกซเรย์ปอดทุก 6 เดือน จนครบ 2 ปี เนื่องจากพบว่า ผู้สัมผัสโรคส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดการดำเนินโรคจนเป็นวัณโรค
การจะพิจารณาให้การรักษาต่อด้วยวิธีใด ขึ้นอยู่กับการประเมินประโยชน์ในการลดโอกาสป่วยเป็นวัณโรค ควบคู่ไปกับความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงจากยา อธิบายข้อดีข้อเสีย และให้ผู้ป่วยตัดสินใจร่วมกับแพทย์
อ้างอิง : แนวทางเวชปฏิบัติวัณโรคระยะแฝง พ.ศ.2566

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

ปักหมุด ที่เที่ยววันเด็ก 2567 รอบกรุง

ปักหมุดที่เที่ยววันเด็ก 2567 รอบกรุง

ปักหมุดที่เที่ยววันเด็ก 2567 รอบกรุง
“วันเด็ก” เป็นวันสำคัญของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัว เพราะนอกจากเด็กๆ จะได้สนุกสนาน สร้างจินตนาการและเสริมพัฒนาการแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังได้ย้อนวันเวลาเป็นเด็กอีกครั้ง ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 13 มกราคม ซึ่ง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบคำขวัญวันเด็ก 2567 ว่า "มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย"
วันเด็กทุกๆ ปี ทั้งราชการและเอกชนหลายๆ แห่งจะมีการจัดกิจกรรมสนุกๆ สร้างจินตนาการและเสริมพัฒนาการ รวมถึงรับของแจกมากมาย เพื่อส่งมอบความสุขควบคู่กับการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมที่เสริมสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี แล้วกิจกรรมหรือการเล่นแบบไหนเสริมพัฒนาการด้านใด แลมีที่ไหนบ้าง เราปักหมุดมาให้แล้วค่ะ
  • กิจกรรมการระบายสี การวาดรูป ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมือทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ (Motor skill) และเป็นการฝึกการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา
  • กิจกรรมการอ่าน การฝึกทักษะด้านภาษา การฝึกการมองภาพและการรู้จักสิ่งต่างๆ สร้างจินตนาการ สร้างความอบอุ่น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อยด้วย เป็นกิจกรรมกระตุ้น พัฒนาการเด็ก ที่ดีที่สุด
  • กิจกรรมการปีนป่าย รวมถึงการปั่นจักรยาน เด็กชอบที่จะปีนป่าย จะชอบสำรวจสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ท้าทาย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อหลักๆของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อแขนขาและยังช่วยฝึกทักษะการสร้างสมดุลของร่างกาย
  • กิจกรรมการทำอาหาร หรือ กิจกรรมเลียนแบบอาชีพต่างๆ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกายและสังคม กระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นพากเพียร จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ โดยตั้งแต่กระบวนความคิด การวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน และการแก้ปัญหา เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by doing)
null
กิจกรรม "NASAPA Land ดินแดนผู้พิทักษ์โลก"
วุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) พบกับกิจกรรม "NASAPA Land ดินแดนผู้พิทักษ์โลก" เตรียมกับกับกิจกรรมสุดว้าว ได้แก่
  • กิจกรรม DIY Workshop แต่งตัวให้กระต่ายสุดน่ารัก
  • ทำความรู้จักสัปปายะสภาสถาน
  • เรียนรู้วิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • เยี่ยมชมห้องประชุมวุฒิสภา
  • ตอบคำถามลุ้นรับรางวัลมากมาย
null
กิจกรรม "รักษาสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเล"
พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร)
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร) ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. สามารถลงทะเบียนได้ที่
ช่องทางลงทะเบียน
  1. On-site : สามารถลงทะเบียน ณ จุดลงทะเบียนได้ที่หน้างาน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป
  2. On-line : สามารถลงทะเบียนผ่าน Google Forms ได้ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2567 (เริ่มลงทะเบียน 10.00 น. เป็นต้นไป ) ถึง 7 มกราคม 2567 (สิ้นสุดการลงทะเบียน 16.00 น.) ลงทะเบียนที่นี่ : ฟอร์มลงทะเบียน
ที่มา : กิจกรรม "รักษาสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเล"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/bkkchildrensmuseum
null
กิจกรรม "เด็กไทยหัวใจ Volunteer"
สภากาชาดไทย
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ บริเวณโถงอาคารสิรินทรานุสรณ์ 60 ปี สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ ภายในงานพบกิจกรรมจากพี่ๆ หน่วยงานภายในสภากาชาดไทย พร้อมของแจกของรางวัลพิเศษมากมาย
ที่มา : กิจกรรม "เด็กไทยหัวใจ Volunteer"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/ThaiRedCrossSociety

null
ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 จัดขึ้นในวันที่ 12-13 มกราคม 2567 ที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนโยธี วันที่ 12-14 มกราคม 2567 ที่ ศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา ชั้น 5 กรุงเทพฯ และวันที่ 13 มกราคม 2567 ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลองห้า ปทุมธานี นอกจากนี้ ยังกระจายความสนุกไปทั่วประเทศในมหาวิทยาลัยราชภัฏอีก 16 แห่ง และวิทยาลัยชุมชนกว่า 20 แห่ง พร้อมด้วยหน่วยงานตามภูมิภาคต่าง ๆ ยกทัพความสนุกรวมกว่า 46 แห่งทั่วประเทศ
กิจกรรมในงานครอบคลุมทุกสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา กิจกรรมในงานเน้นให้ผู้เข้าร่วมได้ลงมือทำจริง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและปลูกฝังให้เด็ก ๆ และเยาวชนมีความสนใจในวิทยาศาสตร์
ที่มา: ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/scienceavenue
null
กิจจกรรม "เมล็ดพันธุ์ของพระราชา"
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
วันที่ 13 มกราคม 2567 พบกับความสนุกสนานในงานวันเด็กแห่งชาติ “เมล็ดพันธุ์ของพระราชา” สนุกกับเกมและกิจกรรม Walk rally วิถีเกษตร พร้อมตะลุยภารกิจพิชิต 20 ฐานการเรียนรู้ อาทิ จักรยานสูบน้ำ ปลูกผักกลับบ้าน ต่อวงจรโซลาร์เซลล์ ตามล่าหาเมล็ดพันธุ์ นาปาเป้า หนูน้อยจ่ายตลาด คีบเมล็ดพันธุ์ พลังงานเท้าเหยียบ และกิจกรรมมากมายพร้อมลุ้นรับของรางวัล ภายในงานพบกับประธานบริษัทตัวจิ๋ว กว่า 50 ร้านค้า ในตลาดค้าขายชาวฟันน้ำนม พร้อมอิ่มอร่อยกับอาหารและเครื่องดื่มมากมาย พลาดไม่ได้กับชม ช้อป สินค้าผลผลิตปลอดภัยจากร้านค้าเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ กว่า 100 ร้าน วันที่ 13 – 14 มกราคม 67 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 15.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี
ที่มา: กิจจกรรม "เมล็ดพันธุ์ของพระราชา"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/WisdomKingMuseum
null
Foodventure ตะลุยแดนอาหารไทย
TK Park
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภายในพบกับกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น
  • เกมสร้างสรรค์ตะลุยแดนอาหารไทย มาเติมอาหารสมอง ลุ้นรางวัลพิเศษมากมายจากผู้ใหญ่ใจดี
  • ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตะลุยแดนอาหารไทยกันได้กับสื่อสาระท้องถิ่นจาก TK Park บนแอป TK Read
  • เพลิดเพลินกับการแสดงและบูธกิจกรรมจากผู้ใหญ่ใจดีที่มาเติมพลังความสนุกให้เด็กๆ
  • พิเศษ ! เฉพาะวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2567 น้อง ๆ ที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี พร้อมผู้ปกครอง 1 ท่าน เข้าฟรี
ที่มา: Foodventure ตะลุยแดนอาหารไทย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/tkparkclub

โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

Periodontitis and treatment
โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา
โรคปริทันต์อักเสบ คือ โรคที่เกิดการอักเสบของอวัยวะรอบๆ รากฟันซึ่งมีหน้าที่รองรับฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟันและกระดูกเบ้าฟัน

null

รูป สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ เนื่องจากการทำความสะอาดฟันที่ไม่เหมาะสม โดยเมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุจากน้ำลาย คราบจุลินทรีย์ที่สะสมนี้ก็จะแข็งเป็นหินน้ำลาย (หินปูน) ซึ่งหินน้ำลายเหล่านี้จะเป็นที่ยึดเกาะของคราบจุลินทรีย์ต่อไป

null

รูป ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง
ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่และโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดี เป็นปัจจัยส่งเสริมให้โรคปริทันต์มีความรุนแรงมากขึ้นได้
อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
เมื่อเกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ขึ้น จะทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบซึ่งเหงือกจะมีลักษณะบวมแดง มีเลือดออกง่าย ซึ่งหากปล่อยให้การอักเสบดำเนินต่อไปก็จะทำให้เกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบ โดยเกิดการทำลายอวัยวะรอบรากฟันเริ่มเกิดร่องลึกปริทันต์ อาจมีหนอง ฟันโยกในเวลาต่อมา และอาจเกิดการสูญเสียฟันหลายๆตำแหน่งได้ในอนาคต

null

รูป อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
การป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ
แปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม ด้วยไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคปริทันต์อักเสบ พบทันตแพทย์เพื่อตรวจและดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน
ขั้นตอนในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. ขั้นตอนการควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบ (Systematic Phase) เช่นการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน หรืองดการสูบบุหรี่
  2. ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น (Initial Phase) ด้วยการขูดหินน้ำลาย การเกลารากฟันและการแปรงฟันให้สะอาด รวมถึงทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม
    null

    รูป ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น
  3. ขั้นตอนการรักษาระยะแก้ไข (Corrective Phase) เพื่อกำจัดพยาธิสภาพที่อาจหลงเหลืออยู่หลังรักษาขั้นต้นสมบูรณ์แล้ว ด้วยการทำศัลยกรรมปริทันต์หรือการบูรณะอื่นๆ
  4. ขั้นตอนการรักษาเพื่อคงสภาพอวัยวะปริทันต์ให้ปราศจากโรค (Maintenance Phase) โดยทันตแพทย์จะนัดเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 3-6 เดือน
คำแนะนำหลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. หลังการทำหัตถการอาจมีเลือดซึมจากขอบเหงือกได้เล็กน้อย แนะนำหลีกเลี่ยงการบ้วนเลือดและน้ำลายตลอดวันที่ทำหัตถการ
  2. หลังขูดหินน้ำลายหรือการเกลารากฟัน อาจเกิดการเสียวฟันขึ้นได้ แต่โดยทั่วไปอาการดังกล่าวจะดีขึ้นได้ในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
  3. อาจมีอาการปวดเหงือกได้บ้างหลังจากการทำหัตถการ สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
  4. หากมีเลือดออกจากร่องเหงือกมาก เบื้องต้นแนะนำใช้ผ้าก๊อซกดเหงือกครั้งละ 30 นาที และหากพบว่าเลือดยังไม่หยุดให้กลับมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง
  5. สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ปกติ

null

รูป หลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
อัตราค่าบริการทันตกรรม
รายการ
ค่าบริการ
ขูดหินปูน
900 - 1,500.-
เกลารากฟัน
1,500 - 2,000.-
(ต่อครั้ง)
ศัลยกรรมปริทันต์
3,000 - 5,000.-
เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
150.-
(ต่อฟิล์ม)
เอกซเรย์พานอรามิก
800.-
(ต่อฟิล์ม)

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

Tooth Replacement
การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ
ฟัน มีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้การออกเสียงเป็นไปได้อย่างชัดเจนทั้งยังช่วยรักษาโครงสร้างของใบหน้า ริมฝีปากให้มีความสมดุลได้อีกด้วย หากต้องสูญเสียฟันธรรมชาติไปโดยมิได้ใส่ฟันเทียมทดแทน ย่อมจะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารต่ำลง อาจทำให้ออกเสียงได้ไม่ชัดและความมั่นใจถูกลดทอนลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้
ถอนฟันไปแล้ว แต่ไม่ใส่ฟันทดแทนได้หรือไม่?
โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ฟัน ทดแทนในทุกๆตำแหน่ง หลังจากที่ถอนฟันไปแล้ว ประมาณ 1 เดือน เนื่องจากหากไม่ได้รับการใส่ฟันทดแทนอาจทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงและฟันคู่สบล้มหรือยื่นยาวมายังช่องว่าง ที่เคยได้รับการถอน (ดังรูป)
null

รูป ฟันล้ม
ส่งผลให้เกิดการสบกระแทก เศษอาหารติด และเกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบและอาจจำเป็นต้องถอนฟันซี่ใกล้เคียงในเวลาต่อมา แต่อย่างไรก็ตามในบางกรณีเช่น ฟันที่ถูกถอนนั้นเป็นตำแหน่งของฟันคุด ฟันเกิน ฟันฝัง ฟันที่ถอนเพื่อจัดฟัน ฟันผิดตำแหน่ง หรือเป็นตำแหน่งที่ ฟันซี่นั้นไม่มีคู่สบและยังเหลือฟันมากพอที่จะสามารถเคี้ยวอาหารได้ดี อาจไม่จำเป็นต้องใส่ฟันทดแทน
การเตรียมสภาวะช่องปากให้พร้อมก่อนการใส่ฟันทดแทน
เพื่อให้ฟันเทียมนั้นสามารถใช้งานได้ยาวนานที่สุด และรองรับพอดีกับฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องซ่อมหรือท่าบ่อยใหม่ๆ ในอนาคต ทันตแพทย์จะวางแผนเตรียมช่องปากก่อนเริ่มขั้นตอนฟันเทียม
ขั้นตอนและวิธีการเตรียมช่องปาก
ในแต่ละรายล้วนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับสภาวะช่องปากในขณะนั้น ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่การอุดฟัน รักษาโรคเหงือก รักษารากฟัน ถอนฟันบางซี่ที่ไม่อาจบูรณะได้ ตกแต่งกระดูกที่คมหรือปลูกกระดูกก่อนฝังรากฟันเทียม เป็นต้น
ฟันเทียมทดแทนชนิดต่างๆ
1. ฟันเทียมชนิดถอดได้
null

รูป 1.1 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานโลหะ)
1.1 ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • การเติมฟัน ในอนาคตทำได้ยากกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • null

    รูป 1.2 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานอะคริลิก/พลาสติก)
    1.2 ฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องผ่าตัด ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
  • สามารถเติมได้หากต้องถอนฟันในอนาคต
  • ฐานฟันปลอมมีความหนามากกว่าโลหะ
  • อาจมี โอกาสแตกหักได้หากทำตกหล่น
  • 2. ฟันเทียมชนิดติดแน่น
    null

    รูป 2.1 รากฟันเทียม
    2.1 รากฟันเทียม (Dental Implant)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟันซี่ใดๆ
  • ให้ความรู้สึกใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • สามารถใช้เป็นฐานเพิ่มการยึด ติดของฟันเทียมถอดได้ทั้งปากได้
  • ต้องมีกระดูกรองรับการฝังรากฟันเทียมที่มาก เพียงพอ
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • การรักษามี 2-3 ขั้นตอนในช่วงเวลาประมาณ 3-6 เดือน
  • null

    รูป 2.2
    2.2 ครอบฟัน (Crown)/สะพานฟัน(Bridge)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • วัสดุมีให้เลือกหลากหลายชนิด มีความแข็งแรงทนทาน มักใช้เพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาแล้ว หรือฟันที่ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่า ฟันเทียมชนิดถอดได้
  • ต้องได้รับการกรอตกแต่งฟันซี่นั้นๆ หรือฟันข้างเคียง
  • การดูแลและท่าความสะอาด ฟันเทียมชนิดต่างๆ
    ฟันเทียมชนิดติดแน่นสามารถแปรงฟันใช้ไหมขัดฟันและแปรงซอกฟันได้ในรายที่ใส่ครอบฟัน (หรือรากฟันเทียม) หากมีสะพานฟันร่วมด้วยแนะนําใช้ Superfloss หรือไหมขัดฟันร่วมกับ Floss Threader ทำความสะอาดใต้สะพานฟันเพราะแม้จะได้รับการครอบฟันแล้ว แต่ฟันก็ยังจะสามารถผุต่อหรือเกิดโรคปริทันต์ต่อได้ในอนาคต
    ฟันเทียมชนิดถอดได้
    • ถอดออกในเวลากลางคืน และแช่ในน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ ไม่ใช้น้ำเย็นจัด/ร้อนจัด
    • แปรงด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน ไม่ใช้ยาสีฟัน ทำความสะอาด เพราะผงขัดอาจทำให้ฐานฟัน ปลอมถูกขีดข่วนได้
    • ใช้งานอย่างระวังมิให้ตกหล่น เนื่องจากสามารถ แตกหักได้
    • หลังทานอาหารทุกครั้งแนะนำาถอดล้างทำความ สะอาด และบ้วนปาก
    • ตรวจเช็คฟันปลอมเป็นระยะทุกๆ 6 เดือน
    • สามารถใช้เม็ดฟูทำความสะอาดฟันปลอมได้
    • สามารถใช้กับกาวยึดติดฟันปลอมได้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    ฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติกเริ่มต้น
    3,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ
    8,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมทั้งปาก (ต่อชิ้น)
    10,000 - 15,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ครอบฟัน (ขึ้นกับชนิดวัสดุ)
    10,000 - 20,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เดือยฟัน
    4,500 - 5,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    รากฟันเทียม(ขึ้นกับยี่ห้อวัสดุ)
    55,000-75,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เอกซเรย์ฟิล์มเล็ก (ฟิล์มละ)
    150 บาท
    เอกซเรย์พานอรามิค (ฟิล์มละ)
    800 บาท

    โปรแกรมและแพ็คเกจ