ทพญ.นุชจรี พงษ์นริศร

ทพญ.นุชจรี พงษ์นริศร
ปริทันตวิทยา

ทพญ.นุชจรี พงษ์นริศร

NUCHJAREE PONGNARISORN,DDS
Specialty
  • โรคเหงือกและโรคปริทันต์ (Periodontal disease)

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
SUN 10:00 - 16:00 สัปดาห์ที่ 2, 4

ทพญ.ปารมี ธนเรืองรอง

ทพญ.ปารมี ธนเรืองรอง
วิทยาเอ็นโดดอนต์

ทพญ.ปารมี ธนเรืองรอง

PARAMEE THANARUENGRONG,DDS
Specialty
  • วิทยาเอ็นโดดอนต์ Endodontics

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
THU 10:00 - 18:00 สัปดาห์ที่ 1, 3

บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า

31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก
บุหรี่ไฟฟ้า
เป็นอุปกรณ์ที่ประชาชนทั่วโลกรู้จักมากขึ้นและมีการใช้มากในปัจจุบันรวมถึงในประเทศไทย ซึ่งนับวันบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงาน เยาวชน และกลุ่มนักเรียน เนื่องจากมีการหาชื้อได้ง่าย ประกอบกับสื่อ Social ในปัจจุบันที่รวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งแม้ว่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ และผิดกฎหมายแล้วก็ตาม
บุหรี่ไฟฟ้า (Electric cigarette) เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดใหม่ สูบด้วยการใช้อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ สารนิโคตินเหลว ที่สกัดจากใบยาสูบในบุหรี่ไฟฟ้าจะระเหยด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป เมื่อสูบน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าจะถูกทำให้สารเคมีกลายเป็นละอองไอ เป็นอันตรายต่อผู้สูบและคนรอบข้าง ซึ่งน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าประกอบไปด้วย
  • สารนิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดที่มีผลเสียต่อสุขภาพ หลายระบบ
  • สารประกอบอันตราย นิกเกิล ดีบุก ตะกั่ว สารหนู ฟอร์มัลดีไฮด์ เบนซีน ซึ่งอาจก่อมะเร็ง
  • โพรพิลีนไกลคอล ระคายเคืองตา ทางเดินหายใจ ทำให้ไอ ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน
  • กลีเซอรีน เมื่อผสมกับโพรพิลีนไกลคอล ยิ่งทำให้ไอ หลอดลมตีบ หอบเหนื่อย
  • สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย
  • สารปรุงแต่งกลิ่น รส และอื่น ๆ บางตัวอาจทำให้ปอดอักเสบรุนแรง อาทิ วิตามินอี อะซิเตท
โทษของบุหรี่ไฟฟ้า มีปริมาณนิโคตินเท่ากับบุหรี่ทั่วไป จำนวน 20 มวน และสารนิโคตินที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย อนุภาคขนาดเล็กกว่า pm 2.5 คือประมาณ 1.0 ไมครอน ไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่าบุหรี่ธรรมดาจึงถูกสูดเข้าไปในปอดได้ลึกกว่า จับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็ว ยากที่ร่างกายจะขับออกมาได้หมด
  • ระบบการหายใจ เกิดการระคายเคือง ไอ เหนื่อยง่าย ทำให้โรคหืดและภูมิแพ้กำเริบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ โรคมะเร็งปอด
  • ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ภาวะหลอดเลือดแข็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ทำให้หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต
  • ระบบประสาทและสมอง เซลล์สมองถูกทำลาย อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ส่งผลถึงการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง ส่งผลต่อการเรียนรู้ สมาธิ ทำให้ความจำ การคิดวิเคราะห์ เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง การควบคุมอารมณ์ และเสี่ยงมีภาวะโรคซึมเศร้า ซึ่งปกติสมองจะพัฒนา เต็มที่ประมาณอายุ 25 ปี เพิ่มความเสี่ยงการติดยาเสพติดอื่น ๆ
  • ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อนและอาจนำไปสู่โรคมะเร็ง
  • ผู้ที่สัมผัสสารพิษที่ตกค้างจากควันบุหรี่ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า “บุหรี่มือสาม” อาจเกิดอาการผิวหนังอักเสบ
บุหรี่ไฟฟ้ากับอาการที่ควรไปพบแพทย์
  • อาการไข้ หนาวสั่น
  • ไอ เหนื่อยง่าย
  • หายใจลำบาก หายใจสั้น หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สะดวก
  • แน่นหน้าอก
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • หากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ผู้ที่มีโรคที่เกี่ยวกับปอดอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคหืด หรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง
เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่เอกสารแนวทางใหม่ 2 ฉบับ ได้แก่ “คู่มือสำหรับโรงเรียนปลอดนิโคตินและยาสูบ” และ “ชุดเครื่องมือสำหรับโรงเรียนปลอดนิโคตินและยาสูบ” เพื่อช่วยปกป้องสุขภาพของเด็กนักเรียนก่อนจะเปิดเทอมในหลายประเทศ
4 วิธีในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปราศจากนิโคตินและยาสูบสำหรับเยาวชน
  • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบในบริเวณโรงเรียน
  • ห้ามขายผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบใกล้โรงเรียน
  • ห้ามโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อมและห้ามส่งเสริมผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบใกล้โรงเรียน
  • ปฏิเสธการสนับสนุนหรือการมีส่วนร่วมกับอุตสาหกรรมยาสูบและนิโคติน
ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้ามุ่งเป้าไปที่เด็กผ่านสื่อโซเชียลมีเดียและผู้ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากบนสื่อเหล่านั้น บุหรี่ไฟฟ้ามีรสชาติอย่างน้อยกว่า 16,000 รสชาติ บุหรี่ไฟฟ้าบางส่วนใช้ตัวการ์ตูนและมีดีไซน์เก๋ไก๋ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ สถิติการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยพบว่าอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กนั้นสูงเกินกว่าผู้ใหญ่ในหลายประเทศ” ดังนั้น ผู้ปกครองและโรงเรียน ควรหมั่นสอดส่องดูแล ควรเฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด พูดคุย เปิดใจรับฟัง รวมถึงเตือนถึงโทษภัยจากบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า สร้างความผูกพันและเป็นตัวอย่างที่ดี สร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ภายในบ้านและไปในสถานที่ปลอดบุหรี่
ที่มา:

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก - บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายพิษร้ายต่อสุขภาพ
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ - อันตรายจากบุหรี่
กรมประชาสัมพันธ์ - “สูบบุหรี่ไฟฟ้า” อันตราย เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรง
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ - บุหรี่ไฟฟ้า อันตราย..แม้ไร้ควัน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

วัยทำงาน
วัยทำงาน คือ ช่วงอายุ 18-59 ปี กลุ่มคนเหล่านี้จะให้เวลากับการทำงาน 1 ใน 3 ของแต่ละวันคือ ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน วัยนี้หลายคนทำงานหนัก เนื่องจากภาระงานติดพันหรือด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องทำงานเกินเวลา ส่งผลให้ไม่มีเวลาที่จะดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม พักผ่อนน้อย กินอาหารไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ดังนั้นการดูแลสร้างเสริมสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โรควัยทำงาน หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างต่อเนื่องนานๆ โดยเฉพาะงานที่ต้องนั่งหรือยืนอยู่เป็นเวลานานๆ หรือทำงานที่ต้องใช้แรงงานหนัก ซึ่งหลายประเภท โดยอาการและผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล ดังนี้
  1. อาการปวดเรื้อรัง
    ออฟฟิศซินโดรม โรคที่เกิดจากการนั่งทำงานท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดคอ รวมถึงอาการเจ็บปวดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น อ่อนเพลีย อ่อนแรง คลื่นไส้ หรือหมดแรงงาน
  2. อาการสำหรับสุขภาพจิต
    ความเครียดสะสม วิตกแห่งอารมณ์ ภาวะซึมเศร้า สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการทำงาน อาจเกิดจากความเครียดในการทำงาน รวมถึงความกดดันในเรื่องต่างๆ ด้านจิตใจหรือความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่มีผลต่อจิตใจอย่างรุนแรง ก็ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย
  3. อาการที่เกิดกับสายตาและการมองเห็น
    หรือใช้สายตามองจอคอมพิวเตอร์นานๆ ทำให้มีผลต่อดวงตา แสบตา ไม่สบายตา เกิดอาการระคายเคืองตา เจ็บตา ตาพร่าจากการจ้องมองที่ไม่ค่อยกระพริบตา เป็นผลให้มีอาการตาแห้ง
  4. อาการทางสมอง
    ไมเกรน บ้านหมุน สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เป็นโรคใกล้ตัวคนวัยทำงาน มีความเครียดเป็นสาเหตุหลัก เนื่องจากสมองเป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทุกส่วน เมื่อระบบประสาทและสมองมีปัญหา ก็จะส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วยเช่นกัน มักมีอาการตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง การคิด การทำ การพูด การทรงตัวผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะทำให้พิการได้
  5. อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
    กรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบ
    โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ผลระยะยาวของโรคนี้ อาจนำพาไปสู่การเกิดมะเร็งได้
  6. อาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
    กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคที่เกิดจากการอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เนื่องจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิง
จากรายงานสุขภาพคนไทย 2566 พบว่าคนไทยวัยทำงานมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพดังนี้
  1. การสูบบุหรี่
    • 1 ใน 5 คนวัยทำงาน สูบบุหรี่ทุกวัน
    • กลุ่มลูกจ้างเอกชน และผู้ทำงานส่วนตัว มีอัตราการสูบบุหรี่ทุกวันสูงที่สุด
    • การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  2. การบริโภคแอลกอฮอล์
    • 1 ใน 4 คนวัยทำงาน ดื่มแอลกอฮอล์ทุกสัปดาห์
    • กลุ่มนายจ้าง ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวันสูงที่สุด
    • การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง
  3. การบริโภคอาหาร
    • คนวัยทำงาน กินอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม สูง
    • แหล่งอาหารหลักมาจากแป้งขัดขาว น้ำตาล และไขมันอิ่มตัว
    • การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  4. กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • คนวัยทำงาน กว่า 80% มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
    • การไม่ออกกำลังกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน
การรักษาและการป้องกัน
การรักษาโรควัยทำงานมักเน้นการป้องกันและการบริหารจัดการอาการ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานและการพักผ่อน การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพที่ดี เช่น การฝึกหัดการทำงานโดยไม่กดดันตัวเองมากเกินไป การนั่งหรือยืนในท่าที่ถูกต้อง เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สมส่วน และการดูแลสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและเพื่อรักษาสุขภาพที่ดีในระยะยาว
การปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและการบริหารจัดการอาการอาจประกอบด้วยวิธีต่อไปนี้
  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
    • ให้ความสำคัญกับการใช้ท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน เช่น การนั่งหรือยืนในท่าที่สมบูรณ์แบบ เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
    • มีการพักผ่อนที่เพียงพอระหว่างการทำงาน เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสในการฟื้นตัว
    • ป้องกันการทำงานนานเกินไปโดยการแบ่งงานหรือการใช้ช่วงเวลาพักที่เหมาะสม กรณีใช้คอมพิวเตอร์ให้หลับตาทุก 10 นาทีต่อการทำงาน 1 ชั่วโมง หรือพักทุก 15 นาทีต่อการทำงานต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง
  2. การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ
    • มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและรักษาสุขภาพของร่างกาย
    • ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    • รักษาการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการเพียงพอ และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารไม่สุขภาพ อาหารเสริมที่ไม่จำเป็น
  3. การบริหารจัดการสุขภาพจิต
    • ให้ตัวเองเวลาในการพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ช่วยในการผ่อนคลาย เช่น การทำโยคะ การฝึกสติ หรือการอ่านหนังสือ
    • พูดคุยกับคนที่ไว้วางใจหรือคนที่สามารถให้การสนับสนุนที่ดีต่อสุขภาพจิต
    • หากมีปัญหาทางจิตใจที่รุนแรง ควรพบประสบการณ์อาจารย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อคำปรึกษาและการรักษา
  4. การใช้เครื่องมือช่วย
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยลดการบริโภคแรงงาน และลดการทำงานที่ต้องใช้แรงมาก เช่น รถเข็นของหนัก เก้าอี้ที่สามารถปรับระดับได้ เป็นต้น
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยในการป้องกันอันตรายในการทำงาน เช่น หูฟังป้องกันเสียงดัง หรือหน้ากากป้องกันฝุ่น
    • ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ควรจัดสถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแสงสว่างพอเหมาะ โดยเฉพาะจอภาพ แป้นพิมพ์ และที่วางเอกสาร เป็นต้น จะช่วยให้สบายตา หรืออาจใช้หลอดไฟโซเดียมเพื่อให้แสงสว่าง ใช้แผ่นกรองแสงเพื่อลดแสงจ้าและแสงสะท้อน จะช่วยลดความล้าของสายตาลงได้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้เครื่องมือช่วยนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและช่วยให้ร่างกายและจิตใจมีสุขภาพดีในระยะยาว

โปรแกรมและแพ็คเกจ

พิษจากสารแคดเมียม

พิษจากสารแคดเมียม

พิษจากสารแคดเมียม
แคดเมียมมีสูตรทางเคมีคือ Cd เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่มักพบตามธรรมชาติ มีสีเงินขาว แวววาวเป็นสีน้ำเงินจางๆ ไม่มีกลิ่น มีลักษณะเนื้ออ่อน สามารถบิดโค้งงอได้และถูกตัดได้ง่ายด้วยมีด มักอยู่ในรูปแท่ง แผ่น เส้น ลวด หรือเป็นผงเม็ดเล็กๆ สามารถทำปฏิกิริยาเคมีอย่างรุนแรงกว่าสารที่ให้ออกซิเจน เนื่องจากแคดเมียมทนทานต่อการสึกกร่อนได้เป็นอย่างดี จึงนำไปฉาบผิวโลหะต่างๆ ในทางอุตสาหกรรม หรือเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ในการทำ อุตสาหกรรมเหมือง แร่ เชื่อมโลหะ โซล่าเซลล์ รวมถึงยังใช้เป็นขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ชนิดที่เติมประจุใหม่ได้อีกด้วย
การปนเปื้อนจากโลหะหนักรวมถึงแคดเมียมนับเป็นปัญหาสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และอาจมีการถ่ายทอดไปสู่ห่วงโซ่อาหาร สะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชและสัตว์ ซึ่งจะนำมาสู่คนและเกิดอันตรายต่อผู้ที่ได้รับขึ้นได้ แคดเมียมเป็นโลหะหนักที่ไม่ละลายนํ้า ทั้งยังมีจุดเดือด (765 องศาเซลเซียส) และจุดละลาย (321 องศาเซลเซียส) สูงมาก หากได้รับเข้าสู่ร่างกายเกิดอันตรายต่ออวัยวะเป้าหมาย คือ ตา ผิวหนังและเยื่อบุสัมผัส ระบบทางเดินหายใจ/ทางเดินอาหาร/ทางเดินปัสสาวะ ไตและกระดูก
อาการ
อาการของการเกิดพิษขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ ทางที่ได้รับ และระยะเวลาที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย แบ่งเป็น
  1. อาการพิษเฉียบพลัน
    • ได้รับโดยการสูดดมไอของแคดเมียมออกไซด์: ทำให้เกิดมีอาการไข้ ไอ หนาวสั่น หายใจเสียงวี๊ด เจ็บหน้าอก ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ มักเกิดภายใน 4-24 ชั่วโมง หลังการสูดดมไอแคดเมียม ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะปอดอักเสบและระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
    • ได้รับโดยการกินเกลือแคดเมียม: ทำให้มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ในรายที่กินปริมาณมาก อาจมีเลือดออกจากทางเดินอาหาร ช็อค ไตวายได้
    • การสัมผัสเกลือแคดเมียมทางผิวหนัง ตา และเยื่อบุ: ทำให้มีอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ตา และเยื่อบุที่สัมผัส หากสัมผัสไอร้อนหรือแคดเมียมเหลว ทำให้เกิดการไหม้บริเวณที่สัมผัสได้
  2. อาการพิษระยะยาว - เมื่อได้รับแคดเมียมติดต่อเป็นระยะยาวนาน
    • ได้รับทางการหายใจ: อาจทำ ให้มีพังผืดในปอด ถุงลมโป่งพอง และสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอด
    • ได้รับทั้งการกินและการหายใจ: อาจทำให้เกิดความผิดปกติที่ไต ได้แก่ มีการรั่วของโปรตีน นํ้าตาล แคลเซียมและฟอสเฟตทางปัสสาวะ มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวายเรื้อรัง
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกระดูกคดงอ หักง่าย และมีอาการปวดรุนแรง ที่รู้จักในชื่อ "โรคอิไต-อิไต" ซึ่งพบในผู้ป่วยที่บริโภคอาหารและนํ้าที่ปนเปื้อนเป็นเวลานาน โดยเฉพาะข้าวที่ปลูกในบริเวณที่มีการปนเปื้อนแคดเมียม ปริมาณมากในนํ้า และดิน สำหรับการก่อมะเร็งนั้น แคดเมียมเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งไตและมะเร็งต่อมลูกหมาก
การรักษา
เน้นการรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง ยังไม่มีการรักษาหรือยาต้านพิษจำเพาะ
ยาที่ใช้ขับโลหะหนักที่มีในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษายืนยันว่ามีประโยชน์ในการรักษาพิษจากแคดเมียม
ดังนั้นการป้องกันและลดการสัมผัส จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
การตรวจหาสารแคดเมียมในร่างกาย 2 วิธี ทั้งนี้มีความแตกต่างในเรื่องระยะเวลาการสัมผัส
1. การตรวจแคดเมียมในเลือด (Cadmium in Blood) สามารถใช้ตรวจเพื่อประเมินการสัมผัสระยะสั้น (Short Term Exposure) ได้ดีกว่า
2. การตรวจแคคเมียมในปัสสาวะ (Cadmium in Urine) เหมาะสำหรับตรวจประเมินผู้ที่สัมผัสอย่างต่อเนื่องในระยะยาว (Long Term Exposure)
ทั้งนี้ทั้ง 2 แบบยังคงต้องมีการประเมินควบคู่กับผลพยาธิสภาพทั่วไปประกอบด้วยทั้งการประเมินโดยแพทย์
บริการตรวจหาสารแคคเมี่ยมในร่างกาย

  • รอผล 10 วัน 600 บาท
  • รอผล 3 วัน 800 บาท
  • ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการ
ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

พิษจากสารแคดเมี่ยม.pdf

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.

รู้จักแคดเมียม โลหะพิษอันตราย สาเหตุ “โรคอิไตอิไต” และโรคมะเร็ง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก


การตรวจสุขภาพเด็กในทุกช่วงวัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแต่ละช่วงวัยจะมีการพัฒนาการ และความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป การตรวจสุขภาพจึงเป็นการประเมินการเจริญเติบโตและติดตามเฝ้าระวังด้านพัฒนาการเป็นระยะๆ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

Health check program for children
การตรวจสุขภาพเด็กในทุกช่วงวัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแต่ละช่วงวัยจะมีการพัฒนาการ และความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป การตรวจสุขภาพเป็นการประเมินการเจริญเติบโตและติดตามเฝ้าระวังด้านพัฒนาการเป็นระยะๆ ทั้งโภชนาการที่สมกับวัย รวมถึงสุขภาพสายตาและสุขภาพฟัน โดยเฉพาะในส่วนของสมอง ซึ่งหากเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นในระยะนี้ จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และสติปัญญาในระยะยาว หากพบความผิดปกติแพทญ์จะช่วยให้ดูแลรักษาได้ทันท่วงที
รายการตรวจ
Program
1
Program
2
Program
3
Program
4
ตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์
(Physical Examination)
ตรวจวัดระดับการมองเห็น
(Visual acuity หรือ VA)
เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตรวจสุขภาพฟัน
เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตรวจวัดค่าดัชนีมวลกาย
(BMI)
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
(CBC)
ตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต
(BUN, Creatinine)
ตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ
(SGOT, SGPT, Alk)
ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
(UA)
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอับเสบ บี
(HBsAg)
ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ บี
(HBsAb)
ตรวจไธรอยด์ฮอร์โมน
(TSH, FT4)
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
(FBS)
ตรวจวัดระดับไขมันในเลือด - โคเลสเตอรอล
(Cholesterol)
ตรวจวัดระดับไขมันในเลือด -ไตรกลีเซอร์ไรด์
(Triglyceride)
ตรวจหาไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี
(HDL-C)
ตรวจหาไขมันโคเลสเตอรอลชนิดเลว
(LDL-C)
ราคาปกติ
2,388.-
2,988.-
3,480.-
4,560.-
ราคาแพ็กเกจ
1,990.-
2,490.-
2,900.-
3,800.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
วันนี้ - 30 มิถุนายน 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

โปรแกรมตรวจสุขภาพดวงตา

โปรแกรมตรวจสุขภาพดวงตา

EYE CHECK PROGRAM

โปรแกรมตรวจสุขภาพดวงตา
ตรวจ 7 รายการ : 900.-
ตรวจ 8 รายการ : 1,299.-


โปรแกรมตรวจสุขภาพดวงตา

EYE CHECK PROGRAM
การตรวจสุขภาพตาเป็นการตรวจวินิจฉัยอย่างครอบคลุมเพื่อประเมินสุขภาพดวงตาของคุณ จักษุแพทย์จะตรวจหาความผิดปกติของดวงตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม และความผิดปกติของการหักเหของแสง เป็นต้น

เราควรตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ ความถี่ในการตรวจจะขึ้นอยู่กับอายุและความเสี่ยงต่อปัญหาเกี่ยวกับดวงตาของคุณ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ควรตรวจสุขภาพตาอย่างน้อยปีละครั้ง การตรวจสุขภาพตาเป็นสิ่งสำคัญ สามารถช่วยตรวจจับปัญหาเกี่ยวกับดวงตาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อการรักษาตั้งแต่
ใครบ้างที่ควรตรวจสุขภาพตา
EYE CHECK PROGRAM
  • ผู้ที่ทำงานใช้สายตามาก เช่น ผู้ที่อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ ใช้มือถือเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคตา
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคข้อและโรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่ใช้ยาบางชนิด เช่น วัณโรค,ยากดภูมิ,กลุ่มยาสเตียรอยด์
  • ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์

รายการตรวจสุขภาพดวงตา
Program 1
7 รายการ
Program 2
8 รายการ
ตรวจตาโดยจักษุแพทย์
Eye Examination
ตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร น้ำหนัก ส่วนสูง
ตรวจสุขภาพสายตา การมองเห็น
Visual Acuity: VA
ตรวจความดันลูกตา
Tonometer
ตรวจตาด้วย Slit Lamp
ตรวจวัดสายตา สั้น ยาว ด้วยเครื่องอัตโนมัติ
Autorefractor
คัดกรองตาบอดสี
Ishihara’s Test
ขยายม่านตา ดูจอประสาทตา
หมายเหตุ : แนะนำให้พาญาติมาด้วยเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง และไม่แนะนำให้ขับขี่ยานพาหนะกลับด้วยตนเอง
ราคาแพ็คเกจ
900.-
1,299.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
เงื่อนไข
  1. ราคารวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
  2. เพื่อความสะดวกในการรับบริการโปรดนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 วัน
  3. หลีกเลี่ยงการแต่งหน้าบริเวณดวงตา เช่น ติดขนตาปลอม ใช้อายไลน์เนอร์เขียนขอบตา
  4. หากท่านสวมแว่นตา มียาหยอดตา หรือยาที่ใช้เป็นประจำ กรุณานำมาด้วย
  5. แจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัว ประวัติการรักษาโรคต่างๆ และยารักษาโรคทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่ เพราะอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสายตา หรือสุขภาพตา
  6. หากมีการขยายม่านตา ไม่ควรขับรถมาเอง โดยควรเตรียมแว่นกันแดดหรือหมวกปีกกว้างมาใส่ตอนกลับ เพราะหลังขยายม่านตาจะมีอาการพร่ามัว สู้แสงลำบาก
วันนี้ - 31 มีนาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ชุดตรวจสุขภาพ SML Care [Free gift]

ชุดตรวจสุขภาพ SML Ca […]

โปรแกรมตรวจสุขภาพดวงตา

โปรแกรมตรวจสุขภาพดวง […]

ปักหมุด ที่เที่ยววันเด็ก 2567 รอบกรุง

ปักหมุดที่เที่ยววันเด็ก 2567 รอบกรุง

ปักหมุดที่เที่ยววันเด็ก 2567 รอบกรุง
“วันเด็ก” เป็นวันสำคัญของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัว เพราะนอกจากเด็กๆ จะได้สนุกสนาน สร้างจินตนาการและเสริมพัฒนาการแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังได้ย้อนวันเวลาเป็นเด็กอีกครั้ง ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 13 มกราคม ซึ่ง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบคำขวัญวันเด็ก 2567 ว่า "มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย"
วันเด็กทุกๆ ปี ทั้งราชการและเอกชนหลายๆ แห่งจะมีการจัดกิจกรรมสนุกๆ สร้างจินตนาการและเสริมพัฒนาการ รวมถึงรับของแจกมากมาย เพื่อส่งมอบความสุขควบคู่กับการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมที่เสริมสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี แล้วกิจกรรมหรือการเล่นแบบไหนเสริมพัฒนาการด้านใด แลมีที่ไหนบ้าง เราปักหมุดมาให้แล้วค่ะ
  • กิจกรรมการระบายสี การวาดรูป ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมือทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ (Motor skill) และเป็นการฝึกการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา
  • กิจกรรมการอ่าน การฝึกทักษะด้านภาษา การฝึกการมองภาพและการรู้จักสิ่งต่างๆ สร้างจินตนาการ สร้างความอบอุ่น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อยด้วย เป็นกิจกรรมกระตุ้น พัฒนาการเด็ก ที่ดีที่สุด
  • กิจกรรมการปีนป่าย รวมถึงการปั่นจักรยาน เด็กชอบที่จะปีนป่าย จะชอบสำรวจสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ท้าทาย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อหลักๆของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อแขนขาและยังช่วยฝึกทักษะการสร้างสมดุลของร่างกาย
  • กิจกรรมการทำอาหาร หรือ กิจกรรมเลียนแบบอาชีพต่างๆ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกายและสังคม กระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นพากเพียร จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ โดยตั้งแต่กระบวนความคิด การวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน และการแก้ปัญหา เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by doing)
null
กิจกรรม "NASAPA Land ดินแดนผู้พิทักษ์โลก"
วุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) พบกับกิจกรรม "NASAPA Land ดินแดนผู้พิทักษ์โลก" เตรียมกับกับกิจกรรมสุดว้าว ได้แก่
  • กิจกรรม DIY Workshop แต่งตัวให้กระต่ายสุดน่ารัก
  • ทำความรู้จักสัปปายะสภาสถาน
  • เรียนรู้วิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • เยี่ยมชมห้องประชุมวุฒิสภา
  • ตอบคำถามลุ้นรับรางวัลมากมาย
null
กิจกรรม "รักษาสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเล"
พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร)
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร) ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. สามารถลงทะเบียนได้ที่
ช่องทางลงทะเบียน
  1. On-site : สามารถลงทะเบียน ณ จุดลงทะเบียนได้ที่หน้างาน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป
  2. On-line : สามารถลงทะเบียนผ่าน Google Forms ได้ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2567 (เริ่มลงทะเบียน 10.00 น. เป็นต้นไป ) ถึง 7 มกราคม 2567 (สิ้นสุดการลงทะเบียน 16.00 น.) ลงทะเบียนที่นี่ : ฟอร์มลงทะเบียน
ที่มา : กิจกรรม "รักษาสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเล"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/bkkchildrensmuseum
null
กิจกรรม "เด็กไทยหัวใจ Volunteer"
สภากาชาดไทย
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ บริเวณโถงอาคารสิรินทรานุสรณ์ 60 ปี สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ ภายในงานพบกิจกรรมจากพี่ๆ หน่วยงานภายในสภากาชาดไทย พร้อมของแจกของรางวัลพิเศษมากมาย
ที่มา : กิจกรรม "เด็กไทยหัวใจ Volunteer"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/ThaiRedCrossSociety

null
ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 จัดขึ้นในวันที่ 12-13 มกราคม 2567 ที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนโยธี วันที่ 12-14 มกราคม 2567 ที่ ศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา ชั้น 5 กรุงเทพฯ และวันที่ 13 มกราคม 2567 ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลองห้า ปทุมธานี นอกจากนี้ ยังกระจายความสนุกไปทั่วประเทศในมหาวิทยาลัยราชภัฏอีก 16 แห่ง และวิทยาลัยชุมชนกว่า 20 แห่ง พร้อมด้วยหน่วยงานตามภูมิภาคต่าง ๆ ยกทัพความสนุกรวมกว่า 46 แห่งทั่วประเทศ
กิจกรรมในงานครอบคลุมทุกสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา กิจกรรมในงานเน้นให้ผู้เข้าร่วมได้ลงมือทำจริง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและปลูกฝังให้เด็ก ๆ และเยาวชนมีความสนใจในวิทยาศาสตร์
ที่มา: ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/scienceavenue
null
กิจจกรรม "เมล็ดพันธุ์ของพระราชา"
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
วันที่ 13 มกราคม 2567 พบกับความสนุกสนานในงานวันเด็กแห่งชาติ “เมล็ดพันธุ์ของพระราชา” สนุกกับเกมและกิจกรรม Walk rally วิถีเกษตร พร้อมตะลุยภารกิจพิชิต 20 ฐานการเรียนรู้ อาทิ จักรยานสูบน้ำ ปลูกผักกลับบ้าน ต่อวงจรโซลาร์เซลล์ ตามล่าหาเมล็ดพันธุ์ นาปาเป้า หนูน้อยจ่ายตลาด คีบเมล็ดพันธุ์ พลังงานเท้าเหยียบ และกิจกรรมมากมายพร้อมลุ้นรับของรางวัล ภายในงานพบกับประธานบริษัทตัวจิ๋ว กว่า 50 ร้านค้า ในตลาดค้าขายชาวฟันน้ำนม พร้อมอิ่มอร่อยกับอาหารและเครื่องดื่มมากมาย พลาดไม่ได้กับชม ช้อป สินค้าผลผลิตปลอดภัยจากร้านค้าเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ กว่า 100 ร้าน วันที่ 13 – 14 มกราคม 67 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 15.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี
ที่มา: กิจจกรรม "เมล็ดพันธุ์ของพระราชา"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/WisdomKingMuseum
null
Foodventure ตะลุยแดนอาหารไทย
TK Park
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภายในพบกับกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น
  • เกมสร้างสรรค์ตะลุยแดนอาหารไทย มาเติมอาหารสมอง ลุ้นรางวัลพิเศษมากมายจากผู้ใหญ่ใจดี
  • ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตะลุยแดนอาหารไทยกันได้กับสื่อสาระท้องถิ่นจาก TK Park บนแอป TK Read
  • เพลิดเพลินกับการแสดงและบูธกิจกรรมจากผู้ใหญ่ใจดีที่มาเติมพลังความสนุกให้เด็กๆ
  • พิเศษ ! เฉพาะวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2567 น้อง ๆ ที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี พร้อมผู้ปกครอง 1 ท่าน เข้าฟรี
ที่มา: Foodventure ตะลุยแดนอาหารไทย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/tkparkclub

โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

Periodontitis and treatment
โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา
โรคปริทันต์อักเสบ คือ โรคที่เกิดการอักเสบของอวัยวะรอบๆ รากฟันซึ่งมีหน้าที่รองรับฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟันและกระดูกเบ้าฟัน

null

รูป สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ เนื่องจากการทำความสะอาดฟันที่ไม่เหมาะสม โดยเมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุจากน้ำลาย คราบจุลินทรีย์ที่สะสมนี้ก็จะแข็งเป็นหินน้ำลาย (หินปูน) ซึ่งหินน้ำลายเหล่านี้จะเป็นที่ยึดเกาะของคราบจุลินทรีย์ต่อไป

null

รูป ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง
ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่และโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดี เป็นปัจจัยส่งเสริมให้โรคปริทันต์มีความรุนแรงมากขึ้นได้
อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
เมื่อเกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ขึ้น จะทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบซึ่งเหงือกจะมีลักษณะบวมแดง มีเลือดออกง่าย ซึ่งหากปล่อยให้การอักเสบดำเนินต่อไปก็จะทำให้เกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบ โดยเกิดการทำลายอวัยวะรอบรากฟันเริ่มเกิดร่องลึกปริทันต์ อาจมีหนอง ฟันโยกในเวลาต่อมา และอาจเกิดการสูญเสียฟันหลายๆตำแหน่งได้ในอนาคต

null

รูป อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
การป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ
แปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม ด้วยไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคปริทันต์อักเสบ พบทันตแพทย์เพื่อตรวจและดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน
ขั้นตอนในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. ขั้นตอนการควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบ (Systematic Phase) เช่นการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน หรืองดการสูบบุหรี่
  2. ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น (Initial Phase) ด้วยการขูดหินน้ำลาย การเกลารากฟันและการแปรงฟันให้สะอาด รวมถึงทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม
    null

    รูป ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น
  3. ขั้นตอนการรักษาระยะแก้ไข (Corrective Phase) เพื่อกำจัดพยาธิสภาพที่อาจหลงเหลืออยู่หลังรักษาขั้นต้นสมบูรณ์แล้ว ด้วยการทำศัลยกรรมปริทันต์หรือการบูรณะอื่นๆ
  4. ขั้นตอนการรักษาเพื่อคงสภาพอวัยวะปริทันต์ให้ปราศจากโรค (Maintenance Phase) โดยทันตแพทย์จะนัดเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 3-6 เดือน
คำแนะนำหลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. หลังการทำหัตถการอาจมีเลือดซึมจากขอบเหงือกได้เล็กน้อย แนะนำหลีกเลี่ยงการบ้วนเลือดและน้ำลายตลอดวันที่ทำหัตถการ
  2. หลังขูดหินน้ำลายหรือการเกลารากฟัน อาจเกิดการเสียวฟันขึ้นได้ แต่โดยทั่วไปอาการดังกล่าวจะดีขึ้นได้ในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
  3. อาจมีอาการปวดเหงือกได้บ้างหลังจากการทำหัตถการ สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
  4. หากมีเลือดออกจากร่องเหงือกมาก เบื้องต้นแนะนำใช้ผ้าก๊อซกดเหงือกครั้งละ 30 นาที และหากพบว่าเลือดยังไม่หยุดให้กลับมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง
  5. สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ปกติ

null

รูป หลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
อัตราค่าบริการทันตกรรม
รายการ
ค่าบริการ
ขูดหินปูน
900 - 1,500.-
เกลารากฟัน
1,500 - 2,000.-
(ต่อครั้ง)
ศัลยกรรมปริทันต์
3,000 - 5,000.-
เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
150.-
(ต่อฟิล์ม)
เอกซเรย์พานอรามิก
800.-
(ต่อฟิล์ม)

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

Tooth Replacement
การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ
ฟัน มีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้การออกเสียงเป็นไปได้อย่างชัดเจนทั้งยังช่วยรักษาโครงสร้างของใบหน้า ริมฝีปากให้มีความสมดุลได้อีกด้วย หากต้องสูญเสียฟันธรรมชาติไปโดยมิได้ใส่ฟันเทียมทดแทน ย่อมจะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารต่ำลง อาจทำให้ออกเสียงได้ไม่ชัดและความมั่นใจถูกลดทอนลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้
ถอนฟันไปแล้ว แต่ไม่ใส่ฟันทดแทนได้หรือไม่?
โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ฟัน ทดแทนในทุกๆตำแหน่ง หลังจากที่ถอนฟันไปแล้ว ประมาณ 1 เดือน เนื่องจากหากไม่ได้รับการใส่ฟันทดแทนอาจทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงและฟันคู่สบล้มหรือยื่นยาวมายังช่องว่าง ที่เคยได้รับการถอน (ดังรูป)
null

รูป ฟันล้ม
ส่งผลให้เกิดการสบกระแทก เศษอาหารติด และเกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบและอาจจำเป็นต้องถอนฟันซี่ใกล้เคียงในเวลาต่อมา แต่อย่างไรก็ตามในบางกรณีเช่น ฟันที่ถูกถอนนั้นเป็นตำแหน่งของฟันคุด ฟันเกิน ฟันฝัง ฟันที่ถอนเพื่อจัดฟัน ฟันผิดตำแหน่ง หรือเป็นตำแหน่งที่ ฟันซี่นั้นไม่มีคู่สบและยังเหลือฟันมากพอที่จะสามารถเคี้ยวอาหารได้ดี อาจไม่จำเป็นต้องใส่ฟันทดแทน
การเตรียมสภาวะช่องปากให้พร้อมก่อนการใส่ฟันทดแทน
เพื่อให้ฟันเทียมนั้นสามารถใช้งานได้ยาวนานที่สุด และรองรับพอดีกับฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องซ่อมหรือท่าบ่อยใหม่ๆ ในอนาคต ทันตแพทย์จะวางแผนเตรียมช่องปากก่อนเริ่มขั้นตอนฟันเทียม
ขั้นตอนและวิธีการเตรียมช่องปาก
ในแต่ละรายล้วนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับสภาวะช่องปากในขณะนั้น ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่การอุดฟัน รักษาโรคเหงือก รักษารากฟัน ถอนฟันบางซี่ที่ไม่อาจบูรณะได้ ตกแต่งกระดูกที่คมหรือปลูกกระดูกก่อนฝังรากฟันเทียม เป็นต้น
ฟันเทียมทดแทนชนิดต่างๆ
1. ฟันเทียมชนิดถอดได้
null

รูป 1.1 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานโลหะ)
1.1 ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • การเติมฟัน ในอนาคตทำได้ยากกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • null

    รูป 1.2 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานอะคริลิก/พลาสติก)
    1.2 ฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องผ่าตัด ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
  • สามารถเติมได้หากต้องถอนฟันในอนาคต
  • ฐานฟันปลอมมีความหนามากกว่าโลหะ
  • อาจมี โอกาสแตกหักได้หากทำตกหล่น
  • 2. ฟันเทียมชนิดติดแน่น
    null

    รูป 2.1 รากฟันเทียม
    2.1 รากฟันเทียม (Dental Implant)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟันซี่ใดๆ
  • ให้ความรู้สึกใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • สามารถใช้เป็นฐานเพิ่มการยึด ติดของฟันเทียมถอดได้ทั้งปากได้
  • ต้องมีกระดูกรองรับการฝังรากฟันเทียมที่มาก เพียงพอ
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • การรักษามี 2-3 ขั้นตอนในช่วงเวลาประมาณ 3-6 เดือน
  • null

    รูป 2.2
    2.2 ครอบฟัน (Crown)/สะพานฟัน(Bridge)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • วัสดุมีให้เลือกหลากหลายชนิด มีความแข็งแรงทนทาน มักใช้เพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาแล้ว หรือฟันที่ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่า ฟันเทียมชนิดถอดได้
  • ต้องได้รับการกรอตกแต่งฟันซี่นั้นๆ หรือฟันข้างเคียง
  • การดูแลและท่าความสะอาด ฟันเทียมชนิดต่างๆ
    ฟันเทียมชนิดติดแน่นสามารถแปรงฟันใช้ไหมขัดฟันและแปรงซอกฟันได้ในรายที่ใส่ครอบฟัน (หรือรากฟันเทียม) หากมีสะพานฟันร่วมด้วยแนะนําใช้ Superfloss หรือไหมขัดฟันร่วมกับ Floss Threader ทำความสะอาดใต้สะพานฟันเพราะแม้จะได้รับการครอบฟันแล้ว แต่ฟันก็ยังจะสามารถผุต่อหรือเกิดโรคปริทันต์ต่อได้ในอนาคต
    ฟันเทียมชนิดถอดได้
    • ถอดออกในเวลากลางคืน และแช่ในน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ ไม่ใช้น้ำเย็นจัด/ร้อนจัด
    • แปรงด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน ไม่ใช้ยาสีฟัน ทำความสะอาด เพราะผงขัดอาจทำให้ฐานฟัน ปลอมถูกขีดข่วนได้
    • ใช้งานอย่างระวังมิให้ตกหล่น เนื่องจากสามารถ แตกหักได้
    • หลังทานอาหารทุกครั้งแนะนำาถอดล้างทำความ สะอาด และบ้วนปาก
    • ตรวจเช็คฟันปลอมเป็นระยะทุกๆ 6 เดือน
    • สามารถใช้เม็ดฟูทำความสะอาดฟันปลอมได้
    • สามารถใช้กับกาวยึดติดฟันปลอมได้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    ฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติกเริ่มต้น
    3,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ
    8,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมทั้งปาก (ต่อชิ้น)
    10,000 - 15,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ครอบฟัน (ขึ้นกับชนิดวัสดุ)
    10,000 - 20,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เดือยฟัน
    4,500 - 5,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    รากฟันเทียม(ขึ้นกับยี่ห้อวัสดุ)
    55,000-75,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เอกซเรย์ฟิล์มเล็ก (ฟิล์มละ)
    150 บาท
    เอกซเรย์พานอรามิค (ฟิล์มละ)
    800 บาท

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด – 12 ปี

    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด - 12 ปี

    Oral health care for newborns - 12 years old
    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด-อายุ 12 ปี
    ฟันน้ำนม นอกจากมีหน้าที่ในการบดเคี้ยวและช่วยเสริมสร้างความมั่นใจแล้วยังช่วยทำให้ออกเสียงได้ชัดเจนและเป็นตัวช่วยให้ฟันแท้ขึ้นมาได้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
    กรณีที่ต้องสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดจึงทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นตามมาเกิดปัญหาซ้อนเกหรือหากฟันผุมากจนเกิดอาการปวดฟันทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กทางอ้อมได้
    การดูแลสุขภาพช่องปาก ระยะก่อนฟันน้ำนมขึ้น (0-6 เดือน)
    ผู้ปกครองสามารถใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดบริเวณ เหงือก ลิ้น และกระพุ่งแก้ม ไม่ควรปล่อยให้ลิ้นเป็นฝ้าขาวเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียได้
    null
    การจัดท่าในการทำความสะอาดฟันน้ำนมของเด็กอ่อน
    การดูแลสุขภาพช่องปากระยะฟันน้ำนมค่าดังขึ้น
    • ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี
      เลือกแปรงสีฟันขนนุ่มหน้าตัดตรงขนาด ที่เหมาะสมกับเด็กร่วมกับที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppmได้กรณีเสี่ยงผุสูง) แตะขนแปรงพอเปียก หรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร โดยให้ผู้ปกครองแปรงให้และเช็ดฟองออก
    null
    ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี : บีบยาสีฟันแตะขนแปรงพอเปียกหรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร
    • 3-6 ปี
      ผู้ปกครองบีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppm ได้กรณีเสี่ยงผุสูง)
      ขนาดเท่าความกว้างของแปรง หรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
      และช่วยแปรงฟันให้คอยเตือนให้บ้วนฟองยาสีฟันทิ้ง แต่ไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือเท่านั้น
    null
    3-6 ปี : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความกว้างของแปรงหรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
    • 6 ปีขึ้นไป
      บีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,450-1,500 ppm ขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน แปรงด้วย ตนเองอย่างน้อย 2-3 นาที หลังแปรงให้บ้วนฟองออก โดยไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือ (10 ml)
    null
    6 ปีขึ้นไป : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน
    ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
    null
    ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
    ข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันน้ำนม
    null
    Q หากพบฟันแท้ หน้าล่างขึ้นซ้อนหลังฟันน้ำนมดังรูป จำเป็นต้องรีบถอนฟันน้ำนมหรือไม่ ?
    A หากพบว่าฟันแท้ หน้าล่างนั้นขึ้นมาได้เกินครึ่งชีฟันแล้ว แต่ยังไม่พบว่ามีการโยกของฟันน้ำนม อาจจำเป็นต้องได้รับการถอน แต่หากฟันแท้ขึ้นได้เกินครึ่งที่ฟันและพบว่าฟันน้ำนมโยกมาก อาจปล่อยให้ฟันน้ำนมหลุดออกเองได้
    null
    Q หากพบว่าเด็กมีอาการปวดฟันน้ำนม ทานอาหารลำบาก จำเป็นต้องได้รับการถอนฟันหรือไม่ ?
    A ไม่เสมอไป เพราะหากทันตแพทย์ตรวจพบว่าฟันน้ำนมนั้นมีโครงสร้างตัวฟันที่เหลืออยู่มาก ประกอบกับรากฟันยังเหลือความยาวที่เหมาะสม จากภาพถ่ายรังสีฟันไม่โยกหรืออาจเป็นเวลาอีกนานกว่าที่ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะชิ้นได้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กสามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้ดี ทันตแพทย์อาจพิจารณาทำการรักษารากฟันน้ำนมและทำครอบฟันน้ำนมแทนการถอนฟัน เพื่อให้ฟันน้ำนมนั้นยังสามารถใช้บดเคี้ยวได้และเพื่อรอจนกว่าฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะเริ่มดันขึ้น และรากฟันน้ำนมซี่นั้นก็จะละลายและหลุดไปตามเวลา
    null
    Q ฟันน้ำนมห่าง หรือช้อนเก จะมีผลอย่างไร ต่อฟันแท้หรือไม่ ?
    A ช่วงวัย 2-6 ปี กว่าร้อยละ 60 พบได้ว่าฟันหน้าน้ำนมจะเรียงตัวห่างกัน ซึ่งมีประโยชน์ในการเตรียมที่ไว้ให้ฟันแท้ที่ขนาดใหญ่กว่านั้นขึ้นได้โดยไม่เบียดกัน แต่หากพบว่าชุดฟันน้ำนมมีลักษณะร้อนเก หรือชิดกันมาก อาจเกิดได้จากลักษณะฟันที่ไม่สัมพันธ์กับขากรรไกรซึ่งทำให้มีโอกาสที่ฟันแท้ที่ขึ้นมาอาจซ้อนเกได้ กรณีนี้จึงควรได้รับการติดตามการขึ้นของฟันแท้กับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    null
    Q หากลูกเลิกขวดนมช้า หรือทานนมแล้วนอนจะมีผล อย่างไรต่อฟันหรือไม่?
    A สมาคมทันตแพทย์สาหรับเด็กประเทศสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatric Dentistry) แนะนำให้เลิกขวดนมเมื่อเด็กอายุ 1 ปี - 1 ปีครึ่ง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยว/กลืนอาหารในระดับที่เหมาะสมกับวัย การพัฒนาทางกล้ามเนื้อ การพัฒนาทางด้านภาษาและการพัฒนาทางด้านอารมณ์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    เคลือบหลุมร่องฟัน
    300 - 500.-
    (ต่อซี่)
    ขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์
    600 - 800.-
    รักษารากฟันน้ำนมเด็ก
    2,500 - 3,000.-
    ครอบฟันเด็ก (SSC)
    2,000 - 2,500.-
    ถอนฟันน้ำนม(ต่อซี่)
    500 - 700.-
    (ต่อซี่)
    เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
    150.-
    (ต่อฟิล์ม)
    เอกซเรย์พานอรามิก
    800.-
    (ต่อฟิล์ม)
    อุดฟันน้ำนม
    600 - 1,000.-

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว
    การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นการเฝ้าระวัง ป้องกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็น โรคภัยที่มากับฤดูหนาวแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
    1. โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ
    (เช่น โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ โรคโควิด-19) แพร่กระจายผ่านละอองฝอย เสมหะและน้ำมูก จากการไอ จาม มักมีอาการไข้เฉียบพลัน ไอ หนาว ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตาแดง ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะหายได้เอง แต่กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ที่มีประวัติโรคเรื้อรัง กลุ่มเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรง ในกรณีที่สงสัยเป็น covid-19 ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที และหากผลเป็นบวกให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และเข้ารับการรักษา
    2. โรคติดต่อทางเดินอาหาร
    (เช่น โรคอุจจาระร่วงจากไวรัส) เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำ/น้ำแข็งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค (ตัวอบ่างเช่น ไวรัสก่อโรคทางเดินอาหาร) การรับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก หรือค้างมื้อ ภาชนะที่ใช้ไม่สะอาด โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ส่วนใหญ่อาจหายได้เอง แต่หากมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป อาจทำให้ช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ ป้องกันได้โดยการดูแลสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาดและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด
    3. โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ
    ในช่วงฤดูหนาว (โรคหัด) ติดต่อโดยการไอ จาม หรือพูดคุยระยะใกล้ชิด ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ใน 1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีอาการ มักมีไข้ น้ำมูกไหล จะไอแห้ง มีผื่นขึ้นลักษณะผื่นนูนแดง ติดกันเป็นปื้นๆ ไม่มียารักษาจำเพาะ แต่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคได้ โดยฉีดเข็มแรกอายุ 9-12 เดือน เข็มสองอายุ 1 ปีครึ่ง
    4. ภัยจากอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป
    มีโอกาสเกิดการเสียชีวิตขึ้น ทั้งในและนอกที่พักอาศัย จากการที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องห่มกันหนาวที่เพียงพอ ควรเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มเครื่องดื่มที่ให้ความอุ่น สวมใส่เครื่องนุ่งห่มกันหนาวที่เพียงพอ
    ข้อควรปฏิบัติในการดูแลรักษาสุขภาพในฤดูหนาว
    1. ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สะอาดปรุงสุกใหม่ ๆ ดื่มน้ำที่สะอาดหรือ น้ำต้มสุก น้ำบรรจุขวดที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ (เครื่องหมาย อย.) รวมทั้งเลือกซื้อน้ำแข็งที่สะอาด ไม่มีตะกอน ไม่ควรรับประทานน้ำแข็งที่ใช้แช่อาหารอื่น
    2. รักษาร่างกายให้อบอุ่น ในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง โดยการสวมเสื้อผ้าหลายๆ ชั้น เพื่อให้ร่างกาย อบอุ่น มีความต้านทานโรค
    3. ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    4. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด นาน 15-20 วินาที
    5. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยควรอยู่บ้าน พักรักษา ตัวให้หาย ไม่ควรเข้าไปในที่ชุมชน แต่หากเข้าไปในที่ชุมชนให้สวมหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ จาม
    6. สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ สะอาดอยู่เสมอ
    การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่น รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการป่วย และลดโอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิต

    โปรแกรมและแพ็คเกจ