โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย

โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย

Man Health Check Up

โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย : 4,900.-


โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย และรักษาภาวะชายวัยทอง ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศองคชาติไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวไม่เต็มที่ สาเหตุจากปัญหาสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ความเครียด ความวิตกกังวล มีผลทำให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ได้โดยไม่รู้ตัว

โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย

ดูแลสุขภาพคุณผู้ชาย โดยแพทย์เฉพาะทาง
โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย ดูแลสุขภาพคุณผู้ชาย โดยแพทย์เฉพาะทาง พร้อมรักษาภาวะชายวัยทอง ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศองคชาติไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวไม่เต็มที่ สาเหตุจากปัญหาสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ความเครียด ความวิตกกังวล มีผลทำให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ได้โดยไม่รู้ตัว
โรงพยาบาลบางโพ ร่วมส่งเสริมให้คุณมีสุขภาพดี
ตรวจ 12 รายการ เพียง 4,900.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
  • ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ Physical Examination
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC
  • ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด FBS
  • ตรวจหาระดับไขมันในเลือด Cholesterol
  • ตรวจหาระดับไขมันในเลือด Triglyceride
  • ตรวจหาระดับไขมันชนิดดีในเลือด HDL
  • ตรวจหาระดับไขมันชนิดไม่ดีในเลือด LDL
  • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต BUN
  • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต Creatinine
  • ตรวจหาระดับเกลือแร่ในเลือด (Electrolyte)
  • ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
  • ตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • กรุณางดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับเพศชาย ด้วยเครื่อง Shock Wave

การรักษาด้วยเครื่อง Shock Wave เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศสำหรับคุณผู้ชาย โดยส่งคลื่นกระแทกผ่านชั้นผิวหนังลงไปถึงบริเวณเอ็นและกล้ามเนื้อลึกประมาณ 3-4 เซนติเมตร กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น ไม่ต้องพี่งยา ไม่เจ็บ และไม่มีผลข้างเคียง จำนวนครั้งและความถี่ในการรักษาของแต่ละคนขึ้นอยู่กับแพทย์และความรุนแรงของโรค แล้วความสุขของชีวิตคู่จะกลับมาอีกครั้ง


Shock Wave
แพ็คเกจเสริม
จำนวนครั้ง
ราคา
Shock Wave
1 ครั้ง
8,000.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
Shock Wave
3 ครั้ง
22,000.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
Shock Wave
6 ครั้ง
39,000.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
วันนี้ - 31 มกราคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Checklist…โรคฮิตวัยซน

Checklist...โรคฮิตวัยซน

Childhood Hits Disease
 
Checklist…โรคฮิตวัยซน
ลูกเป็นดั่งดวงใจจองพ่อและแม่ ลูกในช่วงวัยทารกถึงวัยเด็ก เป็นช่วงวัยที่ต้องการ การเอาใจใส่ดูแลอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ เพราะระบบภูมิต้านทานและอวัยวะในร่างกายของเด็ก ๆ นั้นเปราะบางไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ ดังนั้นในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงหรือช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง ไข้ชัก เป็นต้น คุณแม่คุณพ่อจึงต้องดูแลเป็นพิเศษ และหากพบอาการผิดปกติ ให้พบกุมารแพทย์ทันที

Checklist…โรคฮิตวัยซน

เลื่อนซ้าย ขวา เพื่อดูข้อมูล

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

5 ไอเดียการเลือกของขวัญให้คุณและคนที่คุณรัก

5 ไอเดียการเลือกของขวัญให้คุณและคนที่คุณรัก

Gift for Health
เริ่มเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข  หลายคนคงมองหาของขวัญให้กับตัวเอง หรือเพื่อมอบให้คนที่เรารัก แต่ของขวัญเหล่านั้นจะได้ประโยชน์ทางด้านไหนกันนะ วันนี้จึงมานำเสนอไอเดียการเลือกของขวัญที่ดีต่อสุขภาพ แต่จะเป็นด้านไหนมาลองดูกันค่ะ
1. ของขวัญที่ดีต่อ สมอง
ของขวัญที่ดีและมีประโยชน์ต่อสมอง ก็คือ ความรู้หรือทักษะใหม่ๆ  การให้ของขวัญเป็นพวกหนังสือต่างๆ หรือ เกมส์เสริมความรู้ หรือคอร์สเรียนเสริม จะช่วยกระตุ้นสมองให้เกิดความคิด ความรู้ และสร้างสรรค์   เพื่อให้ทันกับโลกยุดปัจจุบันด 4.0  ดังนั้นทุกอย่างจะรวดเร็ว การพัฒนาตนเองให้ทันต่อโลกจึงเป็นสิ่งจำเป็นนะคะ
2. ของขวัญที่ดี ต่อ ร่างกาย
ของขวัญสำหรับร่างกาย ก็คงไม่พ้นเรื่องเครื่องประทินผิวต่างๆ ที่ผลิตด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ  รวมถึงอุปกรณ์กีฬา ที่จะส่งเสริมให้ร่างกาย ดู ฟิตแอนด์เฟริ์ม ดูดีจากภายนอก
3. ของขวัญที่ดี ต่อ ใจ
หลังจากที่ดูดีจากภายนอกแล้ว ของขวัญที่ดีสำหรับภายใน  คือการ ‘ให้โอกาส’ กับตัวเอง ทำในสิ่งที่อยากทำ ซึ่งอาจทำได้หลายอย่าง เช่น การไปท่องเที่ยวในที่ใหม่ๆ  ทานอาหารที่ชื่นชอบหรือเมนูใหม่  แม้แต่การเปิดโอกาสรับสิ่งใหม่ๆ เพื่อนใหม่  เทคโนโลยีใหม่  บางคนอาจจะเลือกการฟังธรรม เพื่อจรรโลงจิตใจก็ได้ค่ะ
4. ของขวัญที่ดี ต่อ สิ่งแวดล้อม
ของขวัญชิคๆ สุดฮิตในขณะนี้  คือ กระเป๋ารักโลก หรือถุงผ้าแบบ  DIY  รวมถึงการให้ หรือการร่วมโครงการปลูกต้นไม้  การให้ของขวัญที่ดี ต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการให้ที่สามารถมอบให้กับคนจำนวนมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่
5. ของขวัญที่ดี ต่อ สุขภาพ
ของขวัญชิ้นนี้ คือ การรักษาสุขภาพ เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์  ผักผลไม้ที่เป็นออร์แกนิค หรือออกกำลังกาย  รวมถึงการตรวจสุขภาพ  ตามปกติแล้วเราทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อคัดกรองโรคในผู้ที่ยังไม่มีอาการ และให้เจอโรคในระยะแรกเริ่มต้น  ซึ่งจะทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เป็นอย่างไรกันบ้าง คิดออกหรือยังคะว่าเลือกชนิดไหน แต่ของขวัญเหล่านี้ที่จริงแล้ว เราควรให้กับตัวเองให้ครบทุกชิ้น เพราะแต่ละชิ้นนั้นสร้างคุณค่าต่างๆ กัน ซึ่งอาจจะไม่ต้องเป็นให้ตามเทศกาลเสมอไป แต่เราควรให้กันทุกวันค่ะ โดยเฉพาะของขวัญเพื่อสุขภาพชนิดสุดท้ายที่ควรมอบให้กันทุกๆ ปี เพราะในแต่ละปีเราต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่อยูรอบๆ ตัวและอายุที่มากขึ้นทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ดูแล ป้องกันตั้งแต่วันนี้นะคะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

หาของขวัญให้คุณพ่อจากไลฟ์สไตล์

หาของขวัญให้คุณพ่อจากไลฟ์สไตล์

สำหรับคุณลูกๆ ทึ่ต้องการหาของขวัญให้คุณพ่อในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นในโอกาส "วันเกิด" หรือ "วันพ่อ" เรามาหาของขวัญที่จะทำให้ท่านปลื้มสุดๆ และตรงกับสไตล์ของท่านกันค่ะ แล้วคุณพ่อของคุณจากไลฟ์สไตล์ไหน สายไหนกันนะ?
  1. คุณพ่อสาย Sports
  2. คุณพ่อสาย Adventure
  3. คุณพ่อสาย Chef
  4. คุณพ่อสาย Entertain
  5. คุณพ่อสาย Beauty
คุณพ่อสาย Sports
หากคุณพ่อเป็นคนชอบเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย ท่านจะเป็นคนร่าเริง แจ่มใส มองโลกด้วยทัศนะสุขนิยม ทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่สับสนวุ่นวาย ของขวัญสำหรับคุณพ่อที่ชื่นชอบการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย คุณลูกควรหาเสื้อผ้า คุณภาพ ที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย ใส่แล้วรู้สึกสบาย แค่นี้ก็เป็นปลื้มแล้วล่ะค่ะ
คุณพ่อสาย Adventure
คนพ่อนักนิยมธรรมชาติ ชอบท่องเที่ยว ชอบงานศิลปะ จะเป็นคนที่มีความคิดเฉลียวฉลาด ในบางครั้งหมกหมุ่นกับตนเองมากเกินไป หากชอบเที่ยวภูเขา เป็นคนไม่ค่อยคิดมาก ไม่จริงจัง ชอบเที่ยวทะเล นิสัยคล่องแคล่ว ว่องไว อ่อนไหว เอาแต่ใจตนเอง ของขวัญสำหรับคุณพ่อสายนี้ มักเป็นอุปกรณ์การเดินทาง เช่นกระเป๋าเป้ นาฬิกา แว่นกันแดด หรือรองเท้า ออกแบบมาพิเศษ เป็นต้น
คุณพ่อสาย Chef
คุณพ่อนักทำอาหาร จะเป็นคนกินเก่ง มักจะเพลิดเพลินและมุ่งมั่นกับสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ จะภูมิใจกับสิ่งที่ตัวเองคิดว่าทำแล้วดี นิสัยซน ไม่ชอบอยู่เฉยๆ อยู่ไม่เป็นที่ และช่างพูดช่างคุย ของขวัญสำหรับคุณพ่อสายนี้ คือ พวกเครื่องครัว อุปกรณ์ดีไซน์ทันสมัยพร้อมฟังก์ชั่นพิเศษ หรือรืออุปกรณ์ครบยกชุดค่ะ
คุณพ่อสาย Entertain
หากคุณพ่อเป็นคนที่ชอบดูหนัง ฟังเพลง เป็นกิจวัตรประจำวันในยามว่าง ท่านจะเป็นคนที่มีความสุขกับตัวเอง ไม่พึ่งพาอาศัยคนอื่นมากนัก รักความสงบ มีสติปัญญาดี มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นคนที่จริงใจ แต่ค่อนข้างขี้เหงา เป็นคนช่างสะเทือนใจ ของขวัญสำหรับคุณพ่อสายนี้ คงจะหนีไม่พ้นเรื่องอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น สมาร์ททีวี สมาร์ทโฟน สสมาร์ทวอช อุปกรณ์เสริม เท่ๆ ต่างๆ ค่ะ
แต่ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อสายไหน การที่ท่านมีสุขภาพดีอยู่กับเราไปนานนับเป็นสิ่งที่ดีที่สุดโรงพยาบาลบางโพขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการตอบแทนความห่วงใยของท่าน .... มอบของขวัญ..... มอบสุขภาพดี เป็นของขวัญวันเกิดคุณพ่อ วันพ่อกันนะคะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

นพ.ภาณุพงศ์ ฉัตรอารียกุล

นพ.ภาณุพงศ์ ฉัตรอารียกุล
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ, กระดูกสันหลัง, กระดูกและข้อต่อ

นพ.ภาณุพงศ์ ฉัตรอารียกุล

PANUPONG CHATAREEYAGUL, M.D.
Specialty
  • ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง, กระดูกและข้อต่อ Orthopedic, Spine Surgery , General Surgery

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
FRI 17:00 - 20:00
SUN 08:00 - 12:00

เตรียมสูงวัย..อย่างมีสุขภาพดี

เตรียมสูงวัย..อย่างมีสุขภาพดี

Older Good Health
1 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุสากล (International Day of Older Persons) โดยองค์การสหประชาชาติ กำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534 จัดขึ้นเพื่อแสดงให้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ที่ได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน "บุคลากรสำคัญผู้สร้างคุณงามความดี และคุณประโยชน์ไว้ให้คนรุ่นหลัง “ผู้สูงอายุ” มีความหมายว่า คือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
  1. ผู้สูงอายุตอนต้น (Young old) คือ บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี
  2. ผู้สูงอายุตอนกลาง (Middle old) คือ บุคคลที่มีอายุ 70-80 ปี
  3. ผู้สูงอายุตอนปลาย (Very old) คือ บุคคลที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป
ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี 2567 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า กรมกิจการผู้สูงอายุ เปิดเผยสถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทย และ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มกราคม 2565 โดยมีประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 จำนวน 12,116,199 คน แบ่งเป็นเพศชาย 5,339,610 คน เพศหญิง 6,776,589 คน
  1. ระหว่างอายุ 60-69 ปี จำนวน จำนวน 6,843,300 คน คิดเป็น 56.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
  2. ระหว่างอายุ 70-79 ปี มีจำนวน 3,522,778 คน คิดเป็น 29.1% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
  3. ระหว่างอายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,750,121 คน คิดเป็น 14.4% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
ผู้สูงอายุที่คิดว่าตัวเองเป็นภาระให้กับผู้อื่นอาจจะรู้สึกว่าชีวิตของตนเองนั้นด้อยค่าตามไปด้วย อาจส่งผลให้เผชิญความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและแยกตัวจากสังคม ผู้สูงอายุที่มีทัศนคติต่อความชราภาพไปในเชิงลบจะมีอายุยืนยาวน้อยกว่าผู้สูงอายุที่มีทัศนคติต่อความชราภาพไปในเชิงบวกถึง 7.5 ปี การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสทำงาน ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีค่า สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข ผู้สูงอายุแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ไม่เท่ากัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่าง คือ ประสบการณ์ที่ผ่านมาตลอดชีวิต หากได้รับการฝึกอบรมทักษะต่างๆ การศึกษาเรียนรู้หรือทำงานมาหลากหลายรูปแบบ คนเหล่านี้เป็นผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ ซึ่งจะช่วยให้อยู่ได้อย่างมีคุณค่า
ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ อาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องดูแลและรักษา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกระดูกพรุน โรคเกาต์ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคจอประสาทตา เป็นต้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งผู้สูงอายุบางรายอาจไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ และอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุ คือการทำให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีอิสระ และมีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด
การเตรียมความพร้อมสู่ความสูงวัย
  • ทางร่างกายการมีสภาพร่างกายที่ดีอวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดีมีความแข็งแรง สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติมีความสัมพันธ์กับทุกส่วน และมีประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน
    1. การรับประทานอาหาร
      - เลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ครบทั้ง 5 หมู่ เป็นอาหารที่เหมาะกับวัย
      - รับประทานผักผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง หวาน อาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีรสจัด อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
      - ดื่มน้ำสะอาดอย ่างน้อยวันละ 10 แก้วดื่มนำ้หลังจากตื่นนอนวันละ 3-5 แก้ว ดื่มน้ำก่อนหรือหลังอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำย่อยย่อยอาหารได้เต็มที่
        การออกกำลังกาย
        - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละอย่างน้อย 20 - 30 นาที ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย
        - เลือกวิธีการบริหารร ่างกายที่เหมาะสมกับวัยให้อวัยวะทุกส่วนได้เคลื่อนไหว
        - ออกกำลังกายในที่ที่ปลอดภัย
          การตรวจสุขภาพ
          - การรักษาสุขภาพในช่องปาก พบทันตแพทย์อย่างน้อยทุก 6 เดือน
          - การตรวจวัดสายตาปีละครั้ง
          - การตรวจวัดมวลกระดูก ดัชนีมวลกายเพื่อทราบสุขภาวะตามวัย
          - การตรวจสุขภาพตามช่วงวัย การวัดสายตา การฉีดวัคซีน
          - การตรวจสุขภาพประจำ ปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งหรือทุก 6 เดือน
          - ตรวจสุขภาพกับแพทย์ประจำตัวเพื่อสร้างความคุ้นเคยและสะดวกในการติดตามสุขภาพ
      1. ทางจิตใจปรับตัวเข้ากับสังคม สิ่งแวดล้อม มีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์
      2. ทางปัญญารู้เท่าทันสังคม เรียนรู้ นำความรู้มาปรับใช้ในชีวิต
      3. ทางสังคมมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวและสังคมได้
      การดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี
      การดูแลผู้สูงอายุ มีความจำเป็นและสำคัญมาก เราควรเอาใจใส่ในด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ผู้สูงอายุหลายคนมักรู้สึกเหนื่อยง่ายและเคลื่อนไหวได้ช้าลง บางคนอาจรู้สึกอ่อนเพลียและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบากขึ้น อาการเหล่านี้เป็นปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น เรียกว่า ภาวะแบบนี้ว่า ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ หรือเฟรลตี้ (Frailty) ผู้สูงอายุที่ประสบภาวะนี้จะรู้สึกอ่อนแรง เหนื่อย ไม่มีแรง รวมทั้งน้ำหนักลดลงเอง บุคคลในครอบครัวต้องหมั่นสังเกตว่าญาติผู้ใหญ่ของเราเกิดอาการภาวะเปราะบางหรือไม่ หากเกิดอาการ 3 อย่างขึ้นไป อาจหมายถึง ผุ้สูงอายนั้นๆ กำลังประสบภาวะดังกล่าวอยู่ ควรให้ความสำคัญเพื่อจะได้มีสุขภาพดีขึ้น
      1. รูปร่างผอมลง น้ำหนักตัวลดลงประมาณ 5 กิโลกรัมหรือมากกว่านั้น
      2. เกิดอาการอ่อนเพลีย ยืนเองไม่ค่อยได้หรือไม่มีแรงที่จะถือสิ่งของ
      3. รู้สึกเหนื่อยง่ายมาก ทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ ทำเพียงนิดหน่อยก็จะมีอาการเหนื่อย
      4. สมรรถภาพในการทำกิจกรรมลดลง อาทิ ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เคยชอบ แต่ทำไม่ได้เหมือนแต่ก่อน
      5. เดินช้าลง โดยใช้เวลาเดินในระยะทาง 5 เมตร มากกว่า 6-7 วินาที
      ดังนั้น ลูกหลานควรเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุ ด้วยความรักและความเข้าใจ จะช่วยให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีอิสระ และมีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้ พึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด การดูแลเรื่องสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรได้รับตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี และพบแพทย์หากมีโรคประจำตัว เพื่อเป็นการประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด

      โปรแกรมและแพ็คเกจ

      DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวานโปรแกรมตรวจสุขภาพ ”สมองและระบบประสาท"
      Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

      อาหารบำรุงสายตา

      อาหารบำรุงสายตา

      ดวงตาเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกด้านการมองเห็น เราใช้ดวงตาตั้งแต่เกิด อาจละเลยไม่ใส่ใจสุขภาพดวงตาเท่าที่ควร เราใช้ดวงตาวันละ 16 ชั่วงโมง ประมาณปีละ 5,760 ชั่วโมง ดังนั้นอาการเสื่อมสุขภาพตาจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถชะลอได้ หากเรารู้วิธีการป้องกัน และรู้จักสารอาหารที่จะเข้าไปฟื้นฟูสภาพหรือบำรุงเซลล์ต่างๆ ภายในดวงตา ความผิดปกติทางสายตาสามารถป้องกันและรักษาได้ หากเรารู้วิธีการป้องกันความเสื่อมและรับประทานสารอาหารที่สามารถชะลอการเสื่อมของดวงตาให้มากขึ้น อาจเป็นไปได้ที่จำนวนผู้ป่วยหรือพิการทางสายตาจะลดลง
      การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลายก็เพียงพอกับสุขภาพที่ดีของตา การขาดวิตามินเอจะทำให้มีปัญหาตามัวตอนกลางคืนและตาแห้งได้ แต่มักจะพบในผู้ที่ขาดอาหารอย่างมาก ซึ่งก็จะขาดสารอาหารประเภทอื่นด้วย เช่น โปรตีน วิตามิน เกลือแร่อื่นๆ ไม่ใช่พบในผู้ที่รับประทานอาหารในชีวิตตามปกติ
      ดังนั้น เราควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลาย โดยเฉพาะพวกพืชผักผลไม้และปลา งดสูบบุหรี่ รักษาตัวไม่ให้อ้วน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยลดโอกาสเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุและช่วยบำรุงสุขภาพตาของเรา โดยไม่จำเป็นต้องหาอาหารเสริมอื่นๆ ควรสังเกคสภาพดวงตาและตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ

      โปรแกรมและแพ็คเกจ

      แค่โรคกระเพาะ หรีอ มะเร็ง

      แค่โรคกระเพาะ หรือ มะเร็ง

      stomach cancer
      จุกแน่น ท้องอืด ปวดหรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี
      เป็นอาการที่พบบ่อยในประชากร จากการสำรวจในประชากรไทยพบว่ามีมากกว่าร้อยละ 50 หรือมากกว่าครึ่งที่เคยประสบปัญหานี้ โดยประชากรกลุ่มนี้แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะตรวจไม่พบโรคร้าย แต่ก็มีผู้ป่วยอีกถึง 14% ที่่จะตรวจพบความผิดปกติในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อนชนิดรุนแรง รวมทั้งโรคที่อันตรายอย่างมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งหลอดอาหาร นอกจากนั้นอาการเหล่านี้ก็อาจจะเป็นอาการของอวัยวะอื่นๆได้ เช่น มะเร็งที่ตับ นิ่วในถุงน้ำดี ดังนั้นคงไม่ถูกซะทีเดียวหากเราจะเหมารวมผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่นหรือแสบบริเวณลิ้นปีเป็นโรคจุกแน่นแบบธรรมดาหรือที่มักเรียกกันว่า "โรคกระเพาะ"ทั้งหมด ดั้งนั้นผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรที่จะมาพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการซักประวัติและการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง ไม่ควรที่จะซื้อยามารับประทานเอง เพราะถึงแม้ว่าหลังรับประทานยาแล้วอาการตีขึ้นก็ไม่ได้บ่งบอกว่าผู้ป่วยไม่เป็นโรคร้าย เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารก็สามารถมีอาการที่ดีขึ้นได้จากการกินยาลดกรดในกระเพาะอาหารเช่นเดียวกัน
      มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิตมากเป็นอันดับที่สองของโลก สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคคือมีการติดเชื้อโรคที่ชื่อ "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter py(ori)" โดยหากมีเชื้อโรคชนิดนี้อยู่ในกระเพาะอาหารจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 13 เท่าเลยทีเดียว ในส่วนของอาการนั้นหากมะเร็งยังอยู่ในระยะเริ่มแรกก็จะไม่สามารถแยกโรคกับโรคกระเพาะอาหารแบบธรรมดาได้เลยการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ต้องใช้การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนเท่านั้น แต่หากมะเร็งอยู่ในระยะหลังก็จะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อาเจียนเรื้อรัง อาเจียนเป็นเลือดหรือสีดำ อุจจาระเป็นสีดำ กลืนติดหรือกลืนลำบาก ซีด โลหิตจาง อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซึ่งหากมะเร็งเข้าสู่ระยะหลังแล้วมักจะมีการดำเนินโรคที่รุนแรงอัตราการหายขาดจากโรคจะลดลงจาก 71 % เหลือเพียง 44 เท่านั้น ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรที่จะได้รับการตรวจด้วยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อวินิจฉัยและรักษาเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และเพื่อที่จะได้ค้นพบมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งการกำจัดเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรนี้นอกจากจะลดโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารแล้ว ยังช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
      เมื่อไรควรพบแพาย์
      ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่น ท้องอืด ปวดหรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ควรที่จะมาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนเพื่อป้องกันและรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะแรก โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงดังต่อไปนี้
      1. มีอาการเตือนที่ทำให้สงสัยมะเร็ง คือ เริ่มมีอาการหลังอายุ 50 ปี รักษาแล้วไม่ดีขึ้นหรือมีการกลับเป็นซ้ำของอาการ อาเจียนเรื้อรัง อาเจียนเป็นเลือดหรือสีดำ อุจจาระเป็นสีดำ กลืนติดหรือกลืนลำบาก ซีด โลหิตจางอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ไข้
      2. มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งในอนาคต ได้แก่ มีญาติป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
      3. มีความเสี่ยงของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ มีความจำเป็นต้องกินยาละลายลิ่มเลือดหรือแอสไพรินในระยะยาว มีความจำเป็นต้องกินยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบอย่างเรื้อรัง
      การป้องกัน ย่อมดีกว่าการรักษา ดังนั้นการคัดกรองมะเร็ง อาจทำให้พบมะเร็งได้ในระยะเริ่มต้น

      โปรแกรมและแพ็คเกจ

      Promotion ตรวจเช็คโรคระบบประสาทและสมอง
      คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
      Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

      กินเจ เมนูสุขภาพ วิถีใหม่ ไร้พุง

      กินเจ เมนูสุขภาพ วิถีใหม่ ไร้พุง

      เทศกาลกินเจ คำว่า “เจ” หรือ “ไจ” บนธงอักษรแดง บนพื้นเหลือง มีความหมายว่า “ของไม่มีคาว” สีแดงเป็นตัวแทนของความเป็นสิริมงคลในชีวิต ส่วนสีเหลืองเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล ธงเจนอกจากเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเตือนพุทธศาส นิกชนที่ปฏิบัติตน “ถือศีล-กินเจ” ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 เทศกาลกินเจ เป็นโอกาสดีในการดูแลสุขภาพ ได้ฝึกวินัย ทั้งทางกาย จิต ปัญญา แต่อาหารเจส่วนมากมักจะมีรสหวาน มัน และเค็มจัด ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำว่าให้ลดการบริโภคโซเดียมลงให้น้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยการกินเจวิถีใหม่ เน้นรับประทานผักให้มากขึ้น ลดแป้งและของทอด บริโภคอาหารสุก สะอาด ล้างมือก่อนและหลังปรุงอาหาร งดน้ำมัน ลดแป้ง กินโปรตีน
      1. ทานอาหารที่มีกากใยสูง ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ข้าวกล้อง แอปเปิ้ลเขียว ผักใบเขียว ช่วยระบบขับถ่ายและระบบลำไส้ทำงานได้ดี
      2. เลือกอาหารประเภท ต้ม ตุ๋น นึ่งและย่าง หลีกเลี่ยงเมนูผัดและทอด เช่น เต้าหู้ทอด เผือกทอด มันทอด เห็ดผัดน้ำมัน
      3. ทานข้าวแป้งแต่พอดี หลีกเลี่ยงเมนูอาหารแปรรูปและเมนูแป้ง เช่น เนื้อเทียมจากแป้ง โปรตีนเกษตร ต่าง ๆ
      4. เลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี ทดแทนจากเนื้อสัตว์ เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ธัญพืช ข้าวโพด
      5. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม เพราะอาจเพิ่มน้ำหนักตัวและก่อโรคต่าง ๆ ได้
      6. ทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ไม่ควรเลือกทานอาหารเมนูชนิดเดิมซ้ำทุกวัน
      7. ดื่มน้ำสะอาด 6-8 แก้วต่อวัน หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
      แนะนำเมนูสุขภาพ 3 เมนู ทำได้ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ แคลลอรี่ต่ำ

      Credit Picture : Mai Yom Auon 

      เห็ดอบวุ้นเส้น = 198 kcal
      ส่วนผสม
      1. วุ้นเส้น ไม่ขัดสี
      2. เห็ดชนิดต่างๆ ตามชอบ
      3. ขิงอ่อน
      4. พริกไทย
      5. ซีอิ้วขาว ผสมน้ำอุ่น
      6. น้ำมันรำข้าว
      วิธีทำ
      1. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันรำข้าว นำขิงอ่อนผัดให้เข้ากัน ตามด้วยเห็ดต่างๆที่เราชอบ และเต้าหู้แข็ง ผัดรวมกัน ให้สุกนิ่ม
      2. ใส่วุ้นเส้นไม่ขัดสี ตามด้วย ซีอิ๋วขาวผสมน้ำ เติมพริกไทย เติมน้ำเปล่า คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝารอวุ้นเส้นสุกดี ตักใส่จานนำเสิร์ฟ

      Credit Picture : Booky HealthyWorld

      ลาบเต้าหู้เส้นบุกใส่เห็ด = 190 Kcal
      ส่วนผสม
      1. เต้าหู้ขาวชนิดแข็ง
      2. เห็ดหูหนูและเห็ดนางฟ้า
      3. ผักชีฝรั่งและใบสาระแหน่
      4. วุ้นเส้นแบน
      5. พริกป่น
      6. ซีอิ๋วขาว
      7. น้ำมะนาว
      8. น้ำตาล
      9. ข้าวคั่ว
      วิธีทำ
      1. ตั้งน้ำให้เดือด นำเต้าหู้ขาวแข็ง มาหั่นเป็นชิ้น และนำไปลวกในน้ำ ตามด้วยลวกเห็ดละวุ้นเส้นต่อ
      2. นำของที่ลวกสุกมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตามด้วยปรุงรสใส่ซีอิ๋วขาว น้ำมะนาว น้ำตาล พริกป่น ข้าวคั่ว ผสมให้เข้ากัน โรยผักชีฝรั่งและสาระแหน่ พร้อมเสิร์ฟ

      Credit Picture : Mai Yom Auon 

      หมี่กล้องพันเจ = 193 Kcal
      ส่วนผสม
      1. หมี่กล้อง
      2. เต้าหู้ขาวชนิดแข็ง
      3. เห็ดเข็มทอง
      4. ต้นทานตะวันอ่อน
      5. งาคั่ว
      วิธีทำ
      1. ตั้งน้ำให้เดือด นำเส้นหมี่กล้องไปลวกให้สุก ตามด้วยย่างเต้าหู้และเห็ดให้สุกพอดี
      2. นำเส้นหมี่กล้อง มาพันกับเต้าหู้และเห็ดที่ย่าง วางด้วยต้นอ่อนตะวัน เพิ่มความหอมด้วยงาคั่ว พร้อมเสิร์ฟ
      การรับประทานเจที่ถูกหลักและได้รับสารอาหารที่มีคุณค่ามีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครบ ควรรับประทานอาหารเจให้หลากหลาย ไม่ควรรับประทานอาหารเจชนิดเดียวเป็นเวลานานๆ รับประทานเจจะช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ล้างพิษ รวมถึงช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น/div>

      โปรแกรมและแพ็คเกจ

      อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)

      อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ

      Tonsillitis
      ต่อมทอนซิลคือเนื้อเยื่อในลำคอ 2 ข้างบริเวณโคนลิ้น ทำหน้าที่ดักจับและกรองเชื้อโรค เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไปในร่างกายมากขึ้น นอกจากต่อมทอนซิลแล้วบริเวณผนังลำคอด้านหลังเนื้อเยื่อที่โคนลิ้นและต่อมอะดินอยด์ (Adenoid) ซึ่งอยู่บริเวณคอหลังจมูกก็เป็นตัวช่วยกรองเชื้อโรคเช่นกัน สาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบเกิดจากภาวะที่ร่างกายอ่อนแอหรือติดเชื้อจากผู้อื่นที่เจ็บป่วย เชื้อโรคในช่องปากและคอจะมีปริมาณมากขึ้น ต่อมทอนซิลจะทำงานมากขึ้นเพื่อกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้ ทำให้ทอนซิลแดง บวม และโตขึ้น ซึ่งเรียกว่า ต่อมทอนซิลอักเสบ
      อาการต่อมทอนซิลอักเสบ
      คล้ายโรคคออักเสบทั่วไป คือเจ็บคอร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ไข้ ไอ เสมหะหรือมีน้ำมูก โดยอาการเจ็บคอจะเจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง เมื่ออ้าปากจะพบว่า ทอนซิลมีลักษณะบวมแดงและโตกว่าปกติ ในกรณีที่เป็นเชื้อรุนแรงอาจมีจุดหนองที่ทอนซิลและต่อมน้ำเหลืองข้างลำคอโตด้วย
      อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ
      เชื้อที่เป็นสาเหตุของทอนซิลอักเสบบางชนิดเป็นเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดหนองรอบๆ ทอนซิลถ้าโรคลุกลาม อาจเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจได้ บางชนิดการอักเสบจะมีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและทำให้ไต หรือหัวใจผิดปกติได้ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดสเตรปโตคอคคัส (Streptococcal Tonsillitis)
      ผู้ป่วยที่มีทอนซิลอักเสบบ่อย ๆ ขนาดของทอนซิลจะโต ซึ่งอาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ สังเกตได้จากขณะนอนหลับผู้ป่วยมักจะกรนดังหรือสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ โดยเฉพาะในเด็ก
      การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ
      ถ้าอาการอักเสบไม่มาก เจ็บคอเล็กน้อย ไม่มีไข้ ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา โดยให้พักผ่อนมากขึ้น ดื่มน้ำ รับประทานอาหารให้เพียงพอ ถ้าร่างกายสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ภายใน 2-3 วัน อาการจะดีขึ้น แต่ถ้ามีอาการมาก เช่น มีไข้สูง เจ็บคอมาก ทานอาหารได้น้อย ควรมาพบแพทย์ หากตรวจพบอาการอักเสบค่อนข้างรุนแรง มักจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาอื่น ๆ ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นในช่วง 3-7 วัน
      จำเป็นต้องตัดทอนซิลออกหรือไม่
      ต่อมทอนซิลมีหน้าที่กรองเชื้อโรคไม่ให้ลุกลามเข้าไปในร่างกายดังที่กล่าวแล้ว โดยทั่วไปจะไม่แนะนำให้ตัดทิ้ง แต่หากในกรณีที่มีการอักเสบรุนแรงหรืออันตรายจากทอนซิลอักเสบ ผู้ป่วยที่ควรได้รับการตัดต่อมทอนซิลออก ได้แก่
      • ต่อมทอนซิลที่มีขนาดใหญ่ทำให้เกิดทางเดินหายใจอุดตัน นอนกรน
      • เคยมีภาวะหนองข้างทอนซิล (Peritonsillar abscess) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
      • ต่อมทอนซิลโตกว่าปกติสงสัยว่าอาจเป็นเนื้องอกมะเร็ง
      พิจารณาให้ผ่าตัดทอนซิลออกในกรณีนี้ เช่น มีอาการอักเสบบ่อยมากกว่า 6 ครั้งใน 1 ปีหรือ 3-5 ครั้งใน 2 ปีติดต่อกัน, มีกลิ่นปากจากทอนซิลอักเสบเรื้อรังหรือมีเศษอาหารอุดตันเข้าไปในทอนซิล, ทอนซิลอักเสบชนิดสเตรปโตคอคคัสและทอนซิลที่โตข้างเดียวที่อาจเป็นมะเร็งได้
      อายุเท่าไรที่สามารถตัดต่อมทอนซิลได้
      โดยทั่วไปไม่จำกัดอายุในการผ่าตัดรวมถึงเด็กเล็ก ถ้ามีข้อบ่งชี้ชัดเจน และไม่มีข้อห้ามในการผ่าตัด เช่น มีปัญหาเลือดหยุดยาก โลหิตจาง ไม่สามารถใช้ยาสลบได้หรือมีโรคประจำตัวที่รุนแรง
      การผ่าตัดทอนซิลมีวิธีการอย่างไร
      การผ่าตัดทอนซิลต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโสต ศอ นาสิก โดยใช้เครื่องมือพิเศษตัดทอนซิลออกทางปาก ไม่มีแผลผ่าตัดให้เห็นด้านนอก และมักผ่าตัดโดยการดมยาสลบ
      การผ่าตัดจะใช้กรรไกร มีด และเครื่องจี้ให้เลือดหยุดไหล ในปัจจุบันมีวิทยาการใหม่ ๆ ที่อาจลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดลงได้กว่าวิธีการเดิม เช่น ใช้คลื่นวิทยุหรือเลเซอร์ช่วยในการผ่าตัด

      อันตรายจากการผ่าตัดทอนซิล
      การผ่าตัดทอนซิลเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง ผู้ป่วยอาจมีปัญหาเลือดออกหลังการผ่าตัด ปวดบริเวณแผลทำให้กลืนลำบากหรืออาจเกิดอาการข้างเคียงจากการดมยาสลบ ดังนั้นจึงต้องสังเกตอาการผู้ป่วยในโรงพยาบาล 1 วันหลังจากการผ่าตัด จนแน่ใจว่าปลอดภัยแพทย์จึงอนุญาตให้กลับไปพักผ่อนที่บ้านได้
      ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไข้ ภาวะขาดน้ำ น้ำหนักลด เสียงเปลี่ยน ส่วนอันตรายถึงแก่ชีวิต จากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ มีโอกาสเกิดน้อยมาก
      หลังผ่าตัดทอนซิลออก ทำให้เกิดคออักเสบบ่อยขึ้นหรือไม่
      ถึงแม้ทอนซิลจะถูกตัดออก และตัวกรองเชื้อโรคลดลง แต่เนื้อเยื่อที่โคนลิ้นและผนังลำคอยังสามารถกรองเชื้อโรคแทนต่อมทอนซิลได้เพียงพอ ดังนั้นหลังการผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยดูแลสุขภาพได้ดี ความถี่ของคออักเสบจะเกิดไม่บ่อยขึ้น และมีแนวโน้มที่จะน้อยลง
      การดูแลหลังการผ่าตัดทอนซิล
      ในวันแรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารอ่อนและเย็น เช่น น้ำหวาน ไอศกรีม โยเกิร์ต เยลลี่ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลบวมและมีเลือดออก ในวันถัดไปจะปรับอาหารให้นุ่ม แข็งขึ้น อุ่นขึ้น ประมาณ 2-5 วันขึ้นอยู่กับอาการปวดของผู้ป่วย การรับประทานอาหารปกติและร้อนควรแน่ใจว่าแผลไม่มีปัญหาแล้วจึงจะเริ่มรับประทานได้ ซึ่งมักใช้เวลา 5-7 วัน หลังออกจากโรงพยาบาล 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าแผลหายดีและไม่มีเลือดออกอีก
      วิธีป้องกันไม่ให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบ
      เช่นเดียวกับหลักการดูแลสุขภาพทั่วๆไป และป้องกันการเกิดหวัด โดยควรพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

      โปรแกรมและแพ็คเกจ

      ภาวะสมองเสื่อม

      ภาวะสมองเสื่อม

      (DEMENTIA)
      ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่สมองทำงานผิดปกติ เป็นผลให้มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม บุคลิกเปลี่ยนแปลง ขาดความสามารถในการเรียนรู้และการสื่อสาร ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้
      ภาวะสมองเสื่อม เกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมอง มีแนวโน้มว่าจะเกิดภาวะสมองเสื่อมมากขึ้นตามอายุ โรคอัลไซเมอร์จัดเป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด อาจพบภาวะสมองเสื่อมในโรคหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อทางสมอง เนื้องอกในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง หรือเป็นผลจากการขาดวิตามินบีเป็นเวลานาน หรือเกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือเกิดจากการกินยานอนหลับหรือยากล่อมประสาทเป็นเวลานาน
      อาการ
      1. ความจำเสื่อม นับเป็นอาการแรกๆของภาวะสมองเสื่อม จำชื่อคนใกล้ชิดไม่ได้ ไม่สามารถจำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ วางของแล้วจำไม่ได้ ถามคำถามซ้ำซาก ลืมว่าเคยถามและได้คำตอบแล้ว
      2. ไม่สามารถทำงานที่เคยทำได้ เช่น เคยขับรถได้แต่ขับไม่ได้ เคยหุงข้าวได้กลับหุงไม่เป็น
      3. มีปัญหาด้านภาษา เรียกชื่อญาติหรือคนใกล้ชิดไม่ถูก เรียกสิ่งของผิดไป นึกคำพูดไม่ออก พูดซ้ำซาก สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง
      4. สับสนเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ จำเส้นทางเดินทางไปบ้านตัวเองไม่ถูก จำสถานที่ เวลา หรือเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ได้ บอกไม่ได้ว่าตัวเองอยู่ไหน
      5. มีความผิดปกติในการตัดสินใจ ตัดสินใจช้าและตัดสินใจไม่ถูก ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัดสินใจผิดพลาด
      6. สติปัญญาด้อยลง ขาดความสามารถในการวางแผน บวกนับเลขไม่ถูก ทอนเงินไม่ถูก
      7. วางสิ่งของผิดที่ไม่เหมาะสม เช่น วางแว่นตาในอ่างน้ำ วางถังขยะบนโต๊ะอาหาร และมักหาสิ่งของไม่พบ
      8. อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว หรือซึมเศร้า อาจนั่งร้องไห้โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุ เพราะการสื่อสารไม่เข้าใจ
      9. บุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น หนีสังคม เก็บตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์รอบตัว ในรายที่เป็นรุนแรง จะมีปัญหาการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำเองไม่เป็น ใส่เสื้อผ้าเองไม่เป็น ติดกระดุมเสื้อเองไม่ได้ตักข้าวกินเองไม่ได้
      หากมีอาการความจำเสื่อมร่วมกับอาการอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้นอีก 3 อย่างขึ้นไป และต้องพึ่งพาผู้อื่นในการทำกิจวัตรประจำวัน จึงจะวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม
      การวินิจฉัยโรค
      แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกาย ประวัติจะได้จากญาติใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยเองจะหลงลืมให้ประวัติไม่ได้ จะมีแบบทดสอบความจำ สติปัญญา แบบทดสอบภาวะทางจิตใจ นอกจากนี้แพทย์จะตรวจเลือดและเอ็กซเรย์สมอง เช่น การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองหรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุของโรคที่จะรักษาได้
      การรักษา
      ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่อาจช่วยชะลออาการผู้ป่วยได้ ยกเว้นสภาวะสมองเสื่อมที่มีสาเหตุที่รักษาได้ เช่น เป็นเนื้องอกในสมองก็ผ่าตัดเอาเนื้องอกออก ผ่าตัดแก้ไขโพรงน้ำในสมองขยายตัว งดสารเสพติด รักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น
      นอกจากนี้ต้องรักษาโรคที่เป็นความเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น แพทย์อาจใช้ยาที่ช่วยชะลอความจำเสื่อมและยาที่ช่วยระงับพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น เอะอะก้าวร้าว เห็นภาพหลอน
      การรักษาจะสมบูรณ์ได้ต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วย ให้เข้าใจการดำเนินของโรค เข้าใจลักษณะของผู้ป่วย ให้ผู้ดูแลสามารถติดต่อสื่อสารกับทีมรักษาเพื่อปรึกษาปัญหาให้แก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลควรเป็นผู้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ควรให้ผู้ดูแลมีช่วงเวลาพักเพื่อคลายเครียด เพื่อไม่ให้ความเครียดหรือภาระในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยไม่ดีและยังมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้ดูแลอีกด้วย
      การป้องกัน
      1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างสมดุล หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รสเค็มหรือหวานจัด
      2. งดเสพสุรา และสารเสพติด งดสูบบุหรี่
      3. ฝึกบริหารสมอง เช่น การฝึกใช้มือซ้ายทำงานแทนมือขวาที่ถนัด ฝึกเปลี่ยนเส้นทางเดินที่ใช้ประจำ ฝึกเล่นเกม หัดคิดเลข อ่านหนังสือบ่อยๆ
      4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป สัปดาห์ละ 3 - 5 วัน
      5. ระวังอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางสมอง ใส่หมวกกันน็อค คาดเข็มขัดนิรภัยเวลานั่งรถ
      6. เข้าสังคมผู้สูงอายุ พบปะผู้อื่นบ่อยๆ มีกิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น
      7. รักษาโรคประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ เช่น รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และตรวจสุขภาพประจำปี
      8. ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ฝึกสมาธิ
      หากท่านสงสัยว่าจะมีภาวะสมองเสื่อม ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการในระยะแรกๆ จะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

      >

      โปรแกรมและแพ็คเกจ

      Promotion ตรวจเช็คโรคระบบประสาทและสมอง
      คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
      Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

      สัญญาณอันตราย…โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

      สัญญาณอันตราย...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

      Coronary artery disease :CAD
      โรคหัวใจเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ประชากรไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ   ส่วนใหญ่โรคหัวใจที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
      สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด
      1. เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย  อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
      2. อาการอื่นที่อาจเป็นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นลักษณะเฉพาะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นผลจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะตายในเวลาอันรวดเร็ว ภายใน 6 ชั่วโมง
      โอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
      ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ได้แก่
      1. ผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป
      2. โรคเบาหวาน
      3. ความดันโลหิตสูง
      4. ไขมันในเลือดสูง
      5. สูบบุหรี่
      6. ความเครียด
      7. ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
      8. มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
      หากมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ โอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบยิ่งสูงขึ้น
      ทำไมต้องมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็ว หลังเกิดอาการแน่นหน้าอก
      การมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็วโดยเฉพาะใน 2 ชั่วโมงแรกของการเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่รวดเร็วทันเวลา เพื่อจำกัดบริเวณกล้ามเนื้อส่วนที่ตายไปแล้วและช่วยกล้ามเนื้อส่วนที่กำลังจะตายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
      ผลเสียจากการตัดสินใจล่าช้า
      การตัดสินใจล่าช้าอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้างและลึก เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภาวะช็อคจากหัวใจ  โดยเฉพาะภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังจากเกิดอาการ
      โรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีการแสดงของโรคหลายแบบ
      1. กรณีที่วิกฤตที่สุดจะเกิดคราบแข็งแตกตัวเฉียบพลัน ร่วมกับการเกิดลิ่มเลือดเกาะตัวมารวมกันอุดตันเส้นเลือดทันที ทำให้เกิดอาการหลอดเลือดหัวใจอุดตันในเวลาอันสั้นเป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงโดยไม่เคยรู้ตัวมาก่อน เรียกว่า อาการเจ็บหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome & Acute Myocardial Infarction)
      2. กรณีรองลงมา คราบแข็ง (Plaque) จะพอกตัวขึ้นช้าๆ ลิ่มเลือดเกิดขึ้นครั้งละน้อยๆ และละลายตัวได้ทันเองจากยา ไม่อุดตันในหลอดเลือดส่วนที่แคบจากคราบแข็ง หากการแคบตีบ จะมีอาการเพียง เจ็บหน้าอกร้าวไปไหล่ร่วมกับเหงื่อแตกขณะเจ็บหน้าอก เหนื่อย ความดันโลหิตสูง ถ้าควบคุมไม่ได้ อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจกราฟหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
      3. อาการเจ็บหน้าอกที่บ่งชี้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Angina Pectoris) มักเป็นการเจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก
      การรักษา
      1. รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด
      2. รักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนและการใช้ขดลวดค้ำยัน
      3. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ
      4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ งดอาหารไขมันสูง ลดอาหารแป้งและน้ำตาล งดอาหารเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด
      5. รักษาโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รับประทานยาและติดตามการรักษาต่อเนื่อง
      สัญญาณอันตราย เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น
      หากมีอาการเหล่านี้ควรปร๊กษาแพทย์ ตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจ เพื่อการรักษาก่อนเกิดโรค

      โปรแกรมและแพ็คเกจ

      โปรแกรม ตรวจสุขภาพ S M L

      ชุดตรวจสุขภาพ S, M, […]

      DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

      คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค