5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด

กินอาหารอย่างไร ช่วยต้านหวัด

เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงภูมิต้านทานต่ำ อาจนำมาสู่โรคหวัดได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ดี จะช่วยสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันหวัดได้ หากเริ่มมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจไม่ออก อาจมีอาการคันคอร่วมด้วย อาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะบอกเราว่าร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่สภาพอากาศใหม่ ทำให้มีผลข้างเคียงดังกล่าว ซึ่งสามารถป้องกันได้ ด้วยการเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง
ง่ายๆ 5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด
1. รับประทานผัก ผลไม้หลากสี
ผักต่างๆ เช่น มันเทศ แครอท ผักโขม และบีทรูทนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่งจำเป็นต่อร่างกายของเรา วิตามินเอช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดความเจ็บป่วย ป้องกันการติดเชื้อได้
2. เพิ่มกระเทียมหรือหัวหอมในมื้ออาหาร
ผักตระกูลนี้ มีสารอะลิซิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญกับร่างกาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ยังช่วยสุขภาพทางเดินอาหารที่ดีในมีพรีไบโอติก โดยเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ
3. ทานวิตามินซีให้เพียงพอ
วิตามินซีที่เข้มข้นเป็นพิเศษได้การยอมรับว่าเป็นยาป้องกันไข้หวัดทั่วไปมาเป็นเวลานาน การรับประทานผักและผลไม้ปริมาณมากทุกวันควรให้วิตามินซีเพียงพอแก่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม บรอกโคลี ถั่วลันเตา กีวี มะระกอ ฝรั่ง และผลไม้รสเปรี้ยว
4. การทานข้าวโอ้ตและธัญพืชต่าง ๆ
ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์อุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ที่เรียกว่าเบต้ากลูแคน ซึ่งนอกจากจะทำให้เราอิ่มแล้ว ยังมีผลช่วยปรับภูมิคุ้มกัน - เพิ่มจำนวนและการทำงานของเซลล์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
5. การรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีแร่ธาตุสังกะสี (Zinc, Zn)
อาหารที่มีกลุ่มโปรตีนสูงๆ เช่น หอยนางรม เนื้อไก่ ไข่แดง เนื้อหมู อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอย โดยเฉพาะหอยนางรม จะพบสังกะสีมากที่สุด แร่ธาตุสังกะสีช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และช่วยลดการอักเสบ ลดระยะการเจ็บป่วยได้

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ชุดตรวจสุขภาพ SML Care [Free gift]

ชุดตรวจสุขภาพ SML Ca […]

โปรแกรมตรวจสุขภาพ 12.12

โปรแกรมตรวจสุขภาพ 12 […]

เพราะความรักและกำลังใจ จากบุคคลที่รัก ทำให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า

เพราะความรัก และกำลังใจจากบุคคลที่รัก ทำให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า

มนุษย์ทุกคน ล้วนต้องการความรัก ความเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานการดำเนินชีวิตและทำภารกิจในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรักจากบุคคลที่รัก การโอบกอด ด้วยท่าทีอบอุ่น ห่วงใย ให้ความรักและกำลังใจ รวมถึงเข้าใจ เปิดใจพร้อมรับฟังความรู้สึกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยลดปัญหาอาการของโรคบางชนิด เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) และปัจจุบันในสังคมยุคเทคโนโลยีก้าวไกล สังคมโลกโซเชียลไร้พรมแดน ตัวเราก็อาจเป็นทั้งคนทำลาย หรือเป็นเหยื่อกับการกระทำของบุคคลที่ไม่รู้จัก ก็อาจส่งผลกระทบในการเกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนลงมือแชร์ กดไลค์ หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ที่จะทำให้บุคคลอื่นรู้สึกด้อยค่า ย่ำแย่ อับอาย เสื่อมเสีย ควรคิดก่อนเพราะเมื่อทำไปแล้ว แม้จะถูกลบแต่ก็ยังฝังในจิตใจของผู้ถูกกระทำเสมอ

โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตของตนเองและบุคคลรอบข้าง เพื่อป้องกันความเสี่ยงก่อนเกิดภาวะซึมเศร้า เรามีวิธีสังเกตอาการของตัวเองและคนใกล้ชิด ง่ายๆ ดังนี้
  • มีปัญหาด้านการนอน เช่น หลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ หรือนอนมากผิดปกติ
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ภายใน 1 เดือน
  • อาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง
  • ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว
  • การทำงานแย่ลง ไม่มีสมาธิในการทำงาน ขาดงานบ่อย
  • ลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ จิตใจเหม่อลอยบ่อย
  • รู้สึกเบื่อ เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สะเทือนใจง่าย
  • คิดมาก หรือไม่สู้ปัญหา
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า
  • ร้องไห้บ่อย อ่อนไหว ไม่แจ่มใส
  • หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป
  • หากผื่นลมพิษมีปัจจัยกระตุ้น ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นนั้นๆ
การรักษาทำได้หลายวิธี เช่น
  1. การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า เนื่องจากโรคซึมเศร้ามีสาเหตุเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองเสียสมดุล การให้ยาต้านเศร้า เพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยควรทานยาจนดีขึ้นและทานต่ออีกอย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
  2. การรักษาทางจิตใจ นับเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีในการลดอาการซึมเศร้าวิธีหนึ่ง การรักษาด้วยจิตบำบัดมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม การรักษาจิตบำบัดเชิงลึก เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจปมขัดแย้งที่อยู่ในจิตใจของตนเองจนหันมาสู่โรคซึมเศร้า
  3. การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมอง TMS ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีภาวะเสียสมดุลของสารเคมีในสมอง การรักษาด้วย dTMS (deep Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นสมองในจุดที่มีผลต่อโรค เพื่อปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติและช่วยลดอาการซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยา หรือรับประทานยาเกินหนึ่งปีแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก อาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือเป็นอย่างเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น มีเหตุการณ์มากระทบรุนแรงมากน้อยเพียงใด หากพบว่าตนเองมีอาการข้างต้นมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาต่อไป การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม อาการของโรคก็จะทุเลาลงและกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ
ดังนั้นความรักและกำลังใจจากบุคคลที่รักหรือคนรอบข้าง จึงเป็นการป้องกัน “โรคซึมเศร้า” ที่ดีที่สุด และสำหรับเด็กๆ ในสังคมปัจจุบัน เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญกับเด็กมาก พ่อแม่ต้องเลี้ยงลูก 3 ด้าน คือ 1. ทางร่างกาย คือรักษาสุขภาพให้แข็งแรง 2. ทางจิตใจ คือรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง รู้จักรักตัวเอง 3. ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความคิด รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี คุณพ่อคุณแม่ทำได้โดยสื่อสารด้วยหัวใจ 3 ขั้นตอน คือ เปิดใจ เข้าใจ รับฟัง แล้วบุคคลที่รัก จะห่างไกลจากโรคซึมเศร้า
อ้างอิง
กรมสุขภาพจิต
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลบางโพ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

CYBERDYNE หุ่นยนต์ฟื้นฟู กล้ามเนื้ออ่อนแรง

CYBERDYNE หุ่นยนต์ฟื้นฟู กล้ามเนื้ออ่อนแรง

HAL® หรือ Hybrid Assistive Limb
HAL® หรือ Hybrid Assistive Limb ไซเบอร์ไดน์ หุ่นยนต์ประเภทไซบอร์กตัวแรกของโลกที่ใช้ในทางการแพทย์ สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติในช่วงล่างและผู้ที่มีขาอ่อนแรง HAL จะช่วยเป็นผู้นำทางให้ผู้ป่วยไปสู่การเดินได้ ด้วยการผสานการทำงานระหว่างสมองมนุษย์ กับ หุ่นยนต์
การทำงานของ HAL หรือหุ่นยนต์ไซบอร์ก Cyberdyne แตกต่างจากหุ่นยนต์ทั่วไปที่ใช้ระบบสั่งการด้วยปุ่ม หรือรีโมตคอนโทรล หุ่นยนต์ไซบอร์ก Cyberdyne ใช้ระบบปฏิบัติการแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหุ่นยนต์ Cyberdyne โดยผู้ป่วยจะสั่งการให้แขนขาขยับ HAL จะดักจับสัญญาณความคิดของผู้ป่วย และให้การช่วยเหลือมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของแพทย์กายภาพ วิธีนี้จะทำให้มีการฟื้นฟูวงจรเคลื่อนไหวตามธรรมชาติให้กลับมาได้เร็วขึ้น ต่างจากหุ่นยนต์กายภาพโดยทั่วไปซึ่งไม่สามารถดักจับสัญญาณความคิดของผู้ป่วย แต่เป็นการทำงานช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียวทำให้ประสิทธิภาพต่ำกว่าในการฟื้นฟูผู้ป่วย
การทำงานของ CYBERDYNE
01 THINK
First of all, think "I want to walk!"
คิด ให้คิดว่า "ฉันอยากเดิน!"
เริ่มจากให้สมองเราคิดขึ้นมาในสมองว่า "ฉันอยากเดิน" เพราะก่อนที่คนเราจะขยับร่างกาย สมองจะต้องสั่งการก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อเริ่มคิดว่า "ฉันอยากเดิน" สมองจะส่งสัญญาณ (Signal) ไปยังกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยผ่านไปยังเส้นประสาทต่างๆ (Nerves)
02 SEND
Receiving the signals, muscles move.
ส่ง : เมื่อรับสัญญาณ กล้ามเนื้อจะเคลื่อนไหว
ขั้นตอนต่อไป คือ การส่งสัญญาณจากสมองไปยังกล้ามเนื้อ กรณีคนที่มีสุขภาพเป็นปกติ กล้ามเนื้อแต่ละมัดจะสามารถสนองสัญญาณจากสมองได้อย่างแข็งแรงและรวดเร็วตามที่ใจเราคิด สำหรับการเดินเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เพราะสมองต้องควบคุมกล้ามเนื้อหลายมัด ซึ่ง HAL สามารถตอบสนองสัญญาณจากสมองได้เช่นเดียวกับ กล้ามเนื้อ
03 READ
HAL reads signals.
อ่าน : HAL อ่านสัญญาณ
ขั้นตอนนี้ HAL จะอ่านสัญญาณจากสมอง โดยสัญญาณจากสมองจะถูกส่งไปยังกล้ามเนื้อโดยการแพร่ผ่านไปยังผิวหนัง (Skin Surface) ซึ่งเรียกว่า Bio-electric signals [BES] ซึ่ง HAL นั้นสามารถอ่านสัญญาณ BES ได้ เพียงการแนบตัวจับสัญญาณไปบนผิวของร่างกาย แม้ในขณะที่เรายังสวมเสื้อผ้าอยู่ก็ยังสามารถจับสัญญาณ BES ได้ โดย HAL สามารถจับสัญญาณข้อมูลหลากหลายจากสมองว่าการเคลื่อนไหวอันไหนคือสิ่งที่สมองตั้งใจไว้
04 MOVE
HAL moves as the wearer intends.
เคลื่อนไหว : ตามที่ผู้สวมใส่ต้องการ

ขั้นตอนนี้ HAL จะเคลื่อนไหวได้ตามคำสั่งของสมอง และยังสามารถทำให้ผู้สวมใส่สามารถออกแรงได้มากกว่าตอนก่อนสวม ใส่ HAL ได้

O5 FEEDBACK
The brain learns motions.
ข้อเสนอแนะ : สมองเรียนรู้การเคลื่อนไหว
ขั้นตอนสุดท้ายของกลกนี่ไม่ใช่จบแค่การเคลื่อนไหวร่างกายได้เพียงเท่านั้น แต่สมองจะยืนยันว่าสัญญาณที่ส่งไปนั้นสามารถทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้จริง ถ้าผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือเรื่องการเดินจาก HAL อย่างเหมาะสมในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ความรู้สึกที่ว่า "ฉันสามารถเดินได้แล้ว" จะถูกส่งกลับไปที่สมอง นั่นคือสมองจะเรียนรู้แนวทางที่จะปล่อยสัญญาณที่เหมาะสมสำหรับการเดินได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเดินได้เองโดยไม่จำเป็นต้องให้ HAL เข้ามาช่วยเหลืออีกต่อไป และทั้งหมดนี้คือ HAL หุ่นยนต์ที่มอบทางออกให้ผู้ป่วยที่เดินไม่ได้ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง
HAL ได้รับการผลิต CE [CE O197] เป็นครั้งแรกในฐานะอุปกรณ์การแพทย์หุ่นยนต์สำหรับใช้ในทางการแพทย์ ได้รับการรับรองว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของ Medical Device Directives ในสหภาพยุโรป และได้รับใบรับรองจาก IS013485 (อุปกรณ์การแพทย์) เป็นครั้งแรกในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้หุ่นยนต์ และยังได้การรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) ตั้งแต่ปี 2560
ไซเบอร์ดายน์ เหมาะกับใคร
กลุ่มผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีความผิดปกติทางร่างกายในการเคลื่อนไหว ได้แก่

  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง
  • ผู้ที่ศูนย์เสียการทรงตัวและการเคลื่อนไหว
  • ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุทางสมอง
  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
  • ผู้ป่วยโปลิโอ
การรักษาขึ้นอยู่กันแนวทางการรักษาของแพทย์ระบบประสาทและสมอง และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ครอบครัวของ HAL มีด้วยกันอยู่ 3 รุ่นด้วยกัน ได้แก่
กลุ่มผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีความผิดปกติทางร่างกายในการเคลื่อนไหว ได้แก่

  • HAL Lower Limb Type ช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตส่วนล่างตั้งแต่เอวลงไปถึงเท้า
  • HAL Single Joint Type ช่วยคนไข้ที่ไม่สามารถยืดหรือหดข้อได้ไม่ว่าจะเป็นข้อแขน มือ เข่า หรือเท้า
  • HAL Lumbar Type ช่วยคนไข้ที่ไม่สามารถยกตัวขึ้นได้หรือสูญเสียความสามารถในการนั่ง
ด้วยความห่วงใยและปรารถนาดี
พญ.ชุติมา สายเพ็ชร์
อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
อัตราค่าบริการ
 
Lower Limb
จำนวนครั้ง
ราคา
หมายเหตุ
1 ครั้ง
8,500
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
4 ครั้ง
32,000 รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ
8 ครั้ง
62,000
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
16 ครั้ง
120,000 รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ
 
Single Joint
จำนวนครั้ง
ราคา
หมายเหตุ
1 ครั้ง
7,500
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
4 ครั้ง
28,000 รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ
8 ครั้ง
54,000
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
16 ครั้ง
104,000 รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ

 

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ปวดชามือ นิ้วมือจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดบริเวณข้อมือ

ปวดชามือ นิ้วมือจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดบริเวณข้อมือ

CARPAL TUNNEL SYNDROME (CTS)
อาการปวดมือและชาตามนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง บางรายปวดชาร้าวไปถึงข้อศอก บางครั้งจะมีอาการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือลำบาก หรือหยิบจับของไม่ถนัด รู้สึกนิ้วมืออ่อนแรง ถ้าสะบัดมือจะรู้สึกอาการปวดชาน้อยลง บางรายรู้สึกปวดชามือตอนกลางคืน หรือตื่นนอน
สาเหตุ
เกิดจากใช้มือ ข้อมือทำงานเยอะ และเป็นเวลานาน ทำให้ผังพืดที่อยู่เหนือเส้นประสาทมีเดียนหนาตัว และอักเสบ กดรัดเส้นประสาทเมเดียน ทำให้ชาและปวดมือ เช่น การหิ้วของหนัก การตอกตะปู การพรวนดิน การรีดผ้าซักผ้า การใช้งานคอมพิวเตอร์ การขับมอเตอร์ไซด์ และการทำอาหาร เป็นต้น
การรักษา มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
  1. การพักมือ หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือ และกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น และอาจใส่ที่ดามข้อมือ เพื่อลดอาการ
  2. การรับประทานยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  3. การฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบและลดบวมของผังพืด
  4. การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในรายที่มีอาการเป็นมากหรือเป็นมานานเพื่อตัดพังผืดที่หนาตัว และกดทับเส้นประสาทมีเดียน เป็นการผ่าตัดเล็กไม่ต้องนอนพักโรงพยาบาล ไม่ต้องดมยาสลบ แผลผ่าตัดประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่บนรอยฝ่ามือ พักฟื้นประมาณ 10-14 วัน หลังตัดไหม สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

สาระน่ารู้ “อาหารบำบัดภาวะไขมันในเลือดสูง”

สาระน่ารู้ “อาหารบำบัดภาวะไขมันในเลือดสูง”

Knowledge "Food for Dyslipidemia"
ข้อแนะนำในการรับประทานอาหาร ปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารส่วนรับประทานได้
  1. รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันน้อย เลือกวิธีการหุงต้มอาหารแบบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยำ หรือผัดน้ำมันน้อย
  2. ควรใช้น้ำมันพืชชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fattyacid) ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง (ในปริมาณวันละ 5-7 ช้อนชา)
  3. เน้นการรับประทานเต้าหู้และเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาแซลมอน จะช่วยในการเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDL) และลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL Triglyceride)
  4. รับประทานผักและผลไม้ไม่หวานจัดเป็นประจำทุกมื้อ และให้หลากหลาย (ผักและผลไม้ไม่ควรน้อยกว่า 400 กรัม/วัน)
  5. หลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดกรดไขมันอิ่มตัวสูง (saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมัน หมู ไก่
  6. หลีกเลี่ยง เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง และอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ปลาท่องโก๋ กล้วยแขก ข้าวหาหมู ผัดไท หอยทอด ผัดซีอิ้ว
  7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมันติดหนัง เครื่องในสัตว์ติดมัน ติดหนัง เครื่องในสัตว์
  8. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานซ์สูง (Trans fatty acid) เช่น พาย โดนัท ขนมขบเคี้ยว เนยเทียม มาการีน หรือ หนมเบเกอรรี่ต่างๆ
  9. ควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง และควรรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อน 18.00 น (ควบคุมหรือป้องกันภาวะ Triglyceride สูง)
  10. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวานหรือมีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ต่างๆ น้ำอัดลม (ควบคุมหรือป้องกันภาวะ Triglyceride สูง)
  11. งดการสูบบุหรี่ แลงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอร์ทุกชนิด
  12. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน
  13. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (ค่า BMI = 18.5-22.9)
คำนวณ BMI

ตารางแสดงปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารส่วนรับประทานได้ 100 กรัม
ชนิดอาหาร
ปริมาณ(กรัม)
100 g.
โคเลสเตอรอล(มก.)
Cholesterol(mg.)
ประเภทไข่
ไข่ไก่ (ไข่แดง)
6 ฟองใหญ่
1602
ไข่ไก่ (ไข่ขาว)
3 ฟองใหญ่
0
ไข่ไก่ทั้งฟอง
2 ฟองใหญ่
548
ไข่นกทาทั้งฟอง
11 ฟองใหญ่
844
ไข่เป็ดทั้งฟอง
2 ฟองกลาง
884
ไข่ปลา
10 ช้อนชา
374
ประเภทอาหารทะเล
ปลากระพงแดงสุก
8 ช้อนโต๊ะ
45
ปลาเก๋าทะเลสุก
8 ช้อนโต๊ะ
37
ปลาทูสุก
8 ช้อนโต๊ะ
45
ปลาโอสุก
10 ช้อนโต๊ะ
46
ปลากระบอกสุก
8 ช้อนโต๊ะ
60
ปลาหมึกดองสุก
10 ช้อนโต๊ะ
224
ปลาหมึกกล้วยสุก
10 ช้อนโต๊ะ
260
กุ้งสุก
8 ช้อนโต๊ะ
195
เนื้อปูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
100
หอยนางรมสุก
4 ตัวขนาดกลาง
100
หอยแครงสุก
15 ตัวขนาดกลาง
67
หอยแมลงภู่สุก
15 ตัวขนาดกลาง
56
หอยเชลล์สุก
7 ตัวขนาดกลาง
61
ประเภท หมู ไก่
เนื้อหมูล้วน
10 ช้อนโต๊ะ
65
เนื้อหมูติดมัน
7 ช้อนโต๊ะ
72
เนื้อหมูติดมัน
10 ช้อนโต๊ะ
93
หมู 3 ชั้น
7 ช้อนโต๊ะ
72
ซี่โครงหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
121
ตับหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
355
ไส้หมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
143
กระเพราะหมูสุก
8 ช้อนโต๊ะ
276
ไตหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
480
ปอดหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
387
หัวใจหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
221
หัวใจหมูสุก
10 ช้อนโต๊ะ
2552
แคบหมู
2.5 ถ้วยตวง
95
แคบหมูติดมัน
2.5 ถ้วยตวง
328
เบคอนสุก
10 ช้อนโต๊ะ
85
แฮม
10 ช้อนโต๊ะ
59
กึ๋นไก่
8 ช้อนโต๊ะ
171
เนื้อไก่ล้วนสุก
10 ช้อนโต๊ะ
89
เนื้อไก่ติดหนัง
7 ช้อนโต๊ะ
75
ตับไก่สุก
10 ช้อนโต๊ะ
631

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ”สมองและระบบประสาท"
Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง(EEG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

Electroencephalography
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองคืออะไร
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองหรือ EEG เป็นการบันทึกสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากผลรวมของกระแสไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์ในสมอง ผลการตรวจจะปรากฏในรูปแบบกราฟบนแถบกระดาษหรือในจอภาพ (มอนิเตอร์)
ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองมีอะไรบ้าง
  1. ผู้ตรวจติดอิเลคโทรดบนหนังศีรษะในตำแหน่งต่าง ๆ
  2. เมื่อเปิดเครื่องตรวจ สัญญาณไฟฟ้าจากสมอง จะปรากฏเป็นเส้นกราฟบนแถบกระดาษหรือจอภาพตลอดเวลาที่ตรวจ
  3. ผู้ป่วยสามารถนอนหลับตาในขณะตรวจบางครั้ง ผู้ตรวจอาจขอให้ลืมตา หลับตา หายใจเข้าออกลึก ๆ คิดคำนวณ หรือ จำคำต่าง ๆ ขณะตรวจ
  4. ระยะเวลาการตรวจนานประมาณ 1 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านี้ ถ้ามีการตรวจพิเศษ
  5. มักมีการถ่ายวิดีโอไปพร้อมกับการบันทึกคลื่นสมองเพื่อวินิจฉัยได้ดีขึ้น
  6. กรณีเด็กเล็กหรือเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการที่ไม่ให้ความร่วมมือ อาจต้องให้ยานอนหลับ หลังจากนั้นอาจปลุกเด็กให้ตื่น เพื่อตรวจในขณะตื่นด้วย
นอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีวิธีกระตุ้นให้ผิดปกติในคลื่นสมองบางชนิดปรากฏชัดเจนมากขึ้นได้แก่
  1. การหายใจลึกนาน 3 – 5 นาที
  2. ใช้แสงไฟกระพริบฉายที่ใบหน้าผู้ป่วย แสงไฟกระพริบนี้ไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อผู้ป่วย
  3. การอดนอน โดยเข้านอนดึกที่สุดและปลุกให้ตื่นเช้ากว่าปกติ
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจคลื่นสมอง
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจคลื่นสมองสามารถลดเวลาการตรวจคลื่นสมองและไม่ต้องเสียเวลากลับมาทำซ้ำ การเตรียมตัวทำดังนี้
  1. สระผมให้สะอาด ห้ามใส่น้ำมันหรือครีมใดๆ
  2. ถ้ากินยากันชักอยู่ให้กินต่อไปห้ามหยุดยากันชักเองอย่างกะทันหันเพื่อทำการตรวจ ยกเว้นกรณีแพทย์ระบบประสาทบอกให้หยุด
  3. เด็กเล็กผู้ปกครองควรเตรียมขวดนมหรือน้ำ และของเล่นของเด็กมาด้วย
  4. ในเด็ก ถ้าสามารถทำให้เด็กไม่นอนหลับก่อนมาตรวจเด็กอาจหลับได้ขณะที่ทำการตรวจโดยไม่ต้องให้ยานอนหลับ
การตรวจคลื่นสมองในผู้ป่วยโรคลมชักจะพบความผิดปกติเสมอหรือไม่
ผู้ป่วยโรคลมชักอาจตรวจไม่พบความผิดปกติในการตรวจคลื่นสมองเพียงครั้งเดียว ดังนั้นผลการตรวจที่ปกติไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นโรคลมชัก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

5 ไอเดียการเลือกของขวัญให้คุณและคนที่คุณรัก

5 ไอเดียการเลือกของขวัญให้คุณและคนที่คุณรัก

Gift for Health
เริ่มเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข  หลายคนคงมองหาของขวัญให้กับตัวเอง หรือเพื่อมอบให้คนที่เรารัก แต่ของขวัญเหล่านั้นจะได้ประโยชน์ทางด้านไหนกันนะ วันนี้จึงมานำเสนอไอเดียการเลือกของขวัญที่ดีต่อสุขภาพ แต่จะเป็นด้านไหนมาลองดูกันค่ะ
1. ของขวัญที่ดีต่อ สมอง
ของขวัญที่ดีและมีประโยชน์ต่อสมอง ก็คือ ความรู้หรือทักษะใหม่ๆ  การให้ของขวัญเป็นพวกหนังสือต่างๆ หรือ เกมส์เสริมความรู้ หรือคอร์สเรียนเสริม จะช่วยกระตุ้นสมองให้เกิดความคิด ความรู้ และสร้างสรรค์   เพื่อให้ทันกับโลกยุดปัจจุบันด 4.0  ดังนั้นทุกอย่างจะรวดเร็ว การพัฒนาตนเองให้ทันต่อโลกจึงเป็นสิ่งจำเป็นนะคะ
2. ของขวัญที่ดี ต่อ ร่างกาย
ของขวัญสำหรับร่างกาย ก็คงไม่พ้นเรื่องเครื่องประทินผิวต่างๆ ที่ผลิตด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ  รวมถึงอุปกรณ์กีฬา ที่จะส่งเสริมให้ร่างกาย ดู ฟิตแอนด์เฟริ์ม ดูดีจากภายนอก
3. ของขวัญที่ดี ต่อ ใจ
หลังจากที่ดูดีจากภายนอกแล้ว ของขวัญที่ดีสำหรับภายใน  คือการ ‘ให้โอกาส’ กับตัวเอง ทำในสิ่งที่อยากทำ ซึ่งอาจทำได้หลายอย่าง เช่น การไปท่องเที่ยวในที่ใหม่ๆ  ทานอาหารที่ชื่นชอบหรือเมนูใหม่  แม้แต่การเปิดโอกาสรับสิ่งใหม่ๆ เพื่อนใหม่  เทคโนโลยีใหม่  บางคนอาจจะเลือกการฟังธรรม เพื่อจรรโลงจิตใจก็ได้ค่ะ
4. ของขวัญที่ดี ต่อ สิ่งแวดล้อม
ของขวัญชิคๆ สุดฮิตในขณะนี้  คือ กระเป๋ารักโลก หรือถุงผ้าแบบ  DIY  รวมถึงการให้ หรือการร่วมโครงการปลูกต้นไม้  การให้ของขวัญที่ดี ต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการให้ที่สามารถมอบให้กับคนจำนวนมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่
5. ของขวัญที่ดี ต่อ สุขภาพ
ของขวัญชิ้นนี้ คือ การรักษาสุขภาพ เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์  ผักผลไม้ที่เป็นออร์แกนิค หรือออกกำลังกาย  รวมถึงการตรวจสุขภาพ  ตามปกติแล้วเราทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อคัดกรองโรคในผู้ที่ยังไม่มีอาการ และให้เจอโรคในระยะแรกเริ่มต้น  ซึ่งจะทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เป็นอย่างไรกันบ้าง คิดออกหรือยังคะว่าเลือกชนิดไหน แต่ของขวัญเหล่านี้ที่จริงแล้ว เราควรให้กับตัวเองให้ครบทุกชิ้น เพราะแต่ละชิ้นนั้นสร้างคุณค่าต่างๆ กัน ซึ่งอาจจะไม่ต้องเป็นให้ตามเทศกาลเสมอไป แต่เราควรให้กันทุกวันค่ะ โดยเฉพาะของขวัญเพื่อสุขภาพชนิดสุดท้ายที่ควรมอบให้กันทุกๆ ปี เพราะในแต่ละปีเราต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่อยูรอบๆ ตัวและอายุที่มากขึ้นทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ดูแล ป้องกันตั้งแต่วันนี้นะคะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

งูสวัด ภัยเงียบ สำหรับผู้สูงอายุ

งูสวัด ภัยเงียบ สำหรับผู้สูงอายุ

Herpes Zoster
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "วาริเซลลาซอสเตอร์ (วี-แซด) ไวรัส" ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ครั้งแรกจะแสดงอาการของไข้สุกใส (ซึ่งมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก) ดังนั้นผู้ป่วยจึงมักมีประวัติเคยเป็นไข้สุกใสมาก่อน หลังจากหายจากไข้สุกใสแล้ว เชื้อจะหลบซ่อน และแฝงตัวอยู่บริเวณปมประสาทใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจนานหลายปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
เมื่อร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น อายุมากขึ้น ถูกกระทบกระเทือน มีความเครียด ทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ โรคเอดส์หรือโรคมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน เป็นต้น เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นประสาทอักเสบ เชื้อจะกระจายไปตามเส้นประสาทที่อักเสบ และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวยาวตามแนวเส้นประสาท คล้ายกับรูปร่างของงู จึงเรียกว่า โรคงูสวัด
อาการ
ก่อนมีอาการผื่นขึ้น 1-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแปล๊บ คล้ายถูกไฟช็อตในบริเวณที่ผื่นจะขึ้น ซึ่งเป็นบริเวณปมประสาทที่มีเชื้อไวรัสแฝงตัวอยู่ อาจมีอาการคันและแสบร้อนร่วมด้วย เป็นพักๆ หรือตลอดเวลา บางรายอาจมีไข้ หนาวสั่น ร่วมด้วย ผื่นมักเริ่มขึ้นตรงบริเวณที่มีอาการ ลักษณะเป็นผื่นแดงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ต่อมากลายเป็นตุ่มน้ำใสเรียงตามแนวผิวหนังซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ตามแนวเส้นประสาทที่อักเสบ ตุ่มน้ำมักทยอยขึ้นใน 4 วันแรก แล้วค่อยๆ แห้งตกสะเก็ดใน 7-10 วัน เมื่อตกสะเก็ดและหลุดออกไป อาการปวดจะทุเลาไป ผื่นจะอยู่นาน 10-15 วัน ผู้สูงอายุอาจ มีอาการนานเป็นเดือนกว่าจะหาย
งูสวัดพันตัวแล้วทำให้ตายหรือไม่ ?
โรคงูสวัดไม่ทำให้ตาย และสามารถหายได้เองในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานปกติ โดยผื่นในโรคงูสวัดนั้น จะไม่สามารถพันตัวเราจนครบรอบเอวได้เพราะแนวเส้นประสาทของตัวเรา จะมาสิ้นสุดที่บริเวณกึ่งกลางลำตัวเท่านั้น ดังนั้นในคนธรรมดาที่มีภูมิต้านทานปกติ งูสวัดจะไม่ลุกลามเกินแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่งของร่างกาย ยกเว้นในกรณีที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้ยากดภูมิต้านทาน ผื่นอาจปรากฏขึ้นสองข้างพร้อมกัน ทำให้ดูเหมือนงูสวัดพันรอบตัวได้ บางครั้งในรายที่เป็นรุนแรง อาจเกิดผื่นงูสวัดแบบแพร่กระจายผื่นอาจลุกลามเข้าสู่สมองและอวัยวะภายในอื่นๆ เช่น ปอดหรือตับเป็นต้น ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
งูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่ ?
ในคนที่ภูมิคุ้มกันปกติ การสัมผัสหรือใกล้ชิดไม่ได้ทำให้ติดงูสวัด เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยงูสวัดนั้นเกิดยาก เพราะงูสวัดจะแพร่เชื้อในระยะที่ตุ่มน้ำแตกและสัมผัสสารคัดหลั่งจากตุ่มน้ำโดยตรง จึงสามารถที่จะสัมผัสใกล้ชิด กินข้าวร่วมกับผู้ป่วยได้ตามปกติ ยกเว้นในคนที่ยังไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อน หากสัมผัสคนที่เป็นงูสวัดก็จะได้รับเชื้อและเป็นไข้สุกใสได้ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดแบบแพร่กระจายอาจสามารถแพร่เชื้อทางลมหายใจได้ด้วย
การรักษา
การรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ เป็นต้น เนื่องจากโรคงูสวัดสามารถหายได้เอง เมื่อผู้ป่วยมีภูมิต้านทานดี เช่น พักผ่อนเพียงพอ ในบางครั้งหากผื่นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เป็นหนอง การใช้ยาปฏิชีวนะแบบทา หรือรับประทานจะมีประโยชน์ สำหรับผู้สูงอายุ หรืออายุมากกว่า 50 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก หรือมีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่แรกที่มีผื่นขึ้น การใช้ยาต้านไวรัสแบบรับประทาน ที่ใช้บ่อยคือยา อะไซโคลเวียร์ ครั้งละ 800 มก.วันละ 5 ครั้ง ทุก 4 ชั่วโมง (เว้นมื้อดึก 1 มื้อ) การให้ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการจะลดความรุนแรงของโรค และช่วยให้หายเร็วขึ้น รวมทั้งลดภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้

ในรายที่รุนแรง แบบแพร่กระจายหรือเข้าตา แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสในรูปแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำแทน ซึ่งผลการรักษาจะได้ประสิทธิภาพกว่ามาก และลดสภาวะแทรกซ้อนอื่นที่จะตามมา
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ อาการปวดตามแนวประสาทหลังเป็นงูสวัด
โดยเฉลี่ยพบได้ประมาณร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยงูสวัด พบได้ประมาณร้อยละ 50 ในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป และมากกว่าร้อยละ 70 ในผู้ป่วยอายุ 70 ปีขึ้นไป โดยยิ่งอายุมากยิ่งเป็นรุนแรงและนาน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่แรก หรือเกิดขึ้นภายหลังผื่นหายหมดแล้วก็ได้ มีลักษณะปวด ลึกๆ แบบปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลา หรือปวดแบบแปลบๆ เสียวๆ (คล้ายถูกมีดแทง) เป็นพักๆ ก็ได้ มักปวดเวลาถูกสัมผัสเพียงเบาๆ ปวดมากตอนกลางคืนหรือเวลาอากาศเปลี่ยนแปลง บางครั้งอาจรุนแรงมากจนทนไม่ได้ อาการปวดมักหายได้เอง (ร้อยละ 50 หายเองภายใน 3 เดือน และร้อยละ 75 จะหายเองภายใน 1 ปี) บางรายอาจปวดนานหลายปี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งถ้าขึ้นที่บริเวณใบหน้า
การปฏิบัติตนเมื่อพบว่าเป็นงูสวัด
  1. รักษาแผลให้สะอาด ในระยะเป็นตุ่มน้ำใสที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือ กรดบอริก 3% ปิดประคบไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วชุบเปลี่ยนใหม่ ทำวันละ 3-4 ครั้ง ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่จะเข้าสู่แผลได้ ควรใช้น้ำเกลือสะอาดชะแผล แล้วปิดด้วยผ้าก๊อซสะอาด
  2. ถ้าปวดแผลมากสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ได้
  3. ไม่ควรใช้เล็บแกะเกาตุ่มงูสวัดเพราะอาจทำให้ มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กลายเป็นตุ่มหนอง แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็น
  4. การรับประทานอาหาร สามารถรับประทานได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อห้าม
  5. ไม่ควรเป่า หรือพ่นยาลงบนแผล เพราะจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็น
ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นงูสวัดแล้วต้องมาพบแพทย์ทันที
  1. ผู้สูงอายุ มากกว่า 50 ปีชึ้นไป
  2. ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ จากการได้ยากดภูมิต้านทาน ได้แก่ ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือจากการได้รับการฉายรังสี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งของต่อมน้ำเหลือง หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น
  3. มีผื่นงูสวัดที่จมูก หรือใกล้ตา เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะลามเข้าตาได้ ทำให้เกิดกระจกตาอักเสบ แผลกระจกตา ม่านตาอักเสบ ต้อหิน ประสาทตาอักเสบ หรือตาบอดในที่สุด
  4. มีผื่นงูสวัดที่ใบหน้า,บริเวณหูด้านนอกหรือแก้วหู เพราะอาจทำให้เกิดอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก บ้านหมุนคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรืออาเจียน ได้
  5. มีผื่นงูสวัดที่เข้าได้กับผื่นแบบแพร่กระจาย
  6. มีอาการปวดรุนแรงซึ่งกระทบต่อชีวิตประจำวัน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

อาหาร กับผู้ป่วยเบาหวาน

โรคเบาหวาน เกิดจากการทำงานของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิต อินซูลิน(Insulin) ออกมาได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ไม่เพียงพอกับการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดมาใช้เป็นพลังงาน หากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และหากผู้ที่เป็นเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆได้
หมวดข้าวแป้ง
เป็นอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานหลักแก่ร่างกาย ผู้ที่เป็นเบาหวานควรให้ความสำคัญในการกำหนดสัดส่วน ปริมาณให้เหมาะสมในการรับประทาน ซึ่งโดยทั่วไปไม่ควรเกินมื้อละ 2-3 ทัพพี ควรเลือกรับประทานข้าวแป้งที่ไม่ขัดสีมากกว่าข้าวขาว เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีใยอาหารสูง ร่างกายจะย่อยและดูดซึมได้อย่างช้าๆระดับน้ำตาลในเลือดจึงไม่ขึ้นสูงเร็วจนเกินไป
หมวดผักชนิดต่างๆ
อาหารในกลุ่มนี้มีทั้งวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารสูง ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลไปใช้ได้ดีแล้ว ยังช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายได้ดีด้วย ผู้ที่เป็นเบาหวานจึงควรเน้นรับประทานผักให้ อย่างน้อยวันละ 3-4 ทัพพี เน้นเป็นผักสด ลวก ต้ม จะดีกว่าการนำไปผัดหรือทอด
หมวดผลไม้
จัดเป็นกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะนอกจากผลไม้จะมีวิตามิน และใยอาหารสูงแล้วยังมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอีกด้วย หากทานในปริมาณที่มากกว่าปริมาณที่กำหนด จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถทานผลไม้ได้ 3-4 ครั้งต่อวัน หลังอาหารหรือเป็นอาหารว่าง ไม่ควรเกินครั้งละ1ส่วน เช่น องุ่น 5-8 ผล,ส้ม 1-2 ผล,ฝรั่ง ½ ผล,มะละกอ 6-8 ชิ้นคำ หลีกเลี่ยงผลไม้รสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน น้อยหย่า ละมุด ผลไม้ที่ผ่านการแปรรูป เช่น ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
หมวดเนื้อสัตว์
จะให้ทั้งโปรตีนและไขมันต่อร่างกาย โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและเป็นแหล่งพลังงานด้วย ผู้ที่เป็นเบาหวานควรได้รับทุกมื้อ มื้อละ 2-4 ช้อนกินข้าว แต่ในเนื้อสัตว์มักมีไขมันและโคเลสเตอรอลแฝงอยู่ หากรับประทานปริมาณมากอาจมีความเสี่ยงจากการเกิดโรคไขมันในเลือดสูงได้ จึงควรเลือกโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา ไข่ และเต้าหู้ เป็นหลัก
หมวดไขมัน
เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อช่วยในการดูดซึมวิตามินต่างๆผู้ที่เป็นเบาหวานควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก ในการประกอบอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ติดมัน ครีมเทียม  เนยเทียม เป็นต้น
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนย ขาดมันเนย หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติ หลีกเลี่ยง นมข้นหวาน นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งรสหวาน โยเกิร์ตปรุงแต่งรสชาติ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ชุดตรวจสุขภาพ SML Care [Free gift]

ชุดตรวจสุขภาพ SML Ca […]

โปรแกรมตรวจสุขภาพ 12.12

โปรแกรมตรวจสุขภาพ 12 […]

กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

Transcranial Magnetic Stimulation
กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)
กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation) นวัตกรรมในการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะอ่อนแรง ชา หรือกล้ามเนื้อเกร็งทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง สามารถใช้ในการฟื้นฟูและรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคซึมเศร้า ปวดศีรษะ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน และอาการปวดชาจากเส้นประสาท
การรักษาด้วย TMS ปลอดภัยแค่ไหนมีผลข้างเคียงหรือไม่?
เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเทคโนโลยีนี้ มีผลอยู่ในวงจำกัดที่แคบมาก เพียง 1-3 เซนติเมตรจากหัวกระตุ้น จึงไม่มีผลกระทบที่อันตรายต่ออวัยวะของร่างกาย มีเพียงข้อห้ามใช้ผู้ป่วยบางรายดังต่อไปนี้
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะที่เหนี่ยวนาแม่เหล็กบริเวณศีรษะหรือพื้นที่รักษาในระยะ 30 เซนติเมตร เช่น Sutures, Clips, coils,Magnetic Dental Implants or Insulin Pumps
  • ผู้ป่วยที่มีเครื่องมือทางการรักษาเป็นระบบดิจิตอลต่างๆ เช่น Pacemakers, Implantable Cardioverter Defibrillators,Vagus Nerve Stimulators [VNS] and Wearable Cardioverter Defibrillators [WCD’s])
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติชักหรือภาวะชักที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องระบายน้ำในโพรงสมอง
  • ผู้ป่วยที่มีอวัยวะเทียมที่เป็นโลหะที่เพิ่งใส่มาไม่นาน
  • สตรีมีครรภ์
ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่พบอาการข้างเคียงภายหลังการรักษา ผลข้างเคียงที่สาคัญแต่พบได้น้อยมากคือ อาการชัก ซึ่งพบได้ประมาณ 0.02-0.2% ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือง่วงนอนภายหลังการกระตุ้น บางรายพบอาการปวดัีรษะหรือระคายเคืองบริเวณที่ถูกกระตุ้นได้เล็กน้อย แต่อาการเหล่านี้จะอยู่เพียง 1-2 ชั่วโมงหลังทำ หากผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขสบาย สามารถทานยาลดปวดพาราเซตามอลได้
การรักษาแต่ละครั้งใช้เวลานานเท่าไหร่?
ระยะเวลาในการรักษาต่อครั้งอยู่ที่ 30-60 นาที ความถี่ในการรักษาประมาณ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์แล้วแต่อาการและโรคของผู้ป่วยแต่ละราย
อัตราการเข้ารับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
แพคเกจ Stroke
รายการ
ราคา
1 ครั้ง 2,500.-
5 ครั้ง 12,250.-
10 ครั้ง 24,000.-
รวมค่าแพทย์แล้ว (ยังไม่รวมค่าบริการโรงพยาบาล)
อัตราการเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า ปวดไมเกรน นอนไม่หลับ ย้ำคิดย้ำทำ และอื่นๆ
แพคเกจ Depression
รายการ
ราคา
1 ครั้ง 1,800.-
5 ครั้ง 8,750.-
10 ครั้ง 17,000.-
รวมค่าแพทย์แล้ว (ยังไม่รวมค่าบริการโรงพยาบาล)
กรุณานัดหมายล่วงหน้า เพื่อวางแผนในการรักษาให้ดีที่สุด โปรดนำประวัติการรักษาและหนังสือส่งตัวจากแพทย์ประจำมาด้วย
ลงเทะเบียนนัดหมาย พยาบาลจะติดต่อกลับเพื่อสอบถามข้อมูล
วันนี้ -31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เตรียมสูงวัย..อย่างมีสุขภาพดี

เตรียมสูงวัย..อย่างมีสุขภาพดี

Older Good Health
1 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุสากล (International Day of Older Persons) โดยองค์การสหประชาชาติ กำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534 จัดขึ้นเพื่อแสดงให้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ที่ได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน "บุคลากรสำคัญผู้สร้างคุณงามความดี และคุณประโยชน์ไว้ให้คนรุ่นหลัง “ผู้สูงอายุ” มีความหมายว่า คือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
  1. ผู้สูงอายุตอนต้น (Young old) คือ บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี
  2. ผู้สูงอายุตอนกลาง (Middle old) คือ บุคคลที่มีอายุ 70-80 ปี
  3. ผู้สูงอายุตอนปลาย (Very old) คือ บุคคลที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป
ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี 2567 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า กรมกิจการผู้สูงอายุ เปิดเผยสถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทย และ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มกราคม 2565 โดยมีประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 จำนวน 12,116,199 คน แบ่งเป็นเพศชาย 5,339,610 คน เพศหญิง 6,776,589 คน
  1. ระหว่างอายุ 60-69 ปี จำนวน จำนวน 6,843,300 คน คิดเป็น 56.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
  2. ระหว่างอายุ 70-79 ปี มีจำนวน 3,522,778 คน คิดเป็น 29.1% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
  3. ระหว่างอายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,750,121 คน คิดเป็น 14.4% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
ผู้สูงอายุที่คิดว่าตัวเองเป็นภาระให้กับผู้อื่นอาจจะรู้สึกว่าชีวิตของตนเองนั้นด้อยค่าตามไปด้วย อาจส่งผลให้เผชิญความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและแยกตัวจากสังคม ผู้สูงอายุที่มีทัศนคติต่อความชราภาพไปในเชิงลบจะมีอายุยืนยาวน้อยกว่าผู้สูงอายุที่มีทัศนคติต่อความชราภาพไปในเชิงบวกถึง 7.5 ปี การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสทำงาน ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีค่า สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข ผู้สูงอายุแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ไม่เท่ากัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่าง คือ ประสบการณ์ที่ผ่านมาตลอดชีวิต หากได้รับการฝึกอบรมทักษะต่างๆ การศึกษาเรียนรู้หรือทำงานมาหลากหลายรูปแบบ คนเหล่านี้เป็นผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ ซึ่งจะช่วยให้อยู่ได้อย่างมีคุณค่า
ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ อาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องดูแลและรักษา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกระดูกพรุน โรคเกาต์ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคจอประสาทตา เป็นต้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งผู้สูงอายุบางรายอาจไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ และอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุ คือการทำให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีอิสระ และมีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด
การเตรียมความพร้อมสู่ความสูงวัย
  • ทางร่างกายการมีสภาพร่างกายที่ดีอวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดีมีความแข็งแรง สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติมีความสัมพันธ์กับทุกส่วน และมีประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน
    1. การรับประทานอาหาร
      - เลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ครบทั้ง 5 หมู่ เป็นอาหารที่เหมาะกับวัย
      - รับประทานผักผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง หวาน อาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีรสจัด อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
      - ดื่มน้ำสะอาดอย ่างน้อยวันละ 10 แก้วดื่มนำ้หลังจากตื่นนอนวันละ 3-5 แก้ว ดื่มน้ำก่อนหรือหลังอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำย่อยย่อยอาหารได้เต็มที่
        การออกกำลังกาย
        - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละอย่างน้อย 20 - 30 นาที ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย
        - เลือกวิธีการบริหารร ่างกายที่เหมาะสมกับวัยให้อวัยวะทุกส่วนได้เคลื่อนไหว
        - ออกกำลังกายในที่ที่ปลอดภัย
          การตรวจสุขภาพ
          - การรักษาสุขภาพในช่องปาก พบทันตแพทย์อย่างน้อยทุก 6 เดือน
          - การตรวจวัดสายตาปีละครั้ง
          - การตรวจวัดมวลกระดูก ดัชนีมวลกายเพื่อทราบสุขภาวะตามวัย
          - การตรวจสุขภาพตามช่วงวัย การวัดสายตา การฉีดวัคซีน
          - การตรวจสุขภาพประจำ ปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งหรือทุก 6 เดือน
          - ตรวจสุขภาพกับแพทย์ประจำตัวเพื่อสร้างความคุ้นเคยและสะดวกในการติดตามสุขภาพ
      1. ทางจิตใจปรับตัวเข้ากับสังคม สิ่งแวดล้อม มีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์
      2. ทางปัญญารู้เท่าทันสังคม เรียนรู้ นำความรู้มาปรับใช้ในชีวิต
      3. ทางสังคมมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวและสังคมได้
      การดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี
      การดูแลผู้สูงอายุ มีความจำเป็นและสำคัญมาก เราควรเอาใจใส่ในด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ผู้สูงอายุหลายคนมักรู้สึกเหนื่อยง่ายและเคลื่อนไหวได้ช้าลง บางคนอาจรู้สึกอ่อนเพลียและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบากขึ้น อาการเหล่านี้เป็นปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น เรียกว่า ภาวะแบบนี้ว่า ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ หรือเฟรลตี้ (Frailty) ผู้สูงอายุที่ประสบภาวะนี้จะรู้สึกอ่อนแรง เหนื่อย ไม่มีแรง รวมทั้งน้ำหนักลดลงเอง บุคคลในครอบครัวต้องหมั่นสังเกตว่าญาติผู้ใหญ่ของเราเกิดอาการภาวะเปราะบางหรือไม่ หากเกิดอาการ 3 อย่างขึ้นไป อาจหมายถึง ผุ้สูงอายนั้นๆ กำลังประสบภาวะดังกล่าวอยู่ ควรให้ความสำคัญเพื่อจะได้มีสุขภาพดีขึ้น
      1. รูปร่างผอมลง น้ำหนักตัวลดลงประมาณ 5 กิโลกรัมหรือมากกว่านั้น
      2. เกิดอาการอ่อนเพลีย ยืนเองไม่ค่อยได้หรือไม่มีแรงที่จะถือสิ่งของ
      3. รู้สึกเหนื่อยง่ายมาก ทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ ทำเพียงนิดหน่อยก็จะมีอาการเหนื่อย
      4. สมรรถภาพในการทำกิจกรรมลดลง อาทิ ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เคยชอบ แต่ทำไม่ได้เหมือนแต่ก่อน
      5. เดินช้าลง โดยใช้เวลาเดินในระยะทาง 5 เมตร มากกว่า 6-7 วินาที
      ดังนั้น ลูกหลานควรเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุ ด้วยความรักและความเข้าใจ จะช่วยให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีอิสระ และมีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้ พึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด การดูแลเรื่องสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรได้รับตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี และพบแพทย์หากมีโรคประจำตัว เพื่อเป็นการประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด

      โปรแกรมและแพ็คเกจ

      DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวานโปรแกรมตรวจสุขภาพ ”สมองและระบบประสาท"

      ความรู้เรื่อง…โรคเบาหวาน

      ความรู้เรื่อง...โรคเบาหวาน

      โรคเบาหวานคืออะไร
      โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
      เบาหวานมีกี่ประเภท
      1. เบาหวานประเภทที่ 1 (เบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน)
      2. เบาหวานประเภทที่ 2 (เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน)
      3. เเบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางพันธุกรรม โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตที่สร้างฮอร์โมน
      4. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทย พบเบาหวานชนิดที่ 2 มากที่สุด ประมาณ ร้อยละ 95
      สาเหตุของโรคเบาหวาน
      เบาหวานสืบทอดทางกรรมพันธุ์ได้ก็จริง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ) เป็นเบาหวาน ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเบาหวานทุกคน
      มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่
      1. โรคอ้วน ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินสุลินไม่ดี
      2. ผู้สูงอายุ การสังเคราะห์และการหลั่งฮอร์โมนอินสุลินลดลง
      3. การได้รับยาบางชนิด สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น หรือการตอบสนองของอินสุลินไม่ดี
      4. การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีผลยับยั้งการทำงานของอินสุลิน
      อาการของโรคเบาหวาน
      ผู้ป่วยเบาหวานอาจไม่มีอาการใดๆ โดยทั่วไปจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก มีอาการหิวบ่อยรับประทานจุ แต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย คันตามผิวหนัง ชาปลายมือ ปลายเท้า ตามัว
      วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้อย่างไร
      การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้โดย
      1. ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องออาหาร ถ้ามีค่ามากกว่า หรือเท่ากับ 200 มก./ดล. ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
      2. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนมากกว่า 8 ชั่วโมง พบค่า มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มก./ดล. ให้ตรวจยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ต่างวันกัน
      3. การตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (75 g Oral Glucose Tolerance Test, OGTT) ใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงแต่ตรวจพบน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืน น้อยกว่า 126 มก./ดล. ถ้าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล. ให้การวินิจฉัยว่า "เป็นโรคเบาหวาน"
      หมายเหตุ : ในการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลพลาสมากลูโคสให้งดอาหารอย่างน้อย 8-10 ชม. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือลูกอม แต่ดื่มน้ำเปล่าได้
      ผู้ใดควรได้รับการตรวจเช็คเบาหวาน
      1. ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น
      2. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้
        • ไม่มีอาการแต่อายุเกิน 35 ปี
        • ญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
        • น้ำหนักจัดอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน
        • เคยแท้งหรือบุตรเสียชีวิตตอนคลอด
        • คลอดบุตรน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
        • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
        • หญิงตั้งครรภ์ทุกราย (อายุครรภ์อยู่ระหว่าง 24-28 สัปดาห์)
        • ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดในสมองตีบ
        • ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง
        • ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง
      ทำไมเราจึงควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
      แม้ว่าบุคคลเหล่านี้ไม่มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ก็ควรหมั่นตรวจสอบ ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ระดับน่าสงสัย ก็ควรตรวจระดับพลาสมากลูโคสเป็นระยะทุก 1 ปี การวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และให้การรักษาควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการชัดเจนแต่เพิ่งวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานอาจพบโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย เพราะเป็นโรคเบาหวานนานแล้วแต่ไม่เคยตรวจ
      โรคเบาหวานรักษาไม่หายขาด แต่ถ้าปฏิบัติตัวดีสามารถควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน

      โปรแกรมและแพ็คเกจ

      ชุดตรวจสุขภาพ SML Care [Free gift]

      ชุดตรวจสุขภาพ SML Ca […]

      โปรแกรมตรวจสุขภาพ 12.12

      โปรแกรมตรวจสุขภาพ 12 […]