โรคจอประสาทตาเสื่อม

จอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ หรือ โรคเอเอ็มดี เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการตาบอดได้ อาการนั้นเมื่อคนปกติมองไปยังสิ่งต่างๆรอบตัว จะเห็นภาพชัดเจนไม่มีเงาดำมาบดบังส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ แต่ผู้ป่วยโรคเอเอ็มดี เมื่อมองไปยังสิ่งใดๆก็ตามจะพบว่ามีเงาดำบังบริเวณกึ่งกลางของภาพเสมอ ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการ เห็นภาพบิดเบี้ยวก่อน แล้วจึงมีอาการเห็นเงาดำบดบังภาพทีหลัง ส่วนสาเหตุของโรคนี้เกิดจากจุดรับภาพชัด( Macula) ของจอประสาทตาซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็นบริเวณกึ่งกลางภาพเกิดความผิดปกติขึ้น
แบ่งความผิดปกติ เป็น 2 ชนิด คือ
  1. ชนิดแห้ง (Dry AMD) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยจอประสาทตาจะเสื่อมและบางลง มีผลทำให้การมองเห็นแย่ลงอย่างช้าๆ โดยมากไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ซึ่งโรคเอเอ็มดีชนิดนี้สามารถพัฒนาไปเป็นชนิดเปียกได้
  2. ชนิดเปียก (Wet AMD) พบได้น้อยกว่าชนิดแห้งแต่เป็นชนิดที่มีอาการรุนแรงกว่าสามารถทำให้การมองเห็นแย่มากจนอยู่ในขั้นระดับเลือนรางหรือตาบอดได้ ซึ่งเอเอ็มดีชนิดเปียกนี้จะมีเส้นเลือดงอกผิดปกติที่ใต้จอประสาทตา ทำให้เลือดออกหรือเป็นแผลที่จอประสาทตา ส่งผลให้ผู้ป่วยเห็นเป็นเงาดำบริเวณกึ่งกลางของภาพที่มองเห็น
แม้โรคเอเอ็มดีชนิดเปียกจะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็ว แต่ถ้าตรวจพบในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมไม่ให้โรคลุกลามได้ โดยสามารถรักษาระดับการมองเห็น และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีการมองเห็นที่ดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถรักษาผู้ป่วยในด้านการมองเห็นจากโรคเอเอ็มดีขั้นรุนแรงให้กลับมามองเห็นได้ชัดเท่าคนปกติ ซึ่งต่างจากต้อกระจก ที่สามรถผ่าตัดสลายต้อและใส่เลนส์เทียมได้ ซึ่งสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นได้ชัดเป็นปกติอีกครั้ง นอกจากนี้โรคเอเอ็มดียงสามารถเกิดได้กับตาทั้ง 2 ข้าง อาจจะเกิดข้างใดข้างหนึ่งก่อนก็ได้โดยที่ผู้ป่วยยังไม่ทันสังเกตเพราะยังมีตาอีกข้างที่ช่วยทดแทนการมองเห็นอยู่ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เมื่อโรคเกิดในตาข้างที่ 2 แล้ว จึงช้าเกินไปในการรักษาตาข้างแรก
การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น
การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น(AMD) ด้วยตนเอง สามารถตรวจได้โดยใช้ตารางแอมสเลอร์ (Amsler Grid) ที่เห็นตามตารางข้างล่างนี้
  1. ใช้มือปิดตาข้างซ้าย ถือตารางแอมสเลอร์ในระยะอ่านหนังสือ ห่างจากตาประมาณ หนึ่งฟุต (ให้สวมแว่นสายตา แว่นอ่านหนังสือ หรือคอนแทคเลนส์ได้ตาปกติ)
  2. ใช้ตาข้างขวามองที่จุดดำเล็กๆกลางภาพพยายามแพ่งที่จุดนี้ตลอดเวลา
  3. สังเกตุดูว่ามีตารางส่วนใดที่บิดเบี้ยว หรือมีเงาดำบัง หรือไม่ ถ้ามี....แสดงว่าคุณอาจจะเริ่มมีอาการของโรคเอเอ็มดี ควรรีบไปพบจักษุแพทย์โดยเร็ว
  4. ทดสอบตาข้างซ้ายโดยเอามือข้างขวาปิด และปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้นอีกครั้ง

***การทดสอบนี้เป็นการทดสอบความผิดปกติเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทน ควรไปตรวจตาเป็นประจำทุกปีโดยจักษุแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ขึ้นไป

วิธีการรักษา
การรักษาโรคเอเอ็มดีชนิดเปียกที่มีในปัจจุบัน ได้แก่ การฉายแสงเลเซอร์ การรักษาโดยโฟโต้ไดนามิก และการฉีกยา Amti- VEGF เข้าน้ำวุ้นลูกตา เป็นต้น โดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
การป้องกัน
การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น(AMD) ด้วยตนเอง สามารถตรวจได้โดยใช้ตารางแอมสเลอร์ (Amsler Grid) ที่เห็นตามตารางข้างล่างนี้
  1. ควรสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน
  2. ควรรับประทานอาหารจำพวกผักใบเขียว ผลไม้สด อาหารจำพวกปลา โดยหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมัน
  3. ควรงดสูบบุหรี่
  4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก และ ความดันโลหิต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

CT Calcium Score
การตรวจหาหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อประเมินภาวะการอุดตันของหลอดเลือด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือประเมินแนวโน้มโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในอนาคต
ข้อดีของตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต
  • ไม่ต้องมีการเตรียมตัว สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ใช้เวลาในการตรวจน้อย ไม่เจ็บตัว
  • ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนรับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงยาที่จะกระตุ้นหัวใจให้ชีพจรเร็วขึ้น
  • งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดคลุมของโรงพยาบาล
  • ถอดเครื่องประดับรอบคอหรือแผ่นต่างๆ ที่ติดบริเวณหน้าอก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

RSV ภัยร้ายของลูกรัก

ไวรัส RSV ภัยร้ายของลูกรัก

RSV Virus
ไวรัส RSV (RSV Virus) คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งจำนวนมาก เช่น เสมหะ เป็นต้น เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายผ่านการไอหรือจาม ผู้ป่วยมีอาการเบื้องต้นคล้ายเป็นหวัด คือ ปวดศีรษะ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล พบผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV ได้ในทุกวัย แต่พบมากในเด็กและทารก ซึ่งเป็นวัยที่มักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้
พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลบางโพ จะให้คำแนะนำ และการป้องกันโรคนี้ค่ะ

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนและยารักษาโรค RSV โดยตรง การรักษาเป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ การดูดเสมหะ การให้ออกซิเจน การให้สารน้ำทดแทนให้เพียงพอ การรักษขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หายได้ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์ การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำหคัญ หากมีอาการแนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

PACKAGE วัคซีนสำหรับเด็ก 2 เดือน – 1 ปี

วัคซีนรวมสำหรับเด็ก […]

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

Disease
 
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวน 3 ครั้ง หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหาร และน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วง
อาการของโรคอุจจาระร่วง
  • ถ่ายเหลว 3 ครั้ง หรือเป็นน้ำ 1 ครั้งขึ้นไป
  • ถ่ายมีมูกเลือดปน
  • ปวดท้อง
  • อ่อนเพลีย ซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการขั้นรุนแรง ถ้าร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อาจทำให้เสียชีวิตได้
การป้องกันการเกิดโรคอุจจาระร่วง
  1. ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกจะดีที่สุด
  2. ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ
  3. จาน ช้อน ถ้วย ชาม ล้างให้สะอาดก่อนใช้
  4. เลือกรับประทานอาหารที่สุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และงดอาหารสุกๆ ดิบๆ
  5. รับประทานผักสด ควรล้างผักหลายๆ ครั้ง ให้สะอาดก่อนรับประทาน
  6. ระวังไม่ให้แมลงวันตอมอาหาร ควรใช้ฝาชีครอบ หรือนำอาหารใส่ตู้กับข้าวให้มิดชิด
  7. อาหารสำเร็จรูปที่ซื้อไว้ หรืออาหารที่เหลือค้างก่อนนำมารับประทาน ต้องอุ่นก่อนรับประทาน
  8. ถ่ายอุจจาระลงในโถส้วม
  9. กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหาร และมูลสัตว์ต่างๆ รักษาบริเวณบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อตัวเล็กอุจจาระร่วง
  • ถ้ามีอาหารอุจจาระร่วงให้ดื่มเกลือแร่และยาตามแพทย์สั่ง
  • รับประทานอาหารเป็นอาหารอ่อน เช่น น้ำข้าว น้ำแกงจืด โจ๊ก น้ำซุป เด็กที่กินนมแม่ให้กินต่อไปได้ โดยไม่ต้องหยุดนม
  • กรณีนมผสม เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง เช่น เคยผสมนม 4 ออนซ์ต่อน้ำ 4 ออนซ์ ให้ผสมเป็นนม 4 ช้อนต่อน้ำ 4 ออนซ์ และให้กินต่อไปได้ตามปกติ
  • เด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง แต่กินเพียงครึ่งเดียวของปริมาณที่เคยกินและให้สารละลายน้ำเกลือแร่ กินสลับกันไป (ถ้าปกติกินนม 8 ออนซ์ให้กิน อีก 4 ออนซ์ ให้เป็นน้ำเกลือแร่แทนนม)
  • ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย เพราะเชื้อโรคอุจจาระร่วงจะยังค้างอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายได้จึงควรให้กินน้ำเกลือแร่และอาหารเหลวทดแทน
การทำน้ำตาลเกลือแร่ใช้เอง
ส่วนผสม
  1. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
  2. เกลือป่น ½ ช้อนชา
  3. น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 ขวด (น้ำ 1 ขวดเท่ากับปริมาณ 750 ซีซี)
วิธีทำ
  1. นำน้ำตาลทรายและเกลือป่นที่กำหนดใส่แก้วเทน้ำจาดขวดที่เตรียมไว้
  2. ผสมน้ำตาลและเกลือคนให้ละลายทั่วกัน แล้วเทกลับคืนขวด เขย่าให้เข้ากัน
การใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ชนิดสำเร็จรูป
ส่วนผสม
  1. ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง
  2. น้ำดื่มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้ว (150 ซีซี)
วิธีทำ
  1. เทน้ำตาลเกลือแร่ใส่แก้วให้หมดซอง
  2. เทน้ำที่เตรียมไว้ คนให้ละลายทั่วกัน

ควรดื่มบ่อยๆ และดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที

โปรแกรมและแพ็คเกจ

10 สิ่ง ที่คนตั้งครรภ์ ต้องห้ามทำ

10 สิ่ง ที่คนตั้งครรภ์ ต้องห้ามทำ

1. งด เพศสัมพันธ์
ช่วง ท้องอ่อนๆ หรือ 3เดือน แรกและช่วงใกล้คลอดหรือ 3 เดือน ท้ายของการตั้งครรภ์ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแท้งในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดช่วงท้ายของการตั้งครรภ์
2. งดกินยา ที่มีส่วนผสมของ Vitamin A
Formของวิตามิน เอ ที่เราต้องระวังคือ Isotretinoin และ Etretinate เพราะเป็นสารที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ X นั่นคือ ยาทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ได้ ได้แก่ หูหนวก ตาบอด ไม่มีรูเปิดทวาร น้ำคั่งในโพรงสมอง โดยisotretinoin มักอยู่ในสูตรยา ของการรักษาสิว เพราะฉะนั้นหากตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์เมื่อไปรับการรักษาสิว และควรหยุดยาหากวางแผนจะตั้งครรภ์ส่วน Etretinate จะเป็นส่วนผสมของยาที่ใช้รักษาโรค Psoriasis หรือสะเก็ดเงิน หากใช้ยาตัวนี้อยู่ควรหยุดยาอย่างน้อย 2 ปีก่อนตั้งครรภ์
3. งดการสัมผัสกับ คนที่มีโรคเช่น อีสุกอีใส หัดเยอรมัน
โดยเฉพาะ หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยมีภูมิมาก่อน เพราะหากติดเชื้อเหล่านี้จะทำให้เด็กพิการได้ เพราะฉะนั้นหากจะไปไหนในที่ชุมชนควรใส่หน้ากาก และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคนที่เป็นโรคดังกล่าว
4. ห้าม x-ray
หากตั้งครรภ์พบว่า อายุครรภ์ช่วง 10-17 สัปดาห์ เป็นช่วงที่ระบบประสาทและสมองของทารกในครรภ์ไวต่อรังสี x-ray โดยปริมาณที่ได้รับรังสีเมื่อถ่ายภาพ x-ray ไม่ควรเกิด 5 rad ดังนั้นกรณีจำเป็นต้อง x-ray ควรแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่เพราะ จะมีเครื่องมือที่ใช้ บังท้อง เพื่อลดการได้รับรังสี อย่างไรก็ตาม ปริมาณรังสีที่ได้รับ เมื่อถ่ายภาพ x-ray ตามอวัยวะต่างๆของร่างกายแตกต่างกัน และส่วนใหญ่ ปริมาณรังสีที่ได้รับต่อครั้ง น้อยกว่า 5 rad
5. ห้ามดื่มกาแฟ เกินขนาด
กาแฟ หรือ caffeine มีฤทธิ์กระตุ้นความดัน และ การเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ ยังสามารถผ่านรก เข้าสูทารกในครรภ์ได้ การดื่มกาแฟหรือสารที่มีกาแฟเป็นองค์ประกอบเช่น ชา โคล่า จึงมีข้อจำกัด คือไม่ควรดื่มกาแฟในขนาดที่เกิน 200 มิลลิกรัม ต่อวัน หรือ 1 แก้วขนาด 12 ออนซ์
6. ห้ามโดยสารเครื่องบินในช่วงอายุครรภ์ใกล้คลอด
โดยแต่ละสายการบินจะมีข้อกำหนดต่างกัน ขึ้นกับ ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง อายุครรภ์ และโรคประจำตัวของหญิงตั้งครรภ์ยกตัวอย่างเช่น สายการบิน นกแอร์
  • อายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์ : สายการบินอนุญาตให้เดินทางได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์
  • อายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ถึง 36 สัปดาห์ : ผู้โดยสารต้องแสดงใบรับรองแพทย์ที่รับรองว่าสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้
  • อายุครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ : สายการบินปฏิเสธการให้บริการ
ทั้งนี้ เพราะการเดินทางด้วยเครื่องบินช่วงใกล้คลอด หากเกิดการเจ็บครรภ์คลอด จะมีข้อจำกัดในการดูแลรักษา บนเครื่อง และส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์
7. การสัมผัสแมว ต้องระวัง
โดยเฉพาะการทำความสะอาดมูลแมว มูลแมวมีส่วนประกอบของ Toxoplasmosis ซึ่ง เป็นเชื้อปรสิตชนิดหนึ่งที่มีแมวเป็นพาหะนำโรค เชื่อชนิดนี้สามารถผ่านรก และทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อเกิดโรค Congenital Toxoplasmosis โดยจะมีผลต่อระบบ ประสาท การมอง การได้ยิน ตับม้ามโต ตัวเหลือง หัวโต รกใหญ่
8. ห้ามอบซาวนา แช่ออนเซ็น
หนึ่งในปัจจัยเสี่ยง ของการเกิด neural- tube defect หรือภาวะ หลอดประสาทไม่ปิดของทารกในครรภ์ คือการที่หญิงตั้งครรภ์อยู่ในภาวะ hyperthermia คือภาวะที่มีความร้อนสูง เช่นการแช่น้ำร้อน อบซาวน่า ดังนั้นช่วง3 เดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายทารกกำลังสร้างหลอดประสาทนี้ หญิงตั้งครรภ์ควรงดการแช่น้ำร้อน อบซาวน่า
9. ห้าม ดื่มนมวัวทุกวัน
นมวัวมีโปรตีน เช่น อัลฟา เบต้า เคซีน เป็นจำนวนมาก ซึ่งสารเหล่านี้จัดเป็นสารแปลกปลอม (antigen) การที่หญิงตั้งครรภ์ ดื่มนมวัวปริมาณมาก จะทำให้ร่างกายเด็กได้รับ antigen เหล่านี้เยอะ จนร่างกายสร้าง antibody มาต่อต้าน โปรตีนจากนมวัว เมื่อเด็กคลอดมา จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแพ้นมวัว และผลิตภัณฑ์จากนมวัวดังนั้น ปัจจุบันจึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ดื่มนมวัวสลับกันนมถั่วเหลือง เพื่อลดการเกิดปัญหาดังกล่าว
10. ห้ามฉีดวัคซีน ตัวเป็น
วัคซีนตัวเป็น หรือ live vaccine คือ วัคซีนที่ผลิตจากจุลินทรีย์ที่มีชีวิตแต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลงจนไม่ก่อโรคในร่างกายของเรา แต่สามารถกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานได้ เช่น วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส ไข้เหลือง (Yellow Fever) บีซีจี (ป้องกันวัณโรค) โปลิโอชนิดกิน ดังนั้น หากมีแผนการ จะตั้งครรภ์ ควรวางแผนฉีดวัคซีนเหล่านี้ คือ MMR ( หัด หัดเยอรมัน คางทุม) และวัคซีนอีสุกอีใสก่อน เพราะหากเป็นโรคเหล่านี้ จะส่งผลต่อเด็กในครรภ์พิการได้
ส่วนวัคซีนชนิดตัวตาย ( Inactivated Vaccines) สามารถฉีดได้ตามปกติ เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้า บาดทะยัก ไอกรน ไข้หวัดใหญ่
อ้างอิง
www.aafp.org
(http://americanpregnancy.org/pregnancy-health/caffeine-during-pregnancy/)

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Baby Delivery Package

Normal Delivery Pack […]

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]