พญ.วิพุชกิตติยา ชิตธนาเศรษฐ์

พญ.วิพุชกิตติยา ชิตธนาเศรษฐ์
กุมารแพทย์

พญ.วิพุชกิตติยา ชิตธนาเศรษฐ์

VIBUDHKITTIYA CHITTATHANASESH, M.D.
Specialty
  • กุมารเวชกรรม

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชฯ กรมแพทย์ทหารอากาศ
วัน เวลา
MON 10:00 - 17:00
TUE 15:00 - 20:00
THU 11:00 - 20:00
SUN 8:00 - 17:00

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

Contraceptive Implant

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิด ชนิด 3 ปี : 6,990.-

ป้องกันได้ ถ้ายังไม่พร้อม


การตั้งครรภ์ไม่พร้อม การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร หรือการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อาจเป็นปัญหาในภายหน้า ทางเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ คือการคุมกำเนิด ซึ่งในปัจจุบัน มีมากมายหลายวิธีให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยแต่ละวิธีก็จะให้ผลที่แตกต่างกันออกไป

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

Contraceptive Implant
“ป้องกันได้ ถ้ายังไม่พร้อม” การตั้งครรภ์ไม่พร้อม การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร หรือการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อาจเป็นปัญหาในภายหน้า ทางเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ คือการคุมกำเนิด ซึ่งในปัจจุบัน มีมากมายหลายวิธีให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยแต่ละวิธีก็จะให้ผลที่แตกต่างกันออกไป
การฝังยาคุมกำเนิดคืออะไร
การฝังยาคุมกำเนิดเป็นวิธิการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวประเภทหนึ่ง โดยนำหลอดบรรจุฮอร์โมนขนาดเล็ก ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร โดยฝังแท่งยาใต้ชั้นผิวหนัง บริเวณใต้ท้องแขนด้านใน ใช้เวลาในการฝังประมาณ 3-10 นาที ซึ่งสามารถคุมกำเนิดนาน 3 ปี ควรเริ่มฝังยาภายใน 7 วันแรกของการมีรอบเดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด มีกลไกในการป้องกันการตั้งครรภ์ คือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่เพื่อทำให้ปากมดลูกมีมูกเหนียวข้น เชื้ออสุจิเคลื่อนตัวเข้ามาในโพรงมดลูกได้ยาก รวมถึงทำให้โพรงมดลูกบางซึ่งไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน หากต้องการยุติการคุมกำเนิดหรือเปลี่ยนไปใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่น สามารถนำแท่งยาคุมออกเมื่อใดก็ได้ และสามารถมีบุตรได้เมื่อร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ โดยจะมีการตกไข่กลับมาภายใน 3 สัปดาห์
ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด
  1. ป้องกันการตั้งครรภ์ 99.9%
  2. ฝังยาช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ลดภาวะประจำเดือนมามาก
  3. ไม่ต้องกังวล เรื่องการตั้งครรภ์ หรือปัญหาลืมกินยาเม็ดคุมกำเนิด
  4. ใช้ในสตรีให้นมบุตรได้ โดยไม่มีผลต่อปริมาณ และคุณภาพของน้ำนม เมื่อหยุดการใช้ยาฝังคุมกำเนิดจะสามารถกลับสู่ภาวะเจริญพันธุ์ได้เร็ว
หมายเหตุ
  • ราคาแพ็กเกจไม่รวมค่ายากลับบ้านและค่าตรวจการตั้งครรภ์
  • สามารถฝังยาคุมได้ภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน หรือหลังคลอด 4-6 สัปดาห์
  • หลังแท้งบุตรธรรมชาติทันที หรือ 2-3 สัปดาห์
วันนี้ - 30 มิถุนายน 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Baby Delivery Package

Normal Delivery Pack […]

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

ตรวจโรคติดต่อทางเพศส […]

นมแม่ดีที่สุด

นมแม่ดีที่สุด

ฺBreastfeeding
องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกด้วยองค์ประกอบด้านโภชนาการ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและยังมีเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งจากเซลล์จากแม่ รวมถึงแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกด้วย เด็กทารกที่เกิดใหม่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับเด็ก เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคจำนวนมากที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย การได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ทารกเติบโตได้สมบูรณ์แข็งแรง เหนือสิ่งอื่นใด ขณะที่แม่ให้นมจะต้องโอบกอดลูกไว้ข้างนอก แม่ลูกสบตากัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นวิธีสร้างสายใยความรักความผูกพันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งระหว่างแม่กับลูก
ประโยชน์นมแม่ วัคซีนหยดแรกสำหรับลูกน้อย
  • สมอง โอกาสเพิ่มระดับ IQ 3.16 จุด ในทารกครบกำหนดและ 5.26 จุด ในทารกเกิดก่อนกำหนด
  • สายตา พัฒนาการมองเห็น สายตาคมชัด
  • หู ลดโอกาสเป็นโรคหูน้ำหนวก
  • ช่องปาก กรามล่างแข็งแรง ฟันเกน้อยลง เมื่อโตขึ้น
  • ไต แข็งแรงขับของเสียน้อยกว่า
  • ผิวพรรณ ลดโอกาสภูมิแพ้ผิวหนัง 42%
  • ระบบทางเดินปัสสาวะ โอกาสติดเชื้อน้อยกว่า
  • ระบบทางเดินอาหาร ลดโอกาสโรคท้องเสียและลำไส้อักเสบน้อยกว่า 64% การย่อยดี แทบไม่มีปัญหาท้องผูก
  • ระบบทางเดินหายใจ โอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ ปอดบวมน้อยกว่า ทารกกินนมผสม 60% และโรคหืด
การเตรียมตัวเพื่อให้นมลูกอย่างมีประสิทธิภาพ
หัวนมที่มีปัญหาควร ได้รับการแนะนำและ หาวิธีแก้ไข ตั้งแต่ช่วงเวลาที่มาฝากครรภ์ ดังเช่นกรณีต่อไปนี้
วิธีแก้ไข
  1. Nipple Rolling โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับด้านข้างของหัวนมที่ติดกับลานนมยืดขึ้นและค้างไว้หรือนวดคลึงเบาๆทำซ้ำ 10 ครั้งวันละ 2 ครั้ง
  2. Hoffmann's Maneuver โดยให้วางหัวแม่มือชิดโคนหัวนม กดนิ้วพร้อมรูดจากฐานหัวนมในทิศทางซ้ายขวาออกเบาๆ เปลี่ยนเป็นวางในทิศบนล่างและดึงออกเบาๆ นับเป็น 1 ครั้ง ควรบริหารข้างละ 30 ครั้งหลังอาบน้ำ จะให้ผลดีในรายหัวนมบุ๋มเล็กน้อย
  3. การใช้ปทุมแก้ว (Breast shells หรือ Breast cups)โดยจะใส่ไว้ใต้ยกทรง ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เริ่มต้นด้วยใส่วันละ 2-3 ชั่วโมง เมื่อคุ้นเคยแล้วให้ใส่เฉพาะกลางวัน เมื่อคลอดลูกแล้วให้ใส่ก่อนให้นมบุตร 30 นาทีก่อนให้ลูกดูดนม
  4. Syringe Puller โดยดึงลูกสูบขึ้นประมาณ 1/3 ของกระบอกแล้ว นำด้านที่มีปีกมาครอบหัวนมให้สนิทดึงลูกสูบช้าๆจนเห็นหัวนมยื่นยาวออกมา
  5. Nipple Puller ใช้นิ้วมือบีบกระเปาะยางแล้วไปครอบหัวนมปล่อยนิ้วที่บีบกระเปาะเบาๆ
ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี
ใหัโดยเริ่มให้ลูกดูดนมโดยเร็วตั้งแต่หลังคลอดภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำนมออกเร็ว การให้ลูกดูดนมบ่อยๆภายใน 24 ชั่วโมงแรก หลังคลอด ลูกควรดูดนม 8-12 ครั้งและต้องให้ลูกดูดนมให้ถูกวิธี คือให้ลูกอมหัวนมให้ถึงลานนม สามารถป้องกันการเกิดนมคัดหรือหัวนมแตกได้
ลูกดูดนมได้ดี ขึ้นอยู่กับท่าอุ้ม
อาหารที่เหมาะสมสำหรับแม่ที่ให้นมลูก
ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรทานแคลเซียมและธาตุเหล็กเสริม หลีกเลี่ยงการซื้อยาทานเองเพราะยาบางชนิดอาจผ่านเข้าน้ำนมและควรดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
นวดเต้านม ให้ถูกวิธ
เนื่องจากในเต้านมมีเนื้อเยื่อที่มีหลอดเลือด และน้ำเหลืองการนวดจะช่วยหมุนเวียนการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดกระตุ้นให้เนื้อเยื่อคลายตัวและส่งเสริมการระบายน้ำเหลือง ทำให้น้ำนมไหลได้ดี ลดการคัดตึงเต้านม
วิธีช่วยกระตุ้นให้เกิด Milk Ejection Reflex
ขั้นนตอนทั้งหมดควรใช้เวลาประมาณ 20- 30 นาที

  • บีบน้ำนมแต่ละข้างออก 5 - 7 นาที (หรือให้น้ำนมไหลน้อยลง)
  • กระตุ้นโดยการนวด ลูบและเขย่า
  • บีบน้ำนมออกอีกข้างละ 3 - 5 นาที
  • กระตุ้นโดยการนวด ลูบและเขย่า
  • บีบน้ำนมออกอีกข้างละ 2 - 3 นาที
ข้อเสนอแนะในการให้นมลูก
ตามนโยบายสาธารณะของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • ช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
  • ช่วงอายุ 6-12 เดือนให้นมแม่ร่วมกับอาหารทารกตามวัย
  • ช่วงอายุ 1-2 ปี ให้อาหารตามวัย 3 มื้อร่วมกับนมแม่

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Baby Delivery Package

Normal Delivery Pack […]

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

ตรวจโรคติดต่อทางเพศส […]

สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

stomach cancer
จะแยกได้อย่างไร? โรคกระเพาะหรือมะเร็งกระเพาะอาหาร
สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการลักษณะใด วิธีป้องกัน และวิธีการรักษา สามารถไขข้อสงสัยขั้นเบื้องต้นได้จากวิดีโอนี้เลยค่ะ เพราะการป้องกันดีกว่าการรักษา #โรงพยาบาลบางโพ#มะเร็ง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ทพญ.ศศิวรรณ เพ็งชุ่ม

ทพญ.หญิงศศิวรรณ เพ็งชุ่ม
ทันตกรรมรักษารากฟัน

ทพญ.ศศิวรรณ เพ็งชุ่ม

SASIWAN PENGCHUM, DDS.
Specialty
  • ทันตกรรมรักษารากฟัน

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
TUE 14:00 - 18:00 อังคารที่ 2, 4
SAT 10:00 - 17:00 เสาร์ที่ 1, 3

5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด

กินอาหารอย่างไร ช่วยต้านหวัด

เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงภูมิต้านทานต่ำ อาจนำมาสู่โรคหวัดได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ดี จะช่วยสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันหวัดได้ หากเริ่มมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจไม่ออก อาจมีอาการคันคอร่วมด้วย อาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะบอกเราว่าร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่สภาพอากาศใหม่ ทำให้มีผลข้างเคียงดังกล่าว ซึ่งสามารถป้องกันได้ ด้วยการเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง
ง่ายๆ 5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด
1. รับประทานผัก ผลไม้หลากสี
ผักต่างๆ เช่น มันเทศ แครอท ผักโขม และบีทรูทนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่งจำเป็นต่อร่างกายของเรา วิตามินเอช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดความเจ็บป่วย ป้องกันการติดเชื้อได้
2. เพิ่มกระเทียมหรือหัวหอมในมื้ออาหาร
ผักตระกูลนี้ มีสารอะลิซิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญกับร่างกาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ยังช่วยสุขภาพทางเดินอาหารที่ดีในมีพรีไบโอติก โดยเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ
3. ทานวิตามินซีให้เพียงพอ
วิตามินซีที่เข้มข้นเป็นพิเศษได้การยอมรับว่าเป็นยาป้องกันไข้หวัดทั่วไปมาเป็นเวลานาน การรับประทานผักและผลไม้ปริมาณมากทุกวันควรให้วิตามินซีเพียงพอแก่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม บรอกโคลี ถั่วลันเตา กีวี มะระกอ ฝรั่ง และผลไม้รสเปรี้ยว
4. การทานข้าวโอ้ตและธัญพืชต่าง ๆ
ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์อุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ที่เรียกว่าเบต้ากลูแคน ซึ่งนอกจากจะทำให้เราอิ่มแล้ว ยังมีผลช่วยปรับภูมิคุ้มกัน - เพิ่มจำนวนและการทำงานของเซลล์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
5. การรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีแร่ธาตุสังกะสี (Zinc, Zn)
อาหารที่มีกลุ่มโปรตีนสูงๆ เช่น หอยนางรม เนื้อไก่ ไข่แดง เนื้อหมู อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอย โดยเฉพาะหอยนางรม จะพบสังกะสีมากที่สุด แร่ธาตุสังกะสีช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และช่วยลดการอักเสบ ลดระยะการเจ็บป่วยได้

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Sexually Transmitted Diseases (STDS)

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคหรือคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก เดิมมีชื่อว่า “กามโรค” (venereal diseases) ในปัจจุบันมีการค้นพบโรคในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” (sexually transmitted infections, STIs) โรคที่สำคัญคือ ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม และเอชพีวี ดังนั้นควรตรวจคัดกรองโรคปีละครั้ง สำหรับกลุ่มที่เสี่ยง

โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Sexually Transmitted Diseases (STDS)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือกลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคหรือคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก เดิมมีชื่อว่า “กามโรค” (venereal diseases) ในปัจจุบันมีการค้นพบโรคในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” (sexually transmitted infections, STIs) โรคที่สำคัญคือ ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม และเอชพีวี

ใครเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

คนที่มีกิจกรรมทางเพศบ่อย มีคู่นอนหลายคน อายุน้อย ไม่ใส่ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ เคยมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในอดีต ดื่มสุรา และใช้สารเสพติด

สามารถติดโรคจากคนที่ไม่มีอาการ ภายนอกดูแข็งแรงปกติ ได้หรือไม่
ในบางระยะของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการผิดปกติ ทำให้ไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่นอนได้ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยแม้เพียงครั้งเดียว ก็สามารถทำให้ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงเชื้อเอชไอวีได้

จะปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อสงสัยว่าอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเพิ่งมีความเสี่ยงในการติดโรค ควรรีบปรึกษาแพทย์ และงดการมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราวเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นจนกว่าจะทราบผลการตรวจ ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคควรงดการมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหาย และแนะนำให้คู่นอนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เข้ารับการตรวจรักษาด้วย 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษาให้หายขาด
โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินหรือฉีดยาปฏิชีวนะให้ครบตามแพทย์สั่ง และให้ความสำคัญกับการพาคู่นอนมารับการตรวจรักษา ส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดจะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต เช่น เริม การรักษาจะช่วยควบคุมอาการโรคได้ แต่การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอชพีวี ร่างกายอาจกำจัดเชื้อได้เอง หากกำจัดไม่ได้เชื้ออาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต 
ข้อมูลอ้างอิง สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Sexually Transmitted Diseases (STDS)
ด้วยเทคนิค REAL-TIME PCR ทราบผลภายใน 5 วัน
รายการตรวจ
STD 1
7 ชนิด
STD 2
14 ชนิด
STD 3
7 ชนิด + HIV
STD 4
14 ชนิด + HIV
Neisseria gonorrhoeae
โรคหนองในแท้
Chlamydia trachomatis
โรคหนองในเทียม
Mycoplasma hominis
โรคหนองในเทียม
Mycoplasma genitalium
โรคหนองในเทียม
Ureaplasma urealyticum
โรคหนองในเทียม
Ureaplasma parvum
โรคหนองในเทียม
Trichomonas vaginalis
พยาธิในช่องคลอด
Herpes simplex virus types 1 (HSV-1)
โรคเริม
Herpes simplex virus types 2 (HSV-2)
โรคเริม
Treponema pallidum
โรคซิฟิลิส
Haemophilus ducreyi
โรคแผลริมอ่อน
Candida albicans
โรคเชื้อราในช่องคลอด
Gardnerella vaginalis
ติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด
Group B Streptococcus
ติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด
HIV
การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี
ราคาแพ็คเกจ
1,990.-
3,333.-
2,190.-
4,133.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
หากตรวจพบความผิดปกติ แพทย์อาจพิจารณาให้รับยา ซึ่งจะมีค่าบริการเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์ประเมิน
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
  • มีอาการผิดปกติที่อาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น คัน เป็นผื่น ตุ่ม เป็นฝี มีหนองไหล หรือเจ็บป่วยที่อวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด มีตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เช่น ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยรั่ว แตก หลุด หรือฉีดขาดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีคู่นอนหลายคน มีคู่นอนที่เสี่ยงต่อการติดโรค
  • ผู้ที่วางแผนแต่งงาน วางแผนการมีบุตร หรือ ต้องการตรวจ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนรักและทารกในครรภ์
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
  • สามารถทานอาหารมาก่อนเข้าตรวจได้ตามปกติ
  • งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการตรวจช่วงที่มีประจำเดือน ควรรอตรวจหลังจากที่ประจำเดือนหมดไปแล้วอย่างน้อย 7 วัน
  • ห้ามตรวจภายในมาก่อนในช่วง 24 ชั่วโมง เพราะอาจมีสารหรือยาไปปนเปื้อนอยู่
  • ห้ามใช้ผ้าอนามัยชนิดสอด ครีมหรือยา ที่ใช้ทางช่องคลอดอื่น ๆ อย่างน้อย 48 ชั่วโมง
  • ห้ามล้างหรือทำความสะอาดในช่องคลอดภายใน 48 ชั่วโมงก่อนมาตรวจ เพราะอาจไม่มีเซลล์เหลือให้ตรวจ
  • ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนมารับการตรวจ 48 ชั่วโมง
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อหลังตึงหรือมีอาการหลังแข็ง ตั้งแต่ล่างต่อชายโครงไปจนถึงส่วนล่างของแก้มก้น อาจมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาร่วมด้วย บางรายปวดจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ พบได้บ่อยในวัยทำงานและผู้สูงอายุ รวมถึงลักษณะงานที่ทำให้ปวดหลังได้แก่ คนที่ต้องทำงานประเภทแบกหาม ยกของหนักงานที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น การยกของที่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม งานที่ก้มๆ เงยๆ หรือบิดเอวเป็นประจำเป็นระยะเวลานาน คนที่ทำงานนั่งโต๊ะหรือนั่งกับพื้นเป็นประจำ เช่น ขับรถ เป็นต้น
อาการปวดหลังสามารถแบ่งตามระยะเวลาได้ 3 ประเภท ได้แก่
  1. อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน (Acute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์
  2. อาการปวดหลังกึ่งเฉียบพลัน (Subacute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 3 เดือน
  3. อาการปวดหลังเรื้อรัง (Chronic low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน
การบาดเจ็บต่อโครงสร้างและเนื้อเยื่อต่าง ๆ บริเวณบั้นเอวเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
  1. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่มากผิดปกติ ต่อโครงสร้างที่ผิดปกติ เช่น จากการถูกรถชน จากการถูกของแข็งมากระแทก
  2. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่ปกติ แต่โครงสร้างที่เริ่มเสื่อมทรุดโทรมหรือโครงสร้างส่วนนั้นยังไม่พร้อมรับแรงกระทำนั้นๆ เช่น กล้ามเนื้อและเอ็นที่ยังไม่ได้รับการอบอุ่นและยืดหยุ่นที่เพียงพอ
แล้วได้รับแรงกระชากทันที มีผลทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็นได้ เช่น กรณีของกล้ามเนื้อเอวเคล็ดจากการทำงาน (back strain)
อาการปวดหลังจากการทำงาน
  1. กลุ่มอาการปวดหลังเฉียบพลัน เกิดจากการก้มยกของหรือการบิดเอวที่ผิดจังหวะ จะมีอาการปวดแบบกระจายบริเวณเอวส่วนล่าง หรือบริเวณแก้มก้นอาจร้าวไปบริเวณ ต้นขา แต่ไม่ถึงหัวเข่า และจะปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว หากได้พักหรือเคลื่อนไหวน้อยลงอาการปวดจะทุเลา
  2. กลุ่มอาการปวดร้าวไปที่ขา มีอาการคล้ายกับกลุ่มแรกแต่มีอาการปวดร้าวบริเวณน่องและปลายเท้า ซึ่งการปวดร้าวขึ้นกับรากประสาทที่เกี่ยวข้องอาการอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ อาการปวดตามแนวรากประสาท ซึ่งแสดงออกโดยผลตรวจด้วยการโยกขาที่เหยียดตรงในขณะที่ผู้ป่วยนอนให้ผลบวก อาจพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และอาการชาผิวหนังที่เลี้ยงด้วยรากประสาทที่เกี่ยวข้องตลอดจนอาการลดลงของปฏิกิริยา reflex หรืออาจมีอาการผิดปกติด้านการขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการกดทับของรากประสาทกระเบนเหน็บหลายเส้น
  3. กลุ่มอาการปวดล้าบริเวณน่องขณะเดินและผู้ป่วยต้องหยุดเดินหลังจากเดินได้ระยะทางหนึ่ง กลุ่มนี้มักเกิดจากการตีบแคบของโพรงรากประสาท และความเสื่อมของกระดูกสันหลัง
การวินิจฉัยโรค
  1. ประวัติการทำงาน ลักษณะงานหรือท่าทางการทำงานที่มีกิจกรรมซ้ำในท่าเดิมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ นั่งทำงานทั้งวัน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือ พนักงานที่ยกของหนักเป็นประจำ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หรือการใช้ท่าทางในการยกของที่ผิด, อุบัติเหตุจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น พลัดตกหกล้ม การตกจากที่สูง
  2. การตรวจวินิจฉัยทางรังสี (Radiographic Investigation)
    ผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างไม่มีความจำเป็นที่ต้องรับการตรวจภาพถ่ายทางรังสีทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งมีอาการมาไม่นานและไม่รุนแรง ซึ่งภาพถ่ายทางรังสีแต่ละชนิดจะให้ข้อมูลและประโยชน์กับผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างต่างกันไป เช่น

    • Plain radiograph การ x-ray ธรรมดา เป็นขั้นแรกที่ควรส่งตรวจเนื่องจากสะดวกและราคาถูก สามารถให้ข้อมูลได้พอสมควร โดยเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังที่มีลักษณะผิดรูปต่าง ๆ แต่ไม่สามารถดูความผิดปกติของหมอนรองกระดูก เส้นประสาทและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue)
    • Computerized Tomography (CT Scan) ภาพถ่ายทางรังสีด้วยวิธี CT Scan ใช้ดูโครงสร้างของกระดูกคล้ายกับการดู Plain film แต่มีความละเอียดกว่ามาก และมีการตัดภาพของแต่ละส่วนในระนาบต่าง ๆ ทำให้เห็นพยาธิสภาพของกระดูกได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามข้อเสียของ CT Scan คือไม่สามารถดูเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมถึงหมอนรองกระดูก
    • Resonance Imaging (MRI) การถ่ายภาพกระดูกสันหลังด้วยการ x-ray คลื่นสนามแม่เหล็ก เป็นการส่งตรวจที่ให้ความละเอียดสูงสุดและสามารถให้มุมมองภายในของกระดูกสันหลังในทุกระนาบ สามารถดูได้ทั้งหมอนรองกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก น้ำไขสันหลัง รวมทั้งสามารถบอกพยาธิสภาพได้ เช่น มีการอักเสบ หนอง เลือด เป็นต้น ดังนั้นการตรวจ MRI จึงเป็นการตรวจที่ดีที่สุดในการค้นหาความผิดปกติและช่วยวินิจฉัยโรคที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลัง
การักษาและฟื้นฟูอาการปวดหลังส่วนล่าง


เมื่อปวดหลังส่วนล่างมีอาการรุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง ควรเข้าไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษาต่อไป โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่เหมาะสมกับอาการและข้อจำกัดของคนไข้แต่ละคน เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงจุด สำหรับวิธีการรักษาก็จะมีตั้งแต่การใช้ยา และการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟื้นฟู

  1. ยา การใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดความปวดเส้นประสาทจะถูกจัดให้ตามความเหมาะสม และตามโรคที่คนไข้เป็น แพทย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับตัวโรคและข้อควรระวังในการใช้ยา
  2. กายภาพบำบัด มุ่งเน้นการดูแลรักษา แก้ไขความเจ็บปวดฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น สำหรับผู้ที่ปวดหลังส่วนล่าง ที่จะออกแบบโปรแกรมให้กับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกันดังนี้
    • การประคบแผ่นร้อน
    • การลดปวดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น PMS, High Power Laser, Ultrasound และอื่น ๆ
    • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
    • Manual technique และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ปรับท่าทางให้ถูกต้อง
  3. การฉีดยาเข้าโพรงประสาท เพื่อลดการอักเสบของระบบประสาทเส้นนั้น ๆ
  4. การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาขั้นสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำ เมื่อการรักษารูปแบบอื่นๆ ไม่ได้ผล
การป้องกัน
ปัญหาปวดหลังส่วนล่าง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนั้น จึงเป็นโรคที่สามารถลดความเสี่ยงและป้องกันได้ เพียงแค่ต้องมีการดูแลตัวเองให้เป็นอย่างดี และเหมาะสม ดังนี้
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อหลังและแกนกลางลำตัวแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เช่น การยกของหนักมากๆ และการยกให้ถูกวิธี
  • ไม่อยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ หากต้องนั่งทำงานทั้งวันควรเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถทุกๆ 1 ชั่วโมง และหมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังและขา

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ทพญ.ธันวดี อิ่มสมบัติ

ทพญ. ธันวดี อิ่มสมบัติ
ทันตกรรมปริทันตวิทยา

ทพญ. ธันวดี อิ่มสมบัติ

THANWADEE IMSOMBAT,DDS
Specialty
  • ทันตกรรมปริทันตวิทยา

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประกาศนียบัตร ขั้นสูง ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์คลินิก สาขาปริทันตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วุฒิบัตร ปริทันตวิทยา ทันตแพทยสภา

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
TUE 9:00 - 17:00

ทพญ.อรจิรา ลิ้มสุขศิริ

ทพญ.อรจิรา ลิ้มสุขศิริ
ทันตกรรมทั่วไป

ทพญ.อรจิรา ลิ้มสุขศิริ

ORNIJIRA LIMSUKSIRI, DDS.
Specialty
  • ทันตกรรม

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 10.00 – 18.00

ทพญ.จินต์จุฑาภัค ทองดี

ทพญ.จินต์จุฑาภัค ทองดี
ทันตกรรมบูรณะเพื่อความสวยงามและรากเทียม

ทพญ.จินต์จุฑาภัค ทองดี

JINJUDHAPAK THONGDEE, DDS,MSc
Specialty
  • ทันตกรรมบูรณะเพื่อความสวยงามและรากเทียม

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต  (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (โล่รางวัลเรียนดี คะแนนรวมสูงสุดตลอดหลักสูตรยอดเยี่ยมวิชาทันตกรรมประดิษฐ์) ตลอด 6 ปีการศึกษา
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมบูรณะเพื่อความสวยงามและทันตกรรมรากเทียม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะทันตแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Advanced Implantology, School of Dentistry UCLA, USA 
  • Other UCLA Continuing Education courses at UCLA, USA

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
WED พุธที่ 1, 3, 5 (9:00 - 15:00)
พุธที่ 2, 4 (9:00 - 12:00)
SUN 09:00 - 13:00 อาทิตย์ที่ 3

ทพญ.เอมิกา พฤทธ์ลาภากร

ทพญ.เอมิกา พฤทธ์ลาภากร
ทันตกรรมประดิษฐ์

ทพญ.เอมิกา พฤทธ์ลาภากร

EMIKA PRUITTAPAKORN, DDS.
Specialty
  • ทันตกรรมประดิษฐ์

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประกาศนียบัตร บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์คลินิก สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประกาศนียบัตร ขั้นสูง ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์คลินิก สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • CONTINUING EDUCATION ONE YEAR COURSE IN IMPLANT DENTISTRY CHULALONKORN UNIVERSITY                   

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
FRI 10:00 - 18:00
SAT 10:00 - 12:00 เสาร์ที่ 2