นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

Sleep Apnea Syndrome


คุณมีอาการแบบนี้ หรือไม่?
  1. ขับรถหรือเข้าประชุมนานๆ แล้วเผลอหลับ
  2. คนที่บ้านบอกว่านอนกรนเสียงดัง ปวดหัวเหมือนนอนไม่พอ
  3. ตรวจร่างกายแล้ว ความดันโลหิตสูงขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
ถ้ามีอาการดังกล่าวคุณอาจเป็น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับโดยไม่รู้ตัว
เรามักเข้าใจผิดกันมานานแล้วว่า คนนอนหลับสนิทต้องมีอาการกรนร่วมด้วย ยิ่งกรนดังก็หมายถึงคนๆ นั้นกำลังนอนหลับฝันดีทีเดียว และคนที่กรนก็มักจะมีรูปร่างที่อ้วนใหญ่ ผู้ที่จมูกอักเสบ โครงหน้าผิดรูป เช่น คางสั้น ลิ้นโต คนที่ทำงานหักโหม นักกีฬา ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทานยานอนหลับ ดื่มแอลกอฮอล์ประจำ สูบบุหรี่จัด เป็นต้น และพบมากในเพศชายมากกว่า เพศหญิง ซึ่งคนเหล่านี้มักมีอาการง่วงนอนทุกสถานที่ หลับได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นขณะขับรถติดไฟแดงนานๆ ซึ่งอาจประสบอุบัติเหตุได้ หรือขณะ นั่งประชุม นั่งเรียน นั่งอ่านหนังสือ ตื่นเช้าทำให้รู้ไม่สดชื่นเหมือนนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ทั้งๆที่นอนเพียงพอแล้ว เวลากลางวันจึงง่วงนอนมากผิดปกติ อาการนอนกรนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่มีการอุดกั้นในทางเดินหายใจมาก จนกระทั่งทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับพบได้ประมาณร้อยละ 25 ในเพศชาย และร้อยละ 15 ในเพศหญิง ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome”
ความผิดปกติในการนอนกรนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. อาการนอนกรนธรรมดา
ไม่มีอันตรายเพราะไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย มีผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้อื่น โดยเฉพาะกับคู่นอน บุคคลอื่นๆ ในครอบครัว เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงาน เช่น ทำให้ผู้อื่นนอนหลับยากหรืออาจมากจนกระทั่งมีผลกระทบต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดังกล่าวได้ เช่น อาจทำให้เกิดการหย่าร้างของคู่สามีภรรยา
2. การกรนแบบก่อโรค
มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome” ผลกระทบที่สำคัญต่อสุขภาพ คือผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน มีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุในท้องถนน และในโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่ายมีอัตราเสี่ยงสูงจะเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาหลายโรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคของหลอดเลือดในสมอง ตลอดจนการมีสมรรถภาพทางเพศที่เสื่อมลง !!!
การตรวจสุขภาพการนอนกรน (Sleep test)
เป็นการตรวจสุขภาพที่สำคัญเพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับด้วย ปัจจุบันจัดว่าเป็นการตรวจสุขภาพมาตรฐานสากล เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคพบบ่อย เช่น ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่าโรคหยุดหายใจขณะหลับเป็นต้น ซึ่งแพทย์จะประมวลประวัติ ผลการตรวจร่างกายทาง หู คอ จมูก และตรวจร่างกายโดยรวมแล้วแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test เพื่อหาระดับความรุนแรงและอาการของโรคจากระดับความลึกของการนอนหลับ โดยเฉพาะในกรณีที่สงสัยว่าจะมีภาวะการณ์หยุดหายใจร่วมด้วยว่าสมองมีการขาดออกซิเจนมากน้อยเพียงใด ซึ่งในขณะนอนหลับจะมีการบันทึกข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดเพื่อที่แพทย์จะทำการวิเคราะห์ผล และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมเป็นลำดับต่อไป
แนวทางการรักษา
  • นอนตะแคง
  • ลดน้ำหนัก
  • การผ่าตัดตกแต่งทางเดินหายใจส่วนบน
  • เครื่องซีแพพ CPAP (Continuous positive airway pressure) เพื่อช่วยหายใจขณะนอนหลับ
เครื่องซีแพพ CPAP
(Continuous Positive Airway Pressure)
เป็นเครื่องผลิตแรงดันอากาศให้เพียงพอในการเปิดทางเดินหายใจในขณะหายใจเข้า เครื่อง CPAP มีประสิทธิภาพเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ในการรักษาปัญหาการขาดลมหายใจ โดยส่งอากาศเข้าสู่ทางเดินหายใจ ผ่านทางหน้ากากครอบจมูกหรือปาก ประโยชน์ของเครื่อง CPAP นอกจากขจัดปัญหาการขาดลมหายใจทำให้ร่างกายไม่ขาดออกซิเจน และมีคุณภาพการนอนดีขึ้นยังช่วยลดปัญหาความง่วงนอนช่วงกลางวัน ลดอุบัติเหตุ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกด้าน นอกจากนั้นการใช้เครื่อง CPAP ยังลดปัญหาสืบเนื่องในระยะยาวจากการขาดอากาศเป็นระยะ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง
โรคเส้นเลือดตีบในสมอง และโรคหัวใจ รวมทั้งโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับ "การนอนกรน"

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคดิสเปปเซีย (Dyspepsia) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อโรคกระเพาะอาหารนั้น คือ โรคที่มีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของบริเวณกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นก็ได้ โดยหากผู้ป่วยได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนจะพบความรุนแรงของโรคกระเพาะอาหารได้แตกต่างกัน ได้แก่ ตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆในกระเพาะอาหารเลยที่เรียกว่าฟังก์ชันนัลดิสเปปเซีย (Functional dyspepsia) พบเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) มีแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) หรือแม้แต่เป็นโรคร้ายแรงคือมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer)

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคกระเพาะอาหาร
  1. การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ในกระเพาะอาหาร
  2. การรับประทานยาที่อาจระคายเคืองกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาละลายลิ่มเลือด
  3. การสูบบุหรี่
  4. การรับประทานเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  5. ภาวะความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล
อาการของโรคกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารสามารถมาพบแพทย์ด้วยอาการสำคัญ 4 แบบ ได้แก่

  1. ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastric pain)
  2. แสบร้อนท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastric burning)
  3. แน่นหรืออึดอัดท้องหลังมื้ออาหาร (Post-prandial fullness)
  4. อิ่มเร็วกว่าปกติ (Early satiation)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารนั้นไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดท้องหรือแสบท้องเสมอไป อาการแน่นหรืออึดอัดท้อง รับประทานอาหารแล้วอิ่มเร็วกว่าปกติ ก็เป็นอาการที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจจะป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน

การตรวจเพื่อวินิจฉัยชนิดของโรคกระเพาะอาหาร

การวินิจฉัยแยกชนิดของโรคกระเพาะอาหารว่าเป็นชนิดใดนั้น มีความจำเป็นต้องอาศัยการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งสามารถเห็นลักษณะความผิดปกติ รวมถึงก้อนเนื้องอกต่างๆบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้อย่างชัดเจน โดยผู้ที่มีความเสี่ยงที่อาจจะป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดร้ายแรงและมีความจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน ได้แก่ มีอาการกลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ มีภาวะซีด น้ำหนักลด อาเจียนต่อเนื่อง อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 55 ปี รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการเป็นซ้ำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหาร

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดมีแผลอาจจะส่งผลทำให้มีเลือดออกจากแผลซึ่งบางครั้งอาจจะรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกหรือเสียชีวิตได้ ทำให้อาเจียนจากภาวะกระเพาะอาหารอุดตัน ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงจากแผลทะลุ แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดเยื่อบุอักเสบและมีการอักเสบเกิดขึ้นแบบเรื้อรังก็อาจส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุและกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารขึ้นมาได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ถึงโรคกระเพาะอาหารควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นจากตัวโรคในภายหลัง

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

ยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารโดยเฉพาะชนิดเยื่อบุอักเสบ หรือชนิดมีแผลประกอบด้วยยาลดกรดชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตามในบางครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคกระเพาะอาหารชนิดฟังก์ชันนัลดิสเปปเซียอาจมีความจำเป็นต้องให้ยากลุ่มอื่นๆร่วมด้วย เช่น ยาที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร ยาที่ลดการตอบสนองของกระเพาะอาหาร เพื่อทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น

หากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ก็มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 2 ชนิดเพื่อกำจัดเชื้อโรคนี้ร่วมด้วย

วิธีปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น อาหารเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ของหมักดอง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม กาแฟ โกโก้ ช็อคโกแลต เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารปริมาณมากๆในหนึ่งมื้อ
  • หลีกเลี่ยงการเอนตัวหรือนอนหลังกินอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาละลายลิ่มเลือด โดยไม่มีข้อบ่งชี้
  • งดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนักหากมีภาวะอ้วน
  • หลีกเลี่ยงการใส่กางเกง กระโปรง หรือเข็มขัดที่รัดแน่นเกินไป
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล
อายุรกรรมโรคเลือด

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล

PAKTHIPA PATTARAROSOL, M.D.
Specialty
  • อายุรศาสตร์โลหิตวิทยา

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตร์บัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วว.อายุรศาสตร์โลหิตวิทยา   คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหววิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
MON 17:00 - 20:00

ความดันโลหิตสูง Hypertension

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาและควบคุมตลอดชีวิต โรคนี้มักพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 15-20 ทั้งเพศหญิงและเพศชายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
ความดันโลหิตสูงคืออะไร
ความดันโลหิตคือแรงดันของกระแสเลือดที่มีต่อผนังหลอดเลือดโดยมีอวัยวะสำคัญที่ควบคุมให้ความดันอยู่ในระดับปกติ เช่นหัวใจ ไต หลอดเลือดที่หดหรือขยายตัวได้เป็นต้น ค่าความดันโลหิตขณะนั่งพักในวัยผู้ใหญ่จะประมาณ 120/80 มม.ปรอท และเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ตามท่าของร่างกาย อาหาร เครื่องดื่ม อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง ปริมาณการออกกำลังกาย เป็นต้น สามารถตรวจวัดความดันโลหิตที่รอบแขนได้ 2 ค่าดังนี้
  1. ความดันซีสโตลิก หรือค่าบนเป็นแรงดันสูงสุดขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวโดยค่าปกติจะไม่เกิน 139 มม.ปรอท
  2. ความดันไดแอสโตลิก หรือค่าล่างเป็นแรงดันขณะที่หัวใจคลายตัวโดยค่าปกติจะไม่เกิน 89 มม.ปรอท
ความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร
ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไป โดยวัดขณะนั่งพัก 5-10 นาที ที่ไม่ได้สูบบุรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง ได้ดังนี้
ความดันโลหิตสูงแบ่งเป็น 2 ชนิด
  1. ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน พบได้มากกว่าร้อยละ 90 ในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
    • พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง
    • โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง
    • บริโภคอาหารรสเค็มหรือเกลือโซเดียมมาก
    • ขาดการออกกำลังกาย
    • ร่างกายมีความไวต่อการสะสมเกลือและโซเดียม
  2. ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ ที่มีสาเหตุของโรค เช่น โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ นอนกรนและหยุดหายใจเฉียบพลันจากยาบางชนิด การตั้งครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น แต่หลังการรักษาต้นเหตุ ความดันสูงจะกลับเป็นปกติในผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเฉพาะค่าบน เนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงระยะแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและที่พบได้บ่อยคือ ปวดมึนท้ายทอยตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาต หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
โรคนี้ถ้าไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆ ร่วมกับมีภาวะไขมันสูง สูบบุรี่ โรคเบาหวานที่ไม่ควบคุม น้ำตาลในเลือดที่สูงจะเร่งทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมโดยมีคราบไขมันพอกที่ผนังหลอดเลือดเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ ก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญได้แก่
  1. หัวใจ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจวาย หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
  2. สมอง เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน หรือแตกทำให้เป็นอัมพาต และถ้าเกิดในตำแหน่งสำคัญอาจเสียชีวิตอย่างรวดเร็วความดันที่สูงรุนแรงเฉียบพลันจะทำให้สมองบวม ปวดศีรษะและซึมลงจนไม่รู้สึกตัว
  3. ไต จากมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอจะเกิดภาวะไข่ขาวรั่วออกทางปัสสาวะ ไตวายเรื้อรัง หรือเฉียบพลัน ซึ่งจะทำให้ความดันยิ่งสูงมากขึ้น
  4. ตา หลอดเลือดแดงในตาแตกและมีเลือดออกทำให้ประสาทตาเสื่อมและอาจตามัวลง
  5. หลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดการโป่งพอง และหรือฉีกขาดของผนังหลอดเลือดจะมีการเจ็บหน้าอกถ้ารุนแรงอาจเสียชีวิต
วิธีการรักษา
เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิคือการควบคุมความดันให้ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรังควรควบคุมให้ต่ำกว่า
  1. เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดัน และปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อยความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่130/80 มม.ปรอท แนวทางการรักษามีดังนี้ ลดน้ำหนักส่วนเกิน   เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ ธัญพืช ปลาและ นมไขมันต่ำระมัดระวังการรับประทานอาหารหวาน ไขมันควบคุมอาหารรสเค็ม    รู้จักคลายเครียด   ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ถ้าเลิกออกกำลังกาย ความดันสูงจะกลับมาใหม่เลิกบุหรี่และเหล้า
  2. ให้ยารักษาความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันยังคงสูงกว่า140/90 มม.ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษา และควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น
  3. ติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ และเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น
ดูแลสุขภาพอย่างไรจึงจะควบคุมได้
  1. รับประทานยา และพบแพทย์ตามนัด ไม่หยุดยาเองแม้ว่าจะมีความดันเป็นปกติ และไม่เปลี่ยนขนาด หรือชนิดยา เพราะประสิทธิภาพของยาจะแตกต่างกันในแต่ละราย ผู้ที่มีอาการจากผลข้างเคียงของยาควรปรึกษาแพทย์
  2. บริโภคอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสหวาน มัน เค็มจัดควรฝึกให้ชินกับอาหารรสธรรมชาติ หรือใช้สมุนไพรปรุงรสแทนและบริโภคแบบสด การบริโภคอาหารเค็มจะทำให้ความดันไม่ลงและดื้อต่อการรักษา
  3. ลดน้ำหนักส่วนเกิน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งในการลดความดันโลหิตผู้ที่ลดน้ำหนักได้ต่อเนื่องทุก 10 กิโลกรัมความดันค่าบนจะลดลงเฉลี่ย 5-20 มม.ปรอท
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 20-30 นาทีแบบต่อเนื่องสัปดาห์ละ 5-7 วัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ เป็นต้นจะช่วยให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
  5. การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น และเป็นสาเหตุของโรคอันตรายอื่น
  6. เลือกบริโภคอาหารลดความดัน (Dietary Approaches to Stop Hypertension, DASH) โดยบริโภคอาหารไขมันต่ำแบบหมุนเวียน เช่น เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ปลา อาหารมังสวิรัติ และเพิ่มการบริโภค ผักผลไม้ ธัญพืชมากขึ้นในแต่ละมื้อ  และลดบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไป
  7. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียด7. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียดและทำจิตใจให้สงบ เช่น ปฏิบัติศาสนกิจ เจริญสมาธิ ฝึกโยคะชี่กง เป็นต้น พบว่าการฝึกหายใจ ช้าน้อยกว่า 10 ครั้ง/นาทีวันละ 15-20 นาที ประมาณ 2 เดือน จะช่วยลดความดันโลหิตได้ประมาณเท่ากับการกินยารักษาความดัน 1 ชนิด
  8. เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ควรแจ้งแพทย์เรื่องความดันโลหิตสูงเนื่องจากยาบางอย่างมีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

รองศาสตราจารย์พิเศษ แพทย์หญิงเด่นนพพร สุดใจ

รองศาสตราจารย์พิเศษ พญ.เด่นนพพร สุดใจ
สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

รองศาสตราจารย์พิเศษ แพทย์หญิงเด่นนพพร สุดใจ

Associate Professor Dennopporn Sudjai, MD
Specialty
  • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อว.เวชศาสตร์ครอบครัว แพทยสภา
  • วว.อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          ตารางออกตรวจ
          วัน เวลา
          SUN 13:00 - 17:00

          การรักษาคลองรากฟัน (Root Canal Treatment)

          การรักษาคลองรากฟัน

          การรักษาคลองรากฟันคืออะไร

          การรักษาคลองรากฟัน คือ กระบวนการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและครองรากฟันที่มีการอักเสบ ติดเชื้อ รวมทั้งทำความสะอาดโพรงฟันและคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรคและอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน รวมถึงการบูรณะตัวฟันเพื่อความสวยงาม และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

           

          ฟันลักษณะใดที่ควรรับการรักษาคลองรากฟัน

          • ฟันที่มีอาการปวดหรือเคยมีประวัติปวดมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
          • ฟันที่ผุ/แตก/สึก/ร้าว/ ลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
          • ฟันที่มีประวัติได้รับอุบัติเหตุรุนแรงและ/หรือฟันมีการเปลี่ยนแปลงสีไปจากเดิม
          • ฟันที่มีตุ่มหนองหรือมีการบวมบริเวณเหงือกหรือบริเวณหน้า

          ข้อดีของการรักษารากฟัน

          • สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้โดยไม่ต้องถอนฟัน ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ฟันเทียมดแทนตำแหน่งฟันที่หายไป
          • หลังการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษารากแล้วพบว่าประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวจะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติเดิมมากกว่าการใส่ฟันเทียมทดแทน
          • ไม่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อการใช้งานหลังการบูรณะฟันมากเท่ากับการใส่ฟันเทียมทดแทน

          ข้อจำกัดของการรักษาคลองรากฟัน

          ไม่สามารถทำได้ในฟันทุกซี่เหมือนกับการถอนฟันซึ่งฟันที่จะสามารถรักษารากฟันได้และให้ผลดีหลังการรักษานั้น ทันตแพทย์จะต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยร่วมกันเช่นตำแหน่งการเข้าทำงาน,ลักษณะของรากฟัน, ความเป็นไปได้ของการบูรณะฟันถาวร หลังการรักษาราก ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในเรื่องวิธีการรักษาที่เหมาะสมและเพื่อวางแผนการรักษาก่อนรับการรักษารากฟัน

          การรักษาคลองรากฟันมีขั้นตอนอย่างไร

          1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและถ่ายภาพรังสีเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและวางแผนก่อนรับการรักษา
          2. ผู้ป่วยจะได้รับยาชาเพื่อระงับความเจ็บปวดระหว่างทำหัตถการและใส่แผ่นยางกันความชื้นตลอดเวลาที่ทำหัตถการ
          3. ทันตแพทย์จะทำการเปิดทางเข้าสู่โพรงฟัน
          4. ทำความสะอาดภายในโพรงพันและคลองรากฟันด้วยเครื่องมือขนาดเล็กร่วมกับน้ำยาล้างคลองรากฟัน รวมทั้งจะมีการใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟันร่วมด้วย
            * การทำความสะอาดคลองรากฟัน ปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับสภาวะการติดเชื้อของฟัแต่ละซี่ *
          5. ทันตแพทย์จะทำการอุดคลองรากฟันให้เต็มแน่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ
          6. บูรณะฟันให้สวยงาม และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            * การบูรณะฟันถาวรหลังการรักษารากฟันถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากฟันที่ได้รับการรักษาฟันเสร็จสมบูรณ์แล้วหากไม่ได้รับการบูรณะฟันถาวรด้วยวิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสม ฟันจะมีความเสี่ยงในการแตกร้าวในอนาคต

          อัตราค่าบริการทันตกรรม

          รักษารากฟัน

          รายการ ราคา
          • ฟันหน้า
          5,000 - 6,000  บาท
          • ฟันกรามน้อย
          7,000 - 8,000  บาท
          • ฟันกรามใหญ่
          12,000 - 13,000  บาท
          • รักษารากฟันซ้ำ คิดเพิ่มซี่ละ
          1,000   บาท

          ครอบฟัน

          รายการ ราคา
          • ครอบฟัน
          12,000 - 18,000  บาท
          • เดือยฟัน
          4,000 - 5,000  บาท
          หมายเหตุ

          หากมีข้อสงสัยหรือต้องการนัดปรึกษาทันตแพทย์ กรุณาติดต่อ คลินิกทันตกรรม โทร 02 587 0144  ต่อ 2331

          ทำอย่างไรเมื่อฟันแท้หลุดจากเบ้า

          ทำอย่างไรเมื่อฟันแท้หลุดจากเบ้า

          เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ฟันแท้หลุดออกจากเบ้ามาทั้งซี่  ทำอย่างไร

          ... อย่าทิ้งฟันซี่นั้นเด็ดขาด

          เหตุการณ์นี้อาจเกิดอุบัติเหตุได้กับทุกคน โดยเฉพาะกับเด็กในวัย 7-11 ปี   ซึ่งเกิดจากการเล่นกีฬา  หรือการชกต่อย  ทำให้ฟันแท้หน้าบน หรือล่าง หลุดออกมาจากเบ้าฟัน เก็บฟันที่หลุดออกมา จับที่ตัวฟัน ไม่จับที่รากฟัน เพราะรากฟันมีเนื้อเยื่อที่มีชิวิต  การใส่กลับไปใหม่จะให้ผลสำเร็จที่ดีถ้าไม่จับที่รากฟัน และนำไปผ่านนมจืด 10 วินาที หากใส่กลับเข้าไปได้ด้วยตัวเอง ให้ใส่กลับไปในตำแหน่งเดิม และใช้ผ้าสะอาดกดไว้นิ่งๆ แล้วพบแพทย์ทันที

           

          Diamond Peel ผลัดเซลล์ผิว ให้อ่อนเยาว์ กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่

          Diamond Peel ผลัดเซลล์ผิว ให้อ่อนเยาว์ กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่

          เป็นการผลัดเซลล์ผิวชั้นหนังกำพร้า โดยอาศัยการทำงานของ หัวขัดผิวหนังคริสตัลชนิด Diamond ซึ่งจะใช้ร่วมกับระบบดูด สูญญากาศ (vacuum) ทำให้การผลัดเซลล์ผิวหนัง และสิ่งอุดตัน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นุ่มนวล และ ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ (hypoallergenic)การผลัดเซลล์ผิวออกในขณะที่มีการ suction ผิวเบาๆ เป็น การกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตของผิวที่ทำการรักษา และยังช่วย กระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่ สร้างคอลลาเจน (collagen) และ อีลาสติน (elastin) ทำให้โครงสร้างผิวมีความแข็งแรงขึ้น ทำการรักษา ได้ในทุกสีผิว (skin type) และทุกส่วนของร่างกาย เช่น ใบหน้า ลำคอ มือ และบริเวณลำตัว หมดกังวลสำหรับผู้ที่มีสี ผิวคล้ำไม่สม่ำเสมอ รอยแผลเป็นจากสิว ริ้วรอย รูขุมขนกว้าง และรอยแตกลาย “คุณจะรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของผิวที่สะอาด กระจ่างใส และเรียบเนียนขึ้น หลังเข้ารับการรักษาในครั้งแรก”

          ประสิทธิภาพการรักษาด้วย Diamond peel

          การรักษาด้วย Diamond peel microdermabrasion เป็นการรักษาที่ปลอดภัยและเป็นการขัดผิวได้อย่างล้ำลึก ทั้งยังกระตุ้นให้ผิวแข็งแรงยิ่งขึ้นโดยใช้ laser-cut diamond เพื่อผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกได้อย่างหมดจด พร้อมทั้ง กระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์ผิวใหม่ที่แข็งแรงขึ้น ทำให้ผิวเรียบเนียน กระจ่างใสและไร้ริ้วรอย

          • ริ้วรอยต่างๆ (Fine lines & wrinkles)
          • รอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวและรอยแผลเป็นต่างๆ (Acne &trauma scars)
          • รูขุมขนกว้าง (Enlarged pores)
          • สิวหัวดำและสิวหัวขาว (Blackheads&whiteheads)
          • จุดด่างดำจากการโดนแสงแดดทำลาย (Sunspots)
          • ผิวไม่เรียบเนียน (Uneven skin texture)

          ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA)และประเทศไทย (THAI FDA)

          • ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับการรักษาทั้งผิวหน้าและผิวกาย
          • เป็นการรักษาที่ไม่เจ็บและไม่มีผลข้างเคียง
          • เป็นการรักษาที่สะอาดและไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือแพ้
          • เห็นผลการรักษาที่ชัดเจนตั้งแต่ครั้งแรกของการรักษา

          คำแนะนำและการดูแลหลังการรักษา

          1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดจัดๆ และความร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดรอยหมองคล้ำ
          2.  ใช้ครีมกันแดด
          3. หากหลังทำการรักษา มีผิวลอก ไม่ควรแกะหรือลอกผิว  ควรทาครีมบำรุงแทน
          4. หลังทำการรักษา ไม่ควรอาบน้ำร้อนจัดๆ เข้าห้องซาวน์น่า หรืออบไอน้ำ และ ไม่ควรออกกำลังกายหนักๆ
          5. ไม่ควรใช้ครีม หรือสารเคมีสำหรับลอกผิว หลังทำการรักษา
          6. ระมัดระวังไม่ให้ผิวบริเวณที่ทำการรักษา สัมผัสกับความร้อนโดยตรง เช่น การใช้ไดร์เป่าผม
          7. ไม่ควรทำการกำจัดขน ฉีดคอลลาเจน ในบริเวณที่ทำการรักษาอย่างน้อย 5 วัน
          8. หยุดใช้ยา Retin-A / Renova หลังการรักษา 7 วัน
          9. งดการอาบแดดอย่างน้อย 3 สัปดาห์หลังการรักษา

          ข้อห้ามในการทำการรักษา

          1. ผู้ที่มีความผิดปกติของผิวหนังในบริเวณที่ทำการรักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (Undiagnosed lesions)
          2. ผู้ที่อยู่ในระยะแสดงอาการของโรคเริม (Herpes)
          3. ผู้ที่เป็นหูดในบริเวณที่รับการรักษา (Wart)
          4. ผิวคล้ำจากการสัมผัสแสงแดด (Sun burn)
          5. ผู้ที่มีสิวอักเสบในระยะที่ 3 – 4
          6. ผู้ที่เป็นผื่นแพ้ (Rosacea)
          7. ผู้ที่เป็นเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้
          8. ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
          9. ผู้ที่ตั้งครรภ์ (Pregnancy)
          10.ในผู้ที่มีสีผิวคล้ำ (Hyper pigmentation)  ควรใช้ระดับแรงดันสูญญากาศต่ำๆ

          รู้ได้อย่างไรว่านิ้วล็อก Trigger Finger

          รู้ได้อย่างไรว่านิ้วล็อก

          มารู้จักโรคนิ้วล็อกกันเถอะ
          โรคนิ้วล็อก ( Trigger Finger )   เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการใช้นิ้วมือมากทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวและขัดขวางการเคลื่อนที่ของเส้นเอ็น

          อุบัติการณ์ของโรค

          • พบได้ประมาณ6% ของประชากรทั่วไป
          • พบได้บ่อยในช่วงอายุวัยกลางคน
          • พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ประมาณ 2-6 เท่า
          • นิ้วที่พบโรคได้บ่อยเรียงตามลำดับดังนี้ : นิ้วหัวแม่มือ นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วก้อย นิ้วชี้

          อาการ
          อาการแสดงมีหลายระดับขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ อาการที่พบได้คือ

          • โดยเริ่มจากอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ
          • นิ้วขัดหรือสะดุดในขณะงอหรือเหยียดนิ้วมือเหยียดออกได้เอง
          • นิ้วล็อกหรือนิ้วติดแข็งอยู่ในท่างอเคลื่อนไม่ได้คือเหยียดไม่ออกหรืองอไม่ลง

          ระดับความรุนแรงของโรคนิ้วล็อก

          • ระยะที่ 1 เส้นเอ็นอักเสบ ทำให้มีอาการ ปวด กดเจ็บ
          • ระยะที่ 2 นิ้วสะดุด ยังสามารถเหยียดนิ้วออกเองได้
          • ระยะที่ 3 นิ้วล็อก ติดในท่างอ ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างช่วยเหยียดออก หรือนิ้วติดในท่าเหยียด งอไม่ลง
          • ระยะที่ 4 นิ้วติดแข็ง ข้อกลางนิ้วติดแข็งในท่างอ

           

          การรักษาโรคนิ้วล็อก

          การรักษาโรคนิ้วล็อกขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและระยะเวลาที่เป็น

          ถ้าอาการไม่รุนแรง หรืออาการเป็นไม่บ่อย การรักษาดังต่อไปนี้อาจให้ผลดี

          • หยุดพักการใช้มือข้างที่เป็น เพื่อป้องกันการใช้งานมากเกินไปของนิ้วข้างที่เป็น
          • ใช้เครื่องพยุงนิ้วมือ โดยช่วยให้ข้อไม่ทำงานมากเกินไป
          • บริหารนิ้วมือในน้ำอุ่น โดยการแช่มือในน้ำอุ่นนานประมาณ 5-10 นาที ในตอนเช้า ซึ่งอาจจะช่วยลดอาการนิ้วล็อกลงได้

          ถ้าอาการรุนแรงมาก

          • รับประทานยาลดการอักเสบ เพื่อลดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น
          • การใช้สเตียรอยด์ฉีดเข้าไปในปลอกหุ้มเอ็นซึ่งช่วยลดการอักเสบ การรักษาด้วยวิธีนี้ ได้ผลดีในผู้ป่วยที่เป็นในระยะแรก การฉีดยาในรายที่เป็นซ้ำ อาจจะต้องเว้นระยะห่างประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการฉีกขาดของเส้นเอ็น
          • การรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเยื่อพังผืดออก ขนาดแผลประมาณ 1-2 ซม. เมื่อรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น วิธีนี้ต้องรอแผลติดและตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะสามารถกลับไปทำงานได้
          • การรักษาด้วยการเปิดแผลเล็กขนาดเท่ารูเข็ม โดยใช้ปลายเข็มสะกิด หรือใช้มีดที่ปลายเหมือนตะขอเกี่ยวตัดเยื่อพังผืดออกใช้ในรายที่เป็นในระยะเริ่มแรก ซึ่งแผลเล็กหายเร็วและสามารถกลับไปทำงานได้เร็ว

          อย่างไรก็ตามแล้ว การหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการทำงานที่เสี่ยงต่อภาวะที่ทำให้เกิดนิ้วล็อกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในรายที่ยังต้องทำงานโดยใช้มืออย่างหนักตลอด อาจจะเกิดการเป็นนิ้วล็อกซ้ำได้ การรักษาด้วยการฉีดยา และการผ่าตัด เป็นสิ่งที่รองลงมาหลังการการรับประทานยาและกายภาพไม่ดีขึ้น

          โปรแกรมและแพ็คเกจ

          คัดกรองมะเร็งเต้านม

          มะเร็งเต้านม ภัยร้าย […]

          ตรวจสุขภาพไปทำงานต่างประเทศ

          ตรวจสุขภาพไปทำงานต่างประเทศ

          Health check for working abroad

          ตรวจสุขภาพไปทำงานต่างประเทศ

          2,200.-


          โรงพยาบาลบางโพ บริการตรวจสุขภาพก่อนเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเพื่อทำงาน ศึกษาต่อหรือแต่งงานในราคาเดียว ตรวจได้ทั้งแบบ ก และ ค เพื่อประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน การตรวจได้แก่ โรควัณโรค โรคปอด ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส และโรคแอดส์ ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละเงื่อนไขของแต่ประเทศ

          บริการตรวจสุขภาพก่อนเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเพื่อทำงาน ศึกษาต่อหรือแต่งงานนั้นมีความสำคัญ เนื่องจากผลในการพิจารณาคัดกรองบุคคลตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศ จึงควรได้รับการตรวจสุขภาพที่ได้มาตรฐานจากสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ โรงพยาบาลบางโพให้บริการด้วยมาตรฐานการรับรองทางห้องปฏิบัติการ ที่ผ่านการรับรองจากสภาเทคนิคการแพทย์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมบุคลากรทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีมาตรฐาน ให้บริการที่ศูนย์ตรวจสุขภาพ ชั้น 3 อาคาร 2 (One Stop Service)
          การตรวจสุขภาพก่อนไปต่างประเทศ เป็นการตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพที่ไม่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตอยู่ที่ต่างประเทศ การตรวจ เช่น โรควัณโรค โรคปอด ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส และโรคแอดส์ ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละเงื่อนไขของแต่ประเทศ ประเทศที่สามารถเข้ารับบริการตรวจมีดังนี้
          • ประเทศเกาหลี
          • ประเทศ ตะวันออกกลาง เช่นคูเวต ดูไบ กาต้า เลบานอน บาห์เรน
          • ประเทศอื่นๆ USA ญี่ปุ่น รัสเซีย ฮ่องกง ยูเครน มาเก๊า ฯลฯ
          ยกเว้น ประเทศบรูไน, อิสราเอล, ซาอุดิอาระเบีย, ไต้หวัน
          แพ็กเกจ
          รายการตวจ
          ราคา
          แบบ ก.
          ตรวจได้ทุกประเทศ ยกเว้นประเทศดังนี้
          • ประเทศบรูไน
          • ประเทศอิสราเอล
          • ประเทศซาอุดิอาระเบีย
          • ประเทศไต้หวัน
          • Physical Examination
            ตรวจร่างกายโดยแพทย์ เฉพาะทาง
          • Complete Blood Count (CBC)
            ตรวจหาความผิดปกติของเม็ดเลือด
          • Urine Examination
            ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
          • Stool Examination with Occult blood
            ตรวจอุจจาระ
          • Chest X-ray
            เอกซเรย์ปอดและหัวใจ
          • Electrocardiogram (EKG)
            คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
          • VDRL
            ตรวจหาเชื้อกามโรค ซิฟิลิส
          • HIV
            ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์
          • VISION TEST
            ตรวจสายตา
          • HBsAg
            ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
          • MALARIA
            มาลาเลีย
          • Anti HCV
            ตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
          • Pregnancy Test
            ตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์
          2,200.-
          (รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
          แบบ ค.
          เฉพาะประเทศเกาหลี
          • Physical Examination
            ตรวจร่างกายโดยแพทย์ เฉพาะทาง
          • Complete Blood Count (CBC)
            ตรวจหาความผิดปกติของเม็ดเลือด
          • Urine Examination
            ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
          • Stool Examination with Occult blood
            ตรวจอุจจาระ
          • Chest X-ray
            เอกซเรย์ปอดและหัวใจ
          • VDRL
            ตรวจหาเชื้อกามโรค ซิฟิลิส
          • VISION TEST
            ตรวจสายตา
          • Audiometry
            ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
          • HBsAg
            ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
          • Blood Group / Rh
            ตรวจหาหมู่เลือด
          • MALARIA
            มาลาเลีย
          • Pregnancy Test
            ตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์
          • Liver Function Test : SGPT/SGOT
            ตรวจการทำงานของตับ
          • Cholesterol
            ตรวจหาระดับไขมันคอเลสเตอรอล
          2,200.-
          (รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
          แบบ ง.
          เฉพาะประเทศญี่ปุ่น
          • Physical Examination
            ตรวจร่างกายโดยแพทย์ เฉพาะทาง
          • Complete Blood Count (CBC)
            ตรวจหาความผิดปกติของเม็ดเลือด
          • Urine Examination
            ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
          • Stool Examination with Occult blood
            ตรวจอุจจาระ
          • Chest X-ray
            เอกซเรย์ปอดและหัวใจ
          • Electrocardiogram (EKG)
            คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
          • Audiometry
            ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
          • Liver Function Test : SGPT, SGOT , GGT
            ตรวจการทำงานของตับ
          • Lipid Profile : Triglyceride, HDL, LDL
            ตรวจระดับไขมันในเลือด
          • Fasting Blood Sugar (FBS)
            ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
          2,200.-
          (รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)

           

          เอกสารที่ต้องนำมาเพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพ
          • บัตรประชาชน ตัวจริง ยังไม่หมดอายุ
          • หนังสือเตินทาง (Passport) ตัวจริง ที่มีวันหมดอายุไม่ต่ำกว่า 18 เดือน
          • รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1.5 -2 นิ้ว 3 รูป
          • เอกสารเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
          การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
          • งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6-8 ชม.สามารถจิบน้ำเปล่าได้
          • พักผ่่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชม.
          • สำหรับผู้รับบริการที่ต้องใช้แว่นสายตา ให้นำแว่นสายตามาด้วย
          • สุภาพสตรีที่มีประจำเดือนให้เลื่อนวันตรวจ จนกว่าประจำเดือนจะหายเป็นปกติ
          • หากต้องการตรวจสุขภาพตั้งแต่ 20 ท่านขึ้นไป กรุณาติดต่อแผนกสื่อสารการตลาด 09-4495-4010
          ให้บริการทุกวัน เวลา 07:00 - 16:00 น.
          ณ ศูนย์ตรวจสุขภาพชั้น 3 อาคารศูนย์การแพทย์ (อาคาร 2)
          วันนี้ - 30 มิถุนายน 2568

          โปรแกรมและแพ็คเกจ

          โรคจอประสาทตาเสื่อม

          จอประสาทตาเสื่อม

          โรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ หรือ โรคเอเอ็มดี เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการตาบอดได้ อาการนั้นเมื่อคนปกติมองไปยังสิ่งต่างๆรอบตัว จะเห็นภาพชัดเจนไม่มีเงาดำมาบดบังส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ แต่ผู้ป่วยโรคเอเอ็มดี เมื่อมองไปยังสิ่งใดๆก็ตามจะพบว่ามีเงาดำบังบริเวณกึ่งกลางของภาพเสมอ ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการ เห็นภาพบิดเบี้ยวก่อน แล้วจึงมีอาการเห็นเงาดำบดบังภาพทีหลัง ส่วนสาเหตุของโรคนี้เกิดจากจุดรับภาพชัด( Macula) ของจอประสาทตาซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็นบริเวณกึ่งกลางภาพเกิดความผิดปกติขึ้น
          แบ่งความผิดปกติ เป็น 2 ชนิด คือ
          1. ชนิดแห้ง (Dry AMD) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยจอประสาทตาจะเสื่อมและบางลง มีผลทำให้การมองเห็นแย่ลงอย่างช้าๆ โดยมากไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ซึ่งโรคเอเอ็มดีชนิดนี้สามารถพัฒนาไปเป็นชนิดเปียกได้
          2. ชนิดเปียก (Wet AMD) พบได้น้อยกว่าชนิดแห้งแต่เป็นชนิดที่มีอาการรุนแรงกว่าสามารถทำให้การมองเห็นแย่มากจนอยู่ในขั้นระดับเลือนรางหรือตาบอดได้ ซึ่งเอเอ็มดีชนิดเปียกนี้จะมีเส้นเลือดงอกผิดปกติที่ใต้จอประสาทตา ทำให้เลือดออกหรือเป็นแผลที่จอประสาทตา ส่งผลให้ผู้ป่วยเห็นเป็นเงาดำบริเวณกึ่งกลางของภาพที่มองเห็น
          แม้โรคเอเอ็มดีชนิดเปียกจะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็ว แต่ถ้าตรวจพบในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมไม่ให้โรคลุกลามได้ โดยสามารถรักษาระดับการมองเห็น และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีการมองเห็นที่ดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถรักษาผู้ป่วยในด้านการมองเห็นจากโรคเอเอ็มดีขั้นรุนแรงให้กลับมามองเห็นได้ชัดเท่าคนปกติ ซึ่งต่างจากต้อกระจก ที่สามรถผ่าตัดสลายต้อและใส่เลนส์เทียมได้ ซึ่งสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นได้ชัดเป็นปกติอีกครั้ง นอกจากนี้โรคเอเอ็มดียงสามารถเกิดได้กับตาทั้ง 2 ข้าง อาจจะเกิดข้างใดข้างหนึ่งก่อนก็ได้โดยที่ผู้ป่วยยังไม่ทันสังเกตเพราะยังมีตาอีกข้างที่ช่วยทดแทนการมองเห็นอยู่ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เมื่อโรคเกิดในตาข้างที่ 2 แล้ว จึงช้าเกินไปในการรักษาตาข้างแรก
          การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น
          การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น(AMD) ด้วยตนเอง สามารถตรวจได้โดยใช้ตารางแอมสเลอร์ (Amsler Grid) ที่เห็นตามตารางข้างล่างนี้
          1. ใช้มือปิดตาข้างซ้าย ถือตารางแอมสเลอร์ในระยะอ่านหนังสือ ห่างจากตาประมาณ หนึ่งฟุต (ให้สวมแว่นสายตา แว่นอ่านหนังสือ หรือคอนแทคเลนส์ได้ตาปกติ)
          2. ใช้ตาข้างขวามองที่จุดดำเล็กๆกลางภาพพยายามแพ่งที่จุดนี้ตลอดเวลา
          3. สังเกตุดูว่ามีตารางส่วนใดที่บิดเบี้ยว หรือมีเงาดำบัง หรือไม่ ถ้ามี....แสดงว่าคุณอาจจะเริ่มมีอาการของโรคเอเอ็มดี ควรรีบไปพบจักษุแพทย์โดยเร็ว
          4. ทดสอบตาข้างซ้ายโดยเอามือข้างขวาปิด และปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้นอีกครั้ง

          ***การทดสอบนี้เป็นการทดสอบความผิดปกติเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทน ควรไปตรวจตาเป็นประจำทุกปีโดยจักษุแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ขึ้นไป

          วิธีการรักษา
          การรักษาโรคเอเอ็มดีชนิดเปียกที่มีในปัจจุบัน ได้แก่ การฉายแสงเลเซอร์ การรักษาโดยโฟโต้ไดนามิก และการฉีกยา Amti- VEGF เข้าน้ำวุ้นลูกตา เป็นต้น โดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
          การป้องกัน
          การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น(AMD) ด้วยตนเอง สามารถตรวจได้โดยใช้ตารางแอมสเลอร์ (Amsler Grid) ที่เห็นตามตารางข้างล่างนี้
          1. ควรสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน
          2. ควรรับประทานอาหารจำพวกผักใบเขียว ผลไม้สด อาหารจำพวกปลา โดยหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมัน
          3. ควรงดสูบบุหรี่
          4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก และ ความดันโลหิต

          โปรแกรมและแพ็คเกจ

          การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

          การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

          CT Calcium Score
          การตรวจหาหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อประเมินภาวะการอุดตันของหลอดเลือด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือประเมินแนวโน้มโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในอนาคต
          ข้อดีของตรวจ CT CALCIUM SCORE
          • ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต
          • ไม่ต้องมีการเตรียมตัว สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
          • ใช้เวลาในการตรวจน้อย ไม่เจ็บตัว
          • ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
          ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ CT CALCIUM SCORE
          • บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
          • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
          • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง
          • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่
          การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
          • ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนรับการตรวจ
          • หลีกเลี่ยงยาที่จะกระตุ้นหัวใจให้ชีพจรเร็วขึ้น
          • งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
          • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
          • เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดคลุมของโรงพยาบาล
          • ถอดเครื่องประดับรอบคอหรือแผ่นต่างๆ ที่ติดบริเวณหน้าอก

          โปรแกรมและแพ็คเกจ

          เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

          การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]