การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

CT Calcium Score
การตรวจหาหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อประเมินภาวะการอุดตันของหลอดเลือด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือประเมินแนวโน้มโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในอนาคต
ข้อดีของตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต
  • ไม่ต้องมีการเตรียมตัว สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ใช้เวลาในการตรวจน้อย ไม่เจ็บตัว
  • ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนรับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงยาที่จะกระตุ้นหัวใจให้ชีพจรเร็วขึ้น
  • งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดคลุมของโรงพยาบาล
  • ถอดเครื่องประดับรอบคอหรือแผ่นต่างๆ ที่ติดบริเวณหน้าอก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

โรคเบาหวาน โรคไขมันและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

โรคเบาหวาน

โรคไขมัน

Title
Title
Description

โรคความดันโลหิตสูง

วัคซีนป้องกันโรคร้าย วัย 50+

วัคซีนป้องกันโรคร้าย วัย 50+

เตรียมความพร้อม สู่ "สังคมสูงวัย อย่างมีสุขภาพดี"


การได้รับฉีดวัคซีนในวัยเด็กเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคก็เพิ่มมากขึ้น  ภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีนอาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไปจึงจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นใหม่ หรือเมื่ออายุมากขึ้นความไวของเชื้อในการก่อโรคมากขึ้น เช่น ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม1 ดังนั้นในผู้สูงอายุก็มีความจำเป็นที่ต้องฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคเช่นเดียวกัน

ผู้ใหญ่อายุ 50 ปี ขึ้นไปทุกคน แพทย์แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค การฉีดวัคซีนป้องกัน ช่วยให้บรรเทาอาการของโรคและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังลดโอกาสเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนอื่น ในวัยผู้ใหญ่ภูมิคุ้มกันจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น จึงต้องมีการกระตุ้นด้วยการฉีดวัคซีน หรืออาจจะเป็นเพราะเชื้อโรคนั้นมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หรือสายพันธุ์ใหม่จนระบบภูมิคุ้มกันเดิมร่างกายไม่รู้จักเชื้อนั้น เช่น ไข้หวัดใหญ่

รายการตรวจ ราคา(บาท)
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
ควรฉีดป้องกันปีละ 1 ครั้ง
849.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ High Dose สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
ควรฉีดป้องกันปีละ 1 ครั้ง
2,500.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนสุกใส (1 เข็ม)
ควรฉีดในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน
1,700.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนตับอักเสบ บี (1 เข็ม)
โดยฉีด 3 ครั้งห่างกัน 4-8 สัปดาห์
660.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนตับอักเสบ บี (3 เข็ม)
ฉีด 3 เข็มป้องกันตลอดชีวิต
1,980.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนตับอักเสบ เอ (1 เข็ม)
ฉีด 1 เข็มป้องกันตลอดชีวิต
1,200.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนตับอักเสบ เอ (1 เข็ม) + บี (3 เข็ม)
ฉีด 4 เข็มป้องกันตลอดชีวิต
3,190.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนบาดทะยัก (1 เข็ม)
360-420.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม 13 สายพันธุ์
ฉีด 1 เข็มป้องกันตลอดชีวิต
3,250.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
วัคซีนงูสวัด (SKYZoster)
5,555.-
(ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)

วัคซีนงูสวัด (RZV) 1 เข็ม
(ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 2 – 6 เดือน)

5,990.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)

วัคซีนงูสวัด (RZV) 2 เข็ม
(ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 2 – 6 เดือน)

11,900.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)

วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

วัคซีนป้องกันไวรัส RSV

วัคซีนป้องกันไวรัส R […]

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

การตรวจสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง MRI

MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือการตรวจสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นการตรวจวินิจฉัยที่ให้ความถูกต้อง แม่นยำสูง เนื่องจากให้ความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี สามารถตรวจได้ทุกระบบในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบสมอง และกระดูกสันหลัง อีกทั้งยังมีเทคนิคพิเศษหลายแบบ เช่น การตรวจผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน การตรวจหาชีวเคมีเพื่อแยกชนิดของก้อนเนื้อ และการตรวจหลอดเลือดทั่วร่างกาย

MRI ยังมีประโยชน์มากในผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากไม่มีอันตรายจากรังสีที่เกิดจากการใช้เอ็กซเรย์

      การตรวจที่ส่งตรวจได้แก่

  • ระบบสมอง เนื้อเยื่อสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาททั่วร่างกาย
  • ระบบช่องท้องทั้งหมด
  • ระบบกล้ามเนื้อ ข้อ และเส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • ระบบหลอดเลือดทั่วร่างกาย

มีข้อจำกัดในการตรวจอวัยวะ ปอด ลำไส้ และหักร้าวของกระดูก

ข้อควรระวัง

  • ผู้ป่วยที่กลัวที่แคบ (Claustrophobic) ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะฝังในร่างกาย เช่น การเปลี่ยนข้อเทียม การใส่เหล็กดามกระดูก คลิปอุดหลอดเลือดในโรคหลอดเลือดโปร่งพอง เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ อวัยวะเทียมภายในหู เป็นต้น
  • ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ไม่ถึง 3 เดือน

สอบถามและปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกอายุรกรรม 02 587 0144 ต่อ 2200
แผนกรังสีวิทยา 02 587 0144 ต่อ 1205