โนโรไวรัส (Norovirus)
โนโรไวรัส
Norovirus
เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน และอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อย มักพบในช่วงเข้าฤดูหนาว หรือเมื่ออากาศเริ่มเย็นลง
อาการ
- อาการที่พบได้บ่อย : ถ่ายเหลว, คลื่นไส้อาเจียน, ปวดท้อง
- อาการอื่นๆ ที่พบได้ : ไข้, ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว
- อาการขาดน้ำ อาจสังเกตได้จาก : ปากแห้ง, ปัสสาวะลดลง, เวียนศีรษะหน้ามืดเวลาลุกขึ้น, หากเป็นเด็กอาจพบว่าร้องให้โดยไม่มีน้ำตา
โดยผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรงได้แก่ เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี, ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยสามารถหายได้ใน 1-3 วัน แต่อาจสามารถแพร่กระจายเชื้อได้นานถึง 2 สัปดาห์
กรณีสงสัย สามารถตรวจเชื้อได้จากในอุจจาระ รอผล 1-2 ชั่วโมง
การแพร่กระจายเชื้อ
- เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจาย และรับเชื้อได้ง่ายมาก
- โดยรับเชื้อผ่านทางอุจจาระหรือการอาเจียนของผู้ที่มีอาการป่วยจากไวรัสชนิดนี้, การรับประทานอาหารและที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
- ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการ จนอาจยาวนานได้ถึง 2 สัปดาห์หลังจากอาการป่วยดีขึ้นแล้ว
วิธีการป้องกันการแพร่กระจาย/การติดเชื้อ
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน Norovirus โดยเฉพาะ แต่ท่านสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ด้วยการล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
- หลังการเข้าห้องน้ำ หรือ การเปลี่ยนผ้าอ้อม
- ก่อนการปรุงอาหาร จับ หรือรับประทานอาหาร
- ล้างผักผลไม้ ก่อนรับประทานทุกครั้ง
- หากจะรับประทานหอยนางรมหรือหอยชนิดอื่น แนะนำให้ปรุงให้สุกด้วยอุณหภูมิอย่างน้อย 62.5 องศา
- ทำความสะอาดห้องครัว เครื่องครัว อย่างสม่ำเสมอ
การใช้เจลล้างมืออาจจัดการกับ Norovirus ได้ไม่ดีนัก แนะนำให้ใช้ควบคู่กับการล้างมือถึงจะดีที่สุด
หากท่านเป็นผู้ป่วยจากการติดเชื้อ Norovirus แนะนำให้รอให้อาการป่วยหายดี 48 ชั่วโมงก่อน ถึงจะเตรียมอาหารได้
หากสัมผัสกับอาเจียนหรืออุจจาระของผู้ป่วย
- ควรสวมถุงมือก่อนการสัมผัส ใช้กระดาษเช็ดออกให้หมด แล้วทิ้งลงถุงขยะพลาสติก
- ทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวที่สัมผัสด้วยผลิตภัณฑ์น้ำยาคลอรีนฆ่าเชื้อ แล้วตามด้วยสบู่+น้ำร้อนอีก 1 รอบ
- การซักผ้าที่ปนเปื้อน แนะนำให้ซักด้วยน้ำร้อน ใช้โปรแกรมปั่นที่นานสุด หากมีโปรแกรมอบผ้าในตัวเครื่องแนะนำให้ใช้อุณหภูมิสูงสุด
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อที่จำเพาะกับ Norovirus การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองตามอาการ และป้องกันการขาดน้ำ ได้แก่
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- หากอาเจียนหรือถ่ายเหลวมาก ควรดื่มน้ำเกลือแร่ทางการแพทย์
- การดื่มเกลือแร่ชนิดดื่มหลังออกกำลังกาย หรือเครื่องดื่มแบบไม่มีคาเฟอีนชนิดอื่น อาจช่วยได้ในการขาดน้ำแบบเล็กน้อยเท่านั้น
- เฝ้าระวังการขาดน้ำ หากมีอาการขาดน้ำควรรีบปรึกษาแพทย์