คลายข้อสงสัย “วัคซีนมะเร็งปากมดลูก”

คลายข้อสงสัย "วัคซีนมะเร็งปากมดลูก"

ถาม HPV คืออะไร และติดต่อได้อย่างไร
ตอบ HPV (Human papillomavirus) เป็นไวรัสตระกูลหนึ่งซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โดยมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งที่อวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก และมะเร็งบริเวณหลอดอาหาร นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ได้ ผู้หญิงและผู้ชายจะติดเชื้อ HPV ชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะเคยได้รับเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
ถาม การป้องกันตนเองจากมะเร็งปากมดลูก
ตอบ ผู้หญิงควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 21 ปี ซึ่งการตรวจจะทำให้สามารถพบปัญหาที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV ก่อนที่จะเกิดรอยโรคระยะก่อนมะเร็งได้
การติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 90% หนทางเดียวที่จะสามารถป้องกันจากการติดเชื้อ HPV ได้อย่างแน่นอนคือ การงดมีเพศสัมพันธ์ตลอดชีวิต
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (หรือที่เรียกว่า Human Papillomavirus หรือ HPV วัคซีน) เป็นวัคซีนป้องกันไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
ถาม วัคซีนมะเร็งปากมดลูกคืออะไร
ตอบ วัคซีนมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก ผลิตจากโปรตีนที่เปลือกหุ้มเชื้อไวรัส ปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด คือ

  • ชนิด 2 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 16 และ 18) มีชื่อการค้าว่า Cervarix ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70%
  • ชนิด 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16 และ 18) มีชื่อการค้าว่า Gardasil ป้องกันมะเร็งปากมดลูก และหูดที่อวัยวะเพศ
  • ชนิด 9 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58) มีชื่อการค้าว่า Gardasil 9 โดยสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกและหูดได้ประมาณ 90% รวมทั้งป้องกันมะเร็งทวารหนักได้ประมาณ 80%
ถาม วัคซีน HPV ต้องฉีดกี่เข็ม ป้องกันได้นานเท่าใด
ตอบ วัคซีนจะฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อสะโพก โดยต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็มกรณี อายุ

  • สำหรับเด็กอายุ 9 -<15 ปี ฉีด 2 เข็มคือ ที่ 0 เดือนและ 6 เดือน
  • สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15-26 ปี ฉีด 3 เข็มคือ ที่ 0 เดือน 2 เดือนและ 6 เดือน
  • ทั้งนี้วัคซีนจะมีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อหลังฉีดครบ 3 เข็มไปแล้ว 1 เดือน อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า วัคซีนจะช่วยป้องกันโรคได้นานแค่ไหน แต่จากการศึกษาพบว่าระดับภูมิคุ้มกันยังคงสูงต่อเนื่องหลายปีจึงยังไม่ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำ
    สำหรับการให้วัคซีน HPV แบบ 2 เข็ม ข้อมูลในปัจจุบันพบว่า น่าจะเพียงพอในผู้หญิงที่อายุยังน้อย โดยแนะนำให้ใช้ในผู้หญิงอายุ 9-15 ปีเท่านั้น โดยสาหรับบุคคลที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำยังคงต้องได้รับวัคซีน 3 เข็ม

    ถาม ใครควรจะฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกบ้าง
    ตอบ ในทางอุดมคติ ควรเริ่มให้วัคซีนตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก อย่างไรก็ตามในผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนการได้รับวัคซีนก็ยังพบว่ามีประโยชน์ ตามแนวทางปฏิบัติแล้วคือ

    • แนะนำให้ฉีดในเด็กหญิงอายุ 11-12 ปีทุกราย หรือสามารถเริ่มให้วัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
    • การให้วัคซีนแนะนำในเด็กหญิงและผู้หญิงอายุ 13-45 ปีที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน โดยจากการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงอายุ 9-45 ปีพบว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง

    สำหรับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ควรมีการคุยระหว่างแพทย์และผู้รับบริการถึงความเสี่ยงที่ผู้รับบริการอาจเคยได้รับเชื้อ HPV มาก่อนและประโยชน์ที่จะได้รับจากวัคซีน ผู้รับวัคซีนต้องทำความเข้าใจว่า วัคซีนไม่สามารถกาจัดเชื้อไวรัส HPV ในกรณีที่มีการติดเชื้อเรื้อรังมาก่อนฉีดได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันพบว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนการฉีดวัคซีน สำหรับประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดำเนินโครงการฉีดวัคซีน HPV ฟรีให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นวัยเหมาะสมที่สุดในการรับวัคซีนนี้แล้ว โดยเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 2560

    ถาม ทำไมวัคซีนมะเร็งปากมดลูกจึงแนะนำให้ใช้ในเด็ก
    ตอบ เนื่องจากวัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในเด็กหรือผู้หญิงที่ไม่เคยได้รับการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่วัคซีนครอบคลุมมาก่อน ดังนั้นเด็กหญิงและผู้หญิงที่ไม่เคยติดเชื้อเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์เต็มที่จากการฉีดวัคซีน
    ถาม กลุ่มที่ไม่ควรรับวัคซีน
    ตอบ ไม่ควรฉีดวัคซีนหากยังมีอาการเจ็บป่วยหรือมีประวัติแพ้ยีสต์หรือตั้งครรภ์อยู่
    ถาม ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วจะได้ประโยชน์จากวัคซีนหรือไม่
    ตอบ ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ยังคงได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนอยู่ แต่อาจจะน้อยกว่า เนื่องจากผู้หญิงเหล่านี้อาจจะเคยได้รับเชื้อ HPV บางสายพันธุ์มาแล้ว
    Gardasil และ Cervarix จะป้องกัน HPV จำเพาะบางสายพันธุ์แต่ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่เคยสัมผัสกับสายพันธุ์เหล่านี้มาก่อน ถ้าหากยิ่งมีจำนวนคู่นอนมากเท่าไหร่โอกาสในการติดเชื้อ HPV หลายสายพันธุ์ก็ยิ่งมีมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 18-45 ปีบอกถึงประวัติเพศสัมพันธ์กับแพทย์เพื่อดูว่าประเมินถึงประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีน
    ถาม วัคซีนมีความปลอดภัยหรือไม่
    ตอบ มีการศึกษาว่าวัคซีนมีความปลอดภัยค่อนข้างมาก ไม่พบว่ามีไวรัสที่มีชีวิตเหลืออยู่ในวัคซีน ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยหลังฉีดยาคือ มีแดงและเจ็บบริเวณที่ฉีดยา อาการปวดหัว (คล้ายกับจะเป็นไข้หวัด) ก็พบได้บ่อย อาจพบมีไข้ได้ อาการปวดและมีไข้สามารถบรรเทาโดยการให้ยาได้ แต่ก็คล้ายคลึงกับยาทั่วไปก็คือยังคงต้องเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้วัคซีนต่อไป
    ถาม มีวัคซีนสาหรับเด็กชายหรือผู้ชายหรือไม่
    ตอบ ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ผู้ชายก็สามารถฉีดวัคซีน HPV ได้ เพราะแม้จะไม่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก แต่หากไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่มีเชื้อ HPV แล้วได้รับเชื้อมา ก็สามารถแพร่เชื้อต่อไปยังคู่นอนคนอื่นได้เช่นกัน ซึ่งในต่างประเทศมีการรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ทั้งในเพศหญิงและเพศชายบ้างแล้ว เช่น องค์กรควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้เด็กชายอายุ 11-12 ปี ฉีดวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ เพื่อป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนัก
    ถาม หลังฉีดวัคซีนแล้วจะมีเพศสัมพันธ์ได้เลยไหม
    ตอบ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ แต่ควรคุมกาเนิดด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใส่ถุงยางอนามัย จนกระทั่งฉีดครบ 3 เข็มไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน เพราะความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อจะเกิดขึ้นภายใน 1 เดือน หลังฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม
    ถาม หลังฉีดวัคซีนแล้วจำเป็นต้องตรวจหามะเร็งปากมดลูก (PAP smear) อีกหรือไม่
    ตอบ ปัจจุบันยังคงแนะนำให้ปฏิบัติตามแนวทางตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ
    ถาม การป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีต่างๆ
    ตอบ HPV แพร่กระจายผ่านการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ HPV ทำได้โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ควรจำกัดจานวนคู่นอน การไม่สูบบุหรี่ก็จะช่วยได้เนื่องจากการสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึงสองเท่า
    ในการค้นหารอยโรคก่อนการเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น ผู้หญิงควรตรวจภายในประจำปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติที่อาจเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ช่วงใกล้วัยหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว มีตกขาวกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน ปวดท้องน้อย หรือ เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
    ถาม ถุงยางอนามัยกับการแพร่เชื้อ HPV
    ตอบ การศึกษาปัจจุบันพบว่าการใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำจะช่วยลดการติดเชื้อ HPV อย่างไรก็ดีเนื่องจากถุงยางอนามัยไม่สามารถปกปิดบริเวณที่เป็นจุดแพร่กระจายของ HPV ได้ทั้งหมด มันจึงไม่อาจให้การป้องกันได้เต็มที่ ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัย ในบางครั้งอาจจะไม่สามารถป้องกัน HPV ได้ ควรตระหนักว่าในการป้องกันการติดเชื้อ HPV นั้นควรจะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะมั่นใจในความสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยจะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เมื่อใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และใช้อย่างถูกวิธี
    ถาม จะรู้ได้อย่างไรว่ามีการติดเชื้อ HPV
    ตอบ ในคนที่ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ หนทางเดียวที่จะทราบได้ว่าคุณมีเชื้อ HPV ก็คือทดสอบหาไวรัสโดยตรงจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือใช้อุปกรณ์สำหรับตรวจด้วยตนเองที่บ้าน การติดเชื้อ HPV ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกไปเป็นรอยโรคก่อนการเป็นมะเร็งหรือมะเร็งปากมดลูก เชื้อ HPV อาจจะปรากฏในช่วงเวลาเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปีหลังจากได้รับเชื้อครั้งแรก ซึ่งก็คือความสำคัญว่าทาไมจึงจำเป็นต้องตรวจอย่างสม่ำเสมอ
    ถาม HPV สามารถรักษาได้หรือไม่
    ตอบ ในปัจจุบันไม่มีการรักษาสำหรับไวรัส แต่มีการรักษาสำหรับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกที่เกิดจาก HPV
    สรุป
    คุณผู้หญิงควรตรวจภายในประจาปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 21 ปี ซึ่งการตรวจจะทำให้สามารถพบปัญหาก่อนที่จะเกิดโรคในระยะก่อนมะเร็งได้ การติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 90% นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ช่วงใกล้วัยหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว มีตกขาวกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน ปวดท้องน้อย หรือ เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)

    วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

    แพคเกจวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV Vaccine)

    สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อหยุดมะเร็งปากมดลูก

    วัคซีน HPV 4 สายพันธุ์

    วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์


    วัคซีนป้องกันไวรัส HPV สามารถฉีดได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
    ประสิทธิภาพจะดีที่สุดในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การเริ่มให้วัคซีนตั้งแต่ช่วงก่อนเข้าวัยรุ่นถึงวัยรุ่น

    มะเร็งปากมดลูกจากไวรัส HPV

    มะเร็งปากมดลูกไม่ได้มีสาเหตุจากพันธุกรรม แต่เกิดจากไวรัส HPV ซึ่งติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก และรวมถึงสัมผัส ใกล้ชิดจากภายนอก และเชื้อนี้ยังสามารถก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด ปัจจุบันมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าการติดเชื้อ ไวรัสที่ชื่อว่า Human Papilloma Virus (HPV) เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกการฉีด HPV Vaccine เพื่อการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อ HPV เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV ได้
    ประสิทธิภาพของ HPV Vaccine จะสูงที่สุดในสตรีที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนก่อนถึงวัยที่จะมีเพศสัมพันธุ์ โดยปัจจุบันแนะนำให้ฉีด ในทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ที่มีอายุ 9 ปี ช่วงดังกล่าวเด็กจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่นอกจากนั้นยังแนะนำว่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 13-26 ปี ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบควรได้รับการฉีดทุกคน
    • มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุจากเชื้อ HPV ถึง 99.7%
    • เป็นมะเร็งที่ตรวจพบมากเป็นอับดับ 2 ในหญิงไทย
    • ผู้ชายก็สามารถติดเชื้อ HPV ได้เพราะเชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก
    มะเร็งจากไวรัส HPV ป้องกันได้

    แนะนำให้ฉีดในผู้หญิงและผู้ชายอายุ 9 -26 ปีทุกคน และ ผู้หญิงที่มีอายุ 26-45 ปี หรือแม้แต่ผู้ที่เคยมีผล pap smear หรือ HPV testing ผิดปกติ โดยวัคซีนจะฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อสะโพก
    • สำหรับเด็กอายุ 9 -<15 ปี ฉีด 2 เข็มคือ ที่ 0 เดือนและ 6 เดือน
    • สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15-26 ปี ฉีด 3 เข็มคือ ที่ 0 เดือน 2 เดือนและ 6 เดือน
    วัคซีน HPV 4 สายพันธุ์

    • สายพันธุ์ที่ 16, 18 สาเหตุของ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก หูดหงอนไก่ ภาวะก่อนมะเร็ง (precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia
    • สายพันธุ์ที่ 6, 11 สาเหตุของ มะเร็งทวารหนัก หูดหงอนไก่ ภาวะก่อนมะเร็ง (precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia
    วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์

    • สายพันธุ์ที่ 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58 สาเหตุของ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งคอหอยหลังช่องปาก และมะเร็งทางศีรษะเเละลำคอ หูดหงอนไก่ ภาวะก่อนมะเร็ง (precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia
    • สายพันธุ์ที่ 6, 11 สาเหตุของ มะเร็งทางทวารหนัก มะเร็งคอหอยหลังช่องปาก และมะเร็งทางศีรษะเเละลำคอ หูดหงอนไก่ ภาวะก่อนมะเร็ง (precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia
    ผลข้างเคียงของการฉีด HPV Vaccine

    โดยทั่วไปการฉีด HPV Vaccine มีความปลอดภัยสูงไม่พบอาการข้างเคียงชนิดรุนแรง อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
    1. อาการข้างเคียงบริเวณที่ฉีดวัคซีน เช่น ปวด บวม แดง และคัน ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง เป็นอยู่ชั่วคราวและหายไปเอง
    2. อาการทั่วไปเช่น ไข้ พบประมาณร้อยละ 10 ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและหายได้เอง อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย และผื่นคันตามตัว อาการเหล่านี้ไม่รุนแรงและหายได้เอง

    สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อหยุดมะเร็งปากมดลูก

    รายการ
    วัคซีน HPV 4 สายพันธุ์
    วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์
    2 เข็ม
    สำหรับเด็กอายุ 9-14 ปี
    5,900.-
    (รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
    12,500.-
    (รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
    3 เข็ม
    สำหรับผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
    7,800.-
    (รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
    18,500.-
    (รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
    วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    มะเร็งปากมดลูก สำหรับเด็ก

    Promotion มะเร็งปากมดลูก สำหรับเด็ก

    วัคซีนมะเร็งปากมดลูก : 5,900.- และ 12,500.-

    (รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)


    วัคซีนป้องกันไวรัส HPV สามารถฉีดได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
    ประสิทธิภาพจะดีที่สุดในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การเริ่มให้วัคซีนตั้งแต่ช่วงก่อนเข้าวัยรุ่นถึงวัยรุ่น

    เด็กต้องการ"การปกป้อง"

    มะเร็งปากมดลูก

    มะเร็งปากมดลูกไม่ได้มีสาเหตุจากพันธุกรรม แต่เกิดจากไวรัส HPV ซึ่งติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก และรวมถึงสัมผัส ใกล้ชิดจากภายนอก และเชื้อนี้ยังสามารถก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด ปัจจุบันมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าการติดเชื้อ ไวรัสที่ชื่อว่า Human Papilloma Virus (HPV) เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกการฉีด HPV Vaccine เพื่อการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อ HPV เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV ได้ ประสิทธิภาพของ HPV Vaccine จะสูงที่สุดในสตรีที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนก่อนถึงวัยที่จะมีเพศสัมพันธุ์ โดยปัจจุบันแนะนำให้ฉีด ในทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ที่มีอายุ 9 ปี ช่วงดังกล่าวเด็กจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่นอกจากนั้นยังแนะนำว่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 13-26 ปี ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบควรได้รับการฉีดทุกคน

    • มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุจากเชื้อ HPV ถึง 99.7%
    • เป็นมะเร็งที่ตรวจพบมากเป็นอับดับ 2 ในหญิงไทย
    • ผู้ชายก็สามารถติดเชื้อ HPV ได้เพราะเชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก
    วัคซีนป้องกันไวรัส HPV สามารถฉีดได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพจะดีที่สุดในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การเริ่มให้วัคซีนตั้งแต่ ช่วงก่อนเข้าวัยรุ่นถึงวัยรุ่น เด็กอายุ 9-15 ปี แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม โดยประสิทธิภาพเทียบเท่าการฉีด 3 เข็มในผู้ใหญ่ เริ่มฉีดเข็มแรกก่อน 15 ปีเต็ม โดยฉีดห่างกัน 6 เดือน

    วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำหรับเด็กชนิด 4 สายพันธุ์ และ 9 สายพันธุ์ สามารถป้องกัน

    เด็กผู้หญิง วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์

    5,900.-

    2 เข็ม
    รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
    • มะเร็งปากมดลูก
    • มะเร็งปากช่องคลอด
    • มะเร็งช่องคลอด
    • หูดอวัยวะเพศหญิง

    เด็กผู้หญิง วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธุ์

    12,500.-

    2 เข็ม
    รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
    • มะเร็งปากมดลูก
    • มะเร็งปากช่องคลอด
    • มะเร็งช่องคลอด
    • หูดอวัยวะเพศหญิง
    • มะเร็งทวารหนัก
    • ภาวะก่อนมะเร็ง (precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia
    • มะเร็งคอหอยหลังช่องปาก
    • มะเร็งทางศีรษะเเละลำคอ

    เด็กผู้ชาย วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์

    5,900.-

    2 เข็ม
    รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
    • มะเร็งอวัยวะเพศชาย
    • มะเร็งทวารหนัก
    • มะเร็งอวัยวะเพศชาย

    เด็กผู้ชาย วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธุ์

    12,500.-

    2 เข็ม
    รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
    • มะเร็งอวัยวะเพศชาย
    • มะเร็งทวารหนัก
    • มะเร็งอวัยวะเพศชาย
    • ภาวะก่อนมะเร็ง (precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia
    • มะเร็งคอหอยหลังช่องปาก
    • มะเร็งทางศีรษะเเละลำคอ
    ผลข้างเคียงของการฉีด HPV Vaccine
    โดยทั่วไปการฉีด HPV Vaccine มีความปลอดภัยสูงไม่พบอาการข้างเคียงชนิดรุนแรง อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
    • อาการข้างเคียงบริเวณที่ฉีดวัคซีน เช่น ปวด บวม แดง และคัน ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง เป็นอยู่ชั่วคราวและหายไปเอง
    • อาการทั่วไป เช่น ไข้ พบประมาณร้อยละ 10 ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและหายได้เอง
    • อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย และผื่นคันตามตัว อาการเหล่านี้ไม่รุนแรงและหายได้เอง
    วันนี้ -31 ธันวาคม 2567

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

    โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

    วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

    วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]