อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)

อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ

Tonsillitis
ต่อมทอนซิลคือเนื้อเยื่อในลำคอ 2 ข้างบริเวณโคนลิ้น ทำหน้าที่ดักจับและกรองเชื้อโรค เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไปในร่างกายมากขึ้น นอกจากต่อมทอนซิลแล้วบริเวณผนังลำคอด้านหลังเนื้อเยื่อที่โคนลิ้นและต่อมอะดินอยด์ (Adenoid) ซึ่งอยู่บริเวณคอหลังจมูกก็เป็นตัวช่วยกรองเชื้อโรคเช่นกัน สาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบเกิดจากภาวะที่ร่างกายอ่อนแอหรือติดเชื้อจากผู้อื่นที่เจ็บป่วย เชื้อโรคในช่องปากและคอจะมีปริมาณมากขึ้น ต่อมทอนซิลจะทำงานมากขึ้นเพื่อกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้ ทำให้ทอนซิลแดง บวม และโตขึ้น ซึ่งเรียกว่า ต่อมทอนซิลอักเสบ
อาการต่อมทอนซิลอักเสบ
คล้ายโรคคออักเสบทั่วไป คือเจ็บคอร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ไข้ ไอ เสมหะหรือมีน้ำมูก โดยอาการเจ็บคอจะเจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง เมื่ออ้าปากจะพบว่า ทอนซิลมีลักษณะบวมแดงและโตกว่าปกติ ในกรณีที่เป็นเชื้อรุนแรงอาจมีจุดหนองที่ทอนซิลและต่อมน้ำเหลืองข้างลำคอโตด้วย
อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ
เชื้อที่เป็นสาเหตุของทอนซิลอักเสบบางชนิดเป็นเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดหนองรอบๆ ทอนซิลถ้าโรคลุกลาม อาจเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจได้ บางชนิดการอักเสบจะมีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและทำให้ไต หรือหัวใจผิดปกติได้ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดสเตรปโตคอคคัส (Streptococcal Tonsillitis)
ผู้ป่วยที่มีทอนซิลอักเสบบ่อย ๆ ขนาดของทอนซิลจะโต ซึ่งอาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ สังเกตได้จากขณะนอนหลับผู้ป่วยมักจะกรนดังหรือสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ โดยเฉพาะในเด็ก
การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ
ถ้าอาการอักเสบไม่มาก เจ็บคอเล็กน้อย ไม่มีไข้ ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา โดยให้พักผ่อนมากขึ้น ดื่มน้ำ รับประทานอาหารให้เพียงพอ ถ้าร่างกายสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ภายใน 2-3 วัน อาการจะดีขึ้น แต่ถ้ามีอาการมาก เช่น มีไข้สูง เจ็บคอมาก ทานอาหารได้น้อย ควรมาพบแพทย์ หากตรวจพบอาการอักเสบค่อนข้างรุนแรง มักจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาอื่น ๆ ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นในช่วง 3-7 วัน
จำเป็นต้องตัดทอนซิลออกหรือไม่
ต่อมทอนซิลมีหน้าที่กรองเชื้อโรคไม่ให้ลุกลามเข้าไปในร่างกายดังที่กล่าวแล้ว โดยทั่วไปจะไม่แนะนำให้ตัดทิ้ง แต่หากในกรณีที่มีการอักเสบรุนแรงหรืออันตรายจากทอนซิลอักเสบ ผู้ป่วยที่ควรได้รับการตัดต่อมทอนซิลออก ได้แก่
  • ต่อมทอนซิลที่มีขนาดใหญ่ทำให้เกิดทางเดินหายใจอุดตัน นอนกรน
  • เคยมีภาวะหนองข้างทอนซิล (Peritonsillar abscess) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
  • ต่อมทอนซิลโตกว่าปกติสงสัยว่าอาจเป็นเนื้องอกมะเร็ง
พิจารณาให้ผ่าตัดทอนซิลออกในกรณีนี้ เช่น มีอาการอักเสบบ่อยมากกว่า 6 ครั้งใน 1 ปีหรือ 3-5 ครั้งใน 2 ปีติดต่อกัน, มีกลิ่นปากจากทอนซิลอักเสบเรื้อรังหรือมีเศษอาหารอุดตันเข้าไปในทอนซิล, ทอนซิลอักเสบชนิดสเตรปโตคอคคัสและทอนซิลที่โตข้างเดียวที่อาจเป็นมะเร็งได้
อายุเท่าไรที่สามารถตัดต่อมทอนซิลได้
โดยทั่วไปไม่จำกัดอายุในการผ่าตัดรวมถึงเด็กเล็ก ถ้ามีข้อบ่งชี้ชัดเจน และไม่มีข้อห้ามในการผ่าตัด เช่น มีปัญหาเลือดหยุดยาก โลหิตจาง ไม่สามารถใช้ยาสลบได้หรือมีโรคประจำตัวที่รุนแรง
การผ่าตัดทอนซิลมีวิธีการอย่างไร
การผ่าตัดทอนซิลต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโสต ศอ นาสิก โดยใช้เครื่องมือพิเศษตัดทอนซิลออกทางปาก ไม่มีแผลผ่าตัดให้เห็นด้านนอก และมักผ่าตัดโดยการดมยาสลบ
การผ่าตัดจะใช้กรรไกร มีด และเครื่องจี้ให้เลือดหยุดไหล ในปัจจุบันมีวิทยาการใหม่ ๆ ที่อาจลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดลงได้กว่าวิธีการเดิม เช่น ใช้คลื่นวิทยุหรือเลเซอร์ช่วยในการผ่าตัด

อันตรายจากการผ่าตัดทอนซิล
การผ่าตัดทอนซิลเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง ผู้ป่วยอาจมีปัญหาเลือดออกหลังการผ่าตัด ปวดบริเวณแผลทำให้กลืนลำบากหรืออาจเกิดอาการข้างเคียงจากการดมยาสลบ ดังนั้นจึงต้องสังเกตอาการผู้ป่วยในโรงพยาบาล 1 วันหลังจากการผ่าตัด จนแน่ใจว่าปลอดภัยแพทย์จึงอนุญาตให้กลับไปพักผ่อนที่บ้านได้
ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไข้ ภาวะขาดน้ำ น้ำหนักลด เสียงเปลี่ยน ส่วนอันตรายถึงแก่ชีวิต จากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ มีโอกาสเกิดน้อยมาก
หลังผ่าตัดทอนซิลออก ทำให้เกิดคออักเสบบ่อยขึ้นหรือไม่
ถึงแม้ทอนซิลจะถูกตัดออก และตัวกรองเชื้อโรคลดลง แต่เนื้อเยื่อที่โคนลิ้นและผนังลำคอยังสามารถกรองเชื้อโรคแทนต่อมทอนซิลได้เพียงพอ ดังนั้นหลังการผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยดูแลสุขภาพได้ดี ความถี่ของคออักเสบจะเกิดไม่บ่อยขึ้น และมีแนวโน้มที่จะน้อยลง
การดูแลหลังการผ่าตัดทอนซิล
ในวันแรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารอ่อนและเย็น เช่น น้ำหวาน ไอศกรีม โยเกิร์ต เยลลี่ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลบวมและมีเลือดออก ในวันถัดไปจะปรับอาหารให้นุ่ม แข็งขึ้น อุ่นขึ้น ประมาณ 2-5 วันขึ้นอยู่กับอาการปวดของผู้ป่วย การรับประทานอาหารปกติและร้อนควรแน่ใจว่าแผลไม่มีปัญหาแล้วจึงจะเริ่มรับประทานได้ ซึ่งมักใช้เวลา 5-7 วัน หลังออกจากโรงพยาบาล 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าแผลหายดีและไม่มีเลือดออกอีก
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบ
เช่นเดียวกับหลักการดูแลสุขภาพทั่วๆไป และป้องกันการเกิดหวัด โดยควรพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ภาวะสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อม

(DEMENTIA)
ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่สมองทำงานผิดปกติ เป็นผลให้มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม บุคลิกเปลี่ยนแปลง ขาดความสามารถในการเรียนรู้และการสื่อสาร ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้
ภาวะสมองเสื่อม เกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมอง มีแนวโน้มว่าจะเกิดภาวะสมองเสื่อมมากขึ้นตามอายุ โรคอัลไซเมอร์จัดเป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด อาจพบภาวะสมองเสื่อมในโรคหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อทางสมอง เนื้องอกในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง หรือเป็นผลจากการขาดวิตามินบีเป็นเวลานาน หรือเกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือเกิดจากการกินยานอนหลับหรือยากล่อมประสาทเป็นเวลานาน
อาการ
  1. ความจำเสื่อม นับเป็นอาการแรกๆของภาวะสมองเสื่อม จำชื่อคนใกล้ชิดไม่ได้ ไม่สามารถจำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ วางของแล้วจำไม่ได้ ถามคำถามซ้ำซาก ลืมว่าเคยถามและได้คำตอบแล้ว
  2. ไม่สามารถทำงานที่เคยทำได้ เช่น เคยขับรถได้แต่ขับไม่ได้ เคยหุงข้าวได้กลับหุงไม่เป็น
  3. มีปัญหาด้านภาษา เรียกชื่อญาติหรือคนใกล้ชิดไม่ถูก เรียกสิ่งของผิดไป นึกคำพูดไม่ออก พูดซ้ำซาก สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง
  4. สับสนเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ จำเส้นทางเดินทางไปบ้านตัวเองไม่ถูก จำสถานที่ เวลา หรือเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ได้ บอกไม่ได้ว่าตัวเองอยู่ไหน
  5. มีความผิดปกติในการตัดสินใจ ตัดสินใจช้าและตัดสินใจไม่ถูก ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัดสินใจผิดพลาด
  6. สติปัญญาด้อยลง ขาดความสามารถในการวางแผน บวกนับเลขไม่ถูก ทอนเงินไม่ถูก
  7. วางสิ่งของผิดที่ไม่เหมาะสม เช่น วางแว่นตาในอ่างน้ำ วางถังขยะบนโต๊ะอาหาร และมักหาสิ่งของไม่พบ
  8. อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว หรือซึมเศร้า อาจนั่งร้องไห้โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุ เพราะการสื่อสารไม่เข้าใจ
  9. บุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น หนีสังคม เก็บตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์รอบตัว ในรายที่เป็นรุนแรง จะมีปัญหาการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำเองไม่เป็น ใส่เสื้อผ้าเองไม่เป็น ติดกระดุมเสื้อเองไม่ได้ตักข้าวกินเองไม่ได้
หากมีอาการความจำเสื่อมร่วมกับอาการอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้นอีก 3 อย่างขึ้นไป และต้องพึ่งพาผู้อื่นในการทำกิจวัตรประจำวัน จึงจะวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกาย ประวัติจะได้จากญาติใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยเองจะหลงลืมให้ประวัติไม่ได้ จะมีแบบทดสอบความจำ สติปัญญา แบบทดสอบภาวะทางจิตใจ นอกจากนี้แพทย์จะตรวจเลือดและเอ็กซเรย์สมอง เช่น การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองหรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุของโรคที่จะรักษาได้
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่อาจช่วยชะลออาการผู้ป่วยได้ ยกเว้นสภาวะสมองเสื่อมที่มีสาเหตุที่รักษาได้ เช่น เป็นเนื้องอกในสมองก็ผ่าตัดเอาเนื้องอกออก ผ่าตัดแก้ไขโพรงน้ำในสมองขยายตัว งดสารเสพติด รักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น
นอกจากนี้ต้องรักษาโรคที่เป็นความเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น แพทย์อาจใช้ยาที่ช่วยชะลอความจำเสื่อมและยาที่ช่วยระงับพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น เอะอะก้าวร้าว เห็นภาพหลอน
การรักษาจะสมบูรณ์ได้ต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วย ให้เข้าใจการดำเนินของโรค เข้าใจลักษณะของผู้ป่วย ให้ผู้ดูแลสามารถติดต่อสื่อสารกับทีมรักษาเพื่อปรึกษาปัญหาให้แก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลควรเป็นผู้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ควรให้ผู้ดูแลมีช่วงเวลาพักเพื่อคลายเครียด เพื่อไม่ให้ความเครียดหรือภาระในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยไม่ดีและยังมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้ดูแลอีกด้วย
การป้องกัน
  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างสมดุล หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รสเค็มหรือหวานจัด
  2. งดเสพสุรา และสารเสพติด งดสูบบุหรี่
  3. ฝึกบริหารสมอง เช่น การฝึกใช้มือซ้ายทำงานแทนมือขวาที่ถนัด ฝึกเปลี่ยนเส้นทางเดินที่ใช้ประจำ ฝึกเล่นเกม หัดคิดเลข อ่านหนังสือบ่อยๆ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป สัปดาห์ละ 3 - 5 วัน
  5. ระวังอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางสมอง ใส่หมวกกันน็อค คาดเข็มขัดนิรภัยเวลานั่งรถ
  6. เข้าสังคมผู้สูงอายุ พบปะผู้อื่นบ่อยๆ มีกิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น
  7. รักษาโรคประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ เช่น รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และตรวจสุขภาพประจำปี
  8. ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ฝึกสมาธิ
หากท่านสงสัยว่าจะมีภาวะสมองเสื่อม ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการในระยะแรกๆ จะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

>

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Promotion ตรวจเช็คโรคระบบประสาทและสมอง
คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

Q&A “รู้เรา เอาชนะภูมิแพ้”

Q&A “รู้เรา เอาชนะภูมิแพ้”

allergry-test-skin
อาการจามบ่อยๆ น้ำมูกไหล ไอเรื้อรัง คันคอ เจ็บคอ คันๆ เกาๆ มีผื่นแดงขึ้นตามตัวหรือบริเวณต่างๆ เรื่องใกล้ตัวที่ควรใส่ใจ หากปล่อยให้เรื้อรังและอาการรุนแรงขึ้น อาจทำให้เสียบุคลิกภาพ เสียสุขภาพจิต เสียสมาธิ และส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่มากก็น้อย รู้และเข้าใจโรคภูมิแพ้ เพื่อการรักษาและดูแลอย่างถูกต้อง
ถาม ที่เรียกว่าโรคภูมิแพ้คืออย่างไร เกิดจากสาเหตุอะไร
ตอบ โรคภูมิแพ้เป็นภาวะผิดปรกติที่เกิดจากร่างกายมีความไวต่อสารบางอย่างในสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นในบ้าน เชื้อรา ละอองเกสรดอกไม้ เกสรหญ้า ซึ่งปะปนอยู่ในอากาศ ทำให้มีอาการหลังจากสัมผัสสารที่ก่อภูมิแพ้เหล่านั้น มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ไม่ขาด และถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
ถาม โรคภูมิแพ้จะทำให้เกิดอาการกับอวัยวะส่วนใดของร่างกายบ้าง
ตอบ เกิดอาการได้ทุกระบบ ถ้าเกิดกับระบบหายใจส่วนบนจะทำให้เกิดมีอาการที่ชาวบ้านเรียกว่าหวัดเรื้อรัง ถ้าเกิดกับระบบหายใจส่วนล่าง จะทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า โรคหอบหืด ถ้าเกิดกับผิวหนังจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าลมพิษ นอกจากนั้นโรคภูมิแพ้ยังเกิดขึ้นยังเกิดขึ้นกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้อีก เช่น ที่ตา อาจทำให้เกิดตาแดง ตามัว น้ำตาไหล หรือในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ท้องเดิน ท้องเสียบ่อย ท้องอืด
ถาม สถิติการเกิดโรคภูมิแพ้ มีคนเป็นโรคภูมิแพ้กันมากน้อยเพียงใด
ตอบ โรคภูมิแพ้ใดแต่ละส่วนของโลกมีอุบัติการณ์ที่เกิดแตกต่างกันมากน้อยแล้วแต่สิ่งแวดล้อมและกรรมพันธุ์สำหรับคนไทยนั้นจากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี พ.ศ. 2525 พบว่า คนไทยมีอุบัติการณ์เป็นโรคภูมิแพ้ประมาณ 15-20%
ถาม อาการของโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยจะจะเกิดกับส่วนใดของร่างกาย
ตอบ ที่จมูก พบประมาณ 42% ของโรคภูมิแพ้ทั้งหมด รองลงมาคือ ระบบหายใจส่วนล่าง (โรคหอบหืด) พบประมาณ 29 % นอกจากนั้นเป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดในส่วนอื่นๆ
ถาม โรคภูมิแพ้ทางจมูกแบ่งได้เป็นกี่ชนิด ได้แก่อะไรบ้าง ส่วนใหญ่ที่พบเป็นประเภทใด
ตอบ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่เป็นตลอดปี กับชนิดที่เป็นตามฤดู สำหรับในบ้านเราพบผู้ป่วย ส่วนใหญ่มีอาการหวัดเรื้อรังตลอดทั้งปี พบได้ประมาณ 67% ของผู้ป่วยภูมิแพ้ทางจมูก
ถาม สาเหตุของอาการแพ้ทางหู คอ จมูก เกิดจากอะไร
ตอบ เกิดจากการที่เราหายใจเอาสารก่อภูมิแพ้เข้าไป ได้แก่ ฝุ่น เชื้อรา เกสรดอกไม้ เกสรหญ้า ซึ่งปะปนอยู่ในอากาศ สิ่งเหล่านี้เมื่อไปสัมผัสกับเยื่อบุจมูกทำให้เกิดมีอาการคลั่งของสารต่างๆ ออกมา ที่สำคัญคือ ฮึสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหลและแน่นจมูก เนื่องจากมีอาการบวมของเยื่อบุจมูก
ถาม สภาพแวดล้อมมีความสำคัญอย่างไรที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทางหู คอ จมูก มีอาการมากขึ้น
ตอบ การเปลี่ยนแปลงลักษณะของอากาศ เช่น อากาศเย็นและอับชื้นจะทำให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้บางกลุ่มมีอาการมากขึ้น นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่และควันจากท่อไอเสียรถยนต์ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคภูมิแพ้มากขึ้น
ถาม อาการเฉพาะของโรคภูมิแพ้ทางจมูกมีอะไรบ้าง
ตอบ นอกจากจะทำให้มีอาการทางจมูก เช่น จามบ่อย ๆ น้ำมูกไหล ยังทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง คันคอ เจ็บคอ และหูอื้อได้อีกด้วย
ถาม โรคพวกนี้จะถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์หรือไม่
ตอบ ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ จากการศึกษาพบว่า ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ 50 % ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ 75 %
ถาม อาการที่คล้ายกับหวัดจะติดต่อไปยังผู้อื่นได้หรือไม่
ตอบ โรคภูมิแพ้นี้มีคนให้คำจำกัดความไว้ว่าเป็นโรคส่วนตัว ที่เรียกว่าเป็นโรคส่วนตัว หมายถึง ไม่ติดต่อโดยการอยู่ร่วมกัน ไม่ถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคลหนึ่งได้
ถาม โรคแทรกซ้อนที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยภูมิแพ้ทางหู คอ จมูก ได้แก่ โรคอะไรบ้าง
ตอบ ที่พบบ่อย คือ เนื้องอกในจมูกที่เรียกว่า ริดสีดวงจมูกอาจมีอาการอักเสบของไซนัสต่างๆ ร่วมด้วยถ้ามีการอุดตันของท่อระบายอากาศของหูชั้นกลางจะทำให้มีอาการหูอื้อได้
ถาม รักษาให้หายขาดได้หรือไม่
ตอบ โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ไม่สามารถจะรักษาให้หายขาดได้ จุดประสงค์ในการรักษาก็เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและป้องกันโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรงภูมิแพ้
ถาม หลักในการรักษาเป็นอย่างไร
ตอบ มี 4 ขั้นตอนคือ

  1. แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้
  2. การรักษาทางยา เช่น ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก
  3. การฉีดยาสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้
  4. ทำการผ่าตัด ในกรณีที่มีโรคหรือภาวะต่างๆ ที่ร่วมก่ออาการด้วยกัน เช่น ริดสีดวงจมูก เป็นต้น
ถาม ข้อแนะนำเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้มีอะไรบ้าง
ตอบ ปัจจุบันการแพทย์ได้เจริญก้าวหน้าอย่างมาก ความทุกทรมานและอันตรายจากโรคภูมิแพ้จะถูกขจัดออกไปได้ถ้าผู้ป่วยและแพทย์ทำความเข้าใจและร่วมมือกันในการรักษา ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาหารือเป็นรายๆไป น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
หากสงสัยว่ามีอาการทางร่างกาย เช่น จามบ่อยๆ น้ำมูกไหล อาการไอเรื้อรัง คันคอ เจ็บคอ และหูอื้อ ตาแดง ตามัว น้ำตาไหล ผื่นแดง คัน หรือในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเดิน ท้องเสียบ่อย ท้องอืด ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง โรคภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรังอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว การรักษาอย่างถูกวิธีสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต และทำให้ผู้ป่วยเข้าร่วมสังคมได้อย่างปกติ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

แพคเกจ ทดสอบภูมิแพ้ บนผิวหนัง

รู้และหลีกเลี่ยงสิ่ง […]

โรคมือเท้าปาก…ไวรัสร้ายในวัยอนุบาล

โรคมือเท้าปาก…ไวรัสร้ายในวัยอนุบาล

Hand-Foot-and-Mouth Disease
             โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease) เป็นโรคที่มักพบการติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็กและในที่อยู่รวมกันอย่างแออัดจะมีโอกาสที่เกิดการระบาดได้ มักระบาดในฤดูฝน แต่บางรายจะมีอาการรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ โรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ตุ่มหรือผื่นที่ผิวหนัง ทั้งสัมผัสโดยตรงและสัมผัสเชื้อทางอ้อม
             โรคมือ เท้า ปากเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 มักไม่รุนแรง เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจาก Enterovirus 71 อาจพบโรครุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น
การแพร่ระบาด และการติดต่อ
การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายใน ช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสติดมากับมือหรือของเล่น ที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วยและเกิดจากการ ไอจามรดกันโดยหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของผู้ป่วย และการติดเชื้อจากอุจจาระ
อาการของโรค
อาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ เจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ทำให้ไม่กินอาหาร  หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆ ที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำใส ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก 1-2 วันจะเกิดผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า แขนขา และก้น ผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน ขาและก้น
อาการที่ต้องเฝ้าระวังซึ่งเป็นสัญญาณอันตราย
  1. มีไข้สูงนานเกิน 2 วัน
  2. อาเจียนมาก
  3. ซึม
  4. มือกระตุกคล้ายผวา
  5. เดินเซ ตากระตุก
  6. เจ็บแผลในปาก จนกินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม
  7. หายใจหอบเหนื่อย
ควรรีบไปพบแพทย์เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ หากมีอาการดังที่กล่าวมา ให้รีบพาบุตรหลานพบแพทย์ทันที
การรักษา
โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาทาแก้ปวด ในรายมีแผลที่ลิ้น หรือกระพุ้งแก้มผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรเช็ดตัวเด็กเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนๆรสไม่จัด ดื่มน้ำและน้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมากๆ

ปัจจุบันมีวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสเชื้อเอนเตอร์โรไวรัส 71 หรือเรียกสั้นๆ ว่าเชื้อ อีวี 71 ซึ่งเป็นชนิดที่ก่อโรคมือ เท้า ปากรุนแรง โดยสามารถ

  1. ฉีดได้ในช่วงอายุ 6 เดือน - 5 ปี 11 เดือน
  2. ควรได้รับวัคซีน 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 1 เดือน
  3. เด็กที่หายจากโรคมือ เท้า ปาก ประมาณ 1 เดือน
  4. เด็กที่ได้รับวัคซีนอื่นๆ ต้องเว้นระยะห่าง 2 สัปดาห์ ก่อนเริ่มวัคซีนชนิดใหม่
การป้องกัน / การควบคุมโรค
โรคมือเท้าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับเด็กที่ป่วย
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเตรียมอาหาร แยกของใช้ส่วนตัว
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย ระมัดระวังการไอจามรดกันให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
  • หลีกเลี่ยงที่มีคนมากและแออัด ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนสาธารณที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ เช่น สนามเด็กเล่นและห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับบ่อย เช่น ลูกบิด โทรศัพท์
  • ไม่เล่นของเล่นร่วมกับผู้ป่วย คือ ต้องแยกผู้ป่วย เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และคอยทำความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้าที่อาจปนเปื้อนเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไปภายในบ้าน
หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้จัดการสถานรับเลี้ยงเด็กต้องดำเนินการ ดังนี้
  1. ปิดห้องเรียนที่มีเด็กป่วยหรือปิดทั้งโรงเรียนชั่วคราว (ประมาณ 5 – 7 วัน)
  2. ทำความสะอาดสถานที่เพื่อฆ่าเชื้อโรคบริเวณห้องนํ้า ห้องส้วม สระว่ายนํ้า ครัว โรงอาหารบริเวณที่เล่นของเด็ก สนามเด็กเล่น โดยใช้ผงซักฟอก หรือสบู่ทำความสะอาดก่อน แล้ว ตามด้วยน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้าง เช็ด/แช่ ด้วยน้ำสะอาด เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง
  3. ทำความสะอาดของเล่น เครื่องใช้ของเด็กด้วยการซักล้างแล้วผึ่งแดดให้แห้ง
  4. หยุดใช้เครื่องปรับอากาศ เปิดม่านให้แสงแดดส่องให้ทั่วถึง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

รักษานิ่วในถุงน้ำดี ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy)

รักษานิ่วในถุงน้ำดี ด้วยการส่องกล้อง

Laparoscopic Cholecystectomy
           ในปัจจุบันการส่องกล้องเพื่อรักษานิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone) มีข้อดีหลายอย่าง ได้แก่ ลดความเสี่ยงทางวิสัญญีในการดมยาสลบ แผลผ่าตัดเล็ก ระยะเวลาการพักและฟื้นตัวสั้นสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็ว ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
            นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่สามารถพบและเกิดขึ้นได้ มีอันตรายถึงแก่ชีวิตถ้าไม่รีบรักษา อาการที่พบ ได้แก่ อาหารไม่ย่อย หลังทานอาหารมีอืดแน่นท้อง ปวดใต้ลิ่นปี่หรือชายโครงขวา ถ้าพบว่ามีตัวเหลืองตาเหลืองร่วมด้วย จะเป็นอาการของนิ่วในถุงน้ำดีไหลไปอุดตันที่ท่อน้ำดี และเกิดภาวะท่อน้ำดีอุดตัน
อาการและความรุนแรงของโรค
อาการและความรุนแรงของโรคนิ่วในถุงน้ำดีนั้น ในระยะเริ่มต้นอาจจะไม่ค่อยแสดงอาการมากนัก ผู้ป่วยมักจะมาด้วยอาการปวดอืด แน่นท้อง ปวดใต้ลิ้นปี่ หรือปวดชายโครงด้านขวา แต่หากมีถุงน้ำดีอักเสบติดเชื้อ (Acute cholecystitis) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้อาเจียน และมีไข้ ร่วมด้วย ถ้าก้อนนิ่วตกลงไปที่ท่อน้ำดีแล้วเกิดภาวะท่อน้ำดีอุดตัน จะพบว่ามีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หากมีการอักเสบติดเชื้อขึ้นบริเวณท่อน้ำดีที่อุดตันนั้น อาจเกิดภาวะท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholangitis) หรือ ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis)ได้ อาการปวดท้องจะทุเลาลงถ้านิ่วที่อุดตันนั้น ไหลกลับไปที่ถุงน้ำดี หรือไหลออกไปทางลำไส้เล็ก ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้องลักษณะนี้หลายครั้ง จะเป็นอาการเตือนของการมีนิ่วในถุงน้ำดี อาจเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholecystitis) หรือ ภาวะถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง (Chronic cholecystitis) ได้ ซึ่งถ้ามีการอักเสบและติดเชื้อรุนแรงอาจเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่อันตรายถึงแก่ชีวิต
สาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบนั้นส่วนมากจะเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone) หรือตะกอนในถุงน้ำดี (Bile sludge) ไหลไปอุดตันทางออกถุงน้ำดี (Cystic duct) จนทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อ
การรักษา
การรักษานิ่วในถุงน้ำดีในปัจจุบัน ใช้การผ่าตัดผ่านกล้องที่มีความคมชัดสูง หลังผ่าตัดแผลมีขนาดเล็ก เจ็บแผลน้อย ลดโอกาสการติดเชื้อ และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไว
หลังการผ่าตัดถุงน้ำดีนั้นผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เนื่องจากถุงน้ำดีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบน้ำดีที่ทำหน้าที่กักเก็บน้ำดีเท่านั้น โดยน้ำดีจะถูกผลิตจากตับ ดังนั้นเมื่อตัดถุงน้ำดีออกไปผู้ป่วยเพียงแค่ไม่มีที่กักเก็บน้ำดี แต่ยังสามารถย่อยอาหารได้ปกติ ในระยะแรกจะยังไม่สามารถย่อยอาหารพวกไขมันได้ดีเท่าที่ควร ปริมาณไขมันที่ทานต่อมื้อจึงมีผล ถ้าปริมาณไขมันน้อยกว่าจะย่อยได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกๆหลังการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ เพิ่มจำนวนมื้ออาหารแต่ละปริมาณในแต่ละมื้อลง จะช่วยให้การย่อยอาหารสมบูรณ์ขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายจะปรับตัวให้เข้ากับการไม่มีถุงน้ำดีได้ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
หากพบอาการเหล่านี้ เช่น อาหารไม่ย่อย หลังทานอาหารมีอืดแน่นท้อง ปวดใต้ลิ่นปี่หรือชายโครงขวา และพบว่ามีตัวเหลืองตาเหลือง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีไข้ ร่วมด้วย จะเป็นอาการของนิ่วในถุงน้ำดีไหลไปอุดตันที่ท่อน้ำดี ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาก่อนเกิดโรคร้ายแรง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

“ตับแข็ง และมะเร็งตับ” รู้ก่อน ป้องกันก่อน

เฝ้าระวังโรคตับตั้งแต่วันนี้…..ป้องกันตับแข็ง และมะเร็งตับ

Liver Cancer
ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของร่างกายรองจากผิวหนัง  และมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย ได้แก่  การสร้างน้ำดีเพื่อช่วยในกระบวนการย่อยไขมัน การสังเคราะห์โปรตีนไข่ขาวและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย และช่วยกำจัดสารพิษต่างๆ  อย่างไรก็ตามแม้ตับจะเป็นอวัยวะที่จำเป็นต่อร่างกาย  แต่ตับกลับมีเพียงข้างเดียวเช่นเดียวกับหัวใจ  ดังนั้นความเสียหายต่อตับย่อมสร้างความเสียหายต่อร่างกายได้อย่างมาก
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะการบาดเจ็บต่อตับหรือตับอักเสบนั้นมีดังนี้คือ
  1. เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยเฉพาะชนิดบี และซี
  2. แอลกอฮอล์ ซึ่งมาจากการดื่มสุรา เบียร์
  3. ภูมิต้านทานต่อตับมากผิดปกติ
  4. สารพิษต่างๆ
  5. ไขมันเกาะตับ
  6. พันธุกรรม
  7. ภาวะธาตุเหล็กเกิน
  8. เส้นเลือดที่เกี่ยวข้องกับตับผิดปกติ
ในส่วนของอาการนั้นหากการบาดเจ็บของตับยังมีไม่มากผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการอะไรหรือมีเพียงอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร  หรือคันโดยเฉพาะปลายมือปลายเท้าเท่านั้น และจะวินิจฉัยได้เมื่อพบความผิดปกติจากการตรวจเลือดเท่านั้น  แต่หากการบาดเจ็บของตับทวีความรุนแรงมากขึ้นผู้ป่วยถึงจะเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนของโรคตับ  คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องบวมโต  ขาบวม อาเจียนเป็นเลือด  อาการสับสนจากการมีสารพิษคั่งในร่างกาย  ผู้ป่วยในระยะนี้มักจะมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี  บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการเปลี่ยนตับ
การวินิจฉัยโรคตับ
การวินิจฉัยโรคตับตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นเป็นสิ่งที่จำเป็น  เพื่อป้องกันไม่ให้มีการทำลายของตับอย่างเรื้อรังหรือรุนแรง จนเกิดภาวะตับแข็ง ตับวาย รวมทั้งมะเร็งตับตามมา ซึ่งเป็นระยะที่รักษาให้หายขาดได้ยาก และก่อให้เกิดทุพพลภาพเป็นอย่างมาก  ดังนั้นหากเป็นไปได้บุคคลทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพตับเป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ที่มีความอาการหรือเสี่ยงดังต่อไปนี้
  1. มีอาการที่บ่งชี้ถึงโรคตับ ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องบวมโต ขาบวม อาเจียนเป็นเลือด อาการสับสน
  2. มีพฤติกรรมหรือประวัติเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นโรคตับ ได้แก่ ดื่มเหล้า สุรา มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันหรือมีเพศสัมพันธ์กับหลายบุคคล ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น  เคยสัก  เคยได้รับเลือดมาก่อน  รับประทานยาที่อาจก่อให้เกิดพิษต่อตับ เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาสมุนไพร
  3. มีภาวะหรือโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับ ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
  4. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ ตับแข็ง หรือมะเร็งตับ

โรคตับเป็นโรคที่รักษาได้หากวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น  ซึ่งการรักษาก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ตับที่ดีกลายเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับในอนาคต  ดังนั้นอย่ารอช้าที่จะมาดูแลสุขภาพของตับกันนะครับ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งตับ
Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

3 วิธีลดความเสี่ยง “โรคซึมเศร้า”

วิธีลดความเสี่ยงและรับมือ "ภาวะซึมเศร้า"

Depression
             โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นทุกเพศทุกวัย ทำให้ส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตของตนเองและบุคคลรอบข้าง หากมีอาการ นอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป อาจเข้าข่ายของโรคซึมเศร้าแล้ว ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น มีเหตุการณ์มากระทบรุนแรงมากน้อยเพียงใด บุคลิกเดิมของเจ้าตัวเป็นอย่างไร มีการช่วยเหลือจากคนรอบข้างมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
              การเปลี่ยนแปลงหลักๆ จะเป็นในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรม เช่น รู้สึกเบื่อเศร้า ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า ร่วมกับอาการทางร่างกายต่างๆ เช่น นอนหลับไม่ดี เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก นอกจากมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงแล้ว การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันก็บกพร่อง เช่น คนที่เป็นแม่บ้านก็ทำงานบ้านน้อยลงหรืองานคั่งค้าง คนทำงานนอกบ้านก็อาจขาดงานบ่อยๆ การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ใช่ เป็นคนอ่อนแอ คิดมาก หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา เอาแต่ท้อแท้ ซึมเซา อาการเหล่านี้เป็นเพราะตัวโรค หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะทุเลาลง กลับมาเป็นปกติ
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
กลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจนแต่จะบอกว่าจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส ไม่สดชื่นเหมือนเดิม บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เดิมตนเคยทำแล้วเพลินใจหรือสบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำหรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น บ้างก็รู้สึกเบื่อไปหมดตั้งแต่ตื่นเช้ามา บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน
2. ความคิดเปลี่ยนไป
มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีตก็เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง ชีวิตตอนนี้ก็รู้สึกว่าอะไรๆ ก็ดูแย่ไปหมด ไม่มีใครช่วยอะไรได้ ไม่เห็นทางออก มองอนาคตไม่เห็น รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต บางคนกลายเป็นคนไม่มั่นใจตนเองไป จะตัดสินใจอะไรก็ลังเลไปหมด รู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น ทั้งๆ ที่ญาติหรือเพื่อนๆ ก็ยืนยันว่ายินดีช่วยเหลือ เขาไม่เป็นภาระอะไรแต่ก็ยังคงคิดเช่นนั้นอยู่ ความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ความคับข้องใจ ทรมานจิตใจ เหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อยๆ แรกๆ ก็อาจคิดเพียงแค่อยากไปให้พ้นๆ จากสภาพตอนนี้ ต่อมาเริ่มคิดอยากตายแต่ก็ไม่ได้คิดถึงแผนการณ์อะไรที่แน่นอน เมื่ออารมณ์เศร้าหรือความรู้สึกหมดหวังมีมากขึ้น ก็จะเริ่มคิดเป็นเรื่องเป็นราวว่าจะทำอย่างไร ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนจิตใจก็อาจเกิดการทำร้ายตนเองขึ้นได้จากอารมณ์ชั่ววูบ
3. สมาธิความจำแย่ลง
จะหลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไรไม่ได้นานเนื่องจากสมาธิไม่มี ดูโทรทัศน์นานๆ จะไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือก็ได้ไม่ถึงหน้า ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานผิดๆ ถูกๆ
4. มีอาการทางร่างกายต่างๆ
ที่พบบ่อยคือจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง มีปัญหาด้านการนอน เช่น หลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ บางคนตื่นแต่เช้ามืดแล้วนอนต่อไม่ได้ รู้สึกเบื่ออาหาร ไม่เจริญอาหารเหมือนเดิม น้ำหนักลดลงหลายกิโลกรัมภายใน 1 เดือน อาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง ปากคอแห้ง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว
5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป
ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะซึมลง ไม่ร่าเริงแจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม แม่บ้านอาจทนที่ลูกๆ ซนไม่ได้ หรือมีปากเสียงกับคู่ครองบ่อยๆ
6. การงานแย่ลงความรับผิดชอบต่อการงานลดลง
งานไม่ได้ทำ หรือทำแบบลวกๆ เพียงให้ผ่านๆ ไป ความละเอียดลดลงเพราะไม่มีสมาธิ รู้สึกหมดพลังที่จะต่อสู้ เริ่มลางานขาดงานบ่อยๆ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้าใจหรือให้การช่วยเหลือก็มักจะถูกให้ออกจากงาน
7. อาการโรคจิต 
มักพบในรายที่เป็นรุนแรง นอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้าแล้ว ยังพบอาการของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าดีขึ้น อาการโรคจิตก็มักทุเลาตาม
วิธีลดความเสี่ยง ในการเกิด "ภาวะซึมเศร้า"
1. สังเกต
หมั่นสำรวจอารมณ์ของตัวเอง เพื่อเป็นการสังเกตว่า สิ่งใดช่วยทำให้อารมณ์เศร้าหมองหรือสดชื่น แจ่มใส และพยายามรักษาจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ
2. ไม่กระตุ้น
ไม่นำตนไปอยู่ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความซึมเศร้า รวมถึงการใช้สารเสพติด
3. ทำกิจกรรม
เลือกกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น การออกกำลังกาย กิจกรรมสันทนาการ พบปะ เพื่อนฝูง เข้าสังคม
หากพบว่าตนเองซึมเศร้า เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร ไร้เรี่ยวแรง ขาดสมาธิ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือนอนมากและมีความคิด อยากตาย รู้สึกตัวไร้คุณค่าเป็นภาระ โดยมีอาการติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาต่อไป

แนะนำแแพทย์

แพคเกจ

รศ.พญ.วันเพ็ญ ธุรกิตต์วัณณการ
อายุรแพทย์ / จิตแพทย์
พญ.ชุติมา สายเพ็ชร์
อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)
Transcranial Magnetic Stimulation

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเดงกี

DENGUE FEVER
โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค พบได้ตลอดปีแต่จะพบมากขึ้นในฤดูฝน ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็พบได้ เชื้อไวรัสเดงกี่ มี 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี่ 1 เดงกี่ 2 เดงกี่ 3 และเดงกี่ 4 ด้วยสาเหตุนี้ทำให้เราติดเชื้อได้หลายครั้ง ระยะฟักตัวในยุงลายประมาณ 8-10 วัน โรคไข้เลือดออกเดงกี่เกิดจากยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ไปกัดก็ทำให้ผู้ที่ถูกกัดป่วยได้ ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการ 5-8 วัน
 
อาการ
  • มีไข้สูง 2-7 วัน ร่วมกับอาการอาเจียน ปวดหัว
  • อาการหวัดไม่เด่นชัด มักไม่มีอาการไอ หรือน้ำมูกไหล
  • ส่วนใหญ่ มีหน้าแดง ปวดศีรษะ
  • อาจมีเลือดออกตามผิวหนัง หรือตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะเลือดกำเดา
  • อาจมีอาการถ่ายอุจจาระ อาเจียนเป็นเลือด
  • บางรายมีภาวะช็อคเกิดขึ้นพร้อมๆ กับมีไข้ลดลง โดยมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ปวดท้องรุนแรงขึ้น
  • ในรายที่รุนแรงมาก อาจถึงเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
 
โรคไข้เลือดออกเดงกี แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
  • ระยะไข้
    ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส บางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชักมาก่อน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง (flushed face) ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรืออาการไอ เบื่ออาหาร อาเจียน และไข้จะสูงลอยอยู่ 2-7 วัน อาจพบมีผื่นแบบ erythema หรือ maculopapular ซึ่งมีลักษณะคล้ายผื่น rubella ได้ อาการเลือดออกที่พบบ่อยคือ ที่ผิวหนัง การทำ tourniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) ส่วนใหญ่จะคลำตับ โต ได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ ตับจะนุ่มและกดเจ็บ
  • ระยะวิกฤติ/ช็อก
    ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี จะมีอาการรุนแรง มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน) ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง และจะเสียชีวิตภายใน 12-24 ชั่วโมง หลังเริ่มมีภาวะช็อก
  • ระยะฟื้นตัว
    ระยะฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยช็อกถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ระยะฟื้นตัวมีช่วงเวลาประมาณ 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโรคไข้เลือดออกและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 15 ปี
  • กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเลือด โรคทางระบบประสาทและติดสุรา
ข้อควรปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
  • ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้
  • หากจำเป็นต้องใช้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น
  • ดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ
  • ควรพบแพทย์เมื่อไข้สูงเกิน 2 วัน เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์ กลับไปตรวจติดตามดูอาการและการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ
  • ระยะวิกฤต คือระยะไข้ลด ถ้ามีอาการเลวลง ซึม มือเท้าเย็น ปวดท้อง กระสับกระส่าย ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ด่วน!
การกำจัดลูกน้ำยุงลาย
การกำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา
  1. เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่มีบริเวณอับทึบให้ยุงลายเกาะพัก
  2. เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บเศษภาชนะที่ไม่ต้องการทิ้งไว้ในถุงดำมัดปิดปากถุง และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  3. เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะไม่ใช้ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำหรือปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ และเน้นการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยทายากันยุง และนอนในมุ้ง

หลักสูตร ความรอบรู้ เรื่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขง โรคติดต่อนำโดยแมลงและการกำจัด 

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค

โปรแกรมและแพ็คเกจ

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสะสมกรดยูริค(Uric acid)ในร่างกาย กรดยูริคได้จากการเผาผลาญสารพิวรีนซึ่ง เป็นธาตุอาหารที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้และพบได้ทั่วไปในอาหารหลายชนิดโดยปกติเมื่อสารพิวรีนที่ร่างกายได้รับ จะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะสำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบ ๆ ข้อกระดูกในเพศชายไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับเพศหญิง ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์
การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การควบคุมอาหาร โดยงดอาหารที่เป็นสาเหตุ และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลดอาการ และทำให้มีชีวิติอยู่อย่างมีความสุข
อาหารที่ควรงดได้แก่
  1. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เช่น เหล้า เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ยูริคสูงขึ้น
  2. งดอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เป็ด ไก่ กะปิ หน่อไม้ สะเดา ยอดกระถิน และรับประทานไขมันมากทำให้การขับถ่ายกรดยูริค เป็นไปได้ยาก
การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การควบคุมอาหาร โดยงดอาหารที่เป็นสาเหตุ และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลดอาการ และทำให้มีชีวิติอยู่อย่างมีความสุข
  • ไม่รับประทานอาหารมันมาก เช่น อาหารที่ทอดอมน้ำมันมาก เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันทำให้ร่างกายขับยูริคได้น้อยลง
  • ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว มีสารพิวรีน สูง หากกินไม่มาก ก็ไม่เป็นไร แต่หากดื่มนมถั่วเหลืองชนิดเข้มข้นวันละ 1 ลิตร หรือมากกว่านับว่าปริมาณมากเกิน ทำให้ได้รับพิวรีนมากประกอบกับโปรตีนก็สูง ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการสร้างกรดยูริกภายในร่างกายได้ ควรลดปริมาณการดื่มนมถั่วเหลืองลงให้เหลือวันละ 2 แก้ว
  • ควรละเว้นไม่รับประทานส่วนยอดผัก ต้นอ่อนของผัก เช่น ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีนหน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม
  • งด อาหารหมัก ที่ใช้ ยีสต์ เป็นตัวเร่งหรือส่วนประกอบ เช่น เต้าเจี้ยว
  • เมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้จะมียูริกค่อนข้างมาก แม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม ควรงดโดยเฉพาะขณะมีอาการ
กลุ่ม ปริมาณพิวรีน/อาหาร 100 ก. อาหาร
อาหารที่มีพิวรีนสูง มากกว่า  150 มก.
  • เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, ตับอ่อน, ไส้, ม้าม, หัวใจ, สมอง, กึ๋น, เซ่งจี๊
  • สัตว์ปีก เช่น เป็ด, ไก่, ห่าน
  • ปลาดุก, กุ้ง,กุ้งซีแฮ้ หอย, ปลาอินทรีย์, ปลาไส้ตัน, ปลาขนาดเล็ก, ปลาซาร์ดีน, ไข่ปลา
  • ชะอม, กระถิน, เห็ด
  • ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ
  • น้ำเกรวี, กะปิ, ยีสต์
  • น้ำสะกัดเนื้อ, ซุปก้อน, น้ำต้มกระดูกปลาดุก, น้ำซุปต่างๆ น้ำสกัดเนื้อ
อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง 50-150 มก.
  • เนื้อสัตว์ เช่น หมู, วัว
  • ปลาทุกชนิด และอาหารทะเล เช่น ปลาหมึก, ปู
  • ถั่วลิสง, ถั่วลันเตา
  • ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้, หน่อไม้ฝรั่ง, ดอกกะหล่ำ, ผักโขม, สะตอ, ใบขี้เหล็ก
  • ข้าวโอ๊ต
  • เบียร์ เหล้าชนิดต่างๆ เหล้าองุ่น ไวน์ (ทำให้การขับถ่ายกรดยูริกทางปัสสาวะลดลง ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว)
อาหารที่มีพิวรีนน้อย 0-50 มก.
  • ข้าวชนิดต่างๆ 
  • ถั่วงอก, คะน้า
  • ผลไม้ชนิดต่างๆ
  • ไข่
  • นมสด, เนย และเนยเทียม
  • ขนมปัง ขนมหวาน หรือน้ำตาล
  • ไขมันจากพืช และสัตว์
ข้อควรปฏิบัติด้านอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
  • รับประทานผลไม้และผักให้มาก โดย รับประทานผักส่วนที่โตเต็มวัย
  • รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่
  • ดื่มน้ำสะอาด มากๆ วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยการขับถ่ายยูริคออกมาทางปัสสาวะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์

ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์

ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry)

เป็นการตรวจวัดปริมาตรและอัตราการไหลของอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด โดยให้ผู้ป่วยใช้แรงหายใจเข้าและออกให้สุดลมหายใจผ่านเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer) ในบางรายต้องมีการตรวจหลังการสูดยาขยายหลอดลมซ้ำอีกรอบ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของหลอดลม การตรวจสไปโรเมตรีย์นี้ ช่วยในการวินิจฉัยโรคหอบหืด,ถุงลมโป่งพองรวมถึงช่วยบอกความรุนแรงของโรคปอดบางชนิดได้

ผู้ป่วยที่ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry)
  1. ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจบางอย่าง เช่น ไอเรื้อรัง หายใจเสียงดังหวีด เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก
  2. ผู้ป่วยที่แพทย์ตรวจร่างกายพบความผิดปกติบางอย่าง เช่น เสียงหายใจผิดปกติ ทรวงอกผิดรูป
  3. ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ เช่น ภาพรังสีทรวงอกผิดปกติ ออกซิเจนในเลือดแดงต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง
  4. ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น สูบบุหรี่ อาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดจากการประกอบอาชีพ เช่น ผู้ที่ทำงานในเหมืองแร่ ในสถานที่อับอากาศ ทำงานในที่มีไอระเหยของโลหะ หรือทำงานในสถานที่ที่มีฝุ่นละออง เช่น โรงงานทอผ้า เป็นต้น
  5. ประเมินความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยที่มีโรคบางอย่าง เช่น ปอดเป็นผังผืด กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  6. ประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านระบบหายใจในผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดช่องอก
  7. ประเมินสุขภาพก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย
เพื่อติดตามการรักษาหรือการดำเนินโรค
  • ติดตามผลการรักษาได้แก่ ผลของยาขยายหลอดลมในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดลม ประเมินผลของยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยหืด การพยากรณ์โรคปอดบางชนิด (เช่น COPD ปอดอุดกั้นเรื้อรัง)
  • ติดตามผู้ป่วยที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพติดตามผลข้างเคียงของยาที่มีผลต่อระบบการหายใจ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิด
  • ติดตามผลข้างเคียงของยาที่มีผลต่อระบบการหายใจ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิด
ข้อห้ามในการตรวจ Spirometry
  • ไอเป็นเลือด ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรคปอดระยะติดต่อที่ยังไม่ได้รับการรักษา
  • โรคความดันโลหิตสูง ที่ยังไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมไม่ได้,ความดันโลหิตตํ่า,เส้นเลือดแดงโป่ง (aneurysm)ในทรวงอก,ช่องท้องหรือสมอง
  • เพิ่งได้รับการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดลอกต้อกระจก ทรวงอก หรือช่องท้อง
  • สตรีมีครรภ์ (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็น)
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
  • ควรงดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างน้อย 2 ชั่วโมง , งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการตรวจหลังรับประทานอาหารทันที ควรให้นั่งพักประมาณ 1 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนมาตรวจ อย่างน้อย 30 นาที
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดหน้าอกและท้อง
วิธีการตรวจ Spirometry
  • นั่งตัวตรง หนีบจมูกด้วย Nose Clip
  • เจ้าหน้าทีสาธิต การหายใจเข้าออกพร้อมคำอธิบายการหายใจขณะทำการตรวจได้ถูกต้อง
  • มกระบอกเครื่องเป่า ปิดปากให้แน่นรอบกระบอกเป่าไม่ให้มีลมรั่วรอจังหวะสัญญาณการหายใจจากเจ้าหน้าที่
  • สูดหายใจเข้าเต็มที่และเป่าพุ่งอย่างรวดเร็ว และแรง จนกว่าอากาศที่เป่าจากปอดจะหมด ให้นิ่งไว้ประมาณ 3-6 วินาที และสูดลมกลับเต็มที่ ให้ทำตามจังหวะ
สูดลึกเต็มที่....เป่าพุ่งเร็วและแรง.......ดันให้สุด......สูดลมกลับ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ทำอย่างไรเมื่อฟันแท้หลุดจากเบ้า

ทำอย่างไรเมื่อฟันแท้หลุดจากเบ้า

เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ฟันแท้หลุดออกจากเบ้ามาทั้งซี่  ทำอย่างไร

... อย่าทิ้งฟันซี่นั้นเด็ดขาด

เหตุการณ์นี้อาจเกิดอุบัติเหตุได้กับทุกคน โดยเฉพาะกับเด็กในวัย 7-11 ปี   ซึ่งเกิดจากการเล่นกีฬา  หรือการชกต่อย  ทำให้ฟันแท้หน้าบน หรือล่าง หลุดออกมาจากเบ้าฟัน เก็บฟันที่หลุดออกมา จับที่ตัวฟัน ไม่จับที่รากฟัน เพราะรากฟันมีเนื้อเยื่อที่มีชิวิต  การใส่กลับไปใหม่จะให้ผลสำเร็จที่ดีถ้าไม่จับที่รากฟัน และนำไปผ่านนมจืด 10 วินาที หากใส่กลับเข้าไปได้ด้วยตัวเอง ให้ใส่กลับไปในตำแหน่งเดิม และใช้ผ้าสะอาดกดไว้นิ่งๆ แล้วพบแพทย์ทันที

 

โรคจอประสาทตาเสื่อม

จอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ หรือ โรคเอเอ็มดี เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการตาบอดได้ อาการนั้นเมื่อคนปกติมองไปยังสิ่งต่างๆรอบตัว จะเห็นภาพชัดเจนไม่มีเงาดำมาบดบังส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ แต่ผู้ป่วยโรคเอเอ็มดี เมื่อมองไปยังสิ่งใดๆก็ตามจะพบว่ามีเงาดำบังบริเวณกึ่งกลางของภาพเสมอ ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการ เห็นภาพบิดเบี้ยวก่อน แล้วจึงมีอาการเห็นเงาดำบดบังภาพทีหลัง ส่วนสาเหตุของโรคนี้เกิดจากจุดรับภาพชัด( Macula) ของจอประสาทตาซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็นบริเวณกึ่งกลางภาพเกิดความผิดปกติขึ้น
แบ่งความผิดปกติ เป็น 2 ชนิด คือ
  1. ชนิดแห้ง (Dry AMD) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยจอประสาทตาจะเสื่อมและบางลง มีผลทำให้การมองเห็นแย่ลงอย่างช้าๆ โดยมากไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ซึ่งโรคเอเอ็มดีชนิดนี้สามารถพัฒนาไปเป็นชนิดเปียกได้
  2. ชนิดเปียก (Wet AMD) พบได้น้อยกว่าชนิดแห้งแต่เป็นชนิดที่มีอาการรุนแรงกว่าสามารถทำให้การมองเห็นแย่มากจนอยู่ในขั้นระดับเลือนรางหรือตาบอดได้ ซึ่งเอเอ็มดีชนิดเปียกนี้จะมีเส้นเลือดงอกผิดปกติที่ใต้จอประสาทตา ทำให้เลือดออกหรือเป็นแผลที่จอประสาทตา ส่งผลให้ผู้ป่วยเห็นเป็นเงาดำบริเวณกึ่งกลางของภาพที่มองเห็น
แม้โรคเอเอ็มดีชนิดเปียกจะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็ว แต่ถ้าตรวจพบในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมไม่ให้โรคลุกลามได้ โดยสามารถรักษาระดับการมองเห็น และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีการมองเห็นที่ดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถรักษาผู้ป่วยในด้านการมองเห็นจากโรคเอเอ็มดีขั้นรุนแรงให้กลับมามองเห็นได้ชัดเท่าคนปกติ ซึ่งต่างจากต้อกระจก ที่สามรถผ่าตัดสลายต้อและใส่เลนส์เทียมได้ ซึ่งสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นได้ชัดเป็นปกติอีกครั้ง นอกจากนี้โรคเอเอ็มดียงสามารถเกิดได้กับตาทั้ง 2 ข้าง อาจจะเกิดข้างใดข้างหนึ่งก่อนก็ได้โดยที่ผู้ป่วยยังไม่ทันสังเกตเพราะยังมีตาอีกข้างที่ช่วยทดแทนการมองเห็นอยู่ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เมื่อโรคเกิดในตาข้างที่ 2 แล้ว จึงช้าเกินไปในการรักษาตาข้างแรก
การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น
การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น(AMD) ด้วยตนเอง สามารถตรวจได้โดยใช้ตารางแอมสเลอร์ (Amsler Grid) ที่เห็นตามตารางข้างล่างนี้
  1. ใช้มือปิดตาข้างซ้าย ถือตารางแอมสเลอร์ในระยะอ่านหนังสือ ห่างจากตาประมาณ หนึ่งฟุต (ให้สวมแว่นสายตา แว่นอ่านหนังสือ หรือคอนแทคเลนส์ได้ตาปกติ)
  2. ใช้ตาข้างขวามองที่จุดดำเล็กๆกลางภาพพยายามแพ่งที่จุดนี้ตลอดเวลา
  3. สังเกตุดูว่ามีตารางส่วนใดที่บิดเบี้ยว หรือมีเงาดำบัง หรือไม่ ถ้ามี....แสดงว่าคุณอาจจะเริ่มมีอาการของโรคเอเอ็มดี ควรรีบไปพบจักษุแพทย์โดยเร็ว
  4. ทดสอบตาข้างซ้ายโดยเอามือข้างขวาปิด และปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้นอีกครั้ง

***การทดสอบนี้เป็นการทดสอบความผิดปกติเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทน ควรไปตรวจตาเป็นประจำทุกปีโดยจักษุแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ขึ้นไป

วิธีการรักษา
การรักษาโรคเอเอ็มดีชนิดเปียกที่มีในปัจจุบัน ได้แก่ การฉายแสงเลเซอร์ การรักษาโดยโฟโต้ไดนามิก และการฉีกยา Amti- VEGF เข้าน้ำวุ้นลูกตา เป็นต้น โดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
การป้องกัน
การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น(AMD) ด้วยตนเอง สามารถตรวจได้โดยใช้ตารางแอมสเลอร์ (Amsler Grid) ที่เห็นตามตารางข้างล่างนี้
  1. ควรสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน
  2. ควรรับประทานอาหารจำพวกผักใบเขียว ผลไม้สด อาหารจำพวกปลา โดยหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมัน
  3. ควรงดสูบบุหรี่
  4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก และ ความดันโลหิต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ชุดตรวจสุขภาพ SML Care [Free gift]

ชุดตรวจสุขภาพ SML Ca […]

โปรแกรมตรวจสุขภาพดวงตา

โปรแกรมตรวจสุขภาพดวง […]