โรคนิ้วล็อก

โรคนิ้วล็อก

Adult trigger digits
โรคนิ้วล็อก คือ ภาวะเส้นเอ็นถูกกดทับบริเวณนิ้วมือ เกิดจากปลายหุ้มเอ็น A1 pulley มีความหนาคล้ายปลอกคอสีขาวล้อมรอบเส้นเอ็น เป็นหนึ่งในสาเหตุของการปวด และความผิดปกติของนิ้วที่พบมากที่สุด เกิดในเพศหญิงมากว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มักพบที่นิ้วนางและนิ้วกลางของมือที่ถนัดมากเป็นอันดับแรก (1) ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนิ้วล็อคเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มความรุนแรงของโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือโรคข้ออักเสบต่างๆ โดยที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นนิ้วล็อคมากกว่าคนปกติประมาณ 2 เท่า (2)
อาการของโรคนิ้วล็อค
จะมีแค่อาการปวดบริเวณโคนนิ้วด้านหน้าเป็นอาการเริ่มต้น ต่อมาจะเริ่มแสดงอาการนิ้วล็อคและดีดออก ซึ่งในช่วงแรกจะยังดีดเองได้ หรือท้ายที่สุดอาจจะไม่สามารถดีดออกได้ หรือล็อคค้างไปเลย ซึ่งถ้าหากทิ้งไว้นานๆ อาจจะมีข้อติดตามมา จนต้องผ่าตัดเลาะพังผืด เพื่อแก้ไขภาวะนี้ได้
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
สามารถทำได้โดยการแนะนำผู้ป่วยให้ปรับท่าทางและลักษระการใช้มือในชีวิตประจำวัน เช่น ลดการกำมือแน่นๆ ถือของหนักๆ กายภาพบำบัดโดยการเหยียดนิ้วออก ให้ยารับประทานหรือฉีดยากลุ่ม NSAIDs และการฉีดยาสเตียรอยด์ โดยร้อยละ 45 ถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจะหายได้จากการฉีดยา (3) ข้อเสียของการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าปลอกหุ้มเอ็น คือ อาจทำให้มีความเสี่ยงติดเชื้อสูงขึ้น หลังผ่าตัดเลาะปลอกหุ้มเอ็นออก (Open trigger finger release) (4) รวมถึงมีรายงานเส้นเอ็นเปื่อยยุ่ยและขาดเองตามมาได้ แม้ว่าจะพบไม่บ่อยก็ตาม (5)
การผ่าตัดเพื่อเลาะปลอกหุ้มเอ็น
เป็นหัตถการที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ผู้ป่วยผ่านการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมาแล้ว ยังไม่ประสบผลสำเร็จ อัตราการประสบผลสำเร็จของการผ่าตัดอยู่ที่ร้อยละ 90 ถึง 100 และพบภาวะแทรกซ้อนได้แก่ เส้นเลือด เส้นประสาทขาดและนิ้วล็อคคงค้างได้ร้อยละ 5 ถึง 12 (6,7) และหลังจากผ่าตัดอาจจะมีอาการปวดข้อนิ้วมือต่อไปอีก 8 ถึง 12 สัปดาห์ (8) ปัจจัยเสี่ยงของอาการที่ยังคงมีอยู่ ได้แก่ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการก่อนการผ่าตัด ระยะเวลาของข้อที่ติดก่อนการผ่าตัดและลักษณะเส้นเอ็นที่ฉีดชาดบางส่วนซึ่งพบขณะผ่าตัด จึงแนะนำว่าหากจำเป็นต้องการผ่าตัด
null

รูปที่ 1 แสดงการฉีดยาสเตียรอยด์ โดยใช้วิธี intrasheath Technique

null

รูปที่ 2 ภาพแสดงปลอกหุ้มเอ็นที่กดทับเส้นเอ็น ซึ่งเห็นได้จากการผ่าตัด

Bibliography
  1. Lunsford D, Valdes K. Hengy S. Conservative management of trigger finger: A systematic review. J Hand Ther. 2019;32(2):2 2-2.
  2. Kuczmarski AS, Harris AP, Gil JA, Weiss AC. Management of Diabetic Trigger Finger. J Hand Surg Am. 2019;44(2):150-3.
  3. Leow MQH, Hay ASR, Ng SL, Choudhury MM, Li H, McGrouther DA, et al. A randomized controlled trial comparing ketorolac and triamcinolone injections in adults with trigger digits. J Hand Surg Eur Vol. 20 8,43(9):936-41.
  4. Lutsky KF, Lucenti L, Banner L. Matzon J, Beredjiklian PK. The Effect of Intraoperative Corticosteroid Injections on the Risk of Surgical Sile Infections for Hand Procedures. J Hand Surg Am. 2019;44(10):840-5 e5.
  5. Filzgerald BT, Holmeister EP, Fan RA, Thompson MA Delayed flexor digitorum superficialis and profundus ruptures in a trigger finger after a steroid injection: a case report. J Hand Surg Am. 2005;30(3):479-82.
  6. Bruijnzeel H, Neuhaus V, Fostvedt S, Jupiter JB, Mudgal CS, Ring DC. Adverse events of open A1 pulley release for idiopathic trigger finger. J Hand Surg Am. 2012;37(8):1650-6.
  7. Everding NG, Bishop GB, Belyea CM, Soong MC. Risk factors for complications of open trigger finger release. Hand (NY). 2015;10(2):297-300
  8. Baek JH, Chung DW, Lee JH. Factors Causing Prolonged Postoperative Symptoms Despite Absence of Complications Aller A1 Pulley Release lor Trigger Finger. J Hand Surg Am. 2019;44(4):338 е1-еб.
    2

โปรแกรมและแพ็คเกจ

กลุ่มอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ

กลุ่มอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ

Carpal Tunnel Syndrome
กลุ่มอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เป็นภาวะที่เกิดจากการบีบรัดเส้นประสาทมีเดียนที่ข้อมือ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการชา ปวด หรืออ่อนแรงบริเวณนิ้วมือ โดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง สาเหตุของภาวะนี้มักเกิดจากการใช้ข้อมือที่ซ้ำๆ หรือเกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อมือ เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือการทำงานที่ต้องใช้ข้อมือบ่อยๆ หากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่รักษา อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและหยิบจับไม่ถนัดได้
การรักษาโรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือแบบไม่ผ่าตัด
การรักษาโรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือเบื้องต้นรวมถึงการใช้วิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด เช่น
    การใส่เฝือกอ่อน เพื่อช่วยลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ
    การใช้ยาต้านการอักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ
    การทำกายภาพบำบัด เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อมือ
นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อมือ เช่น การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อมือถูกใช้งานหนักเกินไป ก็เป็นส่วนสำคัญในการรักษาอาการนี้ หากรักษาไปช่วงหนึ่งแล้วอาการไม่ดีขึ้น การผ่าตัดเลาะพังผืดบริเวณข้อมือก็จะช่วยแก้ไขสาเหตุของโรคได้ และป้องกันมืออ่อนแรงในอนาคต
การผ่าตัดปล่อยเส้นประสาทผ่านการส่องกล้อง
Endoscopic Carpal Tunnel Release
การผ่าตัดแบบเดิมเป็นการผ่าตัดแบบเปิด แผลจะมีขนาดใหญ่และกลับมาใช้งานมือได้ช้า การผ่าตัดปล่อยเส้นประสาทผ่านการส่องกล้องเป็นวิธีการรักษาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือในขั้นรุนแรง หรือเมื่อการรักษาแบบอนุรักษ์ไม่สามารถบรรเทาอาการได้ การผ่าตัดนี้ทำโดยการใช้กล้องส่องผ่านเข้าไปที่ข้อมือแล้วตัดพังผืดที่กดทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทสามารถทำงานได้ดีขึ้น วิธีนี้มีข้อดีคือ แผลผ่าตัดเล็ก ฟื้นตัวได้เร็ว และมีอาการปวดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
ข้อดีของการผ่าตัดปล่อยเส้นประสาทผ่านการส่องกล้อง
  • แผลผ่าตัดเล็ก
  • ฟื้นตัวได้เร็ว
  • มีอาการปวดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
null

รูปที่ 1 คำอธิบายใต้ภาพ

null

รูปที่ 2 คำอธิบายใต้ภาพ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อหลังตึงหรือมีอาการหลังแข็ง ตั้งแต่ล่างต่อชายโครงไปจนถึงส่วนล่างของแก้มก้น อาจมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาร่วมด้วย บางรายปวดจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ พบได้บ่อยในวัยทำงานและผู้สูงอายุ รวมถึงลักษณะงานที่ทำให้ปวดหลังได้แก่ คนที่ต้องทำงานประเภทแบกหาม ยกของหนักงานที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น การยกของที่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม งานที่ก้มๆ เงยๆ หรือบิดเอวเป็นประจำเป็นระยะเวลานาน คนที่ทำงานนั่งโต๊ะหรือนั่งกับพื้นเป็นประจำ เช่น ขับรถ เป็นต้น
อาการปวดหลังสามารถแบ่งตามระยะเวลาได้ 3 ประเภท ได้แก่
  1. อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน (Acute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์
  2. อาการปวดหลังกึ่งเฉียบพลัน (Subacute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 3 เดือน
  3. อาการปวดหลังเรื้อรัง (Chronic low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน
การบาดเจ็บต่อโครงสร้างและเนื้อเยื่อต่าง ๆ บริเวณบั้นเอวเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
  1. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่มากผิดปกติ ต่อโครงสร้างที่ผิดปกติ เช่น จากการถูกรถชน จากการถูกของแข็งมากระแทก
  2. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่ปกติ แต่โครงสร้างที่เริ่มเสื่อมทรุดโทรมหรือโครงสร้างส่วนนั้นยังไม่พร้อมรับแรงกระทำนั้นๆ เช่น กล้ามเนื้อและเอ็นที่ยังไม่ได้รับการอบอุ่นและยืดหยุ่นที่เพียงพอ
แล้วได้รับแรงกระชากทันที มีผลทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็นได้ เช่น กรณีของกล้ามเนื้อเอวเคล็ดจากการทำงาน (back strain)
อาการปวดหลังจากการทำงาน
  1. กลุ่มอาการปวดหลังเฉียบพลัน เกิดจากการก้มยกของหรือการบิดเอวที่ผิดจังหวะ จะมีอาการปวดแบบกระจายบริเวณเอวส่วนล่าง หรือบริเวณแก้มก้นอาจร้าวไปบริเวณ ต้นขา แต่ไม่ถึงหัวเข่า และจะปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว หากได้พักหรือเคลื่อนไหวน้อยลงอาการปวดจะทุเลา
  2. กลุ่มอาการปวดร้าวไปที่ขา มีอาการคล้ายกับกลุ่มแรกแต่มีอาการปวดร้าวบริเวณน่องและปลายเท้า ซึ่งการปวดร้าวขึ้นกับรากประสาทที่เกี่ยวข้องอาการอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ อาการปวดตามแนวรากประสาท ซึ่งแสดงออกโดยผลตรวจด้วยการโยกขาที่เหยียดตรงในขณะที่ผู้ป่วยนอนให้ผลบวก อาจพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และอาการชาผิวหนังที่เลี้ยงด้วยรากประสาทที่เกี่ยวข้องตลอดจนอาการลดลงของปฏิกิริยา reflex หรืออาจมีอาการผิดปกติด้านการขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการกดทับของรากประสาทกระเบนเหน็บหลายเส้น
  3. กลุ่มอาการปวดล้าบริเวณน่องขณะเดินและผู้ป่วยต้องหยุดเดินหลังจากเดินได้ระยะทางหนึ่ง กลุ่มนี้มักเกิดจากการตีบแคบของโพรงรากประสาท และความเสื่อมของกระดูกสันหลัง
การวินิจฉัยโรค
  1. ประวัติการทำงาน ลักษณะงานหรือท่าทางการทำงานที่มีกิจกรรมซ้ำในท่าเดิมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ นั่งทำงานทั้งวัน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือ พนักงานที่ยกของหนักเป็นประจำ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หรือการใช้ท่าทางในการยกของที่ผิด, อุบัติเหตุจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น พลัดตกหกล้ม การตกจากที่สูง
  2. การตรวจวินิจฉัยทางรังสี (Radiographic Investigation)
    ผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างไม่มีความจำเป็นที่ต้องรับการตรวจภาพถ่ายทางรังสีทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งมีอาการมาไม่นานและไม่รุนแรง ซึ่งภาพถ่ายทางรังสีแต่ละชนิดจะให้ข้อมูลและประโยชน์กับผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างต่างกันไป เช่น

    • Plain radiograph การ x-ray ธรรมดา เป็นขั้นแรกที่ควรส่งตรวจเนื่องจากสะดวกและราคาถูก สามารถให้ข้อมูลได้พอสมควร โดยเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังที่มีลักษณะผิดรูปต่าง ๆ แต่ไม่สามารถดูความผิดปกติของหมอนรองกระดูก เส้นประสาทและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue)
    • Computerized Tomography (CT Scan) ภาพถ่ายทางรังสีด้วยวิธี CT Scan ใช้ดูโครงสร้างของกระดูกคล้ายกับการดู Plain film แต่มีความละเอียดกว่ามาก และมีการตัดภาพของแต่ละส่วนในระนาบต่าง ๆ ทำให้เห็นพยาธิสภาพของกระดูกได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามข้อเสียของ CT Scan คือไม่สามารถดูเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมถึงหมอนรองกระดูก
    • Resonance Imaging (MRI) การถ่ายภาพกระดูกสันหลังด้วยการ x-ray คลื่นสนามแม่เหล็ก เป็นการส่งตรวจที่ให้ความละเอียดสูงสุดและสามารถให้มุมมองภายในของกระดูกสันหลังในทุกระนาบ สามารถดูได้ทั้งหมอนรองกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก น้ำไขสันหลัง รวมทั้งสามารถบอกพยาธิสภาพได้ เช่น มีการอักเสบ หนอง เลือด เป็นต้น ดังนั้นการตรวจ MRI จึงเป็นการตรวจที่ดีที่สุดในการค้นหาความผิดปกติและช่วยวินิจฉัยโรคที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลัง
การักษาและฟื้นฟูอาการปวดหลังส่วนล่าง


เมื่อปวดหลังส่วนล่างมีอาการรุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง ควรเข้าไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษาต่อไป โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่เหมาะสมกับอาการและข้อจำกัดของคนไข้แต่ละคน เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงจุด สำหรับวิธีการรักษาก็จะมีตั้งแต่การใช้ยา และการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟื้นฟู

  1. ยา การใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดความปวดเส้นประสาทจะถูกจัดให้ตามความเหมาะสม และตามโรคที่คนไข้เป็น แพทย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับตัวโรคและข้อควรระวังในการใช้ยา
  2. กายภาพบำบัด มุ่งเน้นการดูแลรักษา แก้ไขความเจ็บปวดฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น สำหรับผู้ที่ปวดหลังส่วนล่าง ที่จะออกแบบโปรแกรมให้กับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกันดังนี้
    • การประคบแผ่นร้อน
    • การลดปวดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น PMS, High Power Laser, Ultrasound และอื่น ๆ
    • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
    • Manual technique และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ปรับท่าทางให้ถูกต้อง
  3. การฉีดยาเข้าโพรงประสาท เพื่อลดการอักเสบของระบบประสาทเส้นนั้น ๆ
  4. การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาขั้นสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำ เมื่อการรักษารูปแบบอื่นๆ ไม่ได้ผล
การป้องกัน
ปัญหาปวดหลังส่วนล่าง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนั้น จึงเป็นโรคที่สามารถลดความเสี่ยงและป้องกันได้ เพียงแค่ต้องมีการดูแลตัวเองให้เป็นอย่างดี และเหมาะสม ดังนี้
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อหลังและแกนกลางลำตัวแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เช่น การยกของหนักมากๆ และการยกให้ถูกวิธี
  • ไม่อยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ หากต้องนั่งทำงานทั้งวันควรเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถทุกๆ 1 ชั่วโมง และหมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังและขา

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (HNP)

Herniated Nucleus Pulposus
อาการปวดหลังบริเวณหลังส่วนล่างเป็นอาการที่พบได้บ่อย สาเหตุอย่างหนึ่งคือ โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุของการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลก
อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนจะแตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกกด โดยมีอาการหลักๆ ดังนี้
  • ปวดร้าวตามเส้นประสาท
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • ชาตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
  • อ่อนแรงตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
  • งอตัวลำบาก งอหลังได้ไม่สุด
  • ปวดเมื่อทำกิจกรรม เช่น ออกแรง ไอ จาม
  • ปวดมากเวลานั่ง
85-90% ของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทที่มีอาการอย่างเฉียบพลัน อาการจะทุเลาเองใน 6-12 สัปดาห์โดยไม่ต้องผ่าตัด ในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติม
ควรส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติมเมื่อสงสัยว่าอาจมีอื่นโรคร่วม
อาการที่พึงระวัง ได้แก่
  • มีไข้
  • อายุมากกว่า 50 ปี
  • มีประวัติอุบัติเหตุนำมาก่อน
  • มีอาการปวดตอนกลางคืนหรือขณะพัก
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
  • ตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาทที่เป็นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • มีอาการชารอบทวารหนัก (saddle anesthesia)
  • มีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็งหรือกระดูกพรุน
  • หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังจากการรักษาแล้วไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์
การส่งตรวจเพิ่มเติมจะประกอบไปด้วยภาพเอกซเรย์กระดูกสันหลังบริเวณเอว โดยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomographic, CT scan) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
ภาพเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทข้อที่ 4 ต่อ 5
การรักษา
เนื่องจากอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างมักหายได้เองใน 6-8 สัปดาห์ ดังนั้นการรักษาขั้นแรกสุด คือการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ยกเว้นในผู้ป่วยบางรายที่ตรวจพบการบกพร่องของระบบประสาทที่มากขึ้น หรือสงสัยภาวะจากโรคกลุ่ม Cauda Equina ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน
การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
เป็นการรักษาที่แนะนำเป็นอันดับแรกในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยพักการใช้งานหลัง ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรค สอนวิธีการออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแผ่นหลัง และสั่งยาบรรเทาอาการปวด หรือสั่งการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด
หากอาการปวดยังเป็นอยู่นานมากกว่า 6 สัปดาห์ แม้จะได้รับการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว อาจพิจารณาการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าในช่องไขสันหลัง เพื่อบรรเทาอาการปวดจากเส้นประสาทในระยะสั้น (ช่วยบรรเทาอาการได้เฉลี่ยประมาณ 2-4 สัปดาห์ขึ้นกับบุคคล)
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัดแนะนำให้ทำในผู้ป่วยที่อาการป่วยรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และไม่ตอบต่อการรักษาโดยไม่ผ่าตัด
วิธีการผ่าตัดแบ่งออกหลักๆได้ 2 ประเภท ได้แก่
  1. การเปิดแผลแบบมาตรฐาน (Open Approach) โดยการเปิดแผลเข้าไปตัดหมอนรองกระดูก
  2. การเปิดแผลแบบบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย (Minimal Invasive Approach) เป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง (Tube Access) เป็นการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลาผ่าตัดน้อย เสียเลือดน้อย บาดแผลมีขนาดเล็ก แผลหายไว
สรุป
ภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนนั้นพบได้ค่อนข้างบ่อย พบได้ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการปวดหลัง ร้าวลงขา ก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรังตามมาอีกมาก ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังหรือมีอาการที่พึงระวังร่วมด้วย ควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ แพทย์จะพิจารณาว่าต้องส่งตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป
นอกจากเรื่องกระดูกสันหลังแล้ว การดูแลใส่ใจสุขภาพในแง่อื่นให้ครบถ้วนก็เป็นเรื่องที่สำคัญ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อคัดกรองโรคที่เกิดขึ้นได้แม้ว่าจะยังไม่มีอาการเจ็บป่วย

โปรแกรมและแพ็คเกจ

รู้ทัน ป้องกัน ข้อเข่าเสื่อม Knee Osteoarthritis

รู้ทัน ป้องกัน ข้อเข่าเสื่อม Knee Osteoarthritis

ความรู้ทั่วไปของข้อเข่า
ข้อเข่าประกอบด้วย 3 ส่วน
  1. ส่วนปลายของกระดูกต้นขา
  2. ส่วนต้นของกระดูกหน้าแข้ง
  3. ลูกสะบ้า
ข้อเข่ามีลักษณะคล้ายบานพับ ประกอบด้วยกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยเส้นเอ็นที่แข็งแรงทำหน้าที่ค้ำจุนและให้ความแข็งแรงมั่นคงแก่ข้อเข่าทั้งด้านข้างและภายในข้อเข่าอยู่สี่เส้น ขอบบนลูกสะบ้ามีกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้ามาเกาะและส่วนปลายของลูกสะบ้ามีเอ็นเกาะติดกับส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง
อาการของข้อเข่าเสื่อม
  1. ปวด อาการปวดเข่าในระยะแรกจะปวดเมื่อย ตึงบริเวณหัวเข่าหรือน่อง โดยจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว เมื่อพักเข่าจะดีขึ้น อาการเป็นๆหายๆ ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา
  2. บวม ในรายที่มีการอักเสบจะมีอาการบวม
  3. ข้อเข่าผิดรูป ข้อเข่าผิดรูปโดยเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิมทำให้ขาผิดรูปตามมา ซึ่งหากผิดรูปมากจะทำให้เดินลำบาก รู้สึกขาไม่เท่ากัน ปวดมากเวลาเดิน
  4. ข้อเข่าไม่มั่นคง โดยผู้ป่วยมักรู้สึกว่าข้อหลวมหรือหลุดเวลาลงน้ำหนักหรือมีเสียงข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว
  5. ข้อเข่าติด ผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดหรืองอเข่าได้สุด
  6. มีเสียงในข้อเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหว จากผิวกระดูกอ่อนที่ไม่เรียบเสียดสีกัน
ปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อม
  1. อายุ พบว่าเมื่อมีอายุเกิน 40 ปีจะเริ่มมีข้อเข่าเสื่อม
  2. เพศ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย 2 เท่าโดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากกว่า 50 ปี
  3. น้ำหนัก คนที่น้ำหนักมาก เสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ โดยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1-1.5 กิโลกรัม
  4. พฤติกรรมการใช้ชีวิต ผู้ที่นั่งงอเข่ามาก ๆ เช่นนั่งยอง ๆ นั่งขัดสมาธิ เสี่ยงต่อข้อเสื่อมได้มากกว่าปกติ
  5. การใช้งานข้อเข่าอย่างหนักและต่อเนื่อง เช่น ทำงานยกแบกของหนัก ทำงานที่มีการกระแทกหรือกระโดด ในผู้ป่วยที่มีอาชีพชาวนา,ชาวสวนหรือกรรมกรแบกหามตลอดช่วงวัยทำงานมักมาพบแพทย์ด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมและกระดูกสันหลังเสื่อมในวัยสูงอายุ
  6. การได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า เช่น มีกระดูกข้อเข่าแตกหรือมีหมอนรองกระดูกข้อเข่ารวมถึงเอ็นภายในหัวเข่าฉีก
  7. ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง
  8. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่า ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกายเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าไม่แข็งแรง
  9. นักกีฬา เช่นนักกีฬากลุ่มที่ต้องวิ่งหรือกระโดด มักมีปัญหาข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติ
  10. กรรมพันธุ์ ในผู้ป่วยที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม มีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น
การรักษาข้อเข่าเสื่อม
  1. การรักษาแบบอนุรักษ์นิยม
    • การรักษาแบบไม่ใช้ยา เช่น การทำกายภาพบำบัด การลดน้ำหนัก การปรับการใช้ชีวิตประจำวัน การใช้ที่ช่วยพยุงเข่า การนวด การฝังเข็ม การใช้สมุนไพรประคบนวด การรักษาเหล่านี้เป็นเพียงเพื่อบรรเทาอาการปวดเท่านั้น
    • การรักษาแบบใช้ยา เช่น การให้ยาต้านการอักเสบ ยาในกลุ่ม Glucosamine
  2. การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ โดยใช้ยาชาที่ผสมอยู่ช่วยระงับปวดในระยะแรกและยาสเตียรอยด์ช่วยยับยั้งการอักเสบในระยะยาว ทั้งนี้การตอบสนองต่อการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อเข่ามีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นกับสภาพความเสื่อมของข้อเข่า
  3. ยาฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเพื่อเพิ่มความหล่อหลื่นภายในข้อเข่าเป็นการรักษาแบบประคับประคองในระดับหนึ่ง
  4. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นวิธีการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมในระยะปานกลางถึงระยะรุนแรงโดยได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีสากลที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด เป็นการผ่าตัดที่ตัดผิวข้อส่วนที่เสื่อมออกแล้วทดแทนด้วยโลหะสังเคราะห์ โดยสามารถช่วยลดอาการปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
  1. มีอาการปวด บวม ตึงข้อเข่า ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ใน ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
  2. แก้ไขความผิดรูปหรือความพิการของข้อเข่า
  3. เพื่อป้องการการเสื่อมของข้ออื่น ๆ ตามมา
  4. รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมมาแล้วไม่ดีขึ้น
การป้องกันข้อเข่าเสื่อม
สามารถทำได้โดยลดปัจจัยเสี่ยงตามที่ได้กล่าวมา
    1. การลดน้ำหนัก ในผู้ป่วยที่อ้วนควรลดน้ำหนักให้ได้ร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวในสามเดือน
    2. การปรับการใช้ชีวิต พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยมักอยู่กับพื้น มักมีการพับงอเข่ามากและส่งผลให้เกิดการอักเสบของข้อเข่าได้ เช่น นั่งยอง ๆ คุกเข่า ขัดสมาธิ ควรมีการปรับอิริยาบถให้เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น
      • การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น
      • ในห้องน้ำควรใช้ชักโครกแบบมีโถนั่งเพื่อลดการงอเข่า
      • การซักผ้า ซักทีละไม่มากชิ้น นั่งซักบนม้าเตี้ย ๆ และเหยียดเข่าสองข้าง
      • การรีดผ้า เลี่ยงการนั่งรีดผ้ากับพื้น ควรใช้การนั่งเก้าอี้หรือยืนรีดและควรหาม้าเตี้ย ๆ มารองพักขา
      • เลี่ยงการก้มถูบ้าน ให้ใช้ไม้ม๊อบถูพื้นแทน
      • หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น เพราะเข่าต้องรับน้ำหนัก ประมาณ 3-4 เท่าของน้ำหนักตัวผู้นั้นขณะขึ้นลงบันได ในรายที่จำเป็นต้องขึ้นลงบันไดควรทำการจับราว โดยการขึ้นบันไดควรนำขาข้างที่ดีพยุงตัวขึ้นบันไดและตามด้วยขาข้างที่มีข้อเข่าเสื่อมไปทีละขั้น ในทางกลับกันเมื่อลงบันได ควรทำการจับราวและนำขาข้างที่มีข้อเข่าเสื่อมลงบันไดและตามด้วยขาข้างที่ดีทีละขั้นเพื่อให้ขาข้างที่ดีช่วยพยุงตัวผู้ป่วยระหว่างการก้าวลง
    3. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันข้อเข่าเสื่อม เพราะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ทำให้น้ำหนักลงที่เข่าน้อยลงและช่วยลดแรงที่กระทำต่อข้อเข่า ควรพิจารณาระดับการออกกำลังกายตามความเหมาะสมของสภาพร่างกายของแต่ละคน
      การออกกำลังกายในน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีต่อข้อเข่ามากที่สุด เพราะน้ำมีแรงพยุงตัวทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักน้อยลงจึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดเข่าและมีน้ำหนักตัวมาก แรงหนืดของน้ำทำให้ต้องออกแรงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าได้ดี
การเดินก็เป็นการออกกำลังที่ดี สามารถเดินเร็วในรายที่กล้ามเนื้อต้นขามีความแข็งแรงพอแต่ถ้ากล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ควรเดินช้า ๆ หรือเดินเท่าที่จำเป็น
การขี่จักรยาน ควรปรับอานนั่งของจักรยานให้ขางอเพียงเล็กน้อยเพื่อลดแรงที่กระทำต่อข้อเข่า หลีกเลี่ยงการถีบจักรยานที่ตั้งความฝืดหรือระดับความสูงไม่เหมาะสม ซึ่งจะเพิ่มการบาดเจ็บให้กับข้อเข่าได้
ท่าออกกำลังกายเพื่อข้อเข่าที่แข็งแรง
การบริหารกล้ามเนื้อต้นขามีความสำคัญมาก หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีความแข็งแรง ก็จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับข้อเข่าจะช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้โดยป้องกันแรงที่กระทำต่อข้อในขณะที่ใช้ข้อเข่าในการลุกขึ้น และยังป้องกันแรงกระแทกที่กระทำต่อข้อเข่าในขณะเดิน ควรออกกำลังกายดังกล่าวเป็นประจำทุกวัน โดยเริ่มทำจากน้อยไปมาก ทำประมาณ 10-20 ครั้ง/ชุด วันละ 2-3ชุดเป็นอย่างน้อย การค่อยๆเพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อรอบเข่าจะช่วยเพิ่มทั้งความแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่านี้สามารถทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ข้อเข่าเสื่อมก่อน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

รู้ได้อย่างไรว่านิ้วล็อก Trigger Finger

รู้ได้อย่างไรว่านิ้วล็อก

มารู้จักโรคนิ้วล็อกกันเถอะ
โรคนิ้วล็อก ( Trigger Finger )   เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการใช้นิ้วมือมากทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวและขัดขวางการเคลื่อนที่ของเส้นเอ็น

อุบัติการณ์ของโรค

  • พบได้ประมาณ6% ของประชากรทั่วไป
  • พบได้บ่อยในช่วงอายุวัยกลางคน
  • พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ประมาณ 2-6 เท่า
  • นิ้วที่พบโรคได้บ่อยเรียงตามลำดับดังนี้ : นิ้วหัวแม่มือ นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วก้อย นิ้วชี้

อาการ
อาการแสดงมีหลายระดับขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ อาการที่พบได้คือ

  • โดยเริ่มจากอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ
  • นิ้วขัดหรือสะดุดในขณะงอหรือเหยียดนิ้วมือเหยียดออกได้เอง
  • นิ้วล็อกหรือนิ้วติดแข็งอยู่ในท่างอเคลื่อนไม่ได้คือเหยียดไม่ออกหรืองอไม่ลง

ระดับความรุนแรงของโรคนิ้วล็อก

  • ระยะที่ 1 เส้นเอ็นอักเสบ ทำให้มีอาการ ปวด กดเจ็บ
  • ระยะที่ 2 นิ้วสะดุด ยังสามารถเหยียดนิ้วออกเองได้
  • ระยะที่ 3 นิ้วล็อก ติดในท่างอ ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างช่วยเหยียดออก หรือนิ้วติดในท่าเหยียด งอไม่ลง
  • ระยะที่ 4 นิ้วติดแข็ง ข้อกลางนิ้วติดแข็งในท่างอ

 

การรักษาโรคนิ้วล็อก

การรักษาโรคนิ้วล็อกขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและระยะเวลาที่เป็น

ถ้าอาการไม่รุนแรง หรืออาการเป็นไม่บ่อย การรักษาดังต่อไปนี้อาจให้ผลดี

  • หยุดพักการใช้มือข้างที่เป็น เพื่อป้องกันการใช้งานมากเกินไปของนิ้วข้างที่เป็น
  • ใช้เครื่องพยุงนิ้วมือ โดยช่วยให้ข้อไม่ทำงานมากเกินไป
  • บริหารนิ้วมือในน้ำอุ่น โดยการแช่มือในน้ำอุ่นนานประมาณ 5-10 นาที ในตอนเช้า ซึ่งอาจจะช่วยลดอาการนิ้วล็อกลงได้

ถ้าอาการรุนแรงมาก

  • รับประทานยาลดการอักเสบ เพื่อลดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น
  • การใช้สเตียรอยด์ฉีดเข้าไปในปลอกหุ้มเอ็นซึ่งช่วยลดการอักเสบ การรักษาด้วยวิธีนี้ ได้ผลดีในผู้ป่วยที่เป็นในระยะแรก การฉีดยาในรายที่เป็นซ้ำ อาจจะต้องเว้นระยะห่างประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการฉีกขาดของเส้นเอ็น
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเยื่อพังผืดออก ขนาดแผลประมาณ 1-2 ซม. เมื่อรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น วิธีนี้ต้องรอแผลติดและตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะสามารถกลับไปทำงานได้
  • การรักษาด้วยการเปิดแผลเล็กขนาดเท่ารูเข็ม โดยใช้ปลายเข็มสะกิด หรือใช้มีดที่ปลายเหมือนตะขอเกี่ยวตัดเยื่อพังผืดออกใช้ในรายที่เป็นในระยะเริ่มแรก ซึ่งแผลเล็กหายเร็วและสามารถกลับไปทำงานได้เร็ว

อย่างไรก็ตามแล้ว การหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการทำงานที่เสี่ยงต่อภาวะที่ทำให้เกิดนิ้วล็อกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในรายที่ยังต้องทำงานโดยใช้มืออย่างหนักตลอด อาจจะเกิดการเป็นนิ้วล็อกซ้ำได้ การรักษาด้วยการฉีดยา และการผ่าตัด เป็นสิ่งที่รองลงมาหลังการการรับประทานยาและกายภาพไม่ดีขึ้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

คัดกรองมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ภัยร้าย […]

การบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา

การเล่นกีฬาต่างๆ ถือเป็นกิจกรรมยอดฮิตในปัจจุบัน โดยเฉพาะการวิ่งมาราธอน การเล่นกีฬาเป็นการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์กับสุขภาพค่ะ แต่เราควรรู้และดูแลป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดการบาดเจ็บกับร่างกายนะคะ

การบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา เกิดจากอะไร?
และการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเบื้องต้นทำอย่างไร?

พลโท นพ.ดุษฏี ทัตตานนท์
ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อ
เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์และการกีฬา โรงพยาบาลบางโพ

#Bangpohospital #แบ่งกันฟัง

แผลเรื้อรังที่เท้าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?

นพ. เกียรติศักดิ์ ทัศนวิภาส
ศัลยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด
จะมาช่วยไขข้อสงสัยที่ว่าแผลเรื้อรังที่เท้าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?
#โรงพยาบาลบางโพ #แผลเรื้อรัง #แผลกดทับ #แผลเบาหวาน