พญ.สุพัฒนา ฉัตรร่มเย็น

พญ.สุพัฒนา ฉัตรร่มเย็น
เวชศาสตร์ฟื้นฟู

พญ.สุพัฒนา ฉัตรร่มเย็น

SUPATTANA-CHATROMYEN, M.D.
Specialty
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วุฒิบัตรแพทยเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
FRI 16:00-19:00

พญ.รตณัฐ เหมินทร์

พญ.รตณัฐ เหมินทร์
อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง

พญ.รตณัฐ เหมินทร์

RATANUT HAMINDRA M.D.
Specialty
  • Neurologist
  • สมองเสื่อม พาร์กินสัน โรคลมชัก โรคหลอดเลือดสมอง

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วุฒิบัตร อายรุศาสตร์ สาขาประสาทวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
FRI 17:00 - 20:00 

พญ.กัญญ์วรา ชัยเบญจพล

พญ.กัญญ์วรา ชัยเบญจพล
อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง

พญ.กัญญ์วรา ชัยเบญจพล

KANVARA CHAIBENJAPOL M.D.
Specialty
  • Neurologist
  • สมองเสื่อม พาร์กินสัน โรคลมชัก

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะแพทยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • วุฒิบัตร อายรุศาสตร์ สาขาประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
WED 17:00 - 20:00

พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล

พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล
อายุรแพทย์โรคหัวใจ

พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล

Juthathip Nyamvisetchaikul, M.D.
Specialty
  • อายุรกรรมโรคหัวใจ
    Cardiovascular Medicine

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • อายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
WED 09:00 - 15:00 สัปดาห์ที่ 1,3,5

โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

Periodontitis and treatment
โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา
โรคปริทันต์อักเสบ คือ โรคที่เกิดการอักเสบของอวัยวะรอบๆ รากฟันซึ่งมีหน้าที่รองรับฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟันและกระดูกเบ้าฟัน

null

รูป สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ เนื่องจากการทำความสะอาดฟันที่ไม่เหมาะสม โดยเมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุจากน้ำลาย คราบจุลินทรีย์ที่สะสมนี้ก็จะแข็งเป็นหินน้ำลาย (หินปูน) ซึ่งหินน้ำลายเหล่านี้จะเป็นที่ยึดเกาะของคราบจุลินทรีย์ต่อไป

null

รูป ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง
ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่และโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดี เป็นปัจจัยส่งเสริมให้โรคปริทันต์มีความรุนแรงมากขึ้นได้
อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
เมื่อเกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ขึ้น จะทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบซึ่งเหงือกจะมีลักษณะบวมแดง มีเลือดออกง่าย ซึ่งหากปล่อยให้การอักเสบดำเนินต่อไปก็จะทำให้เกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบ โดยเกิดการทำลายอวัยวะรอบรากฟันเริ่มเกิดร่องลึกปริทันต์ อาจมีหนอง ฟันโยกในเวลาต่อมา และอาจเกิดการสูญเสียฟันหลายๆตำแหน่งได้ในอนาคต

null

รูป อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
การป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ
แปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม ด้วยไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคปริทันต์อักเสบ พบทันตแพทย์เพื่อตรวจและดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน
ขั้นตอนในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. ขั้นตอนการควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบ (Systematic Phase) เช่นการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน หรืองดการสูบบุหรี่
  2. ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น (Initial Phase) ด้วยการขูดหินน้ำลาย การเกลารากฟันและการแปรงฟันให้สะอาด รวมถึงทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม
    null

    รูป ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น
  3. ขั้นตอนการรักษาระยะแก้ไข (Corrective Phase) เพื่อกำจัดพยาธิสภาพที่อาจหลงเหลืออยู่หลังรักษาขั้นต้นสมบูรณ์แล้ว ด้วยการทำศัลยกรรมปริทันต์หรือการบูรณะอื่นๆ
  4. ขั้นตอนการรักษาเพื่อคงสภาพอวัยวะปริทันต์ให้ปราศจากโรค (Maintenance Phase) โดยทันตแพทย์จะนัดเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 3-6 เดือน
คำแนะนำหลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. หลังการทำหัตถการอาจมีเลือดซึมจากขอบเหงือกได้เล็กน้อย แนะนำหลีกเลี่ยงการบ้วนเลือดและน้ำลายตลอดวันที่ทำหัตถการ
  2. หลังขูดหินน้ำลายหรือการเกลารากฟัน อาจเกิดการเสียวฟันขึ้นได้ แต่โดยทั่วไปอาการดังกล่าวจะดีขึ้นได้ในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
  3. อาจมีอาการปวดเหงือกได้บ้างหลังจากการทำหัตถการ สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
  4. หากมีเลือดออกจากร่องเหงือกมาก เบื้องต้นแนะนำใช้ผ้าก๊อซกดเหงือกครั้งละ 30 นาที และหากพบว่าเลือดยังไม่หยุดให้กลับมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง
  5. สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ปกติ

null

รูป หลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
อัตราค่าบริการทันตกรรม
รายการ
ค่าบริการ
ขูดหินปูน
900 - 1,500.-
เกลารากฟัน
1,500 - 2,000.-
(ต่อครั้ง)
ศัลยกรรมปริทันต์
3,000 - 5,000.-
เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
150.-
(ต่อฟิล์ม)
เอกซเรย์พานอรามิก
800.-
(ต่อฟิล์ม)

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

Tooth Replacement
การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ
ฟัน มีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้การออกเสียงเป็นไปได้อย่างชัดเจนทั้งยังช่วยรักษาโครงสร้างของใบหน้า ริมฝีปากให้มีความสมดุลได้อีกด้วย หากต้องสูญเสียฟันธรรมชาติไปโดยมิได้ใส่ฟันเทียมทดแทน ย่อมจะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารต่ำลง อาจทำให้ออกเสียงได้ไม่ชัดและความมั่นใจถูกลดทอนลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้
ถอนฟันไปแล้ว แต่ไม่ใส่ฟันทดแทนได้หรือไม่?
โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ฟัน ทดแทนในทุกๆตำแหน่ง หลังจากที่ถอนฟันไปแล้ว ประมาณ 1 เดือน เนื่องจากหากไม่ได้รับการใส่ฟันทดแทนอาจทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงและฟันคู่สบล้มหรือยื่นยาวมายังช่องว่าง ที่เคยได้รับการถอน (ดังรูป)
null

รูป ฟันล้ม
ส่งผลให้เกิดการสบกระแทก เศษอาหารติด และเกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบและอาจจำเป็นต้องถอนฟันซี่ใกล้เคียงในเวลาต่อมา แต่อย่างไรก็ตามในบางกรณีเช่น ฟันที่ถูกถอนนั้นเป็นตำแหน่งของฟันคุด ฟันเกิน ฟันฝัง ฟันที่ถอนเพื่อจัดฟัน ฟันผิดตำแหน่ง หรือเป็นตำแหน่งที่ ฟันซี่นั้นไม่มีคู่สบและยังเหลือฟันมากพอที่จะสามารถเคี้ยวอาหารได้ดี อาจไม่จำเป็นต้องใส่ฟันทดแทน
การเตรียมสภาวะช่องปากให้พร้อมก่อนการใส่ฟันทดแทน
เพื่อให้ฟันเทียมนั้นสามารถใช้งานได้ยาวนานที่สุด และรองรับพอดีกับฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องซ่อมหรือท่าบ่อยใหม่ๆ ในอนาคต ทันตแพทย์จะวางแผนเตรียมช่องปากก่อนเริ่มขั้นตอนฟันเทียม
ขั้นตอนและวิธีการเตรียมช่องปาก
ในแต่ละรายล้วนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับสภาวะช่องปากในขณะนั้น ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่การอุดฟัน รักษาโรคเหงือก รักษารากฟัน ถอนฟันบางซี่ที่ไม่อาจบูรณะได้ ตกแต่งกระดูกที่คมหรือปลูกกระดูกก่อนฝังรากฟันเทียม เป็นต้น
ฟันเทียมทดแทนชนิดต่างๆ
1. ฟันเทียมชนิดถอดได้
null

รูป 1.1 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานโลหะ)
1.1 ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • การเติมฟัน ในอนาคตทำได้ยากกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • null

    รูป 1.2 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานอะคริลิก/พลาสติก)
    1.2 ฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องผ่าตัด ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
  • สามารถเติมได้หากต้องถอนฟันในอนาคต
  • ฐานฟันปลอมมีความหนามากกว่าโลหะ
  • อาจมี โอกาสแตกหักได้หากทำตกหล่น
  • 2. ฟันเทียมชนิดติดแน่น
    null

    รูป 2.1 รากฟันเทียม
    2.1 รากฟันเทียม (Dental Implant)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟันซี่ใดๆ
  • ให้ความรู้สึกใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • สามารถใช้เป็นฐานเพิ่มการยึด ติดของฟันเทียมถอดได้ทั้งปากได้
  • ต้องมีกระดูกรองรับการฝังรากฟันเทียมที่มาก เพียงพอ
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • การรักษามี 2-3 ขั้นตอนในช่วงเวลาประมาณ 3-6 เดือน
  • null

    รูป 2.2
    2.2 ครอบฟัน (Crown)/สะพานฟัน(Bridge)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • วัสดุมีให้เลือกหลากหลายชนิด มีความแข็งแรงทนทาน มักใช้เพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาแล้ว หรือฟันที่ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่า ฟันเทียมชนิดถอดได้
  • ต้องได้รับการกรอตกแต่งฟันซี่นั้นๆ หรือฟันข้างเคียง
  • การดูแลและท่าความสะอาด ฟันเทียมชนิดต่างๆ
    ฟันเทียมชนิดติดแน่นสามารถแปรงฟันใช้ไหมขัดฟันและแปรงซอกฟันได้ในรายที่ใส่ครอบฟัน (หรือรากฟันเทียม) หากมีสะพานฟันร่วมด้วยแนะนําใช้ Superfloss หรือไหมขัดฟันร่วมกับ Floss Threader ทำความสะอาดใต้สะพานฟันเพราะแม้จะได้รับการครอบฟันแล้ว แต่ฟันก็ยังจะสามารถผุต่อหรือเกิดโรคปริทันต์ต่อได้ในอนาคต
    ฟันเทียมชนิดถอดได้
    • ถอดออกในเวลากลางคืน และแช่ในน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ ไม่ใช้น้ำเย็นจัด/ร้อนจัด
    • แปรงด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน ไม่ใช้ยาสีฟัน ทำความสะอาด เพราะผงขัดอาจทำให้ฐานฟัน ปลอมถูกขีดข่วนได้
    • ใช้งานอย่างระวังมิให้ตกหล่น เนื่องจากสามารถ แตกหักได้
    • หลังทานอาหารทุกครั้งแนะนำาถอดล้างทำความ สะอาด และบ้วนปาก
    • ตรวจเช็คฟันปลอมเป็นระยะทุกๆ 6 เดือน
    • สามารถใช้เม็ดฟูทำความสะอาดฟันปลอมได้
    • สามารถใช้กับกาวยึดติดฟันปลอมได้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    ฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติกเริ่มต้น
    3,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ
    8,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมทั้งปาก (ต่อชิ้น)
    10,000 - 15,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ครอบฟัน (ขึ้นกับชนิดวัสดุ)
    10,000 - 20,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เดือยฟัน
    4,500 - 5,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    รากฟันเทียม(ขึ้นกับยี่ห้อวัสดุ)
    55,000-75,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เอกซเรย์ฟิล์มเล็ก (ฟิล์มละ)
    150 บาท
    เอกซเรย์พานอรามิค (ฟิล์มละ)
    800 บาท

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด – 12 ปี

    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด - 12 ปี

    Oral health care for newborns - 12 years old
    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด-อายุ 12 ปี
    ฟันน้ำนม นอกจากมีหน้าที่ในการบดเคี้ยวและช่วยเสริมสร้างความมั่นใจแล้วยังช่วยทำให้ออกเสียงได้ชัดเจนและเป็นตัวช่วยให้ฟันแท้ขึ้นมาได้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
    กรณีที่ต้องสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดจึงทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นตามมาเกิดปัญหาซ้อนเกหรือหากฟันผุมากจนเกิดอาการปวดฟันทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กทางอ้อมได้
    การดูแลสุขภาพช่องปาก ระยะก่อนฟันน้ำนมขึ้น (0-6 เดือน)
    ผู้ปกครองสามารถใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดบริเวณ เหงือก ลิ้น และกระพุ่งแก้ม ไม่ควรปล่อยให้ลิ้นเป็นฝ้าขาวเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียได้
    null
    การจัดท่าในการทำความสะอาดฟันน้ำนมของเด็กอ่อน
    การดูแลสุขภาพช่องปากระยะฟันน้ำนมค่าดังขึ้น
    • ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี
      เลือกแปรงสีฟันขนนุ่มหน้าตัดตรงขนาด ที่เหมาะสมกับเด็กร่วมกับที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppmได้กรณีเสี่ยงผุสูง) แตะขนแปรงพอเปียก หรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร โดยให้ผู้ปกครองแปรงให้และเช็ดฟองออก
    null
    ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี : บีบยาสีฟันแตะขนแปรงพอเปียกหรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร
    • 3-6 ปี
      ผู้ปกครองบีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppm ได้กรณีเสี่ยงผุสูง)
      ขนาดเท่าความกว้างของแปรง หรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
      และช่วยแปรงฟันให้คอยเตือนให้บ้วนฟองยาสีฟันทิ้ง แต่ไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือเท่านั้น
    null
    3-6 ปี : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความกว้างของแปรงหรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
    • 6 ปีขึ้นไป
      บีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,450-1,500 ppm ขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน แปรงด้วย ตนเองอย่างน้อย 2-3 นาที หลังแปรงให้บ้วนฟองออก โดยไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือ (10 ml)
    null
    6 ปีขึ้นไป : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน
    ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
    null
    ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
    ข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันน้ำนม
    null
    Q หากพบฟันแท้ หน้าล่างขึ้นซ้อนหลังฟันน้ำนมดังรูป จำเป็นต้องรีบถอนฟันน้ำนมหรือไม่ ?
    A หากพบว่าฟันแท้ หน้าล่างนั้นขึ้นมาได้เกินครึ่งชีฟันแล้ว แต่ยังไม่พบว่ามีการโยกของฟันน้ำนม อาจจำเป็นต้องได้รับการถอน แต่หากฟันแท้ขึ้นได้เกินครึ่งที่ฟันและพบว่าฟันน้ำนมโยกมาก อาจปล่อยให้ฟันน้ำนมหลุดออกเองได้
    null
    Q หากพบว่าเด็กมีอาการปวดฟันน้ำนม ทานอาหารลำบาก จำเป็นต้องได้รับการถอนฟันหรือไม่ ?
    A ไม่เสมอไป เพราะหากทันตแพทย์ตรวจพบว่าฟันน้ำนมนั้นมีโครงสร้างตัวฟันที่เหลืออยู่มาก ประกอบกับรากฟันยังเหลือความยาวที่เหมาะสม จากภาพถ่ายรังสีฟันไม่โยกหรืออาจเป็นเวลาอีกนานกว่าที่ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะชิ้นได้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กสามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้ดี ทันตแพทย์อาจพิจารณาทำการรักษารากฟันน้ำนมและทำครอบฟันน้ำนมแทนการถอนฟัน เพื่อให้ฟันน้ำนมนั้นยังสามารถใช้บดเคี้ยวได้และเพื่อรอจนกว่าฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะเริ่มดันขึ้น และรากฟันน้ำนมซี่นั้นก็จะละลายและหลุดไปตามเวลา
    null
    Q ฟันน้ำนมห่าง หรือช้อนเก จะมีผลอย่างไร ต่อฟันแท้หรือไม่ ?
    A ช่วงวัย 2-6 ปี กว่าร้อยละ 60 พบได้ว่าฟันหน้าน้ำนมจะเรียงตัวห่างกัน ซึ่งมีประโยชน์ในการเตรียมที่ไว้ให้ฟันแท้ที่ขนาดใหญ่กว่านั้นขึ้นได้โดยไม่เบียดกัน แต่หากพบว่าชุดฟันน้ำนมมีลักษณะร้อนเก หรือชิดกันมาก อาจเกิดได้จากลักษณะฟันที่ไม่สัมพันธ์กับขากรรไกรซึ่งทำให้มีโอกาสที่ฟันแท้ที่ขึ้นมาอาจซ้อนเกได้ กรณีนี้จึงควรได้รับการติดตามการขึ้นของฟันแท้กับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    null
    Q หากลูกเลิกขวดนมช้า หรือทานนมแล้วนอนจะมีผล อย่างไรต่อฟันหรือไม่?
    A สมาคมทันตแพทย์สาหรับเด็กประเทศสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatric Dentistry) แนะนำให้เลิกขวดนมเมื่อเด็กอายุ 1 ปี - 1 ปีครึ่ง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยว/กลืนอาหารในระดับที่เหมาะสมกับวัย การพัฒนาทางกล้ามเนื้อ การพัฒนาทางด้านภาษาและการพัฒนาทางด้านอารมณ์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    เคลือบหลุมร่องฟัน
    300 - 500.-
    (ต่อซี่)
    ขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์
    600 - 800.-
    รักษารากฟันน้ำนมเด็ก
    2,500 - 3,000.-
    ครอบฟันเด็ก (SSC)
    2,000 - 2,500.-
    ถอนฟันน้ำนม(ต่อซี่)
    500 - 700.-
    (ต่อซี่)
    เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
    150.-
    (ต่อฟิล์ม)
    เอกซเรย์พานอรามิก
    800.-
    (ต่อฟิล์ม)
    อุดฟันน้ำนม
    600 - 1,000.-

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

    การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว
    การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นการเฝ้าระวัง ป้องกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็น โรคภัยที่มากับฤดูหนาวแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
    1. โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ
    (เช่น โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ โรคโควิด-19) แพร่กระจายผ่านละอองฝอย เสมหะและน้ำมูก จากการไอ จาม มักมีอาการไข้เฉียบพลัน ไอ หนาว ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตาแดง ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะหายได้เอง แต่กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ที่มีประวัติโรคเรื้อรัง กลุ่มเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรง ในกรณีที่สงสัยเป็น covid-19 ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที และหากผลเป็นบวกให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และเข้ารับการรักษา
    2. โรคติดต่อทางเดินอาหาร
    (เช่น โรคอุจจาระร่วงจากไวรัส) เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำ/น้ำแข็งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค (ตัวอบ่างเช่น ไวรัสก่อโรคทางเดินอาหาร) การรับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก หรือค้างมื้อ ภาชนะที่ใช้ไม่สะอาด โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ส่วนใหญ่อาจหายได้เอง แต่หากมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป อาจทำให้ช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ ป้องกันได้โดยการดูแลสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาดและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด
    3. โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ
    ในช่วงฤดูหนาว (โรคหัด) ติดต่อโดยการไอ จาม หรือพูดคุยระยะใกล้ชิด ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ใน 1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีอาการ มักมีไข้ น้ำมูกไหล จะไอแห้ง มีผื่นขึ้นลักษณะผื่นนูนแดง ติดกันเป็นปื้นๆ ไม่มียารักษาจำเพาะ แต่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคได้ โดยฉีดเข็มแรกอายุ 9-12 เดือน เข็มสองอายุ 1 ปีครึ่ง
    4. ภัยจากอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป
    มีโอกาสเกิดการเสียชีวิตขึ้น ทั้งในและนอกที่พักอาศัย จากการที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องห่มกันหนาวที่เพียงพอ ควรเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มเครื่องดื่มที่ให้ความอุ่น สวมใส่เครื่องนุ่งห่มกันหนาวที่เพียงพอ
    ข้อควรปฏิบัติในการดูแลรักษาสุขภาพในฤดูหนาว
    1. ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สะอาดปรุงสุกใหม่ ๆ ดื่มน้ำที่สะอาดหรือ น้ำต้มสุก น้ำบรรจุขวดที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ (เครื่องหมาย อย.) รวมทั้งเลือกซื้อน้ำแข็งที่สะอาด ไม่มีตะกอน ไม่ควรรับประทานน้ำแข็งที่ใช้แช่อาหารอื่น
    2. รักษาร่างกายให้อบอุ่น ในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง โดยการสวมเสื้อผ้าหลายๆ ชั้น เพื่อให้ร่างกาย อบอุ่น มีความต้านทานโรค
    3. ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    4. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด นาน 15-20 วินาที
    5. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยควรอยู่บ้าน พักรักษา ตัวให้หาย ไม่ควรเข้าไปในที่ชุมชน แต่หากเข้าไปในที่ชุมชนให้สวมหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ จาม
    6. สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ สะอาดอยู่เสมอ
    การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่น รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการป่วย และลดโอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิต

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย

    นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย
    อายุรแพทย์

    นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย

    DUTSADEE CHARUNVARAKORNCHAI, M.D.
    Specialty
    • อายุรกรรม
      Internal Medicine

    Language Spoken
    • อังกฤษ, ไทย

    ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
    • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุเกล้า
    • วุฒิบัตรอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุเกล้า
    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา
    SUN 17:00 - 20:00

    พญ.นุจจรินทร์ กำจรจิระพันธ์

    พญ.นุจจรินทร์ กำจรจิระพันธ์
    อายุรแพทย์

    พญ.นุจจรินทร์ กำจรจิระพันธ์

    NUTCHARIN KAMJOHNJIRAPHUN, M.D.
    Specialty
    • อายุรกรรม

    Language Spoken
    • อังกฤษ, ไทย

    ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
    • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
    • วุฒิบัตรอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา
    SUN 08:00 - 16:00

    พญ.ณิชพร สงวนดีกุล

    พญ.ณิชพร สงวนดีกุล
    สูตินรีแพทย์-มะเร็งวิทยานรีเวช

    พญ.ณิชพร สงวนดีกุล

    NICHAPORN SANGUANDEEKUL, M.D.
    Specialty
    • สูตินรีเวช Obstetric Gynaecology
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    • Gynecologic Oncology

    Language Spoken
    • อังกฤษ, ไทย

    ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
    • แพทยศาสตร์บัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์  โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
    • วุฒิบัตรสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
    • วุฒิบัตรมะเร็งวิทยานรีเวช คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา
    MON 17:00 - 20:00

    การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วย “อัลตร้าซาวด์”

    การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วย “อัลตร้าซาวด์”

    Ultrasound screening pregnancy
    การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วย “อัลตร้าซาวด์”
    การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) ระหว่างการตั้งครรภ์มีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะการตรวจที่อายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ เนื่องจากเด็กตัวใหญ่ พอที่จะเห็นอวัยวะที่สำคัญได้เกือบทั้งหมด หากอายุครรภ์มากกว่า 22 สัปดาห์ กระดูกจะเริ่มหนาขึ้นทำให้ตรวจดูอวัยวะภายในได้ยากขึ้น
    การอัลตร้าซาวด์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์หรือ “แพทย์ MFM” (Maternal Fetal Medicine) ซึ่งมีความชำนาญสูงในการตรวจอัลตร้าซาวด์ทารกในครรภ์ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะเพิ่มโอกาสในการพบความผิดปกติของทารกในครรภ์
    การตรวจอัลตร้าซางด์ที่อายุครรภ์ 18-22 สัปอาห์ สามารถตรวจอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง กระดูกสันหลัง หัวใจ ตับ ไต และคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) ได้อีกด้วย รวมถึงการาตรวจดูรกและสายสะดือและปากมดลูก สิ่งผิดปกติบางอย่างอาจไม่สามารถตรวจได้ด้วยอัลตร้าซาวด์ เช่น ปานแดง ปานดำ การตรวจใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
    Ultrasound Screening Test
    ราคา
    3,500.-

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Baby Delivery Package

    Normal Delivery Pack […]

    PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

    แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

    ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

    ตรวจโรคติดต่อทางเพศส […]