โรคอหิวาตกโรค (Cholera)

โรคอหิวาตกโรค (Cholera)

Cholera
โรคอหิวาตกโรค
Cholera
หลังจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การระบาดของโรคอหิวาตกโรคเป็น "ภาวะฉุกเฉินครั้งใหญ่" และพบผู้ป่วยในหลายประเทศเพิ่มขึ้น ประเทศไทยได้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ดังกล่าวมาโดยตลอด
สถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทย
พบผู้ป่วย 4 คนตั้งแต่เดือน ธ.ค.2567 ในพื้นที่ จ.ตาก เป็นชาวต่างชาติ 2 คน คนไทย 2 คน และมีผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการอีก 3 คน (ต่างชาติ 2 คน คนไทย 1 คน) ทั้งหมดได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว และไม่มีผู้เสียชีวิต
กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มงวด ทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี เน้นการป้องกัน เนื่องจากโรคอหิวาตกโรคแพร่กระจายได้ง่าย ผ่านการบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน
จึงต้องเน้นย้ำให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด เช่น กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และเลือกบริโภคอาหารที่ปรุงสุกใหม่
อาการ
ผู้ป่วย จะถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก มีเนื้ออุจจาระน้อย เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันร่วมกับมีอาการและอาการแสดงของการขาดน้ำอย่างรวดเร็วและรุนแรง อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ส่วนใหญ่ไม่มีไข้ ไม่ปวดท้อง
ในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจตายในเวลา 2-3 ชั่วโมง และอัตราป่วยตายสูงมากกว่าร้อยละ 50 แต่ถ้าได้รับการรักษาถูกต้องและทันท่วงที อัตราป่วยตายจะลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 1
การควบคุม
  1. จัดให้มีการสุขาภิบาลในเรื่องการทำลายอุจจาระและการป้องกันแมลงวัน จัดที่สำหรับล้างมือในกรณีที่ไม่มีส้วม ควรกำจัดอุจจาระด้วยการฝัง และที่ฝังจะต้องห่างจากแหล่งน้ำดื่มน้ำดื่มควรต้มหรือใส่คลอรีน น้ำใช้ควรได้จากแหล่งที่สะอาด
  2. ควบคุมแมลงวันโดยใช้มุ้งลวด พ่นยาฆ่าแมลง หรือใช้กับดัก ควบคุมการขยายพันธุ์ด้วยการเก็บและทำลายขยะโดยวิธีที่เหมาะสม
  3. ระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงใหม่หรือแน่ใจว่าสะอาด การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
  4. นมหรือผลิตภัณฑ์นมควรผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หรือการต้มก่อน ให้คำแนะนำเรื่องการควบคุมการผลิต การเก็บรักษา และการจัดจำหน่ายให้ถูกสุขลักษณะ
  5. ควบคุมการผลิตอาหาร และเครื่องดื่มให้เหมาะสม ให้ใช้น้ำผสมคลอรีนในงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
  6. ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังท้องที่ ซึ่งมีความเสี่ยงในการติดโรคสูงอาจกินยาปฏิชีวนะ จะช่วยป้อง กันโรคได้ สำหรับระยะเวลาสั้นๆ เช่น ภายใน 2 สัปดาห์แต่เชื้ออาจดื้อยาได้
  7. การให้วัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในขณะที่มีการระบาดปัจจุบันไม่แนะนำให้ใช้แล้วเพราะสามารถป้องกันได้เพียงร้อยละ 50 และมีอายุสั้นเพียง 3-6 เดือน สำหรับวัคซีนชนิดกินที่ให้ภูมิคุ้มกันสูงต่อเชื้ออหิวาต์สายพันธุ์ o1 ได้หลายเดือนมีใช้แล้วหลายประเทศ มีสองชนิด ชนิดแรกวัคซีนเชื้อยังมีชีวิตกินครั้งเดียว (สายพันธุ์ CVD 103-HgR) ส่วนชนิดที่สองเป็นเชื้อตายแล้วประกอบด้วยเชื้ออหิวาห์ตายแล้วกับ cholera toxin ชนิด B-subunit กิน 2 ครั้ง
  8. การป้องกันการระบาดในสถานเลี้ยงเด็กเล็ก โดยรักษาความสะอาดสถานที่ข้าวของเครื่องใช้ เจ้าหน้าที่ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ แยกผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงและเพาะเชื้อหาสาเหตุของการป่วย
  9. มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายประชากร อาหาร และสินค้าอื่นๆ ไม่นิยมทำนอกจากมีข้อ บ่งชี้ชัดเจน
การป้องกันโรค
  • กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
  • เป็นวิธีป้องกันโรคที่ง่ายที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • เลือกบริโภคอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ
  • ดื่มน้ำสะอาดที่ผ่านการต้มหรือน้ำบรรจุขวดรักษาความสะอาด
  • ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  • หากมีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ทันที

ฝุ่น PM2.5 ภัยอันตรายอาจจะกลายเป็น “มะเร็งปอด”

ฝุ่น PM2.5 ภัยอันตรายอาจจะกลายเป็น “มะเร็งปอด”

ฝุ่น PM2.5 ภัยอันตรายอาจจะกลายเป็น “มะเร็งปอด”
สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ที่มีระดับพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ตา และผิวหนัง เมื่อเจอกับสถานการณ์ฝุ่นแบบนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
เราจะมาคุยกับคุณหมอ...เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝุ่นตัวร้ายอย่างถูกต้อง และปลอดภัย
รู้จัก PM 2.5
PM 2.5 มาจากคำว่า Particulate matter ซึ่งคือ ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือขนาดประมาณ 1 ใน 25ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม เมื่อเราหายใจเอาฝุ่นเหล่านี้เข้าไป จะสามารถหลุดรอดการกรองจากจมูก และผ่านลงไปในถุงลมปอด เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต รวมถึงอวัยวะอื่นๆ นอกจากนี้มักพบสารก่อมะเร็งและโลหะหนักที่เป็นอันตรายเกาะอยู่ด้วย
ฝุ่นละอองทำให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง ?
เราสามารถพบผู้ป่วยที่มีอาการดังต่อไปนี้
  • ไอ, จาม, มีน้ำมูก, เจ็บคอ, มีเสมหะ ภูมิแพ้, ไซนัส, หายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก
  • หลอดลมอักเสบ, หายใจมีเสียงดังอึด ๆ, ปอดอักเสบเกิดพังผืด, โรคถุงลมโป่งพอง
  • โรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจ และ มะเร็งปอด
กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วย
  • ผู้สูงอายุ
  • เด็กเล็ก
  • ผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์
  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับปอด และระบบทางเดินหายใจ
อาการและผลกระทบ
ระยะสั้น :
ทำให้ระคายเคืองตา ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ อาการภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ ทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น ผิวหนังอักเสบมีผื่นคันที่ผิวหนัง
ระยะยาว :
การทำงานของปอดแย่ลง เสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย
การป้องกันวิธีการรับมือกับ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทางราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ร่วมกับ 5 สมาคมวิชาชีพเวชกรรม ออกคำแนะนำการปฎิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤตฝุ่น PM2.5
  1. หมั่นตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งข้อมูลของรัฐและเอกชนอย่างสม่ำเสมอ หรือใช้เครื่องวัดปริมาณฝุ่นแบบพกพา เพื่อวางแผนกิจวัตร ประจำวันให้เหมาะสมและให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส สูด PM2.5 โดยการจัดให้มีพื้นที่ปลอดภัย (safety zone)
  2. เมื่อค่า PM2.5 ในขณะนั้น (ค่ารายชั่วโมง) ขึ้นสูงเกินเกณฑ์ คือ
    1. สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กลุ่มเสี่ยงควรงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง บุคคลทั่วไปควรลดและปรับเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
    2. สูงกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนควรงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง ยกเว้นผู้ที่ต้องทำหน้าที่บริการสาธารณะกลางแจ้งให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา
    3. สูงกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนควรอยู่ในตัวอาคารซึ่งติดตั้งระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ยกเว้นผู้ที่ต้องทำหน้าที่บริการสาธารณะกลางแจ้ง ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา และจำกัดช่วงเวลาปฏิบัติงาน ไม่ให้เกินครั้งละ 60 นาที
  3. ขณะที่ปริมาณฝุ่นภายนอกขึ้นสูง ภายในตัวอาคารควรจัดให้มีระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
  4. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงลดโอกาสเจ็บป่วย แต่ขณะที่ปริมาณฝุ่นขึ้นสูงควรหลีกเลี่ยงหรือลดเวลาการออกกำลังกายกลางแจ้ง ตามระดับเตือนภัยในข้อ 2 หรือออกกําลังกายในร่มที่มีระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
  5. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ จะช่วยเร่งการขับฝุ่น PM2.5 ที่เล็ดลอดเข้ากระแสเลือด ออกไปทางไตในรูปของปัสสาวะได้มากขึ้น
  6. การอยู่ในบริเวณที่มีต้นไม้ใบเขียว จะช่วยการดูดซับฝุ่นในอากาศได้เพิ่มมากขึ้น

พิกัดที่เที่ยววันเด็ก 2568

วันเด็กแห่งชาติ - วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568
วันเด็กปีนี้ตรงกับวันที่ 11 มกราคม 2568 ถือเป็นโอกาสที่ดีในการพาครอบครัวไปเที่ยวเด็กๆ จะได้สนุกสนานและเรียนรู้ไปพร้อมกัน โดยมีหลายสถานที่สำหรับการเที่ยวในวันเด็ก แล้วมีที่ไหนบ้างนะที่จัดกิจกรรมมาดูกัน
null
งานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ณ ทำเนียบรัฐบาล ประจำปี 2568
งานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ณ ทำเนียบรัฐบาล ประจำปี 2568
ชวนเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม เวลา 08.00-15.30 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ
น้องๆ จะได้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมตึกไทยคู่ฟ้า ห้องทำงานนายกฯ ได้ลองอ่านข่าวสวมบทบาท “โฆษกรัฐบาล... นิวส์จิ๋ว” ณ ศูนย์แถลงข่าวนารีสโมสรและกิจกรรมแสนสนุก พร้อมของรางวัลมากมาย
งานวันเด็กแห่งชาติ กองทัพอากาศ
งานวันเด็กแห่งชาติ กองทัพอากาศ
ชวนเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม เวลา 07.00-15.00 น. ณ ฝูงบิน 601 กองบิน 6 พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ สนามบินเล็กทุ่งสีกันและกองบินต่างจังหวัดทั่วประเทศ
ภายในงานจะได้ตื่นตาตื่นใจกับการแสดงการบิน การแสดงยุทโธปกรณ์ทางทหาร และกิจกรรมต่างๆ บนเวที
รายละเอียดเพิ่มเติม : งานวันเด็กแห่งชาติ กองทัพอากาศ
null
Into the Spaceship
Into the Spaceship
ชวนเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม เวลา 08.00-16.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร)
ร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ในธีม "Into the Spaceship" ที่จะพาน้อง ๆ เรียนรู้เรื่องราวน่าทึ่งเกี่ยวกับ "อวกาศ" ที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ พร้อมกับกิจกรรม "Workshop" สุดสร้างสรรค์ ที่จะจุดประกายความรู้และจินตนาการของน้อง ๆ
รายละเอียดเพิ่มเติม : กิจกรรม "Into the Spaceship"
null
วันเด็กแห่งชาติ ณ กรมประชาสัมพันธ์
วันเด็กแห่งชาติ ณ กรมประชาสัมพันธ์
ชวนเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป ณ กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ภายในงานพบกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น
  • ร่วมสนุกกับเกมและกิจกรรมชิงของรางวัลภายในงาน
  • ลงทะเบียนรับของรางวัล, หนูน้อยศิลปะ, ค้นหา RC, เกมงานวัด, หลุมรางวัล, โยนห่วง, ตะกร้าจุ่มรางวัล ฯลฯ
  • กิจกรรมการประกวดและการแข่งขัน
  • กิจกรรมร้องเพลง, หนูน้อยอ่านข่าว ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ
  • กิจกรรมความรู้จากหน่วยงานต่างๆ
  • กิจกรรมหนูน้อยจราจร, สาธิตการทำหัวโขนและหุ่นยนต์, ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม, ความรู้เรื่องอุบัติภัย
  • กิจกรรม Solf Power ปั้นลูกชุบ, ชกมวย
null
CRA WonderHealth
CRA WonderHealth ผจญภัยในดินแดนสุขภาพราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ชวนเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม เวลา 08.00-14.00 น. ณ ห้องประชุม Convention Hall ชั้น 6 อาคารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
ร่วมผจญภัยในโลกสุขภาพไปกับกิจกรรมแสนสนุกสุดสร้างสรรค์ เรียนรู้เทคโนโลยีการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมลุ้นรับรางวัลพิเศษมากมายภายในงาน
รายละเอียดเพิ่มเติม : CRA WonderHealth
null
การผจญภัยของเด็กๆ ในโลกสุขภาพ
การผจญภัยของเด็กๆ ในโลกสุขภาพ
ชวนเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม เวลา 08.30-12.00 น. ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ภายใต้ธีมงาน "การผจญภัยของเด็กๆ ในโลกสุขภาพ" พบกับกิจกรรมมากมาย
เวทีกลาง ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 1 อาคารบริหาร
  • ซุ้มกิจกรรมต่าง ๆ
  • การขับร้องโดยโรงเรียนสอนดนตรี Kp Act
  • เสวนาเรื่อง "ของเล่นปลอดภัย สมวัย เสริมพัฒนาการ"
  • กิจกรรมเล่านิทานโดยโรงเรียนสอนดนตรี Kp Act
  • เสวนาเรื่อง "ไขความลับอาหารตามวัยในดินแดนมหัศจรรย์"
  • การแสดงโดยนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี
  • เสวนาเรื่อง "ไขความลับอาหารตามวัยในดินแดนมหัศจรรย์"
  • เสวนาเรื่อง "กิจกรรมสนุกช่วยส่งเสริมทักษะสมอง EF"
  • การแสดงโดยนักศึกษาแพทย์รามาธิบดี
Hospital Tour
  • กิจกรรม CPR (การปั๊มหัวใจ)
  • กิจกรรมห้องผ่าตัด
  • กิจกรรม VR (การจำลองภาพเสมือนจริง)
  • กิจกรรมทันตกรรม
รายละเอียดเพิ่มเติม : การผจญภัยของเด็กๆ ในโลกสุขภาพ
null
เด็กไทยหัวใจ Volunteer
เด็กไทยหัวใจ Volunteer
ชวนเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม เวลา 08.00-15.00 น. ณ บริเวณโถงอาคารสิรินธรานุสรณ์ 60 พรรษา สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์
ภายในงานพบกิจกรรมจากพี่ ๆ หน่วยงานภายในสภากาชาดไทย พร้อมของแจก ของรางวัลพิเศษมากมายพลาดไม่ได้
รายละเอียดเพิ่มเติม : เด็กไทยหัวใจ Volunteer
null
Fin.Land Green Saving Adventure ตะลุยออม…รักษ์โลก
Fin.Land Green Saving Adventure ตะลุยออม…รักษ์โลก
ชวนเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม เวลา 8.00 - 15.45 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้แบงก์ชาติ พบกับของรางวัลสุดว้าว กิจกรรมสุดสนุก เพลินกับการแสดงนิทานการออม และอิ่มอร่อยกับอาหาร - เครื่องดื่ม ฟรี ! ตลอดงาน
พิเศษกว่าที่เคย ! ชวนมาลุ้นรางวัล Lucky Draw สุดว้าว Samsung Galaxy Tab A9 LTE 8.7", ตุ๊กตาหมีตัวใหญ่, สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า, จักรยานขาไถ, เลโก้, กล่องสุ่มอาร์ตทอยและของรางวัลภายในงานอีกมากมาย
รายละเอียดเพิ่มเติม : Fin.Land Green Saving Adventure ตะลุยออม…รักษ์โลก
null
ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ 2568
ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ 2568
ชวนเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม “ถนนสายวิทยาศาสตร์ ScienceAvenue” จัดโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSMกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • เวลา 08.00-17.00 น. ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM คลองห้า ปทุมธานี
  • เวลา 09.00-19.00 น. NSM Science Square @ The Street Ratchada ชั้น 5 ศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา MRT ศูนย์วัฒนธรรม กทม.
null
เที่ยวงานวันเด็กกับไทยพีบีเอส
เที่ยวงานวันเด็กกับไทยพีบีเอส
ชวนเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม เวลา 07.00-15.00 น. ณ Thai PBS ภายในงานเด็กๆ จะได้ทดลองเป็น "ผู้ประกาศข่าวตัวจิ๋ว" พร้อมได้บันทึกเทปจริงและสามารถติดตามชมได้ที่
ช่องทางออนไลน์ของไทยพีบีเอส / ชมการแสดง "หนูน้อยเจ้าเวหา" เรียนรู้การเล่นและบินโดรนสุดว้าว / สวมบทบาทเป็น "เกษตรกรตัวน้อย" เรียนรู้วิถีชาวนา สัมผัสประสบการณ์ดำนา / How to "ทำพอดแคสต์" ฝึกลงเสียงจากทีมงานคุณภาพ / เปิดหน้า "YOUTUBER ตัวจิ๋ว" ทำรายการสุดปัง ! และไฮไลท์ 3 มหัศจรรย์เด็กไทย
  • มหัศจรรย์การละเล่นแบบไทย สนุกกับการละเล่นโบราณที่ประยุกต์มาเพื่อเด็ก Gen ใหม่
  • มหัศจรรย์ความสามารถเด็กไทย สนุกกับโชว์ความสามารถรอบด้านของเด็กไทยบนเวที
  • มหัศจรรย์วิถีไทย สนุกกับการแต่งชุดไทย เดินเล่นท่ามกลางบรรยากาศไทยๆ 5 ภาค
รายละเอียดเพิ่มเติม : เที่ยวงานวันเด็กกับไทยพีบีเอส
null
วันเด็ก ’68: Kids รอด ปลอดภัย
วันเด็ก ’68: Kids รอด ปลอดภัย
ชวนเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ 2568 วันเสาร์ที่ 11 มกราคม เวลา 10.00-17.00 น. ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
เปิดพื้นที่ชวนเด็กๆ มา "Kids รอด ปลอดภัย" เตรียมตัว รู้ รอด จากอุบัติเหตุ ภัยพิบัติ เหตุการณ์ไม่คาดฝัน อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์หนักแค่ไหนก็พร้อมรับมือ เอาตัวรอดได้อย่างปลอดภัย สนุกกับกิจกรรมพร้อมรับรางวัลพิเศษมากมายจากผู้ใหญ่ใจดีกลับไปสนุกกับการเรียนรู้ต่อที่บ้าน และเพลิดเพลินกับการแสดงที่เราเตรียมไว้ให้ชมกัน
รายละเอียดเพิ่มเติม : วันเด็ก ’68: Kids รอด ปลอดภัย

โรคไอกรน Pertussis

โรคไอกรน

Pertussis
โรคไอกรนเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ซึ่งก่อโรคเฉพาะในคน ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเป็นระยะจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้ ในพื้นที่ที่มีความ ครอบคลุมในการฉีดวัคซีนต่ำ จะมีการระบาดได้ง่าย เช่น ในช่วงกลางปี 2567 มีการระบาดต่อเนื่องในภาคใต้เนื่องจากความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนต่ำมาก
การติดต่อ
การติดต่อของโรคเกิดผ่านละอองฝอยไอหรือจามจากผู้ป่วย หรือผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจาก
ทางเดินหายใจของผู้ป่วย ระยะของการแพร่เชื้อเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไอ มีน้ำมูก จนถึง 21 วัน
หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการของโรค จะแพร่เชื้อได้สูงสุด ในระยะอาการหวัด
อาการและอาการแสดง อาการของโรคไอกรนแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
  1. ระยะอาการหวัด ผู้ป่วยจะมีอาการ มีน้ำมูก ไข้ต่ำ ๆ แยกยากจากไข้หวัดทั่วไป
  2. ระยะไอรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไอรุนแรงติดต่อกันเป็นชุด ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรง จนเกิดเสียงวูบ บางรายอาจมีอาเจียน เขียวและหยุดหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วย เด็กเล็ก
  3. ระยะฟื้นตัว (Convalescent stage) ผู้ป่วยจะมีอาการไอและอาเจียนทุเลาลง หายไปใน 2-3 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการไอได้นานหลายสัปดาห์โดยรวมระยะของโรคทั้งหมดหากไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไอกรนที่อาจพบในวัยรุ่นและในผู้ใหญ่ ได้แก่ ปอดอักเสบ น้ำหนักลด ไอจน
รบกวนการนอน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระดูกซี่โครงหัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้น
สำหรับในทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน และยังได้รับวัคซีนไม่ครบ อาจมีอาการที่รุนแรงได้
การให้วัคซีนป้องกันไอกรน
วัคซีนป้องกันไอกรน มีทั้งชนิดวัคซีนเดี่ยวและชนิดวัคซีนรวมกับคอตีบและบาดทะยัก เด็กนักเรียนทุกคนควรได้รับวัคซีนที่แนะนําตามอายุให้ครบถ้วน ได้แก่
  1. อายุน้อยกว่า 6 ปี ควรรับวัคซีนให้ครบ โดยเป็นวัคซีนรวมที่มีคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และอาจรวมวัคซีน ป้องกันเชื้ออื่นๆ ในเด็กเล็กด้วย เช่น DTP-HB-Hib จำนวน 5 โด๊ส ที่อายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และ 4-6 ปี
  2. วัยรุ่น 10-12 ปี แนะนําให้ฉีดวัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์สูตรเด็กโตและผู้ใหญ่ (Tdap/TdaP) กระตุ้น 1 โด๊ส หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นต่อด้วย ด้วยวัคซีน dT/Tdap/TdaP ทุก 10 ปี
  3. ผู้ใหญ่ หากยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันไอกรนเข็มกระตุ้น แนะนําให้ฉีดวัคซีนรวม Tdap/TdaP กระตุ้น 1 โด๊ส จากนั้นแนะนําให้ฉีดวัคซีนรวม dT/Tdap/TdaP กระตุ้น ประมาณทุก 10 ปี แนะนําให้ฉีดเมื่ออายุลงท้ายด้วยเลข “0” เช่นที่อายุ 20, 30, 40, 50, 60, 70, 80 ปี
  4. หญิงตั้งครรภ์ แนะนําให้วัคซีนป้องกันไอกรนในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 16 สัปดาห์ขึ้นไป
  5. ในกรณีที่มีเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ในครอบครัว ควรให้ทุกคนในบ้านได้รับวัคซีนป้องกันไอกรน ตามที่แนะนําในข้างต้นให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปยังทารก (Cocooning)
ที่มา: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม : คำแนะนำโรคไอกรนสำหรับประชาชน_รวกท..pdf
วันที่: 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารปราศจากน้ำตาลแลคโตส

คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารปราศจากน้ำตาลแลคโตส

Lactose-free Diet
แลคโตส (Lactose)
เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่พบอยู่ในนมและผลิตภัณฑ์จากนม ย่อยโดยเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ในลำไส้เล็ก
หากมีภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตสจะทำให้มีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง ท้องอืด
เมื่อรับประทานนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม
ข้อบ่งชี้
ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตส เช่น ผู้ป่วยที่ลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัสโรต้า เป็นต้น
คำแนะนำ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของ นมวัว/นมแพะ รวมถึงนมผง นมข้นหวาน นมข้นจืด ชีส โยเกิร์ต ครีม ไอศกรีมที่มีนมผสม
และสามารถเลือกรับประทานอาหารได้ดังตารางต่อไปนี้
ชนิด
รับประทานได้
ควรหลีกเลี่ยง
เครื่องดื่ม
  • นมผงสูตร Lactose free
  • นม UHT หรือ พาสเจอไรซ์ที่ระบุว่า Lactose free
    เช่น M-milk, Meiji, ไทยเดนมาร์ก เป็นต้น
  • นมถั่วเหลือง (สูตรเจ)
  • น้ำหวาน เช่น น้ำเก๊กฮวย
  • น้ำผลไม้
  • นมอัลมอนด์, น้ำนมข้าว
  • ชา, กาแฟที่ไม่ผสมนม
  • นมสด ทั้งในรูปแบบนมผง นม UHT
  • นมพาสเจอไรซ์
  • นมเปรี้ยว
  • เครื่องดื่มสำเร็จรูปที่มีนมผสม
    เช่น โอวัลติน โกโก้ กาแฟ 3-in-1 เป็นต้น
  • นมถั่วเหลืองบางสูตรที่มีส่วนผสมของนมผง
อาหารหลัก
  • ข้าวทุกชนิด
  • ก๋วยเตี๋ยวและพาสต้า
  • ขนมปังแผ่น
  • ผักและเนื้อสัตว์
  • ชีส เนย เนยแข็ง
  • ซุปข้น เช่น ซุปเห็ด ซุปข้าวโพด
  • ขนมปังที่มีนมผสม
    เช่น ขนมปังสูตรฮอกไกโด หรือที่มีไส้คัสตาร์ด
อาหารหวาน/ของว่าง
  • ผลไม้ แยมผลไม้
  • ขนมไทย
    เช่น เฉาก๊วย ฝอยทอง
  • ถั่วและธัญพืชทุกชนิด
  • เค้ก ครีม คัสตาร์ด
  • ไอศกรีมที่มีนมหรือครีม วิปครีม
  • โยเกิร์ต
หมายเหตุ
  • อาหารอื่นๆ ควรดูฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อดูว่ามีนมส่วนประกอบหรือไม่
  • เด็กทารกที่รับประทานนมแม่สามารถให้ต่อได้ไม่เป็นข้อห้าม
  • แนะนำหยุดอาหารปราศจากแลคโตสเมื่อแพทย์สั่ง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

ข้อดี ที่ควรรู้ ก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก HPV testing

ข้อดี ที่ควรรู้ ก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก

Benefit of HPV testing
ถาม เชื้อไวรัส HPV (Human papillomavirus) คืออะไร
ตอบ HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะในกลุ่ม สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง เชื้อไวรัส HPV สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ โดย 90 % ของการติดเชื้อไวรัส HPV สามารถหายเองได้ แต่ในบางกลุ่มหากการติดเชื้อเป็นอยู่ถาวร อาจนำไปสู่รอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งที่อวัยวะเพศ/ช่องคลอด/ทวารหนัก หรือมะเร็งบริเวณหลอดอาหาร นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ได้ คือ สายพันธุ์ 6 และ 11

โดย 90 % ของการติดเชื้อไวรัส HPV สามารถหายเองได้ แต่ในบางกลุ่มหากการติดเชื้อเป็นอยู่ถาวร อาจนำไปสู่รอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งกลุ่มข้างต้นได้

ถาม เชื้อไวรัส HPV (Human papillomavirus) ส่งผลต่อเราอย่างไร
ตอบ เชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งช่องทวารหนักได้ร้อยละ 90 จากการรายงานพบว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุสูงสุดอันดับที่ 4 ของมะเร็งในสตรี โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดหรือความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกได้

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งปากมดลูกแบบ 90:70:90 คือ ครอบคลุมการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีร้อยละ 90 ครอบคลุมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 70 และรักษามะเร็งปากมดลูกระยะก่อนมะเร็งได้ร้อยละ 90 ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยแนะนำให้เพิ่มความครอบคลุมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการตรวจเชื้อไวรัสเอชพีวีด้วยตนเอง (HPV self-collection) จะสามารถเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการ คัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้นจนถึงร้อยละ 70 ตามเป้าหมาย

ถาม การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในยุคปัจจุบัน
ตอบ องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนี้

  1. การตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV DNA/mRNA testing, HPV Nucleic Acid Amplification Tests: NAATs)
  2. การตรวจคัดกรองด้วยน้ำส้มสายชูและดูด้วยตาเปล่า (Visual inspection: VIA)
  3. การตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูก (Pap smear/ liquid-based cytology)
สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบปฐมภูมิ (Primary HPV testing) หรือการตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี มีความไวและความจำเพาะที่สูงในการตรวจหารอยโรคตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US-FDA) ว่าเป็นวิธีหนึ่งในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหญิงที่อายุมากกว่า 25 ปี
สำหรับประเทศไทยมีรายงานการเข้าถึงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 30-60 เท่านั้น โดยใช้การคัดกรองด้วยเซลล์วิทยา และการตรวจคัดกรองด้วยน้ำสมสายชู และการดูด้วยตาเปล่า (VIA) เป็นหลัก
โดยสาเหตุที่ทำให้การเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยมีอัตราต่ำเกิดจากทัศนคติว่าตนเองไม่มีความเสี่ยงของโรค ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ความกลัวหรือรู้สึกเขินอายจากการตรวจภายใน

ถาม ประโยชน์ของการตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี (Primary HPV testing)
ตอบจากปัจจุบันมี งานวิจัยจำนวนมากพบว่าการตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี (primary HPV testing) มีประสิทธิภาพสูงกว่าการตรวจทางเซลล์วิทยา (cervical cytology) ในการตรวจหารอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ยังช่วยลดอุบัติการณ์ และการเสียชีวิตของสตรีจากมะเร็งปากมดลูกลงได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวีหากพบผลปกติ สามารถตรวจติดตามทุก 5 ปี จึงพบว่ามีความคุ้มทุนมากกว่าการตรวจทางเซลล์วิทยาที่ต้องตรวจติดตาม ทุก 3 ปี

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Baby Delivery Package

Normal Delivery Pack […]

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

ตรวจโรคติดต่อทางเพศส […]

RSV ไวรัส วายร้าย ในผู้สูงวัย ป้องกันด้วยวัคซีน

RSV ไวรัส วายร้าย ในผู้สูงวัย ป้องกันด้วยวัคซีน

RSV Vaccine
การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)
RSV เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคหลอดลมอักเสบ (Bronchiolitis) และปอดบวม (Pneumonia) โดยเฉพาะในเด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่มีโรคหัวใจหรือปอด โดยสามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผ่านละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจาม
โดยอาการจะคล้ายไข้หวัด เช่น ไอ มีไข้ น้ำมูกไหล เจ็บคอ คัดจมูก อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถฆ่าไวรัส RSV ได้ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ ถ้ามีอาการรุนแรงอาจด้วยการใช้ยาขยายหลอดลมหรือให้ออกซิเจน รวมถึงเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
การป้องกันการติดเชื้อ โดยการปฏิบัติเหมือนการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น การล้างมือบ่อยๆ การสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการหวัด การฉีดวัคซีน RSV สำหรับกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ
วัคซีน RSV
ในอดีต RSV เป็นไวรัสที่ไม่มีวัคซีนในการป้องกัน แต่ในปัจจุบัน มีการวิจัยพัฒนาวัคซีน RSV ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ.2023 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้อนุมัติวัคซีน RSV ตัวแรกสำหรับผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวัคซีนเพิ่มเติมและการศึกษาทางคลินิกที่กำลังดำเนินการเพื่อสร้างวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV
ปัจจุบันในโรงพยาบาลบางโพมีวัคซีนที่เป็น Adjuvanted monovalent RSV vaccine (Arexvy) เป็นทางเลือกสำหรับผู้ต้องการรับวัคซีน RSV โดยข้อมูลในปัจจุบันแนะนำให้ฉีดเข้ากล้าม 1 เข็ม โดยไม่ต้องมีการฉีดกระตุ้น
ข้อบ่งชี้
  • ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้มีอายุ 50-59 ปี แต่มีโรคร่วมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง
ประสิทธิภาพ
  1. ลดอัตราการติดเชื้อ RSV ที่มีอาการได้ 82.6%
  2. ลดอัตราการเกิดโรคหลอดลมอักเสบและปอดบวมได้ 94.6%
  3. ลดความรุนแรงของอาการในผู้ที่ติดเชื้อ และลดการรักษาในโรงพยาบาล
  4. ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงทั่วไปที่พบได้บ่อยหลังจากการฉีดวัคซีน ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และมีไข้เล็กน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่รุนแรงและมักจะหายไปภายในไม่กี่วัน
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
ผู้ที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการรับวัคซีน
  1. ผู้ที่มีประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีนอื่น ๆ หรืออย่างรุนแรงต่อส่วนประกอบใด ๆ ของวัคซีน
  2. ผู้ที่ป่วยหนักหรือมีไข้สูงควรเลื่อนการรับวัคซีนจนกว่าจะหายดี
  3. ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับการรักษาด้วยยาที่กดระบบภูมิคุ้มกัน
  4. หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
การดูแลหลังการรับวัคซีน
  • ควรติดตามอาการของตัวเอง หากมีอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น หายใจลำบาก บวมที่หน้าและคอ หรือลมพิษ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • ควรพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น
สรุป
วัคซีนมีข้อห้ามและข้อควรระวังบางประการที่ผู้รับวัคซีนควรทราบ การปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการสุขภาพก่อนการรับวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าการรับวัคซีนเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

โปรแกรมและแพ็คเกจ

รักษาอาการปวดเรื้อรัง Shock Wave Therapy

การรักษาอาการปวดด้วยเครื่อง Shock Wave Therapy

Shock Wave Therapy
Shock Wave Therapy รักษาอาการปวดเรื้อรัง
คลื่นกระแทก (Shock Wave) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้รักษาคนไข้ที่มีอาการปวดระยะเรื้อรังที่ผ่านการรักษาต่างๆ มาแล้ว แต่ยังไม่ดีขึ้น โดยจะมีกระบวนการของการรักษาโดยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและลดอาการอักเสบได้ดี เครื่อง Shock Wave จะส่งคลื่นกระแทกได้ลึกและมีความถี่เข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารมาลดอาการปวดในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมแซมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้ช่วยลดปวดได้สามารถเห็นผลได้ทันทีหลังรักษา (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ) การใช้เครื่อง Shock Wave จึงเป็นทางเลือกในการรักษา
Shock Wave ช่วยรักษาอาการอะไรบ้าง
ประโยชน์ของการรักษาอาการปวดทางการแพทย์ นิยมใช้เทคโนโลยี Shock Wave Therapy เพื่อรักษาอาการ 3 อาการหลักคือ
  1. อาการออฟฟิศซินโดรม
    อาการออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ขาดการลุกออกจากที่นั่งเพื่อยืดเส้นยืดสายรวมถึงนั่งในท่าที่ผิดสรีระจะก่อให้เกิดอาการ ปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดข้อมือปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขนขา ปวดกราม ต้นคอ ปวดข้อมือ ฝ่ามือ ไมเกรน อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วย Shockwave ปวดคอ บ่า ไหล่
  2. อาการเส้นเอ็นอักเสบ
    อาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดจากการใช้งานซ้ำที่ทำให้เกิดความเครียดต่อเส้นเอ็น อาการเส้นเอ็นอักเสบ เช่น เอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นหัวไหล่อักเสบจากหินปูนเกาะ เอ็นเข่าอักเสบ ปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
  3. อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
    อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังเกิดจากการใช้มัดกล้ามเนื้อผิดท่าทางซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนเกิดความผิดปกติในการหดตัว อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เช่น พังผืดทับเส้นประสาท ปวดสะโพกร้าวลงขา อาการปวดร้าวบริเวณสะบัก อาการเอ็นอักเสบเรื้อรัง อาการปวดข้อเข่าในนักกีฬากระโดดสูง อาการปวดข้อไหล่ อาการปวดส้นเท้า อาการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณสันหน้าแข้ง อาการปวดข้อศอกด้านนอก
นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ยับยั้งกระบวนการอักเสบ ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ จุดเจ็บได้รับการผ่อนคลาย สลายหินปูนในเส้นเอ็น กระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ จนเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่
ข้อห้ามในการรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock Wave
  • ห้ามรักษาเด็ก
  • ห้ามรักษาหญิงตั้งครรภ์
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีการติดเชื้อ
  • ห้ามรักษาคนไข้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีหลอดเลือดโป่งพอง
  • ห้ามรักษาบริเวณที่เป็นเนื้องอก
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีการอักเสบของเส้นประสาท
ผลที่ได้จากการรักษาและระยะในเวลาการรักษา
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรก (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ) จากนั้นควรเว้นระยะห่างการรักษาครั้งถัดไป 1- 2 สัปดาห์ เพื่อให้เวลาร่างกายซ่อมแซมการอักเสบเรื้อรังที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ โดยจำนวนครั้งในการรักษาทั้งหมดอยู่ที่ 2-5 ครั้งแล้วแต่ความรุนแรงของอาการ
ภาวะที่ควรงดโปรแกรมการรักษากายภาพบำบัด ได้แก่
  • หลังการรักษาด้วยการฝังเข็ม ฉีดยา
  • การผ่าตัดต้อหรือเลนส์ตาภายใน 1 เดือน
  • หลังทำเลเซอร์ดวงตา
  • หลังการอุดฟัน ถอนฟัน
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีอาการท้องเสีย อ่อนเพลีย
  • มีอาการเวียนศีรษะ อาเจียน
  • มีไข้ เป็นหวัด ไอ จาม เจ็บคอ มีน้ำมูก
  • มีสัญญาณชีพผิดปกติ ดังนี้
    • ความดันโลหิต มากกว่า 160/100 mmHg หรือ น้อยกว่า 90/50 mmHg
    • อัตราการเต้นหัวใจ มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที หรือน้อยกว่า 50 ครั้งต่อนาที
    • มีไข้หรืออุณหภูมิร่างกาย มากกว่า 37.5 องศา
อ้างอิง:

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย - ทางเลือกใหม่ ลดปวดเรื้อรัง – ออฟฟิศซินโดรม ด้วย Shock Wave
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก - เครื่องมือพิเศษ / การให้บริการพิเศษ
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ - รู้จัก Shockwave การรักษาด้วยคลื่นกระแทก บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า

31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก
บุหรี่ไฟฟ้า
เป็นอุปกรณ์ที่ประชาชนทั่วโลกรู้จักมากขึ้นและมีการใช้มากในปัจจุบันรวมถึงในประเทศไทย ซึ่งนับวันบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงาน เยาวชน และกลุ่มนักเรียน เนื่องจากมีการหาชื้อได้ง่าย ประกอบกับสื่อ Social ในปัจจุบันที่รวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งแม้ว่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ และผิดกฎหมายแล้วก็ตาม
บุหรี่ไฟฟ้า (Electric cigarette) เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดใหม่ สูบด้วยการใช้อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ สารนิโคตินเหลว ที่สกัดจากใบยาสูบในบุหรี่ไฟฟ้าจะระเหยด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป เมื่อสูบน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าจะถูกทำให้สารเคมีกลายเป็นละอองไอ เป็นอันตรายต่อผู้สูบและคนรอบข้าง ซึ่งน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าประกอบไปด้วย
  • สารนิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดที่มีผลเสียต่อสุขภาพ หลายระบบ
  • สารประกอบอันตราย นิกเกิล ดีบุก ตะกั่ว สารหนู ฟอร์มัลดีไฮด์ เบนซีน ซึ่งอาจก่อมะเร็ง
  • โพรพิลีนไกลคอล ระคายเคืองตา ทางเดินหายใจ ทำให้ไอ ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน
  • กลีเซอรีน เมื่อผสมกับโพรพิลีนไกลคอล ยิ่งทำให้ไอ หลอดลมตีบ หอบเหนื่อย
  • สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย
  • สารปรุงแต่งกลิ่น รส และอื่น ๆ บางตัวอาจทำให้ปอดอักเสบรุนแรง อาทิ วิตามินอี อะซิเตท
โทษของบุหรี่ไฟฟ้า มีปริมาณนิโคตินเท่ากับบุหรี่ทั่วไป จำนวน 20 มวน และสารนิโคตินที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย อนุภาคขนาดเล็กกว่า pm 2.5 คือประมาณ 1.0 ไมครอน ไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่าบุหรี่ธรรมดาจึงถูกสูดเข้าไปในปอดได้ลึกกว่า จับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็ว ยากที่ร่างกายจะขับออกมาได้หมด
  • ระบบการหายใจ เกิดการระคายเคือง ไอ เหนื่อยง่าย ทำให้โรคหืดและภูมิแพ้กำเริบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ โรคมะเร็งปอด
  • ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ภาวะหลอดเลือดแข็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ทำให้หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต
  • ระบบประสาทและสมอง เซลล์สมองถูกทำลาย อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ส่งผลถึงการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง ส่งผลต่อการเรียนรู้ สมาธิ ทำให้ความจำ การคิดวิเคราะห์ เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง การควบคุมอารมณ์ และเสี่ยงมีภาวะโรคซึมเศร้า ซึ่งปกติสมองจะพัฒนา เต็มที่ประมาณอายุ 25 ปี เพิ่มความเสี่ยงการติดยาเสพติดอื่น ๆ
  • ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อนและอาจนำไปสู่โรคมะเร็ง
  • ผู้ที่สัมผัสสารพิษที่ตกค้างจากควันบุหรี่ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า “บุหรี่มือสาม” อาจเกิดอาการผิวหนังอักเสบ
บุหรี่ไฟฟ้ากับอาการที่ควรไปพบแพทย์
  • อาการไข้ หนาวสั่น
  • ไอ เหนื่อยง่าย
  • หายใจลำบาก หายใจสั้น หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สะดวก
  • แน่นหน้าอก
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • หากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ผู้ที่มีโรคที่เกี่ยวกับปอดอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคหืด หรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง
เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่เอกสารแนวทางใหม่ 2 ฉบับ ได้แก่ “คู่มือสำหรับโรงเรียนปลอดนิโคตินและยาสูบ” และ “ชุดเครื่องมือสำหรับโรงเรียนปลอดนิโคตินและยาสูบ” เพื่อช่วยปกป้องสุขภาพของเด็กนักเรียนก่อนจะเปิดเทอมในหลายประเทศ
4 วิธีในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปราศจากนิโคตินและยาสูบสำหรับเยาวชน
  • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบในบริเวณโรงเรียน
  • ห้ามขายผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบใกล้โรงเรียน
  • ห้ามโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อมและห้ามส่งเสริมผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบใกล้โรงเรียน
  • ปฏิเสธการสนับสนุนหรือการมีส่วนร่วมกับอุตสาหกรรมยาสูบและนิโคติน
ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้ามุ่งเป้าไปที่เด็กผ่านสื่อโซเชียลมีเดียและผู้ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากบนสื่อเหล่านั้น บุหรี่ไฟฟ้ามีรสชาติอย่างน้อยกว่า 16,000 รสชาติ บุหรี่ไฟฟ้าบางส่วนใช้ตัวการ์ตูนและมีดีไซน์เก๋ไก๋ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ สถิติการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยพบว่าอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กนั้นสูงเกินกว่าผู้ใหญ่ในหลายประเทศ” ดังนั้น ผู้ปกครองและโรงเรียน ควรหมั่นสอดส่องดูแล ควรเฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด พูดคุย เปิดใจรับฟัง รวมถึงเตือนถึงโทษภัยจากบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า สร้างความผูกพันและเป็นตัวอย่างที่ดี สร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ภายในบ้านและไปในสถานที่ปลอดบุหรี่
ที่มา:

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก - บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายพิษร้ายต่อสุขภาพ
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ - อันตรายจากบุหรี่
กรมประชาสัมพันธ์ - “สูบบุหรี่ไฟฟ้า” อันตราย เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรง
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ - บุหรี่ไฟฟ้า อันตราย..แม้ไร้ควัน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

วัยทำงาน
วัยทำงาน คือ ช่วงอายุ 18-59 ปี กลุ่มคนเหล่านี้จะให้เวลากับการทำงาน 1 ใน 3 ของแต่ละวันคือ ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน วัยนี้หลายคนทำงานหนัก เนื่องจากภาระงานติดพันหรือด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องทำงานเกินเวลา ส่งผลให้ไม่มีเวลาที่จะดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม พักผ่อนน้อย กินอาหารไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ดังนั้นการดูแลสร้างเสริมสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โรควัยทำงาน หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างต่อเนื่องนานๆ โดยเฉพาะงานที่ต้องนั่งหรือยืนอยู่เป็นเวลานานๆ หรือทำงานที่ต้องใช้แรงงานหนัก ซึ่งหลายประเภท โดยอาการและผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล ดังนี้
  1. อาการปวดเรื้อรัง
    ออฟฟิศซินโดรม โรคที่เกิดจากการนั่งทำงานท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดคอ รวมถึงอาการเจ็บปวดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น อ่อนเพลีย อ่อนแรง คลื่นไส้ หรือหมดแรงงาน
  2. อาการสำหรับสุขภาพจิต
    ความเครียดสะสม วิตกแห่งอารมณ์ ภาวะซึมเศร้า สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการทำงาน อาจเกิดจากความเครียดในการทำงาน รวมถึงความกดดันในเรื่องต่างๆ ด้านจิตใจหรือความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่มีผลต่อจิตใจอย่างรุนแรง ก็ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย
  3. อาการที่เกิดกับสายตาและการมองเห็น
    หรือใช้สายตามองจอคอมพิวเตอร์นานๆ ทำให้มีผลต่อดวงตา แสบตา ไม่สบายตา เกิดอาการระคายเคืองตา เจ็บตา ตาพร่าจากการจ้องมองที่ไม่ค่อยกระพริบตา เป็นผลให้มีอาการตาแห้ง
  4. อาการทางสมอง
    ไมเกรน บ้านหมุน สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เป็นโรคใกล้ตัวคนวัยทำงาน มีความเครียดเป็นสาเหตุหลัก เนื่องจากสมองเป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทุกส่วน เมื่อระบบประสาทและสมองมีปัญหา ก็จะส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วยเช่นกัน มักมีอาการตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง การคิด การทำ การพูด การทรงตัวผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะทำให้พิการได้
  5. อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
    กรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบ
    โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ผลระยะยาวของโรคนี้ อาจนำพาไปสู่การเกิดมะเร็งได้
  6. อาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
    กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคที่เกิดจากการอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เนื่องจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิง
จากรายงานสุขภาพคนไทย 2566 พบว่าคนไทยวัยทำงานมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพดังนี้
  1. การสูบบุหรี่
    • 1 ใน 5 คนวัยทำงาน สูบบุหรี่ทุกวัน
    • กลุ่มลูกจ้างเอกชน และผู้ทำงานส่วนตัว มีอัตราการสูบบุหรี่ทุกวันสูงที่สุด
    • การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  2. การบริโภคแอลกอฮอล์
    • 1 ใน 4 คนวัยทำงาน ดื่มแอลกอฮอล์ทุกสัปดาห์
    • กลุ่มนายจ้าง ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวันสูงที่สุด
    • การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง
  3. การบริโภคอาหาร
    • คนวัยทำงาน กินอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม สูง
    • แหล่งอาหารหลักมาจากแป้งขัดขาว น้ำตาล และไขมันอิ่มตัว
    • การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  4. กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • คนวัยทำงาน กว่า 80% มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
    • การไม่ออกกำลังกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน
การรักษาและการป้องกัน
การรักษาโรควัยทำงานมักเน้นการป้องกันและการบริหารจัดการอาการ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานและการพักผ่อน การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพที่ดี เช่น การฝึกหัดการทำงานโดยไม่กดดันตัวเองมากเกินไป การนั่งหรือยืนในท่าที่ถูกต้อง เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สมส่วน และการดูแลสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและเพื่อรักษาสุขภาพที่ดีในระยะยาว
การปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและการบริหารจัดการอาการอาจประกอบด้วยวิธีต่อไปนี้
  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
    • ให้ความสำคัญกับการใช้ท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน เช่น การนั่งหรือยืนในท่าที่สมบูรณ์แบบ เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
    • มีการพักผ่อนที่เพียงพอระหว่างการทำงาน เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสในการฟื้นตัว
    • ป้องกันการทำงานนานเกินไปโดยการแบ่งงานหรือการใช้ช่วงเวลาพักที่เหมาะสม กรณีใช้คอมพิวเตอร์ให้หลับตาทุก 10 นาทีต่อการทำงาน 1 ชั่วโมง หรือพักทุก 15 นาทีต่อการทำงานต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง
  2. การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ
    • มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและรักษาสุขภาพของร่างกาย
    • ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    • รักษาการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการเพียงพอ และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารไม่สุขภาพ อาหารเสริมที่ไม่จำเป็น
  3. การบริหารจัดการสุขภาพจิต
    • ให้ตัวเองเวลาในการพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ช่วยในการผ่อนคลาย เช่น การทำโยคะ การฝึกสติ หรือการอ่านหนังสือ
    • พูดคุยกับคนที่ไว้วางใจหรือคนที่สามารถให้การสนับสนุนที่ดีต่อสุขภาพจิต
    • หากมีปัญหาทางจิตใจที่รุนแรง ควรพบประสบการณ์อาจารย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อคำปรึกษาและการรักษา
  4. การใช้เครื่องมือช่วย
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยลดการบริโภคแรงงาน และลดการทำงานที่ต้องใช้แรงมาก เช่น รถเข็นของหนัก เก้าอี้ที่สามารถปรับระดับได้ เป็นต้น
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยในการป้องกันอันตรายในการทำงาน เช่น หูฟังป้องกันเสียงดัง หรือหน้ากากป้องกันฝุ่น
    • ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ควรจัดสถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแสงสว่างพอเหมาะ โดยเฉพาะจอภาพ แป้นพิมพ์ และที่วางเอกสาร เป็นต้น จะช่วยให้สบายตา หรืออาจใช้หลอดไฟโซเดียมเพื่อให้แสงสว่าง ใช้แผ่นกรองแสงเพื่อลดแสงจ้าและแสงสะท้อน จะช่วยลดความล้าของสายตาลงได้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้เครื่องมือช่วยนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและช่วยให้ร่างกายและจิตใจมีสุขภาพดีในระยะยาว

โปรแกรมและแพ็คเกจ

พิษจากสารแคดเมียม

พิษจากสารแคดเมียม

พิษจากสารแคดเมียม
แคดเมียมมีสูตรทางเคมีคือ Cd เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่มักพบตามธรรมชาติ มีสีเงินขาว แวววาวเป็นสีน้ำเงินจางๆ ไม่มีกลิ่น มีลักษณะเนื้ออ่อน สามารถบิดโค้งงอได้และถูกตัดได้ง่ายด้วยมีด มักอยู่ในรูปแท่ง แผ่น เส้น ลวด หรือเป็นผงเม็ดเล็กๆ สามารถทำปฏิกิริยาเคมีอย่างรุนแรงกว่าสารที่ให้ออกซิเจน เนื่องจากแคดเมียมทนทานต่อการสึกกร่อนได้เป็นอย่างดี จึงนำไปฉาบผิวโลหะต่างๆ ในทางอุตสาหกรรม หรือเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ในการทำ อุตสาหกรรมเหมือง แร่ เชื่อมโลหะ โซล่าเซลล์ รวมถึงยังใช้เป็นขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ชนิดที่เติมประจุใหม่ได้อีกด้วย
การปนเปื้อนจากโลหะหนักรวมถึงแคดเมียมนับเป็นปัญหาสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และอาจมีการถ่ายทอดไปสู่ห่วงโซ่อาหาร สะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชและสัตว์ ซึ่งจะนำมาสู่คนและเกิดอันตรายต่อผู้ที่ได้รับขึ้นได้ แคดเมียมเป็นโลหะหนักที่ไม่ละลายนํ้า ทั้งยังมีจุดเดือด (765 องศาเซลเซียส) และจุดละลาย (321 องศาเซลเซียส) สูงมาก หากได้รับเข้าสู่ร่างกายเกิดอันตรายต่ออวัยวะเป้าหมาย คือ ตา ผิวหนังและเยื่อบุสัมผัส ระบบทางเดินหายใจ/ทางเดินอาหาร/ทางเดินปัสสาวะ ไตและกระดูก
อาการ
อาการของการเกิดพิษขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ ทางที่ได้รับ และระยะเวลาที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย แบ่งเป็น
  1. อาการพิษเฉียบพลัน
    • ได้รับโดยการสูดดมไอของแคดเมียมออกไซด์: ทำให้เกิดมีอาการไข้ ไอ หนาวสั่น หายใจเสียงวี๊ด เจ็บหน้าอก ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ มักเกิดภายใน 4-24 ชั่วโมง หลังการสูดดมไอแคดเมียม ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะปอดอักเสบและระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
    • ได้รับโดยการกินเกลือแคดเมียม: ทำให้มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ในรายที่กินปริมาณมาก อาจมีเลือดออกจากทางเดินอาหาร ช็อค ไตวายได้
    • การสัมผัสเกลือแคดเมียมทางผิวหนัง ตา และเยื่อบุ: ทำให้มีอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ตา และเยื่อบุที่สัมผัส หากสัมผัสไอร้อนหรือแคดเมียมเหลว ทำให้เกิดการไหม้บริเวณที่สัมผัสได้
  2. อาการพิษระยะยาว - เมื่อได้รับแคดเมียมติดต่อเป็นระยะยาวนาน
    • ได้รับทางการหายใจ: อาจทำ ให้มีพังผืดในปอด ถุงลมโป่งพอง และสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอด
    • ได้รับทั้งการกินและการหายใจ: อาจทำให้เกิดความผิดปกติที่ไต ได้แก่ มีการรั่วของโปรตีน นํ้าตาล แคลเซียมและฟอสเฟตทางปัสสาวะ มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวายเรื้อรัง
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกระดูกคดงอ หักง่าย และมีอาการปวดรุนแรง ที่รู้จักในชื่อ "โรคอิไต-อิไต" ซึ่งพบในผู้ป่วยที่บริโภคอาหารและนํ้าที่ปนเปื้อนเป็นเวลานาน โดยเฉพาะข้าวที่ปลูกในบริเวณที่มีการปนเปื้อนแคดเมียม ปริมาณมากในนํ้า และดิน สำหรับการก่อมะเร็งนั้น แคดเมียมเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งไตและมะเร็งต่อมลูกหมาก
การรักษา
เน้นการรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง ยังไม่มีการรักษาหรือยาต้านพิษจำเพาะ
ยาที่ใช้ขับโลหะหนักที่มีในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษายืนยันว่ามีประโยชน์ในการรักษาพิษจากแคดเมียม
ดังนั้นการป้องกันและลดการสัมผัส จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
การตรวจหาสารแคดเมียมในร่างกาย 2 วิธี ทั้งนี้มีความแตกต่างในเรื่องระยะเวลาการสัมผัส
1. การตรวจแคดเมียมในเลือด (Cadmium in Blood) สามารถใช้ตรวจเพื่อประเมินการสัมผัสระยะสั้น (Short Term Exposure) ได้ดีกว่า
2. การตรวจแคคเมียมในปัสสาวะ (Cadmium in Urine) เหมาะสำหรับตรวจประเมินผู้ที่สัมผัสอย่างต่อเนื่องในระยะยาว (Long Term Exposure)
ทั้งนี้ทั้ง 2 แบบยังคงต้องมีการประเมินควบคู่กับผลพยาธิสภาพทั่วไปประกอบด้วยทั้งการประเมินโดยแพทย์
บริการตรวจหาสารแคคเมี่ยมในร่างกาย

  • รอผล 10 วัน 600 บาท
  • รอผล 3 วัน 800 บาท
  • ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการ
ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

พิษจากสารแคดเมี่ยม.pdf

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.

รู้จักแคดเมียม โลหะพิษอันตราย สาเหตุ “โรคอิไตอิไต” และโรคมะเร็ง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคพาร์กินสัน PARKINSON’S DISEASE

โรคพาร์กินสัน

PARKINSON’S DISEASE
11 เมษายนเป็นวันโรคพาร์กินสันโลก (World Parkinson’s Disease Day) โรคทางสมองพบแพทย์เร็ว ช่วยชะลอความรุนแรงของโรคได้
โรคพาร์กินสัน (PARKINSON’S DISEASE)
โรคพาร์กินสัน หรือ โรคสั่นสันนิบาต เป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์สมองในบางตำแหน่งตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้ "โดพามีน" สารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายตายและลดจำนวนลง ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเกิดอาการสั่น โรคความเสื่อมของระบบประสาท พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 1.5 เท่า เกิดจากสารเคมีในสมองที่เรียกว่าโดปามีน (Dopamine) ลดลง เพราะมีความเสื่อมตายของเซลล์ในสมอง สารโดปามีนมีความสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อสารโดปามีนลดลงจึงเกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหว เช่น มีอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า เดินซอย แขนขาเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายช้าและสูญเสียการทรงตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่หากได้รับการวินิจฉัยโรคและรับการดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยชะลออาการของโรคและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
อาการ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
  1. กลุ่มอาการผิดปกติของการเคลื่อนไหว (Motor symptoms)
  2. กลุ่มอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Non-Motor symptoms)
กลุ่มอาการผิดปกติของการเคลื่อนไหว (Motor symptoms) มักเป็นอาการแรกเริ่มของผู้ป่วยพาร์กินสัน
  1. อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) ผู้ป่วยจะเดินช้า เริ่มก้าวลำบาก เมื่อก้าวเดินแล้วจะซอยเท้าถี่ๆ ก้าวเท้าตามปกติไม่ค่อยได้
  2. อาการแข็งเกร็ง (Rigidity) เป็นอาการแข็งเกร็งที่เกิดกับแขนหรือขาข้างที่มีอาการสั่น ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้า เขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือที่เขียนจะเล็กลงและชิดติดกัน
  3. มีการสูญเสียการทำงานของมือ การเคลื่อนไหวแขนจะน้อย เช่น เวลาเดินจะไม่แกว่งแขน และกล้ามเนื้อใบหน้าไม่มีการเคลื่อนไหวทำให้ดูหน้าตาย ไม่แสดงอารมณ์ที่ใบหน้า
  4. สูญเสียการทรงตัว โดยเฉพาะเวลาเดินจะทรงตัวไม่ได้ ผู้ป่วยจะโน้มตัวไปข้างหน้า ขาดความสมดุลในการทรงตัว ทำให้ผู้ป่วยหกล้มได้ง่าย
กลุ่มอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Non-Motor symptoms)
เช่น อาการหลงลืม ขี้กังวล เหนื่อยล้าง่าย เหงื่อออกมาก ท้องผูก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันจากประวัติ อาการ และจากการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อแยกโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกัน เช่น การตรวจภาพของสมองด้วย MRI (Magnetic resonance imaging) หรือตรวจด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เครื่อง SPECT (Single-photon emission computed tomography) หรือเครื่อง PET (Positron emission tomography) เป็นต้น
การรักษา
  1. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เป้าหมายการรักษาคือการควบคุมอาการต่างๆ โดยการเพิ่มสารโดปามีน เข้าไปในสมอง ด้วยการให้รับประทานยาที่มีผลเพิ่มสารโดปามีน เช่น ลีโวโดปา (levodopa) ในบางรายแพทย์อาจจะพิจารณาการผ่าตัดสมอง
  2. รับประทานอาหารที่เหมาะสมให้ครบ 5 หมู่ แต่ระวังไม่ควรรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป เพราะจะทำให้การดูดซึมของยาลีโวโดปาลดลง รับประทานอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์ เพื่อลดอาการท้องผูก เมื่อมีปัญหาการกลืนต้องปรับเป็นอาหารอ่อน ให้กินทีละน้อยแต่บ่อยขึ้น
  3. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น ช่วยในการทรงตัว ช่วยให้การทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้น โดยรับการแนะนำและฝึกฝนจากนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายงานการรำไทเก็ก ช่วยให้ผู้ป่วยพาร์กินสัน เคลื่อนไหวและทรงตัวได้ดีขึ้น และการร้องเพลงประสานเสียงยังช่วยให้ผู้ป่วยพูดได้คล่องขึ้นแก้ปัญหาการพูดติดขัดได้
  4. การปรับสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้สะดวกมากขึ้น เช่น การมีราวให้มือจับเวลาเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันการหกล้ม ภายในบริเวณบ้านควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ ระวังอย่าให้พื้นภายในบ้านเปียกชื้น ควรมีแผ่นยางกันลื่น ห้องน้ำควรมีโถชักโครก เป็นต้น
ผู้ป่วยพาร์กินสัน ยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ถ้าติดตามการรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รับประทานยาตรงตามที่แพทย์สั่ง รับประทานอาหารที่เหมาะสมและออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้หกล้ม ทำงานอดิเรกที่ชอบได้ เช่น การวาดรูป จะเป็นการช่วยฝึกการเคลื่อนไหวของมือ และทำให้เกิดความเพลิดเพลินได้
หากคุณสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ ขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพราะการรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ