ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

โรคเบาหวาน โรคไขมันและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

โรคเบาหวาน

โรคไขมัน

Title
Title
Description

โรคความดันโลหิตสูง

เปิดเทอมกับชีวิตวิถีใหม่

เปิดเทอมกับชีวิตวิถีใหม

Back to School new normal style

ใกล้เปิดเทอมแล้วจ้า แต่เปิดเทอมรอบนี้ไม่ธรรมดา เพราะเป็นปีที่มีโรคระบาดใหม่อย่าง COVID-19 ระบาดตั้งแต่ช่วงต้นปี แม้ว่าสถานการณ์ในประเทศไทยจะควบคุมได้ดีแต่ก็ต้องไม่ประมาท ใช้ชีวิตตามวิถีปกติใหม่ เด็กๆก็ต้องปรับตัวเช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองจะต้องเตรียมตัวลูกๆอย่างไรบ้าง เราไปดูกันเลย

  1. เกาะติดสถานการณ์ : คอยติดตามสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 อยู่เสมอ จะได้ทราบมาตรการจากทางการ และสอนให้ลูกรู้จักโรค COVID-19 อย่างถูกต้อง
  2. คัดกรอง : สังเกตอาการป่วยของลูก ถ้ามีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่รู้รสหรือกลิ่น ให้รีบแจ้งทางโรงเรียนทันทีและให้หยุดเรียนไว้ก่อน (ปัจจุบันขาดเรียนหรือกักตัวเด็กก็สามารถตามบทเรียนได้หลายช่องทาง ไม่ต้องกลัวตามเพื่อนไม่ทัน)
  3. หน้ากากอนามัยและของใช้ส่วนตัว : สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี และเตรียมของใช้ส่วนตัวไปใช้ที่โรงเรียนแทนการใช้ของส่วนกลาง เช่น ช้อนส้อม แก้วน้ำ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดมือ เป็นต้น
  4. ล้างมือบ่อยๆ : สอนลูกให้หลีกเลี่ยงการเอามือไปสัมผัสใบหน้า ขยี้ตา หรือแคะจมูก ซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยง
    ที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และให้ล้างมือทุกครั้งที่จับบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได และก่อนรับประทานอาหาร โดยล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไปอย่างน้อยนาน 20 วินาที (ร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ธเดย์ 2 รอบ) และหลังกลับจากโรงเรียนให้รีบอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
  5. เว้นระยะห่าง : หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร ในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน ช่วงพัก และหลังเลิกเรียน เช่น นั่งกินอาหาร ออกกำลังกาย เข้าแถวต่อคิว เป็นต้น
  6. ทำความสะอาด : ปลูกฝังให้หมั่นทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสบ่อยๆ และบริเวณที่ใช้ทำกิจกรรม รวมถึงอุปกรณ์การเรียน เช่น กระเป๋านักเรียน ผู้ปกครองอาจเตรียมแอลกอฮอล์สเปรย์สำหรับทำความสะอาดติดตัวไปโรงเรียนด้วยถ้าทำได้
  7. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง : เตรียมร่างกายลูกให้แข็งแรง กินอาหารครบ 5 หมู่ ที่สุก สะอาด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าลืมเพิ่มพลังด้วยอาหารมื้อเช้าก่อนเข้าเรียน (แนะนำให้รับประทานอาหารเช้าจากบ้าน หากจำเป็นต้องรับประทานที่โรงเรียนแนะนำให้จัดเตรียมเป็น Box set จากบ้านแทนการซื้อที่โรงเรียน)
  8. ความเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย : สอนลูกเสมอว่าไม่มีใครอยากป่วย ไม่ควรล้อเลียนความผิดปกติหรืออาการไม่สบายของเพื่อน เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความหวาดกลัวเกินเหตุ หรือเกิดการแบ่งแยก กีดกัน หรือตีตราในหมู่นักเรียน ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ
    ถ้าทำได้ตามนี้ ลูกๆก็จะมีเกราะป้องกันโรค COVID-19 พร้อมสำหรับเปิดเทอม เชื่อว่าไม่ยากเกินไปสำหรับทุกครอบครัว และอย่าลืมป้องกันโรคอื่นๆที่ขอให้ทุกท่านสุขภาพดี
พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์

กุมารแพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลบางโพ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

การบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา

การเล่นกีฬาต่างๆ ถือเป็นกิจกรรมยอดฮิตในปัจจุบัน โดยเฉพาะการวิ่งมาราธอน การเล่นกีฬาเป็นการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์กับสุขภาพค่ะ แต่เราควรรู้และดูแลป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดการบาดเจ็บกับร่างกายนะคะ

การบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา เกิดจากอะไร?
และการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเบื้องต้นทำอย่างไร?

พลโท นพ.ดุษฏี ทัตตานนท์
ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อ
เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์และการกีฬา โรงพยาบาลบางโพ

#Bangpohospital #แบ่งกันฟัง

โรคจมูกอักเสบเรื้อรัง

โรคภูมิแพ้ หรือโรคจมูกอักเสบเรื้อรัง ถือว่าเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งเลยทีเดียวสำหรับคนเมือง สาเหตุของโรค เกิดจากเยื่อบุจมูกมีความไวผิดปกติเมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคที่สามารถสังเกตได้ เช่น คันจมูก จามติดต่อกันหลายครั้ง มีน้ำมูกใสไหลตลอดเวลา เสมหะไหลลงคอ จมูกไม่ได้กลิ่นหรือได้กลิ่นลดลง หรืออาจมีอาการอื่นๆ เช่น คันตา คันคอ คันหู หรือคันที่เพดานปาก ปวดศีรษะ ปวดหู หูอื้อ เป็นต้น โดยทั่วไปผู้ป่วยมักบรรเทาอาการด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ร่วมกับการใช้ยารับประทาน การใช้ยาพ่นจมูก และการใช้น้ำเกลือล้างจมูก กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้วนั้นปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ในการผ่าตัด เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีหลังการรักษา #โรงพยาบาลบางโพ#ภูมิแพ้#สุขภาพ

การตรวจสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง MRI

MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือการตรวจสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นการตรวจวินิจฉัยที่ให้ความถูกต้อง แม่นยำสูง เนื่องจากให้ความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี สามารถตรวจได้ทุกระบบในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบสมอง และกระดูกสันหลัง อีกทั้งยังมีเทคนิคพิเศษหลายแบบ เช่น การตรวจผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน การตรวจหาชีวเคมีเพื่อแยกชนิดของก้อนเนื้อ และการตรวจหลอดเลือดทั่วร่างกาย

MRI ยังมีประโยชน์มากในผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากไม่มีอันตรายจากรังสีที่เกิดจากการใช้เอ็กซเรย์

      การตรวจที่ส่งตรวจได้แก่

  • ระบบสมอง เนื้อเยื่อสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาททั่วร่างกาย
  • ระบบช่องท้องทั้งหมด
  • ระบบกล้ามเนื้อ ข้อ และเส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • ระบบหลอดเลือดทั่วร่างกาย

มีข้อจำกัดในการตรวจอวัยวะ ปอด ลำไส้ และหักร้าวของกระดูก

ข้อควรระวัง

  • ผู้ป่วยที่กลัวที่แคบ (Claustrophobic) ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะฝังในร่างกาย เช่น การเปลี่ยนข้อเทียม การใส่เหล็กดามกระดูก คลิปอุดหลอดเลือดในโรคหลอดเลือดโปร่งพอง เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ อวัยวะเทียมภายในหู เป็นต้น
  • ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ไม่ถึง 3 เดือน

สอบถามและปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกอายุรกรรม 02 587 0144 ต่อ 2200
แผนกรังสีวิทยา 02 587 0144 ต่อ 1205

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT scan

CT SCAN เอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (Computer Tomography) เป็นเครื่องมือทางรังสีที่ใช้วินิจฉัยประเมินลักษณะทางกายวิภาคของอวัยวะต่างๆ และในด้านการทำงาน โดยใช้รังสีเอ็กซเรย์ บางกรณีอาจมีการฉีดสารทึบรังสี (Contrast Media) เพื่อดูการทำงานของเนื้อเยื่อ และลักษณะของหลอดเลือด ข้อดีในการตรวจคือใช้เวลาในการตรวจน้อย สามารถแสดงภาพได้ในมุมมองต่างๆ รวมถึงภาพ 3 มิติ ซึ่งมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      การตรวจที่ส่งตรวจได้แก่

  • สมอง ศีรษะ และ ลำคอ
  • หัวใจ ปอด และทรวงอก
  • อวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ ไต ม้าม ตับอ่อน ลำไส้ มดลูก รังไข่
  • กระดูกสันหลัง และกระดูกรยางค์
  • ระบบหลอดเลือด

ใช้เวลาในการตรวจ เพียง 10-30 นาที แล้วแต่แพทย์สั่ง

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  1. งดน้ำและอาหารก่อนการตรวจ 4-6 ชั่วโมง ในกรณีต้องฉีดสารทึบรังสี
  2. หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้ กรุณารีบแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนการนัดหรือการตรวจทันที
  • สตรีตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้สารทึบรังสี
  • ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้อาหารทะเล
  • ผู้ป่วยเคยมีประวัติโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด  เป็นต้น

3. ผู้ป่วยต้องมีผลตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต (Creatinine) ก่อนการตรวจในกรณีต้องฉีดสารทึบรังสี

สอบถามและปรึกษาได้ที่
แผนกรังสีวิทยา 02 587 0144 ต่อ 1250
คลินิกอายุรกรรม ระบบประสาทและสมอง 02 587 0144 ต่อ 2200

อาหารโซเดียมสูง รู้ไว้ไม่เสี่ยงไตวาย

รู้หรือไม่? “เกลือ” ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดภาวะไตวาย อาหารที่เรารับประทานในทุกมื้อ มีส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดภาวะไตวายหรือไม่ สามารถไขข้อข้องใจ จากคลิปนี้ได้เลยค่ะ

#โรงพยาบาลบางโพ #ไตวาย #เค็ม #สุขภาพ