ทำอย่างไรเมื่อฟันแท้หลุดจากเบ้า

ทำอย่างไรเมื่อฟันแท้หลุดจากเบ้า

เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ฟันแท้หลุดออกจากเบ้ามาทั้งซี่  ทำอย่างไร

... อย่าทิ้งฟันซี่นั้นเด็ดขาด

เหตุการณ์นี้อาจเกิดอุบัติเหตุได้กับทุกคน โดยเฉพาะกับเด็กในวัย 7-11 ปี   ซึ่งเกิดจากการเล่นกีฬา  หรือการชกต่อย  ทำให้ฟันแท้หน้าบน หรือล่าง หลุดออกมาจากเบ้าฟัน เก็บฟันที่หลุดออกมา จับที่ตัวฟัน ไม่จับที่รากฟัน เพราะรากฟันมีเนื้อเยื่อที่มีชิวิต  การใส่กลับไปใหม่จะให้ผลสำเร็จที่ดีถ้าไม่จับที่รากฟัน และนำไปผ่านนมจืด 10 วินาที หากใส่กลับเข้าไปได้ด้วยตัวเอง ให้ใส่กลับไปในตำแหน่งเดิม และใช้ผ้าสะอาดกดไว้นิ่งๆ แล้วพบแพทย์ทันที

 

วิธีการทำความสะอาดช่องปากและซอกฟัน

วิธีการทำความสะอาดช่องปากและซอกฟัน

เศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคฟันผุและโรคปริทันต์ การทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธีโดยการแปรงฟัน ร่วมกับการทำความสะอาดซอกฟัน ด้วยอุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ในการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดโรคต่างๆ ในช่องปาก

 

คลินิกทันตกรรม  02 587 0144  ต่อ 2331

 

Diamond Peel ผลัดเซลล์ผิว ให้อ่อนเยาว์ กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่

Diamond Peel ผลัดเซลล์ผิว ให้อ่อนเยาว์ กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่

เป็นการผลัดเซลล์ผิวชั้นหนังกำพร้า โดยอาศัยการทำงานของ หัวขัดผิวหนังคริสตัลชนิด Diamond ซึ่งจะใช้ร่วมกับระบบดูด สูญญากาศ (vacuum) ทำให้การผลัดเซลล์ผิวหนัง และสิ่งอุดตัน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นุ่มนวล และ ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ (hypoallergenic)การผลัดเซลล์ผิวออกในขณะที่มีการ suction ผิวเบาๆ เป็น การกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตของผิวที่ทำการรักษา และยังช่วย กระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่ สร้างคอลลาเจน (collagen) และ อีลาสติน (elastin) ทำให้โครงสร้างผิวมีความแข็งแรงขึ้น ทำการรักษา ได้ในทุกสีผิว (skin type) และทุกส่วนของร่างกาย เช่น ใบหน้า ลำคอ มือ และบริเวณลำตัว หมดกังวลสำหรับผู้ที่มีสี ผิวคล้ำไม่สม่ำเสมอ รอยแผลเป็นจากสิว ริ้วรอย รูขุมขนกว้าง และรอยแตกลาย “คุณจะรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของผิวที่สะอาด กระจ่างใส และเรียบเนียนขึ้น หลังเข้ารับการรักษาในครั้งแรก”

ประสิทธิภาพการรักษาด้วย Diamond peel

การรักษาด้วย Diamond peel microdermabrasion เป็นการรักษาที่ปลอดภัยและเป็นการขัดผิวได้อย่างล้ำลึก ทั้งยังกระตุ้นให้ผิวแข็งแรงยิ่งขึ้นโดยใช้ laser-cut diamond เพื่อผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกได้อย่างหมดจด พร้อมทั้ง กระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์ผิวใหม่ที่แข็งแรงขึ้น ทำให้ผิวเรียบเนียน กระจ่างใสและไร้ริ้วรอย

  • ริ้วรอยต่างๆ (Fine lines & wrinkles)
  • รอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวและรอยแผลเป็นต่างๆ (Acne &trauma scars)
  • รูขุมขนกว้าง (Enlarged pores)
  • สิวหัวดำและสิวหัวขาว (Blackheads&whiteheads)
  • จุดด่างดำจากการโดนแสงแดดทำลาย (Sunspots)
  • ผิวไม่เรียบเนียน (Uneven skin texture)

ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA)และประเทศไทย (THAI FDA)

  • ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับการรักษาทั้งผิวหน้าและผิวกาย
  • เป็นการรักษาที่ไม่เจ็บและไม่มีผลข้างเคียง
  • เป็นการรักษาที่สะอาดและไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือแพ้
  • เห็นผลการรักษาที่ชัดเจนตั้งแต่ครั้งแรกของการรักษา

คำแนะนำและการดูแลหลังการรักษา

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดจัดๆ และความร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดรอยหมองคล้ำ
  2.  ใช้ครีมกันแดด
  3. หากหลังทำการรักษา มีผิวลอก ไม่ควรแกะหรือลอกผิว  ควรทาครีมบำรุงแทน
  4. หลังทำการรักษา ไม่ควรอาบน้ำร้อนจัดๆ เข้าห้องซาวน์น่า หรืออบไอน้ำ และ ไม่ควรออกกำลังกายหนักๆ
  5. ไม่ควรใช้ครีม หรือสารเคมีสำหรับลอกผิว หลังทำการรักษา
  6. ระมัดระวังไม่ให้ผิวบริเวณที่ทำการรักษา สัมผัสกับความร้อนโดยตรง เช่น การใช้ไดร์เป่าผม
  7. ไม่ควรทำการกำจัดขน ฉีดคอลลาเจน ในบริเวณที่ทำการรักษาอย่างน้อย 5 วัน
  8. หยุดใช้ยา Retin-A / Renova หลังการรักษา 7 วัน
  9. งดการอาบแดดอย่างน้อย 3 สัปดาห์หลังการรักษา

ข้อห้ามในการทำการรักษา

1. ผู้ที่มีความผิดปกติของผิวหนังในบริเวณที่ทำการรักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (Undiagnosed lesions)
2. ผู้ที่อยู่ในระยะแสดงอาการของโรคเริม (Herpes)
3. ผู้ที่เป็นหูดในบริเวณที่รับการรักษา (Wart)
4. ผิวคล้ำจากการสัมผัสแสงแดด (Sun burn)
5. ผู้ที่มีสิวอักเสบในระยะที่ 3 – 4
6. ผู้ที่เป็นผื่นแพ้ (Rosacea)
7. ผู้ที่เป็นเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้
8. ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
9. ผู้ที่ตั้งครรภ์ (Pregnancy)
10.ในผู้ที่มีสีผิวคล้ำ (Hyper pigmentation)  ควรใช้ระดับแรงดันสูญญากาศต่ำๆ

รู้ได้อย่างไรว่านิ้วล็อก Trigger Finger

รู้ได้อย่างไรว่านิ้วล็อก

มารู้จักโรคนิ้วล็อกกันเถอะ
โรคนิ้วล็อก ( Trigger Finger )   เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการใช้นิ้วมือมากทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวและขัดขวางการเคลื่อนที่ของเส้นเอ็น

อุบัติการณ์ของโรค

  • พบได้ประมาณ6% ของประชากรทั่วไป
  • พบได้บ่อยในช่วงอายุวัยกลางคน
  • พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ประมาณ 2-6 เท่า
  • นิ้วที่พบโรคได้บ่อยเรียงตามลำดับดังนี้ : นิ้วหัวแม่มือ นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วก้อย นิ้วชี้

อาการ
อาการแสดงมีหลายระดับขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ อาการที่พบได้คือ

  • โดยเริ่มจากอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ
  • นิ้วขัดหรือสะดุดในขณะงอหรือเหยียดนิ้วมือเหยียดออกได้เอง
  • นิ้วล็อกหรือนิ้วติดแข็งอยู่ในท่างอเคลื่อนไม่ได้คือเหยียดไม่ออกหรืองอไม่ลง

ระดับความรุนแรงของโรคนิ้วล็อก

  • ระยะที่ 1 เส้นเอ็นอักเสบ ทำให้มีอาการ ปวด กดเจ็บ
  • ระยะที่ 2 นิ้วสะดุด ยังสามารถเหยียดนิ้วออกเองได้
  • ระยะที่ 3 นิ้วล็อก ติดในท่างอ ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างช่วยเหยียดออก หรือนิ้วติดในท่าเหยียด งอไม่ลง
  • ระยะที่ 4 นิ้วติดแข็ง ข้อกลางนิ้วติดแข็งในท่างอ

 

การรักษาโรคนิ้วล็อก

การรักษาโรคนิ้วล็อกขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและระยะเวลาที่เป็น

ถ้าอาการไม่รุนแรง หรืออาการเป็นไม่บ่อย การรักษาดังต่อไปนี้อาจให้ผลดี

  • หยุดพักการใช้มือข้างที่เป็น เพื่อป้องกันการใช้งานมากเกินไปของนิ้วข้างที่เป็น
  • ใช้เครื่องพยุงนิ้วมือ โดยช่วยให้ข้อไม่ทำงานมากเกินไป
  • บริหารนิ้วมือในน้ำอุ่น โดยการแช่มือในน้ำอุ่นนานประมาณ 5-10 นาที ในตอนเช้า ซึ่งอาจจะช่วยลดอาการนิ้วล็อกลงได้

ถ้าอาการรุนแรงมาก

  • รับประทานยาลดการอักเสบ เพื่อลดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น
  • การใช้สเตียรอยด์ฉีดเข้าไปในปลอกหุ้มเอ็นซึ่งช่วยลดการอักเสบ การรักษาด้วยวิธีนี้ ได้ผลดีในผู้ป่วยที่เป็นในระยะแรก การฉีดยาในรายที่เป็นซ้ำ อาจจะต้องเว้นระยะห่างประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการฉีกขาดของเส้นเอ็น
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเยื่อพังผืดออก ขนาดแผลประมาณ 1-2 ซม. เมื่อรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น วิธีนี้ต้องรอแผลติดและตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะสามารถกลับไปทำงานได้
  • การรักษาด้วยการเปิดแผลเล็กขนาดเท่ารูเข็ม โดยใช้ปลายเข็มสะกิด หรือใช้มีดที่ปลายเหมือนตะขอเกี่ยวตัดเยื่อพังผืดออกใช้ในรายที่เป็นในระยะเริ่มแรก ซึ่งแผลเล็กหายเร็วและสามารถกลับไปทำงานได้เร็ว

อย่างไรก็ตามแล้ว การหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการทำงานที่เสี่ยงต่อภาวะที่ทำให้เกิดนิ้วล็อกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในรายที่ยังต้องทำงานโดยใช้มืออย่างหนักตลอด อาจจะเกิดการเป็นนิ้วล็อกซ้ำได้ การรักษาด้วยการฉีดยา และการผ่าตัด เป็นสิ่งที่รองลงมาหลังการการรับประทานยาและกายภาพไม่ดีขึ้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

คัดกรองมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ภัยร้าย […]

นวัตกรรมใหม่ของการรักษาหลอดเลือดขอด

นวัตกรรมใหม่ของการรักษาหลอดเลือดขอด

Varicose Veins

การรักษาหลอดเลือดขอด โดย Radio Frequency (RF)


การรักษาหลอดเลือดขอด โดย Radio Frequency (RF) เทคโนโลยีใหม่ของการรักษาหลอดเลือดขอดโดยใช้สายสวน (ไม่ต้องผ่าตัด) ใช้ความร้อนด้วยพลังงานจากคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency)

นวัตกรรมใหม่ของการรักษาเส้นเลือดขอด

หลอดเลือดขอด
หลอดเลือดขอด เกิดจากความผิดปกติของลิ้น (Valve) เล็กๆ ในหลอดเลือดดำซึ่งไม่สามารถสกัดกั้นการไหลย้อนกลับของเลือดได้ จึงทำให้เลือดเกิดการคั่งอยู่ในหลอดเลือดดำส่วนปลายที่อยู่ใกล้ผิวหนัง จึงเกิดลักษณะที่โป่งพองเป็นก้อนหรือเป็นหลอดเลือดฝอยแตกที่เรียกว่าใยแมงมุม
นวัตกรรมใหม่ของการรักษาเส้นเลือดขอด
เทคโนโลยีใหม่ของการรักษาหลอดเลือดขอดโดยใช้สายสวน (ไม่ต้องผ่าตัด) เป็นหัตถการที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อรักษาหลอดเลือดขอดที่ขาโดยเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด โดยใช้สายสวนเข้าไปและทำให้เกิดความร้อนด้วยพลังงานจากคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency) ความร้อนทำให้หลอดเลือดที่มีปัญหาหดตัวร่างกายตอบสนองโดยสร้างเส้นใย (Fibrin) ทำให้หลอดเลือดเส้นนั้นตีบและอุดตันไปในที่สุด ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาจึงไม่ต้องผ่าตัดเกิดอาการปวดและผิวหนังฟกช้ำน้อย อาการข้างเคียงภายหลังการรักษาน้อย การพักฟื้นรวดเร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันและเดินได้ในทันที เกิดแผลเพียง 3 มิลลิเมตร เพื่อใส่สายสวนเข้าไป

โรคจอประสาทตาเสื่อม

จอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ หรือ โรคเอเอ็มดี เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการตาบอดได้ อาการนั้นเมื่อคนปกติมองไปยังสิ่งต่างๆรอบตัว จะเห็นภาพชัดเจนไม่มีเงาดำมาบดบังส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ แต่ผู้ป่วยโรคเอเอ็มดี เมื่อมองไปยังสิ่งใดๆก็ตามจะพบว่ามีเงาดำบังบริเวณกึ่งกลางของภาพเสมอ ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการ เห็นภาพบิดเบี้ยวก่อน แล้วจึงมีอาการเห็นเงาดำบดบังภาพทีหลัง ส่วนสาเหตุของโรคนี้เกิดจากจุดรับภาพชัด( Macula) ของจอประสาทตาซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็นบริเวณกึ่งกลางภาพเกิดความผิดปกติขึ้น
แบ่งความผิดปกติ เป็น 2 ชนิด คือ
  1. ชนิดแห้ง (Dry AMD) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยจอประสาทตาจะเสื่อมและบางลง มีผลทำให้การมองเห็นแย่ลงอย่างช้าๆ โดยมากไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ซึ่งโรคเอเอ็มดีชนิดนี้สามารถพัฒนาไปเป็นชนิดเปียกได้
  2. ชนิดเปียก (Wet AMD) พบได้น้อยกว่าชนิดแห้งแต่เป็นชนิดที่มีอาการรุนแรงกว่าสามารถทำให้การมองเห็นแย่มากจนอยู่ในขั้นระดับเลือนรางหรือตาบอดได้ ซึ่งเอเอ็มดีชนิดเปียกนี้จะมีเส้นเลือดงอกผิดปกติที่ใต้จอประสาทตา ทำให้เลือดออกหรือเป็นแผลที่จอประสาทตา ส่งผลให้ผู้ป่วยเห็นเป็นเงาดำบริเวณกึ่งกลางของภาพที่มองเห็น
แม้โรคเอเอ็มดีชนิดเปียกจะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็ว แต่ถ้าตรวจพบในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมไม่ให้โรคลุกลามได้ โดยสามารถรักษาระดับการมองเห็น และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีการมองเห็นที่ดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถรักษาผู้ป่วยในด้านการมองเห็นจากโรคเอเอ็มดีขั้นรุนแรงให้กลับมามองเห็นได้ชัดเท่าคนปกติ ซึ่งต่างจากต้อกระจก ที่สามรถผ่าตัดสลายต้อและใส่เลนส์เทียมได้ ซึ่งสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นได้ชัดเป็นปกติอีกครั้ง นอกจากนี้โรคเอเอ็มดียงสามารถเกิดได้กับตาทั้ง 2 ข้าง อาจจะเกิดข้างใดข้างหนึ่งก่อนก็ได้โดยที่ผู้ป่วยยังไม่ทันสังเกตเพราะยังมีตาอีกข้างที่ช่วยทดแทนการมองเห็นอยู่ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เมื่อโรคเกิดในตาข้างที่ 2 แล้ว จึงช้าเกินไปในการรักษาตาข้างแรก
การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น
การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น(AMD) ด้วยตนเอง สามารถตรวจได้โดยใช้ตารางแอมสเลอร์ (Amsler Grid) ที่เห็นตามตารางข้างล่างนี้
  1. ใช้มือปิดตาข้างซ้าย ถือตารางแอมสเลอร์ในระยะอ่านหนังสือ ห่างจากตาประมาณ หนึ่งฟุต (ให้สวมแว่นสายตา แว่นอ่านหนังสือ หรือคอนแทคเลนส์ได้ตาปกติ)
  2. ใช้ตาข้างขวามองที่จุดดำเล็กๆกลางภาพพยายามแพ่งที่จุดนี้ตลอดเวลา
  3. สังเกตุดูว่ามีตารางส่วนใดที่บิดเบี้ยว หรือมีเงาดำบัง หรือไม่ ถ้ามี....แสดงว่าคุณอาจจะเริ่มมีอาการของโรคเอเอ็มดี ควรรีบไปพบจักษุแพทย์โดยเร็ว
  4. ทดสอบตาข้างซ้ายโดยเอามือข้างขวาปิด และปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้นอีกครั้ง

***การทดสอบนี้เป็นการทดสอบความผิดปกติเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทน ควรไปตรวจตาเป็นประจำทุกปีโดยจักษุแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ขึ้นไป

วิธีการรักษา
การรักษาโรคเอเอ็มดีชนิดเปียกที่มีในปัจจุบัน ได้แก่ การฉายแสงเลเซอร์ การรักษาโดยโฟโต้ไดนามิก และการฉีกยา Amti- VEGF เข้าน้ำวุ้นลูกตา เป็นต้น โดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
การป้องกัน
การทดสอบจอประสาทตาเสื่อมเบื้องต้น(AMD) ด้วยตนเอง สามารถตรวจได้โดยใช้ตารางแอมสเลอร์ (Amsler Grid) ที่เห็นตามตารางข้างล่างนี้
  1. ควรสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน
  2. ควรรับประทานอาหารจำพวกผักใบเขียว ผลไม้สด อาหารจำพวกปลา โดยหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมัน
  3. ควรงดสูบบุหรี่
  4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก และ ความดันโลหิต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

CT Calcium Score
การตรวจหาหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อประเมินภาวะการอุดตันของหลอดเลือด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือประเมินแนวโน้มโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในอนาคต
ข้อดีของตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต
  • ไม่ต้องมีการเตรียมตัว สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ใช้เวลาในการตรวจน้อย ไม่เจ็บตัว
  • ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนรับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงยาที่จะกระตุ้นหัวใจให้ชีพจรเร็วขึ้น
  • งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดคลุมของโรงพยาบาล
  • ถอดเครื่องประดับรอบคอหรือแผ่นต่างๆ ที่ติดบริเวณหน้าอก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

โรคเบาหวาน โรคไขมันและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

โรคเบาหวาน

โรคไขมัน

Title
Title
Description

โรคความดันโลหิตสูง

เปิดเทอมกับชีวิตวิถีใหม่

เปิดเทอมกับชีวิตวิถีใหม

Back to School new normal style

ใกล้เปิดเทอมแล้วจ้า แต่เปิดเทอมรอบนี้ไม่ธรรมดา เพราะเป็นปีที่มีโรคระบาดใหม่อย่าง COVID-19 ระบาดตั้งแต่ช่วงต้นปี แม้ว่าสถานการณ์ในประเทศไทยจะควบคุมได้ดีแต่ก็ต้องไม่ประมาท ใช้ชีวิตตามวิถีปกติใหม่ เด็กๆก็ต้องปรับตัวเช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองจะต้องเตรียมตัวลูกๆอย่างไรบ้าง เราไปดูกันเลย

  1. เกาะติดสถานการณ์ : คอยติดตามสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 อยู่เสมอ จะได้ทราบมาตรการจากทางการ และสอนให้ลูกรู้จักโรค COVID-19 อย่างถูกต้อง
  2. คัดกรอง : สังเกตอาการป่วยของลูก ถ้ามีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่รู้รสหรือกลิ่น ให้รีบแจ้งทางโรงเรียนทันทีและให้หยุดเรียนไว้ก่อน (ปัจจุบันขาดเรียนหรือกักตัวเด็กก็สามารถตามบทเรียนได้หลายช่องทาง ไม่ต้องกลัวตามเพื่อนไม่ทัน)
  3. หน้ากากอนามัยและของใช้ส่วนตัว : สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี และเตรียมของใช้ส่วนตัวไปใช้ที่โรงเรียนแทนการใช้ของส่วนกลาง เช่น ช้อนส้อม แก้วน้ำ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดมือ เป็นต้น
  4. ล้างมือบ่อยๆ : สอนลูกให้หลีกเลี่ยงการเอามือไปสัมผัสใบหน้า ขยี้ตา หรือแคะจมูก ซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยง
    ที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และให้ล้างมือทุกครั้งที่จับบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได และก่อนรับประทานอาหาร โดยล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไปอย่างน้อยนาน 20 วินาที (ร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ธเดย์ 2 รอบ) และหลังกลับจากโรงเรียนให้รีบอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
  5. เว้นระยะห่าง : หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร ในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน ช่วงพัก และหลังเลิกเรียน เช่น นั่งกินอาหาร ออกกำลังกาย เข้าแถวต่อคิว เป็นต้น
  6. ทำความสะอาด : ปลูกฝังให้หมั่นทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสบ่อยๆ และบริเวณที่ใช้ทำกิจกรรม รวมถึงอุปกรณ์การเรียน เช่น กระเป๋านักเรียน ผู้ปกครองอาจเตรียมแอลกอฮอล์สเปรย์สำหรับทำความสะอาดติดตัวไปโรงเรียนด้วยถ้าทำได้
  7. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง : เตรียมร่างกายลูกให้แข็งแรง กินอาหารครบ 5 หมู่ ที่สุก สะอาด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าลืมเพิ่มพลังด้วยอาหารมื้อเช้าก่อนเข้าเรียน (แนะนำให้รับประทานอาหารเช้าจากบ้าน หากจำเป็นต้องรับประทานที่โรงเรียนแนะนำให้จัดเตรียมเป็น Box set จากบ้านแทนการซื้อที่โรงเรียน)
  8. ความเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย : สอนลูกเสมอว่าไม่มีใครอยากป่วย ไม่ควรล้อเลียนความผิดปกติหรืออาการไม่สบายของเพื่อน เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความหวาดกลัวเกินเหตุ หรือเกิดการแบ่งแยก กีดกัน หรือตีตราในหมู่นักเรียน ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ
    ถ้าทำได้ตามนี้ ลูกๆก็จะมีเกราะป้องกันโรค COVID-19 พร้อมสำหรับเปิดเทอม เชื่อว่าไม่ยากเกินไปสำหรับทุกครอบครัว และอย่าลืมป้องกันโรคอื่นๆที่ขอให้ทุกท่านสุขภาพดี
พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์

กุมารแพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลบางโพ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

PACKAGE วัคซีนสำหรับเด็ก 2 เดือน – 1 ปี

วัคซีนรวมสำหรับเด็ก […]