รักษาอาการปวดเรื้อรัง Shock Wave Therapy

การรักษาอาการปวดด้วยเครื่อง Shock Wave Therapy

Shock Wave Therapy
Shock Wave Therapy รักษาอาการปวดเรื้อรัง
คลื่นกระแทก (Shock Wave) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้รักษาคนไข้ที่มีอาการปวดระยะเรื้อรังที่ผ่านการรักษาต่างๆ มาแล้ว แต่ยังไม่ดีขึ้น โดยจะมีกระบวนการของการรักษาโดยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและลดอาการอักเสบได้ดี เครื่อง Shock Wave จะส่งคลื่นกระแทกได้ลึกและมีความถี่เข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารมาลดอาการปวดในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมแซมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้ช่วยลดปวดได้สามารถเห็นผลได้ทันทีหลังรักษา (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ) การใช้เครื่อง Shock Wave จึงเป็นทางเลือกในการรักษา
Shock Wave ช่วยรักษาอาการอะไรบ้าง
ประโยชน์ของการรักษาอาการปวดทางการแพทย์ นิยมใช้เทคโนโลยี Shock Wave Therapy เพื่อรักษาอาการ 3 อาการหลักคือ
  1. อาการออฟฟิศซินโดรม
    อาการออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ขาดการลุกออกจากที่นั่งเพื่อยืดเส้นยืดสายรวมถึงนั่งในท่าที่ผิดสรีระจะก่อให้เกิดอาการ ปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดข้อมือปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขนขา ปวดกราม ต้นคอ ปวดข้อมือ ฝ่ามือ ไมเกรน อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วย Shockwave ปวดคอ บ่า ไหล่
  2. อาการเส้นเอ็นอักเสบ
    อาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดจากการใช้งานซ้ำที่ทำให้เกิดความเครียดต่อเส้นเอ็น อาการเส้นเอ็นอักเสบ เช่น เอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นหัวไหล่อักเสบจากหินปูนเกาะ เอ็นเข่าอักเสบ ปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
  3. อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
    อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังเกิดจากการใช้มัดกล้ามเนื้อผิดท่าทางซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนเกิดความผิดปกติในการหดตัว อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เช่น พังผืดทับเส้นประสาท ปวดสะโพกร้าวลงขา อาการปวดร้าวบริเวณสะบัก อาการเอ็นอักเสบเรื้อรัง อาการปวดข้อเข่าในนักกีฬากระโดดสูง อาการปวดข้อไหล่ อาการปวดส้นเท้า อาการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณสันหน้าแข้ง อาการปวดข้อศอกด้านนอก
นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ยับยั้งกระบวนการอักเสบ ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ จุดเจ็บได้รับการผ่อนคลาย สลายหินปูนในเส้นเอ็น กระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ จนเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่
ข้อห้ามในการรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock Wave
  • ห้ามรักษาเด็ก
  • ห้ามรักษาหญิงตั้งครรภ์
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีการติดเชื้อ
  • ห้ามรักษาคนไข้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีหลอดเลือดโป่งพอง
  • ห้ามรักษาบริเวณที่เป็นเนื้องอก
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีการอักเสบของเส้นประสาท
ผลที่ได้จากการรักษาและระยะในเวลาการรักษา
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรก (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ) จากนั้นควรเว้นระยะห่างการรักษาครั้งถัดไป 1- 2 สัปดาห์ เพื่อให้เวลาร่างกายซ่อมแซมการอักเสบเรื้อรังที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ โดยจำนวนครั้งในการรักษาทั้งหมดอยู่ที่ 2-5 ครั้งแล้วแต่ความรุนแรงของอาการ
ภาวะที่ควรงดโปรแกรมการรักษากายภาพบำบัด ได้แก่
  • หลังการรักษาด้วยการฝังเข็ม ฉีดยา
  • การผ่าตัดต้อหรือเลนส์ตาภายใน 1 เดือน
  • หลังทำเลเซอร์ดวงตา
  • หลังการอุดฟัน ถอนฟัน
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีอาการท้องเสีย อ่อนเพลีย
  • มีอาการเวียนศีรษะ อาเจียน
  • มีไข้ เป็นหวัด ไอ จาม เจ็บคอ มีน้ำมูก
  • มีสัญญาณชีพผิดปกติ ดังนี้
    • ความดันโลหิต มากกว่า 160/100 mmHg หรือ น้อยกว่า 90/50 mmHg
    • อัตราการเต้นหัวใจ มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที หรือน้อยกว่า 50 ครั้งต่อนาที
    • มีไข้หรืออุณหภูมิร่างกาย มากกว่า 37.5 องศา
อ้างอิง:

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย - ทางเลือกใหม่ ลดปวดเรื้อรัง – ออฟฟิศซินโดรม ด้วย Shock Wave
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก - เครื่องมือพิเศษ / การให้บริการพิเศษ
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ - รู้จัก Shockwave การรักษาด้วยคลื่นกระแทก บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมลดปวดด้วย Shockwave

การรักษาอาการปวดด้วย […]

โปรแกรม Office Syndrome ออฟฟิศ ซินโดรม

เลือกโปรแกรมที่เหมาะ […]

ฝังเข็มรักษาโรค

การฝังเข็ม (Acupunct […]

อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อหลังตึงหรือมีอาการหลังแข็ง ตั้งแต่ล่างต่อชายโครงไปจนถึงส่วนล่างของแก้มก้น อาจมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาร่วมด้วย บางรายปวดจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ พบได้บ่อยในวัยทำงานและผู้สูงอายุ รวมถึงลักษณะงานที่ทำให้ปวดหลังได้แก่ คนที่ต้องทำงานประเภทแบกหาม ยกของหนักงานที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น การยกของที่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม งานที่ก้มๆ เงยๆ หรือบิดเอวเป็นประจำเป็นระยะเวลานาน คนที่ทำงานนั่งโต๊ะหรือนั่งกับพื้นเป็นประจำ เช่น ขับรถ เป็นต้น
อาการปวดหลังสามารถแบ่งตามระยะเวลาได้ 3 ประเภท ได้แก่
  1. อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน (Acute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์
  2. อาการปวดหลังกึ่งเฉียบพลัน (Subacute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 3 เดือน
  3. อาการปวดหลังเรื้อรัง (Chronic low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน
การบาดเจ็บต่อโครงสร้างและเนื้อเยื่อต่าง ๆ บริเวณบั้นเอวเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
  1. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่มากผิดปกติ ต่อโครงสร้างที่ผิดปกติ เช่น จากการถูกรถชน จากการถูกของแข็งมากระแทก
  2. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่ปกติ แต่โครงสร้างที่เริ่มเสื่อมทรุดโทรมหรือโครงสร้างส่วนนั้นยังไม่พร้อมรับแรงกระทำนั้นๆ เช่น กล้ามเนื้อและเอ็นที่ยังไม่ได้รับการอบอุ่นและยืดหยุ่นที่เพียงพอ
แล้วได้รับแรงกระชากทันที มีผลทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็นได้ เช่น กรณีของกล้ามเนื้อเอวเคล็ดจากการทำงาน (back strain)
อาการปวดหลังจากการทำงาน
  1. กลุ่มอาการปวดหลังเฉียบพลัน เกิดจากการก้มยกของหรือการบิดเอวที่ผิดจังหวะ จะมีอาการปวดแบบกระจายบริเวณเอวส่วนล่าง หรือบริเวณแก้มก้นอาจร้าวไปบริเวณ ต้นขา แต่ไม่ถึงหัวเข่า และจะปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว หากได้พักหรือเคลื่อนไหวน้อยลงอาการปวดจะทุเลา
  2. กลุ่มอาการปวดร้าวไปที่ขา มีอาการคล้ายกับกลุ่มแรกแต่มีอาการปวดร้าวบริเวณน่องและปลายเท้า ซึ่งการปวดร้าวขึ้นกับรากประสาทที่เกี่ยวข้องอาการอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ อาการปวดตามแนวรากประสาท ซึ่งแสดงออกโดยผลตรวจด้วยการโยกขาที่เหยียดตรงในขณะที่ผู้ป่วยนอนให้ผลบวก อาจพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และอาการชาผิวหนังที่เลี้ยงด้วยรากประสาทที่เกี่ยวข้องตลอดจนอาการลดลงของปฏิกิริยา reflex หรืออาจมีอาการผิดปกติด้านการขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการกดทับของรากประสาทกระเบนเหน็บหลายเส้น
  3. กลุ่มอาการปวดล้าบริเวณน่องขณะเดินและผู้ป่วยต้องหยุดเดินหลังจากเดินได้ระยะทางหนึ่ง กลุ่มนี้มักเกิดจากการตีบแคบของโพรงรากประสาท และความเสื่อมของกระดูกสันหลัง
การวินิจฉัยโรค
  1. ประวัติการทำงาน ลักษณะงานหรือท่าทางการทำงานที่มีกิจกรรมซ้ำในท่าเดิมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ นั่งทำงานทั้งวัน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือ พนักงานที่ยกของหนักเป็นประจำ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หรือการใช้ท่าทางในการยกของที่ผิด, อุบัติเหตุจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น พลัดตกหกล้ม การตกจากที่สูง
  2. การตรวจวินิจฉัยทางรังสี (Radiographic Investigation)
    ผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างไม่มีความจำเป็นที่ต้องรับการตรวจภาพถ่ายทางรังสีทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งมีอาการมาไม่นานและไม่รุนแรง ซึ่งภาพถ่ายทางรังสีแต่ละชนิดจะให้ข้อมูลและประโยชน์กับผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างต่างกันไป เช่น

    • Plain radiograph การ x-ray ธรรมดา เป็นขั้นแรกที่ควรส่งตรวจเนื่องจากสะดวกและราคาถูก สามารถให้ข้อมูลได้พอสมควร โดยเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังที่มีลักษณะผิดรูปต่าง ๆ แต่ไม่สามารถดูความผิดปกติของหมอนรองกระดูก เส้นประสาทและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue)
    • Computerized Tomography (CT Scan) ภาพถ่ายทางรังสีด้วยวิธี CT Scan ใช้ดูโครงสร้างของกระดูกคล้ายกับการดู Plain film แต่มีความละเอียดกว่ามาก และมีการตัดภาพของแต่ละส่วนในระนาบต่าง ๆ ทำให้เห็นพยาธิสภาพของกระดูกได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามข้อเสียของ CT Scan คือไม่สามารถดูเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมถึงหมอนรองกระดูก
    • Resonance Imaging (MRI) การถ่ายภาพกระดูกสันหลังด้วยการ x-ray คลื่นสนามแม่เหล็ก เป็นการส่งตรวจที่ให้ความละเอียดสูงสุดและสามารถให้มุมมองภายในของกระดูกสันหลังในทุกระนาบ สามารถดูได้ทั้งหมอนรองกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก น้ำไขสันหลัง รวมทั้งสามารถบอกพยาธิสภาพได้ เช่น มีการอักเสบ หนอง เลือด เป็นต้น ดังนั้นการตรวจ MRI จึงเป็นการตรวจที่ดีที่สุดในการค้นหาความผิดปกติและช่วยวินิจฉัยโรคที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลัง
การักษาและฟื้นฟูอาการปวดหลังส่วนล่าง


เมื่อปวดหลังส่วนล่างมีอาการรุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง ควรเข้าไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษาต่อไป โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่เหมาะสมกับอาการและข้อจำกัดของคนไข้แต่ละคน เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงจุด สำหรับวิธีการรักษาก็จะมีตั้งแต่การใช้ยา และการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟื้นฟู

  1. ยา การใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดความปวดเส้นประสาทจะถูกจัดให้ตามความเหมาะสม และตามโรคที่คนไข้เป็น แพทย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับตัวโรคและข้อควรระวังในการใช้ยา
  2. กายภาพบำบัด มุ่งเน้นการดูแลรักษา แก้ไขความเจ็บปวดฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น สำหรับผู้ที่ปวดหลังส่วนล่าง ที่จะออกแบบโปรแกรมให้กับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกันดังนี้
    • การประคบแผ่นร้อน
    • การลดปวดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น PMS, High Power Laser, Ultrasound และอื่น ๆ
    • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
    • Manual technique และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ปรับท่าทางให้ถูกต้อง
  3. การฉีดยาเข้าโพรงประสาท เพื่อลดการอักเสบของระบบประสาทเส้นนั้น ๆ
  4. การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาขั้นสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำ เมื่อการรักษารูปแบบอื่นๆ ไม่ได้ผล
การป้องกัน
ปัญหาปวดหลังส่วนล่าง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนั้น จึงเป็นโรคที่สามารถลดความเสี่ยงและป้องกันได้ เพียงแค่ต้องมีการดูแลตัวเองให้เป็นอย่างดี และเหมาะสม ดังนี้
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อหลังและแกนกลางลำตัวแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เช่น การยกของหนักมากๆ และการยกให้ถูกวิธี
  • ไม่อยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ หากต้องนั่งทำงานทั้งวันควรเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถทุกๆ 1 ชั่วโมง และหมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังและขา

โปรแกรมและแพ็คเกจ

CYBERDYNE หุ่นยนต์ฟื้นฟู กล้ามเนื้ออ่อนแรง

CYBERDYNE หุ่นยนต์ฟื้นฟู กล้ามเนื้ออ่อนแรง

HAL® หรือ Hybrid Assistive Limb
HAL® หรือ Hybrid Assistive Limb ไซเบอร์ไดน์ หุ่นยนต์ประเภทไซบอร์กตัวแรกของโลกที่ใช้ในทางการแพทย์ สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติในช่วงล่างและผู้ที่มีขาอ่อนแรง HAL จะช่วยเป็นผู้นำทางให้ผู้ป่วยไปสู่การเดินได้ ด้วยการผสานการทำงานระหว่างสมองมนุษย์ กับ หุ่นยนต์
การทำงานของ HAL หรือหุ่นยนต์ไซบอร์ก Cyberdyne แตกต่างจากหุ่นยนต์ทั่วไปที่ใช้ระบบสั่งการด้วยปุ่ม หรือรีโมตคอนโทรล หุ่นยนต์ไซบอร์ก Cyberdyne ใช้ระบบปฏิบัติการแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหุ่นยนต์ Cyberdyne โดยผู้ป่วยจะสั่งการให้แขนขาขยับ HAL จะดักจับสัญญาณความคิดของผู้ป่วย และให้การช่วยเหลือมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของแพทย์กายภาพ วิธีนี้จะทำให้มีการฟื้นฟูวงจรเคลื่อนไหวตามธรรมชาติให้กลับมาได้เร็วขึ้น ต่างจากหุ่นยนต์กายภาพโดยทั่วไปซึ่งไม่สามารถดักจับสัญญาณความคิดของผู้ป่วย แต่เป็นการทำงานช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียวทำให้ประสิทธิภาพต่ำกว่าในการฟื้นฟูผู้ป่วย
การทำงานของ CYBERDYNE
01 THINK
First of all, think "I want to walk!"
คิด ให้คิดว่า "ฉันอยากเดิน!"
เริ่มจากให้สมองเราคิดขึ้นมาในสมองว่า "ฉันอยากเดิน" เพราะก่อนที่คนเราจะขยับร่างกาย สมองจะต้องสั่งการก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อเริ่มคิดว่า "ฉันอยากเดิน" สมองจะส่งสัญญาณ (Signal) ไปยังกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยผ่านไปยังเส้นประสาทต่างๆ (Nerves)
02 SEND
Receiving the signals, muscles move.
ส่ง : เมื่อรับสัญญาณ กล้ามเนื้อจะเคลื่อนไหว
ขั้นตอนต่อไป คือ การส่งสัญญาณจากสมองไปยังกล้ามเนื้อ กรณีคนที่มีสุขภาพเป็นปกติ กล้ามเนื้อแต่ละมัดจะสามารถสนองสัญญาณจากสมองได้อย่างแข็งแรงและรวดเร็วตามที่ใจเราคิด สำหรับการเดินเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เพราะสมองต้องควบคุมกล้ามเนื้อหลายมัด ซึ่ง HAL สามารถตอบสนองสัญญาณจากสมองได้เช่นเดียวกับ กล้ามเนื้อ
03 READ
HAL reads signals.
อ่าน : HAL อ่านสัญญาณ
ขั้นตอนนี้ HAL จะอ่านสัญญาณจากสมอง โดยสัญญาณจากสมองจะถูกส่งไปยังกล้ามเนื้อโดยการแพร่ผ่านไปยังผิวหนัง (Skin Surface) ซึ่งเรียกว่า Bio-electric signals [BES] ซึ่ง HAL นั้นสามารถอ่านสัญญาณ BES ได้ เพียงการแนบตัวจับสัญญาณไปบนผิวของร่างกาย แม้ในขณะที่เรายังสวมเสื้อผ้าอยู่ก็ยังสามารถจับสัญญาณ BES ได้ โดย HAL สามารถจับสัญญาณข้อมูลหลากหลายจากสมองว่าการเคลื่อนไหวอันไหนคือสิ่งที่สมองตั้งใจไว้
04 MOVE
HAL moves as the wearer intends.
เคลื่อนไหว : ตามที่ผู้สวมใส่ต้องการ

ขั้นตอนนี้ HAL จะเคลื่อนไหวได้ตามคำสั่งของสมอง และยังสามารถทำให้ผู้สวมใส่สามารถออกแรงได้มากกว่าตอนก่อนสวม ใส่ HAL ได้

O5 FEEDBACK
The brain learns motions.
ข้อเสนอแนะ : สมองเรียนรู้การเคลื่อนไหว
ขั้นตอนสุดท้ายของกลกนี่ไม่ใช่จบแค่การเคลื่อนไหวร่างกายได้เพียงเท่านั้น แต่สมองจะยืนยันว่าสัญญาณที่ส่งไปนั้นสามารถทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้จริง ถ้าผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือเรื่องการเดินจาก HAL อย่างเหมาะสมในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ความรู้สึกที่ว่า "ฉันสามารถเดินได้แล้ว" จะถูกส่งกลับไปที่สมอง นั่นคือสมองจะเรียนรู้แนวทางที่จะปล่อยสัญญาณที่เหมาะสมสำหรับการเดินได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเดินได้เองโดยไม่จำเป็นต้องให้ HAL เข้ามาช่วยเหลืออีกต่อไป และทั้งหมดนี้คือ HAL หุ่นยนต์ที่มอบทางออกให้ผู้ป่วยที่เดินไม่ได้ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง
HAL ได้รับการผลิต CE [CE O197] เป็นครั้งแรกในฐานะอุปกรณ์การแพทย์หุ่นยนต์สำหรับใช้ในทางการแพทย์ ได้รับการรับรองว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของ Medical Device Directives ในสหภาพยุโรป และได้รับใบรับรองจาก IS013485 (อุปกรณ์การแพทย์) เป็นครั้งแรกในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้หุ่นยนต์ และยังได้การรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) ตั้งแต่ปี 2560
ไซเบอร์ดายน์ เหมาะกับใคร
กลุ่มผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีความผิดปกติทางร่างกายในการเคลื่อนไหว ได้แก่

  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง
  • ผู้ที่ศูนย์เสียการทรงตัวและการเคลื่อนไหว
  • ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุทางสมอง
  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
  • ผู้ป่วยโปลิโอ
การรักษาขึ้นอยู่กันแนวทางการรักษาของแพทย์ระบบประสาทและสมอง และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ครอบครัวของ HAL มีด้วยกันอยู่ 3 รุ่นด้วยกัน ได้แก่
กลุ่มผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีความผิดปกติทางร่างกายในการเคลื่อนไหว ได้แก่

  • HAL Lower Limb Type ช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตส่วนล่างตั้งแต่เอวลงไปถึงเท้า
  • HAL Single Joint Type ช่วยคนไข้ที่ไม่สามารถยืดหรือหดข้อได้ไม่ว่าจะเป็นข้อแขน มือ เข่า หรือเท้า
  • HAL Lumbar Type ช่วยคนไข้ที่ไม่สามารถยกตัวขึ้นได้หรือสูญเสียความสามารถในการนั่ง
ด้วยความห่วงใยและปรารถนาดี
พญ.ชุติมา สายเพ็ชร์
อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
อัตราค่าบริการ
 
Lower Limb
จำนวนครั้ง
ราคา
หมายเหตุ
1 ครั้ง
8,500
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
4 ครั้ง
32,000 รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ
8 ครั้ง
62,000
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
16 ครั้ง
120,000 รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ
 
Single Joint
จำนวนครั้ง
ราคา
หมายเหตุ
1 ครั้ง
7,500
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
4 ครั้ง
28,000 รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ
8 ครั้ง
54,000
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
16 ครั้ง
104,000 รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ

 

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง(EEG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

Electroencephalography
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองคืออะไร
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองหรือ EEG เป็นการบันทึกสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากผลรวมของกระแสไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์ในสมอง ผลการตรวจจะปรากฏในรูปแบบกราฟบนแถบกระดาษหรือในจอภาพ (มอนิเตอร์)
ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองมีอะไรบ้าง
  1. ผู้ตรวจติดอิเลคโทรดบนหนังศีรษะในตำแหน่งต่าง ๆ
  2. เมื่อเปิดเครื่องตรวจ สัญญาณไฟฟ้าจากสมอง จะปรากฏเป็นเส้นกราฟบนแถบกระดาษหรือจอภาพตลอดเวลาที่ตรวจ
  3. ผู้ป่วยสามารถนอนหลับตาในขณะตรวจบางครั้ง ผู้ตรวจอาจขอให้ลืมตา หลับตา หายใจเข้าออกลึก ๆ คิดคำนวณ หรือ จำคำต่าง ๆ ขณะตรวจ
  4. ระยะเวลาการตรวจนานประมาณ 1 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านี้ ถ้ามีการตรวจพิเศษ
  5. มักมีการถ่ายวิดีโอไปพร้อมกับการบันทึกคลื่นสมองเพื่อวินิจฉัยได้ดีขึ้น
  6. กรณีเด็กเล็กหรือเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการที่ไม่ให้ความร่วมมือ อาจต้องให้ยานอนหลับ หลังจากนั้นอาจปลุกเด็กให้ตื่น เพื่อตรวจในขณะตื่นด้วย
นอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีวิธีกระตุ้นให้ผิดปกติในคลื่นสมองบางชนิดปรากฏชัดเจนมากขึ้นได้แก่
  1. การหายใจลึกนาน 3 – 5 นาที
  2. ใช้แสงไฟกระพริบฉายที่ใบหน้าผู้ป่วย แสงไฟกระพริบนี้ไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อผู้ป่วย
  3. การอดนอน โดยเข้านอนดึกที่สุดและปลุกให้ตื่นเช้ากว่าปกติ
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจคลื่นสมอง
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจคลื่นสมองสามารถลดเวลาการตรวจคลื่นสมองและไม่ต้องเสียเวลากลับมาทำซ้ำ การเตรียมตัวทำดังนี้
  1. สระผมให้สะอาด ห้ามใส่น้ำมันหรือครีมใดๆ
  2. ถ้ากินยากันชักอยู่ให้กินต่อไปห้ามหยุดยากันชักเองอย่างกะทันหันเพื่อทำการตรวจ ยกเว้นกรณีแพทย์ระบบประสาทบอกให้หยุด
  3. เด็กเล็กผู้ปกครองควรเตรียมขวดนมหรือน้ำ และของเล่นของเด็กมาด้วย
  4. ในเด็ก ถ้าสามารถทำให้เด็กไม่นอนหลับก่อนมาตรวจเด็กอาจหลับได้ขณะที่ทำการตรวจโดยไม่ต้องให้ยานอนหลับ
การตรวจคลื่นสมองในผู้ป่วยโรคลมชักจะพบความผิดปกติเสมอหรือไม่
ผู้ป่วยโรคลมชักอาจตรวจไม่พบความผิดปกติในการตรวจคลื่นสมองเพียงครั้งเดียว ดังนั้นผลการตรวจที่ปกติไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นโรคลมชัก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (NCV and needle EMG)

การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (NCV and needle EMG)

คือ การตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า เพื่อการวินิจฉัยโรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (เรียกย่อว่า EMG หรือ Electromyography) และการตรวจความเร็วการนำสัญญาณประสาท (เรียกย่อว่า NCV หรือ Nerve conduction velocity)
ใช้ตรวจเพื่อการวินิจฉัยและบอกความรุนแรงในผู้ป่วยที่มีอาการสงสัย
  • โรคของไขสันหลังส่วนที่เรียกว่า Anterior horn cell เช่นโรค ALS
  • โรคของรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ (์Neuromuscular junction) เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis : MG)
  • โรคของรากประสาทเช่น รากประสารทถูกกดทับ (Nerve root compression) จากกระดูกคอหรือหลังเสื่อม หมอนรองกระดูกเคลื่อน
  • โรคของเส้นประสาทส่วนปลาย เช่น โรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบเรื้อรังหรือฉับพลัน ทำให้มีอาการชามือชาเท้า, โรคเส้นประสาทพิการแต่กำเนิด
  • โรคของกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้อฝ่อ เป็นต้น
  • โรคเส้นประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ (Bell’s palsy)
นอกจากนี้การตรวจ EMG, NCV ยังสามารถใช้ติดตามผลการรักษา และการฟื้นตัวของเส้นประสาทได้ด้วย
ข้อห้ามในการทำ EMG, NCV
โดยทั่วไปไม่มีข้อห้าม ไม่มีอันตราย มีผลข้างเคียงจากการตรวจน้อยมาก ตรวจได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่มีข้อจำกัดคือ
  • ผู้ป่วยที่แขน ขาบวม จะทำให้เข็มที่สอดเข้าไปไม่ถึงตำแหน่งชั้นกล้ามเนื้อ แต่จะไปอยู่ในเนื้อเยื่อที่บวมแทน จึงส่งผลให้ผลการตรวจผิดพลาด
  • ผู้ป่วยมีปัญหาเลือดออกง่าย เพราะอาจมีเลือดออกมากจากรอยที่สอดใส่เข็มตรวจ
  • มีการติดเชื้อบริเวณที่ตรวจ เพราะการสอดใส่เข็มตรวจ อาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้
  • มีแผล หรือ ก้อนเนื้อบริเวณที่ตรวจ เพราะจะทำให้การแปลผลตรวจผิดพลาดได้
  • ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ หรือ ไม่รู้สึกตัว จะตรวจไม่ได้ และ/หรือจะทำให้แปลผลตรวจผิดพลาดได้สูง
การเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนตรวจ
โดยทั่วไปไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร หรือหยุดยาที่ทาน ยกเว้นกรณีทานยาละลายลิ่มเลือด และ/หรือ มีภาวะเลือดหยุดยาก และ/หรือ ทานยารักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง Myasthenia Gravis เช่นเดียวกับการตรวจในโรคอื่นๆคือ ผู้ป่วยต้องแจ้งแพทย์ พยาบาล ถึงโรคประจำตัว และยาที่ใช้อยู่ ผู้ป่วยควรแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ถอด ใส่ ได้ง่าย รวมทั้งรองเท้าด้วย และไม่ควรใส่เครื่องประดับต่างๆมาในวันตรวจ
หลังตรวจต้องดูแลตัวเองอย่างไร
หลังตรวจ ไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษ ไม่มีผลข้างเคียง กลับบ้านได้เลย ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ ซึ่งพบน้อยมากๆเช่น บริเวณที่ตรวจ บวม แดง หรือเลือดออกไม่หยุด ควรกลับมาพบแพทย์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมลดปวดด้วย Shockwave

การรักษาอาการปวดด้วย […]

โปรแกรม Office Syndrome ออฟฟิศ ซินโดรม

เลือกโปรแกรมที่เหมาะ […]

ฝังเข็มรักษาโรค

การฝังเข็ม (Acupunct […]

การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก

การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก

Peripheral Magnetic Stimulation
การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก
Peripherl Magnetic Stimulation (PMS)
เทคโนโลยี PMS หรือ Peripheral Magnetic Stimulation คือ เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทางการแพทย์ที่เรียกว่า Electromagnetic เพื่อบำบัดรักษาอาการปวด เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ โรคเอ็นอักเสบ โรคปวดข้อต่อ และอาการชาจากเส้นประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคลื่นไฟฟ้าจะสามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้าโดยไม่ต้องสัมผัสผิว ลงไปถึงเนื้อเยื่อและกระดูกได้ลึกประมาณ 10 ซม. คลื่นจาก PMS จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวดทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ รู้สึกผ่อนคลายในขณะรักษา รวมถึงส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กกระตุ้นแขน ขา บริเวณที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ให้ส่งสัญญาณไปที่สมอง และให้สมองส่วนที่ยังทำงานได้มีการฟื้นตัว แล้วส่งสัญญาณกลับลงมาทำให้แขนขาขยับได้มากขึ้น ในส่วนของการบำบัดรักษาอาการเจ็บปวด การกระตุ้นเส้นประสาทจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณที่ช่วยยับยั้งอาการปวดได้ สามารถรักษาได้ทั้งปวดเฉียบพลันและเรื้อรัง และยังเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมเสริมของเนื้อเยื่อด้วย
 
กลุ่มโรคที่รักษาด้วยเครื่อง PMS
  1. กลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stroke), เกิดจากการบาดเจ็บในสมอง (Traumatic Brain Injury), เกิดจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal Cord Injury) หน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell'spalsy) กลุ่มนี้จะเป็นลุ่มใหญ่ที่จะสามารถใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กมาบำบัดรักษาจะช่วย ลดอาการเกร็งในผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้อาการฟื้นตัวของอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตดีขึ้น
  2. กลุ่มโรคกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง คือกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง การเสื่อมของกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูก หรือการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก ที่มีผลต่อเส้นประสาทจากไขสันหลังหรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กจะสามารถรักษากลุ่มปวดนี้ได้มีประสิทธิภาพดีกว่าเครื่องมืออื่น เนื่องจากการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กจะสามารถกระตุ้นลึกลงไปจนถึงรากประสาทได้
  3. กลุ่มปวดต่าง ๆ หรือ ออฟฟิศซินโดรม การบำบัดอาการปวด อาการเคล็ดคัดยอก การบาดเจ็บหรืออาการปวดเรื้อรังจากกล้ามเนื้อ เอ็น พังผืดหรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บของตัวเส้นประสาทโดยตรง เช่น อาการปวดบริเวณคอ บ่า ข้อศอก แขน มือ เอว หลัง สะโพก ขา เข่า หรือข้อเท้า และหากทำอย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำจะทำให้อาการปวดค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปในที่สุด
  4. กลุ่มอาการชา หรือ ผู้ที่มีอาการชาจากปลายประสาทหรือการกดทับเส้นประสาท คือกลุ่มปลายประสาทอักเสบ โดยส่วนใหญ่พบได้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าอาการชามือ ชาเท้าจะดีขึ้น 50-100% ในแต่ละครั้งที่รักษา
  5. ช่วยบำบัดรักษาฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา นักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บจากการฝึกซ้อม หรือระหว่างแข่งขัน
การบำบัดรักษา
  1. ลดปวด ลดอาการชา ได้เป็นอย่างดี หลังการรักษา
  2. สามารถเพิ่มกำลัง และกระตุ้นกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากอัมพาต
  3. เร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น บาดเจ็บเส้นประสาท มือตก เท้าตก แขนขาอ่อนแรง อาการที่เกิดจากกดทับรากประสาทที่คอ และเอวจากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือเสื่อม
  4. เร่งการฟื้นตัวจากเส้นประสาทที่มีพฤติกรรมผิดเพี้ยน เช่น อาการเหน็บชา ปวดแปร๊บหลังการบาดเจ็บเส้นประสาท อาการปวดเรื้อรังจากโรคทางกล้ามเนื้อกระดูกทุกชนิด
  5. เวลาการบำบัดรักษารักษาสั้นมาก ต่อ 1จุดการรักษา
  6. ถ้าบำบัดรักษาต่อเนื่อง สามารถลดจำนวนการรักษาได้
  7. สามารถบำบัดรักษาได้ผลในทุกระยะของการดำเนินโรค คือ ระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง
  8. กลไกการรักษาเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมสร้างของเนื้อเยื่อ ไม่ใช่เพียงการแก้อาการเท่านั้น
ข้อควรระวัง/ข้อแนะนำหลังการรักษา
  1. กล้ามเนื้อมีโอกาสระบมหรือเป็นตะคริวได้ 2-3 วันหลังรับการรักษา
  2. มีโอกาสเกิดความร้อนได้หากไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะความร้อนที่เกิดกับตัวโลหะที่วางอยู่ภายนอกร่างกาย เช่น หัวเข็มขัด หัวคอยล์เหรียญที่อยู่บนกางเกงยีนส์ เป็นต้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมลดปวดด้วย Shockwave

การรักษาอาการปวดด้วย […]

โปรแกรม Office Syndrome ออฟฟิศ ซินโดรม

เลือกโปรแกรมที่เหมาะ […]

ฝังเข็มรักษาโรค

การฝังเข็ม (Acupunct […]

การออกกำลังกายบริหารสมอง

สมอง หากไม่ได้รับการดูแลก็จะทำให้เกิดการเสื่อมถอย จึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนา บริหาร และกระตุ้นให้อวัยวะส่วนสำคัญต่างๆทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

 #โรงพยาบาลบางโพ #การบริหารสมอง #สมอง #อัลไซเมอร์ #สุขภาพ #การออกกำลังกาย #กายภาพบำบัด #ร่างกาย 

 

สอบถามเพิ่มเติม : แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู 02-587-0144 ต่อ 2421