โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)

โรคอารมณ์สองขั้ว

Bipolar Disorder

 

30 มีนาคม “วันไบโพลาร์โลก” (World bipolar day) ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาที่ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ต้องพบเจอ สร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนทั่วไปว่าอาการของโรคนี้เป็นอย่างไร และช่วยกันลดความเข้าใจหรือความเชื่อผิดๆ ที่สร้างแผลทางใจต่อผู้ป่วย โรคไบโพลาร์จัดเป็นโรคในกลุ่มจิตเวช ที่เกี่ยวข้องกับด้านอารมณ์ สามารถพบได้สูงถึง 1.5-5% ของจำนวนประชากร มักพบได้บ่อยในช่วงอายุ 15-19 ปี และรองลงมาคืออายุ 20-24 ปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี และยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้สูงถึง 70-90%  กรมสุขชภาพจิต
โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
หรือที่รู้จักกันดีว่า “โรคไบโพลาร์” โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์สองขั้วสลับไปมาอย่างรุนแรง คือช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ (Mania) กับ ช่วงอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ (Depression) โดยในแต่ละช่วงอารมณ์อาจอยู่นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยมีช่วงอารมณ์ปกติคั่นกลางได้ สาเหตุสำคัญเกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจถูกกระตุ้นในผู้ที่มีความเครียดสะสม หรืออดนอนบ่อยๆ ร่วมด้วย การแสดงออกทางอาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1. ภาวะตกต่ำในอารมณ์ (Depressive Episode)
อารมณ์ที่โดดเดี่ยว และเศร้าเสมอไปกับ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ มักมีอาการ
  1. มีอาการซึมเศร้า เก็บตัว เสียใจง่าย ร้องไห้ง่าย
  2. มีปัญหาด้านการนอน นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไป
  3. มีปัญหาด้านการกิน กินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป
  4. สมาธิลดลง ไม่สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้
  5. วิตกกังวลต่อสิ่งรอบตัว มองโลกในแง่ร้าย หรือมีความสุขทางกายลดลง
  6. ขาดความสนใจในกิจวัตรประจำวัน
  7. รู้สึกเบื่อ ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่สนใจกิจกรรมต่างๆ หรือขาดความสุขในกิจกรรมที่เคยชอบ
  8. รู้สึกผิดหวัง ไม่มีความสุข มีความคิดเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ
2. ภาวะขึ้นสูงในอารมณ์ (Manic Episode)
อารมณ์ที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและมีพลังงานมาก อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania) ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ มักมีอาการ
  1. มักคิดว่าตนเองสำคัญ มั่นใจในตัวเองมากขึ้น หรือความรู้สึกมีพลังงานเป็นพิเศษ
  2. นอนน้อยกว่าปกติมาก โดยไม่มีอาการเพลีย หรือไม่นอนเลย
  3. คิดเร็ว พูดเร็ว พูดมากกว่าปกติ
  4. ทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในช่วงเวลานั้น
  5. ภาวะในการตัดสินใจไม่ดี หรือการประสบความสำเร็จที่เกินไป
  6. โต้ตอบต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ไม่มีเหตุผล
  7. ความเสี่ยงทางพฤติกรรมหรือการพึ่งพาตัวเองที่มีความเสี่ยงสูง
สาเหตุของการเกิดโรค
โรคไบโพลาร์เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อสมดุลของสารเคมีในสมองและพฤติกรรมของร่างกาย ได้แก่
  1. พันธุกรรมความเสี่ยงในการเป็นโรคไบโพลาร์สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ หากคุณมีคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคนี้ คุณมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์สูงกว่าคนทั่วไป
  2. สภาพแวดล้อมสภาพแวดล้อมรอบตัวเช่น ความเครียดในชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติดอื่น ๆ ก็อาจมีผลในการเสริมสร้างความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์
  3. ภาวะทางจิตใจการเลี้ยงดูในวัยเด็กหรือวิกฤตในชีวิตที่ประสบกับเหตุการณ์ทางจิตใจที่รุนแรง เช่น การสูญเสียคนในครอบครัว การเหยียดหยาม หรือการเจ็บป่วยร้ายแรง อาจมีผลต่อการพัฒนาของโรคไบโพลาร์
  4. ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนิน ดอปามีน และนอร์อะดรีนาลีน มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์และความผิดปกติในระดับของสารเคมีเหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของโรคไบโพลาร์
  5. โรคร่วมอื่นบางครั้งโรคไบโพลาร์อาจเกิดขึ้นพร้อมกับโรคร่วมอื่น ได้แก่ โรคทางระบบประสาท เช่น โรคลมชัก โรคหลอดเลือดสมอง โรคไมเกรน เนื้องอกสมอง อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน โรคติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์ การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง โรคเกี่ยวกับระบบผู้คุ้มกัน เช่น SLE
วิธีรักษา
โรคไบโพลาร์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาได้ตามอาการ เน้นการควบคุมอารมณ์และลดความรุนแรงของโรค เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว
  1. การรักษาด้วยยาใช้ยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองให้กลับสู่สภาวะปกติ ทำให้อารมณ์มั่นคง สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น หากผู้ป่วยกังวลกับผลข้างเคียงของยา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ และแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแต่ห้ามหยุดยาเอง เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมามีอาการของโรคซ้ำ หรือมีอาการของโรครุนแรงกว่าเดิม ให้ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด และมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  2. การรักษาด้วยจิตบำบัด(Psychotherapy)เป็นการทำจิตบำบัดด้วยการพูดคุยกับผู้ที่มีอาการของโรคไบโพลาร์โดยตรงกับจิตแพทย์ และ/หรือนักจิตวิทยาเพื่อวิเคราะห์สภาพจิตใจ สาเหตุของปัญหา และหาทางออกให้กับปัญหาอันเป็นที่มาของความทุกข์ในใจ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะในการเผชิญกับปัญหา เพื่อให้สามารถเอาชนะปัญหา และอุปสรรคในชีวิตได้
โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายจากอาการผิดปกติและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ หากได้รับการรักษา การลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด ไม่ควรอดนอน และไม่ควรใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์ และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
หากคุณหรือคนรู้จักมีความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อการประเมินอาการและแนวทางการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

โปรแกรมและแพ็คเกจ

วัณโรคระยะแฝง

วัณโรคระยะแฝง

Latent TB
วัณโรคคืออะไร
วัณโรค คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งก่อให้เกิดอาการผิดปกติได้หลายระบบของร่างกายขึ้นกับอวัยวะที่ติดเชื้อ แต่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อในปอด
ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง คืออะไร
ผู้ที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้ ไม่มีอาการผิดปกติ และไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
ทำไมเราถึงต้องให้ความสนใจผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง
ผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงประมาณร้อยละ 10-20 จะเกิดการดำเนินโรคต่อจนเข้าสู่ระยะเป็นวัณโรค นั่นคือ มีเอกซเรย์ปอดผิดปกติ และอาจมีอาการ รวมทั้งสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี ยิ่งมีโอกาสเป็นวัณโรคมากขึ้น และเป็นรุนแรง
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยวัณโรคระยะแฝง คือใคร
1. ผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค แบ่งเป็น
  1. ผู้สัมผัสร่วมบ้าน คือ บุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค
  2. ผู้สัมผัสใกล้ชิด คือ บุคคลที่ไม่ใช่ผู้อาศัยร่วมบ้าน แต่อยู่ร่วมกันในพื้นที่เฉพาะ โดยนับเวลาเฉลี่ย 8 ชั่วโมง/วัน หรือ 120 ชั่วโมง/เดือน ในช่วง 3 เดือนก่อนผู้ป่วยมีอาการหรือก่อนการวินิจฉัย
2 ผู้ติดเชื้อ HIV รวมถึงโรคเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ เช่น ได้รับยากดภูมิ
การวินิจฉัยวัณโรคระยะแฝง ทำได้อย่างไร
  1. การทดสอบทางผิวหนังด้วยทูเบอร์คูลิน โดยการฉีดโปรตีนสกัดจากเชื้อวัณโรค เรียกว่า PPD (purified protein derivative) เข้าในชั้นใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขน หลังจากนั้น 48-72 ชั่วโมงจะทำการวัดรอยนูนบริเวณที่ฉีดยา
  2. การทดสอบ Interferon-gamma release assays (IGRA) เป็นวิธีการทดสอบที่ใช้วิธีการวัดปริมาณ interferon-gamma เมื่อมีการติดเชื้อวัณโรคขึ้นในร่างกาย
โดยที่ความไวและความจำเพาะของ IGRA จะเท่ากับหรือดีกว่าการทดสอบทูเบอร์คูลิน รวมถึงลดการเกิดผลบวกลวงได้
ถ้าตรวจพบว่ามีการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อ
  1. แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการกินยาต้านวัณโรคตามสูตรการรักษาวัณโรคระยะแฝง ประกอบด้วยยา 1-2 ชนิด ระยะเวลา 3-9 เดือน ขึ้นกับสูตรยาที่แพทย์เลือก พบว่าการกินยาต้านวัณโรคสามารถลดการดำเนินโรคจากระยะแฝงไปสู่ระยะเป็นวัณโรคได้ประมาณร้อยละ 70
  2. แพทย์อาจพิจารณาไม่ให้ยาต้านวัณโรค แต่ใช้การติดตามอาการ และเอกซเรย์ปอดทุก 6 เดือน จนครบ 2 ปี เนื่องจากพบว่า ผู้สัมผัสโรคส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดการดำเนินโรคจนเป็นวัณโรค
การจะพิจารณาให้การรักษาต่อด้วยวิธีใด ขึ้นอยู่กับการประเมินประโยชน์ในการลดโอกาสป่วยเป็นวัณโรค ควบคู่ไปกับความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงจากยา อธิบายข้อดีข้อเสีย และให้ผู้ป่วยตัดสินใจร่วมกับแพทย์
อ้างอิง : แนวทางเวชปฏิบัติวัณโรคระยะแฝง พ.ศ.2566

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ทพ.ภูริณัฐ จตุรภัทรไพบูลย์

ทพ.ภูริณัฐ จตุรภัทรไพบูลย์
ทันตกรรมทั่วไป

ทพ.ภูริณัฐ จตุรภัทรไพบูลย์

PHURINAT CHATURAPATPAIBOON, DDS.
Specialty
  • ทันตกรรม

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SAT 09:00 - 18:00 สัปดาห์ที่ 2,4,5

นพ.ลภน หิรัญเพ็ชรกุล

นพ.ลภน หิรัญเพ็ชรกุล
จักษุแพทย์ โรคต้อหิน

นพ.ลภน หิรัญเพ็ชรกุล

LAPHON HIRANPETCHAKUL, M.D.
Specialty
  • จักษุวิทยา
  • ต้อหิน

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตร จักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อนุสาขาต้อหิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
TUE 17:00 - 20:00

พญ.วีรยา กิ่งประทุม

พญ.วีรยา กิ่งประทุม
เวชศาสตร์ฟื้นฟู

พญ.วีรยา กิ่งประทุม

WEERAYA GINGPRATUM, M.D.
Specialty
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู
    Physical Medicine and Rehabilitation 

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วุฒิบัตรแพทยเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
WED 17:00-20:00
SAT 13:00-17:00

พญ.สุพัฒนา ฉัตรร่มเย็น

พญ.สุพัฒนา ฉัตรร่มเย็น
เวชศาสตร์ฟื้นฟู

พญ.สุพัฒนา ฉัตรร่มเย็น

SUPATTANA-CHATROMYEN, M.D.
Specialty
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วุฒิบัตรแพทยเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
FRI 16:00-19:00

พญ.รตณัฐ เหมินทร์

พญ.รตณัฐ เหมินทร์
อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง

พญ.รตณัฐ เหมินทร์

RATANUT HAMINDRA M.D.
Specialty
  • Neurologist
  • สมองเสื่อม พาร์กินสัน โรคลมชัก โรคหลอดเลือดสมอง

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วุฒิบัตร อายรุศาสตร์ สาขาประสาทวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
FRI 17:00 - 20:00 

พญ.กัญญ์วรา ชัยเบญจพล

พญ.กัญญ์วรา ชัยเบญจพล
อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง

พญ.กัญญ์วรา ชัยเบญจพล

KANVARA CHAIBENJAPOL M.D.
Specialty
  • Neurologist
  • สมองเสื่อม พาร์กินสัน โรคลมชัก

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะแพทยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • วุฒิบัตร อายรุศาสตร์ สาขาประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
WED 17:00 - 20:00

พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล

พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล
อายุรแพทย์โรคหัวใจ

พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล

Juthathip Nyamvisetchaikul, M.D.
Specialty
  • อายุรกรรมโรคหัวใจ
    Cardiovascular Medicine

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • อายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
WED 09:00 - 15:00 สัปดาห์ที่ 1,3,5

โปรแกรมตรวจผู้สัมผัสอาหาร

โปรแกรมตรวจผู้สัมผัสอาหาร

Food Handler's Certificate

ตรวจผู้สัมผัสอาหาร Program 1 : 1,390.-

ตรวจผู้สัมผัสอาหาร Program 2 : 1,690.-


โรงพยาบาลขอเสนอแพ็กเกจตรวจผู้สัมผัสอาหาร สำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร หรือขนมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการการันตีความปลอดภัยให้ลูกค้าและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

โปรแกรมตรวจผู้สัมผัสอาหาร

Food Handler's Certificate
ใบรับรองแพทย์ 9 โรค หรือ สณ.11 เป็นเอกสารรายงานสภาวะสุขภาพอนามัยสำหรับผู้ที่จะประกอบอาชีพผู้สัมผัสอาหารหรืองานบริการ ซึ่งจำเป็นต้องตรวจสำหรับยื่นให้กับองค์กรหรือเปิดร้านค้า เพื่อยืนยันว่าไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งอาจจะแพร่เชื้อให้เพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าได้ อาชีพที่ต้องตรวจ เช่น ร้านอาหาร ร้านทำผม ร้านสปา เป็นต้น ออกโดยแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์สภา

โปรแกรมตรวจผู้สัมผัสอาหาร
ผู้สัมผัสอาหาร มีความสำคัญอย่างมาก เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค โรงพยาบาลได้จัดทำโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้ประกอบอาหาร ดังนี้
  • เหมาะสำหรับผู้สัมผัสอาหาร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ประกอบอาหารสู่ผู้บริโภค
  • โปรแกรมนี้ประกอบด้วยรายละเอียดการตรวจ ดังนี้
รายการตรวจ
Program 1
Program 2
ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์
Physical Examination
ใบรับรองแพทย์ 9 โรค สณ.11
ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง/ตรวจวัดความดันโลหิต/ตรวจหาดัชนีมวลกาย/อัตราการเต้นของหัวใจ
ตรวจเอกเซเรย์ทรวงอกระบบดิจิตอล
(Chest X – Ray digital)
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ
(HAV IGG)
ตรวจอุจจาระ
(Stool Culture)
ตรวจอุจจาระ
(Stool Exam & Occult Blood)
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี
(HBs Ag)
ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ บี
(HBs Ab)
ตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ
(Amphetamine)
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
1,390
1,690
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
  • สามารถทานอาหารมาก่อนเข้าตรวจได้ตามปกติ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาระบาย
  • หากมีอาการถ่ายท้อง แนะนำให้เลื่อนการเข้ารับบริการ
หมายเหตุ
  1. ผลการตรวจจะได้รับภายใน 3-5 วัน
  2. กรณีซื้อผ่าน Shop Bangpo กรุณาใช้บริการภายใน 90 วัน นับจากวันที่ซื้อ
  3. เพื่อความสะดวกในการเข้ารับบริการ กรุณานัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 วันก่อนเข้ารับบริการที่ ศูนย์ตรวจสุขภาพ โทร. 02-587-0144 ต่อ 2300 หรือ Line @bangpohospital
  4. แพ็กเกจดังกล่าวไม่สามารถใช้ร่วมกับสิทธิ์และส่วนลดอื่นๆ ได้
  5. ขอสงวนสิทธิ์การคืนเงิน ยกเลิกทุกกรณี แต่สามารถเปลี่ยนแปลงวันรับบริการได้
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Eyelid Treatment ทำความสะอาดเปลือกตา

Eyelid Treatment

ทำความสะอาดเปลือกตา


Eyelid Treatment การนวดและทำความสะอาดเปลือกตา
นวัตกรรมใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาโรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน สลายต่อมไขมันอุดตัน ลดอาการเปลือกตาอักเสบ

ทำความสะอาดเปลือกตา

Eyelid Treatment
ประโยชน์ของการทำความสะอาดเปลือกตา
  • ช่วยละลายไขมันที่ต่อมไขมันที่เปลือกตาให้ระบายออกมาเคลือบฟิล์มน้ำตาได้ดีขึ้น
  • ช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง หรืออาการไม่สบายตา อันเนื่องจากต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน และทำให้อาการตาแห้งดีขึ้น
  • เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเปลือกตาอักเสบ ตากุ้งยิง ตุ่มหนองที่เปลือกตา เป็นต้น
  • ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและสิ่งอุดตันที่อยู่บริเวณเปลือกตา ทำให้เปลือกตาสะอาดขึ้น
  • ช่วยกำจัดตัวไรที่อยู่บริเวณโคนขนตา
ใครบ้างที่ควรดูแลสุขภาพอนามัยเปลือกตา
  • เปลือกตาอักเสบ ตากุ้งยิง
  • ตาแห้ง หรืออาการไม่สบายตา
  • ใส่ Contact Lens เพราะการใส่ Contac Lens จะทำให้เกิดอาการตาแห้ง
  • ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ
  • ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัดบริเวณดวงตา
  • ผู้ที่มีไรเดโมเด็กซ์ คือ ตัวไรที่อยู่บริเวณโคนขนตา
  • ผู้ที่แต่งหน้า หรือชอบดูแลสุขภาพอนามัยของเปลือกตาทุกวัน
ขั้นตอนการนวดและทำความสะอาดเปลือกตา
ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
  • ผู้ใช้บริการนอนหงาย พยาบาลจะนำเแว่นประคบอุ่น สวมให้พอดีกับรอบดวงตา ใช้เวลาประมาณ 10 นาที หรือตามแพทย์สั่งเพื่อให้ไขมันที่เปลือกตาอ่อนตัวลง
  • หลังประคบอุ่นด้วยแว่นประคบอุ่นแล้ว พยาบาลละเริ่มทำการนวดเปลือกตาด้วยสำลีกดรีดไขมันที่อุดตันบริเวณเปลือกตา
  • ทำความสะอาดเปลือกตา ตั้งแต่โคนขนตาจากหัวตาไปหางตา จนทั่วแล้วเช็คทำความสะอาดอีกครั้ง
รายการ
ค่าบริการ
Eyelid Treatment 1 ครั้ง
700.-
Eyelid Treatment 4 ครั้ง
2,400.-
เงื่อนไขการเข้ารับบริการ
  • ราคาแพ็กเกจไม่รวมค่าตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ในการเข้ารับบริการครั้งแรก
  • กรุณาใช้บริการภายใน 90 วัน นับจากวันที่ซื้อ แพ็กเกจดังกล่าวไม่สามารถใช้ร่วมกับสิทธิ์และส่วนลดอื่นๆ ได้
  • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย

นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย
อายุรแพทย์

นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย

DUTSADEE CHARUNVARAKORNCHAI, M.D.
Specialty
  • อายุรกรรม
    Internal Medicine

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุเกล้า
  • วุฒิบัตรอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุเกล้า
ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 17:00 - 20:00