PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม
PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม
จากการที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ตรวจพบค่าระหว่าง 51-75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มก./ลบ.ม.) โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่ไม่เกิน 50 มก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งพื้นที่ ที่ตรวจพบค่าเกินมาตรฐาน จะเห็นได้ว่ามีพบการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศโดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองและแหล่งอุตสาหกรรม มลพิษทางอากาศมักจะพบในรูปของฝุ่นละอองเป็นส่วนใหญ่ เป็นภัยเงียบที่สะสมในร่างกายไปเรื่อยๆหากได้รับการสัมผัสเป็นเวลานานๆ
ฝุ่นละออง หรือ อนุภาค หรือ PM (Particulate Matter) จะล่องลอยอยู่ในอากาศ มักอยู่ในรูปฝุ่นควัน เขม่าควัน ละอองของเหลว และสามารถลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน บางอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ก็จะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่น ควันจากการสูบบุหรี่ บางอนุภาคมีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ถึงจะมองเห็นได้ โดยพบว่าหากขนาดของฝุ่นหรืออนุภาคเล็กลงจะมีผลทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพได้ทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว ซึ่งอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา (PM10) จะก่อให้เกิดการสะสมภายในระบบทางเดินหายใจ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนลง (PM2.5) ตัวอนุภาคจะสามารถลงเข้าไปสะสมที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนล่างได้ เมื่อมีการสูดดมเข้าไปก็จะเพิ่มความเสี่ยงในโรคทางเดินหายใจได้สูง นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถแทรกซึมเข้าไปในกระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง ข้อมูลจากสมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า หากคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง หากได้รับสูดดมฝุ่นควัน PM2.5 เข้าไปเพียงเวลาไม่นาน ตัวฝุ่นจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจวาย เส้นเลือดในสมองตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดให้ PM 2.5 เป็น 1 ในสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด ตั้งแต่ปี 2556 อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
แหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน PM2.5 เกิดขึ้นได้จาก 2 แหล่งหลักคือ แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่
- การเผาในที่โล่งซึ่งพบว่าสามารถปล่อย PM2.5 ได้มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี พบจากการเผาในพื้นที่เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว
- การคมนาคมซึ่งสามารถปล่อย PM2.5 ประมาณ 50,240 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทั้งดีเซลและแก็สโซฮอล์เป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของออกไซด์ของไนโตรเจนและซัลเฟอร์ไดออกไซด์
- การผลิตไฟฟ้าซึ่งปล่อย PM2.5 ประมาณ 31,793 ตันต่อปี อุตสาหกรรมการผลิตซึ่งปล่อย PM2.5 ประมาณ 65,140 ตันต่อปี เกิดจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากสารเคมี และเกิดจากการรวมตัวของก๊าซอื่นๆในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจน รวมทั้งมีสารปรอท แคดเมียม อาร์เซนิก หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกคาร์บอน ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์
ในส่วนวิธีการป้องกันมีวิธีตั้งแต่การควบคุมแหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน ได้แก่ การควบคุมจากแหล่งกำเนิดโดยติดตั้งเครื่องดักฝุ่นประสิทธิภาพสูงร้อยละ 99-99.8 และติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบโรงไฟฟ้าและชุมชน การปลูกต้นไม้ดักจับฝุ่นควัน การตรวจเช็คระบบเผาไหม้เครื่องยนต์ การควบคุมไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย เช่น การฉีดน้ำล้างถนน การหลีกเลี่ยง กิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะในวันที่มีค่า PM2.5 สูงเกินมาตรฐาน และการป้องกันส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากาก ซึ่งสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทำให้ทุกคนต้องใส่ “หน้ากากอนามัย” หรือ "หน้ากากผ้า" ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว โดยหน้ากากที่หาซื้อได้ถตามท้องตลาด มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ต่างกันดังนี้
- หน้ากากชนิด N95 เป็นหน้ากากที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับว่าสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ดีที่สุด เพราะป้องกันได้ทั้งฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กถึง 3 ไมครอน เหมาะสำหรับป้องกันมลพิษ ฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างที่พบเห็นกันทุกวันนี้ ควันพิษ ไอเสียรถยนต์ และไอระเหยของสารเคมีต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
- หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น หน้ากากชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เป็นแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย เป็นหน้ากากที่เหมาะสำหรับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอหรือจาป้องกันผู้สวมใส่จากเชื้อโรคจำพวกเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราได้ แต่หากเป็นเชื้อไวรัสซึ่งมีอนุภาคเล็กระดับไมครอนอาจจะไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่เพียงพอหากต้องการป้องกันฝุ่นพิษ
- หน้ากากผ้า เป็นหน้ากากคล้ายแบบเยื่อกระดาษ เน้นการป้องกันการกระจายของน้ำมูกหรือน้ำลายจากการไอจาม แต่อาจไม่สามารถกรองเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมากๆ ได้ สามารถป้องกัฝุ่นละอองขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอนขึ้นไป แต่ฝุ่นละอองที่พบในปัจจุบันนี้มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอนจึงไม่สามารถป้องกันได้
ในส่วนวิธีการป้องกันมีวิธีตั้งแต่การควบคุมแหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน ได้แก่ การควบคุมจากแหล่งกำเนิดโดยติดตั้งเครื่องดักฝุ่นประสิทธิภาพสูงร้อยละ 99-99.8 และติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบโรงไฟฟ้าและชุมชน การปลูกต้นไม้ดักจับฝุ่นควัน การตรวจเช็คระบบเผาไหม้เครื่องยนต์ การควบคุมไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย เช่น การฉีดน้ำล้างถนน การหลีกเลี่ยง กิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะในวันที่มีค่า PM2.5 สูงเกินมาตรฐาน และการป้องกันส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากาก ซึ่งสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทำให้ทุกคนต้องใส่ “หน้ากากอนามัย” หรือ "หน้ากากผ้า" ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว โดยหน้ากากที่หาซื้อได้ถตามท้องตลาด มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ต่างกันดังนี้
บทความโดย
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วิบูลย์ศิริชัย
อายุรแพทย์ โรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต
You must be logged in to post a comment.