โรคไอกรน Pertussis
โรคไอกรน
Pertussis
โรคไอกรนเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ซึ่งก่อโรคเฉพาะในคน ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเป็นระยะจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้ ในพื้นที่ที่มีความ ครอบคลุมในการฉีดวัคซีนต่ำ จะมีการระบาดได้ง่าย เช่น ในช่วงกลางปี 2567 มีการระบาดต่อเนื่องในภาคใต้เนื่องจากความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนต่ำมาก
การติดต่อ
การติดต่อของโรคเกิดผ่านละอองฝอยไอหรือจามจากผู้ป่วย หรือผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจาก
ทางเดินหายใจของผู้ป่วย ระยะของการแพร่เชื้อเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไอ มีน้ำมูก จนถึง 21 วัน
หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการของโรค จะแพร่เชื้อได้สูงสุด ในระยะอาการหวัด
ทางเดินหายใจของผู้ป่วย ระยะของการแพร่เชื้อเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไอ มีน้ำมูก จนถึง 21 วัน
หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการของโรค จะแพร่เชื้อได้สูงสุด ในระยะอาการหวัด
อาการและอาการแสดง อาการของโรคไอกรนแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะอาการหวัด ผู้ป่วยจะมีอาการ มีน้ำมูก ไข้ต่ำ ๆ แยกยากจากไข้หวัดทั่วไป
- ระยะไอรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไอรุนแรงติดต่อกันเป็นชุด ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรง จนเกิดเสียงวูบ บางรายอาจมีอาเจียน เขียวและหยุดหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วย เด็กเล็ก
- ระยะฟื้นตัว (Convalescent stage) ผู้ป่วยจะมีอาการไอและอาเจียนทุเลาลง หายไปใน 2-3 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการไอได้นานหลายสัปดาห์โดยรวมระยะของโรคทั้งหมดหากไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไอกรนที่อาจพบในวัยรุ่นและในผู้ใหญ่ ได้แก่ ปอดอักเสบ น้ำหนักลด ไอจน
รบกวนการนอน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระดูกซี่โครงหัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้น
สำหรับในทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน และยังได้รับวัคซีนไม่ครบ อาจมีอาการที่รุนแรงได้
รบกวนการนอน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระดูกซี่โครงหัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้น
สำหรับในทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน และยังได้รับวัคซีนไม่ครบ อาจมีอาการที่รุนแรงได้
การให้วัคซีนป้องกันไอกรน
วัคซีนป้องกันไอกรน มีทั้งชนิดวัคซีนเดี่ยวและชนิดวัคซีนรวมกับคอตีบและบาดทะยัก เด็กนักเรียนทุกคนควรได้รับวัคซีนที่แนะนําตามอายุให้ครบถ้วน ได้แก่
- อายุน้อยกว่า 6 ปี ควรรับวัคซีนให้ครบ โดยเป็นวัคซีนรวมที่มีคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และอาจรวมวัคซีน ป้องกันเชื้ออื่นๆ ในเด็กเล็กด้วย เช่น DTP-HB-Hib จำนวน 5 โด๊ส ที่อายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และ 4-6 ปี
- วัยรุ่น 10-12 ปี แนะนําให้ฉีดวัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์สูตรเด็กโตและผู้ใหญ่ (Tdap/TdaP) กระตุ้น 1 โด๊ส หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นต่อด้วย ด้วยวัคซีน dT/Tdap/TdaP ทุก 10 ปี
- ผู้ใหญ่ หากยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันไอกรนเข็มกระตุ้น แนะนําให้ฉีดวัคซีนรวม Tdap/TdaP กระตุ้น 1 โด๊ส จากนั้นแนะนําให้ฉีดวัคซีนรวม dT/Tdap/TdaP กระตุ้น ประมาณทุก 10 ปี แนะนําให้ฉีดเมื่ออายุลงท้ายด้วยเลข “0” เช่นที่อายุ 20, 30, 40, 50, 60, 70, 80 ปี
- หญิงตั้งครรภ์ แนะนําให้วัคซีนป้องกันไอกรนในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 16 สัปดาห์ขึ้นไป
- ในกรณีที่มีเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ในครอบครัว ควรให้ทุกคนในบ้านได้รับวัคซีนป้องกันไอกรน ตามที่แนะนําในข้างต้นให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปยังทารก (Cocooning)
ที่มา: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม : คำแนะนำโรคไอกรนสำหรับประชาชน_รวกท..pdf
วันที่: 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ข้อมูลเพิ่มเติม : คำแนะนำโรคไอกรนสำหรับประชาชน_รวกท..pdf
วันที่: 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
แผนกกุมารเวช
โทร. 02-587-0144 ต่อ 2401