วัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” สำหรับประชาชน

โรงพยาบาลบางโพให้บริการวัคซีน

"ซิโนฟาร์ม"

สำหรับประชาชน


โรงพยาบาลบางโพให้บริการ วัคซีนซิโนฟาร์ม "สำหรับประชาชน" ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด
ในราคา 1,999 บาท ต่อ สองเข็ม ฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์

โรงพยาบาลบางโพให้บริการ วัคซีนซิโนฟาร์ม "สำหรับประชาชน" ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด ในราคา 1,999 บาท ต่อ สองเข็ม ฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์ สนใจกรอกข้อมูล : ลงทะเบียน

โรงพยาบาลบางโพขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาลให้บริการฉีดวัคซีนทางเลือก
“ซิโนฟาร์ม” กับ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

บริษัท องค์กร หรือหน่วยงานใด มีความประสงค์ที่จะจองวัคซีนทางเลือก "ซิโนฟาร์ม" กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และต้องการให้โรงพยาบาลบางโพ เป็นสถานพยาบาลสำหรับฉีดวัคซีน สามารถจองผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ : https://vaccine.cra.ac.th/VaccineContent/content/home แล้วกดเลือก “โรงพยาบาลบางโพ”

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

Sleep Apnea Syndrome


คุณมีอาการแบบนี้ หรือไม่?
  1. ขับรถหรือเข้าประชุมนานๆ แล้วเผลอหลับ
  2. คนที่บ้านบอกว่านอนกรนเสียงดัง ปวดหัวเหมือนนอนไม่พอ
  3. ตรวจร่างกายแล้ว ความดันโลหิตสูงขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
ถ้ามีอาการดังกล่าวคุณอาจเป็น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับโดยไม่รู้ตัว
เรามักเข้าใจผิดกันมานานแล้วว่า คนนอนหลับสนิทต้องมีอาการกรนร่วมด้วย ยิ่งกรนดังก็หมายถึงคนๆ นั้นกำลังนอนหลับฝันดีทีเดียว และคนที่กรนก็มักจะมีรูปร่างที่อ้วนใหญ่ ผู้ที่จมูกอักเสบ โครงหน้าผิดรูป เช่น คางสั้น ลิ้นโต คนที่ทำงานหักโหม นักกีฬา ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทานยานอนหลับ ดื่มแอลกอฮอล์ประจำ สูบบุหรี่จัด เป็นต้น และพบมากในเพศชายมากกว่า เพศหญิง ซึ่งคนเหล่านี้มักมีอาการง่วงนอนทุกสถานที่ หลับได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นขณะขับรถติดไฟแดงนานๆ ซึ่งอาจประสบอุบัติเหตุได้ หรือขณะ นั่งประชุม นั่งเรียน นั่งอ่านหนังสือ ตื่นเช้าทำให้รู้ไม่สดชื่นเหมือนนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ทั้งๆที่นอนเพียงพอแล้ว เวลากลางวันจึงง่วงนอนมากผิดปกติ อาการนอนกรนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่มีการอุดกั้นในทางเดินหายใจมาก จนกระทั่งทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับพบได้ประมาณร้อยละ 25 ในเพศชาย และร้อยละ 15 ในเพศหญิง ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome”
ความผิดปกติในการนอนกรนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. อาการนอนกรนธรรมดา
ไม่มีอันตรายเพราะไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย มีผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้อื่น โดยเฉพาะกับคู่นอน บุคคลอื่นๆ ในครอบครัว เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงาน เช่น ทำให้ผู้อื่นนอนหลับยากหรืออาจมากจนกระทั่งมีผลกระทบต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดังกล่าวได้ เช่น อาจทำให้เกิดการหย่าร้างของคู่สามีภรรยา
2. การกรนแบบก่อโรค
มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome” ผลกระทบที่สำคัญต่อสุขภาพ คือผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน มีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุในท้องถนน และในโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่ายมีอัตราเสี่ยงสูงจะเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาหลายโรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคของหลอดเลือดในสมอง ตลอดจนการมีสมรรถภาพทางเพศที่เสื่อมลง !!!
การตรวจสุขภาพการนอนกรน (Sleep test)
เป็นการตรวจสุขภาพที่สำคัญเพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับด้วย ปัจจุบันจัดว่าเป็นการตรวจสุขภาพมาตรฐานสากล เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคพบบ่อย เช่น ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่าโรคหยุดหายใจขณะหลับเป็นต้น ซึ่งแพทย์จะประมวลประวัติ ผลการตรวจร่างกายทาง หู คอ จมูก และตรวจร่างกายโดยรวมแล้วแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test เพื่อหาระดับความรุนแรงและอาการของโรคจากระดับความลึกของการนอนหลับ โดยเฉพาะในกรณีที่สงสัยว่าจะมีภาวะการณ์หยุดหายใจร่วมด้วยว่าสมองมีการขาดออกซิเจนมากน้อยเพียงใด ซึ่งในขณะนอนหลับจะมีการบันทึกข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดเพื่อที่แพทย์จะทำการวิเคราะห์ผล และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมเป็นลำดับต่อไป
แนวทางการรักษา
  • นอนตะแคง
  • ลดน้ำหนัก
  • การผ่าตัดตกแต่งทางเดินหายใจส่วนบน
  • เครื่องซีแพพ CPAP (Continuous positive airway pressure) เพื่อช่วยหายใจขณะนอนหลับ
เครื่องซีแพพ CPAP
(Continuous Positive Airway Pressure)
เป็นเครื่องผลิตแรงดันอากาศให้เพียงพอในการเปิดทางเดินหายใจในขณะหายใจเข้า เครื่อง CPAP มีประสิทธิภาพเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ในการรักษาปัญหาการขาดลมหายใจ โดยส่งอากาศเข้าสู่ทางเดินหายใจ ผ่านทางหน้ากากครอบจมูกหรือปาก ประโยชน์ของเครื่อง CPAP นอกจากขจัดปัญหาการขาดลมหายใจทำให้ร่างกายไม่ขาดออกซิเจน และมีคุณภาพการนอนดีขึ้นยังช่วยลดปัญหาความง่วงนอนช่วงกลางวัน ลดอุบัติเหตุ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกด้าน นอกจากนั้นการใช้เครื่อง CPAP ยังลดปัญหาสืบเนื่องในระยะยาวจากการขาดอากาศเป็นระยะ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง
โรคเส้นเลือดตีบในสมอง และโรคหัวใจ รวมทั้งโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับ "การนอนกรน"

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคดิสเปปเซีย (Dyspepsia) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อโรคกระเพาะอาหารนั้น คือ โรคที่มีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของบริเวณกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นก็ได้ โดยหากผู้ป่วยได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนจะพบความรุนแรงของโรคกระเพาะอาหารได้แตกต่างกัน ได้แก่ ตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆในกระเพาะอาหารเลยที่เรียกว่าฟังก์ชันนัลดิสเปปเซีย (Functional dyspepsia) พบเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) มีแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) หรือแม้แต่เป็นโรคร้ายแรงคือมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer)

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคกระเพาะอาหาร
  1. การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ในกระเพาะอาหาร
  2. การรับประทานยาที่อาจระคายเคืองกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาละลายลิ่มเลือด
  3. การสูบบุหรี่
  4. การรับประทานเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  5. ภาวะความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล
อาการของโรคกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารสามารถมาพบแพทย์ด้วยอาการสำคัญ 4 แบบ ได้แก่

  1. ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastric pain)
  2. แสบร้อนท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastric burning)
  3. แน่นหรืออึดอัดท้องหลังมื้ออาหาร (Post-prandial fullness)
  4. อิ่มเร็วกว่าปกติ (Early satiation)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารนั้นไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดท้องหรือแสบท้องเสมอไป อาการแน่นหรืออึดอัดท้อง รับประทานอาหารแล้วอิ่มเร็วกว่าปกติ ก็เป็นอาการที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจจะป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน

การตรวจเพื่อวินิจฉัยชนิดของโรคกระเพาะอาหาร

การวินิจฉัยแยกชนิดของโรคกระเพาะอาหารว่าเป็นชนิดใดนั้น มีความจำเป็นต้องอาศัยการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งสามารถเห็นลักษณะความผิดปกติ รวมถึงก้อนเนื้องอกต่างๆบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้อย่างชัดเจน โดยผู้ที่มีความเสี่ยงที่อาจจะป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดร้ายแรงและมีความจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน ได้แก่ มีอาการกลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ มีภาวะซีด น้ำหนักลด อาเจียนต่อเนื่อง อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 55 ปี รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการเป็นซ้ำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหาร

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดมีแผลอาจจะส่งผลทำให้มีเลือดออกจากแผลซึ่งบางครั้งอาจจะรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกหรือเสียชีวิตได้ ทำให้อาเจียนจากภาวะกระเพาะอาหารอุดตัน ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงจากแผลทะลุ แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดเยื่อบุอักเสบและมีการอักเสบเกิดขึ้นแบบเรื้อรังก็อาจส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุและกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารขึ้นมาได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ถึงโรคกระเพาะอาหารควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นจากตัวโรคในภายหลัง

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

ยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารโดยเฉพาะชนิดเยื่อบุอักเสบ หรือชนิดมีแผลประกอบด้วยยาลดกรดชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตามในบางครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคกระเพาะอาหารชนิดฟังก์ชันนัลดิสเปปเซียอาจมีความจำเป็นต้องให้ยากลุ่มอื่นๆร่วมด้วย เช่น ยาที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร ยาที่ลดการตอบสนองของกระเพาะอาหาร เพื่อทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น

หากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ก็มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 2 ชนิดเพื่อกำจัดเชื้อโรคนี้ร่วมด้วย

วิธีปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น อาหารเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ของหมักดอง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม กาแฟ โกโก้ ช็อคโกแลต เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารปริมาณมากๆในหนึ่งมื้อ
  • หลีกเลี่ยงการเอนตัวหรือนอนหลังกินอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาละลายลิ่มเลือด โดยไม่มีข้อบ่งชี้
  • งดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนักหากมีภาวะอ้วน
  • หลีกเลี่ยงการใส่กางเกง กระโปรง หรือเข็มขัดที่รัดแน่นเกินไป
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล
อายุรกรรมโรคเลือด

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล

PAKTHIPA PATTARAROSOL, M.D.
Specialty
  • อายุรศาสตร์โลหิตวิทยา

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตร์บัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วว.อายุรศาสตร์โลหิตวิทยา   คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหววิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
MON 17:00 - 20:00

ความดันโลหิตสูง Hypertension

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาและควบคุมตลอดชีวิต โรคนี้มักพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 15-20 ทั้งเพศหญิงและเพศชายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
ความดันโลหิตสูงคืออะไร
ความดันโลหิตคือแรงดันของกระแสเลือดที่มีต่อผนังหลอดเลือดโดยมีอวัยวะสำคัญที่ควบคุมให้ความดันอยู่ในระดับปกติ เช่นหัวใจ ไต หลอดเลือดที่หดหรือขยายตัวได้เป็นต้น ค่าความดันโลหิตขณะนั่งพักในวัยผู้ใหญ่จะประมาณ 120/80 มม.ปรอท และเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ตามท่าของร่างกาย อาหาร เครื่องดื่ม อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง ปริมาณการออกกำลังกาย เป็นต้น สามารถตรวจวัดความดันโลหิตที่รอบแขนได้ 2 ค่าดังนี้
  1. ความดันซีสโตลิก หรือค่าบนเป็นแรงดันสูงสุดขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวโดยค่าปกติจะไม่เกิน 139 มม.ปรอท
  2. ความดันไดแอสโตลิก หรือค่าล่างเป็นแรงดันขณะที่หัวใจคลายตัวโดยค่าปกติจะไม่เกิน 89 มม.ปรอท
ความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร
ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไป โดยวัดขณะนั่งพัก 5-10 นาที ที่ไม่ได้สูบบุรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง ได้ดังนี้
ความดันโลหิตสูงแบ่งเป็น 2 ชนิด
  1. ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน พบได้มากกว่าร้อยละ 90 ในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
    • พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง
    • โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง
    • บริโภคอาหารรสเค็มหรือเกลือโซเดียมมาก
    • ขาดการออกกำลังกาย
    • ร่างกายมีความไวต่อการสะสมเกลือและโซเดียม
  2. ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ ที่มีสาเหตุของโรค เช่น โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ นอนกรนและหยุดหายใจเฉียบพลันจากยาบางชนิด การตั้งครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น แต่หลังการรักษาต้นเหตุ ความดันสูงจะกลับเป็นปกติในผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเฉพาะค่าบน เนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงระยะแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและที่พบได้บ่อยคือ ปวดมึนท้ายทอยตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาต หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
โรคนี้ถ้าไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆ ร่วมกับมีภาวะไขมันสูง สูบบุรี่ โรคเบาหวานที่ไม่ควบคุม น้ำตาลในเลือดที่สูงจะเร่งทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมโดยมีคราบไขมันพอกที่ผนังหลอดเลือดเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ ก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญได้แก่
  1. หัวใจ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจวาย หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
  2. สมอง เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน หรือแตกทำให้เป็นอัมพาต และถ้าเกิดในตำแหน่งสำคัญอาจเสียชีวิตอย่างรวดเร็วความดันที่สูงรุนแรงเฉียบพลันจะทำให้สมองบวม ปวดศีรษะและซึมลงจนไม่รู้สึกตัว
  3. ไต จากมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอจะเกิดภาวะไข่ขาวรั่วออกทางปัสสาวะ ไตวายเรื้อรัง หรือเฉียบพลัน ซึ่งจะทำให้ความดันยิ่งสูงมากขึ้น
  4. ตา หลอดเลือดแดงในตาแตกและมีเลือดออกทำให้ประสาทตาเสื่อมและอาจตามัวลง
  5. หลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดการโป่งพอง และหรือฉีกขาดของผนังหลอดเลือดจะมีการเจ็บหน้าอกถ้ารุนแรงอาจเสียชีวิต
วิธีการรักษา
เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิคือการควบคุมความดันให้ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรังควรควบคุมให้ต่ำกว่า
  1. เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดัน และปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อยความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่130/80 มม.ปรอท แนวทางการรักษามีดังนี้ ลดน้ำหนักส่วนเกิน   เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ ธัญพืช ปลาและ นมไขมันต่ำระมัดระวังการรับประทานอาหารหวาน ไขมันควบคุมอาหารรสเค็ม    รู้จักคลายเครียด   ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ถ้าเลิกออกกำลังกาย ความดันสูงจะกลับมาใหม่เลิกบุหรี่และเหล้า
  2. ให้ยารักษาความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันยังคงสูงกว่า140/90 มม.ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษา และควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น
  3. ติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ และเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น
ดูแลสุขภาพอย่างไรจึงจะควบคุมได้
  1. รับประทานยา และพบแพทย์ตามนัด ไม่หยุดยาเองแม้ว่าจะมีความดันเป็นปกติ และไม่เปลี่ยนขนาด หรือชนิดยา เพราะประสิทธิภาพของยาจะแตกต่างกันในแต่ละราย ผู้ที่มีอาการจากผลข้างเคียงของยาควรปรึกษาแพทย์
  2. บริโภคอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสหวาน มัน เค็มจัดควรฝึกให้ชินกับอาหารรสธรรมชาติ หรือใช้สมุนไพรปรุงรสแทนและบริโภคแบบสด การบริโภคอาหารเค็มจะทำให้ความดันไม่ลงและดื้อต่อการรักษา
  3. ลดน้ำหนักส่วนเกิน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งในการลดความดันโลหิตผู้ที่ลดน้ำหนักได้ต่อเนื่องทุก 10 กิโลกรัมความดันค่าบนจะลดลงเฉลี่ย 5-20 มม.ปรอท
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 20-30 นาทีแบบต่อเนื่องสัปดาห์ละ 5-7 วัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ เป็นต้นจะช่วยให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
  5. การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น และเป็นสาเหตุของโรคอันตรายอื่น
  6. เลือกบริโภคอาหารลดความดัน (Dietary Approaches to Stop Hypertension, DASH) โดยบริโภคอาหารไขมันต่ำแบบหมุนเวียน เช่น เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ปลา อาหารมังสวิรัติ และเพิ่มการบริโภค ผักผลไม้ ธัญพืชมากขึ้นในแต่ละมื้อ  และลดบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไป
  7. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียด7. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียดและทำจิตใจให้สงบ เช่น ปฏิบัติศาสนกิจ เจริญสมาธิ ฝึกโยคะชี่กง เป็นต้น พบว่าการฝึกหายใจ ช้าน้อยกว่า 10 ครั้ง/นาทีวันละ 15-20 นาที ประมาณ 2 เดือน จะช่วยลดความดันโลหิตได้ประมาณเท่ากับการกินยารักษาความดัน 1 ชนิด
  8. เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ควรแจ้งแพทย์เรื่องความดันโลหิตสูงเนื่องจากยาบางอย่างมีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

CT Calcium Score
การตรวจหาหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อประเมินภาวะการอุดตันของหลอดเลือด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือประเมินแนวโน้มโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในอนาคต
ข้อดีของตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต
  • ไม่ต้องมีการเตรียมตัว สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ใช้เวลาในการตรวจน้อย ไม่เจ็บตัว
  • ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนรับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงยาที่จะกระตุ้นหัวใจให้ชีพจรเร็วขึ้น
  • งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดคลุมของโรงพยาบาล
  • ถอดเครื่องประดับรอบคอหรือแผ่นต่างๆ ที่ติดบริเวณหน้าอก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

โรคเบาหวาน โรคไขมันและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

โรคเบาหวาน

โรคไขมัน

Title
Title
Description

โรคความดันโลหิตสูง

วัคซีนป้องกันโรคร้าย วัย 50+

วัคซีนป้องกันโรคร้าย วัย 50+

เตรียมความพร้อม สู่ "สังคมสูงวัย อย่างมีสุขภาพดี"


การได้รับฉีดวัคซีนในวัยเด็กเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคก็เพิ่มมากขึ้น  ภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีนอาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไปจึงจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นใหม่ หรือเมื่ออายุมากขึ้นความไวของเชื้อในการก่อโรคมากขึ้น เช่น ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม1 ดังนั้นในผู้สูงอายุก็มีความจำเป็นที่ต้องฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคเช่นเดียวกัน

ผู้ใหญ่อายุ 50 ปี ขึ้นไปทุกคน แพทย์แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค การฉีดวัคซีนป้องกัน ช่วยให้บรรเทาอาการของโรคและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังลดโอกาสเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนอื่น ในวัยผู้ใหญ่ภูมิคุ้มกันจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น จึงต้องมีการกระตุ้นด้วยการฉีดวัคซีน หรืออาจจะเป็นเพราะเชื้อโรคนั้นมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หรือสายพันธุ์ใหม่จนระบบภูมิคุ้มกันเดิมร่างกายไม่รู้จักเชื้อนั้น เช่น ไข้หวัดใหญ่

รายการตรวจ ราคา(บาท)
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
ควรฉีดป้องกันปีละ 1 ครั้ง
849.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ High Dose สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
ควรฉีดป้องกันปีละ 1 ครั้ง
2,500.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนสุกใส (1 เข็ม)
ควรฉีดในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน
1,700.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนตับอักเสบ บี (1 เข็ม)
โดยฉีด 3 ครั้งห่างกัน 4-8 สัปดาห์
660.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนตับอักเสบ บี (3 เข็ม)
ฉีด 3 เข็มป้องกันตลอดชีวิต
1,980.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนตับอักเสบ เอ (1 เข็ม)
ฉีด 1 เข็มป้องกันตลอดชีวิต
1,200.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนตับอักเสบ เอ (1 เข็ม) + บี (3 เข็ม)
ฉีด 4 เข็มป้องกันตลอดชีวิต
3,190.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนบาดทะยัก (1 เข็ม)
360-420.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม 13 สายพันธุ์
ฉีด 1 เข็มป้องกันตลอดชีวิต
3,250.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนงูสวัด (RZV) 1 เข็ม
(ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 2 – 6 เดือน)
5,990.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนงูสวัด (RZV) 2 เข็ม
(ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 2 – 6 เดือน)
11,900.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การตรวจสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง MRI

MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือการตรวจสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นการตรวจวินิจฉัยที่ให้ความถูกต้อง แม่นยำสูง เนื่องจากให้ความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี สามารถตรวจได้ทุกระบบในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบสมอง และกระดูกสันหลัง อีกทั้งยังมีเทคนิคพิเศษหลายแบบ เช่น การตรวจผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน การตรวจหาชีวเคมีเพื่อแยกชนิดของก้อนเนื้อ และการตรวจหลอดเลือดทั่วร่างกาย

MRI ยังมีประโยชน์มากในผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากไม่มีอันตรายจากรังสีที่เกิดจากการใช้เอ็กซเรย์

      การตรวจที่ส่งตรวจได้แก่

  • ระบบสมอง เนื้อเยื่อสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาททั่วร่างกาย
  • ระบบช่องท้องทั้งหมด
  • ระบบกล้ามเนื้อ ข้อ และเส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • ระบบหลอดเลือดทั่วร่างกาย

มีข้อจำกัดในการตรวจอวัยวะ ปอด ลำไส้ และหักร้าวของกระดูก

ข้อควรระวัง

  • ผู้ป่วยที่กลัวที่แคบ (Claustrophobic) ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะฝังในร่างกาย เช่น การเปลี่ยนข้อเทียม การใส่เหล็กดามกระดูก คลิปอุดหลอดเลือดในโรคหลอดเลือดโปร่งพอง เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ อวัยวะเทียมภายในหู เป็นต้น
  • ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ไม่ถึง 3 เดือน

สอบถามและปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกอายุรกรรม 02 587 0144 ต่อ 2200
แผนกรังสีวิทยา 02 587 0144 ต่อ 1205