พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล

พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล
อายุรแพทย์โรคหัวใจ

พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล

Juthathip Nyamvisetchaikul, M.D.
Specialty
  • อายุรกรรมโรคหัวใจ
    Cardiovascular Medicine

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • อายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
WED 09:00 - 15:00 สัปดาห์ที่ 1,3,5

การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นการเฝ้าระวัง ป้องกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็น โรคภัยที่มากับฤดูหนาวแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
1. โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ
(เช่น โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ โรคโควิด-19) แพร่กระจายผ่านละอองฝอย เสมหะและน้ำมูก จากการไอ จาม มักมีอาการไข้เฉียบพลัน ไอ หนาว ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตาแดง ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะหายได้เอง แต่กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ที่มีประวัติโรคเรื้อรัง กลุ่มเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรง ในกรณีที่สงสัยเป็น covid-19 ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที และหากผลเป็นบวกให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และเข้ารับการรักษา
2. โรคติดต่อทางเดินอาหาร
(เช่น โรคอุจจาระร่วงจากไวรัส) เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำ/น้ำแข็งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค (ตัวอบ่างเช่น ไวรัสก่อโรคทางเดินอาหาร) การรับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก หรือค้างมื้อ ภาชนะที่ใช้ไม่สะอาด โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ส่วนใหญ่อาจหายได้เอง แต่หากมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป อาจทำให้ช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ ป้องกันได้โดยการดูแลสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาดและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด
3. โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ
ในช่วงฤดูหนาว (โรคหัด) ติดต่อโดยการไอ จาม หรือพูดคุยระยะใกล้ชิด ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ใน 1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีอาการ มักมีไข้ น้ำมูกไหล จะไอแห้ง มีผื่นขึ้นลักษณะผื่นนูนแดง ติดกันเป็นปื้นๆ ไม่มียารักษาจำเพาะ แต่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคได้ โดยฉีดเข็มแรกอายุ 9-12 เดือน เข็มสองอายุ 1 ปีครึ่ง
4. ภัยจากอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป
มีโอกาสเกิดการเสียชีวิตขึ้น ทั้งในและนอกที่พักอาศัย จากการที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องห่มกันหนาวที่เพียงพอ ควรเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มเครื่องดื่มที่ให้ความอุ่น สวมใส่เครื่องนุ่งห่มกันหนาวที่เพียงพอ
ข้อควรปฏิบัติในการดูแลรักษาสุขภาพในฤดูหนาว
  1. ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สะอาดปรุงสุกใหม่ ๆ ดื่มน้ำที่สะอาดหรือ น้ำต้มสุก น้ำบรรจุขวดที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ (เครื่องหมาย อย.) รวมทั้งเลือกซื้อน้ำแข็งที่สะอาด ไม่มีตะกอน ไม่ควรรับประทานน้ำแข็งที่ใช้แช่อาหารอื่น
  2. รักษาร่างกายให้อบอุ่น ในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง โดยการสวมเสื้อผ้าหลายๆ ชั้น เพื่อให้ร่างกาย อบอุ่น มีความต้านทานโรค
  3. ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด นาน 15-20 วินาที
  5. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยควรอยู่บ้าน พักรักษา ตัวให้หาย ไม่ควรเข้าไปในที่ชุมชน แต่หากเข้าไปในที่ชุมชนให้สวมหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ จาม
  6. สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ สะอาดอยู่เสมอ
การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่น รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการป่วย และลดโอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย

นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย
อายุรแพทย์

นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย

DUTSADEE CHARUNVARAKORNCHAI, M.D.
Specialty
  • อายุรกรรม
    Internal Medicine

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุเกล้า
  • วุฒิบัตรอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุเกล้า
ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 17:00 - 20:00

พญ.นุจจรินทร์ กำจรจิระพันธ์

พญ.นุจจรินทร์ กำจรจิระพันธ์
อายุรแพทย์

พญ.นุจจรินทร์ กำจรจิระพันธ์

NUTCHARIN KAMJOHNJIRAPHUN, M.D.
Specialty
  • อายุรกรรม

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตรอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 08:00 - 16:00

นพ.คงพจน์ วิรุฬห์พจน์

นพ.คงพจน์ วิรุฬห์พจน์
อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง

นพ.คงพจน์ วิรุฬห์พจน์

Kongpoj Wirunpoj, M.D.
Specialty
  • ระบบประสาทและสมอง
  • Neurologist

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • วุฒิบัตร อายรุศาสตร์ สาขาประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
THU 16:00 - 20:00

สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

stomach cancer
จะแยกได้อย่างไร? โรคกระเพาะหรือมะเร็งกระเพาะอาหาร
สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการลักษณะใด วิธีป้องกัน และวิธีการรักษา สามารถไขข้อสงสัยขั้นเบื้องต้นได้จากวิดีโอนี้เลยค่ะ เพราะการป้องกันดีกว่าการรักษา #โรงพยาบาลบางโพ#มะเร็ง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด

กินอาหารอย่างไร ช่วยต้านหวัด

เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงภูมิต้านทานต่ำ อาจนำมาสู่โรคหวัดได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ดี จะช่วยสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันหวัดได้ หากเริ่มมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจไม่ออก อาจมีอาการคันคอร่วมด้วย อาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะบอกเราว่าร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่สภาพอากาศใหม่ ทำให้มีผลข้างเคียงดังกล่าว ซึ่งสามารถป้องกันได้ ด้วยการเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง
ง่ายๆ 5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด
1. รับประทานผัก ผลไม้หลากสี
ผักต่างๆ เช่น มันเทศ แครอท ผักโขม และบีทรูทนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่งจำเป็นต่อร่างกายของเรา วิตามินเอช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดความเจ็บป่วย ป้องกันการติดเชื้อได้
2. เพิ่มกระเทียมหรือหัวหอมในมื้ออาหาร
ผักตระกูลนี้ มีสารอะลิซิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญกับร่างกาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ยังช่วยสุขภาพทางเดินอาหารที่ดีในมีพรีไบโอติก โดยเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ
3. ทานวิตามินซีให้เพียงพอ
วิตามินซีที่เข้มข้นเป็นพิเศษได้การยอมรับว่าเป็นยาป้องกันไข้หวัดทั่วไปมาเป็นเวลานาน การรับประทานผักและผลไม้ปริมาณมากทุกวันควรให้วิตามินซีเพียงพอแก่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม บรอกโคลี ถั่วลันเตา กีวี มะระกอ ฝรั่ง และผลไม้รสเปรี้ยว
4. การทานข้าวโอ้ตและธัญพืชต่าง ๆ
ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์อุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ที่เรียกว่าเบต้ากลูแคน ซึ่งนอกจากจะทำให้เราอิ่มแล้ว ยังมีผลช่วยปรับภูมิคุ้มกัน - เพิ่มจำนวนและการทำงานของเซลล์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
5. การรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีแร่ธาตุสังกะสี (Zinc, Zn)
อาหารที่มีกลุ่มโปรตีนสูงๆ เช่น หอยนางรม เนื้อไก่ ไข่แดง เนื้อหมู อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอย โดยเฉพาะหอยนางรม จะพบสังกะสีมากที่สุด แร่ธาตุสังกะสีช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และช่วยลดการอักเสบ ลดระยะการเจ็บป่วยได้

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

เพราะความรักและกำลังใจ จากบุคคลที่รัก ทำให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า

เพราะความรัก และกำลังใจจากบุคคลที่รัก ทำให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า

มนุษย์ทุกคน ล้วนต้องการความรัก ความเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานการดำเนินชีวิตและทำภารกิจในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรักจากบุคคลที่รัก การโอบกอด ด้วยท่าทีอบอุ่น ห่วงใย ให้ความรักและกำลังใจ รวมถึงเข้าใจ เปิดใจพร้อมรับฟังความรู้สึกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยลดปัญหาอาการของโรคบางชนิด เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) และปัจจุบันในสังคมยุคเทคโนโลยีก้าวไกล สังคมโลกโซเชียลไร้พรมแดน ตัวเราก็อาจเป็นทั้งคนทำลาย หรือเป็นเหยื่อกับการกระทำของบุคคลที่ไม่รู้จัก ก็อาจส่งผลกระทบในการเกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนลงมือแชร์ กดไลค์ หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ที่จะทำให้บุคคลอื่นรู้สึกด้อยค่า ย่ำแย่ อับอาย เสื่อมเสีย ควรคิดก่อนเพราะเมื่อทำไปแล้ว แม้จะถูกลบแต่ก็ยังฝังในจิตใจของผู้ถูกกระทำเสมอ

โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตของตนเองและบุคคลรอบข้าง เพื่อป้องกันความเสี่ยงก่อนเกิดภาวะซึมเศร้า เรามีวิธีสังเกตอาการของตัวเองและคนใกล้ชิด ง่ายๆ ดังนี้
  • มีปัญหาด้านการนอน เช่น หลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ หรือนอนมากผิดปกติ
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ภายใน 1 เดือน
  • อาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง
  • ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว
  • การทำงานแย่ลง ไม่มีสมาธิในการทำงาน ขาดงานบ่อย
  • ลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ จิตใจเหม่อลอยบ่อย
  • รู้สึกเบื่อ เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สะเทือนใจง่าย
  • คิดมาก หรือไม่สู้ปัญหา
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า
  • ร้องไห้บ่อย อ่อนไหว ไม่แจ่มใส
  • หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป
  • หากผื่นลมพิษมีปัจจัยกระตุ้น ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นนั้นๆ
การรักษาทำได้หลายวิธี เช่น
  1. การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า เนื่องจากโรคซึมเศร้ามีสาเหตุเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองเสียสมดุล การให้ยาต้านเศร้า เพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยควรทานยาจนดีขึ้นและทานต่ออีกอย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
  2. การรักษาทางจิตใจ นับเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีในการลดอาการซึมเศร้าวิธีหนึ่ง การรักษาด้วยจิตบำบัดมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม การรักษาจิตบำบัดเชิงลึก เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจปมขัดแย้งที่อยู่ในจิตใจของตนเองจนหันมาสู่โรคซึมเศร้า
  3. การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมอง TMS ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีภาวะเสียสมดุลของสารเคมีในสมอง การรักษาด้วย dTMS (deep Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นสมองในจุดที่มีผลต่อโรค เพื่อปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติและช่วยลดอาการซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยา หรือรับประทานยาเกินหนึ่งปีแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก อาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือเป็นอย่างเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น มีเหตุการณ์มากระทบรุนแรงมากน้อยเพียงใด หากพบว่าตนเองมีอาการข้างต้นมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาต่อไป การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม อาการของโรคก็จะทุเลาลงและกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ
ดังนั้นความรักและกำลังใจจากบุคคลที่รักหรือคนรอบข้าง จึงเป็นการป้องกัน “โรคซึมเศร้า” ที่ดีที่สุด และสำหรับเด็กๆ ในสังคมปัจจุบัน เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญกับเด็กมาก พ่อแม่ต้องเลี้ยงลูก 3 ด้าน คือ 1. ทางร่างกาย คือรักษาสุขภาพให้แข็งแรง 2. ทางจิตใจ คือรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง รู้จักรักตัวเอง 3. ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความคิด รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี คุณพ่อคุณแม่ทำได้โดยสื่อสารด้วยหัวใจ 3 ขั้นตอน คือ เปิดใจ เข้าใจ รับฟัง แล้วบุคคลที่รัก จะห่างไกลจากโรคซึมเศร้า
อ้างอิง
กรมสุขภาพจิต
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลบางโพ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

สาระน่ารู้ “อาหารบำบัดภาวะไขมันในเลือดสูง”

สาระน่ารู้ “อาหารบำบัดภาวะไขมันในเลือดสูง”

Knowledge "Food for Dyslipidemia"
ข้อแนะนำในการรับประทานอาหาร ปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารส่วนรับประทานได้
  1. รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันน้อย เลือกวิธีการหุงต้มอาหารแบบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยำ หรือผัดน้ำมันน้อย
  2. ควรใช้น้ำมันพืชชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fattyacid) ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง (ในปริมาณวันละ 5-7 ช้อนชา)
  3. เน้นการรับประทานเต้าหู้และเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาแซลมอน จะช่วยในการเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDL) และลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL Triglyceride)
  4. รับประทานผักและผลไม้ไม่หวานจัดเป็นประจำทุกมื้อ และให้หลากหลาย (ผักและผลไม้ไม่ควรน้อยกว่า 400 กรัม/วัน)
  5. หลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดกรดไขมันอิ่มตัวสูง (saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมัน หมู ไก่
  6. หลีกเลี่ยง เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง และอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ปลาท่องโก๋ กล้วยแขก ข้าวหาหมู ผัดไท หอยทอด ผัดซีอิ้ว
  7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมันติดหนัง เครื่องในสัตว์ติดมัน ติดหนัง เครื่องในสัตว์
  8. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานซ์สูง (Trans fatty acid) เช่น พาย โดนัท ขนมขบเคี้ยว เนยเทียม มาการีน หรือ หนมเบเกอรรี่ต่างๆ
  9. ควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง และควรรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อน 18.00 น (ควบคุมหรือป้องกันภาวะ Triglyceride สูง)
  10. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวานหรือมีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ต่างๆ น้ำอัดลม (ควบคุมหรือป้องกันภาวะ Triglyceride สูง)
  11. งดการสูบบุหรี่ แลงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอร์ทุกชนิด
  12. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน
  13. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (ค่า BMI = 18.5-22.9)
คำนวณ BMI

ตารางแสดงปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารส่วนรับประทานได้ 100 กรัม
ชนิดอาหาร
ปริมาณ(กรัม)
100 g.
โคเลสเตอรอล(มก.)
Cholesterol(mg.)
ประเภทไข่
ไข่ไก่ (ไข่แดง)
6 ฟองใหญ่
1602
ไข่ไก่ (ไข่ขาว)
3 ฟองใหญ่
0
ไข่ไก่ทั้งฟอง
2 ฟองใหญ่
548
ไข่นกทาทั้งฟอง
11 ฟองใหญ่
844
ไข่เป็ดทั้งฟอง
2 ฟองกลาง
884
ไข่ปลา
10 ช้อนชา
374
ประเภทอาหารทะเล
ปลากระพงแดงสุก
8 ช้อนโต๊ะ
45
ปลาเก๋าทะเลสุก
8 ช้อนโต๊ะ
37
ปลาทูสุก
8 ช้อนโต๊ะ
45
ปลาโอสุก
10 ช้อนโต๊ะ
46
ปลากระบอกสุก
8 ช้อนโต๊ะ
60
ปลาหมึกดองสุก
10 ช้อนโต๊ะ
224
ปลาหมึกกล้วยสุก
10 ช้อนโต๊ะ
260
กุ้งสุก
8 ช้อนโต๊ะ
195
เนื้อปูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
100
หอยนางรมสุก
4 ตัวขนาดกลาง
100
หอยแครงสุก
15 ตัวขนาดกลาง
67
หอยแมลงภู่สุก
15 ตัวขนาดกลาง
56
หอยเชลล์สุก
7 ตัวขนาดกลาง
61
ประเภท หมู ไก่
เนื้อหมูล้วน
10 ช้อนโต๊ะ
65
เนื้อหมูติดมัน
7 ช้อนโต๊ะ
72
เนื้อหมูติดมัน
10 ช้อนโต๊ะ
93
หมู 3 ชั้น
7 ช้อนโต๊ะ
72
ซี่โครงหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
121
ตับหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
355
ไส้หมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
143
กระเพราะหมูสุก
8 ช้อนโต๊ะ
276
ไตหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
480
ปอดหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
387
หัวใจหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
221
หัวใจหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
2552
แคบหมู
2.5 ถ้วยตวง
95
แคบหมูติดมัน
2.5 ถ้วยตวง
328
เบคอนสุก
10 ช้อนโต๊ะ
85
แฮม
10 ช้อนโต๊ะ
59
กึ๋นไก่
8 ช้อนโต๊ะ
171
เนื้อไก่ล้วนสุก
10 ช้อนโต๊ะ
89
เนื้อไก่ติดหนัง
7 ช้อนโต๊ะ
75
ตับไก่สุก
10 ช้อนโต๊ะ
631

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ”สมองและระบบประสาท"
Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง(EEG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

Electroencephalography
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองคืออะไร
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองหรือ EEG เป็นการบันทึกสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากผลรวมของกระแสไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์ในสมอง ผลการตรวจจะปรากฏในรูปแบบกราฟบนแถบกระดาษหรือในจอภาพ (มอนิเตอร์)
ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองมีอะไรบ้าง
  1. ผู้ตรวจติดอิเลคโทรดบนหนังศีรษะในตำแหน่งต่าง ๆ
  2. เมื่อเปิดเครื่องตรวจ สัญญาณไฟฟ้าจากสมอง จะปรากฏเป็นเส้นกราฟบนแถบกระดาษหรือจอภาพตลอดเวลาที่ตรวจ
  3. ผู้ป่วยสามารถนอนหลับตาในขณะตรวจบางครั้ง ผู้ตรวจอาจขอให้ลืมตา หลับตา หายใจเข้าออกลึก ๆ คิดคำนวณ หรือ จำคำต่าง ๆ ขณะตรวจ
  4. ระยะเวลาการตรวจนานประมาณ 1 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านี้ ถ้ามีการตรวจพิเศษ
  5. มักมีการถ่ายวิดีโอไปพร้อมกับการบันทึกคลื่นสมองเพื่อวินิจฉัยได้ดีขึ้น
  6. กรณีเด็กเล็กหรือเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการที่ไม่ให้ความร่วมมือ อาจต้องให้ยานอนหลับ หลังจากนั้นอาจปลุกเด็กให้ตื่น เพื่อตรวจในขณะตื่นด้วย
นอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีวิธีกระตุ้นให้ผิดปกติในคลื่นสมองบางชนิดปรากฏชัดเจนมากขึ้นได้แก่
  1. การหายใจลึกนาน 3 – 5 นาที
  2. ใช้แสงไฟกระพริบฉายที่ใบหน้าผู้ป่วย แสงไฟกระพริบนี้ไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อผู้ป่วย
  3. การอดนอน โดยเข้านอนดึกที่สุดและปลุกให้ตื่นเช้ากว่าปกติ
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจคลื่นสมอง
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจคลื่นสมองสามารถลดเวลาการตรวจคลื่นสมองและไม่ต้องเสียเวลากลับมาทำซ้ำ การเตรียมตัวทำดังนี้
  1. สระผมให้สะอาด ห้ามใส่น้ำมันหรือครีมใดๆ
  2. ถ้ากินยากันชักอยู่ให้กินต่อไปห้ามหยุดยากันชักเองอย่างกะทันหันเพื่อทำการตรวจ ยกเว้นกรณีแพทย์ระบบประสาทบอกให้หยุด
  3. เด็กเล็กผู้ปกครองควรเตรียมขวดนมหรือน้ำ และของเล่นของเด็กมาด้วย
  4. ในเด็ก ถ้าสามารถทำให้เด็กไม่นอนหลับก่อนมาตรวจเด็กอาจหลับได้ขณะที่ทำการตรวจโดยไม่ต้องให้ยานอนหลับ
การตรวจคลื่นสมองในผู้ป่วยโรคลมชักจะพบความผิดปกติเสมอหรือไม่
ผู้ป่วยโรคลมชักอาจตรวจไม่พบความผิดปกติในการตรวจคลื่นสมองเพียงครั้งเดียว ดังนั้นผลการตรวจที่ปกติไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นโรคลมชัก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

แค่โรคกระเพาะ หรีอ มะเร็ง

แค่โรคกระเพาะ หรือ มะเร็ง

stomach cancer
จุกแน่น ท้องอืด ปวดหรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี
เป็นอาการที่พบบ่อยในประชากร จากการสำรวจในประชากรไทยพบว่ามีมากกว่าร้อยละ 50 หรือมากกว่าครึ่งที่เคยประสบปัญหานี้ โดยประชากรกลุ่มนี้แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะตรวจไม่พบโรคร้าย แต่ก็มีผู้ป่วยอีกถึง 14% ที่่จะตรวจพบความผิดปกติในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อนชนิดรุนแรง รวมทั้งโรคที่อันตรายอย่างมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งหลอดอาหาร นอกจากนั้นอาการเหล่านี้ก็อาจจะเป็นอาการของอวัยวะอื่นๆได้ เช่น มะเร็งที่ตับ นิ่วในถุงน้ำดี ดังนั้นคงไม่ถูกซะทีเดียวหากเราจะเหมารวมผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่นหรือแสบบริเวณลิ้นปีเป็นโรคจุกแน่นแบบธรรมดาหรือที่มักเรียกกันว่า "โรคกระเพาะ"ทั้งหมด ดั้งนั้นผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรที่จะมาพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการซักประวัติและการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง ไม่ควรที่จะซื้อยามารับประทานเอง เพราะถึงแม้ว่าหลังรับประทานยาแล้วอาการตีขึ้นก็ไม่ได้บ่งบอกว่าผู้ป่วยไม่เป็นโรคร้าย เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารก็สามารถมีอาการที่ดีขึ้นได้จากการกินยาลดกรดในกระเพาะอาหารเช่นเดียวกัน
มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิตมากเป็นอันดับที่สองของโลก สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคคือมีการติดเชื้อโรคที่ชื่อ "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter py(ori)" โดยหากมีเชื้อโรคชนิดนี้อยู่ในกระเพาะอาหารจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 13 เท่าเลยทีเดียว ในส่วนของอาการนั้นหากมะเร็งยังอยู่ในระยะเริ่มแรกก็จะไม่สามารถแยกโรคกับโรคกระเพาะอาหารแบบธรรมดาได้เลยการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ต้องใช้การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนเท่านั้น แต่หากมะเร็งอยู่ในระยะหลังก็จะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อาเจียนเรื้อรัง อาเจียนเป็นเลือดหรือสีดำ อุจจาระเป็นสีดำ กลืนติดหรือกลืนลำบาก ซีด โลหิตจาง อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซึ่งหากมะเร็งเข้าสู่ระยะหลังแล้วมักจะมีการดำเนินโรคที่รุนแรงอัตราการหายขาดจากโรคจะลดลงจาก 71 % เหลือเพียง 44 เท่านั้น ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรที่จะได้รับการตรวจด้วยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อวินิจฉัยและรักษาเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และเพื่อที่จะได้ค้นพบมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งการกำจัดเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรนี้นอกจากจะลดโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารแล้ว ยังช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
เมื่อไรควรพบแพาย์
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่น ท้องอืด ปวดหรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ควรที่จะมาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนเพื่อป้องกันและรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะแรก โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงดังต่อไปนี้
  1. มีอาการเตือนที่ทำให้สงสัยมะเร็ง คือ เริ่มมีอาการหลังอายุ 50 ปี รักษาแล้วไม่ดีขึ้นหรือมีการกลับเป็นซ้ำของอาการ อาเจียนเรื้อรัง อาเจียนเป็นเลือดหรือสีดำ อุจจาระเป็นสีดำ กลืนติดหรือกลืนลำบาก ซีด โลหิตจางอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ไข้
  2. มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งในอนาคต ได้แก่ มีญาติป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  3. มีความเสี่ยงของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ มีความจำเป็นต้องกินยาละลายลิ่มเลือดหรือแอสไพรินในระยะยาว มีความจำเป็นต้องกินยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบอย่างเรื้อรัง
การป้องกัน ย่อมดีกว่าการรักษา ดังนั้นการคัดกรองมะเร็ง อาจทำให้พบมะเร็งได้ในระยะเริ่มต้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Promotion ตรวจเช็คโรคระบบประสาทและสมอง
คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

“ตับแข็ง และมะเร็งตับ” รู้ก่อน ป้องกันก่อน

เฝ้าระวังโรคตับตั้งแต่วันนี้…..ป้องกันตับแข็ง และมะเร็งตับ

Liver Cancer
ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของร่างกายรองจากผิวหนัง  และมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย ได้แก่  การสร้างน้ำดีเพื่อช่วยในกระบวนการย่อยไขมัน การสังเคราะห์โปรตีนไข่ขาวและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย และช่วยกำจัดสารพิษต่างๆ  อย่างไรก็ตามแม้ตับจะเป็นอวัยวะที่จำเป็นต่อร่างกาย  แต่ตับกลับมีเพียงข้างเดียวเช่นเดียวกับหัวใจ  ดังนั้นความเสียหายต่อตับย่อมสร้างความเสียหายต่อร่างกายได้อย่างมาก
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะการบาดเจ็บต่อตับหรือตับอักเสบนั้นมีดังนี้คือ
  1. เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยเฉพาะชนิดบี และซี
  2. แอลกอฮอล์ ซึ่งมาจากการดื่มสุรา เบียร์
  3. ภูมิต้านทานต่อตับมากผิดปกติ
  4. สารพิษต่างๆ
  5. ไขมันเกาะตับ
  6. พันธุกรรม
  7. ภาวะธาตุเหล็กเกิน
  8. เส้นเลือดที่เกี่ยวข้องกับตับผิดปกติ
ในส่วนของอาการนั้นหากการบาดเจ็บของตับยังมีไม่มากผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการอะไรหรือมีเพียงอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร  หรือคันโดยเฉพาะปลายมือปลายเท้าเท่านั้น และจะวินิจฉัยได้เมื่อพบความผิดปกติจากการตรวจเลือดเท่านั้น  แต่หากการบาดเจ็บของตับทวีความรุนแรงมากขึ้นผู้ป่วยถึงจะเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนของโรคตับ  คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องบวมโต  ขาบวม อาเจียนเป็นเลือด  อาการสับสนจากการมีสารพิษคั่งในร่างกาย  ผู้ป่วยในระยะนี้มักจะมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี  บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการเปลี่ยนตับ
การวินิจฉัยโรคตับ
การวินิจฉัยโรคตับตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นเป็นสิ่งที่จำเป็น  เพื่อป้องกันไม่ให้มีการทำลายของตับอย่างเรื้อรังหรือรุนแรง จนเกิดภาวะตับแข็ง ตับวาย รวมทั้งมะเร็งตับตามมา ซึ่งเป็นระยะที่รักษาให้หายขาดได้ยาก และก่อให้เกิดทุพพลภาพเป็นอย่างมาก  ดังนั้นหากเป็นไปได้บุคคลทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพตับเป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ที่มีความอาการหรือเสี่ยงดังต่อไปนี้
  1. มีอาการที่บ่งชี้ถึงโรคตับ ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องบวมโต ขาบวม อาเจียนเป็นเลือด อาการสับสน
  2. มีพฤติกรรมหรือประวัติเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นโรคตับ ได้แก่ ดื่มเหล้า สุรา มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันหรือมีเพศสัมพันธ์กับหลายบุคคล ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น  เคยสัก  เคยได้รับเลือดมาก่อน  รับประทานยาที่อาจก่อให้เกิดพิษต่อตับ เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาสมุนไพร
  3. มีภาวะหรือโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับ ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
  4. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ ตับแข็ง หรือมะเร็งตับ

โรคตับเป็นโรคที่รักษาได้หากวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น  ซึ่งการรักษาก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ตับที่ดีกลายเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับในอนาคต  ดังนั้นอย่ารอช้าที่จะมาดูแลสุขภาพของตับกันนะครับ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งตับ
Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%