สัญญาณอันตราย…โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

สัญญาณอันตราย...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

Coronary artery disease :CAD
โรคหัวใจเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ประชากรไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ   ส่วนใหญ่โรคหัวใจที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด
  1. เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย  อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
  2. อาการอื่นที่อาจเป็นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นลักษณะเฉพาะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นผลจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะตายในเวลาอันรวดเร็ว ภายใน 6 ชั่วโมง
โอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ได้แก่
  1. ผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป
  2. โรคเบาหวาน
  3. ความดันโลหิตสูง
  4. ไขมันในเลือดสูง
  5. สูบบุหรี่
  6. ความเครียด
  7. ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  8. มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
หากมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ โอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบยิ่งสูงขึ้น
ทำไมต้องมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็ว หลังเกิดอาการแน่นหน้าอก
การมาถึงโรงพยาบาลโดยเร็วโดยเฉพาะใน 2 ชั่วโมงแรกของการเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่รวดเร็วทันเวลา เพื่อจำกัดบริเวณกล้ามเนื้อส่วนที่ตายไปแล้วและช่วยกล้ามเนื้อส่วนที่กำลังจะตายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
ผลเสียจากการตัดสินใจล่าช้า
การตัดสินใจล่าช้าอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้างและลึก เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภาวะช็อคจากหัวใจ  โดยเฉพาะภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังจากเกิดอาการ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีการแสดงของโรคหลายแบบ
  1. กรณีที่วิกฤตที่สุดจะเกิดคราบแข็งแตกตัวเฉียบพลัน ร่วมกับการเกิดลิ่มเลือดเกาะตัวมารวมกันอุดตันเส้นเลือดทันที ทำให้เกิดอาการหลอดเลือดหัวใจอุดตันในเวลาอันสั้นเป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงโดยไม่เคยรู้ตัวมาก่อน เรียกว่า อาการเจ็บหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome & Acute Myocardial Infarction)
  2. กรณีรองลงมา คราบแข็ง (Plaque) จะพอกตัวขึ้นช้าๆ ลิ่มเลือดเกิดขึ้นครั้งละน้อยๆ และละลายตัวได้ทันเองจากยา ไม่อุดตันในหลอดเลือดส่วนที่แคบจากคราบแข็ง หากการแคบตีบ จะมีอาการเพียง เจ็บหน้าอกร้าวไปไหล่ร่วมกับเหงื่อแตกขณะเจ็บหน้าอก เหนื่อย ความดันโลหิตสูง ถ้าควบคุมไม่ได้ อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจกราฟหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
  3. อาการเจ็บหน้าอกที่บ่งชี้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Angina Pectoris) มักเป็นการเจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก
การรักษา
  1. รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด
  2. รักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนและการใช้ขดลวดค้ำยัน
  3. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ
  4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ งดอาหารไขมันสูง ลดอาหารแป้งและน้ำตาล งดอาหารเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด
  5. รักษาโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รับประทานยาและติดตามการรักษาต่อเนื่อง
สัญญาณอันตราย เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น
หากมีอาการเหล่านี้ควรปร๊กษาแพทย์ ตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจ เพื่อการรักษาก่อนเกิดโรค

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

โปรแกรม ตรวจสุขภาพ S M L

ชุดตรวจสุขภาพ S, M, […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

มารู้จัก โรคหัวใจกันเถอะ

มารู้จัก โรคหัวใจกันเถอะ

WORLD HEART DAY
 
ประวัติวันหัวใจโลก
วันหัวใจโลกมีต้นกำเนิดมาจากสมาพันธ์นานาชาติ ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ ที่เป็นปัญหาในการทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตโดย International Society of Cardiology ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี1946 และ International Cardiology Federation ในปี 1970 ต่อมาในปี 1978 ทั้ง 2 สมาพันธ์ได้รวมตัวกันเป็น International Society and Federation of Cardiology (ISFC). และเปลี่ยนชื่อเป็น World Heart Federation ในปี 1998

วันหัวใจโลก (World Heart Day) ตรงกับวันที่ 29 กันยายนของทุกปี จัดขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นน 1 ใน 7 โรคไม่ติดต่อ และเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในอับดับต้นๆ ของคนไทยและคนทั่วโลก โดยเฉพาะในคนไทยเกิดจากวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมากมาย ทั้งเรื่องการรับประทานที่มากเกินพอดี มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ใช้เครื่องอำนวยความสะดวกมากขึ้น ขาดการออกกำลังกาย รวมถึงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พฤติกรรมดังกล่าวส่งเสริมให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และส่งผลให้คนเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดกันมากขึ้น

โรคหัวใจ
  1. โรคหัวใจ
  2. โรคหลอดเลือดหัวใจ
  3. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  4. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
  5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  6. โรคลิ้นหัวใจ
  7. โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ
โรคหัวใจนั้นไม่ได้เกิดในเฉพาะผู้สูงอายุ หรือเพศใดเพศหนึ่ง แต่สามารถเกิดได้กับทุกคน และโรคหัวใจบางโรคสามารถป้องกันได้ โดยการปรับพฤติกรรมดังนี้
  • อาหาร เลือกรับประทานข้าวแป้งไม่ขัดสี, ธัญพืช, ถั่วเมล็ดแห้ง ใช้น้ำมันที้ทําจากไขมันดีในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันรําข้าว น้ำมันคาโนล่า ลดการใช้เครื่องปรุงรส และอาหารสําเร็จรูปเพื่อหลีกเลี่ยงโซเดียม เพิ่มการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศ จําพวก พริกไทย กระเทียม
  • ออกกําลังกาย เพื่อป้องกันโรคหัวใจควรออกกําลังกาย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ หรืออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ สามารถเลือกการออกกําลังกายที่สามารถทําในบ้านได้ เช่น การออกกําลังกายแบบบอดี้เวท โยคะหรือกระโดดเชือก
  • อารมณ์ หมั่นดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของตัวเองและคนในครอบครัวให้แข็งแรง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ฝึกปรับทัศนคติ และหมั่นตรวจสอบอาการทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของตัวเอง อย่างสม่ำเสมอ

มารู้จัก โรคหัวใจกันเถอะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

โปรแกรม ตรวจสุขภาพ S M L

ชุดตรวจสุขภาพ S, M, […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

สาระน่ารู้…. อาหารบำบัดโรคหัวใจ

สาระน่ารู้.... อาหารบำบัดโรคหัวใจ

โรคหัวใจ เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะค่อยๆ สะสมและทวีความรุนแรงจนเกิดอาการเรื้อรัง และสาเหตุหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีปริมาณแป้ง หรือน้ำตาลมากเกินไป หากกินเข้าไปมาก ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายก็จะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมันที่มีชื่อว่า "ไตรกลีเซอไรด์" เมื่อเกิดไขมันสะสมทำให้เป็นโรคอ้วนและเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ การเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์และมีสัดส่วนที่เหมาะสมต่อร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งเราสามารถเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง 
  1. ควรควบคุมการปรุงรสเค็มในอาหาร เนันการปรุงรสอ่อนๆ และหลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มในขณะรับประทาน เช่น น้ำปลา เกลือ ชี่อิ๊ว ซอสปรุงรส (ปริมาณโซเดียมในการปรุงรส/วันไม่ควรเกิน 2000 มิลลิกรัม/วัน)
  2. รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันน้อย เลือกวีธีการหุงต้มอาหารแบบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยำหรือผัดน้ำมันน้อย
  3. ควรใช้น้ำมันพืชชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัว unsaturatedfatty acid) ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอกน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง (ในปริมาณวันละ 5-7 ช้อนชา)
  4. เน้นการรับประทานเต้าหู้ และเนื้อปลาบ่อยๆ โดยเฉพาะ ปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาโอ ปลาทูน่าปลาแซลมอน จะช่วยในการเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDLและลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL, Triglyceride)
  5. รับประทานผักและผลไม้ไม่หวานจัดเป็นประจำทุกมื้อและให้หลากหลาย (ผักและผลไม้ไม่ควรน้อยกว่า 400 กรัม/วัน)
  6. หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารหรือแปรรูป รวมทั้งอาหารหมักดองทั้งหลาย เพราะจะมีปริมาณของเกลือหรือโซเดียมสูง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักดอง อาหารกระป๋องหรือผักผลไม้ที่แปรรูป หากมีความจำเป็นต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปควรอ่านฉลากที่ติดมากับอาหารก่อน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมและผงชูรสในปริมาณสูง
  7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมเกลือและผงชูรสสูง เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถั่วอบเนย ข้าวโพดคั่ว
  8. หลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดกรดไขมันชนิดอิ่มตัวสูง saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันหมู,ไก่
  9. หลีกเลี่ยง เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง และอาหารที่มี ไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ปาท่องโก๋ กล้วยแขก ข้าวขาหมู ผัดไทย หอยทอด
  10. หลีกเลี่ยง อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ผัดซีอิ๊ว ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง เครื่องในสัตว์
  11. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานซ์สูง (Trans fatty acid) เช่น พาย โดนัท ขนมขบเคี้ยว เนยเทียม มาการีน
  12. หลีกเลียงการรับประทานอาหารหวานหรือที่มีน้ำตาลสูงหรือขนมเบเกอรี่ต่างๆ เช่น ขนมหวานชนิดต่างๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ต่างๆ น้ำอัดลม
  13. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟ เพราะมีส่วน ผสมของคาเฟอีน
  14. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มเกลือแร่
  15. งดการสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  16. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ (ภายใต้คำแนะนำของแพทย์)
  17. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมการหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (กก.) / ส่วนสูง x ส่วนสูง (เมตร)
การแปลผลค่าดัชนีมวลกาย  (BMI)
ค่าดัชนีมวลกาย
เกณฑ์น้ำหนัก
พลังงานที่ต้องการน้ำหนักตัว 1 กก./วัน
น้อยกว่า 18.5 น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ 40 กิโลแคลอรี่
18.5-22.9 น้ำหนักตัวปกติ 30 กิโลแคลอรี่
23-24.9 ท้วม 25 กิโลแคลอรี่
25-29.9 น้ำหนักตัวเกิน 40 กิโลแคลอรี่
30 ขึ้นไป โรคอ้วน 20 กิโลแคลอรี่
แนวทางการเลือกรับประทานอาหาร
ประเภทเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาหารที่ควรเลือกรับประทาน
ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
นมพร่องไขมัน ชา กาแฟ
นมขาดไขมัน น้ำอัดลม
น้ำเต้าหู้   โอเลี้ยง
  เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ประเภทอาหาร
ตัวอย่างอาหารที่ควรเลือกรับประทาน
ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
ข้าวหน้าปลาอย่าง ข้าวขาหมู ข้าวคากิ
ข้าวต้มปลา ข้าวมันไก่
โจ๊ก แกงเขียวหวาน แกงกะทิ
สลัดผักราดโยเกิรต์ หอยทอด
ก๋วยเตี๋ยวน้ำ คอหมูย่าง
ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า หนังไก่ทอด,แคบหมู
ปลานึ่ง แหนม ปลาส้ม
สเต็กปลา กล้วยแขก
แกงส้ม แกงปลา ปาท่องโก๋
  ทองหยอด ทองหยิบ
  ฝอยทอง เม็ดขนุน
อาหาร มีความสำคัญต่อสุขภาพ แต่อาหารบางชนิดก็ไม่ได้เหมาะสำหรับกลุ่มอายุ และโรคบางอย่าง ดังนั้นควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารเฉพาะโรค เพื่อช่วยบำรุงและรักษาสุชภาพ และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ที่อาจเป็นอันตรายในอนาคต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

CT Calcium Score
การตรวจหาหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อประเมินภาวะการอุดตันของหลอดเลือด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือประเมินแนวโน้มโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในอนาคต
ข้อดีของตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต
  • ไม่ต้องมีการเตรียมตัว สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ใช้เวลาในการตรวจน้อย ไม่เจ็บตัว
  • ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนรับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงยาที่จะกระตุ้นหัวใจให้ชีพจรเร็วขึ้น
  • งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดคลุมของโรงพยาบาล
  • ถอดเครื่องประดับรอบคอหรือแผ่นต่างๆ ที่ติดบริเวณหน้าอก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค