บุหรี่กับมะเร็งปอด

31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก 2565

WHO WORLD NO TOBACCO DAY " บุหรี่ ทำลายสิ่่ิงแวดล้อม"
 
ประวัติวันงดสูบบุหรี่โลก
วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) เริ่มมีการจัดงานตั้งแต่ปี ค.ศ.1988 โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ จึงมีการกำหนดคำขวัญในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในแต่ละปี ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม
 
โทษของบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นการทำลายสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเองและผู้อยู่ใกล้ชิดที่สูดเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีสารก่อมะเร็ง ไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารอันตรายที่สำคัญ เช่น
  1. คาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ หากได้รับจะเกิดการขาดออกซิเจน ทำให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ
  2. นิโคติน เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจ เต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ปริมาณนิโคตินลดลงได้
  3. ทาร์ หรือน้ำมันดินเป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ และเป็นสารก่อมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด, กล่องเสียง, หลอดลม. หลอดอาหาร, ไต, กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ร้อยละ 50 ของน้ำมันดินจะไปจับที่ปอด เกิดระคายเคือง ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ
  4. ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นต้อกระจก เนื่องจากสารพิษในบุหรี่จะเข้าสู่เลนส์ตา ทำให้ตาขุ่นมัว ยิ่งสูบมากก็ยิ่งมีโอกาสมาก
  5. เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด บุหรี่ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว เกิดการตีบตัน หากมีการออกกำลังกายหนักๆ อาจมีโอกาสเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
  6. โรคปอด โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสูบบุหรี่ โดยจากข้อมูลพบว่าเพียงแค่สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง สามารถมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า!

บุหรี่กับมะเร็งปอด

สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า!
 
5 วิธีพร้อมเลิกบุหรี่ เลิกง่าย ทำได้อยู่แล้ว
  1. ค้นหาแรงจูงใจให้ตนเอง การเลิกบุหรี่จะทำให้ชีวิตตนเองดีขึ้นอย่างไรบ้าง จะเป็นผลดีต่อคนรอบข้างอย่างไรบ้างเมื่อตนเองเลิกได
  2. หาวันที่เหมาะสมในการเริ่มต้นอาจเป็นวันที่มีความหมายต่อตนเอง เช่น วันเกิด วันเกิดของลูก หรือฤกษ์ดีอื่นๆ เช่น วันพระ วันปีใหม่ วันสำคัญทางศาสนา
  3. หักดิบดีกว่าค่อยๆหยุด โดยทั่วไป การเลิกบุหรี่โดยการหักดิบจะมีรโอกาสเลิกได้สำเร็จ ในระยะยาวมากกว่าการค่อยๆหยุด
  4. หลีกเลี่ยงและกำจัดสิ่งกระตุ้นให้สูบบุหรี่ ใช้สเปรย์ดับกลิ่นบุหรี่ที่ยังตกค้างตามที่ต่างๆ ทิ้งไฟแช็คและที่เขี่ยบุหรี่ รวมถึงรู้จักปฏิเสธผู้ที่ชักชวนให้สูบ
  5. ใช้ยาช่วยเลิกในกรณีที่สูบ ตั้งแต่ 10 มวนต่อวัน ปัจจุบันมียาหลากหลายที่ให้ผลได้ดีมาก เช่น ยาวาเรนิคลิน (Varenicline) ยาบูโบรพิออน (Bupropion) และนิโคตินทดแทน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย CT SCAN LOW DOSE
Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

เตรียมตัวอย่างไร ก่อนฉีดวัคซีนโควิด – 19

เตรียมตัวอย่างไรก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19


เตรียมตัวอย่างไร ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

  1. ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมียาประจำที่ต้องรับประทานทุกวัน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน
  2. ก่อนฉีดวัคซีนโควิด 2 วัน ควรงดการออกกำลังกายหนักๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. หากมีอาการป่วย มีไข้ ไม่สบาย ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายดี
  4. ก่อนฉีดวัคซีนควรดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ และงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  5. รับประทานอาหาร และยารักษาโรคประจำตัวให้เรียบร้อย ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
    ผู้ที่มีโรคประจำตัว ดังนี้
    • โรคเบาหวาน
    • ความดันโลหิตสูง
    • หัวใจ
    • อัมพฤกษ์ และอัมพาต
    ไม่ควรหยุดยา เพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ
  6. การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดควรห่างกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ อย่างน้อย 1 เดือน แนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิดให้ครบโดสก่อน
  7. ผู้ที่เป็นโรคเลือดออกได้ง่าย ควรแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่ทราบก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะอาจต้องใช้เวลากดแผลบริเวณที่ฉีดนานขึ้น
  8. ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หากมีอาการของโรคกำเริบ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน
ฉีดวัคซีน COVID-19
  • กรุณานำบัตรประชาชนมา ณ สถานที่ให้บริการ
  • สวมเสื้อแขนสั้น สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ รักษาระยะห่าง
จุดให้บริการฉีดวัคซีน : ชั้น 2 โซนใหม่ ติดกับแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลบางโพ โปรดมาในช่วงเวลานัด เพื่อลดความแออัด ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
จุดรับส่ง (drop-off) : จุดส่งผู้มาฉีดวัคซีนโควิดใกล้ที่สุด คือ ทางขึ้นชั้น 2 อาคาร 1 หน้าแผนกฉุกเฉิน
ที่จอดรถ : จอดรถที่อาคารจอดรถของโรงพยาบาล และอาคารจอดรถ เกตเวย์ แอท บางซื่อ ชั้น 1C, 2C โดยแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนครั้งต่อไป ที่จุดประชาสัมพันธ์

ขั้นตอนการเข้ารับบริการ

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนป้องกันโควิด-19

คำแนะนำในการฉีด
“วัคซีนไข้หวัดใหญ่”
ร่วมกับ
“วัคซีนป้องกันโควิด-19”


ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้ทั้ง ก่อน ระหว่าง หรือหลัง การฉีดวัคซีน โควิด-19 (COVID-19) ได้โดยการเว้นระยะการฉีดวัคซีนดังนี้

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนป้องกันโควิด-19
ตามที่กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค และ สปสช. แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เพื่อลดการป่วยรุนแรงและสร้างภูมิคุ้มกันไข้หวัดใหญ่ ในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากเป็นฤดูกาลระบาดในประเทศไทยซึ่งมี 2 ช่วง คือ ช่วงปลายฝน (เดือนกรกฎาคม-กันยายน) และปลายหนาว (เดือนมกราคม-มีนาคม) นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ก่อนที่ จะติดเชื้อโควิด-19 ยังช่วยลดการนอนโรงพยาบาล หรือเข้ารักษาในโรงพยาบาลสั้นกว่าคนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาก่อนการติดเชื้อโควิด-19
ในสถานการณ์ปัจจุบัน เกิดโรคระบาดอีกชนิดหนึ่ง คือ โควิด-19 และวัคซีนป้องกันโรคโควิดได้พัฒนาจนสามารถฉีดได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังมีความสำคัญ เพื่อแยกอาการป่วยระหว่างไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ที่มีอาการคล้ายกันมาก เช่น ไข้สูง ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ถ่ายเหลว (ยกเว้นจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรสที่จำเพาะกับโควิด-19 มากกว่า) และมีความรุนแรงเหมือนกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงต่ออาการรุนแรง ได้แก่ กลุ่มเสี่ยง ดังนี้
7 กลุ่มเสี่ยงได้แก่
  1. หญิงมีครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
  2. ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจ หืด ไตวาย หลอดเลือดสมอง เบาหวาน ผู้ป่วยมะเร็ง ที่อยู่ในระหว่างการได้รับยา เคมีบำบัด
  3. ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  4. เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
  5. ผู้พิการทางสมอง ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
  6. โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ
  7. ผู้ที่มีน้ำหนัก ตั้งแต่ 100 กก. หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กก./ตรม.
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนป้องกันโควิด-19
สามารถทำได้ทั้ง ก่อน ระหว่าง หรือหลัง การฉีดวัคซีน โควิด-19 (COVID-19) ได้โดยการเว้นระยะการฉีดวัคซีนดังนี้
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ก่อน ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด - 19
ผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ โดยให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เดือน จึงค่อยฉีดวัคซีนโควิด-19

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หลัง วัคซีนป้องกันโควิด-19 ซิโนแวค (Sinovac)
ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค (Sinovac) เข็มที่ 1 แล้ว ให้ฉีดจนครบทั้ง 2 เข็มก่อนโดยระยะการฉีดห่างกัน 2-4 สัปดาห์ จึงรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลได้ โดยให้ห่างจากวัคซีนเข็มที่ 2 อย่างน้อย 1 เดือน

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ระหว่าง วัคซีนป้องกันโควิด-19 แอสตราเซเนกา (AstraZeneca)
ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) เข็มที่ 1 และอยู่ระหว่างรอกำหนดฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 สามารถรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ โดยให้ห่างจากวัคซีนเข็มที่ 1 อย่างน้อย 1 เดือน และหลังจากนั้นให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ตามกำหนดนัด โดยให้มีระยะห่างจากการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 เดือน
วัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) เข็มที่ 2 จะมีกำหนดฉีดหลังจากฉีดเข็มที่แรก 10 - 12 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หลัง วัคซีนป้องกันโควิด-19 แอสตราเซเนกา (AstraZeneca)
ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ครบทั้ง 2 เข็มแล้ว โดยระยะการฉีดระหว่างเข็มที่ 1 และ 2 ห่างกันประมาณ 10-12 สัปดาห์ สามารถเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แล้วอย่างน้อย 1 เดือน

การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก

การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก

Peripheral Magnetic Stimulation
การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก
Peripherl Magnetic Stimulation (PMS)
เทคโนโลยี PMS หรือ Peripheral Magnetic Stimulation คือ เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทางการแพทย์ที่เรียกว่า Electromagnetic เพื่อบำบัดรักษาอาการปวด เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ โรคเอ็นอักเสบ โรคปวดข้อต่อ และอาการชาจากเส้นประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคลื่นไฟฟ้าจะสามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้าโดยไม่ต้องสัมผัสผิว ลงไปถึงเนื้อเยื่อและกระดูกได้ลึกประมาณ 10 ซม. คลื่นจาก PMS จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวดทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ รู้สึกผ่อนคลายในขณะรักษา รวมถึงส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กกระตุ้นแขน ขา บริเวณที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ให้ส่งสัญญาณไปที่สมอง และให้สมองส่วนที่ยังทำงานได้มีการฟื้นตัว แล้วส่งสัญญาณกลับลงมาทำให้แขนขาขยับได้มากขึ้น ในส่วนของการบำบัดรักษาอาการเจ็บปวด การกระตุ้นเส้นประสาทจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณที่ช่วยยับยั้งอาการปวดได้ สามารถรักษาได้ทั้งปวดเฉียบพลันและเรื้อรัง และยังเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมเสริมของเนื้อเยื่อด้วย
 
กลุ่มโรคที่รักษาด้วยเครื่อง PMS
  1. กลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stroke), เกิดจากการบาดเจ็บในสมอง (Traumatic Brain Injury), เกิดจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal Cord Injury) หน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell'spalsy) กลุ่มนี้จะเป็นลุ่มใหญ่ที่จะสามารถใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กมาบำบัดรักษาจะช่วย ลดอาการเกร็งในผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้อาการฟื้นตัวของอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตดีขึ้น
  2. กลุ่มโรคกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง คือกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง การเสื่อมของกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูก หรือการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก ที่มีผลต่อเส้นประสาทจากไขสันหลังหรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กจะสามารถรักษากลุ่มปวดนี้ได้มีประสิทธิภาพดีกว่าเครื่องมืออื่น เนื่องจากการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กจะสามารถกระตุ้นลึกลงไปจนถึงรากประสาทได้
  3. กลุ่มปวดต่าง ๆ หรือ ออฟฟิศซินโดรม การบำบัดอาการปวด อาการเคล็ดคัดยอก การบาดเจ็บหรืออาการปวดเรื้อรังจากกล้ามเนื้อ เอ็น พังผืดหรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บของตัวเส้นประสาทโดยตรง เช่น อาการปวดบริเวณคอ บ่า ข้อศอก แขน มือ เอว หลัง สะโพก ขา เข่า หรือข้อเท้า และหากทำอย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำจะทำให้อาการปวดค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปในที่สุด
  4. กลุ่มอาการชา หรือ ผู้ที่มีอาการชาจากปลายประสาทหรือการกดทับเส้นประสาท คือกลุ่มปลายประสาทอักเสบ โดยส่วนใหญ่พบได้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าอาการชามือ ชาเท้าจะดีขึ้น 50-100% ในแต่ละครั้งที่รักษา
  5. ช่วยบำบัดรักษาฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา นักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บจากการฝึกซ้อม หรือระหว่างแข่งขัน
การบำบัดรักษา
  1. ลดปวด ลดอาการชา ได้เป็นอย่างดี หลังการรักษา
  2. สามารถเพิ่มกำลัง และกระตุ้นกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากอัมพาต
  3. เร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น บาดเจ็บเส้นประสาท มือตก เท้าตก แขนขาอ่อนแรง อาการที่เกิดจากกดทับรากประสาทที่คอ และเอวจากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือเสื่อม
  4. เร่งการฟื้นตัวจากเส้นประสาทที่มีพฤติกรรมผิดเพี้ยน เช่น อาการเหน็บชา ปวดแปร๊บหลังการบาดเจ็บเส้นประสาท อาการปวดเรื้อรังจากโรคทางกล้ามเนื้อกระดูกทุกชนิด
  5. เวลาการบำบัดรักษารักษาสั้นมาก ต่อ 1จุดการรักษา
  6. ถ้าบำบัดรักษาต่อเนื่อง สามารถลดจำนวนการรักษาได้
  7. สามารถบำบัดรักษาได้ผลในทุกระยะของการดำเนินโรค คือ ระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง
  8. กลไกการรักษาเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมสร้างของเนื้อเยื่อ ไม่ใช่เพียงการแก้อาการเท่านั้น
ข้อควรระวัง/ข้อแนะนำหลังการรักษา
  1. กล้ามเนื้อมีโอกาสระบมหรือเป็นตะคริวได้ 2-3 วันหลังรับการรักษา
  2. มีโอกาสเกิดความร้อนได้หากไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะความร้อนที่เกิดกับตัวโลหะที่วางอยู่ภายนอกร่างกาย เช่น หัวเข็มขัด หัวคอยล์เหรียญที่อยู่บนกางเกงยีนส์ เป็นต้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมลดปวดด้วย Shockwave

การรักษาอาการปวดด้วย […]

โปรแกรม Office Syndrome ออฟฟิศ ซินโดรม

เลือกโปรแกรมที่เหมาะ […]

ฝังเข็มรักษาโรค

การฝังเข็ม (Acupunct […]

มะเร็งปอด รู้เร็ว รักษาได้

มะเร็งปอด รู้เร็ว….รักษาได้

มะเร็งปอดเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิง อย่างไรก็ดี มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้น
ชนิดของมะเร็งปอด

มะเร็งปอด เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและ ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วแค่ไหน ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง
มะเร็งปอด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามขนาดของเซลล์ ซึ่งความแตกต่างของขนาด เซลล์นี้มีความสำคัญ เนื่องจากวิธีการรักษาจะแตกต่างกัน
  1. มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากจะรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
  2. มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่จะแพร่กระจายได้ช้ากว่า และสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ
สาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด

ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ แต่มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด เช่น
  1. บุหรี่ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10-30 เท่า เนื่องจากสารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ โดย ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนมวนและจำนวนปีที่สูบบุหรี่
  2. การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon) สารหนู รังสี และสารเคมีอื่นๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ
  3. อายุ ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุโดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี
  4. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการลดปัจจัยเสี่ยง และวางแผนการตรวจสุขภาพ ส่วนผู้ที่เคยได้รับการรักษามะเร็งปอดมาแล้ว ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังการรักษา เนื่องจากอาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดได้อีก
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด

การตรวจคัดกรองจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบและรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบมะเร็งปอดแบบง่ายหรือด้วยตนเองดังเช่น มะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose helical computerized tomography) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้

อาการของโรคมะเร็งปอด

โดยทั่วไปแล้วมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้ว อาจพบอาการดังต่อไปนี้
  • ไอเรื้อรัง(ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ) มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
  • หายใจมีเสียงหวีด เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
  • ไอมีเลือดปน เสียงแหบ
  • ติดเชื้อในปอดบ่อย ๆ เช่น ปอดบวม เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี
การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี

  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT scan)
  • การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
  • การตรวจด้วยเครื่อง PET Scan (Positron Emission Tomography Scan) เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง

บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองมี 2 ประเภทคือ

  1. โรคหลอดเลือด สมองหลักตีบ
  2. อุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด
ปัจจัยเสี่ยง ของโรคหลอดเลือดสมอง

ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน โรคหัวใจ อายุที่มากขึ้น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ บุหรี่ แอลกอฮอล์ โคเคน แอมเฟตามีน การดำเนินชีวิต ที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนที่ หรือออกกำลังกาย
อาการของโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน

  1. แขนขา ชา อ่อนแรงหรือชาครึ่งซีกข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด
  2. พูดตะกุดตะกัก พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ นึกคำพูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจทันทีทันใด
  3. ตามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด
  4. ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
  5. เวียนศีรษะบ้านหมุน เดินเซ เสียการทรงตัว
กรณีพบผู้ป่วยมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน ถึงแม้อาการจะดีขึ้นได้เอง แต่การไปพบแพทย์ก็มีความจำเป็นเพื่อจะได้ รับการรักษาทันท่วงที และจะได้ฟื้นฟูสภาพร่างกายรวดเร็วยิ่งขึ้น
การรักษา

ขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรง และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมารับการรักษาเร็วเท่าใดก็จะมีโอกาสรอดชีวิต และฟื้นฟูจนสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติได้มากเท่านั้น หลักการรักษาประกอบด้วย
  1. การรักษาทางยาสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน แพทย์จะให้ยาในกลุ่มยาละลายลิ่มเลือดยาต้าน เกร็ดเลือด โดยทั่วไปผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และ จะต้องมาตรวจ สม่ำเสมอ เพื่อปรับขนาดของยา ตามแผนการรักษา
  2. การรักษาโดยการผ่าตัดในบางราย โดยเฉพาะ ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจากการปริแตกหรือฉีกขาด ของหลอดเลือดสมอง
  3. การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  4. การรักษาโดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดสมอง

เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมอย่าให้อ้วน
  2. งดสูบบุหรี่
  3. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  4. ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง
  5. ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้วหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อยู่แล้วต้องรักษาและพบแพทย์ อย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาหรือปรับยาเองโดยเด็ดขาด
  6. รับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 / Fish Oil สามารถลดความ เสี่ยงต่อการเกิด thrombosis stroke ได้
บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

  1. กระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้มากที่สุด เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ขับถ่าย ทานอาหาร แต่งตัว และให้ความช่วยเหลือถ้า จำเป็น
  2. กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้ร่างกายข้างที่อ่อนแรง เท่าที่สามารถจะทำได้
  3. ช่วยเหลือกิจกรรมที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
  4. ให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในตนเอง
  5. ช่วยทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย
  6. ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
  7. ช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด ห้ามขาดยา และมาพบตามแพทย์นัด
  8. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ ในรายที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากไม่ได้สามารถให้อาหาร ทางสายยางได้อย่างถูกวิธี ในรายที่รับประทานอาหารเองได้ ให้ระวังการสูดสำลัก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ตรวจเช็คโรคระบบประสาทและสมอง
คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน gastroesophageal reflux disease: GERD

โรคกรดไหลย้อนขึ้นคอและกล่องเสียง หรือเรียกสั้นๆว่า โรคกรดไหลย้อน เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพะอาหารขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองของกรดต่อเยื่อบุหลอดอาหาร ลำคอ และกล่องเสียง
การวินิจฉัย

จากประวัติ อาการ และการตรวจร่างกายทาง หู คอ จมูก แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาลดกรดและสังเกตการตอบสนองของโรคต่อยาใน ผู้ป่วยบางราย แพทย์จะพิจารณาส่องกล้องทางจมูกถึงกล่องเสียงเพื่อดูว่ามีความผิดปกติบริเวณกล่องเสียงและลำคอหรือไม่
อาการของโรคกรดไหลย้อน

  1. อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร
    • รู้สึกคล้ายว่ามีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ
    • มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา
    • เจ็บคอ แสบคอ แสบปาก แสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
    • รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในคอ หรือปาก
    • เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาหาร หรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอก หรือ คอ
    • อาการปวดแสบร้อนที่หน้าอกและลิ้นปี่
    • รู้สึกจุกแน่นในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย มีน้ำลายไหลมากผิดปกติ มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุได้
  2. อาการทางกล่องเสียงและหลอดลม
    • เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม
    • ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารหรือขณะนอน
    • ไอ สำลักน้ำลาย หรือ หายใจไม่ออกในเวลากลางคืน กระแอมไอบ่อย
การรักษา

  1. การปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน
    • วิธีนี้สำคัญที่สุดในการทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลงป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และลดการกลับมาเป็นซ้ำ โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปที่คอ และกล่องเสียงมากขึ้น การรักษาโดยวิธีนี้ควรปฏิบัติไปตลอดชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ แม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้ว หรือหายดีแล้ว โดยไม่ต้องรับประทานยา
  2. การรับประทานยา
    • เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและหรือเพื่อการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรดปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม ()เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี เห็นผลการรักษาเร็ว การรักษาโรคกรดไหลย้อน ควรรับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่งไม่ควรลดขนาดของยา หรือหยุดยาเอง นอกจากแพทย์แนะนำและควรไปตามที่แพทย์นัดสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1–3 เดือนอาการต่างๆจึงจะดีขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันได้รับประทานยาตอเนื่อง 2–3 เดือน แพทย์จะปรับขนาดยาลงทีละน้อย พบว่าประมาณ 90 % สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา
  3. การผ่าตัด
  4. ส่วนน้อยที่รักษาด้วยวิธีนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นที่คอและกล่องเสียง การรักษาวิธีนี้จะทำในกรณี
    • อาการรุนแรง ซึ่งให้การรักษาโดยยาอย่างเต็มที่แร้วไม่ดีขึ้น
    • ไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาภาวะนี้ได้
    • ในรายที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยาแต่ไม่ต้องการที่รับประทานยาต่อ
    • รายที่มีอาการกลับเป็นซ้ำบ่อยๆหลังหยุดยา
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอน ภายในเวลา 3 ช.ม. การนอนราบหรือการออกกำลังกายหลังจากทานอาหารทันที
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารมัน ทอด อาหารย่อยยาก พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม มะเขือเทศ ช็อกโกแลต ถั่ว หรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด เครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง แอลกอฮอล์
  • พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ถ้าน้ำหนักเกินควรลดน้ำหนัก
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่แน่นเกินไปโดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
  • เวลานอน ควรหมุนหัวเตียงให้สูงขึ้น ประมาณ 6 นิ้ว จากพื้นราบโดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐอย่ายกศีรษะโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันช่องท้องเพิ่มขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเองเวลาป่วยเนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนลางคลายตัวมากขึ้น
  • ไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มเกินไปในแต่ละมื้อ

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสะสมกรดยูริค(Uric acid)ในร่างกาย กรดยูริคได้จากการเผาผลาญสารพิวรีนซึ่ง เป็นธาตุอาหารที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้และพบได้ทั่วไปในอาหารหลายชนิดโดยปกติเมื่อสารพิวรีนที่ร่างกายได้รับ จะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะสำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบ ๆ ข้อกระดูกในเพศชายไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับเพศหญิง ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์
การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การควบคุมอาหาร โดยงดอาหารที่เป็นสาเหตุ และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลดอาการ และทำให้มีชีวิติอยู่อย่างมีความสุข
อาหารที่ควรงดได้แก่
  1. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เช่น เหล้า เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ยูริคสูงขึ้น
  2. งดอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เป็ด ไก่ กะปิ หน่อไม้ สะเดา ยอดกระถิน และรับประทานไขมันมากทำให้การขับถ่ายกรดยูริค เป็นไปได้ยาก
การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การควบคุมอาหาร โดยงดอาหารที่เป็นสาเหตุ และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลดอาการ และทำให้มีชีวิติอยู่อย่างมีความสุข
  • ไม่รับประทานอาหารมันมาก เช่น อาหารที่ทอดอมน้ำมันมาก เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันทำให้ร่างกายขับยูริคได้น้อยลง
  • ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว มีสารพิวรีน สูง หากกินไม่มาก ก็ไม่เป็นไร แต่หากดื่มนมถั่วเหลืองชนิดเข้มข้นวันละ 1 ลิตร หรือมากกว่านับว่าปริมาณมากเกิน ทำให้ได้รับพิวรีนมากประกอบกับโปรตีนก็สูง ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการสร้างกรดยูริกภายในร่างกายได้ ควรลดปริมาณการดื่มนมถั่วเหลืองลงให้เหลือวันละ 2 แก้ว
  • ควรละเว้นไม่รับประทานส่วนยอดผัก ต้นอ่อนของผัก เช่น ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีนหน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม
  • งด อาหารหมัก ที่ใช้ ยีสต์ เป็นตัวเร่งหรือส่วนประกอบ เช่น เต้าเจี้ยว
  • เมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้จะมียูริกค่อนข้างมาก แม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม ควรงดโดยเฉพาะขณะมีอาการ
กลุ่ม ปริมาณพิวรีน/อาหาร 100 ก. อาหาร
อาหารที่มีพิวรีนสูง มากกว่า  150 มก.
  • เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, ตับอ่อน, ไส้, ม้าม, หัวใจ, สมอง, กึ๋น, เซ่งจี๊
  • สัตว์ปีก เช่น เป็ด, ไก่, ห่าน
  • ปลาดุก, กุ้ง,กุ้งซีแฮ้ หอย, ปลาอินทรีย์, ปลาไส้ตัน, ปลาขนาดเล็ก, ปลาซาร์ดีน, ไข่ปลา
  • ชะอม, กระถิน, เห็ด
  • ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ
  • น้ำเกรวี, กะปิ, ยีสต์
  • น้ำสะกัดเนื้อ, ซุปก้อน, น้ำต้มกระดูกปลาดุก, น้ำซุปต่างๆ น้ำสกัดเนื้อ
อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง 50-150 มก.
  • เนื้อสัตว์ เช่น หมู, วัว
  • ปลาทุกชนิด และอาหารทะเล เช่น ปลาหมึก, ปู
  • ถั่วลิสง, ถั่วลันเตา
  • ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้, หน่อไม้ฝรั่ง, ดอกกะหล่ำ, ผักโขม, สะตอ, ใบขี้เหล็ก
  • ข้าวโอ๊ต
  • เบียร์ เหล้าชนิดต่างๆ เหล้าองุ่น ไวน์ (ทำให้การขับถ่ายกรดยูริกทางปัสสาวะลดลง ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว)
อาหารที่มีพิวรีนน้อย 0-50 มก.
  • ข้าวชนิดต่างๆ 
  • ถั่วงอก, คะน้า
  • ผลไม้ชนิดต่างๆ
  • ไข่
  • นมสด, เนย และเนยเทียม
  • ขนมปัง ขนมหวาน หรือน้ำตาล
  • ไขมันจากพืช และสัตว์
ข้อควรปฏิบัติด้านอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
  • รับประทานผลไม้และผักให้มาก โดย รับประทานผักส่วนที่โตเต็มวัย
  • รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่
  • ดื่มน้ำสะอาด มากๆ วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยการขับถ่ายยูริคออกมาทางปัสสาวะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์

ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์

ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry)

เป็นการตรวจวัดปริมาตรและอัตราการไหลของอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด โดยให้ผู้ป่วยใช้แรงหายใจเข้าและออกให้สุดลมหายใจผ่านเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer) ในบางรายต้องมีการตรวจหลังการสูดยาขยายหลอดลมซ้ำอีกรอบ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของหลอดลม การตรวจสไปโรเมตรีย์นี้ ช่วยในการวินิจฉัยโรคหอบหืด,ถุงลมโป่งพองรวมถึงช่วยบอกความรุนแรงของโรคปอดบางชนิดได้

ผู้ป่วยที่ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry)
  1. ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจบางอย่าง เช่น ไอเรื้อรัง หายใจเสียงดังหวีด เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก
  2. ผู้ป่วยที่แพทย์ตรวจร่างกายพบความผิดปกติบางอย่าง เช่น เสียงหายใจผิดปกติ ทรวงอกผิดรูป
  3. ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ เช่น ภาพรังสีทรวงอกผิดปกติ ออกซิเจนในเลือดแดงต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง
  4. ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น สูบบุหรี่ อาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดจากการประกอบอาชีพ เช่น ผู้ที่ทำงานในเหมืองแร่ ในสถานที่อับอากาศ ทำงานในที่มีไอระเหยของโลหะ หรือทำงานในสถานที่ที่มีฝุ่นละออง เช่น โรงงานทอผ้า เป็นต้น
  5. ประเมินความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยที่มีโรคบางอย่าง เช่น ปอดเป็นผังผืด กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  6. ประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านระบบหายใจในผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดช่องอก
  7. ประเมินสุขภาพก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย
เพื่อติดตามการรักษาหรือการดำเนินโรค
  • ติดตามผลการรักษาได้แก่ ผลของยาขยายหลอดลมในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดลม ประเมินผลของยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยหืด การพยากรณ์โรคปอดบางชนิด (เช่น COPD ปอดอุดกั้นเรื้อรัง)
  • ติดตามผู้ป่วยที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพติดตามผลข้างเคียงของยาที่มีผลต่อระบบการหายใจ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิด
  • ติดตามผลข้างเคียงของยาที่มีผลต่อระบบการหายใจ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิด
ข้อห้ามในการตรวจ Spirometry
  • ไอเป็นเลือด ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรคปอดระยะติดต่อที่ยังไม่ได้รับการรักษา
  • โรคความดันโลหิตสูง ที่ยังไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมไม่ได้,ความดันโลหิตตํ่า,เส้นเลือดแดงโป่ง (aneurysm)ในทรวงอก,ช่องท้องหรือสมอง
  • เพิ่งได้รับการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดลอกต้อกระจก ทรวงอก หรือช่องท้อง
  • สตรีมีครรภ์ (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็น)
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
  • ควรงดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างน้อย 2 ชั่วโมง , งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการตรวจหลังรับประทานอาหารทันที ควรให้นั่งพักประมาณ 1 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนมาตรวจ อย่างน้อย 30 นาที
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดหน้าอกและท้อง
วิธีการตรวจ Spirometry
  • นั่งตัวตรง หนีบจมูกด้วย Nose Clip
  • เจ้าหน้าทีสาธิต การหายใจเข้าออกพร้อมคำอธิบายการหายใจขณะทำการตรวจได้ถูกต้อง
  • มกระบอกเครื่องเป่า ปิดปากให้แน่นรอบกระบอกเป่าไม่ให้มีลมรั่วรอจังหวะสัญญาณการหายใจจากเจ้าหน้าที่
  • สูดหายใจเข้าเต็มที่และเป่าพุ่งอย่างรวดเร็ว และแรง จนกว่าอากาศที่เป่าจากปอดจะหมด ให้นิ่งไว้ประมาณ 3-6 วินาที และสูดลมกลับเต็มที่ ให้ทำตามจังหวะ
สูดลึกเต็มที่....เป่าพุ่งเร็วและแรง.......ดันให้สุด......สูดลมกลับ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

Sleep Apnea Syndrome


คุณมีอาการแบบนี้ หรือไม่?
  1. ขับรถหรือเข้าประชุมนานๆ แล้วเผลอหลับ
  2. คนที่บ้านบอกว่านอนกรนเสียงดัง ปวดหัวเหมือนนอนไม่พอ
  3. ตรวจร่างกายแล้ว ความดันโลหิตสูงขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
ถ้ามีอาการดังกล่าวคุณอาจเป็น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับโดยไม่รู้ตัว
เรามักเข้าใจผิดกันมานานแล้วว่า คนนอนหลับสนิทต้องมีอาการกรนร่วมด้วย ยิ่งกรนดังก็หมายถึงคนๆ นั้นกำลังนอนหลับฝันดีทีเดียว และคนที่กรนก็มักจะมีรูปร่างที่อ้วนใหญ่ ผู้ที่จมูกอักเสบ โครงหน้าผิดรูป เช่น คางสั้น ลิ้นโต คนที่ทำงานหักโหม นักกีฬา ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทานยานอนหลับ ดื่มแอลกอฮอล์ประจำ สูบบุหรี่จัด เป็นต้น และพบมากในเพศชายมากกว่า เพศหญิง ซึ่งคนเหล่านี้มักมีอาการง่วงนอนทุกสถานที่ หลับได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นขณะขับรถติดไฟแดงนานๆ ซึ่งอาจประสบอุบัติเหตุได้ หรือขณะ นั่งประชุม นั่งเรียน นั่งอ่านหนังสือ ตื่นเช้าทำให้รู้ไม่สดชื่นเหมือนนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ทั้งๆที่นอนเพียงพอแล้ว เวลากลางวันจึงง่วงนอนมากผิดปกติ อาการนอนกรนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่มีการอุดกั้นในทางเดินหายใจมาก จนกระทั่งทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับพบได้ประมาณร้อยละ 25 ในเพศชาย และร้อยละ 15 ในเพศหญิง ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome”
ความผิดปกติในการนอนกรนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. อาการนอนกรนธรรมดา
ไม่มีอันตรายเพราะไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย มีผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้อื่น โดยเฉพาะกับคู่นอน บุคคลอื่นๆ ในครอบครัว เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงาน เช่น ทำให้ผู้อื่นนอนหลับยากหรืออาจมากจนกระทั่งมีผลกระทบต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดังกล่าวได้ เช่น อาจทำให้เกิดการหย่าร้างของคู่สามีภรรยา
2. การกรนแบบก่อโรค
มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome” ผลกระทบที่สำคัญต่อสุขภาพ คือผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน มีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุในท้องถนน และในโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่ายมีอัตราเสี่ยงสูงจะเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาหลายโรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคของหลอดเลือดในสมอง ตลอดจนการมีสมรรถภาพทางเพศที่เสื่อมลง !!!
การตรวจสุขภาพการนอนกรน (Sleep test)
เป็นการตรวจสุขภาพที่สำคัญเพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับด้วย ปัจจุบันจัดว่าเป็นการตรวจสุขภาพมาตรฐานสากล เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคพบบ่อย เช่น ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่าโรคหยุดหายใจขณะหลับเป็นต้น ซึ่งแพทย์จะประมวลประวัติ ผลการตรวจร่างกายทาง หู คอ จมูก และตรวจร่างกายโดยรวมแล้วแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test เพื่อหาระดับความรุนแรงและอาการของโรคจากระดับความลึกของการนอนหลับ โดยเฉพาะในกรณีที่สงสัยว่าจะมีภาวะการณ์หยุดหายใจร่วมด้วยว่าสมองมีการขาดออกซิเจนมากน้อยเพียงใด ซึ่งในขณะนอนหลับจะมีการบันทึกข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดเพื่อที่แพทย์จะทำการวิเคราะห์ผล และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมเป็นลำดับต่อไป
แนวทางการรักษา
  • นอนตะแคง
  • ลดน้ำหนัก
  • การผ่าตัดตกแต่งทางเดินหายใจส่วนบน
  • เครื่องซีแพพ CPAP (Continuous positive airway pressure) เพื่อช่วยหายใจขณะนอนหลับ
เครื่องซีแพพ CPAP
(Continuous Positive Airway Pressure)
เป็นเครื่องผลิตแรงดันอากาศให้เพียงพอในการเปิดทางเดินหายใจในขณะหายใจเข้า เครื่อง CPAP มีประสิทธิภาพเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ในการรักษาปัญหาการขาดลมหายใจ โดยส่งอากาศเข้าสู่ทางเดินหายใจ ผ่านทางหน้ากากครอบจมูกหรือปาก ประโยชน์ของเครื่อง CPAP นอกจากขจัดปัญหาการขาดลมหายใจทำให้ร่างกายไม่ขาดออกซิเจน และมีคุณภาพการนอนดีขึ้นยังช่วยลดปัญหาความง่วงนอนช่วงกลางวัน ลดอุบัติเหตุ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกด้าน นอกจากนั้นการใช้เครื่อง CPAP ยังลดปัญหาสืบเนื่องในระยะยาวจากการขาดอากาศเป็นระยะ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง
โรคเส้นเลือดตีบในสมอง และโรคหัวใจ รวมทั้งโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับ "การนอนกรน"

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia)

โรคดิสเปปเซีย (Dyspepsia) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อโรคกระเพาะอาหารนั้น คือ โรคที่มีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของบริเวณกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นก็ได้ โดยหากผู้ป่วยได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนจะพบความรุนแรงของโรคกระเพาะอาหารได้แตกต่างกัน ได้แก่ ตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆในกระเพาะอาหารเลยที่เรียกว่าฟังก์ชันนัลดิสเปปเซีย (Functional dyspepsia) พบเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) มีแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) หรือแม้แต่เป็นโรคร้ายแรงคือมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer)

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคกระเพาะอาหาร
  1. การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ในกระเพาะอาหาร
  2. การรับประทานยาที่อาจระคายเคืองกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาละลายลิ่มเลือด
  3. การสูบบุหรี่
  4. การรับประทานเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  5. ภาวะความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล
อาการของโรคกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารสามารถมาพบแพทย์ด้วยอาการสำคัญ 4 แบบ ได้แก่

  1. ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastric pain)
  2. แสบร้อนท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastric burning)
  3. แน่นหรืออึดอัดท้องหลังมื้ออาหาร (Post-prandial fullness)
  4. อิ่มเร็วกว่าปกติ (Early satiation)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารนั้นไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดท้องหรือแสบท้องเสมอไป อาการแน่นหรืออึดอัดท้อง รับประทานอาหารแล้วอิ่มเร็วกว่าปกติ ก็เป็นอาการที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจจะป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน

การตรวจเพื่อวินิจฉัยชนิดของโรคกระเพาะอาหาร

การวินิจฉัยแยกชนิดของโรคกระเพาะอาหารว่าเป็นชนิดใดนั้น มีความจำเป็นต้องอาศัยการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งสามารถเห็นลักษณะความผิดปกติ รวมถึงก้อนเนื้องอกต่างๆบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้อย่างชัดเจน โดยผู้ที่มีความเสี่ยงที่อาจจะป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดร้ายแรงและมีความจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน ได้แก่ มีอาการกลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ มีภาวะซีด น้ำหนักลด อาเจียนต่อเนื่อง อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 55 ปี รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการเป็นซ้ำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหาร

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดมีแผลอาจจะส่งผลทำให้มีเลือดออกจากแผลซึ่งบางครั้งอาจจะรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกหรือเสียชีวิตได้ ทำให้อาเจียนจากภาวะกระเพาะอาหารอุดตัน ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงจากแผลทะลุ แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดเยื่อบุอักเสบและมีการอักเสบเกิดขึ้นแบบเรื้อรังก็อาจส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุและกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารขึ้นมาได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ถึงโรคกระเพาะอาหารควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นจากตัวโรคในภายหลัง

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

ยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารโดยเฉพาะชนิดเยื่อบุอักเสบ หรือชนิดมีแผลประกอบด้วยยาลดกรดชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตามในบางครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคกระเพาะอาหารชนิดฟังก์ชันนัลดิสเปปเซียอาจมีความจำเป็นต้องให้ยากลุ่มอื่นๆร่วมด้วย เช่น ยาที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร ยาที่ลดการตอบสนองของกระเพาะอาหาร เพื่อทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น

หากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ก็มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 2 ชนิดเพื่อกำจัดเชื้อโรคนี้ร่วมด้วย

วิธีปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น อาหารเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ของหมักดอง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม กาแฟ โกโก้ ช็อคโกแลต เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารปริมาณมากๆในหนึ่งมื้อ
  • หลีกเลี่ยงการเอนตัวหรือนอนหลังกินอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวด ยาคลายเส้น ยาละลายลิ่มเลือด โดยไม่มีข้อบ่งชี้
  • งดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนักหากมีภาวะอ้วน
  • หลีกเลี่ยงการใส่กางเกง กระโปรง หรือเข็มขัดที่รัดแน่นเกินไป
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์

ความดันโลหิตสูง Hypertension

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาและควบคุมตลอดชีวิต โรคนี้มักพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 15-20 ทั้งเพศหญิงและเพศชายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
ความดันโลหิตสูงคืออะไร
ความดันโลหิตคือแรงดันของกระแสเลือดที่มีต่อผนังหลอดเลือดโดยมีอวัยวะสำคัญที่ควบคุมให้ความดันอยู่ในระดับปกติ เช่นหัวใจ ไต หลอดเลือดที่หดหรือขยายตัวได้เป็นต้น ค่าความดันโลหิตขณะนั่งพักในวัยผู้ใหญ่จะประมาณ 120/80 มม.ปรอท และเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ตามท่าของร่างกาย อาหาร เครื่องดื่ม อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง ปริมาณการออกกำลังกาย เป็นต้น สามารถตรวจวัดความดันโลหิตที่รอบแขนได้ 2 ค่าดังนี้
  1. ความดันซีสโตลิก หรือค่าบนเป็นแรงดันสูงสุดขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวโดยค่าปกติจะไม่เกิน 139 มม.ปรอท
  2. ความดันไดแอสโตลิก หรือค่าล่างเป็นแรงดันขณะที่หัวใจคลายตัวโดยค่าปกติจะไม่เกิน 89 มม.ปรอท
ความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร
ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไป โดยวัดขณะนั่งพัก 5-10 นาที ที่ไม่ได้สูบบุรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง ได้ดังนี้
ความดันโลหิตสูงแบ่งเป็น 2 ชนิด
  1. ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน พบได้มากกว่าร้อยละ 90 ในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
    • พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง
    • โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง
    • บริโภคอาหารรสเค็มหรือเกลือโซเดียมมาก
    • ขาดการออกกำลังกาย
    • ร่างกายมีความไวต่อการสะสมเกลือและโซเดียม
  2. ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ ที่มีสาเหตุของโรค เช่น โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ นอนกรนและหยุดหายใจเฉียบพลันจากยาบางชนิด การตั้งครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น แต่หลังการรักษาต้นเหตุ ความดันสูงจะกลับเป็นปกติในผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเฉพาะค่าบน เนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงระยะแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและที่พบได้บ่อยคือ ปวดมึนท้ายทอยตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาต หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
โรคนี้ถ้าไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆ ร่วมกับมีภาวะไขมันสูง สูบบุรี่ โรคเบาหวานที่ไม่ควบคุม น้ำตาลในเลือดที่สูงจะเร่งทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมโดยมีคราบไขมันพอกที่ผนังหลอดเลือดเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ ก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญได้แก่
  1. หัวใจ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจวาย หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
  2. สมอง เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน หรือแตกทำให้เป็นอัมพาต และถ้าเกิดในตำแหน่งสำคัญอาจเสียชีวิตอย่างรวดเร็วความดันที่สูงรุนแรงเฉียบพลันจะทำให้สมองบวม ปวดศีรษะและซึมลงจนไม่รู้สึกตัว
  3. ไต จากมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอจะเกิดภาวะไข่ขาวรั่วออกทางปัสสาวะ ไตวายเรื้อรัง หรือเฉียบพลัน ซึ่งจะทำให้ความดันยิ่งสูงมากขึ้น
  4. ตา หลอดเลือดแดงในตาแตกและมีเลือดออกทำให้ประสาทตาเสื่อมและอาจตามัวลง
  5. หลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดการโป่งพอง และหรือฉีกขาดของผนังหลอดเลือดจะมีการเจ็บหน้าอกถ้ารุนแรงอาจเสียชีวิต
วิธีการรักษา
เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิคือการควบคุมความดันให้ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรังควรควบคุมให้ต่ำกว่า
  1. เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดัน และปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อยความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่130/80 มม.ปรอท แนวทางการรักษามีดังนี้ ลดน้ำหนักส่วนเกิน   เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ ธัญพืช ปลาและ นมไขมันต่ำระมัดระวังการรับประทานอาหารหวาน ไขมันควบคุมอาหารรสเค็ม    รู้จักคลายเครียด   ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ถ้าเลิกออกกำลังกาย ความดันสูงจะกลับมาใหม่เลิกบุหรี่และเหล้า
  2. ให้ยารักษาความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันยังคงสูงกว่า140/90 มม.ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษา และควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น
  3. ติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ และเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น
ดูแลสุขภาพอย่างไรจึงจะควบคุมได้
  1. รับประทานยา และพบแพทย์ตามนัด ไม่หยุดยาเองแม้ว่าจะมีความดันเป็นปกติ และไม่เปลี่ยนขนาด หรือชนิดยา เพราะประสิทธิภาพของยาจะแตกต่างกันในแต่ละราย ผู้ที่มีอาการจากผลข้างเคียงของยาควรปรึกษาแพทย์
  2. บริโภคอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสหวาน มัน เค็มจัดควรฝึกให้ชินกับอาหารรสธรรมชาติ หรือใช้สมุนไพรปรุงรสแทนและบริโภคแบบสด การบริโภคอาหารเค็มจะทำให้ความดันไม่ลงและดื้อต่อการรักษา
  3. ลดน้ำหนักส่วนเกิน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งในการลดความดันโลหิตผู้ที่ลดน้ำหนักได้ต่อเนื่องทุก 10 กิโลกรัมความดันค่าบนจะลดลงเฉลี่ย 5-20 มม.ปรอท
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 20-30 นาทีแบบต่อเนื่องสัปดาห์ละ 5-7 วัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ เป็นต้นจะช่วยให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
  5. การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น และเป็นสาเหตุของโรคอันตรายอื่น
  6. เลือกบริโภคอาหารลดความดัน (Dietary Approaches to Stop Hypertension, DASH) โดยบริโภคอาหารไขมันต่ำแบบหมุนเวียน เช่น เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ปลา อาหารมังสวิรัติ และเพิ่มการบริโภค ผักผลไม้ ธัญพืชมากขึ้นในแต่ละมื้อ  และลดบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไป
  7. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียด7. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี  รู้จักคลายเครียดและทำจิตใจให้สงบ เช่น ปฏิบัติศาสนกิจ เจริญสมาธิ ฝึกโยคะชี่กง เป็นต้น พบว่าการฝึกหายใจ ช้าน้อยกว่า 10 ครั้ง/นาทีวันละ 15-20 นาที ประมาณ 2 เดือน จะช่วยลดความดันโลหิตได้ประมาณเท่ากับการกินยารักษาความดัน 1 ชนิด
  8. เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ควรแจ้งแพทย์เรื่องความดันโลหิตสูงเนื่องจากยาบางอย่างมีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น