การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

Tooth Replacement
การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ
ฟัน มีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้การออกเสียงเป็นไปได้อย่างชัดเจนทั้งยังช่วยรักษาโครงสร้างของใบหน้า ริมฝีปากให้มีความสมดุลได้อีกด้วย หากต้องสูญเสียฟันธรรมชาติไปโดยมิได้ใส่ฟันเทียมทดแทน ย่อมจะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารต่ำลง อาจทำให้ออกเสียงได้ไม่ชัดและความมั่นใจถูกลดทอนลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้
ถอนฟันไปแล้ว แต่ไม่ใส่ฟันทดแทนได้หรือไม่?
โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ฟัน ทดแทนในทุกๆตำแหน่ง หลังจากที่ถอนฟันไปแล้ว ประมาณ 1 เดือน เนื่องจากหากไม่ได้รับการใส่ฟันทดแทนอาจทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงและฟันคู่สบล้มหรือยื่นยาวมายังช่องว่าง ที่เคยได้รับการถอน (ดังรูป)
null

รูป ฟันล้ม
ส่งผลให้เกิดการสบกระแทก เศษอาหารติด และเกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบและอาจจำเป็นต้องถอนฟันซี่ใกล้เคียงในเวลาต่อมา แต่อย่างไรก็ตามในบางกรณีเช่น ฟันที่ถูกถอนนั้นเป็นตำแหน่งของฟันคุด ฟันเกิน ฟันฝัง ฟันที่ถอนเพื่อจัดฟัน ฟันผิดตำแหน่ง หรือเป็นตำแหน่งที่ ฟันซี่นั้นไม่มีคู่สบและยังเหลือฟันมากพอที่จะสามารถเคี้ยวอาหารได้ดี อาจไม่จำเป็นต้องใส่ฟันทดแทน
การเตรียมสภาวะช่องปากให้พร้อมก่อนการใส่ฟันทดแทน
เพื่อให้ฟันเทียมนั้นสามารถใช้งานได้ยาวนานที่สุด และรองรับพอดีกับฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องซ่อมหรือท่าบ่อยใหม่ๆ ในอนาคต ทันตแพทย์จะวางแผนเตรียมช่องปากก่อนเริ่มขั้นตอนฟันเทียม
ขั้นตอนและวิธีการเตรียมช่องปาก
ในแต่ละรายล้วนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับสภาวะช่องปากในขณะนั้น ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่การอุดฟัน รักษาโรคเหงือก รักษารากฟัน ถอนฟันบางซี่ที่ไม่อาจบูรณะได้ ตกแต่งกระดูกที่คมหรือปลูกกระดูกก่อนฝังรากฟันเทียม เป็นต้น
ฟันเทียมทดแทนชนิดต่างๆ
1. ฟันเทียมชนิดถอดได้
null

รูป 1.1 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานโลหะ)
1.1 ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • การเติมฟัน ในอนาคตทำได้ยากกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • null

    รูป 1.2 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานอะคริลิก/พลาสติก)
    1.2 ฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องผ่าตัด ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
  • สามารถเติมได้หากต้องถอนฟันในอนาคต
  • ฐานฟันปลอมมีความหนามากกว่าโลหะ
  • อาจมี โอกาสแตกหักได้หากทำตกหล่น
  • 2. ฟันเทียมชนิดติดแน่น
    null

    รูป 2.1 รากฟันเทียม
    2.1 รากฟันเทียม (Dental Implant)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟันซี่ใดๆ
  • ให้ความรู้สึกใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • สามารถใช้เป็นฐานเพิ่มการยึด ติดของฟันเทียมถอดได้ทั้งปากได้
  • ต้องมีกระดูกรองรับการฝังรากฟันเทียมที่มาก เพียงพอ
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • การรักษามี 2-3 ขั้นตอนในช่วงเวลาประมาณ 3-6 เดือน
  • null

    รูป 2.2
    2.2 ครอบฟัน (Crown)/สะพานฟัน(Bridge)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • วัสดุมีให้เลือกหลากหลายชนิด มีความแข็งแรงทนทาน มักใช้เพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาแล้ว หรือฟันที่ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่า ฟันเทียมชนิดถอดได้
  • ต้องได้รับการกรอตกแต่งฟันซี่นั้นๆ หรือฟันข้างเคียง
  • การดูแลและท่าความสะอาด ฟันเทียมชนิดต่างๆ
    ฟันเทียมชนิดติดแน่นสามารถแปรงฟันใช้ไหมขัดฟันและแปรงซอกฟันได้ในรายที่ใส่ครอบฟัน (หรือรากฟันเทียม) หากมีสะพานฟันร่วมด้วยแนะนําใช้ Superfloss หรือไหมขัดฟันร่วมกับ Floss Threader ทำความสะอาดใต้สะพานฟันเพราะแม้จะได้รับการครอบฟันแล้ว แต่ฟันก็ยังจะสามารถผุต่อหรือเกิดโรคปริทันต์ต่อได้ในอนาคต
    ฟันเทียมชนิดถอดได้
    • ถอดออกในเวลากลางคืน และแช่ในน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ ไม่ใช้น้ำเย็นจัด/ร้อนจัด
    • แปรงด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน ไม่ใช้ยาสีฟัน ทำความสะอาด เพราะผงขัดอาจทำให้ฐานฟัน ปลอมถูกขีดข่วนได้
    • ใช้งานอย่างระวังมิให้ตกหล่น เนื่องจากสามารถ แตกหักได้
    • หลังทานอาหารทุกครั้งแนะนำาถอดล้างทำความ สะอาด และบ้วนปาก
    • ตรวจเช็คฟันปลอมเป็นระยะทุกๆ 6 เดือน
    • สามารถใช้เม็ดฟูทำความสะอาดฟันปลอมได้
    • สามารถใช้กับกาวยึดติดฟันปลอมได้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    ฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติกเริ่มต้น
    3,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ
    8,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมทั้งปาก (ต่อชิ้น)
    10,000 - 15,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ครอบฟัน (ขึ้นกับชนิดวัสดุ)
    10,000 - 20,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เดือยฟัน
    4,500 - 5,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    รากฟันเทียม(ขึ้นกับยี่ห้อวัสดุ)
    55,000-75,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เอกซเรย์ฟิล์มเล็ก (ฟิล์มละ)
    150 บาท
    เอกซเรย์พานอรามิค (ฟิล์มละ)
    800 บาท

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด – 12 ปี

    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด - 12 ปี

    Oral health care for newborns - 12 years old
    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด-อายุ 12 ปี
    ฟันน้ำนม นอกจากมีหน้าที่ในการบดเคี้ยวและช่วยเสริมสร้างความมั่นใจแล้วยังช่วยทำให้ออกเสียงได้ชัดเจนและเป็นตัวช่วยให้ฟันแท้ขึ้นมาได้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
    กรณีที่ต้องสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดจึงทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นตามมาเกิดปัญหาซ้อนเกหรือหากฟันผุมากจนเกิดอาการปวดฟันทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กทางอ้อมได้
    การดูแลสุขภาพช่องปาก ระยะก่อนฟันน้ำนมขึ้น (0-6 เดือน)
    ผู้ปกครองสามารถใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดบริเวณ เหงือก ลิ้น และกระพุ่งแก้ม ไม่ควรปล่อยให้ลิ้นเป็นฝ้าขาวเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียได้
    null
    การจัดท่าในการทำความสะอาดฟันน้ำนมของเด็กอ่อน
    การดูแลสุขภาพช่องปากระยะฟันน้ำนมค่าดังขึ้น
    • ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี
      เลือกแปรงสีฟันขนนุ่มหน้าตัดตรงขนาด ที่เหมาะสมกับเด็กร่วมกับที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppmได้กรณีเสี่ยงผุสูง) แตะขนแปรงพอเปียก หรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร โดยให้ผู้ปกครองแปรงให้และเช็ดฟองออก
    null
    ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี : บีบยาสีฟันแตะขนแปรงพอเปียกหรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร
    • 3-6 ปี
      ผู้ปกครองบีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppm ได้กรณีเสี่ยงผุสูง)
      ขนาดเท่าความกว้างของแปรง หรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
      และช่วยแปรงฟันให้คอยเตือนให้บ้วนฟองยาสีฟันทิ้ง แต่ไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือเท่านั้น
    null
    3-6 ปี : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความกว้างของแปรงหรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
    • 6 ปีขึ้นไป
      บีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,450-1,500 ppm ขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน แปรงด้วย ตนเองอย่างน้อย 2-3 นาที หลังแปรงให้บ้วนฟองออก โดยไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือ (10 ml)
    null
    6 ปีขึ้นไป : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน
    ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
    null
    ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
    ข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันน้ำนม
    null
    Q หากพบฟันแท้ หน้าล่างขึ้นซ้อนหลังฟันน้ำนมดังรูป จำเป็นต้องรีบถอนฟันน้ำนมหรือไม่ ?
    A หากพบว่าฟันแท้ หน้าล่างนั้นขึ้นมาได้เกินครึ่งชีฟันแล้ว แต่ยังไม่พบว่ามีการโยกของฟันน้ำนม อาจจำเป็นต้องได้รับการถอน แต่หากฟันแท้ขึ้นได้เกินครึ่งที่ฟันและพบว่าฟันน้ำนมโยกมาก อาจปล่อยให้ฟันน้ำนมหลุดออกเองได้
    null
    Q หากพบว่าเด็กมีอาการปวดฟันน้ำนม ทานอาหารลำบาก จำเป็นต้องได้รับการถอนฟันหรือไม่ ?
    A ไม่เสมอไป เพราะหากทันตแพทย์ตรวจพบว่าฟันน้ำนมนั้นมีโครงสร้างตัวฟันที่เหลืออยู่มาก ประกอบกับรากฟันยังเหลือความยาวที่เหมาะสม จากภาพถ่ายรังสีฟันไม่โยกหรืออาจเป็นเวลาอีกนานกว่าที่ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะชิ้นได้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กสามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้ดี ทันตแพทย์อาจพิจารณาทำการรักษารากฟันน้ำนมและทำครอบฟันน้ำนมแทนการถอนฟัน เพื่อให้ฟันน้ำนมนั้นยังสามารถใช้บดเคี้ยวได้และเพื่อรอจนกว่าฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะเริ่มดันขึ้น และรากฟันน้ำนมซี่นั้นก็จะละลายและหลุดไปตามเวลา
    null
    Q ฟันน้ำนมห่าง หรือช้อนเก จะมีผลอย่างไร ต่อฟันแท้หรือไม่ ?
    A ช่วงวัย 2-6 ปี กว่าร้อยละ 60 พบได้ว่าฟันหน้าน้ำนมจะเรียงตัวห่างกัน ซึ่งมีประโยชน์ในการเตรียมที่ไว้ให้ฟันแท้ที่ขนาดใหญ่กว่านั้นขึ้นได้โดยไม่เบียดกัน แต่หากพบว่าชุดฟันน้ำนมมีลักษณะร้อนเก หรือชิดกันมาก อาจเกิดได้จากลักษณะฟันที่ไม่สัมพันธ์กับขากรรไกรซึ่งทำให้มีโอกาสที่ฟันแท้ที่ขึ้นมาอาจซ้อนเกได้ กรณีนี้จึงควรได้รับการติดตามการขึ้นของฟันแท้กับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    null
    Q หากลูกเลิกขวดนมช้า หรือทานนมแล้วนอนจะมีผล อย่างไรต่อฟันหรือไม่?
    A สมาคมทันตแพทย์สาหรับเด็กประเทศสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatric Dentistry) แนะนำให้เลิกขวดนมเมื่อเด็กอายุ 1 ปี - 1 ปีครึ่ง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยว/กลืนอาหารในระดับที่เหมาะสมกับวัย การพัฒนาทางกล้ามเนื้อ การพัฒนาทางด้านภาษาและการพัฒนาทางด้านอารมณ์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    เคลือบหลุมร่องฟัน
    300 - 500.-
    (ต่อซี่)
    ขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์
    600 - 800.-
    รักษารากฟันน้ำนมเด็ก
    2,500 - 3,000.-
    ครอบฟันเด็ก (SSC)
    2,000 - 2,500.-
    ถอนฟันน้ำนม(ต่อซี่)
    500 - 700.-
    (ต่อซี่)
    เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
    150.-
    (ต่อฟิล์ม)
    เอกซเรย์พานอรามิก
    800.-
    (ต่อฟิล์ม)
    อุดฟันน้ำนม
    600 - 1,000.-

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว
    การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นการเฝ้าระวัง ป้องกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็น โรคภัยที่มากับฤดูหนาวแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
    1. โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ
    (เช่น โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ โรคโควิด-19) แพร่กระจายผ่านละอองฝอย เสมหะและน้ำมูก จากการไอ จาม มักมีอาการไข้เฉียบพลัน ไอ หนาว ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตาแดง ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะหายได้เอง แต่กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ที่มีประวัติโรคเรื้อรัง กลุ่มเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรง ในกรณีที่สงสัยเป็น covid-19 ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที และหากผลเป็นบวกให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และเข้ารับการรักษา
    2. โรคติดต่อทางเดินอาหาร
    (เช่น โรคอุจจาระร่วงจากไวรัส) เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำ/น้ำแข็งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค (ตัวอบ่างเช่น ไวรัสก่อโรคทางเดินอาหาร) การรับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก หรือค้างมื้อ ภาชนะที่ใช้ไม่สะอาด โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ส่วนใหญ่อาจหายได้เอง แต่หากมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป อาจทำให้ช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ ป้องกันได้โดยการดูแลสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาดและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด
    3. โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ
    ในช่วงฤดูหนาว (โรคหัด) ติดต่อโดยการไอ จาม หรือพูดคุยระยะใกล้ชิด ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ใน 1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีอาการ มักมีไข้ น้ำมูกไหล จะไอแห้ง มีผื่นขึ้นลักษณะผื่นนูนแดง ติดกันเป็นปื้นๆ ไม่มียารักษาจำเพาะ แต่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคได้ โดยฉีดเข็มแรกอายุ 9-12 เดือน เข็มสองอายุ 1 ปีครึ่ง
    4. ภัยจากอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป
    มีโอกาสเกิดการเสียชีวิตขึ้น ทั้งในและนอกที่พักอาศัย จากการที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องห่มกันหนาวที่เพียงพอ ควรเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มเครื่องดื่มที่ให้ความอุ่น สวมใส่เครื่องนุ่งห่มกันหนาวที่เพียงพอ
    ข้อควรปฏิบัติในการดูแลรักษาสุขภาพในฤดูหนาว
    1. ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สะอาดปรุงสุกใหม่ ๆ ดื่มน้ำที่สะอาดหรือ น้ำต้มสุก น้ำบรรจุขวดที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ (เครื่องหมาย อย.) รวมทั้งเลือกซื้อน้ำแข็งที่สะอาด ไม่มีตะกอน ไม่ควรรับประทานน้ำแข็งที่ใช้แช่อาหารอื่น
    2. รักษาร่างกายให้อบอุ่น ในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง โดยการสวมเสื้อผ้าหลายๆ ชั้น เพื่อให้ร่างกาย อบอุ่น มีความต้านทานโรค
    3. ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    4. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด นาน 15-20 วินาที
    5. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยควรอยู่บ้าน พักรักษา ตัวให้หาย ไม่ควรเข้าไปในที่ชุมชน แต่หากเข้าไปในที่ชุมชนให้สวมหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ จาม
    6. สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ สะอาดอยู่เสมอ
    การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่น รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการป่วย และลดโอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิต

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    PM 2.5 กับโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ

    PM 2.5 และ โรคภูมิแพ้

    PM2.5 คืออะไร?
    PM (Particulate Matter) คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ สามารถอยู่ได้ทั้งในรูปอนุภาคของแข็ง และ ของเหลว เกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติ เช่น ไฟป่า หรือ ฝุ่นเกลือจากทะเล และ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ไอเสียรถยนต์ หรือ การก่อสร้าง เป็นต้น
    PM มีหลากหลายขนาด แต่ฝุ่นละอองที่สามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานมักเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ฝุ่น PM สามารถแบ่งประเภทตามขนาดได้เป็น
    • ฝุ่นหยาบ (Coarse Particle, PM10) คือ ฝุ่นที่มีขนาด 2.5 - 10 ไมครอน ซึ่งฝุ่น PM10 นี้จะไปสะสมบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ส่งผลให้เกิดอาการทางจมูก เช่น คัดจมูก คันจมูก จาม และ น้ำมูกไหล
    • ฝุ่นละเอียด (Fine Particle, PM2.5) คือ ฝุ่นที่มีขนาด 0.1 - 2.5 ไมครอน ฝุ่น PM2.5 นี้มีขนาดเล็กมากขึ้น จึงสามารถไปสะสมในบริเวณทางเดินหายใจส่วนล่างที่ลึกขึ้น และ ปอด ส่งผลให้เกิดอาการ ไอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด และ หอบเหนื่อยได้
    • ฝุ่นละเอียดพิเศษ (Ultrafine Particle, PM0.1) คือ ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมครอน ฝุ่นชนิดนี้มีขนาดที่เล็กมาก จึงสามารถสะสมที่ปอดได้นานมากขึ้น และ สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง
    PM 2.5 และ โรคภูมิแพ้
    ฝุ่น PM2.5 มีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้เป็นอย่างมาก เนื่องจากฝุ่นนี้จะก่อให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจมากยิ่งขึ้น ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วจึงมีอาการกำเริบได้ง่ายเมื่อได้รับ PM2.5 ทั้งโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ หอบหืด และ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
    นอกจากนี้ การได้รับฝุ่น PM2.5 ยังสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ตัวเดิมได้มากขึ้น และ กระตุ้นให้เกิดการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดใหม่ได้อีกด้วย
    การหลีกเลี่ยง และ ป้องกันฝุ่น PM2.5
    1. ตรวจเช็คดัชนีคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ หากระดับ PM2.5 อยู่ในระดับสูง ควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน และ งดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็ก คนชรา หญิงตั้งครรภ์ และ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ และ โรคหัวใจ
    2. สวมหน้ากากทางการแพทย์ หรือ หน้ากาก N95 เมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน
    3. ใช้เครื่องกรองอากาศที่มีตัวกรองอากาศ HEPA Filter (High Efficiency Particulate Air) ตัวกรองนี้จะสามารถกรองฝุ่นที่มีขนาด 0.3 ไมครอนได้ และ สามารถลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้บางชนิดได้อีกด้วย
    4. ล้างจมูก และ ใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดอาการที่อาจถูกกระตุ้นโดยฝุ่น PM2.5 ได้
    ฝุ่น PM2.5 สามารถทำให้ผู้ป่วยภูมิแพ้มีอาการกำเริบได้ หากผู้ป่วยมีอาการแพ้จากฝุ่น PM2.5 และทำให้รบกวนกิจวัตรประจำวัน การทำงาน การเรียน หรือ การนอน ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจประเมิน และ ให้การรักษาอย่างรวดเร็ว หากปล่อยไว้นานอาจทำโรคเรื้อรัง ยากต่อการรักษา และ ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    โปรแกรม Office Syndrome ออฟฟิศ ซินโดรม

    เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับคุณ :

    โปรแกรม Light Office เริ่มต้นเพียง 4,750.-

    โปรแกรม Hard Office เริ่มต้นเพียง 5,750.-


    ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ทำงานในออฟฟิศ ต้องนั่งทำงานตลอดเวลาเคลื่อนไหวร่างกายน้อย และอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ แขน ข้อมือ หรือ ปวดร้าวขึ้นศีรษะแสดงว่าคุณกำลังประสบปัญหา
    “ออฟฟิศซินโดรม”

    โปรแกรมลดอาการ ออฟฟิศ ซินโดรม

    Office Syndrome   
    ออฟฟิศซินโดรม
    ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ทำงานในออฟฟิศ ต้องนั่งทำงานตลอดเวลาเคลื่อนไหวร่างกายน้อย และอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน
    ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ แขน ข้อมือ หรือ
    ปวดร้าวขึ้นศีรษะแสดงว่าคุณกำลังประสบปัญหา “ออฟฟิศซินโดรม”
    โปรแกรม Light Office
    เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ บ่า สะบัก และเวียนศีรษะมาก
    • High power laser 10 นาที
    • Ultrasound 14 นาที
    • Stretching ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
    • Hotpack ประคบร้อน
    โปรแกรม Hard Office
    เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการตึงรั้งหนักคอ บ่า สะบักอย่างมาก
    • PMS 15 นาที
    • Ultrasound 14 นาที
    • Stretching ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
    • Hotpack ประคบร้อน
    รายการ
    Course 3 ครั้ง
    Course 5 ครั้ง
    โปรแกรม Light Office
    เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ บ่า สะบัก และเวียนศีรษะมาก
    4,750.-
    ปกติ 5,100.-
    7,650.-
    ปกติ 8,500.-
    โปรแกรม Hard Office
    เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการตึงรั้งหนักคอ บ่า สะบักอย่างมาก
    5,750.-
    ปกติ 6,150.-
    9,250.-
    ปกติ 10,250.-
    เงื่อนไขการเข้ารับบริการ
    • ราคาแพ็กเกจรวมค่าประเมินอาการโดยนักกายภาพบำบัดและค่าบริการโรงพยาบาล
    • ราคาแพ็กเกจไม่รวมค่าตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ในการเข้ารับบริการครั้งแรก
    • กรุณาใช้บริการภายใน 90 วัน นับจากวันที่ซื้อ
      แพ็กเกจดังกล่าวไม่สามารถใช้ร่วมกับสิทธิ์และส่วนลดอื่นๆ ได้
    • ขอสงวนสิทธิ์ใช้เฉพาะผู้ที่ชำระเงินเท่านั้น และไม่สามารถคืนเงินได
    • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
    วันนี้ - 31 พฤษภาคม 2568

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    รักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

    รักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

    รักษาโรคภูมิแพ้ด้วยคลื่นวิทยุ : 20,000.-


    การรักษาโรคภูมิแพ้ด้วยคลื่นวิทยุ เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้เป็นโรคภูมิแพ้

    รักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

    โรคภูมิแพ้
    โรคภูมิแพ้ หรือโรคจมูกอักเสบเรื้อรัง ถือว่าเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งเลยทีเดียวสำหรับคนเมือง สาเหตุของโรค เกิดจากเยื่อบุจมูกมีความไวผิดปกติเมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคที่สามารถสังเกตได้ เช่น คันจมูก จามติดต่อกันหลายครั้ง มีน้ำมูกใสไหลตลอดเวลา เสมหะไหลลงคอ จมูกไม่ได้กลิ่นหรือได้กลิ่นลดลง หรืออาจมีอาการอื่นๆ เช่น คันตา คันคอ คันหู หรือคันที่เพดานปาก ปวดศีรษะ ปวดหู หูอื้อ เป็นต้น โดยทั่วไปผู้ป่วยมักบรรเทาอาการด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ร่วมกับการใช้ยารับประทาน การใช้ยาพ่นจมูก และการใช้น้ำเกลือล้างจมูก กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้วนั้นปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ในการผ่าตัด เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีหลังการรักษา
    วิธีการรักษา
    • แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
    • ใช้เวลาในการทำการรักษาประมาณ 20 นาที
    • ลดอาการคัน จาม น้ำมูกไหล และเสมหะในคอจะเห็นผลชัดเจนใน 4-6 สัปดาห์
    • ผลนั้นคงอยู่ได้นานถึง 1-2 ปี
    เงื่อนไขการเข้ารับบริการ
    • ราคาแพ็กเกจรวมหัตถการรักษาโรคภูมิแพ้ด้วยคลื่นวิทยุ RF ไม่รวมค่าตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และค่ายากลับบ้าน
    • แพ็กเกจดังกล่าวไม่สามารถใช้ร่วมกับสิทธิ์และส่วนลดอื่นๆ ได้ เช่น ผู้ถือหุ้น บริษัทคู่สัญญา บริษัทประกัน
    • กรณีใช้สิทธิประกัน โรงพยาบาลตรวจสอบสิทธิ์ความคุ้มครอง และจัดการเรื่องเอกสารให้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกัน
    • ผู้เข้ารับบริการชำระค่าใช้จ่าย ณ โรงพยาบาล ในวันที่เข้ารับบริการ
    • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
    วันนี้ - 31 มีนาคม 2568

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    วัคซีนไข้เลือดออก

    วัคซีนไข้เลือดออก

    Dengue Vaccine

    วัคซีนไข้เลือดออก

    1 เข็ม: 3,000.-

    2 เข็ม: 4,777.-


    โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

    โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
    1 เข็ม
    3,000.-
    ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน
    รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
    2 เข็ม
    4,777.-
    ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน
    รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
    ประสิทธิภาพของวัคซีน
    • สามารถฉีดได้อายุตั้งแต่ 4 ปี - 60 ปี
    • สามารถฉีดได้ทั้งคนที่เคยเป็น และไม่เคยเป็นโรคไข้เลือดออก
    • ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน
    • ป้องกันการติดเชื้อไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ 80.2%
    • ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลและลดความรุนแรง 90.4%
    วันนี้ - 31 มีนาคม 2568

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

    อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

    อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อหลังตึงหรือมีอาการหลังแข็ง ตั้งแต่ล่างต่อชายโครงไปจนถึงส่วนล่างของแก้มก้น อาจมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาร่วมด้วย บางรายปวดจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ พบได้บ่อยในวัยทำงานและผู้สูงอายุ รวมถึงลักษณะงานที่ทำให้ปวดหลังได้แก่ คนที่ต้องทำงานประเภทแบกหาม ยกของหนักงานที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น การยกของที่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม งานที่ก้มๆ เงยๆ หรือบิดเอวเป็นประจำเป็นระยะเวลานาน คนที่ทำงานนั่งโต๊ะหรือนั่งกับพื้นเป็นประจำ เช่น ขับรถ เป็นต้น
    อาการปวดหลังสามารถแบ่งตามระยะเวลาได้ 3 ประเภท ได้แก่
    1. อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน (Acute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์
    2. อาการปวดหลังกึ่งเฉียบพลัน (Subacute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 3 เดือน
    3. อาการปวดหลังเรื้อรัง (Chronic low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน
    การบาดเจ็บต่อโครงสร้างและเนื้อเยื่อต่าง ๆ บริเวณบั้นเอวเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
    1. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่มากผิดปกติ ต่อโครงสร้างที่ผิดปกติ เช่น จากการถูกรถชน จากการถูกของแข็งมากระแทก
    2. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่ปกติ แต่โครงสร้างที่เริ่มเสื่อมทรุดโทรมหรือโครงสร้างส่วนนั้นยังไม่พร้อมรับแรงกระทำนั้นๆ เช่น กล้ามเนื้อและเอ็นที่ยังไม่ได้รับการอบอุ่นและยืดหยุ่นที่เพียงพอ
    แล้วได้รับแรงกระชากทันที มีผลทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็นได้ เช่น กรณีของกล้ามเนื้อเอวเคล็ดจากการทำงาน (back strain)
    อาการปวดหลังจากการทำงาน
    1. กลุ่มอาการปวดหลังเฉียบพลัน เกิดจากการก้มยกของหรือการบิดเอวที่ผิดจังหวะ จะมีอาการปวดแบบกระจายบริเวณเอวส่วนล่าง หรือบริเวณแก้มก้นอาจร้าวไปบริเวณ ต้นขา แต่ไม่ถึงหัวเข่า และจะปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว หากได้พักหรือเคลื่อนไหวน้อยลงอาการปวดจะทุเลา
    2. กลุ่มอาการปวดร้าวไปที่ขา มีอาการคล้ายกับกลุ่มแรกแต่มีอาการปวดร้าวบริเวณน่องและปลายเท้า ซึ่งการปวดร้าวขึ้นกับรากประสาทที่เกี่ยวข้องอาการอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ อาการปวดตามแนวรากประสาท ซึ่งแสดงออกโดยผลตรวจด้วยการโยกขาที่เหยียดตรงในขณะที่ผู้ป่วยนอนให้ผลบวก อาจพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และอาการชาผิวหนังที่เลี้ยงด้วยรากประสาทที่เกี่ยวข้องตลอดจนอาการลดลงของปฏิกิริยา reflex หรืออาจมีอาการผิดปกติด้านการขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการกดทับของรากประสาทกระเบนเหน็บหลายเส้น
    3. กลุ่มอาการปวดล้าบริเวณน่องขณะเดินและผู้ป่วยต้องหยุดเดินหลังจากเดินได้ระยะทางหนึ่ง กลุ่มนี้มักเกิดจากการตีบแคบของโพรงรากประสาท และความเสื่อมของกระดูกสันหลัง
    การวินิจฉัยโรค
    1. ประวัติการทำงาน ลักษณะงานหรือท่าทางการทำงานที่มีกิจกรรมซ้ำในท่าเดิมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ นั่งทำงานทั้งวัน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือ พนักงานที่ยกของหนักเป็นประจำ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หรือการใช้ท่าทางในการยกของที่ผิด, อุบัติเหตุจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น พลัดตกหกล้ม การตกจากที่สูง
    2. การตรวจวินิจฉัยทางรังสี (Radiographic Investigation)
      ผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างไม่มีความจำเป็นที่ต้องรับการตรวจภาพถ่ายทางรังสีทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งมีอาการมาไม่นานและไม่รุนแรง ซึ่งภาพถ่ายทางรังสีแต่ละชนิดจะให้ข้อมูลและประโยชน์กับผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างต่างกันไป เช่น

      • Plain radiograph การ x-ray ธรรมดา เป็นขั้นแรกที่ควรส่งตรวจเนื่องจากสะดวกและราคาถูก สามารถให้ข้อมูลได้พอสมควร โดยเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังที่มีลักษณะผิดรูปต่าง ๆ แต่ไม่สามารถดูความผิดปกติของหมอนรองกระดูก เส้นประสาทและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue)
      • Computerized Tomography (CT Scan) ภาพถ่ายทางรังสีด้วยวิธี CT Scan ใช้ดูโครงสร้างของกระดูกคล้ายกับการดู Plain film แต่มีความละเอียดกว่ามาก และมีการตัดภาพของแต่ละส่วนในระนาบต่าง ๆ ทำให้เห็นพยาธิสภาพของกระดูกได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามข้อเสียของ CT Scan คือไม่สามารถดูเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมถึงหมอนรองกระดูก
      • Resonance Imaging (MRI) การถ่ายภาพกระดูกสันหลังด้วยการ x-ray คลื่นสนามแม่เหล็ก เป็นการส่งตรวจที่ให้ความละเอียดสูงสุดและสามารถให้มุมมองภายในของกระดูกสันหลังในทุกระนาบ สามารถดูได้ทั้งหมอนรองกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก น้ำไขสันหลัง รวมทั้งสามารถบอกพยาธิสภาพได้ เช่น มีการอักเสบ หนอง เลือด เป็นต้น ดังนั้นการตรวจ MRI จึงเป็นการตรวจที่ดีที่สุดในการค้นหาความผิดปกติและช่วยวินิจฉัยโรคที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลัง
    การักษาและฟื้นฟูอาการปวดหลังส่วนล่าง


    เมื่อปวดหลังส่วนล่างมีอาการรุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง ควรเข้าไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษาต่อไป โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่เหมาะสมกับอาการและข้อจำกัดของคนไข้แต่ละคน เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงจุด สำหรับวิธีการรักษาก็จะมีตั้งแต่การใช้ยา และการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟื้นฟู

    1. ยา การใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดความปวดเส้นประสาทจะถูกจัดให้ตามความเหมาะสม และตามโรคที่คนไข้เป็น แพทย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับตัวโรคและข้อควรระวังในการใช้ยา
    2. กายภาพบำบัด มุ่งเน้นการดูแลรักษา แก้ไขความเจ็บปวดฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น สำหรับผู้ที่ปวดหลังส่วนล่าง ที่จะออกแบบโปรแกรมให้กับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกันดังนี้
      • การประคบแผ่นร้อน
      • การลดปวดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น PMS, High Power Laser, Ultrasound และอื่น ๆ
      • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
      • Manual technique และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
      • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ปรับท่าทางให้ถูกต้อง
    3. การฉีดยาเข้าโพรงประสาท เพื่อลดการอักเสบของระบบประสาทเส้นนั้น ๆ
    4. การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาขั้นสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำ เมื่อการรักษารูปแบบอื่นๆ ไม่ได้ผล
    การป้องกัน
    ปัญหาปวดหลังส่วนล่าง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนั้น จึงเป็นโรคที่สามารถลดความเสี่ยงและป้องกันได้ เพียงแค่ต้องมีการดูแลตัวเองให้เป็นอย่างดี และเหมาะสม ดังนี้
    • ควบคุมน้ำหนัก
    • ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อหลังและแกนกลางลำตัวแข็งแรง
    • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เช่น การยกของหนักมากๆ และการยกให้ถูกวิธี
    • ไม่อยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ หากต้องนั่งทำงานทั้งวันควรเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถทุกๆ 1 ชั่วโมง และหมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังและขา

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    ผื่นลมพิษ

    ผื่นลมพิษ

    Urticaria
    ผื่นลมพิษคืออะไร
    ผื่นลมพิษเป็นผื่นที่มีลักษณะบวมนูน และ/หรือแดงที่มักมีอาการคัน ผื่นมักหายภายใน 24 ชั่วโมง และไม่ทิ้งรอย ในบางคนอาจมีปากบวม หรือตาบวมร่วมด้วยได้ ผื่นลมพิษที่มีอาการมาไม่เกิน 6 สัปดาห์ จัดเป็นลมพิษแบบเฉียบพลัน และผื่นลมพิษที่มีอาการนานตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป จัดเป็นผื่นลมพิษเรื้อรัง
    สาเหตุของผื่นลมพิษ
    ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นลมพิษมักเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยทางกายภาพที่กระตุ้น เช่น ความเย็น ความร้อน แสงอาทิตย์ น้ำ หรือการสั่นสะเทือนเป็นต้น ส่วนที่เหลือของลมพิษในผู้ป่วยอาจเกิดจากการติดเชื้อ การแพ้ยาหรือแพ้อาหาร หรือโรคทางระบบภายในต่างๆ
    การรักษา
    • การรักษาเบื้องต้นด้วยยาแก้แพ้ทั้งในผู้ที่มีปัจจัยกระตุ้น และไม่มีปัจจัยกระตุ้น
    • หากผื่นลมพิษมีปัจจัยกระตุ้น ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นนั้นๆ
    คำแนะนำ
    • ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการบวมของเยื่อบุอวัยวะภายในร่วมกับผื่นคัน อันเกิดจากอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น มีผื่นร่วมกับอาการเหนื่อย/หายใจลำบาก แน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน หรือหน้ามืด/เวียนศีรษะ ควรรีบไปพบแพทย์
    • หากรับประทานยาแก้แพ้แล้วไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและหาสาเหตุของผื่นเพิ่มเติม

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    โปรแกรม ตรวจสุขภาพ S M L

    ชุดตรวจสุขภาพ S, M, L


    เพื่อให้คุณและครอบครัว มีสุขภาพดีจะซื้อเป็นของขวัญ หรือ ซื้อเพื่อดูแลตัวเอง ก็คุ้ม
    - ลดเพิ่ม เมื่อซื้อโปรแกรมตรวจชุดใดก็ได้ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 649.- (ปกติ 849.-)

    ชุดตรวจสุขภาพ S, M, L

    ชุดตรวจสุขภาพที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ
    ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ต้องทำงานแข่งกับเวลาอย่างเร่งรีบ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะเป็นพิษ จึงมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การขาดการออกกำลังกาย การไม่ตระหนักในการรับประทานอาหาร รวมถึงมลภาวะทางจิตใจ ขาดความสมดุลของชีวิต ทำให้เกิดความเคยชิน จนกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพได้
    การตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีความจำเป็น เพื่อสำรวจว่าระบบต่างๆ ในร่างกายเรามีความผิดปกติ หรือมีความบกพร่องที่อัวยวะใด เพื่อจะได้รักษา ป้องกัน หรือ ผ่อนหนักให้เป็นเบา หากมีการดูแลอย่างดี ตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และแก้ไขแต่ระยะต้นๆ ร่างกายก็จะอยู่กับเราได้นานขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    รายการ
    S Care
    สำหรับช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี
    (20 รายการ)
    M Care
    สำหรับช่วงอายุ 30 - 40 ปี
    L Care
    สำหรับช่วงอายุมากกว่า 40 ปี
    ชาย
    (22 รายการ)
    หญิง
    (24 รายการ)
    ชาย
    (33 รายการ)
    หญิง
    (34 รายการ)
    ตรวจร่างกายโดยแพทย์ Physical Examination
    ความสมบูรณ์ของเลือด CBC
    ตรวจน้ำตาลในเลือด FBS
    HbA1C
    ตรวจการทำงานของตับ SGPT
    SGOT
    Alkaline Phosphatase
    Bilirubin (Total Bilirubin, Direct Bilirubin)
    Total Protein (Albumin, Globulin)
    ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี HBsAg
    ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับบี HBsAb
    ตรวจการทำงานของไตและกรวยไต BUN
    Creatinine
    eGFR
    ตรวจการทำงานของต่อมธัยรอยด์ TSH and Free T4
    ตรวจระดับกรดยูริก (โรคเก๊าท์) Uric Acid
    ตรวจไขมันในเลือด Cholesterol
    Triglyceride
    HDL
    LDL
    ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP for Liver Cancer
    ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA for GI Cancer
    ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก PSA for Prostate Cancer
    ตรวจปัสสวะ Urine Examination
    ตรวจอุจจาระ Stool Examination with Occult blood
    ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก Bone Density (lumbar, hip)
    ตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของระบบเส้นเลือด Ankle Brachial Index (ABI)
    ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ Chest X-ray
    ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (EKG)
    ตรวจหัวใจด้วยการวิ่งสายพานหรืออัลตราซาวด์ Exercise Stress Test or Echocardiogram
    ตรวจอัลตราซาวด์อวัยวะช่องท้อง Ultrasound Whole Abdomen
    ตรวจมะเร็งปากมดลูก Liquid Pap Smear
    ตรวจแมมโมแกรมมะเร็งเต้านมและอัลตราซาวด์ Mammogram and Breast Ultrasound
    การหาดัชนีมวลกาย Body Mass Index
    อาหาร/สมุดตรวจสุขภาพ Bangpo Snack Bag / Health Check-Up Report
    ราคาปกติ 4,490.- 7,940.- 12,450.- 19,510.- 22,270.-
    ราคาแพ็คเกจ 2,900.- 5,500.- 8,200.- 13,300.- 15,800.-
    ลดเพิ่ม วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 649.- (ปกติ 849.-)
    เมื่อซื้อโปรแกรมตรวจชุดใดก็ได้
    กรุณางดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
    ความเหมาะสมแต่ละช่วงอายุ
    โปรแกรมตรวจสุขภาพ
    ความเหมาะสม
    S Care
    สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า  30 ปี หรือวัยทำงาน
    M Care
    สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 30 - 40 ปี  หรือ วัยทำงานและผู้ใหญ่ที่ต้องการตรวจละเอียดมากขึ้น
    L Care
    สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า  40  ปีขึ้นไป หรือผู้ที่เตรียมสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ
    วันนี้ - 5 กุมภาพันธ์ 2568

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    สาระน่ารู้ “อาหารบำบัดภาวะไขมันในเลือดสูง”

    สาระน่ารู้ “อาหารบำบัดภาวะไขมันในเลือดสูง”

    Knowledge "Food for Dyslipidemia"
    ข้อแนะนำในการรับประทานอาหาร ปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารส่วนรับประทานได้
    1. รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันน้อย เลือกวิธีการหุงต้มอาหารแบบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยำ หรือผัดน้ำมันน้อย
    2. ควรใช้น้ำมันพืชชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fattyacid) ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง (ในปริมาณวันละ 5-7 ช้อนชา)
    3. เน้นการรับประทานเต้าหู้และเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาแซลมอน จะช่วยในการเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDL) และลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL Triglyceride)
    4. รับประทานผักและผลไม้ไม่หวานจัดเป็นประจำทุกมื้อ และให้หลากหลาย (ผักและผลไม้ไม่ควรน้อยกว่า 400 กรัม/วัน)
    5. หลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดกรดไขมันอิ่มตัวสูง (saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมัน หมู ไก่
    6. หลีกเลี่ยง เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง และอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ปลาท่องโก๋ กล้วยแขก ข้าวหาหมู ผัดไท หอยทอด ผัดซีอิ้ว
    7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมันติดหนัง เครื่องในสัตว์ติดมัน ติดหนัง เครื่องในสัตว์
    8. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานซ์สูง (Trans fatty acid) เช่น พาย โดนัท ขนมขบเคี้ยว เนยเทียม มาการีน หรือ หนมเบเกอรรี่ต่างๆ
    9. ควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง และควรรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อน 18.00 น (ควบคุมหรือป้องกันภาวะ Triglyceride สูง)
    10. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวานหรือมีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ต่างๆ น้ำอัดลม (ควบคุมหรือป้องกันภาวะ Triglyceride สูง)
    11. งดการสูบบุหรี่ แลงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอร์ทุกชนิด
    12. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน
    13. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (ค่า BMI = 18.5-22.9)
    คำนวณ BMI

    ตารางแสดงปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารส่วนรับประทานได้ 100 กรัม
    ชนิดอาหาร
    ปริมาณ(กรัม)
    100 g.
    โคเลสเตอรอล(มก.)
    Cholesterol(mg.)
    ประเภทไข่
    ไข่ไก่ (ไข่แดง)
    6 ฟองใหญ่
    1602
    ไข่ไก่ (ไข่ขาว)
    3 ฟองใหญ่
    0
    ไข่ไก่ทั้งฟอง
    2 ฟองใหญ่
    548
    ไข่นกทาทั้งฟอง
    11 ฟองใหญ่
    844
    ไข่เป็ดทั้งฟอง
    2 ฟองกลาง
    884
    ไข่ปลา
    10 ช้อนชา
    374
    ประเภทอาหารทะเล
    ปลากระพงแดงสุก
    8 ช้อนโต๊ะ
    45
    ปลาเก๋าทะเลสุก
    8 ช้อนโต๊ะ
    37
    ปลาทูสุก
    8 ช้อนโต๊ะ
    45
    ปลาโอสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    46
    ปลากระบอกสุก
    8 ช้อนโต๊ะ
    60
    ปลาหมึกดองสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    224
    ปลาหมึกกล้วยสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    260
    กุ้งสุก
    8 ช้อนโต๊ะ
    195
    เนื้อปูสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    100
    หอยนางรมสุก
    4 ตัวขนาดกลาง
    100
    หอยแครงสุก
    15 ตัวขนาดกลาง
    67
    หอยแมลงภู่สุก
    15 ตัวขนาดกลาง
    56
    หอยเชลล์สุก
    7 ตัวขนาดกลาง
    61
    ประเภท หมู ไก่
    เนื้อหมูล้วน
    10 ช้อนโต๊ะ
    65
    เนื้อหมูติดมัน
    7 ช้อนโต๊ะ
    72
    เนื้อหมูติดมัน
    10 ช้อนโต๊ะ
    93
    หมู 3 ชั้น
    7 ช้อนโต๊ะ
    72
    ซี่โครงหมูสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    121
    ตับหมูสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    355
    ไส้หมูสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    143
    กระเพราะหมูสุก
    8 ช้อนโต๊ะ
    276
    ไตหมูสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    480
    ปอดหมูสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    387
    หัวใจหมูสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    221
    หัวใจหมูสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    2552
    แคบหมู
    2.5 ถ้วยตวง
    95
    แคบหมูติดมัน
    2.5 ถ้วยตวง
    328
    เบคอนสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    85
    แฮม
    10 ช้อนโต๊ะ
    59
    กึ๋นไก่
    8 ช้อนโต๊ะ
    171
    เนื้อไก่ล้วนสุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    89
    เนื้อไก่ติดหนัง
    7 ช้อนโต๊ะ
    75
    ตับไก่สุก
    10 ช้อนโต๊ะ
    631

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    โปรแกรมตรวจสุขภาพ ”สมองและระบบประสาท"
    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%
    โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง(EEG)

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

    Electroencephalography
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองคืออะไร
    การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองหรือ EEG เป็นการบันทึกสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากผลรวมของกระแสไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์ในสมอง ผลการตรวจจะปรากฏในรูปแบบกราฟบนแถบกระดาษหรือในจอภาพ (มอนิเตอร์)
    ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองมีอะไรบ้าง
    1. ผู้ตรวจติดอิเลคโทรดบนหนังศีรษะในตำแหน่งต่าง ๆ
    2. เมื่อเปิดเครื่องตรวจ สัญญาณไฟฟ้าจากสมอง จะปรากฏเป็นเส้นกราฟบนแถบกระดาษหรือจอภาพตลอดเวลาที่ตรวจ
    3. ผู้ป่วยสามารถนอนหลับตาในขณะตรวจบางครั้ง ผู้ตรวจอาจขอให้ลืมตา หลับตา หายใจเข้าออกลึก ๆ คิดคำนวณ หรือ จำคำต่าง ๆ ขณะตรวจ
    4. ระยะเวลาการตรวจนานประมาณ 1 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านี้ ถ้ามีการตรวจพิเศษ
    5. มักมีการถ่ายวิดีโอไปพร้อมกับการบันทึกคลื่นสมองเพื่อวินิจฉัยได้ดีขึ้น
    6. กรณีเด็กเล็กหรือเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการที่ไม่ให้ความร่วมมือ อาจต้องให้ยานอนหลับ หลังจากนั้นอาจปลุกเด็กให้ตื่น เพื่อตรวจในขณะตื่นด้วย
    นอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีวิธีกระตุ้นให้ผิดปกติในคลื่นสมองบางชนิดปรากฏชัดเจนมากขึ้นได้แก่
    1. การหายใจลึกนาน 3 – 5 นาที
    2. ใช้แสงไฟกระพริบฉายที่ใบหน้าผู้ป่วย แสงไฟกระพริบนี้ไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อผู้ป่วย
    3. การอดนอน โดยเข้านอนดึกที่สุดและปลุกให้ตื่นเช้ากว่าปกติ
    การเตรียมตัวก่อนมาตรวจคลื่นสมอง
    การเตรียมตัวก่อนมาตรวจคลื่นสมองสามารถลดเวลาการตรวจคลื่นสมองและไม่ต้องเสียเวลากลับมาทำซ้ำ การเตรียมตัวทำดังนี้
    1. สระผมให้สะอาด ห้ามใส่น้ำมันหรือครีมใดๆ
    2. ถ้ากินยากันชักอยู่ให้กินต่อไปห้ามหยุดยากันชักเองอย่างกะทันหันเพื่อทำการตรวจ ยกเว้นกรณีแพทย์ระบบประสาทบอกให้หยุด
    3. เด็กเล็กผู้ปกครองควรเตรียมขวดนมหรือน้ำ และของเล่นของเด็กมาด้วย
    4. ในเด็ก ถ้าสามารถทำให้เด็กไม่นอนหลับก่อนมาตรวจเด็กอาจหลับได้ขณะที่ทำการตรวจโดยไม่ต้องให้ยานอนหลับ
    การตรวจคลื่นสมองในผู้ป่วยโรคลมชักจะพบความผิดปกติเสมอหรือไม่
    ผู้ป่วยโรคลมชักอาจตรวจไม่พบความผิดปกติในการตรวจคลื่นสมองเพียงครั้งเดียว ดังนั้นผลการตรวจที่ปกติไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นโรคลมชัก

    โปรแกรมและแพ็คเกจ