5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด

กินอาหารอย่างไร ช่วยต้านหวัด

เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงภูมิต้านทานต่ำ อาจนำมาสู่โรคหวัดได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ดี จะช่วยสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันหวัดได้ หากเริ่มมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจไม่ออก อาจมีอาการคันคอร่วมด้วย อาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะบอกเราว่าร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่สภาพอากาศใหม่ ทำให้มีผลข้างเคียงดังกล่าว ซึ่งสามารถป้องกันได้ ด้วยการเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง
ง่ายๆ 5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด
1. รับประทานผัก ผลไม้หลากสี
ผักต่างๆ เช่น มันเทศ แครอท ผักโขม และบีทรูทนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่งจำเป็นต่อร่างกายของเรา วิตามินเอช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดความเจ็บป่วย ป้องกันการติดเชื้อได้
2. เพิ่มกระเทียมหรือหัวหอมในมื้ออาหาร
ผักตระกูลนี้ มีสารอะลิซิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญกับร่างกาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ยังช่วยสุขภาพทางเดินอาหารที่ดีในมีพรีไบโอติก โดยเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ
3. ทานวิตามินซีให้เพียงพอ
วิตามินซีที่เข้มข้นเป็นพิเศษได้การยอมรับว่าเป็นยาป้องกันไข้หวัดทั่วไปมาเป็นเวลานาน การรับประทานผักและผลไม้ปริมาณมากทุกวันควรให้วิตามินซีเพียงพอแก่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม บรอกโคลี ถั่วลันเตา กีวี มะระกอ ฝรั่ง และผลไม้รสเปรี้ยว
4. การทานข้าวโอ้ตและธัญพืชต่าง ๆ
ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์อุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ที่เรียกว่าเบต้ากลูแคน ซึ่งนอกจากจะทำให้เราอิ่มแล้ว ยังมีผลช่วยปรับภูมิคุ้มกัน - เพิ่มจำนวนและการทำงานของเซลล์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
5. การรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีแร่ธาตุสังกะสี (Zinc, Zn)
อาหารที่มีกลุ่มโปรตีนสูงๆ เช่น หอยนางรม เนื้อไก่ ไข่แดง เนื้อหมู อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอย โดยเฉพาะหอยนางรม จะพบสังกะสีมากที่สุด แร่ธาตุสังกะสีช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และช่วยลดการอักเสบ ลดระยะการเจ็บป่วยได้

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Sexually Transmitted Diseases (STDS)

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ตรวจ 7 รายการ : 1,990.-
ตรวจ 14 รายการ : 3,333.-


กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคหรือคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก เดิมมีชื่อว่า “กามโรค” (venereal diseases) ในปัจจุบันมีการค้นพบโรคในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” (sexually transmitted infections, STIs) โรคที่สำคัญคือ ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม และเอชพีวี ดังนั้นควรตรวจคัดกรองโรคปีละครั้ง สำหรับกลุ่มที่เสี่ยง

โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Sexually Transmitted Diseases (STDS)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือกลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคหรือคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก เดิมมีชื่อว่า “กามโรค” (venereal diseases) ในปัจจุบันมีการค้นพบโรคในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” (sexually transmitted infections, STIs) โรคที่สำคัญคือ ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม และเอชพีวี

ใครเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

คนที่มีกิจกรรมทางเพศบ่อย มีคู่นอนหลายคน อายุน้อย ไม่ใส่ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ เคยมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในอดีต ดื่มสุรา และใช้สารเสพติด

สามารถติดโรคจากคนที่ไม่มีอาการ ภายนอกดูแข็งแรงปกติ ได้หรือไม่
ในบางระยะของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการผิดปกติ ทำให้ไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่นอนได้ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยแม้เพียงครั้งเดียว ก็สามารถทำให้ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงเชื้อเอชไอวีได้

จะปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อสงสัยว่าอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเพิ่งมีความเสี่ยงในการติดโรค ควรรีบปรึกษาแพทย์ และงดการมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราวเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นจนกว่าจะทราบผลการตรวจ ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคควรงดการมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหาย และแนะนำให้คู่นอนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เข้ารับการตรวจรักษาด้วย 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษาให้หายขาด
โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินหรือฉีดยาปฏิชีวนะให้ครบตามแพทย์สั่ง และให้ความสำคัญกับการพาคู่นอนมารับการตรวจรักษา ส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดจะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต เช่น เริม การรักษาจะช่วยควบคุมอาการโรคได้ แต่การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอชพีวี ร่างกายอาจกำจัดเชื้อได้เอง หากกำจัดไม่ได้เชื้ออาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต 
ข้อมูลอ้างอิง สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Sexually Transmitted Diseases (STDS)
ด้วยเทคนิค REAL-TIME PCR ทราบผลภายใน 5 วัน
รายการตรวจ
STD 1
7 รายการ
STD 2
14 รายการ
Neisseria gonorrhoeae
โรคหนองในแท้
Chlamydia trachomatis
โรคหนองในเทียม
Mycoplasma hominis
โรคหนองในเทียม
Mycoplasma genitalium
โรคหนองในเทียม
Ureaplasma urealyticum
โรคหนองในเทียม
Ureaplasma parvum
โรคหนองในเทียม
Herpes simplex virus types 1 (HSV-1)
โรคเริม
Herpes simplex virus types 2 (HSV-2)
โรคเริม
Treponema pallidum
โรคซิฟิลิส
Haemophilus ducreyi
โรคแผลริมอ่อน
Trichomonas vaginalis
พยาธิ
Candida albicans
โรคเชื้อรา
Gardnerella vaginalis
ติดเชื้อแบคทีเรีย
Group B Streptococcus
ติดเชื้อแบคทีเรีย
ราคาแพ็คเกจ
1,990.-
3,333.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
ไม่รวมค่ายา
(ในกรณีที่บพความผิดปกติอื่น อาจพิจารณาให้รับยาเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์)
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
  • มีอาการผิดปกติที่อาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น คัน เป็นผื่น ตุ่ม เป็นฝี มีหนองไหล หรือเจ็บป่วยที่อวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด มีตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เช่น ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยรั่ว แตก หลุด หรือฉีดขาดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีคู่นอนหลายคน มีคู่นอนที่เสี่ยงต่อการติดโรค
  • ผู้ที่วางแผนแต่งงาน วางแผนการมีบุตร หรือ ต้องการตรวจ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนรักและทารกในครรภ์
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
  • สามารถทานอาหารมาก่อนเข้าตรวจได้ตามปกติ
  • งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการตรวจช่วงที่มีประจำเดือน ควรรอตรวจหลังจากที่ประจำเดือนหมดไปแล้วอย่างน้อย 7 วัน
  • ห้ามตรวจภายในมาก่อนในช่วง 24 ชั่วโมง เพราะอาจมีสารหรือยาไปปนเปื้อนอยู่
  • ห้ามใช้ผ้าอนามัยชนิดสอด ครีมหรือยา ที่ใช้ทางช่องคลอดอื่น ๆ อย่างน้อย 48 ชั่วโมง
  • ห้ามล้างหรือทำความสะอาดในช่องคลอดภายใน 48 ชั่วโมงก่อนมาตรวจ เพราะอาจไม่มีเซลล์เหลือให้ตรวจ
  • ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนมารับการตรวจ 48 ชั่วโมง
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

“วันผู้บริจาคโลหิตโลก”(World Blood Donor Day)

“วันผู้บริจาคโลหิตโลก”(World Blood Donor Day)

World Blood Donor Day

“วันผู้บริจาคโลหิตโลก” (World Blood Donor Day) จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2547 ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน ซึ่งวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) แพทย์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน ผู้ค้นพบการจำแนกหมู่โลหิต A, B และ O ถือว่าเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญยิ่งต่องานบริการโลหิตทั่วโลก จนได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยา หรือแพทยศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1930 อีกทั้งยังพบว่าการถ่ายเลือดให้กับผู้ที่มีหมู่เลือดเดียวกันไม่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดถูกทำลาย การค้นพบเหล่านี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการต่อยอดในวงการแพทย์มาจนถึงทุกวันนี้ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้อีกเป็นจำนวนมาก
องค์การอนามัยโลก (WHO), สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ(IFRC), สหพันธ์ผู้บริจาคโลหิตระหว่างประเทศ (FIODS) และสมาคมบริการโลหิตระหว่างประเทศ (ISBT) จึงได้ขอความร่วมมือให้สภากาชาดทั่วโลก จัดกิจกรรมเพื่อให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการบริจาคโลหิต รวมถึงเพื่อแสดงความขอบคุณต่อผู้บริจาคโลหิต และส่งเสริมงานบริการโลหิตให้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก

เพราะ “เลือด” ทุกหมู่มีความสำคัญ จะหมู่เลือดไหน ก็สำคัญต่อชีวิตของผู้ป่วย
ร่วมแบ่งปัน “เลือด?” ที่เป็นเสมือน “ยาวิเศษ” ให้กับผู้ป่วย

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมลูกน้อยในครรภ์

การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมลูกน้อยในครรภ์

Noninvasive Prenatal Testing (NIPT)

การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมลูกน้อยในครรภ์ Noninvasive Prenatal Testing (NIPT)


“คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหน อยากเห็นลูกที่เกิดมามีความผิดปกติ ทางด้านสมอง พัฒนาการและร่างกาย เช่น เป็นดาวน์ซินโดรม”

รู้ก่อน รับมือได้ทัน ตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมลูกน้อยในครรภ์

“คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหน อยากเห็นลูกที่เกิดมามีความผิดปกติ ทางด้านสมอง พัฒนาการและร่างกาย เช่น เป็นดาวน์ซินโดรม” การตรวจ NIPT เป็นทางเลือกในการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมของทารกในครรภ์ด้วยเทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับเบสของดีเอ็นเอ (NGS) ตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม เช่น Trisomy 21, 18, 13 และโครโมโซมเพศ ดังนั้นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกท่านควรตรวจคัดกรองในระยะแรกๆ เพื่อหาแนวทางการวางแผนดูแลครรภ์ในอนาคต เพราะปัจจุบันพบว่า ในเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม 100 คน เกิดความผิดปกติจากแม่อายุมากกว่า 35 เพียง 25-30 คน อีก 70-75 คน เกิดจากแม่ที่มีอายุน้อย เด็กดาวน์เกือบทั้งหมดเกิดในครอบครัวที่ไม่เคยมีประวัติดาวน์ซินโดรมมาก่อน การตรวจนี้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย
ข้อดีเมื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมลูกน้อยในครรภ์
  • ประสิทธิภาพการตรวจพบดาวน์ซินโดรม >99%
  • ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 10 สัปดาห์ขึ้นไป
  • เพียงเจาะเลือด 8-10 cc. และนำมาตรวจวิเคราะห์ DNA ของทารกที่อยู่ในเลือดแม่
  • ทราบผลภายใน 7-10 วันทำการ
  • ไม่เสี่ยงกับการแท้งเหมือนเจาะน้ำคร่ำ

รายการ

FOCUS

CORE

PRO

TWIN

Trisomy 21, 18, 13
Sex Chromosome Aneuploidies
Trisomy 9, 16, 22
Other Chromosome Aneuploidies
84 Kinds of Delettion / Duplication
Gender Identitcation Y Detection

ราคาแพคเกจ

12,350.-

12,350.-

18,850.-

18,850.-

วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Baby Delivery Package

Normal Delivery Pack […]

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

ตรวจโรคติดต่อทางเพศส […]

นพ.กรวิชญ์ กิติศรีรุ่งเรือง

นพ.กรวิชญ์ กิติศรีรุ่งเรือง
แพทย์ หู คอ จมูก

นพ.กรวิชญ์ กิติศรีรุ่งเรือง

KORAWIT KITISRIRUNGRUEANG, M.D.
Specialty
  • โสต ศอ นาสิก อนุสาขาผู้ป่วยเด็ก
    Pediatric otolaryngologist

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วุฒิบัตร โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตร อนุสาขาผู้ป่วยเด็ก 

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SAT 13:00 - 18:00
(เสาร์ที่ 1, 3, 5)

ทพญ.ธันวดี อิ่มสมบัติ

ทพญ. ธันวดี อิ่มสมบัติ
ทันตกรรมปริทันตวิทยา

ทพญ. ธันวดี อิ่มสมบัติ

THANWADEE IMSOMBAT,DDS
Specialty
  • ทันตกรรมปริทันตวิทยา

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประกาศนียบัตร ขั้นสูง ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์คลินิก สาขาปริทันตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วุฒิบัตร ปริทันตวิทยา ทันตแพทยสภา

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
TUE 9:00 - 17:00

ทพญ.อรจิรา ลิ้มสุขศิริ

ทพญ.อรจิรา ลิ้มสุขศิริ
ทันตกรรมทั่วไป

ทพญ.อรจิรา ลิ้มสุขศิริ

ORNIJIRA LIMSUKSIRI, DDS.
Specialty
  • ทันตกรรม

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 10.00 – 18.00

ทพญ.จินต์จุฑาภัค ทองดี

ทพญ.จินต์จุฑาภัค ทองดี
ทันตกรรมบูรณะเพื่อความสวยงามและรากเทียม

ทพญ.จินต์จุฑาภัค ทองดี

JINJUDHAPAK THONGDEE, DDS,MSc
Specialty
  • ทันตกรรมบูรณะเพื่อความสวยงามและรากเทียม

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต  (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    (โล่รางวัลเรียนดี คะแนนรวมสูงสุดตลอดหลักสูตรยอดเยี่ยมวิชาทันตกรรมประดิษฐ์) ตลอด 6 ปีการศึกษา
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมบูรณะเพื่อความสวยงามและทันตกรรมรากเทียม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะทันตแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Advanced Implantology, School of Dentistry UCLA, USA 
  • Other UCLA Continuing Education courses at UCLA, USA

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
WED พุธที่ 1, 3, 5 (9:00 - 15:00)
พุธที่ 2, 4 (9:00 - 12:00)
THU 09:00 - 12:00 พฤหัสที่ 1, 3

ทพญ.เอมิกา พฤทธ์ลาภากร

ทพญ.เอมิกา พฤทธ์ลาภากร
ทันตกรรมประดิษฐ์

ทพญ.เอมิกา พฤทธ์ลาภากร

EMIKA PRUITTAPAKORN, DDS.
Specialty
  • ทันตกรรมประดิษฐ์

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประกาศนียบัตร บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์คลินิก สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประกาศนียบัตร ขั้นสูง ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์คลินิก สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • CONTINUING EDUCATION ONE YEAR COURSE IN IMPLANT DENTISTRY CHULALONKORN UNIVERSITY                   

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
FRI 10:00 - 18:00
SAT 10:00 - 18:00 เสาร์ที่ 2

ดาวน์ซินโดรม (down syndrome) …รู้ก่อนได้ เพื่อเตรียมพร้อมการดูแล

ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) ...รู้ก่อนได้ เพื่อเตรียมพร้อมการดูแล

Down Syndrome
กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม ( Down syndrome) กลุ่มอาการดาวน์เป็นภาวะโครโมโซมผิดปกติ และเป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งอันหรือบางส่วน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ (หน้าตาของเด็กดาวน์ จะมีดวงตาทั้ง 2 ข้างเฉียงขึ้น หัวคิ้วด้านใกล้จมูกหนาตัวขึ้น ม่านตามีจุดสีขาว สันจมูกแบน ปากเปิดออก ลิ้นมักจะจุกอยู่ที่ปาก หูมีขนาดเล็ก รอยพับของหูมีมากกว่าปกติ รูปร่างจะมีระยะห่างระหว่างหัวนมใกล้กว่าเด็กทั่วไป มือสั้นและกว้าง ลักษณะนิ้วและลายมือ ไม่เหมือนเด็กปกติ ศีรษะเล็ก กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน เมื่อเติบโตขึ้นก็จะตัวเตี้ยและส่วนใหญ่จะอ้วน) และมีความพิการทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ประมาณ 50 เทียบเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ปี อย่างไรก็ดีระดับสติปัญญาของผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันได้มาก

ใครที่เสี่ยงตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรม
  • แม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมสูงถึง 1 ใน 250 และยิ่งอายุของแม่มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นอีก ในขณะที่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุต่ำกว่า 30 ปี จะมีความเสี่ยงไม่มากนัก
  • แม่ที่เคยคลอดบุตรคนก่อนเป็นดาวน์ซินโดรม หากตั้งท้องครั้งต่อไป ก็มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น พี่น้อง หรือญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด
  • ผลตรวจอัลตราซาวน์พบลักษณะที่บ่งชี้ว่าเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น ทารกมีขาสั้น ลิ้นโตกว่าปกติ
คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการรักษา
  • โดยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) 
  • ตรวจคัดกรองทารกกลุ่มดาวน์จากการตรวจเลือดมารดา  แบ่งเป็น  2 แบบ
    • การตรวจสารเคมี
    • การตรวจ NIPT
การตรวจ ดาวน์ซินโดรของทารกในครรภ์ โดยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis)
เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด แต่ก็มีความเสี่ยง เกิดภาวะแทรกซ้อน 1 รายจากการตรวจ 200 ราย 
  1. การเจาะน้ำคร่ำ เป็นวิธีการเจาะเข้าไปในถุงน้ำที่ห่อหุ้มตัวทารกและดูดน้ำคร่ำนำมาตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอื่นๆ
  2. วิธีการตรวจทำโดยใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านหน้าท้องของสตรีตั้งครรภ์และดูดน้ำคร่ำ (รายละเอียดตามเอกสาร ความรู้เรื่องการเจาะน้ำคร่ำ)
  3. ประโยชน์ของการตรวจเพื่อตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์หรือโรคทางพันธุกรรมบางโรค (เฉพาะในกรณีที่เป็นข้อบ่งชี้ของการตรวจ)
  4. ข้อจำกัดของการตรวจ
                    - บางครั้งไม่สามารถดูดน้ำคร่ำมาตรวจได้หรือการเพาะเลี้ยงเซลล์ในน้ำคร่ำอาจไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ไม่สามารถทราบผลการตรวจ
                    - แม้ว่าผลการตรวจจะเป็น “ปกติ” แต่ทารกอาจมีความพิการแต่กำเนิด หรือมีพัฒนาการช้า จากสาเหตุอื่น
  5. ภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไปการเจาะน้ำคร่ำเป็นวิธีการตรวจที่มีความเสี่ยงน้อย ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ ปวดเกร็งท้องเล็กน้อยหลังการเจาะ แต่บางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ การแท้งหรือเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดได้ 1 ราย จากการตรวจ 200 ราย การตรวจอาจทำให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานในผู้ที่มีกลุ่มเลือด Rh negative ซึ่งป้องกันได้ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้รับยาบางชนิด การตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น ครรภ์แฝด อาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
ตรวจคัดกรองทารกกลุ่มดาวน์จากการตรวจเลือดมารดา
  • โดยวิธีตรวจจากสารเคมี คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกันมานานว่า เด็กดาวน์ (ปัญญาอ่อน) เกิดจากมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปีเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เด็กดาวน์จำนวนมากเกิดจากมารดาที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี หากสำรวจเด็กดาวน์จำนวน 100 คน จะพบว่า เกิดจากมารดาอายุมากเพียงร้อยละ 25-30 เท่านั้น ที่เหลืออีกร้อยละ 70-75 เกิดจากมารดาที่อายุน้อย แม้ว่ามารดาอายุมากจะมีความเสี่ยงในการเกิดเด็กดาวน์มากกว่า แต่เนื่องจากมารดาอายุมากมีจำนวนน้อย ดังนั้นการตรวจน้ำคร่ำในมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เท่านั้นจะสามารถป้องกันการเกิดเด็กดาวน์ได้เพียงร้อยละ 25-30 เท่านั้น เราสามารถตรวจคัดกรองทารกกลุ่มดาวน์โดยการตรวจเลือดมารดาในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง เพื่อให้ทราบว่า มารดามีความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดเด็กดาวน์ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูง แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจน้ำคร่ำต่อไป หากพบว่ามีความเสี่ยงต่ำ ก็อาจไม่คุ้มที่จะทำการตรวจน้ำคร่ำ
  • โดยวิธีการตรวจ NIPT
    ความผิดปกติของการมีโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง (Trisomy) ในโครโมโซมชุดที่ 21, 18 และ 13 เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย ซึ่งการตรวจ NIPT จะประเมินโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะมีโครโมโซมผิดปกติ โดยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณของ DNA ซึ่งอยู่ในพลาสมาของมารดาโดยใช้เทคโนโลยี high-throughput DNA sequencing ร่วมกับการใช้ชีวสารสนเทศขั้นสูงในการวิเคราะห์ข้อมูล และการตรวจ NIPT ไม่มีความเสี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากทำโดยการเจาะเลือดมารดาเท่านั้น โดยมีอัตราการตรวจพบ และความแม่นยำของผลการตรวจมากกว่าร้อยละ 99
ข้อมูลทั่วไปของการตรวจ NIPT
  • วัตถุประสงค์หลักในการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมชนิด Trisomy ของโครโมโซมชุดที่ 21,18 และ13 ทั้งในครรภ์เดี่ยวและครรภ์แฝด
    สาหรับครรภ์เดี่ยวการตรวจนี้อาจตรวจพบความผิดปกติของโครโมโซมชนิดอื่นๆ ได้ด้วย เช่น Turner Syndrome (XO), ความผิดปกติอื่นๆ ของโครโมโซมเพศ, sub-chromosomal deletion และ duplication ซึ่งจะระบุไว้ในส่วน Additional Finding ข้อมูลจากผลการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน แสดงว่าการตรวจ NIPT มีความแม่นยำสูงมาก สามารถตรวจพบความผิดปกติชนิด Trisomy ของโครโมโซมชุดที่ 21, 18 และ 13 ได้มากกว่าร้อยละ 99 และผลบวกลวงน้อยกว่าร้อยละ 1 แต่การตรวจนี้ถือเป็นเพียงการตรวจกรองเท่านั้น มิได้เป็นการตรวจเพื่อการวินิจฉัย กรณีที่ผลการตรวจกรองผิดปกติ ต้องตรวจยืนยันโดยการตรวจโครโมโซมทารกเสมอ และในกรณีที่ผลการตรวจกรองเป็นปกติ ก็ไม่สามารถบอกว่าทารกมีโครโมโซมปกติได้ทั้งหมด

  • การตรวจนี้ หากตรวจขณะอายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ อาจมีปริมาณ DNA ของทารกน้อยเกินไป ทำให้เกิดผลลบลวงได้ และการตรวจนี้ไม่สามารถแปลผลได้อย่างถูกต้องในกรณีดังต่อไปนี้ มารดามีโครโมโซมผิดปกติชนิดต่างๆ เช่น aneuploidy, mosaicism, chromosome microdeletion, microduplication และ multiple pregnancies เป็นต้น หากมารดาได้รับเลือด หรือ การปลูกถ่ายอวัยวะ หรือ การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด อาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้จาก exogenous DNA

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Baby Delivery Package

Normal Delivery Pack […]

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

ตรวจโรคติดต่อทางเพศส […]

โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

รักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

โรคภูมิแพ้ หรือโรคจมูกอักเสบเรื้อรัง ถือว่าเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งเลยทีเดียวสำหรับคนเมือง สาเหตุของโรค เกิดจากเยื่อบุจมูกมีความไวผิดปกติเมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น เช่น ฝุ่น ควัน ของฉุน มลภาวะทางอากาศ และการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคที่สามารถสังเกตได้ เช่น คันจมูก จามติดต่อกันหลายครั้ง มีน้ำมูกใสไหลตลอดเวลา เสมหะไหลลงคอ จมูกไม่ได้กลิ่นหรือได้กลิ่นลดลง เจ็บคอ ระคายคอ ไอ เสียงแหบ หรืออาจมีอาการอื่นๆ เช่น คันตา คันคอ คันหู หรือคันที่เพดานปาก ปวดศีรษะ ปวดหู หูอื้อ เป็นต้น โดยทั่วไปผู้ป่วยมักบรรเทาอาการด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ร่วมกับการใช้ยารับประทาน การใช้ยาพ่นจมูก และการใช้น้ำเกลือล้างจมูก ในผู้ป่วยบางราย ถึงแม้ว่าจะหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ข้างต้นแล้ว อาการของโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบก็ยังไม่ดีขึ้น บางคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นได้ หรือไม่ต้องการใช้ยาในการรักษา กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้วนั้นปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ในการผ่าตัด เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีหลังการรักษา

การรักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency volumetric tissue reduction: RFVTR)
การใช้คลื่นความถี่วิทยุ เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคภูมิแพ้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา เป็นการผ่าตัดนำเข็มพิเศษเข้าไปในเนื้อเยื่อจมูก เพื่อส่งคลื่นความถี่วิทยุ(Radiofrequency) ไปยังเยื่อบุจมูกที่บวมโตจนอุดกั้นโพรงจมูก คลื่นความถี่สูงนี้จะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ทำให้เกิดการสูญเสียสภาพและเกิดการหดรัดของเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ต้องการรักษาหดตัวลง ทำให้โพรงจมูกโล่งขึ้น หายใจสะดวกขึ้น นอกจากนี้ คลื่นความถี่วิทยุยังได้ลดจำนวนต่อมสร้างน้ำมูก จึงช่วยรักษาอาการคัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล และเสมหะลงคออีกด้วย

วิธีรักษาแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ทำการรักษาโดยใส่เครื่องมือผ่านทางช่องจมูก ทำให้ไม่มีบาดแผลที่มองเห็นได้จากภายนอก ควรทำในผู้ป่วยที่ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี ไม่เป็นหวัดหรือมีอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจเฉียบพลันในขณะทำการรักษา การรักษาโรคภูมิแพ้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ เป็นวิธีการผ่าตัดที่ง่ายในการทำ มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน ใช้เวลาในการทำการรักษาประมาณ 20 นาที ผลข้างเคียงน้อย และให้ผลการรักษาที่ดีโดยที่ผลของการรักษาในการลดอาการคัน, จาม, น้ำมูกไหล และเสมหะในคอจะเห็นผลชัดเจนใน 4-6 สัปดาห์ และผลนั้นคงอยู่นานถึง 1-2 ปี/div>

คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการรักษา
ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บแผลที่เยื่อบุจมูกเล็กน้อย มีน้ำมูกหรือน้ำลายปนเลือดออกมาได้บ้างเล็กน้อย  อาจมีอาการบวม รู้สึกตึงบริเวณจมูกคล้ายกับมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในโพรงจมูก เสียงเปลี่ยน หรือมีไข้ แต่อาการต่างๆ เหล่านี้จะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์

หลังทำการรักษา เยื่อบุจมูกอาจบวมมากขึ้น ทำให้คัดจมูก หายใจลำบาก ผู้ป่วยอาจต้องหายใจทางปาก จึงควรนอนศีรษะสูง อมและประคบน้ำแข็งที่หน้าผากหรือคอบ่อยๆ ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก เพื่อลดอาการต่างๆ ดังกล่าวและลดอาการเลือดออกบริเวณแผลผ่าตัด และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรงๆ หลีกเลี่ยงการแคะ แกะ เกา หรือกระทบกระเทือนบริเวณจมูก งดออกกำลังกายหักโหม ยกของหนัก หรือการออกแรงมาก เพราะอาจทำให้เลือดออกจากแผลผ่าตัดได้ หากมีเลือดออกให้นอนศีรษะสูง อมและประคบน้ำแข็งจนกระทั่งเลือดหยุด หากเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

การทำความสะอาดจมูกและแผลหลังทำ RF 48 ชั่วโมงแรก ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดสะเก็ดแผลซึ่งจะทำให้แผลหายช้า ขณะล้างทำความสะอาดอาจมีวัสดุห้ามเลือดหลุดออกมาจากโพรงจมูก ไม่ต้องตกใจ ผู้ป่วยสามารถล้างต่อได้ ยกเว้นถ้าเลือดออกมาก ควรหยุดล้าง และอมหรือประคบน้ำแข็งเพื่อให้เลือดหยุดไหล หากเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ ถ้าล้างแล้ววัสดุห้ามเลือดไม่ออกมา แพทย์จะเอาออกให้ในวันนัดดูแผล

หลังทำ RF ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แผลในจมูกจะหายเป็นปกติ เยื่อบุจมูกจะมีขนาดลดลง อาการต่างๆ ของโรคภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก คัน จาม น้ำมูกไหล และเสมหะลงคอ จะค่อยๆ ดีขึ้น โดยผู้ป่วยจะสังเกตได้ชัดเจนหลังทำ RF ประมาณ 4-6 สัปดาห์ สามารถทำซ้ำอีกได้หากผลการรักษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะความรักและกำลังใจ จากบุคคลที่รัก ทำให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า

เพราะความรัก และกำลังใจจากบุคคลที่รัก ทำให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า

มนุษย์ทุกคน ล้วนต้องการความรัก ความเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานการดำเนินชีวิตและทำภารกิจในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรักจากบุคคลที่รัก การโอบกอด ด้วยท่าทีอบอุ่น ห่วงใย ให้ความรักและกำลังใจ รวมถึงเข้าใจ เปิดใจพร้อมรับฟังความรู้สึกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยลดปัญหาอาการของโรคบางชนิด เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) และปัจจุบันในสังคมยุคเทคโนโลยีก้าวไกล สังคมโลกโซเชียลไร้พรมแดน ตัวเราก็อาจเป็นทั้งคนทำลาย หรือเป็นเหยื่อกับการกระทำของบุคคลที่ไม่รู้จัก ก็อาจส่งผลกระทบในการเกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนลงมือแชร์ กดไลค์ หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ที่จะทำให้บุคคลอื่นรู้สึกด้อยค่า ย่ำแย่ อับอาย เสื่อมเสีย ควรคิดก่อนเพราะเมื่อทำไปแล้ว แม้จะถูกลบแต่ก็ยังฝังในจิตใจของผู้ถูกกระทำเสมอ

โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตของตนเองและบุคคลรอบข้าง เพื่อป้องกันความเสี่ยงก่อนเกิดภาวะซึมเศร้า เรามีวิธีสังเกตอาการของตัวเองและคนใกล้ชิด ง่ายๆ ดังนี้
  • มีปัญหาด้านการนอน เช่น หลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ หรือนอนมากผิดปกติ
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ภายใน 1 เดือน
  • อาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง
  • ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว
  • การทำงานแย่ลง ไม่มีสมาธิในการทำงาน ขาดงานบ่อย
  • ลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ จิตใจเหม่อลอยบ่อย
  • รู้สึกเบื่อ เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สะเทือนใจง่าย
  • คิดมาก หรือไม่สู้ปัญหา
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า
  • ร้องไห้บ่อย อ่อนไหว ไม่แจ่มใส
  • หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป
  • หากผื่นลมพิษมีปัจจัยกระตุ้น ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นนั้นๆ
การรักษาทำได้หลายวิธี เช่น
  1. การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า เนื่องจากโรคซึมเศร้ามีสาเหตุเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองเสียสมดุล การให้ยาต้านเศร้า เพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยควรทานยาจนดีขึ้นและทานต่ออีกอย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
  2. การรักษาทางจิตใจ นับเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีในการลดอาการซึมเศร้าวิธีหนึ่ง การรักษาด้วยจิตบำบัดมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม การรักษาจิตบำบัดเชิงลึก เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจปมขัดแย้งที่อยู่ในจิตใจของตนเองจนหันมาสู่โรคซึมเศร้า
  3. การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมอง TMS ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีภาวะเสียสมดุลของสารเคมีในสมอง การรักษาด้วย dTMS (deep Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นสมองในจุดที่มีผลต่อโรค เพื่อปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติและช่วยลดอาการซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยา หรือรับประทานยาเกินหนึ่งปีแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก อาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือเป็นอย่างเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น มีเหตุการณ์มากระทบรุนแรงมากน้อยเพียงใด หากพบว่าตนเองมีอาการข้างต้นมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาต่อไป การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม อาการของโรคก็จะทุเลาลงและกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ
ดังนั้นความรักและกำลังใจจากบุคคลที่รักหรือคนรอบข้าง จึงเป็นการป้องกัน “โรคซึมเศร้า” ที่ดีที่สุด และสำหรับเด็กๆ ในสังคมปัจจุบัน เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญกับเด็กมาก พ่อแม่ต้องเลี้ยงลูก 3 ด้าน คือ 1. ทางร่างกาย คือรักษาสุขภาพให้แข็งแรง 2. ทางจิตใจ คือรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง รู้จักรักตัวเอง 3. ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความคิด รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี คุณพ่อคุณแม่ทำได้โดยสื่อสารด้วยหัวใจ 3 ขั้นตอน คือ เปิดใจ เข้าใจ รับฟัง แล้วบุคคลที่รัก จะห่างไกลจากโรคซึมเศร้า
อ้างอิง
กรมสุขภาพจิต
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลบางโพ

โปรแกรมและแพ็คเกจ