Checklist…โรคฮิตวัยซน

Checklist...โรคฮิตวัยซน

Childhood Hits Disease
 
Checklist…โรคฮิตวัยซน
ลูกเป็นดั่งดวงใจจองพ่อและแม่ ลูกในช่วงวัยทารกถึงวัยเด็ก เป็นช่วงวัยที่ต้องการ การเอาใจใส่ดูแลอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ เพราะระบบภูมิต้านทานและอวัยวะในร่างกายของเด็ก ๆ นั้นเปราะบางไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ ดังนั้นในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงหรือช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง ไข้ชัก เป็นต้น คุณแม่คุณพ่อจึงต้องดูแลเป็นพิเศษ และหากพบอาการผิดปกติ ให้พบกุมารแพทย์ทันที

Checklist…โรคฮิตวัยซน

เลื่อนซ้าย ขวา เพื่อดูข้อมูล

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

สาระน่ารู้ “อาหารบำบัดภาวะไขมันในเลือดสูง”

สาระน่ารู้ “อาหารบำบัดภาวะไขมันในเลือดสูง”

Knowledge "Food for Dyslipidemia"
ข้อแนะนำในการรับประทานอาหาร ปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารส่วนรับประทานได้
  1. รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันน้อย เลือกวิธีการหุงต้มอาหารแบบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยำ หรือผัดน้ำมันน้อย
  2. ควรใช้น้ำมันพืชชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fattyacid) ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง (ในปริมาณวันละ 5-7 ช้อนชา)
  3. เน้นการรับประทานเต้าหู้และเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาแซลมอน จะช่วยในการเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDL) และลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL Triglyceride)
  4. รับประทานผักและผลไม้ไม่หวานจัดเป็นประจำทุกมื้อ และให้หลากหลาย (ผักและผลไม้ไม่ควรน้อยกว่า 400 กรัม/วัน)
  5. หลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดกรดไขมันอิ่มตัวสูง (saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมัน หมู ไก่
  6. หลีกเลี่ยง เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง และอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ปลาท่องโก๋ กล้วยแขก ข้าวหาหมู ผัดไท หอยทอด ผัดซีอิ้ว
  7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมันติดหนัง เครื่องในสัตว์ติดมัน ติดหนัง เครื่องในสัตว์
  8. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานซ์สูง (Trans fatty acid) เช่น พาย โดนัท ขนมขบเคี้ยว เนยเทียม มาการีน หรือ หนมเบเกอรรี่ต่างๆ
  9. ควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง และควรรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อน 18.00 น (ควบคุมหรือป้องกันภาวะ Triglyceride สูง)
  10. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวานหรือมีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ต่างๆ น้ำอัดลม (ควบคุมหรือป้องกันภาวะ Triglyceride สูง)
  11. งดการสูบบุหรี่ แลงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอร์ทุกชนิด
  12. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน
  13. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (ค่า BMI = 18.5-22.9)
คำนวณ BMI

ตารางแสดงปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารส่วนรับประทานได้ 100 กรัม
ชนิดอาหาร
ปริมาณ(กรัม)
100 g.
โคเลสเตอรอล(มก.)
Cholesterol(mg.)
ประเภทไข่
ไข่ไก่ (ไข่แดง)
6 ฟองใหญ่
1602
ไข่ไก่ (ไข่ขาว)
3 ฟองใหญ่
0
ไข่ไก่ทั้งฟอง
2 ฟองใหญ่
548
ไข่นกทาทั้งฟอง
11 ฟองใหญ่
844
ไข่เป็ดทั้งฟอง
2 ฟองกลาง
884
ไข่ปลา
10 ช้อนชา
374
ประเภทอาหารทะเล
ปลากระพงแดงสุก
8 ช้อนโต๊ะ
45
ปลาเก๋าทะเลสุก
8 ช้อนโต๊ะ
37
ปลาทูสุก
8 ช้อนโต๊ะ
45
ปลาโอสุก
10 ช้อนโต๊ะ
46
ปลากระบอกสุก
8 ช้อนโต๊ะ
60
ปลาหมึกดองสุก
10 ช้อนโต๊ะ
224
ปลาหมึกกล้วยสุก
10 ช้อนโต๊ะ
260
กุ้งสุก
8 ช้อนโต๊ะ
195
เนื้อปูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
100
หอยนางรมสุก
4 ตัวขนาดกลาง
100
หอยแครงสุก
15 ตัวขนาดกลาง
67
หอยแมลงภู่สุก
15 ตัวขนาดกลาง
56
หอยเชลล์สุก
7 ตัวขนาดกลาง
61
ประเภท หมู ไก่
เนื้อหมูล้วน
10 ช้อนโต๊ะ
65
เนื้อหมูติดมัน
7 ช้อนโต๊ะ
72
เนื้อหมูติดมัน
10 ช้อนโต๊ะ
93
หมู 3 ชั้น
7 ช้อนโต๊ะ
72
ซี่โครงหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
121
ตับหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
355
ไส้หมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
143
กระเพราะหมูสุก
8 ช้อนโต๊ะ
276
ไตหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
480
ปอดหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
387
หัวใจหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
221
หัวใจหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
2552
แคบหมู
2.5 ถ้วยตวง
95
แคบหมูติดมัน
2.5 ถ้วยตวง
328
เบคอนสุก
10 ช้อนโต๊ะ
85
แฮม
10 ช้อนโต๊ะ
59
กึ๋นไก่
8 ช้อนโต๊ะ
171
เนื้อไก่ล้วนสุก
10 ช้อนโต๊ะ
89
เนื้อไก่ติดหนัง
7 ช้อนโต๊ะ
75
ตับไก่สุก
10 ช้อนโต๊ะ
631

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ”สมองและระบบประสาท"
Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง(EEG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

Electroencephalography
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองคืออะไร
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองหรือ EEG เป็นการบันทึกสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากผลรวมของกระแสไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์ในสมอง ผลการตรวจจะปรากฏในรูปแบบกราฟบนแถบกระดาษหรือในจอภาพ (มอนิเตอร์)
ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองมีอะไรบ้าง
  1. ผู้ตรวจติดอิเลคโทรดบนหนังศีรษะในตำแหน่งต่าง ๆ
  2. เมื่อเปิดเครื่องตรวจ สัญญาณไฟฟ้าจากสมอง จะปรากฏเป็นเส้นกราฟบนแถบกระดาษหรือจอภาพตลอดเวลาที่ตรวจ
  3. ผู้ป่วยสามารถนอนหลับตาในขณะตรวจบางครั้ง ผู้ตรวจอาจขอให้ลืมตา หลับตา หายใจเข้าออกลึก ๆ คิดคำนวณ หรือ จำคำต่าง ๆ ขณะตรวจ
  4. ระยะเวลาการตรวจนานประมาณ 1 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านี้ ถ้ามีการตรวจพิเศษ
  5. มักมีการถ่ายวิดีโอไปพร้อมกับการบันทึกคลื่นสมองเพื่อวินิจฉัยได้ดีขึ้น
  6. กรณีเด็กเล็กหรือเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการที่ไม่ให้ความร่วมมือ อาจต้องให้ยานอนหลับ หลังจากนั้นอาจปลุกเด็กให้ตื่น เพื่อตรวจในขณะตื่นด้วย
นอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีวิธีกระตุ้นให้ผิดปกติในคลื่นสมองบางชนิดปรากฏชัดเจนมากขึ้นได้แก่
  1. การหายใจลึกนาน 3 – 5 นาที
  2. ใช้แสงไฟกระพริบฉายที่ใบหน้าผู้ป่วย แสงไฟกระพริบนี้ไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อผู้ป่วย
  3. การอดนอน โดยเข้านอนดึกที่สุดและปลุกให้ตื่นเช้ากว่าปกติ
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจคลื่นสมอง
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจคลื่นสมองสามารถลดเวลาการตรวจคลื่นสมองและไม่ต้องเสียเวลากลับมาทำซ้ำ การเตรียมตัวทำดังนี้
  1. สระผมให้สะอาด ห้ามใส่น้ำมันหรือครีมใดๆ
  2. ถ้ากินยากันชักอยู่ให้กินต่อไปห้ามหยุดยากันชักเองอย่างกะทันหันเพื่อทำการตรวจ ยกเว้นกรณีแพทย์ระบบประสาทบอกให้หยุด
  3. เด็กเล็กผู้ปกครองควรเตรียมขวดนมหรือน้ำ และของเล่นของเด็กมาด้วย
  4. ในเด็ก ถ้าสามารถทำให้เด็กไม่นอนหลับก่อนมาตรวจเด็กอาจหลับได้ขณะที่ทำการตรวจโดยไม่ต้องให้ยานอนหลับ
การตรวจคลื่นสมองในผู้ป่วยโรคลมชักจะพบความผิดปกติเสมอหรือไม่
ผู้ป่วยโรคลมชักอาจตรวจไม่พบความผิดปกติในการตรวจคลื่นสมองเพียงครั้งเดียว ดังนั้นผลการตรวจที่ปกติไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นโรคลมชัก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

รู้ไว้ใช่ว่า : ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ

รู้ไว้ใช่ว่า : ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ

Child's delayed language or speech development
ลูกเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ พัฒนาการของลูกเป็นสิ่งที่คนเป็นพ่อเป็นแม่ตั้งหน้าตั้งตารอคอย เวลาลูกเรียกหาเราคงจะยิ้มหน้าบานไม่หุบเลย แต่ เอ๊ะ! ทำไมลูกเรายังไม่เรียก “พ่อ” “แม่” ซักที อย่างนี้ผิดปกติรึเปล่านะ? เราไปหาคำตอบกันค่ะว่าลูกพูดช้าแบบไหนต้องรีบใส่ใจพามาหาหมอ
ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ ?
ช่วงอายุ
ข้อควรสังเกต
แรกเกิด – 4 เดือน
ไม่ตอบสนองต่อเสียงในช่วงที่เด็กกำลังตื่นดี
อายุ 5 - 7 เดือน
ส่งเสียงน้อย หรือไม่ส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบกับผู้เลี้ยงดู
อายุ 8 - 12 เดือน
ไม่หันหาเสียง ไม่ทำเลียนเสียงพยัญชนะอื่นนอกจาก “อ”
อายุ 15 เดือน
ไม่พูดคำที่มีความหมายอย่างน้อย 1 คำ
อายุ 18 เดือน
ไม่เข้าใจหรือทำตามคำสั่งอย่างง่าย ไม่พูดคำที่มีความหมาย 3 คำ
อายุ 2 ปี
ไม่พูดคำที่มีความหมายต่างกัน 2 คำต่อเนื่องกัน พูดคำศัพท์ได้รวมน้อยกว่า 50 คำ
อายุ 2 ปีครึ่ง
ไม่พูดเป็นวลียาว 3-4 คำ ยังทำเสียงไม่เป็นภาษา
อายุ 3 ปี
ไม่พูดเป็นประโยคสมบูรณ์ คนอื่นฟังภาษาที่เด็กพูดส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ
อายุ 4 ปี
เล่าเรื่องสั้นๆไม่ได้ คนอื่นยังฟังภาษาที่เด็กพูดได้ไม่เข้าใจเกินร้อยละ 25
ถ้าลูกรักเข้าข่ายเฝ้าระวังข้างต้นแล้วละก็ อย่ารอช้ารีบพามาพบกุมารแพทย์เพื่อได้รับการตรวจพัฒนาการ ตรวจการได้ยิน และกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างทันท่วงทีนะคะ
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถติดตามดูพัฒนาการทางภาษาและพัฒนาการด้านอื่นๆของลูกด้วยตัวเองได้จากหนังสือคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ที่ได้รับแจกจากโรงพยาบาล หรือสามารถดาวน์โหลดได้ที่ QR codeนี้เลยค่ะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

e-Light ฟื้นฟูผิวให้อ่อนเยาว์และยกกระชับใบหน้า

ฟื้นฟูผิวให้อ่อนเยาว์ ยกกระชับใบหน้าและลำคอ ด้วย e-Light

e-Light (Intense Pulse Light combine Radio Frequency)
e-Light เป็นการรักษาผิวพรรณโดยผ่านเทคโนโลยี 2 ชนิด ผสานการทำงานร่วมกัน คือ พลังงานแสง (IPL) และคลื่นวิทยุที่เหนี่ยวนำประจุไฟฟ้า (RF) พร้อมกับ Cooling การปรับอุณหภูมิให้ผิวผ่อนคลาย ให้ทำงานพร้อมๆกัน เพื่อปรับสภาพ ฟื้นฟูผิวพรรณคืนความสดใสอ่อนเยาว์ จากการทำร้ายของแสงแดดและเวลา ทำให้การรักษามีความอ่อนโยน ปลอดภัยต่อผิว ใช้เวลาในการรักษาน้อย (15 นาที) เห็นผลเร็ว สามารถสังเกตเห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้หลังการรักษา

ประสิทธิภาพในการทำงาน

1.ฟื้นฟูผิวให้อ่อนเยาว์ (Rejuvenation)
  • แก้ปัญหาริ้วรอยบนใบหน้า ที่เกิดจากความผิดปกติ เช่น รอยแดง(Erythema) ,รอยแดงจากสิว(Rosacea) ,มีเส้นเลือดฝอยผิดปกติ(Telangiectasia)
  • ปรับสีผิวให้เรียบเนียนสม่ำเสมอ สีผิวไม่เรียบ(Poikiloderma)
  • ลบเลือนจุดด่างดำ เช่น มีเม็ดสีคล้ำ(Hyperpigmentation) ,สีผิวไม่สม่ำเสมอ(Dyschromia) ,ผิวตกกระ จากแสงแดด(Lentigines) นอกจากนี้ยังช่วยให้ฝ้าจางลง
  • กระชับรูขุมขน และเพิ่มความยืดหยุ่น ลดริ้วรอย
  • คืนความอ่อนเยาว์ให้กับผิว
2.ยกกระชับใบหน้าและลำคอ (Skin Tightening)
ST Applicator เป็นการนำพลังงานบริสุทธิ์ที่ใช้นั้นคือ การรวมเอาพลังงานอินฟราเรด (IR) และ RF มาผสานเป็นหนึ่งเดียว เพื่อประโยชน์ คือ
  • ยกกระชับใบหน้าและลำคอ(Skin Tightening)
  • สามารถยกกระชับ ร่องแก้ม ถุงใต้ตา คอ หางตา หน้าผาก มือ หน้าท้องลาย
  • สามารถใช้ได้ดีในทุกสีสภาพผิวคนไข้(all skin type)
ข้อดีของ e-Light จากการผสานพลังงานเป็นหนึ่งเดียวในการทำงาน (ELŌS™ Technology)
  • ใช้เวลาในการรักษาน้อย เพราะทำงานไปพร้อมกันทั้ง IPL และ RF
  • ปลอดภัย ลดอาการข้างเคียง (burn) ที่เกิดจาการทำ IPL หรือ RF อย่างเดี่ยวๆ เหมาะสำหรับผิวคนเอเชีย
  • ให้ผลการรักษาที่ดีกว่า การใช้พลังงานเดี่ยวๆ
  • สะดวก ในการรักษาทั้งหมอและคนไข้
ขั้นตอนการทำสะดวกมาก เพียงแค่
  1. ล้างหน้าให้สะอาดหมดจด ปราศจากเครื่องสำอาง
  2. เคลือบผิวด้วย Water Base Gel
  3. ยิงแสงของ e-Light ลงบนผิวหน้า
ขณะรักษาจะได้ความรู้สึกเหมือนถูกดีดเบาๆที่ผิว เมื่อทำเสร็จอาจจะรู้สึกอุ่นๆที่ผิวเล็กน้อย ผิวอาจมีสีชมพู หรือแดงขึ้นนิดหน่อย ถ้าบริเวณที่มีกระหรือจุดด่างดำ สีจะเข้มขึ้น และจะกลายเป็นสะเก็ดบางๆในวันรุ่งขึ้น และลอกออกภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจุดด่างดำและกระจะจางลงหรือหายไป และไม่ก่อให้เกิดรอยแผลทิ้งไว้เหมือน laser รุ่นเก่าๆ หลังจากทำเสร็จสามารถแต่งหน้าได้ตามปกติ เมื่อทำหลายๆครั้ง จุดด่างดำ กระ และความผิดปกติของสีผิวจะจางลง หน้าดูใสและเนียนขึ้น
ในระยะแรก แนะนำให้ทำติดต่อกันประมาณ 5 ครั้ง ห่างกันทุก 2-4 สัปดาห์
ข้อแนะนำและการดูแลหลังการรักษา
  • หลังการรักษาสามารถแต่งหน้า และปฏิบัติตัวได้ตามปกติ
  • หลีกเลี่ยงการโดนแดดจัด 2 อาทิตย์หลังทำ และควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงกว่า 30
  • ห้ามแกะสะเก็ดที่เกิดขึ้นหลังการรักษา ต้องปล่อยให้หลุดเอง บริเวณหน้า ประมาณ 1 อาทิตย์ ลำตัวประมาณ 2 อาทิตย์
  • หากมีการเข้มขึ้นของเม็ดสีบนผิวหน้า 2-3 วันแล้วไม่จางลง ไม่ต้องตกใจ ให้มารับการรักษาตามปกติ แล้วเม็ดสีที่เข้มขึ้นจะค่อยๆจางลงหรืออาจหายไป
หมายเหตุ
Skin impedence control เป็นระบบควบคุมความปลอดภัยให้กับผิวของคนไข้ เพื่อป้องกัน ความร้อนที่มากเกินไปจากการใช้พลังงานที่สูง โดยเครื่องจะมีระบบวัดและตัดพลังงานโดยอัตโนมัติ จากการตั้งค่า ISL ซึ่ง elōs™ Technology เป็นระบบเดียวที่ทำได้ จึงลดความเสี่ยงในเรื่อง burn อีกทั้งยังเป็นตัว feedback parameter ที่ใช้ ให้กับแพทย์อีกด้วย

โปรแกรมและแพ็คเกจ

มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาได้

มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาได้

Breast Cancer
มะเร็งเต้านมปัจจุบันพบมากเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทยการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องสามารถมีโอกาสหายขาดได้สูง มะเร็งเต้านมอาจมีอาการได้หลายแบบแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน  ดังนั้นสตรีทั่วไปจึงควรหมั่นคอยสังเกตอาการและตรวจเต้านมตนเองเป็นประจำ เพื่อที่จะได้ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ และได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้วมักมีผลการรักษาที่ไม่ดี
ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
  • ผู้หญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
  • ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาเร็ว และหมดช้า หรือใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานานกว่า 10 ปี
  • ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ และได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่น
    การรักษาอย่างถูกต้องสามารถมีโอกาสหายขาดได้สูง

อาการผิดปกติของเต้านมที่อาจเกิดจากมะเร็งเต้านม
  • เต้านมโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ขนาดของเต้านมที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโตขึ้นข้างเดียว อาจเกิดจากการที่มีก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งเต้านมที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วในเต้านมข้างนั้น ทำให้เต้านมข้างนั้นมีขนาดโตมากกว่าอีกข้างหนึ่ง
  • รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป
    รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยไม่เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อน อาจเกิดจากการที่เคยมีการอักเสบของเต้านมมาก่อนแล้วเกิดการดึงรั้ง เต้านมผิดรูป นอกจากนี้อาจเกิดจากก้อนมะเร็งที่เต้านมทำให้รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงได้
  • มีก้อนที่เต้านม
    การคลำเจอก้อนที่เต้านมเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ดังนั้นจึงแนะนำสตรีทั่วไปหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองเสมอ
  • มีรอยบุ๋มที่เต้านม
    การมีรอยบุ๋มที่ผิวหนังเต้านมในผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดที่เต้านมมาก่อน อาจเกิดจากมะเร็งเต้านมทำให้เกิดการดึงรั้งของเอ็นภายในเต้านมที่ยึดระหว่างผิวหนังกับทรวงอก เกิดเป็นรอยบุ๋มขึ้นที่ผิว
  • การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเต้านม
    การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณเต้านม เช่น อาการบวมแดง มีแผล อาจพบว่าเกิดจากการมีมะเร็งที่เต้านมลุกลามมาที่ผิวหนังทำให้เกิดการบวมแดงหรือบางครั้งอาจมีแผลร่วมด้วยและเป็นแผลที่รักษาไม่หาย  อาการบวมแดงของเต้านมยังอาจเป็นการแสดงของมะเร็งเต้านมชนิดลุกลามเฉพาะที่ซึ่งจะมีการบวมแดงของผิวหนังเต้านมเป็นบริเวณกว้างหรืออาจมีแผลร่วมด้วยก็ได้
  • มีแผลที่บริเวณหัวนม
    แผลที่เกิดที่บริเวณเต้านมหรือฐานหัวนมหรือฐานหัวนมนั้นอาจมีสาเหตุจากมะเร็งเต้านมชนิดหนึ่งเรียกว่า Paget disease of the nipple โดยจะเป็นแผลสีแดงที่บริเวณหัวนม
  • หัวนมบุ๋มเข้าไปในเต้านม
    การมีหัวนมที่บุ๋มเข้าไปในเต้านมโดยที่ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิดและไม่เคยได้รับการผ่าตัดที่เต้านมมาก่อน อาจมีสาเหตุมาจากมะเร็งเต้านมที่ลุกลามไปยังหัวนมและทำให้เกิดการดึงรั้งจนหัวนมบุ๋มลงไปได้ ซึ่งมักเกิดจากมะเร็งบริเวณใกล้กับหัวนม
  • การมีน้ำออกทางหัวนม
    อาการมีน้ำหรือน้ำนมออกทางหัวนมในผู้ที่ไม่ได้ให้นมบุตร อาจเป็นอาการหนึ่งของมะเร็งเต้านม ซึ่งมักสัมพันธ์กับความผิดปกติของท่อน้ำนมร่วมด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเรื้อรังเป็นๆ หายๆ ลักษณะน้ำอาจเป็นสีเหลืองใสหรือเป็นน้ำปนเลือด
  • คลำพบก้อนที่บริเวณที่รักแร้
    นอกจากอาการที่เต้านมแล้ว ในบางครั้งมะเร็งเต้านมอาจตรวจไม่พบก้อนที่เต้านม แต่มีต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้และคลำพบได้ ซึ่งเกิดจากมะเร็งเต้านมกระจายไป
  • อาการเจ็บเต้านม
    อาการเจ็บเต้านมในบางครั้งอาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับรอบเดือน ในช่วงใกล้มีประจำเดือนหรืออาจเกิดจากการอักเสบติดเชื้อที่เต้านม แต่ในบางกรณีอาจพบว่าเป็นอาการของมะเร็งเต้านมและอาจพบก้อนที่เต้านมร่วมด้วย โดยมักเจ็บที่บริเวณก้อนที่พบ
ผู้ที่มีอาการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม จึงแนะนำว่าควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

การผ่าฟันคุด

การผ่าฟันคุด

Impacted Tooth
ฟันคุด (Impacted Tooth) หมายถึง ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติ เนื่องจากกระดูกหรือเหงือกที่ปกคลุมหนามาก หรือ ถูกขัดขวางจากฟันข้างเคียง ฟันคุดที่พบได้บ่อย ได้แก่ ฟันเขี้ยวบน ฟันกรามน้อยล่างและฟันกรามใหญ่ซี่ที่สาม ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบฟันคุดได้บ่อยที่สุด เนื่องจากเป็นฟันที่จะโผล่ขึ้นในช่องปากเป็นลำดับสุดท้าย
เมื่อทันตแพทย์ตรวจและวินิจฉัยพบว่าผู้ป่วยมีฟันคุดควรรีบผ่าฟันคุดออก ทั้งนี้ก็เพราะว่า ขณะที่ผู้ป่วยยังมีอายุน้อย (16-21ปี) ร่างกายจะแข็งแรงไม่มีโรคทางระบบใดๆกระดูกที่ปกคลุมตัวฟันยังไม่แข็งมากนักจึงจะง่ายต่อการกรอกระดูกและตัดฟัน (ในรายที่จำเป็น) มีการซ่อมแซมบาดแผลได้ดีกระดูกสร้างตัวได้เร็วแผลผ่าตัดจึงหายได้เร็ว ภาวะแทรกซ้อนน้อยและผลเสียที่จะเกิดกับเนื้อเยื่อปริทันต์ของฟันกรามซี่ที่อยู่ข้างเคียงน้อย
เหตุใดจึงควรผ่าฟันคุด
  1. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน
  2. เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ หรือเกิดโรคปริทันต์
  3. เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำ และเนื้องอกบริเวณขากรรไกร
  4. เพื่อป้องกันการเกิดฟันซ้อนเกหลังการจัดฟัน
สิ่งที่ควรทราบก่อนการตัดสินใจผ่าฟันคุด
ในการผ่าฟันคุดทุกครั้งจำเป็นต้องมีภาพถ่ายรังสี เพื่อประเมินแนวการวางตัวของฟันและรากฟัน พยาธิสภาพและลักษณะของกระดูกที่รองรับฟัน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างฟันและเนื้อเยื่อที่สำคัญข้างเคียง เช่น เส้นประสาท เส้นเลือด
ไซนัส ฟันข้างเคียง เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัด
  • เลือดออกผิดปกติ
  • การเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการชาบริเวณคาง/ริมฝีปาก/ลิ้น (1-6เดือน) ขึ้นกับความสัมพันธ์ของรากฟันและเส้นประสาทของแต่ละบุคคล
  • แผลอักเสบติดเชื้อ-บวม
  • อ้าปากได้น้อยกว่าปกติ
  • การเกิดการเชื่อมต่อของช่องปากและไซนัส
ข้อปฎิบัติหลังการผ่าตัดฟันคุด
  1. กัดผ้าก๊อซให้แน่นบริเวณที่ถูกผ่าตัด ประมาณ 1-2 ชม. ถ้ามีเลือดหรือน้ำลายซึมออกมาให้กลืน
  2. คายผ้าก๊อซออกหลังจากผ่าตัดไปแล้วอย่างน้อย 1ชม. หากยังพบเลือดซึมออกมาให้กัดผ้าก๊อซใหม่ต่ออีกครั้งละ ประมาณ ½ -1 ชม.
  3. หลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำลาย บ้วนน้ำ ตลอดวัน ที่ผ่าตัด
  4. ไม่ดูดแผล และ ใช้ลิ้นดุนบริเวณแผล เพราะจะทำให้เลือดซึมออกมาได้อีกครั้ง
  5. รับประทานยาตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
  6. ช่วงสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อนหรือเหลว และหลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัด/เย็นจัด
  7. มาตามนัดตัดไหมประมาณ 7-10 วัน หลังการผ่าตัด
  8. หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรกลับมาปรึกษาทันตแพทย์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

จอประสาทตาหลุดลอก

จอประสาทตาหลุดลอก

Retinal Detachment
เป็นอาการที่รุนแรงและส่งผลต่อการมองเห็น โดยเกิดขึ้นเมื่อจอประสาทตาแยกออกจากเนื้อเยื่อที่ยึดอยู่ภายใต้จอประสาทตา เมื่อเนื้อเยื่อเหล่านี้แยกออกจากจอประสาทตา จะทำให้จอประสาทตาไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และหากปล่อยไว้โดยไม่มีการรักษาก็จะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด
โรคจอประสาทตาหลุดลอกชนิดที่พบได้มากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อมีรอยแยกในเนื้อเยื่อชั้นที่รับความรู้สึกของจอประสาทตา ทำให้ของเหลวไหลซึมออกมา ส่งผลให้ชั้นเนื้อเยื่อของจอประสาทตาหลุดออกจากกัน สำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นมาก และเคยได้รับการผ่าตัดตา หรือเคยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่ดวงตา มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคจอประสาทตาหลุดลอก ผู้ที่มีสายตาสั้นมีโอกาสเป็นโรคจอประสาทตาหลุดลอกได้มากกว่า เนื่องจากผู้ที่มีสายตาสั้นจะมีความยาวของลูกตามากกว่าปกติ ทำให้จอประสาทตาบางและเปราะกว่าปกติ โรคจอประสาทตาหลุดลอกอีกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อเส้นของวุ้นในตา หรือเนื้อเยื่อแผลเป็นทำให้เกิดการดึงรั้งบนจอประสาทตา ทำให้เกิดการหลุดลอก ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคจอประสาทตาชนิดนี้ได้
อาการของโรคจอประสาทตาหลุดลอก
  1. มองเห็นแสงฟ้าแล่บคล้ายไฟแฟลชกล้องถ่ายรูป
  2. มีสิ่งบดบังในการมองเห็น
  3. มองเห็นเหมือนมีอะไรลอยไปมา มีลักษณะเป็นจุดหรือใยแมงมุม
  4. การมองเห็นเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
การตรวจพบในระยะเริ่มต้น เป็นวิธีการรักษาการหลุดลอก และการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ดีที่สุด การทราบถึงคุณภาพของการมองเห็นของท่านเองเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะหากท่านอยู่ในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงสูง เช่น มีสายตาสั้น หรือเป็นโรคเบาหวาน หากท่านสังเกตพบอาการเหล่านี้ ควรไปพบจักษุแพทย์โดยทันที

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

คลายข้อสงสัย “วัคซีนมะเร็งปากมดลูก”

คลายข้อสงสัย "วัคซีนมะเร็งปากมดลูก"

ถาม HPV คืออะไร และติดต่อได้อย่างไร
ตอบ HPV (Human papillomavirus) เป็นไวรัสตระกูลหนึ่งซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โดยมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งที่อวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก และมะเร็งบริเวณหลอดอาหาร นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ได้ ผู้หญิงและผู้ชายจะติดเชื้อ HPV ชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะเคยได้รับเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
ถาม การป้องกันตนเองจากมะเร็งปากมดลูก
ตอบ ผู้หญิงควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 21 ปี ซึ่งการตรวจจะทำให้สามารถพบปัญหาที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV ก่อนที่จะเกิดรอยโรคระยะก่อนมะเร็งได้
การติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 90% หนทางเดียวที่จะสามารถป้องกันจากการติดเชื้อ HPV ได้อย่างแน่นอนคือ การงดมีเพศสัมพันธ์ตลอดชีวิต
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (หรือที่เรียกว่า Human Papillomavirus หรือ HPV วัคซีน) เป็นวัคซีนป้องกันไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
ถาม วัคซีนมะเร็งปากมดลูกคืออะไร
ตอบ วัคซีนมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก ผลิตจากโปรตีนที่เปลือกหุ้มเชื้อไวรัส ปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด คือ

  • ชนิด 2 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 16 และ 18) มีชื่อการค้าว่า Cervarix ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70%
  • ชนิด 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16 และ 18) มีชื่อการค้าว่า Gardasil ป้องกันมะเร็งปากมดลูก และหูดที่อวัยวะเพศ
  • ชนิด 9 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58) มีชื่อการค้าว่า Gardasil 9 โดยสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกและหูดได้ประมาณ 90% รวมทั้งป้องกันมะเร็งทวารหนักได้ประมาณ 80%
ถาม วัคซีน HPV ต้องฉีดกี่เข็ม ป้องกันได้นานเท่าใด
ตอบ วัคซีนจะฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อสะโพก โดยต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็มกรณี อายุ

  • สำหรับเด็กอายุ 9 -<15 ปี ฉีด 2 เข็มคือ ที่ 0 เดือนและ 6 เดือน
  • สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15-26 ปี ฉีด 3 เข็มคือ ที่ 0 เดือน 2 เดือนและ 6 เดือน
  • ทั้งนี้วัคซีนจะมีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อหลังฉีดครบ 3 เข็มไปแล้ว 1 เดือน อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า วัคซีนจะช่วยป้องกันโรคได้นานแค่ไหน แต่จากการศึกษาพบว่าระดับภูมิคุ้มกันยังคงสูงต่อเนื่องหลายปีจึงยังไม่ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำ
    สำหรับการให้วัคซีน HPV แบบ 2 เข็ม ข้อมูลในปัจจุบันพบว่า น่าจะเพียงพอในผู้หญิงที่อายุยังน้อย โดยแนะนำให้ใช้ในผู้หญิงอายุ 9-15 ปีเท่านั้น โดยสาหรับบุคคลที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำยังคงต้องได้รับวัคซีน 3 เข็ม

    ถาม ใครควรจะฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกบ้าง
    ตอบ ในทางอุดมคติ ควรเริ่มให้วัคซีนตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก อย่างไรก็ตามในผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนการได้รับวัคซีนก็ยังพบว่ามีประโยชน์ ตามแนวทางปฏิบัติแล้วคือ

    • แนะนำให้ฉีดในเด็กหญิงอายุ 11-12 ปีทุกราย หรือสามารถเริ่มให้วัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
    • การให้วัคซีนแนะนำในเด็กหญิงและผู้หญิงอายุ 13-45 ปีที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน โดยจากการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงอายุ 9-45 ปีพบว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง

    สำหรับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ควรมีการคุยระหว่างแพทย์และผู้รับบริการถึงความเสี่ยงที่ผู้รับบริการอาจเคยได้รับเชื้อ HPV มาก่อนและประโยชน์ที่จะได้รับจากวัคซีน ผู้รับวัคซีนต้องทำความเข้าใจว่า วัคซีนไม่สามารถกาจัดเชื้อไวรัส HPV ในกรณีที่มีการติดเชื้อเรื้อรังมาก่อนฉีดได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันพบว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนการฉีดวัคซีน สำหรับประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดำเนินโครงการฉีดวัคซีน HPV ฟรีให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นวัยเหมาะสมที่สุดในการรับวัคซีนนี้แล้ว โดยเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 2560

    ถาม ทำไมวัคซีนมะเร็งปากมดลูกจึงแนะนำให้ใช้ในเด็ก
    ตอบ เนื่องจากวัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในเด็กหรือผู้หญิงที่ไม่เคยได้รับการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่วัคซีนครอบคลุมมาก่อน ดังนั้นเด็กหญิงและผู้หญิงที่ไม่เคยติดเชื้อเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์เต็มที่จากการฉีดวัคซีน
    ถาม กลุ่มที่ไม่ควรรับวัคซีน
    ตอบ ไม่ควรฉีดวัคซีนหากยังมีอาการเจ็บป่วยหรือมีประวัติแพ้ยีสต์หรือตั้งครรภ์อยู่
    ถาม ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วจะได้ประโยชน์จากวัคซีนหรือไม่
    ตอบ ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ยังคงได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนอยู่ แต่อาจจะน้อยกว่า เนื่องจากผู้หญิงเหล่านี้อาจจะเคยได้รับเชื้อ HPV บางสายพันธุ์มาแล้ว
    Gardasil และ Cervarix จะป้องกัน HPV จำเพาะบางสายพันธุ์แต่ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่เคยสัมผัสกับสายพันธุ์เหล่านี้มาก่อน ถ้าหากยิ่งมีจำนวนคู่นอนมากเท่าไหร่โอกาสในการติดเชื้อ HPV หลายสายพันธุ์ก็ยิ่งมีมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 18-45 ปีบอกถึงประวัติเพศสัมพันธ์กับแพทย์เพื่อดูว่าประเมินถึงประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีน
    ถาม วัคซีนมีความปลอดภัยหรือไม่
    ตอบ มีการศึกษาว่าวัคซีนมีความปลอดภัยค่อนข้างมาก ไม่พบว่ามีไวรัสที่มีชีวิตเหลืออยู่ในวัคซีน ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยหลังฉีดยาคือ มีแดงและเจ็บบริเวณที่ฉีดยา อาการปวดหัว (คล้ายกับจะเป็นไข้หวัด) ก็พบได้บ่อย อาจพบมีไข้ได้ อาการปวดและมีไข้สามารถบรรเทาโดยการให้ยาได้ แต่ก็คล้ายคลึงกับยาทั่วไปก็คือยังคงต้องเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้วัคซีนต่อไป
    ถาม มีวัคซีนสาหรับเด็กชายหรือผู้ชายหรือไม่
    ตอบ ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ผู้ชายก็สามารถฉีดวัคซีน HPV ได้ เพราะแม้จะไม่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก แต่หากไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่มีเชื้อ HPV แล้วได้รับเชื้อมา ก็สามารถแพร่เชื้อต่อไปยังคู่นอนคนอื่นได้เช่นกัน ซึ่งในต่างประเทศมีการรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ทั้งในเพศหญิงและเพศชายบ้างแล้ว เช่น องค์กรควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้เด็กชายอายุ 11-12 ปี ฉีดวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ เพื่อป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนัก
    ถาม หลังฉีดวัคซีนแล้วจะมีเพศสัมพันธ์ได้เลยไหม
    ตอบ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ แต่ควรคุมกาเนิดด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใส่ถุงยางอนามัย จนกระทั่งฉีดครบ 3 เข็มไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน เพราะความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อจะเกิดขึ้นภายใน 1 เดือน หลังฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม
    ถาม หลังฉีดวัคซีนแล้วจำเป็นต้องตรวจหามะเร็งปากมดลูก (PAP smear) อีกหรือไม่
    ตอบ ปัจจุบันยังคงแนะนำให้ปฏิบัติตามแนวทางตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ
    ถาม การป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีต่างๆ
    ตอบ HPV แพร่กระจายผ่านการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ HPV ทำได้โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ควรจำกัดจานวนคู่นอน การไม่สูบบุหรี่ก็จะช่วยได้เนื่องจากการสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึงสองเท่า
    ในการค้นหารอยโรคก่อนการเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น ผู้หญิงควรตรวจภายในประจำปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติที่อาจเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ช่วงใกล้วัยหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว มีตกขาวกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน ปวดท้องน้อย หรือ เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
    ถาม ถุงยางอนามัยกับการแพร่เชื้อ HPV
    ตอบ การศึกษาปัจจุบันพบว่าการใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำจะช่วยลดการติดเชื้อ HPV อย่างไรก็ดีเนื่องจากถุงยางอนามัยไม่สามารถปกปิดบริเวณที่เป็นจุดแพร่กระจายของ HPV ได้ทั้งหมด มันจึงไม่อาจให้การป้องกันได้เต็มที่ ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัย ในบางครั้งอาจจะไม่สามารถป้องกัน HPV ได้ ควรตระหนักว่าในการป้องกันการติดเชื้อ HPV นั้นควรจะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะมั่นใจในความสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยจะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เมื่อใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และใช้อย่างถูกวิธี
    ถาม จะรู้ได้อย่างไรว่ามีการติดเชื้อ HPV
    ตอบ ในคนที่ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ หนทางเดียวที่จะทราบได้ว่าคุณมีเชื้อ HPV ก็คือทดสอบหาไวรัสโดยตรงจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือใช้อุปกรณ์สำหรับตรวจด้วยตนเองที่บ้าน การติดเชื้อ HPV ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกไปเป็นรอยโรคก่อนการเป็นมะเร็งหรือมะเร็งปากมดลูก เชื้อ HPV อาจจะปรากฏในช่วงเวลาเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปีหลังจากได้รับเชื้อครั้งแรก ซึ่งก็คือความสำคัญว่าทาไมจึงจำเป็นต้องตรวจอย่างสม่ำเสมอ
    ถาม HPV สามารถรักษาได้หรือไม่
    ตอบ ในปัจจุบันไม่มีการรักษาสำหรับไวรัส แต่มีการรักษาสำหรับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกที่เกิดจาก HPV
    สรุป
    คุณผู้หญิงควรตรวจภายในประจาปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 21 ปี ซึ่งการตรวจจะทำให้สามารถพบปัญหาก่อนที่จะเกิดโรคในระยะก่อนมะเร็งได้ การติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 90% นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ช่วงใกล้วัยหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว มีตกขาวกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน ปวดท้องน้อย หรือ เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)

    โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน

    โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (HNP)

    Herniated Nucleus Pulposus
    อาการปวดหลังบริเวณหลังส่วนล่างเป็นอาการที่พบได้บ่อย สาเหตุอย่างหนึ่งคือ โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุของการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลก
    อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนจะแตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกกด โดยมีอาการหลักๆ ดังนี้
    • ปวดร้าวตามเส้นประสาท
    • ปวดหลังส่วนล่าง
    • ชาตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
    • อ่อนแรงตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
    • งอตัวลำบาก งอหลังได้ไม่สุด
    • ปวดเมื่อทำกิจกรรม เช่น ออกแรง ไอ จาม
    • ปวดมากเวลานั่ง
    85-90% ของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทที่มีอาการอย่างเฉียบพลัน อาการจะทุเลาเองใน 6-12 สัปดาห์โดยไม่ต้องผ่าตัด ในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติม
    ควรส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติมเมื่อสงสัยว่าอาจมีอื่นโรคร่วม
    อาการที่พึงระวัง ได้แก่
    • มีไข้
    • อายุมากกว่า 50 ปี
    • มีประวัติอุบัติเหตุนำมาก่อน
    • มีอาการปวดตอนกลางคืนหรือขณะพัก
    • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
    • ตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาทที่เป็นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
    • มีอาการชารอบทวารหนัก (saddle anesthesia)
    • มีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็งหรือกระดูกพรุน
    • หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังจากการรักษาแล้วไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์
    การส่งตรวจเพิ่มเติมจะประกอบไปด้วยภาพเอกซเรย์กระดูกสันหลังบริเวณเอว โดยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomographic, CT scan) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
    ภาพเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทข้อที่ 4 ต่อ 5
    การรักษา
    เนื่องจากอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างมักหายได้เองใน 6-8 สัปดาห์ ดังนั้นการรักษาขั้นแรกสุด คือการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ยกเว้นในผู้ป่วยบางรายที่ตรวจพบการบกพร่องของระบบประสาทที่มากขึ้น หรือสงสัยภาวะจากโรคกลุ่ม Cauda Equina ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน
    การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
    เป็นการรักษาที่แนะนำเป็นอันดับแรกในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยพักการใช้งานหลัง ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรค สอนวิธีการออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแผ่นหลัง และสั่งยาบรรเทาอาการปวด หรือสั่งการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด
    หากอาการปวดยังเป็นอยู่นานมากกว่า 6 สัปดาห์ แม้จะได้รับการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว อาจพิจารณาการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าในช่องไขสันหลัง เพื่อบรรเทาอาการปวดจากเส้นประสาทในระยะสั้น (ช่วยบรรเทาอาการได้เฉลี่ยประมาณ 2-4 สัปดาห์ขึ้นกับบุคคล)
    การรักษาด้วยการผ่าตัด
    การรักษาด้วยการผ่าตัดแนะนำให้ทำในผู้ป่วยที่อาการป่วยรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และไม่ตอบต่อการรักษาโดยไม่ผ่าตัด
    วิธีการผ่าตัดแบ่งออกหลักๆได้ 2 ประเภท ได้แก่
    1. การเปิดแผลแบบมาตรฐาน (Open Approach) โดยการเปิดแผลเข้าไปตัดหมอนรองกระดูก
    2. การเปิดแผลแบบบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย (Minimal Invasive Approach) เป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง (Tube Access) เป็นการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลาผ่าตัดน้อย เสียเลือดน้อย บาดแผลมีขนาดเล็ก แผลหายไว
    สรุป
    ภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนนั้นพบได้ค่อนข้างบ่อย พบได้ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการปวดหลัง ร้าวลงขา ก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรังตามมาอีกมาก ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังหรือมีอาการที่พึงระวังร่วมด้วย ควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ แพทย์จะพิจารณาว่าต้องส่งตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป
    นอกจากเรื่องกระดูกสันหลังแล้ว การดูแลใส่ใจสุขภาพในแง่อื่นให้ครบถ้วนก็เป็นเรื่องที่สำคัญ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อคัดกรองโรคที่เกิดขึ้นได้แม้ว่าจะยังไม่มีอาการเจ็บป่วย

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Q & A สารพันคำถามเกี่ยวกับโรคต้อกระจก

    สารพันคำถามเกี่ยวกับโรคต้อกระจก

    Q & A Cataract
    เลนส์แก้วตา (Lens) เป็นเลนส์นูนใสอยู่หลังม่านตา มีลักษณะเหมือนเลนส์นูนทั่วไปทั้งด้านหน้า และด้านหลัง โดยด้านหน้าแบนกว่าด้านหลัง มีความหนาประมาณ 5 ม.ม. เส้นผ่าศูนย์ กลาง 9 ม.ม. ทำหน้าที่ร่วมกับกระจกตาในการหักเหแสงจากวัตถุให้ตกโฟกัสที่จอประสาทตา จึงทำให้เกิดการมองเห็น  เมื่อเลนส์แก้วตาเสื่อม แทนที่จะใสกลับขุ่น แก้วตาที่ขุ่นลงนี้ ส่งผลให้กำลังหักเหของแสงผิดไป ตลอดจนขัดขวางไม่ให้แสงเข้าตา ผู้นั้นจึงมองเห็นภาพไม่ชัด นั่นคือโรคที่เรียกกันว่า “ต้อกระจก”
    ถาม โรคต้อกระจกเกิดกับช่วงอายุใดบ้าง
    ตอบ โรคต้อกระจกเกิดได้ทุกวัยตั้งแต่แรกเกิด เพราะมีสาเหตุการเกิดได้หลายอย่างเช่น เด็กแรกเกิดในแม้ที่เป็นหัดเยอรมัน อุบัติเหตุ โรคเบาหวาน แต่โดยทั่วไปที่พบเป็นปกติคือการเสื่อมของเลนส์แก้วตาในผู้ป่วยสูงอายุ หากไม่แน่ใจว่าอาการตามัวเกิดจากโรคต้อกระจกหรือไม่ แนะนำตรวจกับจักษุแพทย์จะได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุด
    ถาม ต้อกระจกถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้ตาบอดได้หรือไม่
    ตอบ ต้อกระจกถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอันดับหนึ่งของประเทศไทยที่สูญเสียการมองเห็นระดับรุนแรง ผู้ป่วยจะตามัวลงเรื่อยๆจนเกิดอาการต้อหินแทรกซ้อนได้ จึงไม่ควรทิ้งไว้จนต้อกระจกแข็งหรือ สุก หากปล่อยต้อกระจกสุกจะทำให้เกิดการอักเสบรุนแรงในตา นำไปสู่โรคต้อหินแทรกซ้อนซึ่งจะทำให้ปวดตา และมองไม่เห็นในที่สุด
    ถาม โรคต้อกระจกสามารถใช้ยาหยอดรักษาให้หายได้จริงหรือไม่
    ตอบ ปัจจุบันการใช้ยาหยอดเพื่อชะลอหรือทำให้ต้อกระจกหายไปนั้น ไม่ได้รับการยอมรับแล้ว ยาดังกล่าวไม่ได้ชะลอหรือทำให้หายได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นต้อกระจก ในกรณีที่ต้อกระจกยังไม่มากและผู้ป่วยยังไม่พร้อมทำ ก็สามารถรอได้ แต่ถ้าต้อกระจกเป็นมาก สมควรทำแล้วก็แนะนำให้ทำเนื่องจากการทิ้งไว้นานทำให้ต้อกระจกแข็งมากขึ้นและยากต่อการสลายต้อกระจก
    ถาม การผ่าตัดต้อกระจก (ECCE) และสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียง (Phacoemulsification) ต่างกันอย่างไร
    ตอบ การผ่าตัดต้อกระจก ECCE เป็นวิธีที่มีมาก่อนการใช้คลื่นเสียงสลายต้อกระจก ต้องฉีดยาชา แผลใหญ่เพราะเอาเลนส์แก้วตาขุ่นออกมาทั้งหมดทางแผล ขนาด 8-10 มม. ต้องเย็บแผลด้วยไหมขนาดเล็กมาก ทำให้เกิดสายตาเอียง เหมาะสำหรับประเทศที่ไม่มีเครื่องสลายต้อกระจก หรือ ต้อกระจกทิ้งไว้นานจนเครื่องสลายไม่สามารถสลายได้ ค่าใช้จ่ายถูกกว่า ส่วนการสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงเป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ใช้เพียงยาชาหยอดตา ยกเว้นในรายที่ผู้ป่วยกลัวมาก หรือมี โรคแทรกซ้อนการฉีดยาชา อาจจำเป็นเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างทำได้ แผลเล็กมากตั้งแต่ 1.8 - 3.0 มม. ขึ้นอยู่กับเครื่องมือและทักษะของแพทย์ผู้รักษา ส่วนใหญ่แผลไม่ต้องเย็บเพราะเล็กมากใช้เวลาการรักษา 5 – 25 นาทีขึ้นกับทักษะของแพทย์ผู้รักษา สามารถฟื้นกลับมาเห็นได้ดีภายใน 6 ชั่วโมง ข้อด้อยคือถ้าทิ้งต้อกระจกไว้นานจนเลนส์แข็งจนเป็นสีดำ หรือสุก เครื่องไม่สามารถสลายได้ ต้องการทักษะของผู้ทำการรักษาสูง และค่าใช้จ่ายมากกว่าการผ่าตัด ECCE เล็กน้อย
    ถาม เลนส์แก้วตาเทียมมีกี่ชนิด และแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
    ตอบ ชนิดของเลนส์แก้วตาเทียม ชนิดแข็ง 5.25 – 7 มม. วัสดุ PMMA เหมาะสำหรับการผ่าตัด ECCE หรือการฝังเลนส์แบบไม่ใส่ในถุงหุ้มเลนส์แก้วตาเทียม เลนส์ชนิดนิ่มพับได้ ผ่านแผลเล็กขนาด 1.8 – 3.0 มม. เหมาะสำหรับการสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียง เลนส์ชนิดแก้สายตาเอียง(Toric IOL) เหมาะสำหรับผู้ที่มีสายตาเอียงมากเช่น 2.0 D ขึ้นไป เลนส์สำหรับมองไกลและอ่านหนังสือ (Multifocal IOL) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องการมองไกลและมองใกล้โดยไม่ต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ แต่ทั้งนี้การเลือกชนิดของเลนส์แก้วตาเทียมควรขึ้นอยู่กับการปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเป็นรายๆไปว่าผู้ป่วยเหมาะสมหรือไม่ต่อเลนส์ชนิดนั้น
    ถาม การผ่าตัดต้อกระจกจะทำให้สายตาสั้น ยาว เอียงหายไปได้หรือไม่
    ตอบ การผ่าตัดหรือการสลายต้อกระจก เพื่อเอาเลนส์แก้วตาที่ขุ่นมัวออก และใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าทดแทนตำแหน่งเลนส์ธรรมชาติ ซึ่งเลนส์แก้วตาเทียมจะแก้ไขภาวะสายตา สั้น ยาว เอียงได้
    ถาม ถ้าเป็นโรคต้อกระจกและโรคต้อหินจะสามารถผ่าตัดโรคต้อหินได้หรือไม่
    ตอบ สามารถผ่าตัดต้อกระจกได้ โดยอาจทำให้โรคต้อหินชนิดมุมม่านตาปิด ดีขึ้นด้วย และเนื่องด้วยการผ่าตัดที่ทันสมัยมากขึ้นบางกรณีสามารถที่จะทำผ่าตัดทั้งโรคต้อกระจกและโรคต้อหิน ในการผ่าตัดครั้งเดียวกันได้โดยช่วยให้ผู้ป่วยลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้และปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้ก่อนการผ่าตัดจักษุแพทย์ผู้รักษาจะให้คำแนะนำที่ชัดเจนได้
    ถาม โรคต้อกระจกป้องกันได้หรือไม่
    ตอบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคต้อกระจก คือผู้สูงวัย อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากความเสื่อมของเลนส์แก้วตา จึงไม่มีตัวยากิน หรือ ยาหยอดตา เพื่อชะลอหรือทำให้ต้อกระจกหายไปได้ แม้ว่าสมัยก่อนจะเชื่อว่ายาหยอดตาเพื่อช่วยชะลอต้อกระจก แต่ปัจจุบันจักษุแพทย์ส่วนใหญ่ไม่ยอมรับกันแล้ว
    อย่างไรก็ตาม ดวงตาเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุเริ่มมากขึ้น โอกาสที่ดวงตาจะถูกคุกคามก็ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากเราไม่ต้องการให้บั้นปลายชีวิตต้องจมอยู่กับความเลือนลางในการมองเห็น การหันมาใส่ใจดูแลดวงตา และพบจักษุแพทย์ทุกๆ 1-2 ปี เพื่อตรวจสุขภาพตา ก็คือสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    ต้อกระจกเป็นโรคความเสื่อมทางธรรมชาติ

    โรคต้อกระจกเป็นโรคความเสื่อมทางธรรมชาติ

    cataract surgery
    มองไม่ชัด❗️ ตาขุ่นมัว❗️เป็นเบาหวาน❗️ หากมีอาการเหล่านี้ คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคต้อกระจก
    หากคุณมีอาการหรือพบสัญญาณเตือน อย่านิ่งนอนใจ
    โรคต้อกระจกเป็นโรคความเสื่อมทางธรรมชาติจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง คนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปก็สามารถเป็นโรคต้อกระจกได้ แต่วัยที่เราพบมากสุด คือ 60 - 70 ปีขึ้นไป

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    โปรแกรมลดปวดด้วย Shockwave

    การรักษาอาการปวดด้วย […]

    โปรแกรม Office Syndrome ออฟฟิศ ซินโดรม

    เลือกโปรแกรมที่เหมาะ […]

    ฝังเข็มรักษาโรค

    การฝังเข็ม (Acupunct […]