โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา

Periodontitis and treatment
โรคปริทันต์อักเสบและการรักษา
โรคปริทันต์อักเสบ คือ โรคที่เกิดการอักเสบของอวัยวะรอบๆ รากฟันซึ่งมีหน้าที่รองรับฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟันและกระดูกเบ้าฟัน

null

รูป สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ
เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ เนื่องจากการทำความสะอาดฟันที่ไม่เหมาะสม โดยเมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุจากน้ำลาย คราบจุลินทรีย์ที่สะสมนี้ก็จะแข็งเป็นหินน้ำลาย (หินปูน) ซึ่งหินน้ำลายเหล่านี้จะเป็นที่ยึดเกาะของคราบจุลินทรีย์ต่อไป

null

รูป ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง
ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่และโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดี เป็นปัจจัยส่งเสริมให้โรคปริทันต์มีความรุนแรงมากขึ้นได้
อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
เมื่อเกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ขึ้น จะทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบซึ่งเหงือกจะมีลักษณะบวมแดง มีเลือดออกง่าย ซึ่งหากปล่อยให้การอักเสบดำเนินต่อไปก็จะทำให้เกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบ โดยเกิดการทำลายอวัยวะรอบรากฟันเริ่มเกิดร่องลึกปริทันต์ อาจมีหนอง ฟันโยกในเวลาต่อมา และอาจเกิดการสูญเสียฟันหลายๆตำแหน่งได้ในอนาคต

null

รูป อาการของโรคปริทันต์อักเสบ
การป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ
แปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม ด้วยไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคปริทันต์อักเสบ พบทันตแพทย์เพื่อตรวจและดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน
ขั้นตอนในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. ขั้นตอนการควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบ (Systematic Phase) เช่นการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน หรืองดการสูบบุหรี่
  2. ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น (Initial Phase) ด้วยการขูดหินน้ำลาย การเกลารากฟันและการแปรงฟันให้สะอาด รวมถึงทำความสะอาดซอกฟันอย่างเหมาะสม
    null

    รูป ขั้นตอนการรักษาขั้นต้น
  3. ขั้นตอนการรักษาระยะแก้ไข (Corrective Phase) เพื่อกำจัดพยาธิสภาพที่อาจหลงเหลืออยู่หลังรักษาขั้นต้นสมบูรณ์แล้ว ด้วยการทำศัลยกรรมปริทันต์หรือการบูรณะอื่นๆ
  4. ขั้นตอนการรักษาเพื่อคงสภาพอวัยวะปริทันต์ให้ปราศจากโรค (Maintenance Phase) โดยทันตแพทย์จะนัดเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 3-6 เดือน
คำแนะนำหลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  1. หลังการทำหัตถการอาจมีเลือดซึมจากขอบเหงือกได้เล็กน้อย แนะนำหลีกเลี่ยงการบ้วนเลือดและน้ำลายตลอดวันที่ทำหัตถการ
  2. หลังขูดหินน้ำลายหรือการเกลารากฟัน อาจเกิดการเสียวฟันขึ้นได้ แต่โดยทั่วไปอาการดังกล่าวจะดีขึ้นได้ในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
  3. อาจมีอาการปวดเหงือกได้บ้างหลังจากการทำหัตถการ สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
  4. หากมีเลือดออกจากร่องเหงือกมาก เบื้องต้นแนะนำใช้ผ้าก๊อซกดเหงือกครั้งละ 30 นาที และหากพบว่าเลือดยังไม่หยุดให้กลับมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง
  5. สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ปกติ

null

รูป หลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
อัตราค่าบริการทันตกรรม
รายการ
ค่าบริการ
ขูดหินปูน
900 - 1,500.-
เกลารากฟัน
1,500 - 2,000.-
(ต่อครั้ง)
ศัลยกรรมปริทันต์
3,000 - 5,000.-
เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
150.-
(ต่อฟิล์ม)
เอกซเรย์พานอรามิก
800.-
(ต่อฟิล์ม)

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ

Tooth Replacement
การใส่ฟันทดแทนชนิดต่างๆ
ฟัน มีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้การออกเสียงเป็นไปได้อย่างชัดเจนทั้งยังช่วยรักษาโครงสร้างของใบหน้า ริมฝีปากให้มีความสมดุลได้อีกด้วย หากต้องสูญเสียฟันธรรมชาติไปโดยมิได้ใส่ฟันเทียมทดแทน ย่อมจะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารต่ำลง อาจทำให้ออกเสียงได้ไม่ชัดและความมั่นใจถูกลดทอนลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้
ถอนฟันไปแล้ว แต่ไม่ใส่ฟันทดแทนได้หรือไม่?
โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ฟัน ทดแทนในทุกๆตำแหน่ง หลังจากที่ถอนฟันไปแล้ว ประมาณ 1 เดือน เนื่องจากหากไม่ได้รับการใส่ฟันทดแทนอาจทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงและฟันคู่สบล้มหรือยื่นยาวมายังช่องว่าง ที่เคยได้รับการถอน (ดังรูป)
null

รูป ฟันล้ม
ส่งผลให้เกิดการสบกระแทก เศษอาหารติด และเกิดเป็นโรคปริทันต์อักเสบและอาจจำเป็นต้องถอนฟันซี่ใกล้เคียงในเวลาต่อมา แต่อย่างไรก็ตามในบางกรณีเช่น ฟันที่ถูกถอนนั้นเป็นตำแหน่งของฟันคุด ฟันเกิน ฟันฝัง ฟันที่ถอนเพื่อจัดฟัน ฟันผิดตำแหน่ง หรือเป็นตำแหน่งที่ ฟันซี่นั้นไม่มีคู่สบและยังเหลือฟันมากพอที่จะสามารถเคี้ยวอาหารได้ดี อาจไม่จำเป็นต้องใส่ฟันทดแทน
การเตรียมสภาวะช่องปากให้พร้อมก่อนการใส่ฟันทดแทน
เพื่อให้ฟันเทียมนั้นสามารถใช้งานได้ยาวนานที่สุด และรองรับพอดีกับฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องซ่อมหรือท่าบ่อยใหม่ๆ ในอนาคต ทันตแพทย์จะวางแผนเตรียมช่องปากก่อนเริ่มขั้นตอนฟันเทียม
ขั้นตอนและวิธีการเตรียมช่องปาก
ในแต่ละรายล้วนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับสภาวะช่องปากในขณะนั้น ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่การอุดฟัน รักษาโรคเหงือก รักษารากฟัน ถอนฟันบางซี่ที่ไม่อาจบูรณะได้ ตกแต่งกระดูกที่คมหรือปลูกกระดูกก่อนฝังรากฟันเทียม เป็นต้น
ฟันเทียมทดแทนชนิดต่างๆ
1. ฟันเทียมชนิดถอดได้
null

รูป 1.1 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานโลหะ)
1.1 ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ฐานบางและแข็งแรงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • การเติมฟัน ในอนาคตทำได้ยากกว่าฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
  • null

    รูป 1.2 ตัวอย่าง ฟันเทียมชนิดถอดได้(ฐานอะคริลิก/พลาสติก)
    1.2 ฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก/พลาสติก
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องผ่าตัด ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานโลหะ
  • สามารถเติมได้หากต้องถอนฟันในอนาคต
  • ฐานฟันปลอมมีความหนามากกว่าโลหะ
  • อาจมี โอกาสแตกหักได้หากทำตกหล่น
  • 2. ฟันเทียมชนิดติดแน่น
    null

    รูป 2.1 รากฟันเทียม
    2.1 รากฟันเทียม (Dental Implant)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟันซี่ใดๆ
  • ให้ความรู้สึกใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • สามารถใช้เป็นฐานเพิ่มการยึด ติดของฟันเทียมถอดได้ทั้งปากได้
  • ต้องมีกระดูกรองรับการฝังรากฟันเทียมที่มาก เพียงพอ
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • การรักษามี 2-3 ขั้นตอนในช่วงเวลาประมาณ 3-6 เดือน
  • null

    รูป 2.2
    2.2 ครอบฟัน (Crown)/สะพานฟัน(Bridge)
    ข้อดี
    ข้อควรพิจารณา
  • วัสดุมีให้เลือกหลากหลายชนิด มีความแข็งแรงทนทาน มักใช้เพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาแล้ว หรือฟันที่ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่า ฟันเทียมชนิดถอดได้
  • ต้องได้รับการกรอตกแต่งฟันซี่นั้นๆ หรือฟันข้างเคียง
  • การดูแลและท่าความสะอาด ฟันเทียมชนิดต่างๆ
    ฟันเทียมชนิดติดแน่นสามารถแปรงฟันใช้ไหมขัดฟันและแปรงซอกฟันได้ในรายที่ใส่ครอบฟัน (หรือรากฟันเทียม) หากมีสะพานฟันร่วมด้วยแนะนําใช้ Superfloss หรือไหมขัดฟันร่วมกับ Floss Threader ทำความสะอาดใต้สะพานฟันเพราะแม้จะได้รับการครอบฟันแล้ว แต่ฟันก็ยังจะสามารถผุต่อหรือเกิดโรคปริทันต์ต่อได้ในอนาคต
    ฟันเทียมชนิดถอดได้
    • ถอดออกในเวลากลางคืน และแช่ในน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ ไม่ใช้น้ำเย็นจัด/ร้อนจัด
    • แปรงด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน ไม่ใช้ยาสีฟัน ทำความสะอาด เพราะผงขัดอาจทำให้ฐานฟัน ปลอมถูกขีดข่วนได้
    • ใช้งานอย่างระวังมิให้ตกหล่น เนื่องจากสามารถ แตกหักได้
    • หลังทานอาหารทุกครั้งแนะนำาถอดล้างทำความ สะอาด และบ้วนปาก
    • ตรวจเช็คฟันปลอมเป็นระยะทุกๆ 6 เดือน
    • สามารถใช้เม็ดฟูทำความสะอาดฟันปลอมได้
    • สามารถใช้กับกาวยึดติดฟันปลอมได้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    ฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติกเริ่มต้น
    3,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ
    8,000 บาท (ซี่ต่อไป +500)
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ฟันปลอมทั้งปาก (ต่อชิ้น)
    10,000 - 15,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    ครอบฟัน (ขึ้นกับชนิดวัสดุ)
    10,000 - 20,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เดือยฟัน
    4,500 - 5,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    รากฟันเทียม(ขึ้นกับยี่ห้อวัสดุ)
    55,000-75,000 บาท
    แบ่งชำระเป็นรายครั้ง
    เอกซเรย์ฟิล์มเล็ก (ฟิล์มละ)
    150 บาท
    เอกซเรย์พานอรามิค (ฟิล์มละ)
    800 บาท

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด – 12 ปี

    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด - 12 ปี

    Oral health care for newborns - 12 years old
    การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กแรกเกิด-อายุ 12 ปี
    ฟันน้ำนม นอกจากมีหน้าที่ในการบดเคี้ยวและช่วยเสริมสร้างความมั่นใจแล้วยังช่วยทำให้ออกเสียงได้ชัดเจนและเป็นตัวช่วยให้ฟันแท้ขึ้นมาได้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
    กรณีที่ต้องสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดจึงทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นตามมาเกิดปัญหาซ้อนเกหรือหากฟันผุมากจนเกิดอาการปวดฟันทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กทางอ้อมได้
    การดูแลสุขภาพช่องปาก ระยะก่อนฟันน้ำนมขึ้น (0-6 เดือน)
    ผู้ปกครองสามารถใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดบริเวณ เหงือก ลิ้น และกระพุ่งแก้ม ไม่ควรปล่อยให้ลิ้นเป็นฝ้าขาวเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียได้
    null
    การจัดท่าในการทำความสะอาดฟันน้ำนมของเด็กอ่อน
    การดูแลสุขภาพช่องปากระยะฟันน้ำนมค่าดังขึ้น
    • ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี
      เลือกแปรงสีฟันขนนุ่มหน้าตัดตรงขนาด ที่เหมาะสมกับเด็กร่วมกับที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppmได้กรณีเสี่ยงผุสูง) แตะขนแปรงพอเปียก หรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร โดยให้ผู้ปกครองแปรงให้และเช็ดฟองออก
    null
    ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น 3 ปี : บีบยาสีฟันแตะขนแปรงพอเปียกหรือขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร
    • 3-6 ปี
      ผู้ปกครองบีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,000 ppm (สามารถใช้ 1,500 ppm ได้กรณีเสี่ยงผุสูง)
      ขนาดเท่าความกว้างของแปรง หรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
      และช่วยแปรงฟันให้คอยเตือนให้บ้วนฟองยาสีฟันทิ้ง แต่ไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือเท่านั้น
    null
    3-6 ปี : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความกว้างของแปรงหรือเท่าเมล็ดข้าวโพด
    • 6 ปีขึ้นไป
      บีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,450-1,500 ppm ขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน แปรงด้วย ตนเองอย่างน้อย 2-3 นาที หลังแปรงให้บ้วนฟองออก โดยไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำเพียง 1 อุ้งมือ (10 ml)
    null
    6 ปีขึ้นไป : บีบยาสีฟันขนาดเท่าความยาวแปรงสีฟัน
    ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
    null
    ช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมขึ้นและหลุดออก
    ข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันน้ำนม
    null
    Q หากพบฟันแท้ หน้าล่างขึ้นซ้อนหลังฟันน้ำนมดังรูป จำเป็นต้องรีบถอนฟันน้ำนมหรือไม่ ?
    A หากพบว่าฟันแท้ หน้าล่างนั้นขึ้นมาได้เกินครึ่งชีฟันแล้ว แต่ยังไม่พบว่ามีการโยกของฟันน้ำนม อาจจำเป็นต้องได้รับการถอน แต่หากฟันแท้ขึ้นได้เกินครึ่งที่ฟันและพบว่าฟันน้ำนมโยกมาก อาจปล่อยให้ฟันน้ำนมหลุดออกเองได้
    null
    Q หากพบว่าเด็กมีอาการปวดฟันน้ำนม ทานอาหารลำบาก จำเป็นต้องได้รับการถอนฟันหรือไม่ ?
    A ไม่เสมอไป เพราะหากทันตแพทย์ตรวจพบว่าฟันน้ำนมนั้นมีโครงสร้างตัวฟันที่เหลืออยู่มาก ประกอบกับรากฟันยังเหลือความยาวที่เหมาะสม จากภาพถ่ายรังสีฟันไม่โยกหรืออาจเป็นเวลาอีกนานกว่าที่ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะชิ้นได้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กสามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้ดี ทันตแพทย์อาจพิจารณาทำการรักษารากฟันน้ำนมและทำครอบฟันน้ำนมแทนการถอนฟัน เพื่อให้ฟันน้ำนมนั้นยังสามารถใช้บดเคี้ยวได้และเพื่อรอจนกว่าฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้จะเริ่มดันขึ้น และรากฟันน้ำนมซี่นั้นก็จะละลายและหลุดไปตามเวลา
    null
    Q ฟันน้ำนมห่าง หรือช้อนเก จะมีผลอย่างไร ต่อฟันแท้หรือไม่ ?
    A ช่วงวัย 2-6 ปี กว่าร้อยละ 60 พบได้ว่าฟันหน้าน้ำนมจะเรียงตัวห่างกัน ซึ่งมีประโยชน์ในการเตรียมที่ไว้ให้ฟันแท้ที่ขนาดใหญ่กว่านั้นขึ้นได้โดยไม่เบียดกัน แต่หากพบว่าชุดฟันน้ำนมมีลักษณะร้อนเก หรือชิดกันมาก อาจเกิดได้จากลักษณะฟันที่ไม่สัมพันธ์กับขากรรไกรซึ่งทำให้มีโอกาสที่ฟันแท้ที่ขึ้นมาอาจซ้อนเกได้ กรณีนี้จึงควรได้รับการติดตามการขึ้นของฟันแท้กับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    null
    Q หากลูกเลิกขวดนมช้า หรือทานนมแล้วนอนจะมีผล อย่างไรต่อฟันหรือไม่?
    A สมาคมทันตแพทย์สาหรับเด็กประเทศสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatric Dentistry) แนะนำให้เลิกขวดนมเมื่อเด็กอายุ 1 ปี - 1 ปีครึ่ง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยว/กลืนอาหารในระดับที่เหมาะสมกับวัย การพัฒนาทางกล้ามเนื้อ การพัฒนาทางด้านภาษาและการพัฒนาทางด้านอารมณ์
    อัตราค่าบริการทันตกรรม
    รายการ
    ค่าบริการ
    เคลือบหลุมร่องฟัน
    300 - 500.-
    (ต่อซี่)
    ขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์
    600 - 800.-
    รักษารากฟันน้ำนมเด็ก
    2,500 - 3,000.-
    ครอบฟันเด็ก (SSC)
    2,000 - 2,500.-
    ถอนฟันน้ำนม(ต่อซี่)
    500 - 700.-
    (ต่อซี่)
    เอกซเรย์เฉพาะตำแหน่ง
    150.-
    (ต่อฟิล์ม)
    เอกซเรย์พานอรามิก
    800.-
    (ต่อฟิล์ม)
    อุดฟันน้ำนม
    600 - 1,000.-

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การผ่าฟันคุด

    การผ่าฟันคุด

    Impacted Tooth
    ฟันคุด (Impacted Tooth) หมายถึง ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติ เนื่องจากกระดูกหรือเหงือกที่ปกคลุมหนามาก หรือ ถูกขัดขวางจากฟันข้างเคียง ฟันคุดที่พบได้บ่อย ได้แก่ ฟันเขี้ยวบน ฟันกรามน้อยล่างและฟันกรามใหญ่ซี่ที่สาม ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบฟันคุดได้บ่อยที่สุด เนื่องจากเป็นฟันที่จะโผล่ขึ้นในช่องปากเป็นลำดับสุดท้าย
    เมื่อทันตแพทย์ตรวจและวินิจฉัยพบว่าผู้ป่วยมีฟันคุดควรรีบผ่าฟันคุดออก ทั้งนี้ก็เพราะว่า ขณะที่ผู้ป่วยยังมีอายุน้อย (16-21ปี) ร่างกายจะแข็งแรงไม่มีโรคทางระบบใดๆกระดูกที่ปกคลุมตัวฟันยังไม่แข็งมากนักจึงจะง่ายต่อการกรอกระดูกและตัดฟัน (ในรายที่จำเป็น) มีการซ่อมแซมบาดแผลได้ดีกระดูกสร้างตัวได้เร็วแผลผ่าตัดจึงหายได้เร็ว ภาวะแทรกซ้อนน้อยและผลเสียที่จะเกิดกับเนื้อเยื่อปริทันต์ของฟันกรามซี่ที่อยู่ข้างเคียงน้อย
    เหตุใดจึงควรผ่าฟันคุด
    1. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน
    2. เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ หรือเกิดโรคปริทันต์
    3. เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำ และเนื้องอกบริเวณขากรรไกร
    4. เพื่อป้องกันการเกิดฟันซ้อนเกหลังการจัดฟัน
    สิ่งที่ควรทราบก่อนการตัดสินใจผ่าฟันคุด
    ในการผ่าฟันคุดทุกครั้งจำเป็นต้องมีภาพถ่ายรังสี เพื่อประเมินแนวการวางตัวของฟันและรากฟัน พยาธิสภาพและลักษณะของกระดูกที่รองรับฟัน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างฟันและเนื้อเยื่อที่สำคัญข้างเคียง เช่น เส้นประสาท เส้นเลือด
    ไซนัส ฟันข้างเคียง เป็นต้น
    ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัด
    • เลือดออกผิดปกติ
    • การเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการชาบริเวณคาง/ริมฝีปาก/ลิ้น (1-6เดือน) ขึ้นกับความสัมพันธ์ของรากฟันและเส้นประสาทของแต่ละบุคคล
    • แผลอักเสบติดเชื้อ-บวม
    • อ้าปากได้น้อยกว่าปกติ
    • การเกิดการเชื่อมต่อของช่องปากและไซนัส
    ข้อปฎิบัติหลังการผ่าตัดฟันคุด
    1. กัดผ้าก๊อซให้แน่นบริเวณที่ถูกผ่าตัด ประมาณ 1-2 ชม. ถ้ามีเลือดหรือน้ำลายซึมออกมาให้กลืน
    2. คายผ้าก๊อซออกหลังจากผ่าตัดไปแล้วอย่างน้อย 1ชม. หากยังพบเลือดซึมออกมาให้กัดผ้าก๊อซใหม่ต่ออีกครั้งละ ประมาณ ½ -1 ชม.
    3. หลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำลาย บ้วนน้ำ ตลอดวัน ที่ผ่าตัด
    4. ไม่ดูดแผล และ ใช้ลิ้นดุนบริเวณแผล เพราะจะทำให้เลือดซึมออกมาได้อีกครั้ง
    5. รับประทานยาตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
    6. ช่วงสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อนหรือเหลว และหลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัด/เย็นจัด
    7. มาตามนัดตัดไหมประมาณ 7-10 วัน หลังการผ่าตัด
    8. หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรกลับมาปรึกษาทันตแพทย์

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    การรักษาคลองรากฟัน (Root Canal Treatment)

    การรักษาคลองรากฟัน

    การรักษาคลองรากฟันคืออะไร

    การรักษาคลองรากฟัน คือ กระบวนการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและครองรากฟันที่มีการอักเสบ ติดเชื้อ รวมทั้งทำความสะอาดโพรงฟันและคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรคและอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน รวมถึงการบูรณะตัวฟันเพื่อความสวยงาม และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

     

    ฟันลักษณะใดที่ควรรับการรักษาคลองรากฟัน

    • ฟันที่มีอาการปวดหรือเคยมีประวัติปวดมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
    • ฟันที่ผุ/แตก/สึก/ร้าว/ ลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
    • ฟันที่มีประวัติได้รับอุบัติเหตุรุนแรงและ/หรือฟันมีการเปลี่ยนแปลงสีไปจากเดิม
    • ฟันที่มีตุ่มหนองหรือมีการบวมบริเวณเหงือกหรือบริเวณหน้า

    ข้อดีของการรักษารากฟัน

    • สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้โดยไม่ต้องถอนฟัน ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ฟันเทียมดแทนตำแหน่งฟันที่หายไป
    • หลังการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษารากแล้วพบว่าประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวจะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติเดิมมากกว่าการใส่ฟันเทียมทดแทน
    • ไม่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อการใช้งานหลังการบูรณะฟันมากเท่ากับการใส่ฟันเทียมทดแทน

    ข้อจำกัดของการรักษาคลองรากฟัน

    ไม่สามารถทำได้ในฟันทุกซี่เหมือนกับการถอนฟันซึ่งฟันที่จะสามารถรักษารากฟันได้และให้ผลดีหลังการรักษานั้น ทันตแพทย์จะต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยร่วมกันเช่นตำแหน่งการเข้าทำงาน,ลักษณะของรากฟัน, ความเป็นไปได้ของการบูรณะฟันถาวร หลังการรักษาราก ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในเรื่องวิธีการรักษาที่เหมาะสมและเพื่อวางแผนการรักษาก่อนรับการรักษารากฟัน

    การรักษาคลองรากฟันมีขั้นตอนอย่างไร

    1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและถ่ายภาพรังสีเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและวางแผนก่อนรับการรักษา
    2. ผู้ป่วยจะได้รับยาชาเพื่อระงับความเจ็บปวดระหว่างทำหัตถการและใส่แผ่นยางกันความชื้นตลอดเวลาที่ทำหัตถการ
    3. ทันตแพทย์จะทำการเปิดทางเข้าสู่โพรงฟัน
    4. ทำความสะอาดภายในโพรงพันและคลองรากฟันด้วยเครื่องมือขนาดเล็กร่วมกับน้ำยาล้างคลองรากฟัน รวมทั้งจะมีการใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟันร่วมด้วย
      * การทำความสะอาดคลองรากฟัน ปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับสภาวะการติดเชื้อของฟัแต่ละซี่ *
    5. ทันตแพทย์จะทำการอุดคลองรากฟันให้เต็มแน่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ
    6. บูรณะฟันให้สวยงาม และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      * การบูรณะฟันถาวรหลังการรักษารากฟันถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากฟันที่ได้รับการรักษาฟันเสร็จสมบูรณ์แล้วหากไม่ได้รับการบูรณะฟันถาวรด้วยวิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสม ฟันจะมีความเสี่ยงในการแตกร้าวในอนาคต

    อัตราค่าบริการทันตกรรม

    รักษารากฟัน

    รายการ ราคา
    • ฟันหน้า
    5,000 - 6,000  บาท
    • ฟันกรามน้อย
    7,000 - 8,000  บาท
    • ฟันกรามใหญ่
    12,000 - 13,000  บาท
    • รักษารากฟันซ้ำ คิดเพิ่มซี่ละ
    1,000   บาท

    ครอบฟัน

    รายการ ราคา
    • ครอบฟัน
    12,000 - 18,000  บาท
    • เดือยฟัน
    4,000 - 5,000  บาท
    หมายเหตุ

    หากมีข้อสงสัยหรือต้องการนัดปรึกษาทันตแพทย์ กรุณาติดต่อ คลินิกทันตกรรม โทร 02 587 0144  ต่อ 2331

    ทำอย่างไรเมื่อฟันแท้หลุดจากเบ้า

    ทำอย่างไรเมื่อฟันแท้หลุดจากเบ้า

    เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ฟันแท้หลุดออกจากเบ้ามาทั้งซี่  ทำอย่างไร

    ... อย่าทิ้งฟันซี่นั้นเด็ดขาด

    เหตุการณ์นี้อาจเกิดอุบัติเหตุได้กับทุกคน โดยเฉพาะกับเด็กในวัย 7-11 ปี   ซึ่งเกิดจากการเล่นกีฬา  หรือการชกต่อย  ทำให้ฟันแท้หน้าบน หรือล่าง หลุดออกมาจากเบ้าฟัน เก็บฟันที่หลุดออกมา จับที่ตัวฟัน ไม่จับที่รากฟัน เพราะรากฟันมีเนื้อเยื่อที่มีชิวิต  การใส่กลับไปใหม่จะให้ผลสำเร็จที่ดีถ้าไม่จับที่รากฟัน และนำไปผ่านนมจืด 10 วินาที หากใส่กลับเข้าไปได้ด้วยตัวเอง ให้ใส่กลับไปในตำแหน่งเดิม และใช้ผ้าสะอาดกดไว้นิ่งๆ แล้วพบแพทย์ทันที

     

    วิธีการทำความสะอาดช่องปากและซอกฟัน

    วิธีการทำความสะอาดช่องปากและซอกฟัน

    เศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคฟันผุและโรคปริทันต์ การทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธีโดยการแปรงฟัน ร่วมกับการทำความสะอาดซอกฟัน ด้วยอุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ในการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดโรคต่างๆ ในช่องปาก

     

    คลินิกทันตกรรม  02 587 0144  ต่อ 2331