โรคนิ้วล็อก

Adult trigger digits
โรคนิ้วล็อก คือ ภาวะเส้นเอ็นถูกกดทับบริเวณนิ้วมือ เกิดจากปลายหุ้มเอ็น A1 pulley มีความหนาคล้ายปลอกคอสีขาวล้อมรอบเส้นเอ็น เป็นหนึ่งในสาเหตุของการปวด และความผิดปกติของนิ้วที่พบมากที่สุด เกิดในเพศหญิงมากว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มักพบที่นิ้วนางและนิ้วกลางของมือที่ถนัดมากเป็นอันดับแรก (1) ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนิ้วล็อคเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มความรุนแรงของโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือโรคข้ออักเสบต่างๆ โดยที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นนิ้วล็อคมากกว่าคนปกติประมาณ 2 เท่า (2)
อาการของโรคนิ้วล็อค
จะมีแค่อาการปวดบริเวณโคนนิ้วด้านหน้าเป็นอาการเริ่มต้น ต่อมาจะเริ่มแสดงอาการนิ้วล็อคและดีดออก ซึ่งในช่วงแรกจะยังดีดเองได้ หรือท้ายที่สุดอาจจะไม่สามารถดีดออกได้ หรือล็อคค้างไปเลย ซึ่งถ้าหากทิ้งไว้นานๆ อาจจะมีข้อติดตามมา จนต้องผ่าตัดเลาะพังผืด เพื่อแก้ไขภาวะนี้ได้
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
สามารถทำได้โดยการแนะนำผู้ป่วยให้ปรับท่าทางและลักษระการใช้มือในชีวิตประจำวัน เช่น ลดการกำมือแน่นๆ ถือของหนักๆ กายภาพบำบัดโดยการเหยียดนิ้วออก ให้ยารับประทานหรือฉีดยากลุ่ม NSAIDs และการฉีดยาสเตียรอยด์ โดยร้อยละ 45 ถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจะหายได้จากการฉีดยา (3) ข้อเสียของการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าปลอกหุ้มเอ็น คือ อาจทำให้มีความเสี่ยงติดเชื้อสูงขึ้น หลังผ่าตัดเลาะปลอกหุ้มเอ็นออก (Open trigger finger release) (4) รวมถึงมีรายงานเส้นเอ็นเปื่อยยุ่ยและขาดเองตามมาได้ แม้ว่าจะพบไม่บ่อยก็ตาม (5)
การผ่าตัดเพื่อเลาะปลอกหุ้มเอ็น
เป็นหัตถการที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ผู้ป่วยผ่านการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมาแล้ว ยังไม่ประสบผลสำเร็จ อัตราการประสบผลสำเร็จของการผ่าตัดอยู่ที่ร้อยละ 90 ถึง 100 และพบภาวะแทรกซ้อนได้แก่ เส้นเลือด เส้นประสาทขาดและนิ้วล็อคคงค้างได้ร้อยละ 5 ถึง 12 (6,7) และหลังจากผ่าตัดอาจจะมีอาการปวดข้อนิ้วมือต่อไปอีก 8 ถึง 12 สัปดาห์ (8) ปัจจัยเสี่ยงของอาการที่ยังคงมีอยู่ ได้แก่ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการก่อนการผ่าตัด ระยะเวลาของข้อที่ติดก่อนการผ่าตัดและลักษณะเส้นเอ็นที่ฉีดชาดบางส่วนซึ่งพบขณะผ่าตัด จึงแนะนำว่าหากจำเป็นต้องการผ่าตัด
null

รูปที่ 1 แสดงการฉีดยาสเตียรอยด์ โดยใช้วิธี intrasheath Technique

null

รูปที่ 2 ภาพแสดงปลอกหุ้มเอ็นที่กดทับเส้นเอ็น ซึ่งเห็นได้จากการผ่าตัด

Bibliography
  1. Lunsford D, Valdes K. Hengy S. Conservative management of trigger finger: A systematic review. J Hand Ther. 2019;32(2):2 2-2.
  2. Kuczmarski AS, Harris AP, Gil JA, Weiss AC. Management of Diabetic Trigger Finger. J Hand Surg Am. 2019;44(2):150-3.
  3. Leow MQH, Hay ASR, Ng SL, Choudhury MM, Li H, McGrouther DA, et al. A randomized controlled trial comparing ketorolac and triamcinolone injections in adults with trigger digits. J Hand Surg Eur Vol. 20 8,43(9):936-41.
  4. Lutsky KF, Lucenti L, Banner L. Matzon J, Beredjiklian PK. The Effect of Intraoperative Corticosteroid Injections on the Risk of Surgical Sile Infections for Hand Procedures. J Hand Surg Am. 2019;44(10):840-5 e5.
  5. Filzgerald BT, Holmeister EP, Fan RA, Thompson MA Delayed flexor digitorum superficialis and profundus ruptures in a trigger finger after a steroid injection: a case report. J Hand Surg Am. 2005;30(3):479-82.
  6. Bruijnzeel H, Neuhaus V, Fostvedt S, Jupiter JB, Mudgal CS, Ring DC. Adverse events of open A1 pulley release for idiopathic trigger finger. J Hand Surg Am. 2012;37(8):1650-6.
  7. Everding NG, Bishop GB, Belyea CM, Soong MC. Risk factors for complications of open trigger finger release. Hand (NY). 2015;10(2):297-300
  8. Baek JH, Chung DW, Lee JH. Factors Causing Prolonged Postoperative Symptoms Despite Absence of Complications Aller A1 Pulley Release lor Trigger Finger. J Hand Surg Am. 2019;44(4):338 е1-еб.
    2

โปรแกรมและแพ็คเกจ