กรดไหลย้อน gastroesophageal reflux disease: GERD

โรคกรดไหลย้อนขึ้นคอและกล่องเสียง หรือเรียกสั้นๆว่า โรคกรดไหลย้อน เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพะอาหารขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองของกรดต่อเยื่อบุหลอดอาหาร ลำคอ และกล่องเสียง
การวินิจฉัย

จากประวัติ อาการ และการตรวจร่างกายทาง หู คอ จมูก แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาลดกรดและสังเกตการตอบสนองของโรคต่อยาใน ผู้ป่วยบางราย แพทย์จะพิจารณาส่องกล้องทางจมูกถึงกล่องเสียงเพื่อดูว่ามีความผิดปกติบริเวณกล่องเสียงและลำคอหรือไม่
อาการของโรคกรดไหลย้อน

  1. อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร
    • รู้สึกคล้ายว่ามีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ
    • มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา
    • เจ็บคอ แสบคอ แสบปาก แสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
    • รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในคอ หรือปาก
    • เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาหาร หรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอก หรือ คอ
    • อาการปวดแสบร้อนที่หน้าอกและลิ้นปี่
    • รู้สึกจุกแน่นในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย มีน้ำลายไหลมากผิดปกติ มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุได้
  2. อาการทางกล่องเสียงและหลอดลม
    • เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม
    • ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารหรือขณะนอน
    • ไอ สำลักน้ำลาย หรือ หายใจไม่ออกในเวลากลางคืน กระแอมไอบ่อย
การรักษา

  1. การปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน
    • วิธีนี้สำคัญที่สุดในการทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลงป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และลดการกลับมาเป็นซ้ำ โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปที่คอ และกล่องเสียงมากขึ้น การรักษาโดยวิธีนี้ควรปฏิบัติไปตลอดชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ แม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้ว หรือหายดีแล้ว โดยไม่ต้องรับประทานยา
  2. การรับประทานยา
    • เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและหรือเพื่อการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรดปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม ()เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี เห็นผลการรักษาเร็ว การรักษาโรคกรดไหลย้อน ควรรับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่งไม่ควรลดขนาดของยา หรือหยุดยาเอง นอกจากแพทย์แนะนำและควรไปตามที่แพทย์นัดสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1–3 เดือนอาการต่างๆจึงจะดีขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันได้รับประทานยาตอเนื่อง 2–3 เดือน แพทย์จะปรับขนาดยาลงทีละน้อย พบว่าประมาณ 90 % สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา
  3. การผ่าตัด
  4. ส่วนน้อยที่รักษาด้วยวิธีนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นที่คอและกล่องเสียง การรักษาวิธีนี้จะทำในกรณี
    • อาการรุนแรง ซึ่งให้การรักษาโดยยาอย่างเต็มที่แร้วไม่ดีขึ้น
    • ไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาภาวะนี้ได้
    • ในรายที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยาแต่ไม่ต้องการที่รับประทานยาต่อ
    • รายที่มีอาการกลับเป็นซ้ำบ่อยๆหลังหยุดยา
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอน ภายในเวลา 3 ช.ม. การนอนราบหรือการออกกำลังกายหลังจากทานอาหารทันที
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารมัน ทอด อาหารย่อยยาก พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม มะเขือเทศ ช็อกโกแลต ถั่ว หรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด เครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง แอลกอฮอล์
  • พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ถ้าน้ำหนักเกินควรลดน้ำหนัก
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่แน่นเกินไปโดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
  • เวลานอน ควรหมุนหัวเตียงให้สูงขึ้น ประมาณ 6 นิ้ว จากพื้นราบโดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐอย่ายกศีรษะโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันช่องท้องเพิ่มขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเองเวลาป่วยเนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนลางคลายตัวมากขึ้น
  • ไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มเกินไปในแต่ละมื้อ