โนโรไวรัส (Norovirus)

โนโรไวรัส

Norovirus
เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน และอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อย มักพบในช่วงเข้าฤดูหนาว หรือเมื่ออากาศเริ่มเย็นลง
อาการ
  • อาการที่พบได้บ่อย : ถ่ายเหลว, คลื่นไส้อาเจียน, ปวดท้อง
  • อาการอื่นๆ ที่พบได้ : ไข้, ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  • อาการขาดน้ำ อาจสังเกตได้จาก : ปากแห้ง, ปัสสาวะลดลง, เวียนศีรษะหน้ามืดเวลาลุกขึ้น, หากเป็นเด็กอาจพบว่าร้องให้โดยไม่มีน้ำตา
โดยผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรงได้แก่ เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี, ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยสามารถหายได้ใน 1-3 วัน แต่อาจสามารถแพร่กระจายเชื้อได้นานถึง 2 สัปดาห์
กรณีสงสัย สามารถตรวจเชื้อได้จากในอุจจาระ รอผล 1-2 ชั่วโมง
การแพร่กระจายเชื้อ
  • เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจาย และรับเชื้อได้ง่ายมาก
  • โดยรับเชื้อผ่านทางอุจจาระหรือการอาเจียนของผู้ที่มีอาการป่วยจากไวรัสชนิดนี้, การรับประทานอาหารและที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
  • ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการ จนอาจยาวนานได้ถึง 2 สัปดาห์หลังจากอาการป่วยดีขึ้นแล้ว
วิธีการป้องกันการแพร่กระจาย/การติดเชื้อ
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน Norovirus โดยเฉพาะ แต่ท่านสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ด้วยการล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
  • หลังการเข้าห้องน้ำ หรือ การเปลี่ยนผ้าอ้อม
  • ก่อนการปรุงอาหาร จับ หรือรับประทานอาหาร
  • ล้างผักผลไม้ ก่อนรับประทานทุกครั้ง
  • หากจะรับประทานหอยนางรมหรือหอยชนิดอื่น แนะนำให้ปรุงให้สุกด้วยอุณหภูมิอย่างน้อย 62.5 องศา
  • ทำความสะอาดห้องครัว เครื่องครัว อย่างสม่ำเสมอ
การใช้เจลล้างมืออาจจัดการกับ Norovirus ได้ไม่ดีนัก แนะนำให้ใช้ควบคู่กับการล้างมือถึงจะดีที่สุด
หากท่านเป็นผู้ป่วยจากการติดเชื้อ Norovirus แนะนำให้รอให้อาการป่วยหายดี 48 ชั่วโมงก่อน ถึงจะเตรียมอาหารได้
หากสัมผัสกับอาเจียนหรืออุจจาระของผู้ป่วย
  • ควรสวมถุงมือก่อนการสัมผัส ใช้กระดาษเช็ดออกให้หมด แล้วทิ้งลงถุงขยะพลาสติก
  • ทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวที่สัมผัสด้วยผลิตภัณฑ์น้ำยาคลอรีนฆ่าเชื้อ แล้วตามด้วยสบู่+น้ำร้อนอีก 1 รอบ
  • การซักผ้าที่ปนเปื้อน แนะนำให้ซักด้วยน้ำร้อน ใช้โปรแกรมปั่นที่นานสุด หากมีโปรแกรมอบผ้าในตัวเครื่องแนะนำให้ใช้อุณหภูมิสูงสุด
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อที่จำเพาะกับ Norovirus การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองตามอาการ และป้องกันการขาดน้ำ ได้แก่
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • หากอาเจียนหรือถ่ายเหลวมาก ควรดื่มน้ำเกลือแร่ทางการแพทย์
  • การดื่มเกลือแร่ชนิดดื่มหลังออกกำลังกาย หรือเครื่องดื่มแบบไม่มีคาเฟอีนชนิดอื่น อาจช่วยได้ในการขาดน้ำแบบเล็กน้อยเท่านั้น
  • เฝ้าระวังการขาดน้ำ หากมีอาการขาดน้ำควรรีบปรึกษาแพทย์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

โรคไอกรน Pertussis

โรคไอกรน

Pertussis
โรคไอกรนเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ซึ่งก่อโรคเฉพาะในคน ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเป็นระยะจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้ ในพื้นที่ที่มีความ ครอบคลุมในการฉีดวัคซีนต่ำ จะมีการระบาดได้ง่าย เช่น ในช่วงกลางปี 2567 มีการระบาดต่อเนื่องในภาคใต้เนื่องจากความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนต่ำมาก
การติดต่อ
การติดต่อของโรคเกิดผ่านละอองฝอยไอหรือจามจากผู้ป่วย หรือผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจาก
ทางเดินหายใจของผู้ป่วย ระยะของการแพร่เชื้อเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไอ มีน้ำมูก จนถึง 21 วัน
หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการของโรค จะแพร่เชื้อได้สูงสุด ในระยะอาการหวัด
อาการและอาการแสดง อาการของโรคไอกรนแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
  1. ระยะอาการหวัด ผู้ป่วยจะมีอาการ มีน้ำมูก ไข้ต่ำ ๆ แยกยากจากไข้หวัดทั่วไป
  2. ระยะไอรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไอรุนแรงติดต่อกันเป็นชุด ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรง จนเกิดเสียงวูบ บางรายอาจมีอาเจียน เขียวและหยุดหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วย เด็กเล็ก
  3. ระยะฟื้นตัว (Convalescent stage) ผู้ป่วยจะมีอาการไอและอาเจียนทุเลาลง หายไปใน 2-3 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการไอได้นานหลายสัปดาห์โดยรวมระยะของโรคทั้งหมดหากไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไอกรนที่อาจพบในวัยรุ่นและในผู้ใหญ่ ได้แก่ ปอดอักเสบ น้ำหนักลด ไอจน
รบกวนการนอน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระดูกซี่โครงหัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้น
สำหรับในทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน และยังได้รับวัคซีนไม่ครบ อาจมีอาการที่รุนแรงได้
การให้วัคซีนป้องกันไอกรน
วัคซีนป้องกันไอกรน มีทั้งชนิดวัคซีนเดี่ยวและชนิดวัคซีนรวมกับคอตีบและบาดทะยัก เด็กนักเรียนทุกคนควรได้รับวัคซีนที่แนะนําตามอายุให้ครบถ้วน ได้แก่
  1. อายุน้อยกว่า 6 ปี ควรรับวัคซีนให้ครบ โดยเป็นวัคซีนรวมที่มีคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และอาจรวมวัคซีน ป้องกันเชื้ออื่นๆ ในเด็กเล็กด้วย เช่น DTP-HB-Hib จำนวน 5 โด๊ส ที่อายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และ 4-6 ปี
  2. วัยรุ่น 10-12 ปี แนะนําให้ฉีดวัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์สูตรเด็กโตและผู้ใหญ่ (Tdap/TdaP) กระตุ้น 1 โด๊ส หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นต่อด้วย ด้วยวัคซีน dT/Tdap/TdaP ทุก 10 ปี
  3. ผู้ใหญ่ หากยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันไอกรนเข็มกระตุ้น แนะนําให้ฉีดวัคซีนรวม Tdap/TdaP กระตุ้น 1 โด๊ส จากนั้นแนะนําให้ฉีดวัคซีนรวม dT/Tdap/TdaP กระตุ้น ประมาณทุก 10 ปี แนะนําให้ฉีดเมื่ออายุลงท้ายด้วยเลข “0” เช่นที่อายุ 20, 30, 40, 50, 60, 70, 80 ปี
  4. หญิงตั้งครรภ์ แนะนําให้วัคซีนป้องกันไอกรนในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 16 สัปดาห์ขึ้นไป
  5. ในกรณีที่มีเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ในครอบครัว ควรให้ทุกคนในบ้านได้รับวัคซีนป้องกันไอกรน ตามที่แนะนําในข้างต้นให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปยังทารก (Cocooning)
ที่มา: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม : คำแนะนำโรคไอกรนสำหรับประชาชน_รวกท..pdf
วันที่: 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

RSV ไวรัส วายร้าย ในผู้สูงวัย ป้องกันด้วยวัคซีน

RSV ไวรัส วายร้าย ในผู้สูงวัย ป้องกันด้วยวัคซีน

RSV Vaccine
การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)
RSV เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคหลอดลมอักเสบ (Bronchiolitis) และปอดบวม (Pneumonia) โดยเฉพาะในเด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่มีโรคหัวใจหรือปอด โดยสามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผ่านละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจาม
โดยอาการจะคล้ายไข้หวัด เช่น ไอ มีไข้ น้ำมูกไหล เจ็บคอ คัดจมูก อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถฆ่าไวรัส RSV ได้ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ ถ้ามีอาการรุนแรงอาจด้วยการใช้ยาขยายหลอดลมหรือให้ออกซิเจน รวมถึงเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
การป้องกันการติดเชื้อ โดยการปฏิบัติเหมือนการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น การล้างมือบ่อยๆ การสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการหวัด การฉีดวัคซีน RSV สำหรับกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ
วัคซีน RSV
ในอดีต RSV เป็นไวรัสที่ไม่มีวัคซีนในการป้องกัน แต่ในปัจจุบัน มีการวิจัยพัฒนาวัคซีน RSV ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ.2023 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้อนุมัติวัคซีน RSV ตัวแรกสำหรับผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวัคซีนเพิ่มเติมและการศึกษาทางคลินิกที่กำลังดำเนินการเพื่อสร้างวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV
ปัจจุบันในโรงพยาบาลบางโพมีวัคซีนที่เป็น Adjuvanted monovalent RSV vaccine (Arexvy) เป็นทางเลือกสำหรับผู้ต้องการรับวัคซีน RSV โดยข้อมูลในปัจจุบันแนะนำให้ฉีดเข้ากล้าม 1 เข็ม โดยไม่ต้องมีการฉีดกระตุ้น
ข้อบ่งชี้
  • ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้มีอายุ 50-59 ปี แต่มีโรคร่วมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง
ประสิทธิภาพ
  1. ลดอัตราการติดเชื้อ RSV ที่มีอาการได้ 82.6%
  2. ลดอัตราการเกิดโรคหลอดลมอักเสบและปอดบวมได้ 94.6%
  3. ลดความรุนแรงของอาการในผู้ที่ติดเชื้อ และลดการรักษาในโรงพยาบาล
  4. ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงทั่วไปที่พบได้บ่อยหลังจากการฉีดวัคซีน ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และมีไข้เล็กน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่รุนแรงและมักจะหายไปภายในไม่กี่วัน
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
ผู้ที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการรับวัคซีน
  1. ผู้ที่มีประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีนอื่น ๆ หรืออย่างรุนแรงต่อส่วนประกอบใด ๆ ของวัคซีน
  2. ผู้ที่ป่วยหนักหรือมีไข้สูงควรเลื่อนการรับวัคซีนจนกว่าจะหายดี
  3. ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับการรักษาด้วยยาที่กดระบบภูมิคุ้มกัน
  4. หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
การดูแลหลังการรับวัคซีน
  • ควรติดตามอาการของตัวเอง หากมีอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น หายใจลำบาก บวมที่หน้าและคอ หรือลมพิษ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • ควรพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น
สรุป
วัคซีนมีข้อห้ามและข้อควรระวังบางประการที่ผู้รับวัคซีนควรทราบ การปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการสุขภาพก่อนการรับวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าการรับวัคซีนเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

โปรแกรมและแพ็คเกจ

บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า

31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก
บุหรี่ไฟฟ้า
เป็นอุปกรณ์ที่ประชาชนทั่วโลกรู้จักมากขึ้นและมีการใช้มากในปัจจุบันรวมถึงในประเทศไทย ซึ่งนับวันบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงาน เยาวชน และกลุ่มนักเรียน เนื่องจากมีการหาชื้อได้ง่าย ประกอบกับสื่อ Social ในปัจจุบันที่รวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งแม้ว่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ และผิดกฎหมายแล้วก็ตาม
บุหรี่ไฟฟ้า (Electric cigarette) เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดใหม่ สูบด้วยการใช้อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ สารนิโคตินเหลว ที่สกัดจากใบยาสูบในบุหรี่ไฟฟ้าจะระเหยด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป เมื่อสูบน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าจะถูกทำให้สารเคมีกลายเป็นละอองไอ เป็นอันตรายต่อผู้สูบและคนรอบข้าง ซึ่งน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าประกอบไปด้วย
  • สารนิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดที่มีผลเสียต่อสุขภาพ หลายระบบ
  • สารประกอบอันตราย นิกเกิล ดีบุก ตะกั่ว สารหนู ฟอร์มัลดีไฮด์ เบนซีน ซึ่งอาจก่อมะเร็ง
  • โพรพิลีนไกลคอล ระคายเคืองตา ทางเดินหายใจ ทำให้ไอ ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน
  • กลีเซอรีน เมื่อผสมกับโพรพิลีนไกลคอล ยิ่งทำให้ไอ หลอดลมตีบ หอบเหนื่อย
  • สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย
  • สารปรุงแต่งกลิ่น รส และอื่น ๆ บางตัวอาจทำให้ปอดอักเสบรุนแรง อาทิ วิตามินอี อะซิเตท
โทษของบุหรี่ไฟฟ้า มีปริมาณนิโคตินเท่ากับบุหรี่ทั่วไป จำนวน 20 มวน และสารนิโคตินที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย อนุภาคขนาดเล็กกว่า pm 2.5 คือประมาณ 1.0 ไมครอน ไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่าบุหรี่ธรรมดาจึงถูกสูดเข้าไปในปอดได้ลึกกว่า จับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็ว ยากที่ร่างกายจะขับออกมาได้หมด
  • ระบบการหายใจ เกิดการระคายเคือง ไอ เหนื่อยง่าย ทำให้โรคหืดและภูมิแพ้กำเริบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ โรคมะเร็งปอด
  • ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ภาวะหลอดเลือดแข็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ทำให้หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต
  • ระบบประสาทและสมอง เซลล์สมองถูกทำลาย อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ส่งผลถึงการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง ส่งผลต่อการเรียนรู้ สมาธิ ทำให้ความจำ การคิดวิเคราะห์ เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง การควบคุมอารมณ์ และเสี่ยงมีภาวะโรคซึมเศร้า ซึ่งปกติสมองจะพัฒนา เต็มที่ประมาณอายุ 25 ปี เพิ่มความเสี่ยงการติดยาเสพติดอื่น ๆ
  • ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อนและอาจนำไปสู่โรคมะเร็ง
  • ผู้ที่สัมผัสสารพิษที่ตกค้างจากควันบุหรี่ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า “บุหรี่มือสาม” อาจเกิดอาการผิวหนังอักเสบ
บุหรี่ไฟฟ้ากับอาการที่ควรไปพบแพทย์
  • อาการไข้ หนาวสั่น
  • ไอ เหนื่อยง่าย
  • หายใจลำบาก หายใจสั้น หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สะดวก
  • แน่นหน้าอก
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • หากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ผู้ที่มีโรคที่เกี่ยวกับปอดอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคหืด หรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง
เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่เอกสารแนวทางใหม่ 2 ฉบับ ได้แก่ “คู่มือสำหรับโรงเรียนปลอดนิโคตินและยาสูบ” และ “ชุดเครื่องมือสำหรับโรงเรียนปลอดนิโคตินและยาสูบ” เพื่อช่วยปกป้องสุขภาพของเด็กนักเรียนก่อนจะเปิดเทอมในหลายประเทศ
4 วิธีในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปราศจากนิโคตินและยาสูบสำหรับเยาวชน
  • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบในบริเวณโรงเรียน
  • ห้ามขายผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบใกล้โรงเรียน
  • ห้ามโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อมและห้ามส่งเสริมผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบใกล้โรงเรียน
  • ปฏิเสธการสนับสนุนหรือการมีส่วนร่วมกับอุตสาหกรรมยาสูบและนิโคติน
ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้ามุ่งเป้าไปที่เด็กผ่านสื่อโซเชียลมีเดียและผู้ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากบนสื่อเหล่านั้น บุหรี่ไฟฟ้ามีรสชาติอย่างน้อยกว่า 16,000 รสชาติ บุหรี่ไฟฟ้าบางส่วนใช้ตัวการ์ตูนและมีดีไซน์เก๋ไก๋ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ สถิติการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยพบว่าอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กนั้นสูงเกินกว่าผู้ใหญ่ในหลายประเทศ” ดังนั้น ผู้ปกครองและโรงเรียน ควรหมั่นสอดส่องดูแล ควรเฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด พูดคุย เปิดใจรับฟัง รวมถึงเตือนถึงโทษภัยจากบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า สร้างความผูกพันและเป็นตัวอย่างที่ดี สร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ภายในบ้านและไปในสถานที่ปลอดบุหรี่
ที่มา:

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก - บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายพิษร้ายต่อสุขภาพ
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ - อันตรายจากบุหรี่
กรมประชาสัมพันธ์ - “สูบบุหรี่ไฟฟ้า” อันตราย เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรง
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ - บุหรี่ไฟฟ้า อันตราย..แม้ไร้ควัน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

วัยทำงาน
วัยทำงาน คือ ช่วงอายุ 18-59 ปี กลุ่มคนเหล่านี้จะให้เวลากับการทำงาน 1 ใน 3 ของแต่ละวันคือ ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน วัยนี้หลายคนทำงานหนัก เนื่องจากภาระงานติดพันหรือด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องทำงานเกินเวลา ส่งผลให้ไม่มีเวลาที่จะดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม พักผ่อนน้อย กินอาหารไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ดังนั้นการดูแลสร้างเสริมสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โรควัยทำงาน หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างต่อเนื่องนานๆ โดยเฉพาะงานที่ต้องนั่งหรือยืนอยู่เป็นเวลานานๆ หรือทำงานที่ต้องใช้แรงงานหนัก ซึ่งหลายประเภท โดยอาการและผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล ดังนี้
  1. อาการปวดเรื้อรัง
    ออฟฟิศซินโดรม โรคที่เกิดจากการนั่งทำงานท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดคอ รวมถึงอาการเจ็บปวดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น อ่อนเพลีย อ่อนแรง คลื่นไส้ หรือหมดแรงงาน
  2. อาการสำหรับสุขภาพจิต
    ความเครียดสะสม วิตกแห่งอารมณ์ ภาวะซึมเศร้า สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการทำงาน อาจเกิดจากความเครียดในการทำงาน รวมถึงความกดดันในเรื่องต่างๆ ด้านจิตใจหรือความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่มีผลต่อจิตใจอย่างรุนแรง ก็ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย
  3. อาการที่เกิดกับสายตาและการมองเห็น
    หรือใช้สายตามองจอคอมพิวเตอร์นานๆ ทำให้มีผลต่อดวงตา แสบตา ไม่สบายตา เกิดอาการระคายเคืองตา เจ็บตา ตาพร่าจากการจ้องมองที่ไม่ค่อยกระพริบตา เป็นผลให้มีอาการตาแห้ง
  4. อาการทางสมอง
    ไมเกรน บ้านหมุน สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เป็นโรคใกล้ตัวคนวัยทำงาน มีความเครียดเป็นสาเหตุหลัก เนื่องจากสมองเป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทุกส่วน เมื่อระบบประสาทและสมองมีปัญหา ก็จะส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วยเช่นกัน มักมีอาการตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง การคิด การทำ การพูด การทรงตัวผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะทำให้พิการได้
  5. อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
    กรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบ
    โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ผลระยะยาวของโรคนี้ อาจนำพาไปสู่การเกิดมะเร็งได้
  6. อาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
    กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคที่เกิดจากการอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เนื่องจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิง
จากรายงานสุขภาพคนไทย 2566 พบว่าคนไทยวัยทำงานมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพดังนี้
  1. การสูบบุหรี่
    • 1 ใน 5 คนวัยทำงาน สูบบุหรี่ทุกวัน
    • กลุ่มลูกจ้างเอกชน และผู้ทำงานส่วนตัว มีอัตราการสูบบุหรี่ทุกวันสูงที่สุด
    • การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  2. การบริโภคแอลกอฮอล์
    • 1 ใน 4 คนวัยทำงาน ดื่มแอลกอฮอล์ทุกสัปดาห์
    • กลุ่มนายจ้าง ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวันสูงที่สุด
    • การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง
  3. การบริโภคอาหาร
    • คนวัยทำงาน กินอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม สูง
    • แหล่งอาหารหลักมาจากแป้งขัดขาว น้ำตาล และไขมันอิ่มตัว
    • การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  4. กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • คนวัยทำงาน กว่า 80% มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
    • การไม่ออกกำลังกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน
การรักษาและการป้องกัน
การรักษาโรควัยทำงานมักเน้นการป้องกันและการบริหารจัดการอาการ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานและการพักผ่อน การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพที่ดี เช่น การฝึกหัดการทำงานโดยไม่กดดันตัวเองมากเกินไป การนั่งหรือยืนในท่าที่ถูกต้อง เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สมส่วน และการดูแลสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและเพื่อรักษาสุขภาพที่ดีในระยะยาว
การปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและการบริหารจัดการอาการอาจประกอบด้วยวิธีต่อไปนี้
  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
    • ให้ความสำคัญกับการใช้ท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน เช่น การนั่งหรือยืนในท่าที่สมบูรณ์แบบ เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
    • มีการพักผ่อนที่เพียงพอระหว่างการทำงาน เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสในการฟื้นตัว
    • ป้องกันการทำงานนานเกินไปโดยการแบ่งงานหรือการใช้ช่วงเวลาพักที่เหมาะสม กรณีใช้คอมพิวเตอร์ให้หลับตาทุก 10 นาทีต่อการทำงาน 1 ชั่วโมง หรือพักทุก 15 นาทีต่อการทำงานต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง
  2. การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ
    • มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและรักษาสุขภาพของร่างกาย
    • ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    • รักษาการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการเพียงพอ และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารไม่สุขภาพ อาหารเสริมที่ไม่จำเป็น
  3. การบริหารจัดการสุขภาพจิต
    • ให้ตัวเองเวลาในการพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ช่วยในการผ่อนคลาย เช่น การทำโยคะ การฝึกสติ หรือการอ่านหนังสือ
    • พูดคุยกับคนที่ไว้วางใจหรือคนที่สามารถให้การสนับสนุนที่ดีต่อสุขภาพจิต
    • หากมีปัญหาทางจิตใจที่รุนแรง ควรพบประสบการณ์อาจารย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อคำปรึกษาและการรักษา
  4. การใช้เครื่องมือช่วย
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยลดการบริโภคแรงงาน และลดการทำงานที่ต้องใช้แรงมาก เช่น รถเข็นของหนัก เก้าอี้ที่สามารถปรับระดับได้ เป็นต้น
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยในการป้องกันอันตรายในการทำงาน เช่น หูฟังป้องกันเสียงดัง หรือหน้ากากป้องกันฝุ่น
    • ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ควรจัดสถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแสงสว่างพอเหมาะ โดยเฉพาะจอภาพ แป้นพิมพ์ และที่วางเอกสาร เป็นต้น จะช่วยให้สบายตา หรืออาจใช้หลอดไฟโซเดียมเพื่อให้แสงสว่าง ใช้แผ่นกรองแสงเพื่อลดแสงจ้าและแสงสะท้อน จะช่วยลดความล้าของสายตาลงได้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้เครื่องมือช่วยนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและช่วยให้ร่างกายและจิตใจมีสุขภาพดีในระยะยาว

โปรแกรมและแพ็คเกจ

พิษจากสารแคดเมียม

พิษจากสารแคดเมียม

พิษจากสารแคดเมียม
แคดเมียมมีสูตรทางเคมีคือ Cd เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่มักพบตามธรรมชาติ มีสีเงินขาว แวววาวเป็นสีน้ำเงินจางๆ ไม่มีกลิ่น มีลักษณะเนื้ออ่อน สามารถบิดโค้งงอได้และถูกตัดได้ง่ายด้วยมีด มักอยู่ในรูปแท่ง แผ่น เส้น ลวด หรือเป็นผงเม็ดเล็กๆ สามารถทำปฏิกิริยาเคมีอย่างรุนแรงกว่าสารที่ให้ออกซิเจน เนื่องจากแคดเมียมทนทานต่อการสึกกร่อนได้เป็นอย่างดี จึงนำไปฉาบผิวโลหะต่างๆ ในทางอุตสาหกรรม หรือเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ในการทำ อุตสาหกรรมเหมือง แร่ เชื่อมโลหะ โซล่าเซลล์ รวมถึงยังใช้เป็นขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ชนิดที่เติมประจุใหม่ได้อีกด้วย
การปนเปื้อนจากโลหะหนักรวมถึงแคดเมียมนับเป็นปัญหาสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และอาจมีการถ่ายทอดไปสู่ห่วงโซ่อาหาร สะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชและสัตว์ ซึ่งจะนำมาสู่คนและเกิดอันตรายต่อผู้ที่ได้รับขึ้นได้ แคดเมียมเป็นโลหะหนักที่ไม่ละลายนํ้า ทั้งยังมีจุดเดือด (765 องศาเซลเซียส) และจุดละลาย (321 องศาเซลเซียส) สูงมาก หากได้รับเข้าสู่ร่างกายเกิดอันตรายต่ออวัยวะเป้าหมาย คือ ตา ผิวหนังและเยื่อบุสัมผัส ระบบทางเดินหายใจ/ทางเดินอาหาร/ทางเดินปัสสาวะ ไตและกระดูก
อาการ
อาการของการเกิดพิษขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ ทางที่ได้รับ และระยะเวลาที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย แบ่งเป็น
  1. อาการพิษเฉียบพลัน
    • ได้รับโดยการสูดดมไอของแคดเมียมออกไซด์: ทำให้เกิดมีอาการไข้ ไอ หนาวสั่น หายใจเสียงวี๊ด เจ็บหน้าอก ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ มักเกิดภายใน 4-24 ชั่วโมง หลังการสูดดมไอแคดเมียม ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะปอดอักเสบและระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
    • ได้รับโดยการกินเกลือแคดเมียม: ทำให้มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ในรายที่กินปริมาณมาก อาจมีเลือดออกจากทางเดินอาหาร ช็อค ไตวายได้
    • การสัมผัสเกลือแคดเมียมทางผิวหนัง ตา และเยื่อบุ: ทำให้มีอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ตา และเยื่อบุที่สัมผัส หากสัมผัสไอร้อนหรือแคดเมียมเหลว ทำให้เกิดการไหม้บริเวณที่สัมผัสได้
  2. อาการพิษระยะยาว - เมื่อได้รับแคดเมียมติดต่อเป็นระยะยาวนาน
    • ได้รับทางการหายใจ: อาจทำ ให้มีพังผืดในปอด ถุงลมโป่งพอง และสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอด
    • ได้รับทั้งการกินและการหายใจ: อาจทำให้เกิดความผิดปกติที่ไต ได้แก่ มีการรั่วของโปรตีน นํ้าตาล แคลเซียมและฟอสเฟตทางปัสสาวะ มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวายเรื้อรัง
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกระดูกคดงอ หักง่าย และมีอาการปวดรุนแรง ที่รู้จักในชื่อ "โรคอิไต-อิไต" ซึ่งพบในผู้ป่วยที่บริโภคอาหารและนํ้าที่ปนเปื้อนเป็นเวลานาน โดยเฉพาะข้าวที่ปลูกในบริเวณที่มีการปนเปื้อนแคดเมียม ปริมาณมากในนํ้า และดิน สำหรับการก่อมะเร็งนั้น แคดเมียมเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งไตและมะเร็งต่อมลูกหมาก
การรักษา
เน้นการรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง ยังไม่มีการรักษาหรือยาต้านพิษจำเพาะ
ยาที่ใช้ขับโลหะหนักที่มีในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษายืนยันว่ามีประโยชน์ในการรักษาพิษจากแคดเมียม
ดังนั้นการป้องกันและลดการสัมผัส จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
การตรวจหาสารแคดเมียมในร่างกาย 2 วิธี ทั้งนี้มีความแตกต่างในเรื่องระยะเวลาการสัมผัส
1. การตรวจแคดเมียมในเลือด (Cadmium in Blood) สามารถใช้ตรวจเพื่อประเมินการสัมผัสระยะสั้น (Short Term Exposure) ได้ดีกว่า
2. การตรวจแคคเมียมในปัสสาวะ (Cadmium in Urine) เหมาะสำหรับตรวจประเมินผู้ที่สัมผัสอย่างต่อเนื่องในระยะยาว (Long Term Exposure)
ทั้งนี้ทั้ง 2 แบบยังคงต้องมีการประเมินควบคู่กับผลพยาธิสภาพทั่วไปประกอบด้วยทั้งการประเมินโดยแพทย์
บริการตรวจหาสารแคคเมี่ยมในร่างกาย

  • รอผล 10 วัน 600 บาท
  • รอผล 3 วัน 800 บาท
  • ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการ
ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

พิษจากสารแคดเมี่ยม.pdf

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.

รู้จักแคดเมียม โลหะพิษอันตราย สาเหตุ “โรคอิไตอิไต” และโรคมะเร็ง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคพาร์กินสัน PARKINSON’S DISEASE

โรคพาร์กินสัน

PARKINSON’S DISEASE
11 เมษายนเป็นวันโรคพาร์กินสันโลก (World Parkinson’s Disease Day) โรคทางสมองพบแพทย์เร็ว ช่วยชะลอความรุนแรงของโรคได้
โรคพาร์กินสัน (PARKINSON’S DISEASE)
โรคพาร์กินสัน หรือ โรคสั่นสันนิบาต เป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์สมองในบางตำแหน่งตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้ "โดพามีน" สารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายตายและลดจำนวนลง ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเกิดอาการสั่น โรคความเสื่อมของระบบประสาท พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 1.5 เท่า เกิดจากสารเคมีในสมองที่เรียกว่าโดปามีน (Dopamine) ลดลง เพราะมีความเสื่อมตายของเซลล์ในสมอง สารโดปามีนมีความสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อสารโดปามีนลดลงจึงเกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหว เช่น มีอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า เดินซอย แขนขาเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายช้าและสูญเสียการทรงตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่หากได้รับการวินิจฉัยโรคและรับการดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยชะลออาการของโรคและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
อาการ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
  1. กลุ่มอาการผิดปกติของการเคลื่อนไหว (Motor symptoms)
  2. กลุ่มอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Non-Motor symptoms)
กลุ่มอาการผิดปกติของการเคลื่อนไหว (Motor symptoms) มักเป็นอาการแรกเริ่มของผู้ป่วยพาร์กินสัน
  1. อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) ผู้ป่วยจะเดินช้า เริ่มก้าวลำบาก เมื่อก้าวเดินแล้วจะซอยเท้าถี่ๆ ก้าวเท้าตามปกติไม่ค่อยได้
  2. อาการแข็งเกร็ง (Rigidity) เป็นอาการแข็งเกร็งที่เกิดกับแขนหรือขาข้างที่มีอาการสั่น ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้า เขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือที่เขียนจะเล็กลงและชิดติดกัน
  3. มีการสูญเสียการทำงานของมือ การเคลื่อนไหวแขนจะน้อย เช่น เวลาเดินจะไม่แกว่งแขน และกล้ามเนื้อใบหน้าไม่มีการเคลื่อนไหวทำให้ดูหน้าตาย ไม่แสดงอารมณ์ที่ใบหน้า
  4. สูญเสียการทรงตัว โดยเฉพาะเวลาเดินจะทรงตัวไม่ได้ ผู้ป่วยจะโน้มตัวไปข้างหน้า ขาดความสมดุลในการทรงตัว ทำให้ผู้ป่วยหกล้มได้ง่าย
กลุ่มอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Non-Motor symptoms)
เช่น อาการหลงลืม ขี้กังวล เหนื่อยล้าง่าย เหงื่อออกมาก ท้องผูก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันจากประวัติ อาการ และจากการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อแยกโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกัน เช่น การตรวจภาพของสมองด้วย MRI (Magnetic resonance imaging) หรือตรวจด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เครื่อง SPECT (Single-photon emission computed tomography) หรือเครื่อง PET (Positron emission tomography) เป็นต้น
การรักษา
  1. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เป้าหมายการรักษาคือการควบคุมอาการต่างๆ โดยการเพิ่มสารโดปามีน เข้าไปในสมอง ด้วยการให้รับประทานยาที่มีผลเพิ่มสารโดปามีน เช่น ลีโวโดปา (levodopa) ในบางรายแพทย์อาจจะพิจารณาการผ่าตัดสมอง
  2. รับประทานอาหารที่เหมาะสมให้ครบ 5 หมู่ แต่ระวังไม่ควรรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป เพราะจะทำให้การดูดซึมของยาลีโวโดปาลดลง รับประทานอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์ เพื่อลดอาการท้องผูก เมื่อมีปัญหาการกลืนต้องปรับเป็นอาหารอ่อน ให้กินทีละน้อยแต่บ่อยขึ้น
  3. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น ช่วยในการทรงตัว ช่วยให้การทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้น โดยรับการแนะนำและฝึกฝนจากนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายงานการรำไทเก็ก ช่วยให้ผู้ป่วยพาร์กินสัน เคลื่อนไหวและทรงตัวได้ดีขึ้น และการร้องเพลงประสานเสียงยังช่วยให้ผู้ป่วยพูดได้คล่องขึ้นแก้ปัญหาการพูดติดขัดได้
  4. การปรับสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้สะดวกมากขึ้น เช่น การมีราวให้มือจับเวลาเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันการหกล้ม ภายในบริเวณบ้านควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ ระวังอย่าให้พื้นภายในบ้านเปียกชื้น ควรมีแผ่นยางกันลื่น ห้องน้ำควรมีโถชักโครก เป็นต้น
ผู้ป่วยพาร์กินสัน ยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ถ้าติดตามการรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รับประทานยาตรงตามที่แพทย์สั่ง รับประทานอาหารที่เหมาะสมและออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้หกล้ม ทำงานอดิเรกที่ชอบได้ เช่น การวาดรูป จะเป็นการช่วยฝึกการเคลื่อนไหวของมือ และทำให้เกิดความเพลิดเพลินได้
หากคุณสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ ขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพราะการรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)

โรคอารมณ์สองขั้ว

Bipolar Disorder

 

30 มีนาคม “วันไบโพลาร์โลก” (World bipolar day) ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาที่ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ต้องพบเจอ สร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนทั่วไปว่าอาการของโรคนี้เป็นอย่างไร และช่วยกันลดความเข้าใจหรือความเชื่อผิดๆ ที่สร้างแผลทางใจต่อผู้ป่วย โรคไบโพลาร์จัดเป็นโรคในกลุ่มจิตเวช ที่เกี่ยวข้องกับด้านอารมณ์ สามารถพบได้สูงถึง 1.5-5% ของจำนวนประชากร มักพบได้บ่อยในช่วงอายุ 15-19 ปี และรองลงมาคืออายุ 20-24 ปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี และยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้สูงถึง 70-90%  กรมสุขชภาพจิต
โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
หรือที่รู้จักกันดีว่า “โรคไบโพลาร์” โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์สองขั้วสลับไปมาอย่างรุนแรง คือช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ (Mania) กับ ช่วงอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ (Depression) โดยในแต่ละช่วงอารมณ์อาจอยู่นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยมีช่วงอารมณ์ปกติคั่นกลางได้ สาเหตุสำคัญเกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจถูกกระตุ้นในผู้ที่มีความเครียดสะสม หรืออดนอนบ่อยๆ ร่วมด้วย การแสดงออกทางอาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1. ภาวะตกต่ำในอารมณ์ (Depressive Episode)
อารมณ์ที่โดดเดี่ยว และเศร้าเสมอไปกับ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ มักมีอาการ
  1. มีอาการซึมเศร้า เก็บตัว เสียใจง่าย ร้องไห้ง่าย
  2. มีปัญหาด้านการนอน นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไป
  3. มีปัญหาด้านการกิน กินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป
  4. สมาธิลดลง ไม่สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้
  5. วิตกกังวลต่อสิ่งรอบตัว มองโลกในแง่ร้าย หรือมีความสุขทางกายลดลง
  6. ขาดความสนใจในกิจวัตรประจำวัน
  7. รู้สึกเบื่อ ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่สนใจกิจกรรมต่างๆ หรือขาดความสุขในกิจกรรมที่เคยชอบ
  8. รู้สึกผิดหวัง ไม่มีความสุข มีความคิดเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ
2. ภาวะขึ้นสูงในอารมณ์ (Manic Episode)
อารมณ์ที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและมีพลังงานมาก อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania) ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ มักมีอาการ
  1. มักคิดว่าตนเองสำคัญ มั่นใจในตัวเองมากขึ้น หรือความรู้สึกมีพลังงานเป็นพิเศษ
  2. นอนน้อยกว่าปกติมาก โดยไม่มีอาการเพลีย หรือไม่นอนเลย
  3. คิดเร็ว พูดเร็ว พูดมากกว่าปกติ
  4. ทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในช่วงเวลานั้น
  5. ภาวะในการตัดสินใจไม่ดี หรือการประสบความสำเร็จที่เกินไป
  6. โต้ตอบต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ไม่มีเหตุผล
  7. ความเสี่ยงทางพฤติกรรมหรือการพึ่งพาตัวเองที่มีความเสี่ยงสูง
สาเหตุของการเกิดโรค
โรคไบโพลาร์เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อสมดุลของสารเคมีในสมองและพฤติกรรมของร่างกาย ได้แก่
  1. พันธุกรรมความเสี่ยงในการเป็นโรคไบโพลาร์สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ หากคุณมีคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคนี้ คุณมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์สูงกว่าคนทั่วไป
  2. สภาพแวดล้อมสภาพแวดล้อมรอบตัวเช่น ความเครียดในชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติดอื่น ๆ ก็อาจมีผลในการเสริมสร้างความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์
  3. ภาวะทางจิตใจการเลี้ยงดูในวัยเด็กหรือวิกฤตในชีวิตที่ประสบกับเหตุการณ์ทางจิตใจที่รุนแรง เช่น การสูญเสียคนในครอบครัว การเหยียดหยาม หรือการเจ็บป่วยร้ายแรง อาจมีผลต่อการพัฒนาของโรคไบโพลาร์
  4. ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนิน ดอปามีน และนอร์อะดรีนาลีน มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์และความผิดปกติในระดับของสารเคมีเหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของโรคไบโพลาร์
  5. โรคร่วมอื่นบางครั้งโรคไบโพลาร์อาจเกิดขึ้นพร้อมกับโรคร่วมอื่น ได้แก่ โรคทางระบบประสาท เช่น โรคลมชัก โรคหลอดเลือดสมอง โรคไมเกรน เนื้องอกสมอง อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน โรคติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์ การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง โรคเกี่ยวกับระบบผู้คุ้มกัน เช่น SLE
วิธีรักษา
โรคไบโพลาร์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาได้ตามอาการ เน้นการควบคุมอารมณ์และลดความรุนแรงของโรค เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว
  1. การรักษาด้วยยาใช้ยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองให้กลับสู่สภาวะปกติ ทำให้อารมณ์มั่นคง สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น หากผู้ป่วยกังวลกับผลข้างเคียงของยา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ และแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแต่ห้ามหยุดยาเอง เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมามีอาการของโรคซ้ำ หรือมีอาการของโรครุนแรงกว่าเดิม ให้ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด และมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  2. การรักษาด้วยจิตบำบัด(Psychotherapy)เป็นการทำจิตบำบัดด้วยการพูดคุยกับผู้ที่มีอาการของโรคไบโพลาร์โดยตรงกับจิตแพทย์ และ/หรือนักจิตวิทยาเพื่อวิเคราะห์สภาพจิตใจ สาเหตุของปัญหา และหาทางออกให้กับปัญหาอันเป็นที่มาของความทุกข์ในใจ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะในการเผชิญกับปัญหา เพื่อให้สามารถเอาชนะปัญหา และอุปสรรคในชีวิตได้
โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายจากอาการผิดปกติและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ หากได้รับการรักษา การลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด ไม่ควรอดนอน และไม่ควรใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์ และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
หากคุณหรือคนรู้จักมีความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อการประเมินอาการและแนวทางการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

โปรแกรมและแพ็คเกจ

วัณโรคระยะแฝง

วัณโรคระยะแฝง

Latent TB
วัณโรคคืออะไร
วัณโรค คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งก่อให้เกิดอาการผิดปกติได้หลายระบบของร่างกายขึ้นกับอวัยวะที่ติดเชื้อ แต่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อในปอด
ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง คืออะไร
ผู้ที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้ ไม่มีอาการผิดปกติ และไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
ทำไมเราถึงต้องให้ความสนใจผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง
ผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงประมาณร้อยละ 10-20 จะเกิดการดำเนินโรคต่อจนเข้าสู่ระยะเป็นวัณโรค นั่นคือ มีเอกซเรย์ปอดผิดปกติ และอาจมีอาการ รวมทั้งสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี ยิ่งมีโอกาสเป็นวัณโรคมากขึ้น และเป็นรุนแรง
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยวัณโรคระยะแฝง คือใคร
1. ผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค แบ่งเป็น
  1. ผู้สัมผัสร่วมบ้าน คือ บุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค
  2. ผู้สัมผัสใกล้ชิด คือ บุคคลที่ไม่ใช่ผู้อาศัยร่วมบ้าน แต่อยู่ร่วมกันในพื้นที่เฉพาะ โดยนับเวลาเฉลี่ย 8 ชั่วโมง/วัน หรือ 120 ชั่วโมง/เดือน ในช่วง 3 เดือนก่อนผู้ป่วยมีอาการหรือก่อนการวินิจฉัย
2 ผู้ติดเชื้อ HIV รวมถึงโรคเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ เช่น ได้รับยากดภูมิ
การวินิจฉัยวัณโรคระยะแฝง ทำได้อย่างไร
  1. การทดสอบทางผิวหนังด้วยทูเบอร์คูลิน โดยการฉีดโปรตีนสกัดจากเชื้อวัณโรค เรียกว่า PPD (purified protein derivative) เข้าในชั้นใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขน หลังจากนั้น 48-72 ชั่วโมงจะทำการวัดรอยนูนบริเวณที่ฉีดยา
  2. การทดสอบ Interferon-gamma release assays (IGRA) เป็นวิธีการทดสอบที่ใช้วิธีการวัดปริมาณ interferon-gamma เมื่อมีการติดเชื้อวัณโรคขึ้นในร่างกาย
โดยที่ความไวและความจำเพาะของ IGRA จะเท่ากับหรือดีกว่าการทดสอบทูเบอร์คูลิน รวมถึงลดการเกิดผลบวกลวงได้
ถ้าตรวจพบว่ามีการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อ
  1. แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการกินยาต้านวัณโรคตามสูตรการรักษาวัณโรคระยะแฝง ประกอบด้วยยา 1-2 ชนิด ระยะเวลา 3-9 เดือน ขึ้นกับสูตรยาที่แพทย์เลือก พบว่าการกินยาต้านวัณโรคสามารถลดการดำเนินโรคจากระยะแฝงไปสู่ระยะเป็นวัณโรคได้ประมาณร้อยละ 70
  2. แพทย์อาจพิจารณาไม่ให้ยาต้านวัณโรค แต่ใช้การติดตามอาการ และเอกซเรย์ปอดทุก 6 เดือน จนครบ 2 ปี เนื่องจากพบว่า ผู้สัมผัสโรคส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดการดำเนินโรคจนเป็นวัณโรค
การจะพิจารณาให้การรักษาต่อด้วยวิธีใด ขึ้นอยู่กับการประเมินประโยชน์ในการลดโอกาสป่วยเป็นวัณโรค ควบคู่ไปกับความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงจากยา อธิบายข้อดีข้อเสีย และให้ผู้ป่วยตัดสินใจร่วมกับแพทย์
อ้างอิง : แนวทางเวชปฏิบัติวัณโรคระยะแฝง พ.ศ.2566

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว

การรักษาสุขภาพและป้องกันโรคช่วงฤดูหนาว
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นการเฝ้าระวัง ป้องกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็น โรคภัยที่มากับฤดูหนาวแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
1. โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ
(เช่น โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ โรคโควิด-19) แพร่กระจายผ่านละอองฝอย เสมหะและน้ำมูก จากการไอ จาม มักมีอาการไข้เฉียบพลัน ไอ หนาว ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตาแดง ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะหายได้เอง แต่กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ที่มีประวัติโรคเรื้อรัง กลุ่มเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรง ในกรณีที่สงสัยเป็น covid-19 ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที และหากผลเป็นบวกให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และเข้ารับการรักษา
2. โรคติดต่อทางเดินอาหาร
(เช่น โรคอุจจาระร่วงจากไวรัส) เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำ/น้ำแข็งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค (ตัวอบ่างเช่น ไวรัสก่อโรคทางเดินอาหาร) การรับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก หรือค้างมื้อ ภาชนะที่ใช้ไม่สะอาด โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ส่วนใหญ่อาจหายได้เอง แต่หากมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป อาจทำให้ช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ ป้องกันได้โดยการดูแลสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาดและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด
3. โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ
ในช่วงฤดูหนาว (โรคหัด) ติดต่อโดยการไอ จาม หรือพูดคุยระยะใกล้ชิด ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ใน 1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีอาการ มักมีไข้ น้ำมูกไหล จะไอแห้ง มีผื่นขึ้นลักษณะผื่นนูนแดง ติดกันเป็นปื้นๆ ไม่มียารักษาจำเพาะ แต่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคได้ โดยฉีดเข็มแรกอายุ 9-12 เดือน เข็มสองอายุ 1 ปีครึ่ง
4. ภัยจากอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป
มีโอกาสเกิดการเสียชีวิตขึ้น ทั้งในและนอกที่พักอาศัย จากการที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องห่มกันหนาวที่เพียงพอ ควรเตรียมความพร้อมอบอุ่นร่างกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มเครื่องดื่มที่ให้ความอุ่น สวมใส่เครื่องนุ่งห่มกันหนาวที่เพียงพอ
ข้อควรปฏิบัติในการดูแลรักษาสุขภาพในฤดูหนาว
  1. ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สะอาดปรุงสุกใหม่ ๆ ดื่มน้ำที่สะอาดหรือ น้ำต้มสุก น้ำบรรจุขวดที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ (เครื่องหมาย อย.) รวมทั้งเลือกซื้อน้ำแข็งที่สะอาด ไม่มีตะกอน ไม่ควรรับประทานน้ำแข็งที่ใช้แช่อาหารอื่น
  2. รักษาร่างกายให้อบอุ่น ในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง โดยการสวมเสื้อผ้าหลายๆ ชั้น เพื่อให้ร่างกาย อบอุ่น มีความต้านทานโรค
  3. ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด นาน 15-20 วินาที
  5. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยควรอยู่บ้าน พักรักษา ตัวให้หาย ไม่ควรเข้าไปในที่ชุมชน แต่หากเข้าไปในที่ชุมชนให้สวมหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ จาม
  6. สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ สะอาดอยู่เสมอ
การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่น รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการป่วย และลดโอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

stomach cancer
จะแยกได้อย่างไร? โรคกระเพาะหรือมะเร็งกระเพาะอาหาร
สัญญาณเตือน โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการลักษณะใด วิธีป้องกัน และวิธีการรักษา สามารถไขข้อสงสัยขั้นเบื้องต้นได้จากวิดีโอนี้เลยค่ะ เพราะการป้องกันดีกว่าการรักษา #โรงพยาบาลบางโพ#มะเร็ง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

มะเร็งลำไส้ใหญ่…….ภัยร้ายใกล้ตัว

มะเร็งลำไส้ใหญ่.......ภัยร้ายใกล้ตัว

Colorectal Cancer
มะเร็งลำไส้ใหญ่
ในประเทศไทยมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบในผู้ชายมากเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิงมากเป็นอันดับ 4 และเป็นชนิดของมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอันดับ 5 โดยหากนับรวมประชากรทั่วโลกมะเร็งลำไส้ใหญ่คร่าชีวิตผู้คนถึงปีละ 500,000 คนหรือคิดเป็นนาทีละ 1 คน ดังนั้นมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงเป็นโรคที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่มีการตอบสนองต่อการรักษาที่ดี โดยเฉพาะหากรักษาในช่วงมะเร็งระยะต้นคือระยะที่ 1 จะมีการหายขาดจากโรคได้ถึง 74% อย่างไรก็ตามเหตุที่จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีผู้ป่วยมีอาการแล้ว ได้แก่ ท้องอืด ท้องผูก มีอุจจาระเป็นมูกหรือเป็นเลือด ขนาดของก้อนอุจจาระที่เล็กลง ซีด โลหิตจาง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลำได้ก้อนในท้อง ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวนี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ก็มักจะเข้าสู่ระยะท้ายแล้ว ซึ่งอัตราการหายขาดจากการรักษาก็จะลดลงเป็นอย่างมากคือเหลือเพียง 6% เท่านั้น ดังนั้นการพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นหรือตั้งแต่ระยะที่ยังไม่มีอาการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ในปัจจุบันแนวทางการรักษาต่างๆทั้งของประเทศสหรัฐอเมริกาและเอเชียนั้นต่างมีความเห็นตรงกันว่าบุคคลที่มีอายุมากกว่า 50 ปีทุกรายต้องได้รับการตรวจคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ตาม นอกจากนี้ผู้ที่ญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็อาจมีความจำเป็นที่ต้องตรวจเร็วกว่าเดิมอีก 10 ปี คือตั้งแต่อายุ 40 ปี สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองนั้นในปัจจุบันมีหลายวิธีได้แก่ การตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ถือเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะสามารถเห็นสภาพความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด และสามารถตัดติ่งเนื้อซึ่งอาจกลายเป็นมะเร็งในอนาคตได้ นอกจากนั้นจากหลักฐานทางการแพทย์พบว่าการส่องกล้องลำไส้ใหญ่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 53%
โดยสรุป มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อย และรักษาให้หายขาดได้หากพบในระยะเริ่มต้น ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีที่เหมาะสม ได้แก่
  1. มีอาการที่อาจบ่งชี้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ ท้องอืด ท้องผูก มีอุจจาระเป็นมูกหรือเป็นเลือด ขนาดของก้อนอุจจาระที่เล็กลง ซีด โลหิตจาง เบื่ออาหาร
    อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลำได้ก้อนในท้อง
  2. อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยในกรณีที่มีญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจพิจารณาตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 40 ปี

โปรแกรมและแพ็คเกจ