ปวดชามือ นิ้วมือจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดบริเวณข้อมือ

ปวดชามือ นิ้วมือจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดบริเวณข้อมือ

CARPAL TUNNEL SYNDROME (CTS)
อาการปวดมือและชาตามนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง บางรายปวดชาร้าวไปถึงข้อศอก บางครั้งจะมีอาการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือลำบาก หรือหยิบจับของไม่ถนัด รู้สึกนิ้วมืออ่อนแรง ถ้าสะบัดมือจะรู้สึกอาการปวดชาน้อยลง บางรายรู้สึกปวดชามือตอนกลางคืน หรือตื่นนอน
สาเหตุ
เกิดจากใช้มือ ข้อมือทำงานเยอะ และเป็นเวลานาน ทำให้ผังพืดที่อยู่เหนือเส้นประสาทมีเดียนหนาตัว และอักเสบ กดรัดเส้นประสาทเมเดียน ทำให้ชาและปวดมือ เช่น การหิ้วของหนัก การตอกตะปู การพรวนดิน การรีดผ้าซักผ้า การใช้งานคอมพิวเตอร์ การขับมอเตอร์ไซด์ และการทำอาหาร เป็นต้น
การรักษา มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
  1. การพักมือ หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือ และกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น และอาจใส่ที่ดามข้อมือ เพื่อลดอาการ
  2. การรับประทานยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  3. การฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบและลดบวมของผังพืด
  4. การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในรายที่มีอาการเป็นมากหรือเป็นมานานเพื่อตัดพังผืดที่หนาตัว และกดทับเส้นประสาทมีเดียน เป็นการผ่าตัดเล็กไม่ต้องนอนพักโรงพยาบาล ไม่ต้องดมยาสลบ แผลผ่าตัดประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่บนรอยฝ่ามือ พักฟื้นประมาณ 10-14 วัน หลังตัดไหม สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาได้

มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาได้

Breast Cancer
มะเร็งเต้านมปัจจุบันพบมากเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทยการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องสามารถมีโอกาสหายขาดได้สูง มะเร็งเต้านมอาจมีอาการได้หลายแบบแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน  ดังนั้นสตรีทั่วไปจึงควรหมั่นคอยสังเกตอาการและตรวจเต้านมตนเองเป็นประจำ เพื่อที่จะได้ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ และได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้วมักมีผลการรักษาที่ไม่ดี
ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
  • ผู้หญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
  • ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาเร็ว และหมดช้า หรือใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานานกว่า 10 ปี
  • ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ และได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่น
    การรักษาอย่างถูกต้องสามารถมีโอกาสหายขาดได้สูง

อาการผิดปกติของเต้านมที่อาจเกิดจากมะเร็งเต้านม
  • เต้านมโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ขนาดของเต้านมที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโตขึ้นข้างเดียว อาจเกิดจากการที่มีก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งเต้านมที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วในเต้านมข้างนั้น ทำให้เต้านมข้างนั้นมีขนาดโตมากกว่าอีกข้างหนึ่ง
  • รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป
    รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยไม่เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อน อาจเกิดจากการที่เคยมีการอักเสบของเต้านมมาก่อนแล้วเกิดการดึงรั้ง เต้านมผิดรูป นอกจากนี้อาจเกิดจากก้อนมะเร็งที่เต้านมทำให้รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงได้
  • มีก้อนที่เต้านม
    การคลำเจอก้อนที่เต้านมเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ดังนั้นจึงแนะนำสตรีทั่วไปหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองเสมอ
  • มีรอยบุ๋มที่เต้านม
    การมีรอยบุ๋มที่ผิวหนังเต้านมในผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดที่เต้านมมาก่อน อาจเกิดจากมะเร็งเต้านมทำให้เกิดการดึงรั้งของเอ็นภายในเต้านมที่ยึดระหว่างผิวหนังกับทรวงอก เกิดเป็นรอยบุ๋มขึ้นที่ผิว
  • การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเต้านม
    การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณเต้านม เช่น อาการบวมแดง มีแผล อาจพบว่าเกิดจากการมีมะเร็งที่เต้านมลุกลามมาที่ผิวหนังทำให้เกิดการบวมแดงหรือบางครั้งอาจมีแผลร่วมด้วยและเป็นแผลที่รักษาไม่หาย  อาการบวมแดงของเต้านมยังอาจเป็นการแสดงของมะเร็งเต้านมชนิดลุกลามเฉพาะที่ซึ่งจะมีการบวมแดงของผิวหนังเต้านมเป็นบริเวณกว้างหรืออาจมีแผลร่วมด้วยก็ได้
  • มีแผลที่บริเวณหัวนม
    แผลที่เกิดที่บริเวณเต้านมหรือฐานหัวนมหรือฐานหัวนมนั้นอาจมีสาเหตุจากมะเร็งเต้านมชนิดหนึ่งเรียกว่า Paget disease of the nipple โดยจะเป็นแผลสีแดงที่บริเวณหัวนม
  • หัวนมบุ๋มเข้าไปในเต้านม
    การมีหัวนมที่บุ๋มเข้าไปในเต้านมโดยที่ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิดและไม่เคยได้รับการผ่าตัดที่เต้านมมาก่อน อาจมีสาเหตุมาจากมะเร็งเต้านมที่ลุกลามไปยังหัวนมและทำให้เกิดการดึงรั้งจนหัวนมบุ๋มลงไปได้ ซึ่งมักเกิดจากมะเร็งบริเวณใกล้กับหัวนม
  • การมีน้ำออกทางหัวนม
    อาการมีน้ำหรือน้ำนมออกทางหัวนมในผู้ที่ไม่ได้ให้นมบุตร อาจเป็นอาการหนึ่งของมะเร็งเต้านม ซึ่งมักสัมพันธ์กับความผิดปกติของท่อน้ำนมร่วมด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเรื้อรังเป็นๆ หายๆ ลักษณะน้ำอาจเป็นสีเหลืองใสหรือเป็นน้ำปนเลือด
  • คลำพบก้อนที่บริเวณที่รักแร้
    นอกจากอาการที่เต้านมแล้ว ในบางครั้งมะเร็งเต้านมอาจตรวจไม่พบก้อนที่เต้านม แต่มีต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้และคลำพบได้ ซึ่งเกิดจากมะเร็งเต้านมกระจายไป
  • อาการเจ็บเต้านม
    อาการเจ็บเต้านมในบางครั้งอาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับรอบเดือน ในช่วงใกล้มีประจำเดือนหรืออาจเกิดจากการอักเสบติดเชื้อที่เต้านม แต่ในบางกรณีอาจพบว่าเป็นอาการของมะเร็งเต้านมและอาจพบก้อนที่เต้านมร่วมด้วย โดยมักเจ็บที่บริเวณก้อนที่พบ
ผู้ที่มีอาการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม จึงแนะนำว่าควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

รู้ทัน ป้องกัน ข้อเข่าเสื่อม Knee Osteoarthritis

รู้ทัน ป้องกัน ข้อเข่าเสื่อม Knee Osteoarthritis

ความรู้ทั่วไปของข้อเข่า
ข้อเข่าประกอบด้วย 3 ส่วน
  1. ส่วนปลายของกระดูกต้นขา
  2. ส่วนต้นของกระดูกหน้าแข้ง
  3. ลูกสะบ้า
ข้อเข่ามีลักษณะคล้ายบานพับ ประกอบด้วยกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยเส้นเอ็นที่แข็งแรงทำหน้าที่ค้ำจุนและให้ความแข็งแรงมั่นคงแก่ข้อเข่าทั้งด้านข้างและภายในข้อเข่าอยู่สี่เส้น ขอบบนลูกสะบ้ามีกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้ามาเกาะและส่วนปลายของลูกสะบ้ามีเอ็นเกาะติดกับส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง
อาการของข้อเข่าเสื่อม
  1. ปวด อาการปวดเข่าในระยะแรกจะปวดเมื่อย ตึงบริเวณหัวเข่าหรือน่อง โดยจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว เมื่อพักเข่าจะดีขึ้น อาการเป็นๆหายๆ ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา
  2. บวม ในรายที่มีการอักเสบจะมีอาการบวม
  3. ข้อเข่าผิดรูป ข้อเข่าผิดรูปโดยเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิมทำให้ขาผิดรูปตามมา ซึ่งหากผิดรูปมากจะทำให้เดินลำบาก รู้สึกขาไม่เท่ากัน ปวดมากเวลาเดิน
  4. ข้อเข่าไม่มั่นคง โดยผู้ป่วยมักรู้สึกว่าข้อหลวมหรือหลุดเวลาลงน้ำหนักหรือมีเสียงข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว
  5. ข้อเข่าติด ผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดหรืองอเข่าได้สุด
  6. มีเสียงในข้อเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหว จากผิวกระดูกอ่อนที่ไม่เรียบเสียดสีกัน
ปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อม
  1. อายุ พบว่าเมื่อมีอายุเกิน 40 ปีจะเริ่มมีข้อเข่าเสื่อม
  2. เพศ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย 2 เท่าโดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากกว่า 50 ปี
  3. น้ำหนัก คนที่น้ำหนักมาก เสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ โดยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1-1.5 กิโลกรัม
  4. พฤติกรรมการใช้ชีวิต ผู้ที่นั่งงอเข่ามาก ๆ เช่นนั่งยอง ๆ นั่งขัดสมาธิ เสี่ยงต่อข้อเสื่อมได้มากกว่าปกติ
  5. การใช้งานข้อเข่าอย่างหนักและต่อเนื่อง เช่น ทำงานยกแบกของหนัก ทำงานที่มีการกระแทกหรือกระโดด ในผู้ป่วยที่มีอาชีพชาวนา,ชาวสวนหรือกรรมกรแบกหามตลอดช่วงวัยทำงานมักมาพบแพทย์ด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมและกระดูกสันหลังเสื่อมในวัยสูงอายุ
  6. การได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า เช่น มีกระดูกข้อเข่าแตกหรือมีหมอนรองกระดูกข้อเข่ารวมถึงเอ็นภายในหัวเข่าฉีก
  7. ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง
  8. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่า ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกายเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าไม่แข็งแรง
  9. นักกีฬา เช่นนักกีฬากลุ่มที่ต้องวิ่งหรือกระโดด มักมีปัญหาข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติ
  10. กรรมพันธุ์ ในผู้ป่วยที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม มีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น
การรักษาข้อเข่าเสื่อม
  1. การรักษาแบบอนุรักษ์นิยม
    • การรักษาแบบไม่ใช้ยา เช่น การทำกายภาพบำบัด การลดน้ำหนัก การปรับการใช้ชีวิตประจำวัน การใช้ที่ช่วยพยุงเข่า การนวด การฝังเข็ม การใช้สมุนไพรประคบนวด การรักษาเหล่านี้เป็นเพียงเพื่อบรรเทาอาการปวดเท่านั้น
    • การรักษาแบบใช้ยา เช่น การให้ยาต้านการอักเสบ ยาในกลุ่ม Glucosamine
  2. การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ โดยใช้ยาชาที่ผสมอยู่ช่วยระงับปวดในระยะแรกและยาสเตียรอยด์ช่วยยับยั้งการอักเสบในระยะยาว ทั้งนี้การตอบสนองต่อการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อเข่ามีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นกับสภาพความเสื่อมของข้อเข่า
  3. ยาฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเพื่อเพิ่มความหล่อหลื่นภายในข้อเข่าเป็นการรักษาแบบประคับประคองในระดับหนึ่ง
  4. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นวิธีการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมในระยะปานกลางถึงระยะรุนแรงโดยได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีสากลที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด เป็นการผ่าตัดที่ตัดผิวข้อส่วนที่เสื่อมออกแล้วทดแทนด้วยโลหะสังเคราะห์ โดยสามารถช่วยลดอาการปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
  1. มีอาการปวด บวม ตึงข้อเข่า ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ใน ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
  2. แก้ไขความผิดรูปหรือความพิการของข้อเข่า
  3. เพื่อป้องการการเสื่อมของข้ออื่น ๆ ตามมา
  4. รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมมาแล้วไม่ดีขึ้น
การป้องกันข้อเข่าเสื่อม
สามารถทำได้โดยลดปัจจัยเสี่ยงตามที่ได้กล่าวมา
    1. การลดน้ำหนัก ในผู้ป่วยที่อ้วนควรลดน้ำหนักให้ได้ร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวในสามเดือน
    2. การปรับการใช้ชีวิต พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยมักอยู่กับพื้น มักมีการพับงอเข่ามากและส่งผลให้เกิดการอักเสบของข้อเข่าได้ เช่น นั่งยอง ๆ คุกเข่า ขัดสมาธิ ควรมีการปรับอิริยาบถให้เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น
      • การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น
      • ในห้องน้ำควรใช้ชักโครกแบบมีโถนั่งเพื่อลดการงอเข่า
      • การซักผ้า ซักทีละไม่มากชิ้น นั่งซักบนม้าเตี้ย ๆ และเหยียดเข่าสองข้าง
      • การรีดผ้า เลี่ยงการนั่งรีดผ้ากับพื้น ควรใช้การนั่งเก้าอี้หรือยืนรีดและควรหาม้าเตี้ย ๆ มารองพักขา
      • เลี่ยงการก้มถูบ้าน ให้ใช้ไม้ม๊อบถูพื้นแทน
      • หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น เพราะเข่าต้องรับน้ำหนัก ประมาณ 3-4 เท่าของน้ำหนักตัวผู้นั้นขณะขึ้นลงบันได ในรายที่จำเป็นต้องขึ้นลงบันไดควรทำการจับราว โดยการขึ้นบันไดควรนำขาข้างที่ดีพยุงตัวขึ้นบันไดและตามด้วยขาข้างที่มีข้อเข่าเสื่อมไปทีละขั้น ในทางกลับกันเมื่อลงบันได ควรทำการจับราวและนำขาข้างที่มีข้อเข่าเสื่อมลงบันไดและตามด้วยขาข้างที่ดีทีละขั้นเพื่อให้ขาข้างที่ดีช่วยพยุงตัวผู้ป่วยระหว่างการก้าวลง
    3. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันข้อเข่าเสื่อม เพราะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ทำให้น้ำหนักลงที่เข่าน้อยลงและช่วยลดแรงที่กระทำต่อข้อเข่า ควรพิจารณาระดับการออกกำลังกายตามความเหมาะสมของสภาพร่างกายของแต่ละคน
      การออกกำลังกายในน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีต่อข้อเข่ามากที่สุด เพราะน้ำมีแรงพยุงตัวทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักน้อยลงจึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดเข่าและมีน้ำหนักตัวมาก แรงหนืดของน้ำทำให้ต้องออกแรงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าได้ดี
การเดินก็เป็นการออกกำลังที่ดี สามารถเดินเร็วในรายที่กล้ามเนื้อต้นขามีความแข็งแรงพอแต่ถ้ากล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ควรเดินช้า ๆ หรือเดินเท่าที่จำเป็น
การขี่จักรยาน ควรปรับอานนั่งของจักรยานให้ขางอเพียงเล็กน้อยเพื่อลดแรงที่กระทำต่อข้อเข่า หลีกเลี่ยงการถีบจักรยานที่ตั้งความฝืดหรือระดับความสูงไม่เหมาะสม ซึ่งจะเพิ่มการบาดเจ็บให้กับข้อเข่าได้
ท่าออกกำลังกายเพื่อข้อเข่าที่แข็งแรง
การบริหารกล้ามเนื้อต้นขามีความสำคัญมาก หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีความแข็งแรง ก็จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับข้อเข่าจะช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้โดยป้องกันแรงที่กระทำต่อข้อในขณะที่ใช้ข้อเข่าในการลุกขึ้น และยังป้องกันแรงกระแทกที่กระทำต่อข้อเข่าในขณะเดิน ควรออกกำลังกายดังกล่าวเป็นประจำทุกวัน โดยเริ่มทำจากน้อยไปมาก ทำประมาณ 10-20 ครั้ง/ชุด วันละ 2-3ชุดเป็นอย่างน้อย การค่อยๆเพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อรอบเข่าจะช่วยเพิ่มทั้งความแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่านี้สามารถทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ข้อเข่าเสื่อมก่อน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมลดปวดด้วย Shockwave

การรักษาอาการปวดด้วย […]

โปรแกรม Office Syndrome ออฟฟิศ ซินโดรม

เลือกโปรแกรมที่เหมาะ […]

ฝังเข็มรักษาโรค

การฝังเข็ม (Acupunct […]

รักษานิ่วในถุงน้ำดี ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy)

รักษานิ่วในถุงน้ำดี ด้วยการส่องกล้อง

Laparoscopic Cholecystectomy
           ในปัจจุบันการส่องกล้องเพื่อรักษานิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone) มีข้อดีหลายอย่าง ได้แก่ ลดความเสี่ยงทางวิสัญญีในการดมยาสลบ แผลผ่าตัดเล็ก ระยะเวลาการพักและฟื้นตัวสั้นสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็ว ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
            นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่สามารถพบและเกิดขึ้นได้ มีอันตรายถึงแก่ชีวิตถ้าไม่รีบรักษา อาการที่พบ ได้แก่ อาหารไม่ย่อย หลังทานอาหารมีอืดแน่นท้อง ปวดใต้ลิ่นปี่หรือชายโครงขวา ถ้าพบว่ามีตัวเหลืองตาเหลืองร่วมด้วย จะเป็นอาการของนิ่วในถุงน้ำดีไหลไปอุดตันที่ท่อน้ำดี และเกิดภาวะท่อน้ำดีอุดตัน
อาการและความรุนแรงของโรค
อาการและความรุนแรงของโรคนิ่วในถุงน้ำดีนั้น ในระยะเริ่มต้นอาจจะไม่ค่อยแสดงอาการมากนัก ผู้ป่วยมักจะมาด้วยอาการปวดอืด แน่นท้อง ปวดใต้ลิ้นปี่ หรือปวดชายโครงด้านขวา แต่หากมีถุงน้ำดีอักเสบติดเชื้อ (Acute cholecystitis) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้อาเจียน และมีไข้ ร่วมด้วย ถ้าก้อนนิ่วตกลงไปที่ท่อน้ำดีแล้วเกิดภาวะท่อน้ำดีอุดตัน จะพบว่ามีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หากมีการอักเสบติดเชื้อขึ้นบริเวณท่อน้ำดีที่อุดตันนั้น อาจเกิดภาวะท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholangitis) หรือ ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis)ได้ อาการปวดท้องจะทุเลาลงถ้านิ่วที่อุดตันนั้น ไหลกลับไปที่ถุงน้ำดี หรือไหลออกไปทางลำไส้เล็ก ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้องลักษณะนี้หลายครั้ง จะเป็นอาการเตือนของการมีนิ่วในถุงน้ำดี อาจเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholecystitis) หรือ ภาวะถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง (Chronic cholecystitis) ได้ ซึ่งถ้ามีการอักเสบและติดเชื้อรุนแรงอาจเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่อันตรายถึงแก่ชีวิต
สาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบนั้นส่วนมากจะเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone) หรือตะกอนในถุงน้ำดี (Bile sludge) ไหลไปอุดตันทางออกถุงน้ำดี (Cystic duct) จนทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อ
การรักษา
การรักษานิ่วในถุงน้ำดีในปัจจุบัน ใช้การผ่าตัดผ่านกล้องที่มีความคมชัดสูง หลังผ่าตัดแผลมีขนาดเล็ก เจ็บแผลน้อย ลดโอกาสการติดเชื้อ และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไว
หลังการผ่าตัดถุงน้ำดีนั้นผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เนื่องจากถุงน้ำดีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบน้ำดีที่ทำหน้าที่กักเก็บน้ำดีเท่านั้น โดยน้ำดีจะถูกผลิตจากตับ ดังนั้นเมื่อตัดถุงน้ำดีออกไปผู้ป่วยเพียงแค่ไม่มีที่กักเก็บน้ำดี แต่ยังสามารถย่อยอาหารได้ปกติ ในระยะแรกจะยังไม่สามารถย่อยอาหารพวกไขมันได้ดีเท่าที่ควร ปริมาณไขมันที่ทานต่อมื้อจึงมีผล ถ้าปริมาณไขมันน้อยกว่าจะย่อยได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกๆหลังการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ เพิ่มจำนวนมื้ออาหารแต่ละปริมาณในแต่ละมื้อลง จะช่วยให้การย่อยอาหารสมบูรณ์ขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายจะปรับตัวให้เข้ากับการไม่มีถุงน้ำดีได้ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
หากพบอาการเหล่านี้ เช่น อาหารไม่ย่อย หลังทานอาหารมีอืดแน่นท้อง ปวดใต้ลิ่นปี่หรือชายโครงขวา และพบว่ามีตัวเหลืองตาเหลือง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีไข้ ร่วมด้วย จะเป็นอาการของนิ่วในถุงน้ำดีไหลไปอุดตันที่ท่อน้ำดี ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาก่อนเกิดโรคร้ายแรง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

แพ็กเกจผ่าตัดก้อนที่เต้านม (Excision)

แพ็กเกจผ่าตัดก้อนเนื […]

นวัตกรรมใหม่ของการรักษาหลอดเลือดขอด

นวัตกรรมใหม่ของการรักษาหลอดเลือดขอด

Varicose Veins

การรักษาหลอดเลือดขอด โดย Radio Frequency (RF)


การรักษาหลอดเลือดขอด โดย Radio Frequency (RF) เทคโนโลยีใหม่ของการรักษาหลอดเลือดขอดโดยใช้สายสวน (ไม่ต้องผ่าตัด) ใช้ความร้อนด้วยพลังงานจากคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency)

นวัตกรรมใหม่ของการรักษาเส้นเลือดขอด

หลอดเลือดขอด
หลอดเลือดขอด เกิดจากความผิดปกติของลิ้น (Valve) เล็กๆ ในหลอดเลือดดำซึ่งไม่สามารถสกัดกั้นการไหลย้อนกลับของเลือดได้ จึงทำให้เลือดเกิดการคั่งอยู่ในหลอดเลือดดำส่วนปลายที่อยู่ใกล้ผิวหนัง จึงเกิดลักษณะที่โป่งพองเป็นก้อนหรือเป็นหลอดเลือดฝอยแตกที่เรียกว่าใยแมงมุม
นวัตกรรมใหม่ของการรักษาเส้นเลือดขอด
เทคโนโลยีใหม่ของการรักษาหลอดเลือดขอดโดยใช้สายสวน (ไม่ต้องผ่าตัด) เป็นหัตถการที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อรักษาหลอดเลือดขอดที่ขาโดยเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด โดยใช้สายสวนเข้าไปและทำให้เกิดความร้อนด้วยพลังงานจากคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency) ความร้อนทำให้หลอดเลือดที่มีปัญหาหดตัวร่างกายตอบสนองโดยสร้างเส้นใย (Fibrin) ทำให้หลอดเลือดเส้นนั้นตีบและอุดตันไปในที่สุด ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาจึงไม่ต้องผ่าตัดเกิดอาการปวดและผิวหนังฟกช้ำน้อย อาการข้างเคียงภายหลังการรักษาน้อย การพักฟื้นรวดเร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันและเดินได้ในทันที เกิดแผลเพียง 3 มิลลิเมตร เพื่อใส่สายสวนเข้าไป

การบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา

การเล่นกีฬาต่างๆ ถือเป็นกิจกรรมยอดฮิตในปัจจุบัน โดยเฉพาะการวิ่งมาราธอน การเล่นกีฬาเป็นการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์กับสุขภาพค่ะ แต่เราควรรู้และดูแลป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดการบาดเจ็บกับร่างกายนะคะ

การบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา เกิดจากอะไร?
และการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเบื้องต้นทำอย่างไร?

พลโท นพ.ดุษฏี ทัตตานนท์
ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อ
เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์และการกีฬา โรงพยาบาลบางโพ

#Bangpohospital #แบ่งกันฟัง

แผลเรื้อรังที่เท้าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?

นพ. เกียรติศักดิ์ ทัศนวิภาส
ศัลยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด
จะมาช่วยไขข้อสงสัยที่ว่าแผลเรื้อรังที่เท้าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?
#โรงพยาบาลบางโพ #แผลเรื้อรัง #แผลกดทับ #แผลเบาหวาน

นิ่วในถุงน้ำดี (คำแนะนำก่อน-หลังผ่าตัด)

Beautiful asian woman suffering from stomach pain at home on bed, bedroom background, Physiological period concept

 

นิ่วในถุงน้ำดี

สาเหตุ เกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารประกอบในน้ำดี เมื่อมีนิ่วเกิดขึ้น อาจมีอาการตั้งแต่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางครั้งนิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดี ทำให้มีอาการปวดแบบปวดดิ้น หรือถ้านิ่วตกลงไปอุดท่อน้ำดีใหญ่ จะทำให้มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ในบางรายอาจตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีแต่ไม่มีอาการได้เช่นกัน อาการดังกล่าวข้างต้นจะเกิดเมื่อใดก็ได้และพบในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งถุงน้ำดี มักพบว่ามีนิ่วร่วมด้วยเป็นส่วนใหญ่

นิ่วในถุงน้ำดี ไม่สามารถรักษาได้โดยใช้เครื่องสลายนิ่ว การรักษาโดยใช้ยาละลายนิ่วใช้ได้เฉพาะนิ่วบางชนิดเท่านั้น ส่วนใหญ่ต้องรับประทานยาเป็นเวลานานและเมื่อหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้อีก อีกทั้งนิ่วของคนไทยส่วนมากมักไม่ละลายโดยใช้ยา ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุด คือการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ซึ่งการตัดถุงน้ำดี ไม่มีผลต่อการย่อยอาหาร เพราะน้ำดีสร้างมาจากตับ ถุงน้ำดีเป็นเพียงที่เก็บพักน้ำดีเท่านั้น

อาการ ผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดี อาจไม่มีอาการเลยหรือมีอาการบางอย่าง ดังต่อไปนี้ โดยไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการได้แก่

  • ท้องอืด
  • แน่นท้องหลังรับประมานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก
  • ปวดท้องใต้ชายโครงขวาเป็นครั้งคราว
  • ปวดท้องรุนแรง และปวดร้าวไปถึงสะบักด้านขวา
  • ไข้สูงเฉียบพลัน ถ้ามีการอักเสบของถุงน้ำดีอย่างเฉียบพลัน
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม

จะตรวจพบว่าเป็นนิ่วถุงน้ำดีได้อย่างไร

วิธีที่ดีที่สุด ที่จะวินิจฉัยว่ามีนิ่วในถุงน้ำดี คือการตรวจอัลตร้าซาวด์

การรักษา

การผ่าตัดเอาถุงน้ำออกเป็นการแก้ปัญหาที่ถาวร เพื่อไม่ให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีขึ้นได้อีกต่อไปและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่างๆ การผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบัน มี 2 วิธี

  1. ผ่าตัดแบบเดิม โดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Cholecy – stectomy) ปัจจุบันจะเลือกใช้ในการผ่าตัด ถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุในช่องท้อง
  2. ผ่าตัดภายในกล้อง โดยการเจาะรูเล็กๆ ที่หน้าท้อง (Laparo-scopic Cholecystectomy) ถ้าผู้ป่วยไม่มีถุงน้ำดีอักเสบมากเฉียบพลัน สามารถทำได้สำเร็จถึงร้อยละ 95 ถ้าถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันเกิน 3 วัน โอกาสผ่าตัดโดยวีนี้ได้สำเร็จจะน้อยลง

 

วิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง

  • เจาะรูเล็กๆ บริเวณหน้าท้อง 4 แห่ง ด้วยเครื่องมือที่ออกแบบเฉพาะสำหรับการเจาะหน้าท้องอย่างปลอดภัย ขนาดของรูประมาณ 0.5 ซม. 3 ตำแหน่ง และขนาด 1 ซม. ที่สะดือ 1 ตำแหน่ง
  • ใส่กล้องที่มีก้านยาวและเครื่องมือผ่านรูที่ผนังหน้าท้องลงไปศัลยแพทย์จะสามารถมองเห็นถุงน้ำดีและอวัยวะต่างๆ จากจอโทรทัศน์ซึ่งกล้องส่งสัญญาณภาพมา
  • ศัลยแพทย์สามารถเลาะแยกถุงน้ำดีออกจากตับ และใช้คลิปหนีบห้ามเลือดแทนไหมเย็บแผล ก่อนตัดขั่วของถุงน้ำดีแล้วเลาะส่วนที่เหลือให้หลุดออก
  • เมื่อตัดถุงน้ำดีได้แล้ว บรรจุใส่ถุงที่ออกแบบมาโดยเฉพาะแล้วดึงออกจากร่างกายบริเวณรูสะดือ จากนั้นศัลยแพทย์จะสำรวจความเรียบร้อยเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนดึงเครื่องมือและกล้องออกแล้วเย็บปิดแผล
  • ในผู้ป่วยบางรายถ้ามีการอักเสบมาก อาจต้องมีการใส่ท่อระบายไว้ 2-3 วัน

ผลดีของการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้อง

  • อาการปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่า เพราะแผลมีขนาดเล็ก
  • อยู่โรงพยาบาล ประมาณ 1-2 วัน ซึ่งผ่าตัดแบบเดิม อยู่โรงพยาบาล ประมาณ 3-5 วัน
  • การพักฟื้นหลังผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ทำให้กลับไปทำงานตามปกติได้เร็วกว่า ถ้าผ่าตัดแบบเดิมใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1 เดือน
  • แผลขนาดเล็กดูแลง่ายกว่าและมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าแผลใหญ่

คำแนะนำผู้ป่วยก่อนผ่าตัด

ในกรณีที่เป็นการผ่าตัดที่ไม่ฉุกเฉิน (Elective Case) ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ปราศจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ถ้าผู้ป่วยที่ทานยาละลายลิ่มเลือดหรือยากลุ่ม Antiplatelet ควรหยุดยาอย่างน้อย 7 วัน

คำแนะนำผู้ป่วยหลังผ่าตัด

ผู้ป่วยจะปวดแผลค่อนข้างมากในวันแรกหลังการผ่าตัด ดังนั้นควรได้รับยาลดปวดจากพยาบาลตามความเหมาะสม ในบางรายอาจมีการอาเจียนจากผลของยาสลบได้ขอให้แจ้งพยาบาลทันทีที่มีอาการเพื่อจะได้ยาลดอาการดังกล่าว หลังจากไม่มีภาวะคลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยสามารถทานอาหารเหลวได้ทันทีหลังการผ่าตัดภายใต้กล้อง Laparoscopic cholecystectomy

การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน

  • ถ้ามีอาการของการปวดท้องหรือมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง ขอให้รีบแจ้งแพทย์ให้ทราบทันที เพื่อที่จะหาสาเหตุของความผิดปกติที่อาจพบได้หลังการผ่าตัดถุงน้ำดี
  • ควรงดการยกของหนัก 3 เดือน
  • ควรงดอาหารที่มันจัดตลอดชีวิต

 

สอบถามและปรึกษาได้ที่
คลินิกอายุรกรรม ระบบทางเดินอาหาร  ชั้น 2 อาคาร 2  โรงพยาบาลบางโพ
โทร. 02 587 0144 ต่อ 2200

 

 

เส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดหมายถึงภาวะที่มีการขยายตัวผิดปกติของหลอดเลือดดำในผิวหนังชั้นตื้นของขา ผู้ป่วยที่มีปัญหาเส้นเลือดขอดจะมีอาการแสดงได้หลากหลายตั้งแต่เห็นหลอดเลือดโป่งนูนที่ขาเล็กน้อย จนถึงมีแผลเส้นเลือดขอดเรื้อรังที่ขาซึ่งรักษาให้หายได้ยากในผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดขอดแบบรุนแรง

รูปแสดงหลอดเลือดดำในผิวหนังชั้นตื้นของขา

สาเหตุของเส้นเลือดขอด

ส่วนใหญ่เกิดจากผนังของหลอดเลือดและลิ้นกั้นเลือดในหลอดเลือดดำผิดปกติก่อให้เกิดการไหลกลับของเลือดในหลอดเลือดดำ และภาวะเส้นเลือดขอดนี้อาจเกิดตามหลังการอุดตันของหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดดำอักเสบ(phlebitis)หรือ ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ(deep vein thrombosis)

การวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดขอด

การตรวจวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดขอดให้มีความแม่นยำนั้นจำเป็นต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วยการทำอัลตราซาวน์หลอดเลือดดำที่บริเวณขาโดยศัลยแพทย์หลอดเลือดหรือรังสีแพทย์เฉพาะทาง เพื่อประเมินว่าสาเหตุของเส้นเลือดขอดอยุ่ตำแหน่งใด และมีสาเหตุร่วมอื่นหรือไม่

การรักษาเส้นเลือดขอด

การรักษาด้วยยากลุ่ม flavonoid หรือสารสกัดจากพืชกลุ่ม horse chestnut จะช่วยให้ผู้ป่วยเส้นเลือดขอด ลดอาการบวมของขา และลดการอักเสบของผิวหนัง ทำให้อาการเหล่านี้ดีขึ้นได้

อาการของเส้นเลือดขอด

อาการที่พบในผู้ป่วยเส้นเลือดขอดได้แก่ ปวดน่อง คัน รู้สึกแสบร้อนหรือเป็นตะคริวที่น่อง หนักขาเป็นต้น พบร่วมกับมีขาบวมหลังยืนหรือห้อยขาเป็นเวลานาน มีหลอดเลือดฝอย และเส้นเลือดขอดที่ปลายเท้า และหากอาการรุนแรงมากขึ้นจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่ขา โดยผิวหนังจะแข็งตึง และดำคล้ำร่วมกับเกิดแผลเรื้อรังที่บริเวณข้อเท้าได้

รูปแสดงเส้นเลือดขอดที่ขา

การรักษาด้วยการใช้ถุงน่องป้องกันเส้นเลือดขอด(compression stockings) ภายใต้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดของศัลยแพทย์หลอดเลือดเพื่อเลือกแรงรัดที่เหมาะสมของถุงน่องกับอาการผู้ป่วยจะช่วยลดอาการปวดบวมขา และช่วยทำให้ผู้ป่วยที่มีแผลจากเส้นเลือดขอดหายได้ง่ายขึ้น

การรักษาด้วยการผ่าตัด มีประโยชน์ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการผิดปกติจากเส้นเลือดขอดร่วมกับตรวจพบว่ามีลิ้นกั้นเลือดในหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ เกิดมีการไหลย้อนทางของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา การรักษาด้วยการผ่าตัดปัจจุบันมีการรักษา 2 แบบคือ

  1. รักษาด้วยการผ่าตัดเปิด เป็นการผ่าตัดเปิดแผลเพื่อนำหลอดเลือดดำของขาที่มีปัญหาออก (high ligation with venous stripping)
  2. รักษาแบบ minimal invasive surgery เป็นการรักษาเส้นเลือดขอดวิธีใหม่ด้วยการเจาะรูบริเวณขาที่มีอาการเพื่อใส่อุปกรณ์เข้าไปทำการรักษาหลอดเลือดที่มีปัญหาให้อุดตันไปโดยไม่ต้องผ่าตัดนำหลอดเลือดออกมาจากผู้ป่วย (endovenous treatment) ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีนี้จะมีสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าและมีอาการปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่าวิธีผ่าตัดเปิด

รูปแสดง การผ่าตัดเส้นเลือดขอดด้วยวิธีการเจาะรูใช้คลื่นวิทยุ (endovenous radiofrequency radiation)

ข้อมูลโดย
นพ. เกียรติศักดิ์   ทัศนวิภาส
แพทย์ศัลยกรรมทั่วไป , ศัลยศาสตร์หลอดเลือด ประจำโรงพยาบาลบางโพ

คลินิกพิเศษดูแลบาดแผลและหลอดเลือด

คลินิกพิเศษดูแลบาดแผลและหลอดเลือด

Wound Care & Vascular Clinic

ให้บริการดูแลบาดแผลเรื้อรังโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการดูแลบาดแผลที่ซับซ้อน บาดแผลเรื้อรังต่างๆด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ทำให้ผู้ป่วยบาดแผลหายเร็ว เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด รวมถึง การลดความเจ็บปวดจากการทำแผล ลดจำนวนครั้งของการเปลี่ยนแผลโดยไม่จำเป็น การเลือกใช้วัสดุปิดแผลและตัวยารักษาแผลที่มีความทันสมัย

ให้บริการดูแลรักษาบาดแผล

  • บาดแผลกดทับ   (Pressure sore) 

  • บาดแผลโรคหลอดเลือดเรื้อรังไม่ว่าจะเป็นบาดแผลจากโรคหลอดเลือดดำ (Venous Ulcer) หรือ บาดแผลขาดเลือด (Ischemic Ulcer) จากโรคหลอดเลือดแดงอุดตันเรื้อรัง

  • บาดแผลเรื้อรังจากแผลเบาหวาน (Diabetic Ulcer)

  • บาดแผลไหม้จากอุบัติเหตุทุกชนิด ได้แก่
    • บาดแผลไฟไหม้ (Flame Burn)
    • บาดแผลของเหลว ของร้อนลวก (Scald Burn)
    • บาดแผลไหม้จากสารเคมี (Chemical Injury)
    • บาดแผลไหม้จากการสัมผัส (Contact Burn) ไม่ว่าจะเป็นของร้อน เช่น โดนท่อไอเสีย ผิวหนังสัมผัสของร้อนเช่น เตารีด วัสดุร้อนๆ หรือ ของเย็นจัด เป็นต้น
    • บาดแผลไหม้จากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต (Electrical Injury)
    • บาดแผลไหม้จากสะเก็ดระเบิด (Blast Injury)
  • การจัดการกับแผลมี แนวทางจากลักษณะพยาธิสภาพของแผลที่ สำคัญ 4 อย่าง  TIME

 หมายถึง เนื้อเยื้อ (Tissue) ที่ใช้การไม่ได้หรือไม่เพียงพอตอการหายของแผล การจัดการกับเนื้อเยื่อที่เป็นเนื้อตายทำให้แผลหายช้า (Debridement technique)

I    หมายถึง การติดเชื้อและการอักเสบ การจัดการคือควบคุมและการอักเสบ (Bacterial Management)

M   หมายถึง ความชุมชื่นของแผลที่ไม่สมดุล การจัดการ คือ การสร้างความสมดุลความชุ่มชื่นของแผล (Exudate management)

E    หมายถึง ขอบแผลไม่เจริญ การจัดการกับขอบแผล คือการกระตุ้นให้ขอบแผลเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การใช้แรงดูดสุญญากาศ หรือการใช้ ผลิตภัณฑ์

 

 

ข้อมูลโดย

นพ. เกียรติศักดิ์  ทัศนวิภาส

ศัลยแพทย์ เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์หลอดเลือด

สอบถามเพิ่มเติม คลินิกศัลยกรรม อาคาร  1  ชั้น   2