นมแม่ดีที่สุด
นมแม่ดีที่สุด
ฺBreastfeeding
องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกด้วยองค์ประกอบด้านโภชนาการ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและยังมีเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งจากเซลล์จากแม่ รวมถึงแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกด้วย เด็กทารกที่เกิดใหม่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับเด็ก เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคจำนวนมากที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย การได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ทารกเติบโตได้สมบูรณ์แข็งแรง เหนือสิ่งอื่นใด ขณะที่แม่ให้นมจะต้องโอบกอดลูกไว้ข้างนอก แม่ลูกสบตากัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นวิธีสร้างสายใยความรักความผูกพันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งระหว่างแม่กับลูก
ประโยชน์นมแม่ วัคซีนหยดแรกสำหรับลูกน้อย
- สมอง โอกาสเพิ่มระดับ IQ 3.16 จุด ในทารกครบกำหนดและ 5.26 จุด ในทารกเกิดก่อนกำหนด
- สายตา พัฒนาการมองเห็น สายตาคมชัด
- หู ลดโอกาสเป็นโรคหูน้ำหนวก
- ช่องปาก กรามล่างแข็งแรง ฟันเกน้อยลง เมื่อโตขึ้น
- ไต แข็งแรงขับของเสียน้อยกว่า
- ผิวพรรณ ลดโอกาสภูมิแพ้ผิวหนัง 42%
- ระบบทางเดินปัสสาวะ โอกาสติดเชื้อน้อยกว่า
- ระบบทางเดินอาหาร ลดโอกาสโรคท้องเสียและลำไส้อักเสบน้อยกว่า 64% การย่อยดี แทบไม่มีปัญหาท้องผูก
- ระบบทางเดินหายใจ โอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ ปอดบวมน้อยกว่า ทารกกินนมผสม 60% และโรคหืด
การเตรียมตัวเพื่อให้นมลูกอย่างมีประสิทธิภาพ
หัวนมที่มีปัญหาควร ได้รับการแนะนำและ หาวิธีแก้ไข ตั้งแต่ช่วงเวลาที่มาฝากครรภ์ ดังเช่นกรณีต่อไปนี้
วิธีแก้ไข
- Nipple Rolling โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับด้านข้างของหัวนมที่ติดกับลานนมยืดขึ้นและค้างไว้หรือนวดคลึงเบาๆทำซ้ำ 10 ครั้งวันละ 2 ครั้ง
- Hoffmann's Maneuver โดยให้วางหัวแม่มือชิดโคนหัวนม กดนิ้วพร้อมรูดจากฐานหัวนมในทิศทางซ้ายขวาออกเบาๆ เปลี่ยนเป็นวางในทิศบนล่างและดึงออกเบาๆ นับเป็น 1 ครั้ง ควรบริหารข้างละ 30 ครั้งหลังอาบน้ำ จะให้ผลดีในรายหัวนมบุ๋มเล็กน้อย
- การใช้ปทุมแก้ว (Breast shells หรือ Breast cups)โดยจะใส่ไว้ใต้ยกทรง ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เริ่มต้นด้วยใส่วันละ 2-3 ชั่วโมง เมื่อคุ้นเคยแล้วให้ใส่เฉพาะกลางวัน เมื่อคลอดลูกแล้วให้ใส่ก่อนให้นมบุตร 30 นาทีก่อนให้ลูกดูดนม
- Syringe Puller โดยดึงลูกสูบขึ้นประมาณ 1/3 ของกระบอกแล้ว นำด้านที่มีปีกมาครอบหัวนมให้สนิทดึงลูกสูบช้าๆจนเห็นหัวนมยื่นยาวออกมา
- Nipple Puller ใช้นิ้วมือบีบกระเปาะยางแล้วไปครอบหัวนมปล่อยนิ้วที่บีบกระเปาะเบาๆ
ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี
ใหัโดยเริ่มให้ลูกดูดนมโดยเร็วตั้งแต่หลังคลอดภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำนมออกเร็ว การให้ลูกดูดนมบ่อยๆภายใน 24 ชั่วโมงแรก หลังคลอด ลูกควรดูดนม 8-12 ครั้งและต้องให้ลูกดูดนมให้ถูกวิธี คือให้ลูกอมหัวนมให้ถึงลานนม สามารถป้องกันการเกิดนมคัดหรือหัวนมแตกได้
ลูกดูดนมได้ดี ขึ้นอยู่กับท่าอุ้ม
อาหารที่เหมาะสมสำหรับแม่ที่ให้นมลูก
ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรทานแคลเซียมและธาตุเหล็กเสริม หลีกเลี่ยงการซื้อยาทานเองเพราะยาบางชนิดอาจผ่านเข้าน้ำนมและควรดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
นวดเต้านม ให้ถูกวิธ
เนื่องจากในเต้านมมีเนื้อเยื่อที่มีหลอดเลือด และน้ำเหลืองการนวดจะช่วยหมุนเวียนการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดกระตุ้นให้เนื้อเยื่อคลายตัวและส่งเสริมการระบายน้ำเหลือง ทำให้น้ำนมไหลได้ดี ลดการคัดตึงเต้านม
วิธีช่วยกระตุ้นให้เกิด Milk Ejection Reflex
ขั้นนตอนทั้งหมดควรใช้เวลาประมาณ 20- 30 นาที
- บีบน้ำนมแต่ละข้างออก 5 - 7 นาที (หรือให้น้ำนมไหลน้อยลง)
- กระตุ้นโดยการนวด ลูบและเขย่า
- บีบน้ำนมออกอีกข้างละ 3 - 5 นาที
- กระตุ้นโดยการนวด ลูบและเขย่า
- บีบน้ำนมออกอีกข้างละ 2 - 3 นาที
ข้อเสนอแนะในการให้นมลูก
ตามนโยบายสาธารณะของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
- ช่วงอายุ 6-12 เดือนให้นมแม่ร่วมกับอาหารทารกตามวัย
- ช่วงอายุ 1-2 ปี ให้อาหารตามวัย 3 มื้อร่วมกับนมแม่
ข้อมูลจาก
- มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- http://www.med.cmu.ac.th
- http://www.breastfeedingthai.com/