PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

จากการที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ตรวจพบค่าระหว่าง 51-75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มก./ลบ.ม.) โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่ไม่เกิน 50 มก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งพื้นที่ ที่ตรวจพบค่าเกินมาตรฐาน จะเห็นได้ว่ามีพบการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศโดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองและแหล่งอุตสาหกรรม  มลพิษทางอากาศมักจะพบในรูปของฝุ่นละอองเป็นส่วนใหญ่ เป็นภัยเงียบที่สะสมในร่างกายไปเรื่อยๆหากได้รับการสัมผัสเป็นเวลานานๆ

ฝุ่นละออง หรือ อนุภาค หรือ PM (Particulate Matter) จะล่องลอยอยู่ในอากาศ มักอยู่ในรูปฝุ่นควัน เขม่าควัน ละอองของเหลว และสามารถลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน บางอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ก็จะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่น ควันจากการสูบบุหรี่ บางอนุภาคมีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ถึงจะมองเห็นได้  โดยพบว่าหากขนาดของฝุ่นหรืออนุภาคเล็กลงจะมีผลทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพได้ทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว ซึ่งอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา (PM10) จะก่อให้เกิดการสะสมภายในระบบทางเดินหายใจ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนลง (PM2.5) ตัวอนุภาคจะสามารถลงเข้าไปสะสมที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนล่างได้ เมื่อมีการสูดดมเข้าไปก็จะเพิ่มความเสี่ยงในโรคทางเดินหายใจได้สูง นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถแทรกซึมเข้าไปในกระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง  ข้อมูลจากสมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า หากคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง หากได้รับสูดดมฝุ่นควัน PM2.5 เข้าไปเพียงเวลาไม่นาน ตัวฝุ่นจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจวาย เส้นเลือดในสมองตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดให้ PM 2.5 เป็น 1 ในสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด ตั้งแต่ปี 2556 อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

แหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน PM2.5 เกิดขึ้นได้จาก 2 แหล่งหลักคือ แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่

  1. การเผาในที่โล่งซึ่งพบว่าสามารถปล่อย PM2.5 ได้มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี พบจากการเผาในพื้นที่เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว
  2. การคมนาคมซึ่งสามารถปล่อย PM2.5 ประมาณ 50,240 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทั้งดีเซลและแก็สโซฮอล์เป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของออกไซด์ของไนโตรเจนและซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  3. การผลิตไฟฟ้าซึ่งปล่อย PM2.5 ประมาณ 31,793 ตันต่อปี อุตสาหกรรมการผลิตซึ่งปล่อย PM2.5 ประมาณ 65,140 ตันต่อปี เกิดจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากสารเคมี  และเกิดจากการรวมตัวของก๊าซอื่นๆในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจน รวมทั้งมีสารปรอท แคดเมียม อาร์เซนิก หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกคาร์บอน ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์

ในส่วนวิธีการป้องกันมีวิธีตั้งแต่การควบคุมแหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน ได้แก่ การควบคุมจากแหล่งกำเนิดโดยติดตั้งเครื่องดักฝุ่นประสิทธิภาพสูงร้อยละ 99-99.8 และติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบโรงไฟฟ้าและชุมชน การปลูกต้นไม้ดักจับฝุ่นควัน การตรวจเช็คระบบเผาไหม้เครื่องยนต์ การควบคุมไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย เช่น การฉีดน้ำล้างถนน การหลีกเลี่ยง กิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะในวันที่มีค่า PM2.5  สูงเกินมาตรฐาน  และการป้องกันส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากาก ซึ่งสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทำให้ทุกคนต้องใส่  “หน้ากากอนามัย” หรือ "หน้ากากผ้า" ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว  โดยหน้ากากที่หาซื้อได้ถตามท้องตลาด มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ต่างกันดังนี้

  • หน้ากากชนิด N95  เป็นหน้ากากที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับว่าสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ดีที่สุด เพราะป้องกันได้ทั้งฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กถึง 3 ไมครอน เหมาะสำหรับป้องกันมลพิษ ฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างที่พบเห็นกันทุกวันนี้ ควันพิษ ไอเสียรถยนต์ และไอระเหยของสารเคมีต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

  • หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น หน้ากากชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เป็นแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย เป็นหน้ากากที่เหมาะสำหรับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอหรือจาป้องกันผู้สวมใส่จากเชื้อโรคจำพวกเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราได้ แต่หากเป็นเชื้อไวรัสซึ่งมีอนุภาคเล็กระดับไมครอนอาจจะไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่เพียงพอหากต้องการป้องกันฝุ่นพิษ

  • หน้ากากผ้า เป็นหน้ากากคล้ายแบบเยื่อกระดาษ เน้นการป้องกันการกระจายของน้ำมูกหรือน้ำลายจากการไอจาม แต่อาจไม่สามารถกรองเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมากๆ ได้ สามารถป้องกัฝุ่นละอองขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอนขึ้นไป แต่ฝุ่นละอองที่พบในปัจจุบันนี้มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอนจึงไม่สามารถป้องกันได้

ในส่วนวิธีการป้องกันมีวิธีตั้งแต่การควบคุมแหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน ได้แก่ การควบคุมจากแหล่งกำเนิดโดยติดตั้งเครื่องดักฝุ่นประสิทธิภาพสูงร้อยละ 99-99.8 และติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบโรงไฟฟ้าและชุมชน การปลูกต้นไม้ดักจับฝุ่นควัน การตรวจเช็คระบบเผาไหม้เครื่องยนต์ การควบคุมไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย เช่น การฉีดน้ำล้างถนน การหลีกเลี่ยง กิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะในวันที่มีค่า PM2.5  สูงเกินมาตรฐาน  และการป้องกันส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากาก ซึ่งสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทำให้ทุกคนต้องใส่  “หน้ากากอนามัย” หรือ "หน้ากากผ้า" ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว  โดยหน้ากากที่หาซื้อได้ถตามท้องตลาด มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ต่างกันดังนี้

บทความโดย
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วิบูลย์ศิริชัย
อายุรแพทย์ โรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต

คาถาอายุยืน live longer

Live longer คาถา อายุยืน

คาถานี้ มีดีสำหรับผู้ทำตาม เพียงปฏิบัติตามวันละ 1 ครั้ง  แล้วดื่มน้ำให้ครบวันละ 1.5 ลิตร
ควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอ จะเกิดมงคลแก่ตนเอง จะทำให้ทำมาหากินคล่อง
มีทรัพย์ราศจากโรค มีอายุยืน ไม่แก่ง่าย มีสุขภาพแข็ง  และเป็นอานิสงค์กับผู้พบเห็น และผู้ที่ปฏิบัติตาม
.....เพราะสุขภาพดี ชีวิตยืนยาว ไม่มีขายค่ะ เริ่มทำตั้งแต่วันนี้นะคะ.....

กินดี

เพิ่มขยับ

หลับสบาย

ผ่อนคลาย

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

CT Calcium Score
การตรวจหาหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อประเมินภาวะการอุดตันของหลอดเลือด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือประเมินแนวโน้มโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในอนาคต
ข้อดีของตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต
  • ไม่ต้องมีการเตรียมตัว สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ใช้เวลาในการตรวจน้อย ไม่เจ็บตัว
  • ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนรับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงยาที่จะกระตุ้นหัวใจให้ชีพจรเร็วขึ้น
  • งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดคลุมของโรงพยาบาล
  • ถอดเครื่องประดับรอบคอหรือแผ่นต่างๆ ที่ติดบริเวณหน้าอก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

โรคเบาหวาน โรคไขมันและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

โรคเบาหวาน

โรคไขมัน

Title
Title
Description

โรคความดันโลหิตสูง

การตรวจสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง MRI

MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือการตรวจสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นการตรวจวินิจฉัยที่ให้ความถูกต้อง แม่นยำสูง เนื่องจากให้ความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี สามารถตรวจได้ทุกระบบในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบสมอง และกระดูกสันหลัง อีกทั้งยังมีเทคนิคพิเศษหลายแบบ เช่น การตรวจผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน การตรวจหาชีวเคมีเพื่อแยกชนิดของก้อนเนื้อ และการตรวจหลอดเลือดทั่วร่างกาย

MRI ยังมีประโยชน์มากในผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากไม่มีอันตรายจากรังสีที่เกิดจากการใช้เอ็กซเรย์

      การตรวจที่ส่งตรวจได้แก่

  • ระบบสมอง เนื้อเยื่อสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาททั่วร่างกาย
  • ระบบช่องท้องทั้งหมด
  • ระบบกล้ามเนื้อ ข้อ และเส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • ระบบหลอดเลือดทั่วร่างกาย

มีข้อจำกัดในการตรวจอวัยวะ ปอด ลำไส้ และหักร้าวของกระดูก

ข้อควรระวัง

  • ผู้ป่วยที่กลัวที่แคบ (Claustrophobic) ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะฝังในร่างกาย เช่น การเปลี่ยนข้อเทียม การใส่เหล็กดามกระดูก คลิปอุดหลอดเลือดในโรคหลอดเลือดโปร่งพอง เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ อวัยวะเทียมภายในหู เป็นต้น
  • ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ไม่ถึง 3 เดือน

สอบถามและปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกอายุรกรรม 02 587 0144 ต่อ 2200
แผนกรังสีวิทยา 02 587 0144 ต่อ 1205

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT scan

CT SCAN เอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (Computer Tomography) เป็นเครื่องมือทางรังสีที่ใช้วินิจฉัยประเมินลักษณะทางกายวิภาคของอวัยวะต่างๆ และในด้านการทำงาน โดยใช้รังสีเอ็กซเรย์ บางกรณีอาจมีการฉีดสารทึบรังสี (Contrast Media) เพื่อดูการทำงานของเนื้อเยื่อ และลักษณะของหลอดเลือด ข้อดีในการตรวจคือใช้เวลาในการตรวจน้อย สามารถแสดงภาพได้ในมุมมองต่างๆ รวมถึงภาพ 3 มิติ ซึ่งมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      การตรวจที่ส่งตรวจได้แก่

  • สมอง ศีรษะ และ ลำคอ
  • หัวใจ ปอด และทรวงอก
  • อวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ ไต ม้าม ตับอ่อน ลำไส้ มดลูก รังไข่
  • กระดูกสันหลัง และกระดูกรยางค์
  • ระบบหลอดเลือด

ใช้เวลาในการตรวจ เพียง 10-30 นาที แล้วแต่แพทย์สั่ง

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  1. งดน้ำและอาหารก่อนการตรวจ 4-6 ชั่วโมง ในกรณีต้องฉีดสารทึบรังสี
  2. หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้ กรุณารีบแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนการนัดหรือการตรวจทันที
  • สตรีตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้สารทึบรังสี
  • ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้อาหารทะเล
  • ผู้ป่วยเคยมีประวัติโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด  เป็นต้น

3. ผู้ป่วยต้องมีผลตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต (Creatinine) ก่อนการตรวจในกรณีต้องฉีดสารทึบรังสี

สอบถามและปรึกษาได้ที่
แผนกรังสีวิทยา 02 587 0144 ต่อ 1250
คลินิกอายุรกรรม ระบบประสาทและสมอง 02 587 0144 ต่อ 2200

อาหารโซเดียมสูง รู้ไว้ไม่เสี่ยงไตวาย

รู้หรือไม่? “เกลือ” ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดภาวะไตวาย อาหารที่เรารับประทานในทุกมื้อ มีส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดภาวะไตวายหรือไม่ สามารถไขข้อข้องใจ จากคลิปนี้ได้เลยค่ะ

#โรงพยาบาลบางโพ #ไตวาย #เค็ม #สุขภาพ

ฝุ่นควัน ภัยที่ต้องระวัง

วิธีการป้องกันฝุ่นควัน ส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากากอนามัย “หน้ากากอนามัย” จึงกลายเป็นสินค้าขายดีขึ้นมาทันที กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน โดยมีวิธีเลือกหน้ากากอนามัยดังนี้ สามารถหาซื้อได้ที่ สถานพยาบาล และ ร้านขายยาทั่วไป

บทความโดย
นายแพทย์วรวัฒน์ โนหล้า
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ Occupational Medicine
แพทย์ประจำศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย โรงพยาบาลบางโพ

#ฝุ่น #ควัน #ฝุ่นละอองกรุงเทพ #มลพิษทางอากาศ #สุขภาพ
#หน้ากากอนามัย #วิธีการป้องกันฝุ่นควัน #Bangpohospital

ตรุษจีนนี้…หยุดจุด หยุดเผา เพื่อสุขภาพของเราทุกคน

 

ตรุษจีนนี้…หยุดจุด หยุดเผา เพื่อสุขภาพของเราทุกคน

อีกเพียงไม่กี่วันเทศกาลตรุษจีนก็จะมาถึง แน่นอนว่าภาพการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง การจุดธูปและการจุดประทัดเป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่เราเห็นกันจนชินตา แต่ท่ามกลางวิกฤติมลภาวะจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5ตลอดเดือนที่ผ่านมา จะดีกว่าไหมถ้าเราจะหยุดซ้ำเติมสถานการณ์…ไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้?

การเผากระดาษเงินกระดาษทอง และการจุดธูป แม้จะไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 แต่ทราบหรือไม่ว่าควันจากการเผาไหม้เหล่านี้มีอันตรายร้ายแรงพอๆกับควันบุหรี่ นอกจากจะมีฝุ่นละอองฟุ้งกระจายแล้ว ยังมีก๊าซพิษที่ระคายเคืองทางเดินหายใจอีกหลายชนิด แถมยังมีโลหะหนักและสารก่อมะเร็งอีกด้วย  โรงพยาบาลบางโพจึงขอเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ร่วมรณรงค์การงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน งดการเผากระดาษเงินกระดาษทอง งดการจุดธูปครั้งละมากๆ หากจำเป็นให้เลือกใช้ธูปขนาดสั้น อย่างน้อยก็เพื่อให้สถานการณ์มลภาวะทางอากาศในปัจจุบันทุเลาเบาบางลง

นอกจากนี้บุคคลกลุ่มเสี่ยง ได้แก่

  • เด็กเล็ก
  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด

ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสควัน หากเลี่ยงไม่ได้ควรสวมหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

 

 

ด้วยความห่วงใย…จากโรงพยาบาลบางโพ

พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์ (กุมารแพทย์)