คลายข้อสงสัย "วัคซีนมะเร็งปากมดลูก"

ถาม HPV คืออะไร และติดต่อได้อย่างไร
ตอบ HPV (Human papillomavirus) เป็นไวรัสตระกูลหนึ่งซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โดยมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งที่อวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก และมะเร็งบริเวณหลอดอาหาร นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ได้ ผู้หญิงและผู้ชายจะติดเชื้อ HPV ชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะเคยได้รับเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
ถาม การป้องกันตนเองจากมะเร็งปากมดลูก
ตอบ ผู้หญิงควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 21 ปี ซึ่งการตรวจจะทำให้สามารถพบปัญหาที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV ก่อนที่จะเกิดรอยโรคระยะก่อนมะเร็งได้
การติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 90% หนทางเดียวที่จะสามารถป้องกันจากการติดเชื้อ HPV ได้อย่างแน่นอนคือ การงดมีเพศสัมพันธ์ตลอดชีวิต
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (หรือที่เรียกว่า Human Papillomavirus หรือ HPV วัคซีน) เป็นวัคซีนป้องกันไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
ถาม วัคซีนมะเร็งปากมดลูกคืออะไร
ตอบ วัคซีนมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก ผลิตจากโปรตีนที่เปลือกหุ้มเชื้อไวรัส ปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด คือ

  • ชนิด 2 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 16 และ 18) มีชื่อการค้าว่า Cervarix ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70%
  • ชนิด 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16 และ 18) มีชื่อการค้าว่า Gardasil ป้องกันมะเร็งปากมดลูก และหูดที่อวัยวะเพศ
  • ชนิด 9 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58) มีชื่อการค้าว่า Gardasil 9 โดยสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกและหูดได้ประมาณ 90% รวมทั้งป้องกันมะเร็งทวารหนักได้ประมาณ 80%
ถาม วัคซีน HPV ต้องฉีดกี่เข็ม ป้องกันได้นานเท่าใด
ตอบ วัคซีนจะฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อสะโพก โดยต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็มกรณี อายุ

  • สำหรับเด็กอายุ 9 -<15 ปี ฉีด 2 เข็มคือ ที่ 0 เดือนและ 6 เดือน
  • สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15-26 ปี ฉีด 3 เข็มคือ ที่ 0 เดือน 2 เดือนและ 6 เดือน
  • ทั้งนี้วัคซีนจะมีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อหลังฉีดครบ 3 เข็มไปแล้ว 1 เดือน อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า วัคซีนจะช่วยป้องกันโรคได้นานแค่ไหน แต่จากการศึกษาพบว่าระดับภูมิคุ้มกันยังคงสูงต่อเนื่องหลายปีจึงยังไม่ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำ
    สำหรับการให้วัคซีน HPV แบบ 2 เข็ม ข้อมูลในปัจจุบันพบว่า น่าจะเพียงพอในผู้หญิงที่อายุยังน้อย โดยแนะนำให้ใช้ในผู้หญิงอายุ 9-15 ปีเท่านั้น โดยสาหรับบุคคลที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำยังคงต้องได้รับวัคซีน 3 เข็ม

    ถาม ใครควรจะฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกบ้าง
    ตอบ ในทางอุดมคติ ควรเริ่มให้วัคซีนตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก อย่างไรก็ตามในผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนการได้รับวัคซีนก็ยังพบว่ามีประโยชน์ ตามแนวทางปฏิบัติแล้วคือ

    • แนะนำให้ฉีดในเด็กหญิงอายุ 11-12 ปีทุกราย หรือสามารถเริ่มให้วัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
    • การให้วัคซีนแนะนำในเด็กหญิงและผู้หญิงอายุ 13-45 ปีที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน โดยจากการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงอายุ 9-45 ปีพบว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง

    สำหรับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ควรมีการคุยระหว่างแพทย์และผู้รับบริการถึงความเสี่ยงที่ผู้รับบริการอาจเคยได้รับเชื้อ HPV มาก่อนและประโยชน์ที่จะได้รับจากวัคซีน ผู้รับวัคซีนต้องทำความเข้าใจว่า วัคซีนไม่สามารถกาจัดเชื้อไวรัส HPV ในกรณีที่มีการติดเชื้อเรื้อรังมาก่อนฉีดได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันพบว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนการฉีดวัคซีน สำหรับประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดำเนินโครงการฉีดวัคซีน HPV ฟรีให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นวัยเหมาะสมที่สุดในการรับวัคซีนนี้แล้ว โดยเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 2560

    ถาม ทำไมวัคซีนมะเร็งปากมดลูกจึงแนะนำให้ใช้ในเด็ก
    ตอบ เนื่องจากวัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในเด็กหรือผู้หญิงที่ไม่เคยได้รับการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่วัคซีนครอบคลุมมาก่อน ดังนั้นเด็กหญิงและผู้หญิงที่ไม่เคยติดเชื้อเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์เต็มที่จากการฉีดวัคซีน
    ถาม กลุ่มที่ไม่ควรรับวัคซีน
    ตอบ ไม่ควรฉีดวัคซีนหากยังมีอาการเจ็บป่วยหรือมีประวัติแพ้ยีสต์หรือตั้งครรภ์อยู่
    ถาม ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วจะได้ประโยชน์จากวัคซีนหรือไม่
    ตอบ ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ยังคงได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนอยู่ แต่อาจจะน้อยกว่า เนื่องจากผู้หญิงเหล่านี้อาจจะเคยได้รับเชื้อ HPV บางสายพันธุ์มาแล้ว
    Gardasil และ Cervarix จะป้องกัน HPV จำเพาะบางสายพันธุ์แต่ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่เคยสัมผัสกับสายพันธุ์เหล่านี้มาก่อน ถ้าหากยิ่งมีจำนวนคู่นอนมากเท่าไหร่โอกาสในการติดเชื้อ HPV หลายสายพันธุ์ก็ยิ่งมีมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 18-45 ปีบอกถึงประวัติเพศสัมพันธ์กับแพทย์เพื่อดูว่าประเมินถึงประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีน
    ถาม วัคซีนมีความปลอดภัยหรือไม่
    ตอบ มีการศึกษาว่าวัคซีนมีความปลอดภัยค่อนข้างมาก ไม่พบว่ามีไวรัสที่มีชีวิตเหลืออยู่ในวัคซีน ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยหลังฉีดยาคือ มีแดงและเจ็บบริเวณที่ฉีดยา อาการปวดหัว (คล้ายกับจะเป็นไข้หวัด) ก็พบได้บ่อย อาจพบมีไข้ได้ อาการปวดและมีไข้สามารถบรรเทาโดยการให้ยาได้ แต่ก็คล้ายคลึงกับยาทั่วไปก็คือยังคงต้องเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้วัคซีนต่อไป
    ถาม มีวัคซีนสาหรับเด็กชายหรือผู้ชายหรือไม่
    ตอบ ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ผู้ชายก็สามารถฉีดวัคซีน HPV ได้ เพราะแม้จะไม่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก แต่หากไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่มีเชื้อ HPV แล้วได้รับเชื้อมา ก็สามารถแพร่เชื้อต่อไปยังคู่นอนคนอื่นได้เช่นกัน ซึ่งในต่างประเทศมีการรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ทั้งในเพศหญิงและเพศชายบ้างแล้ว เช่น องค์กรควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้เด็กชายอายุ 11-12 ปี ฉีดวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ เพื่อป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนัก
    ถาม หลังฉีดวัคซีนแล้วจะมีเพศสัมพันธ์ได้เลยไหม
    ตอบ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ แต่ควรคุมกาเนิดด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใส่ถุงยางอนามัย จนกระทั่งฉีดครบ 3 เข็มไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน เพราะความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อจะเกิดขึ้นภายใน 1 เดือน หลังฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม
    ถาม หลังฉีดวัคซีนแล้วจำเป็นต้องตรวจหามะเร็งปากมดลูก (PAP smear) อีกหรือไม่
    ตอบ ปัจจุบันยังคงแนะนำให้ปฏิบัติตามแนวทางตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ
    ถาม การป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีต่างๆ
    ตอบ HPV แพร่กระจายผ่านการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ HPV ทำได้โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ควรจำกัดจานวนคู่นอน การไม่สูบบุหรี่ก็จะช่วยได้เนื่องจากการสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึงสองเท่า
    ในการค้นหารอยโรคก่อนการเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น ผู้หญิงควรตรวจภายในประจำปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติที่อาจเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ช่วงใกล้วัยหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว มีตกขาวกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน ปวดท้องน้อย หรือ เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
    ถาม ถุงยางอนามัยกับการแพร่เชื้อ HPV
    ตอบ การศึกษาปัจจุบันพบว่าการใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำจะช่วยลดการติดเชื้อ HPV อย่างไรก็ดีเนื่องจากถุงยางอนามัยไม่สามารถปกปิดบริเวณที่เป็นจุดแพร่กระจายของ HPV ได้ทั้งหมด มันจึงไม่อาจให้การป้องกันได้เต็มที่ ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัย ในบางครั้งอาจจะไม่สามารถป้องกัน HPV ได้ ควรตระหนักว่าในการป้องกันการติดเชื้อ HPV นั้นควรจะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะมั่นใจในความสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยจะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เมื่อใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และใช้อย่างถูกวิธี
    ถาม จะรู้ได้อย่างไรว่ามีการติดเชื้อ HPV
    ตอบ ในคนที่ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ หนทางเดียวที่จะทราบได้ว่าคุณมีเชื้อ HPV ก็คือทดสอบหาไวรัสโดยตรงจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือใช้อุปกรณ์สำหรับตรวจด้วยตนเองที่บ้าน การติดเชื้อ HPV ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกไปเป็นรอยโรคก่อนการเป็นมะเร็งหรือมะเร็งปากมดลูก เชื้อ HPV อาจจะปรากฏในช่วงเวลาเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปีหลังจากได้รับเชื้อครั้งแรก ซึ่งก็คือความสำคัญว่าทาไมจึงจำเป็นต้องตรวจอย่างสม่ำเสมอ
    ถาม HPV สามารถรักษาได้หรือไม่
    ตอบ ในปัจจุบันไม่มีการรักษาสำหรับไวรัส แต่มีการรักษาสำหรับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกที่เกิดจาก HPV
    สรุป
    คุณผู้หญิงควรตรวจภายในประจาปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 21 ปี ซึ่งการตรวจจะทำให้สามารถพบปัญหาก่อนที่จะเกิดโรคในระยะก่อนมะเร็งได้ การติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 90% นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ช่วงใกล้วัยหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว มีตกขาวกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน ปวดท้องน้อย หรือ เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)